Key Messages
ในช่วงที่จะมีการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยครั้งใหญ่ มนุษย์จำเป็นต้องเรียนรู้ทักษะใหม่ Relearn ตลอดชีวิตและตลอดเวลา จำเป็นต้องทิ้งตัวตนเก่าที่เรารัก สร้างตัวตนใหม่ ทักษะใหม่ขึ้นมา
การจะทำมันให้ได้ มนุษย์ต้องเข้าใจก่อน ว่าตนคือใคร เกิดมาเพื่อทำสิ่งใด จะฝากความหมายใดแก่โลก เพราะเมื่อเรารู้มัน เราจะมีกำลังฝ่าฝันความยากลำบากต่างๆไปสู่อนาคตได้
- การจะรู้คำตอบนี้ ทักษะจากโรงเรียน มหาลัย ที่ทำงาน ไม่พอ มนุษย์ต้องเข้าใจในจิตวิญญาณ ในพลังงานแห่งจักรวาล ซึ่งถูกถ่ายทอดไว้ในทุกศาสนา
หนังสือเรื่อง Present ปัญญาจักรวาล เป็นงานเขียนของ คุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมมา และเป็นบทสุดท้ายของซีรีส์ ปัญญา (Wisdom Series) ซึ่งประกอบไปด้วย Future, Past, One million และ Present ตามลำดับ
ขอเกริ่นก่อนเล็กน้อยนะครับ ตัวผมเองติดตามงานเขียนชุดนี้ตั้งแต่เล่ม Future ซึ่งโดยส่วนตัวผมมองว่าหนังสือซีรี่ย์นี้เป็นการรวมเอาเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กๆน้อยๆ มาเล่าใหม่ผ่านมุมมองและตัวอักษรของคุณภิญโญ อันมีเอกลักษณ์ เนื้อหาจะอ่านเพลิน ภาษาสวย และคมแบบลึกซึ้ง อ่านแปปๆก็หมดไปแล้วครึ่งเล่ม (เพราะแต่ละหน้ามีตัวหนังสือไม่เยอะครับ อันนี้เหตุผลหลัก 55) ซึ่งในช่วงเวลาที่หนังสือแนวพัฒนาตนเองของไทย ที่มีแต่หนังสือรวมคำคมหล่อๆแต่กลวง ขึ้นหิ้ง Best Seller , หนังสือชุดนี้จึงเป็นอะไรที่ค่อนข้างแหวก และมีคุณค่าน่าอ่าน (แม้ราคาจะสูงไปบ้าง)
…แต่นั่นก็คือความคิดก่อนที่ผมจะได้อ่านหนังสือ Sapiens และ Homo Deus ครับ เพราะมองย้อนกลับไปแล้วหนังสือสองเล่มนี้ให้แง่คิดที่ดีกว่ามากๆ แม้จะเป็นหนังสือที่อ่านยาก ด้วยเพราะรายละเอียดมากมายมหาศาล แต่เมื่อค่อยๆอ่าน ค่อยๆคิด มันก็ให้อะไรเยอะมากๆ
ต่างกับหนังสือเล่มนี้ ที่ต้องยอมรับว่าผมอ่านซ้ำไปซ้ำมาแค่ไหน ก็ยังอ่านหนังสือเล่มนี้ “ไม่รู้เรื่อง”
เวลาที่อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ก็คงต้องมาดูกันว่าต้นเหตุเป็นเพราะอะไร เพราะความบกพร่องของผู้ส่งสาร หรือผู้รับสาร
ซึ่งในกรณีนี้ ก็อาจด้วยความไม่สมบูรณ์พร้อมของ “ปัญญา” ของผมเอง ที่ทำให้ไม่สามารถขบคิดปริศนาธรรมที่หนังสือเล่มนี้ต้องการจะสื่อ ด้วยตัวคุณภิญโญนั้นก็เป็นนักเขียน นักคิด ชื่อดัง มีผลงานเป็นที่ประจักษ์มากมาย เป็น ”ปราชญ์” แห่งยุค 4.0 (ตามคำของคุณ โน้ต อุดม แต้พานิช)
จึงควรเป็นตัวผมซึ่งผมเป็นผู้รับสารมากกว่าที่ต้องพิจารณาว่าตนขาดสิ่งใด จึงไม่สามารถทำความเข้าใจสารของคุณภิญโญได้
Central Theme ของเล่มนี้ คงจะเป็นประโยคที่เขียนไว้หน้าปกหนังสือ “ในช่วงชีวิตอันยาวนาน 100 ปี กลับมีเพียงหนึ่งกลยุทธ์ ที่สำคัญที่สุด”
แต่ผมอ่านจบแล้วก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีว่าทำไมต้อง 100 ปี? 100 ปีที่ว่า คือนับจากไหน? แล้วหนึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญที่สุด มันคืออะไรกันแน่?
อย่างไรก็ตาม ก็ขออนุญาต รีวิว หนังสือเล่มนี้ โดยความ “ไม่รู้เรื่อง” ของผมไปก่อน
ขอแบ่ง Part Review เป็น 3 ส่วน และปิดท้ายด้วยสรุปใจความแต่ละบทและความเห็นนะครับ
1. ทำไมงานเขียนเล่มนี้จึงอ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง
ผมคิดว่า งานเขียนของคุณภิญโญในเล่มนี้มีลักษณะที่ค่อนข้าง “Flight of Idea” ครับ
ในเล่มนี้ คุณภิญโญพยายามจับเอาสิ่งต่างๆ อย่างละนิดอย่างละหน่อย แล้วเอามาเชื่อมโยงกับประเด็นหลักของหนังสือ โดยไม่เป็นระเบียบมากนัก ในบางครั้งก็ข้ามไปข้ามมา และซ้ำไปซ้ำมา
ยกตัวอย่างในหนังสือบทแรก ที่เปิดด้วยตำนานการเกิดสุริยเทพของญี่ปุ่น แล้วอยู่ดีๆก็มาคั่นกลางด้วย ตำนานการเกิดสรรพสิ่งของเต๋า ของศาสนาคริส แล้วก็ไปกล่าวถึง General relativity ของ Einstein และ Quantum Leap ของ Neil Bohr แล้วก็มาอ้างว่านี่คือทฤษฎีกำเนิดจักรวาล ที่พระพุทธเจ้ารู้อยู่แล้ว “…นี่คือสิ่งที่ท่านทะไลลามะ หลังได้ร่วมวงสนทนากับนักวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้าของโลกมานานหลายปี เชื่อว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุธเจ้าทรงเข้าใจในทฤษฎีควอนตัมมานานนับสองพันปี…”
…แล้วคุณภิญโญก็กลับไปเขียนถึงตำนานสุริยเทพอีกครั้ง
ซึ่งผมก็ยังคงไม่เข้าใจอยู่ดีว่า General Relativity กับ Quantum leap มันเกี่ยวข้องกับการกำเนิดจักรวาลยังไง หรือแค่ยกมาพูดให้มันดูดีเฉยๆ แล้วทำไมต้องยกคำพูดของท่านทะไลลามะขึ้นมา
ในเล่มนี่จะมี Pattern ลักษณะนี้ค่อนข้างมาก คืออยู่ๆก็กระโดดไปอิงเรื่องเล่าและตำนานของศาสนาต่างๆ ไปๆมาๆ จนทำให้หลายครั้งอ่านแล้วก็รู้สึกว่า มันเกี่ยวอะไรกันนะ?
2. แก่นของหนังสือ “ปัญญาจักรวาล” – กลยุทธ์ที่สำคัญของหนังสือเล่มนี้ คืออะไร?
ดังที่กล่าวไปว่า ตามStyle ของหนังสือ Wisdom Series ที่จะมีการหยิบยกเรื่องราวในประวัติศาสตร์มาช่วยผูกโยงหาคำตอบให้กับสิ่งที่เป็นปัญหาในปัจจุบันและอนาคต
ในหนังสือ Present มี Theme หลักของเล่มคือการหยิบยกเอาองค์ความรู้จากศาสนาต่างๆ(พุธ คริส ฮินดู) นิกายต่างๆ (เต๋า เซน) ตำนานเทพเจ้า ตำนานนักรบ(มหาภารตะ รามายาณะ) มาอย่างละนิดละน้อย เพื่อมาแสดงให้ผู้อ่านเห็นถึงธรรมชาติของมนุษย์ เห็นด้านสว่าง และด้านมืด ของมนุษย์
ตามตำนานและประวัติศาสตร์นั้น ก็แสดงให้เห็นว่า มนุษย์มีความโลภ โกรธ หลง กิเลส มาตั้งแต่โบราณแล้ว เห็นได้จากการเรื่องของจูดาส เรื่องของสงครามในมหาภารตะ
และในเรื่องตำนานต่างๆ ก็มีการกล่าวถึงสิ่งที่เรียกว่า Moment “ตาสว่าง” มากมายเช่นกัน เช่นในกรณีของ เทพีสุริยา (Amaterasu) องคุลิมาล พระเจ้าอโศกมหาราช
เช่น ในกรณีขององคุลิมาล คุณภิญโญยกเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนองคุลิมาล เพียงไม่กี่ประโยค จนทำให้จากมหาโจร กลายเป็น พระอรหันต์
คุณภิญโญชี้ว่า นี่แหละ Moment ‘ตาสว่าง’ ขององคุลิมาล ซึ่งน่าอัศจรรย์มาก ทำให้คนๆหนึ่งพลิกจากหลังมือเป็นหน้ามือได้ในบัดดล
และชี้ให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าสามารถทำสิ่งที่ AI ไม่สามารถทำได้ คือสามารถ Access BI (Built-in intelligence) ของพระองค์ ซึ่งเป็น Big Data มหาศาลภายในจิตใจ จนค้นเจอข้อมูลว่า ประโยคหรือคำพูดใด สามารถเปลี่ยนใจ องคุลิมาลได้
คุณภิญโญเสนอว่า Moment “ตาสว่าง” นี่แหละ คือสิ่งที่จำเป็นสำหรับเราในยุคปัจจุบัน
เพราะมันคือ Moment ที่จิตของเราจะเชื่อมกับจักรวาล Moment ที่เราจะรู้ได้ว่าเราเป็นใคร เกิดมาเพื่ออะไร จะทำสิ่งใดให้กับโลก และเมื่อเราตาสว่างแล้ว ความเศร้ามัวหมองในจิตใจเราจะหายไป อุปสรรคนานัปการในอนาคตมีแค่ไหน เราก็จะผ่านไปได้
ส่วนจะทำยังไงให้เราไปถึงจุดนั้นได้….ผมเข้าใจว่าตามหนังสือก็เสนอให้เราศึกษาหลักปัญญาเก่าๆเยอะๆ ศึกษาศีล สมาธิ ภาวนา เพราะเป็นของดีที่เรามีมานานแล้ว
ดังนั้น ต่อคำถามว่า กลยุทที่สำคัญที่สุดที่มนุษย์พึงมี เพื่อการเอาตัวรอดในอนาคตอันไม่แน่นอน คืออะไร?
คุณภิญโญได้เฉลยในตอนท้ายว่าก็คือการรู้ตัวเอง คือการพาตัวเองไปสู่ความ “ตาสว่าง” พาตัวเองไปสู่คำตอบว่า เราคือใคร เกิดมาเพื่อทำสิ่งใด จะสร้างสรรค์สิ่งใดให้กับโลกใบนี้ และคุณภิญโญยังได้เตือนว่า อย่ามัวหลงไหลไปกับทรัพย์สิน เงินทอง ชื่อเสียง อำนาจ เพราะมันไม่จีรังยั่งยืน
ซึ่งผมคิดว่าแก่นที่ผมสรุปนั้น มัน “Cliché’” มากๆ เราได้ยินคำสอนทำนองนี้มาตั้งแต่เรียนหนังสือแล้ว
ตั้งแต่เด็กๆ ไม่ว่าจะในวิชาศาสนาพุธ หรือวิชาสังคม เราถูกสอนให้อยู่ในทางสายกลาง ให้พอเพียง ให้เป็นคนดี ไม่โลภ โกรธ หลง ไม่เห็นแก่ตัว ให้ทำตามสิ่งที่ตัวเองต้องการ ตราบใดที่มันไม่ทำร้ายใคร บลาๆๆ
ดังนั้นผมจึงได้กล่าวแต่ต้นว่าผมไม่เข้าใจสิ่งที่หนังสือนี้ต้องการจะสื่อมากนัก เพราะหากเป็นดังที่ผมกล่าวไว้ในข้อนี้จริงๆ มันก็ดูเป็นอะไรที่ตื้นไปหน่อย สำหรับปราชญ์ยุค 4.0 ท่านนี้
3. หรือแท้จริงแล้ว นี่คือหนังสือเสียดสี “ทุนนิยม”
แต่เมื่อมองให้ลึกลงไป ผมคิดว่า Hidden Message ของหนังสือเล่มนี้แท้จริงแล้ว เป็นหนังสือเสียดสี “ทุนนิยม” และ “นักธุรกิจ” ครับ
ทำไมถึงคิดยังงั้น?
ต้นเหตุเป็นเป็นเพราะบทที่สองในเล่มนี่แหละครับ ซึ่งเป็นบทที่ผมชอบมากๆ
ในบทที่ 2 (Luxury, What is Luxury – ปราณเมฆา) เนื้อหาหลักจะกล่าวถึงประสบการณ์จากที่คุณภิญโญได้ไปใช้ชีวิตติดตามการทำงานของคุณ ธนิน เจียรวนนท์ (ท่านประธานอาวุโสแห่งเครือ CP) เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ในเล่มนั้นดูเหมือนคุณภิญโญเองก็เล่าอย่างภูมิใจว่า จะนำเคล็ดวิชาต่างๆที่ท่านประธานสอนนั้น มาเป็นมรดกให้ลูกหลานและผู้อ่านในภายภาคหน้า เหตุเพราะนี่คือองค์ความรู้และเคล็ดวิชา ที่มักจะส่งต่อกันเพียงแต่ในตระกูลเท่านั้น
…เริ่มต้นบทนี้ด้วย หน้าคู่สีที่ท่านประธานและคุณภิญโญยิ้มหวานให้กัน…
ท่านประธานเล่าว่าแม้คนจะเก่งขนาดไหน แต่ก็มิอาจหาญทานชะตาฟ้าดินได้
เพราะในอดีตนั้นระหว่างที่เกิดปฏิวัติวัฒนธรรมของจีน บิดาของท่านประธานเดินทางไปผ่าลำไส้ที่ฮ่องกงพอดี เลยรักษาชีวิตไว้ได้
คุณภิญโญเขียนในเล่มว่า “ถ้าฟ้าดินไม่โอบอุ้มเมล็ดพันธุ์เอาไว้ในวันนั้น วันนี้ก็คงไม่มีเผ่าพันธุ์ ‘เจียรวนนท์’ ในประเทศไทย” อ่านประโยคนี้ผมนี่สะดุ้งเลยครับ ไม่รู้ว่าคุณภิญโญหมายความในแง่ไหน 555
ท่านประธานนั้น ยังคงทำงานทุกวัน เดินทางต่างประเทศทุกเดือน ชีวิตครึ่งนึงอยู่ต่างประเทศ อีกครึ่งอยู่ไทย จึงต้องมีเครื่องบิน Jet ส่วนตัว เปรียบดั่งว่าจะล่องลอยไปไหนได้ดังใจ เป็นดั่งพญามังกร
แต่ก็เป็นพญามังกรที่มีตารางนัดหมายเต็มแน่นทุกวัน เพราะมีแต่คนอยากขอเข้าพบเพื่อเจรจาการค้า จนถึงขอให้สนับสนุนช่วยเหลือ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้ท่านเหนื่อยใจ(???)
เป็นพญามังกร ที่ต้องใส่สูทตลอดเวลา เพราะไม่รู้ว่า แต่ละวันจะต้องถ่ายรูปกับใครบ้าง จะต้องพบเจอใครพร้อม ต้องพร้อมตลอดเวลา ชีวิตจึงดูคล้ายไม่มีวันหยุด
เป็นพญามังกรที่ต้องเข้านอนเป็นเวลา ต้องกินอาหารตามที่มีคนจัดให้ เป็นพญามังกรที่ไม่เคยหยุดทำงานเลย แม้อายุจะ 80 ปีแล้ว
ทำไมผมมองว่าคุณภิญโญกำลังเสียดสี?
เพราะ คุณภิญโญเสนอว่า แต่ละยุคสมัย การให้คุณค่าต่อสิ่งต่างๆย่อมต่างกัน ขึ้นกับว่า เราเป็นใคร เกิดมาเพื่อสิ่งใด และต้องการมอบความหมายใดให้กับโลก ซึ่งมันก็จะเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์ว่าเราจะใช้ เวลา ปัญญา และพลังงาน ของชีวิตที่มี ไปกับสิ่งใด
ดังจะเห็นว่าท่านประธานนั้นแม้จะมีทรัพสินมากมายมหาศาล แต่ก็ไม่มีเวลามานั่งผ่อนคลายใจ ต่างกับคุณภิญโญ ที่จะไปไหนมาไหนก็ได้ตามใจอยาก
เขาจึงเสนอว่า เวลา คือความหรูหรา สำหรับผู้ที่รู้ค่าและได้ครองไว้ เราจึงไม่ควรอิจฉานักธุรกิจใหญ่ เพราะเขาก็มีราคาที่ต้องแลก คือ เวลา และ สุขภาพ (จังหวะนี้ เข้าท่านประธานเต็มๆ)
และยังบอกด้วยว่าทายาทของมหาเศรษฐีจำนวนไม่น้อย ก็ประสบภาวะเครียด กดดัน นอนไม่หลับ เพราะต้องแบกรับภาระต่างๆ
ครั้งนึงเหล่าลูกๆเศรษฐีเคยถามผู้เป็นบิดาว่า มีทุกอย่างแล้ว จะทำงานหนักไปทำไม… บิดายืนคิดสักครู่ใหญ่ ไม่ตอบอะไร
ความหรูหราที่แท้จริงจึงไม่ใช่เงินทอง ชื่อเสียง กระเป๋า นาฬิกาแพงๆ ยอดคนติดตาม ยอดไลก์ หากแต่คือการมีอิสระทางการเงิน ได้ใช้ชีวิตตามปรารถนา เป็นเจ้าของเวลา มีความสงบอยู่ภายใน
ปิดท้ายบทที่ 2 นี้ด้วยรูปคุณภิญโญกำลังเดินตามหลังท่านประธาน ขึ้นเครื่องเจ็ต และตามด้วยรูปคุณภิญโญ “ยิ้มอ่อน” ให้ท่านประธาน อีกสองรูป
นี่คือสาเหตุที่ผมชอบบทนี้ครับ ผมตีความว่าแม้คุณภิญโญจะดูชื่นชมเหล่านักธุรกิจรวยๆทั้งหลาย แต่จริงๆแล้วเขากำลังเสียดสี ยิ้มอ่อน ให้กับพวกเขา
คุณภิญโญต้องการสื่อให้เห็นว่าชีวิตพวกเศรษฐีรวยๆ นั้นไม่ได้น่าอิจฉาเลย เป็นกลุ่มที่แม้จะมีทรัพสินเพียงพอแล้ว แต่ก็ไม่คิดจะหยุดกอบโกย ไม่ยอมพอ จึงต้องทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำ ไม่มีวันหยุดใดๆ
ซึ่งคุณภิญโญยังคงจัดหนักในประเด็นนี้ต่อเนื่อง ในบทที่เหลือของเล่มครับ ลองไปอ่านดูได้ ว่าคุณรู้สึกเหมือนผมมั้ย 555
Opinion
โดยรวมแล้วต้องยอมรับว่าค่อนข้าง ‘ผิดหวัง’ กับหนังสือเล่มนี้ครับ ยิ่งเมื่อเทียบกับเล่มก่อนๆใน Series หลักๆคือเรื่อง Flight of Idea นั่นแหละครับ ทำให้อ่านยากมาก
ประเด็นหลักที่หนังสือเล่มนี้ต้องการจะสื่อนั้น โอเค คือให้เราเข้าใจตัวเอง แต่วิธีการที่จะได้มันมานั้น ต้องทำอย่างไรหละ? แล้วรู้ได้อย่างไรว่า ถ้าเราเข้าใจตัวเองแล้ว เราจะอยู่รอดได้ในอนาคต? แล้วทำไมจึงสรุปว่ากลยุทธ์ที่สำคัญที่สุดมันคือสิ่งนี้? ซึ่งอ่านจบแล้วก็ยังหาคำตอบไม่ได้ครับ
สรุปแต่ละบท + ความเห็น
1. Who are we? สุริยะปัญญา
กล่าวถึงตำนานการเริ่มต้นของสรรพสิ่ง โดยอ้างอิงจากตำนานของญี่ปุ่น (สุริยเทพี ผู้เป็นบรรพบุรุษของราชวงษ์ญี่ปุ่น) และความใกล้เคียงกันของตำนานที่พบในคัมภี วิถีแห่งเต๋า คัมภีไบเบิล แล้วก็เอาผูกกับเรื่อง General Relativity กับ Quantum Physics (แบบงงๆว่ามาได้ไง) มีการกล่าวอ้างไปถึง ไอสไตน์ นีล บอร์ , แล้วก็ไปอ้างว่า พระพุทธเจ้าเข้าใจ Quantum มานานนับสองพันปีแล้ว???? แล้วก็ไปอ้างว่า ตามความคิดของ Carlo Rovelli นักฟิสิกส์ชาวอิตาลี หัวใจสำคัญของความคิดทางวิทยาศาสตร์ คือความสามารถในการเห็นสรรพสิ่งแตกต่างจากสิ่งที่เคยมีมา นี่คือปัญญาแห่งการก้าวกระโดดระดับ”ควอนตัม”
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วก็สงสัยว่าคำว่าควอนตัมคืออะไรกันแน่ พออ่านงานเขียนคุณภิญโญแล้วคำว่า Quantum จะออกแนวพวกสินค้าลวงโลก พลัง Quantum อะไรเทือกนั้นมากกว่า
แต่สุดท้ายก็เข้าเรื่องเดิมต่อ ก็คือว่ามี อิซานางิและอิซานามิได้สมรสกัน แล้ววันหนึ่งอิซานามิตายไป ทำให้อิซานางิเสียใจมาก ด้วยความรักจึงตามวิญญาณเธอไป จนถึงนรกภูมิ แต่พออิซานางิเห็นหน้าภรรยาที่เปลี่ยนไป เลยเกิดอาการ “ตาสว่าง” (???) เลยหนีออกมาจากนรก – สรุปคือตอนแรกรักเมีย พอหน้าตาเมียเปลี่ยนไปเลยตาสว่าง??
ต่อมาก็กล่าวถึงสุริยเทพ (Amaterasu) ลูกของอิซานางิ ที่ขัดข้องหมองใจอย่างหนักกับพี่น้องบนสวรรค์ เลยมาซ่อนตัวในถ้ำ โลกเลยตกสู่ความมืด เทพคนอื่นๆเลยต้องมาสุริยเทพให้ออกมาให้ได้ จนเมื่อเทพีแห่งความร่าเริงออกอุบายให้คนเต้นกันหน้าถ้ำ ให้คนและเทพมุงดูและหัวเราะอย่างสนุกสนาน สุริยเทพจึงยอมออกมาเพราะความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งเมื่ออกมาจากถ้ำก็เจอกระจกบานใหญ่ เลยเห็นตัวเอง เลยเกิดเปิดตาที่สามขึ้น เป็น Moment ตาสว่าง อันแรก ที่มีการกล่าวถึงในหนังสือเล่มนี้
2. Luxury, What is Luxury ปราณเมฆา
แบ่งเป็น2 ส่วน
ส่วนแรกพูดถึงCloud, Big data โดยเชื่อมโยงกับว่าปราชโบราณนั้นรู้วิธีใช้พวกนี้อยู่แล้ว เช่นยกตัวอย่างว่าพระพุทธเจ้าเข้าใจในบิ้กดาต้าอย่างลึกซึ้ง ดังจะเห็นในกรณีขององค์คุลีมาล ที่พระองค์ทราบทันทีว่าจะให้ข้อูลจุดใด มาทำให้ใจคนเปลี่ยนไปได้ คุณภิญโญเสนอว่านี่คือต้นตำรับการถ่ายทอดข้อมูลขนาดใหญ่ จากจิตสู่จิต สามารถโน้มนำให้คนๆหนึ่ง Reinvent ได้ชั่วข้ามคืน และเสนอว่านี่คือศักยภาพมนุษย์ที่ AI ก็ทำไม่ได้
ซึ่งผมก็คิดว่ามันคนละเรื่องกันรึปล่าว อย่าง AI ที่ใช้ในการแนะนำวิดีโอของยูทูป แนะนำเพลงของSpotify แนะนำPage ของ Facebook มันก็ดูรู้ใจเรานะ รู้ใจกว่าเพื่อนเราอีก
คุณภิญโญจึงเสนอต่อไปอีกว่า เราจึงควรกลับไปศึกษาทักษะอันเก่าแก่นี้ ไม่ใช่ขวนขวายเรียนรู้ทักษะใหม่ๆกัน เพราะมันจะทำให้เราชนะAI เสนอว่าให้เราศึกษาปัญญาที่สถิตในใจเรา คือ BI (BI – Built-in intelligence) เสนอว่าวิชาสมาธิภาวนาเป็นสิ่งที่ล้ำค่า และกลายเป็นปัญญาใหม่ ในยุคที่คนหันไปพึ่ง AI
เสนอว่า จิตที่ควบคุมตัวเองและสั่งการได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องมีเพื่อสู่กับ AI ที่กำลังมาและกลืนกินความเป็นมนุษย์ ความเป็นมนุษย์จะเริ่มเลือนลาง จะถูกควบคุมด้วยกลไกบางอย่าง ยิ่งกว่ามือที่มองไม่เห็นของ Adam Smith??
ส่วนที่สอง อันนี้ชอบมากครับ เป็นSection ที่คุณภิญโญมีโอกาสไปสัมผัสชีวิตของคุณธนิน เจียรวนน CEO บริษัท CP เป็นเวลาหนึ่งสัปดห์ ซึ่งคนภิญโญเองก็เล่าอย่างภูมิใจว่าจะนำเคล็ดวิชาต่างๆที่ท่านประธานสอนนั้น มาเป็นมรดกให้ลูกหลายและผู้อ่านในภายภาคหน้า ท่านประธานเล่าว่าแม้คนจะเก่งขนาดไหน แต่ก็มิอาจหาญทานชะตาฟ้าดินได้ ในอดีตนั้นระหว่างที่เกิดปฏิวัติ บิดาของท่านประธานเดินทางไปผ่าลำไส้ที่ฮ่องกงพอดี เลยรักษาชีวิตไว้ได้ จึงเป็นว่า “ถ้าฟ้าดินไม่โอบอุ้มเมล็ดพันธุ์เอาไว้ในวันนั้น วันนี้ก็คงไม่มีเผ่าพันธุ์ เจียรวนนท์ ในประเทศไทย” อ่านประโยคนี้ผมนี่สะดุ้งเลยครับ น้ำตาจะไหล
นอกจากนั้นเรายังได้เรียนรู้ว่า ท่านประธานนั้นแม้จะอายุ80แล้ว ก็ยังเรียนรู้ตลอดเวลา ถ้าเรื่องไหนสนใจแล้วไม่เข้าใจ ก็จะเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสอนให้จนได้ และท่านยังคงทำงานทุกวัน เดินทางต่างประเทศทุกเดือน ชีวิตครึ่งนึงอยู่ต่างประเทศ อีกครึ่งอยู่ไทย จึงต้องมีJet ส่วนตัว (มีหน้าคู่สีที่ท่านประธานและคุณภิญโญยิ้มหวานให้กันโชว์ด้วยนะเอ้อ) เปรียบดั่งว่าจะล่องลอยไปไหนก็ได้ดังใจ เป็นพญามังกร
คุณภิญโญพบว่าท่านประธานนั้นก็มีทักษะในการเข้าหาคนอย่างฉกาจ แขกเหรื่อของท่านก็มิใช่ใคร คือผู้บัญชาการเหล่าทัพ ข้าราชการท่านผู้ใหญ่ ท่านจะทำให้รู้สึกว่าแขกของท่านคือคนที่สำคัญที่สุดเสมอ ตารางนัดหมายนั้นแน่นเต็มทุกวัน มีแต่คนอยากขอเข้าพบเพื่อเจรจาการค้า จนถึงขอให้สนับสนุนช่วยเหลือ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้ท่านเหนื่อยใจ(???)
ชีวิตของท่านประธานนั้นก็ต้องใส่สูทตลอดเวลา เพราะไม่รู้ว่า แต่ละวันจะต้องถ่ายรูปกับใครบ้าง ชีวิตจึงดูคล้ายไม่มีวันหยุด
คุณภิญโญเสนอว่า แต่ละยุคสมัย การให้คุณค่าต่อสิ่งต่างๆย่อมต่างกัน ขึ้นกับว่า เราเป็นใคร เกิดมาเพื่อสิ่งใด และต้องการมอบความหมายใดให้กับโลก ซึ่งมันก็จะเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์ว่าเราจะใช้ เวลา ปัญญา และพลังงาน ของชีวิตที่มี ไปกับสิ่งใด
ดังจะเห็นว่าท่านประธานนั้นแม้จะมีทรัพสินมากมายมหศาล แต่ก็ไม่มีเวลามานั่งผ่อนคลายใจ เขาเสนอว่า เวลา คือความหรูหรา สำหรับผู้ที่รู้ค่าและได้ครองไว้ เราจึงไม่ควรอิจฉานักธุรกิจใหญ๋ เพราะเขาก็มีราคาที่ต้องแลก คือ เวลา และ สุขภาพ และยังบอกด้วยว่าทายาทของมหาเศรษฐีจำนวนไม่น้อย ก็ประสบภาวะเครียด กดดัน นอนไม่หลับ เพราะต้องแบกรับภาระต่างๆ ความหรูหราที่แท้จริงจึงไม่ใช่เงินทอง ชื่อเสียง กระเปา นาฬิกาแพงๆ ยอดคนติดตาม ยอดไลก์ หากแต่คือการมีอิสระทางการเงิน ได้ใช้ชีวิตตามปรารถนา เป็นเจ้าของเวลา มีความสงบอยู่ภายใน
บทนี้ปิดท้ายด้วยรูปคุณภิญโญกำลังเดินตามหลังท่านประธาน ขึ้นเครื่องเจ็ต และตามด้วยรูปคุณภิญโญ “ยิ้มอ่อน” ให้ท่านประธาน อีกสองรูป
นี่คือสาเหตุที่ผมชอบบทนี้ครับ ผมตีความว่าคุณภิญโญต้องการสื่อว่าชีวิตพวกเศรษฐีรวยเว่อๆนั้นไม่ได้อิจฉาเลย แม้ตัวหนังสือคุณภิญโญและรูปจะเหมือนกำลังส่งยิ้มให้ แต่ข้อความที่ตามหลังจากนั้น (และบทที่ตามมา)คือการเสียดสี วิถีชีวิตของคนจำพวกนี้ครับ
3. If We Can choose, What Should We be? คีตากฤษณะ
กล่าวถึง มหาภารตยุทธ ซึ่งเป็นเรื่องราวที่สะท้อนถึงสงครามในจิตใจมนุษ การเข้าใจจิตใจมนุษย์ต้องมีปรีชาญาณ ซึ่งศาสตร์นี้มีมานานแล้ว แต่เราหลงลืมไป แล้วไปคิดว่าต้องอาศัย AI ( ถ้า AI พูดได้คงจะบอกว่า อะไรๆก็ตรู) เพื่อพาเราไปหาความสุข??? เราจึงสนุกไปกับโลกออนไลน์??? ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผู้คนห้ำหั่นกัน เกลียดชัง ท้าทายกัน แล้วก็บอกว่ามันทำให้เราอยู่ในยุคคนที่กลายเป็นชั่ว คนชั่วแสร้งดี (ซึ่งผมเข้าใจว่ามันมีมานานแล้วนะ แบบนี้ ไม่เกี่ยวไรกับโลกออนไลน์เลย)
ปฐมบทของภควคีตานั้น เริ่มจากสงคราม ซึ่งคุณภิญโญก็ตั้งคำถามว่า ใช่หรือไม่ โลกนี้ล้วนเต็มไปด้วยเหตุแห่งสงคราม จากความไม่เท่าเทียม การเอารัดเอาเปรียบ การฉ้อฉลทางการค้า (CP ?) และคนจำนวนไม่น้อยก็ไขว่คว้าเพื่อให้ได้มาซึ่ง ชื่อเสียง เงินทอง อำนาจ วัตถุ เขาเหล่านั้น จิตใจมืดบอด ไม่เคยคิดว่าความสุขที่แท้จริงคืออะไร มนุษย์ยังต้องทำงานหนัก ทั้งเงินทองไม่พอใช้ ทั้งธุรกิจวุ่นวาย มุ่งทำงานหาเงิน ชื่อเสียง อำนาจ อันเป็นมายาอย่างคลุ้มคลั่ง (ท่านประธาน?)
4. Subtle Body : Discover Your Energy Within เยซูโยคะ
กล่าวถึงตำนานของพระเยซูในช่วงที่ถูกตรึงด้วยไม้กางเขน และภาพ The Last Supper ซึ่งยังคงตั้งอยู่ในมิลาน อยู่ที่ผนังของอาคารโรงอาหารเก่า ที่แม้จะผ่านมาแล้ว 500 ปี หรือผ่านสงครามมาแค่ไหน ภาพก็ไม่เคยได้รับความเสียหายใด
“ถ้าจิตวิญญาณของดา วินซี มีลักษณะเช่นเดียวกับควอนตัม จิตวิญญาณนั้นน่าจะยังคงดำรงอยุ่อย่างแผ่วเบาราวกับภาพบนผนัง” คือประโยคที่คุณภิญโญเขียนในเล่ม
ซึ่งผมงงว่า “เช่นเดียวกับควอนตัม” มันแปลว่าอะไร Quantum ในทางฟิสิกมันแปลว่า น้อยๆ วัดค่าไม่ได้แน่นอน แต่รูปผนังนี้มันอยู่มาตั้งนาน ก็น่าจะใช้คำอื่นมากกว่า รึปล่าวนะ?
หลังจากนั้นคุณภิญโญก็บอกว่า การได้มาอยู่ในที่ห้องเล็กๆที่ตั้งของภาพนี้ จึงเหมือนการได้มาอยู่ใต้เบื้องบาทของพระเยซูเจ้า แล้วจึงวกไปว่า ผู้มีปัญญาจริงนั้น จะไม่ต้องการทรัพสินใดๆ จะต้องการแสงสว่างของพระองค์ดำรงในใจก็พอ เมื่อจิตของพระเจ้าอยู่กับเรา ไฉนเลยจะปราชัยในสงครามชีวิต แต่คนส่วนใหญ่นั้นเลือกทรัพสิน แสวงหาเงินทอง ชื่อเสียง อำนาจ ราชศักดิ์ เพราะเชื่อว่าความสุขจะตามมา โดยลืมไปว่า ผู้ที่ครอบครองความสุขสงบที่แท้ แม้ครองตัวต่ำ จะกระทำการสูง (จังหวะนี้ท่าประธานโดนอีกแล้วครับ)
แล้วคุณภิญโญก็นำไปสู่เรื่องราวที่ว่าพระเยซุทรงเร้นกายหายไปไหน 18 ปี โดยไม่มีบันทึกใดๆ โดยเสนอว่าในอินเดียมีตำนานเล่าขานว่าพระเยซูเดินทางร่วมกับพ่อค้าเพื่อแสวงหาภูมิปัญหาจากตะวันออก โดยมีหลักฐานคือใน Book Of Revelation มีการกล่าวถึงดวงดาวทั้งเจ็ด ซึ่งตรงกับ จักระทั้งเจ็ดในเคล็ดโยคะโบราณของอินเดีย ซึ่งก็คือเส้นทางที่ทิพยวิญญาณเคลื่อนเข้าสู่ร่างกายและเคลื่อนออกไป
เมื่อทำสมาธิ วิญญาณจะเชื่อมต่อติดกับเข้าจิตรจักรวาลผ่านการเปิดของฐานที่เจ็ด สหัสาระ ซึ่งมีฐานที่บนสุดของสมอง
ซึ่งหากคนเราฝึกจิตให้ถึงจุดนี้ได้ ในภาษาฝรั่งเศษเรียกว่า Clairvoyance ตาสว่าง
และเมื่อเราตาสว่างเราจะกลับไป Reconnect กับจักรวาลอีกครั้ง คือภาวะที่เราตอบคำถามได้ว่า เราเป็นใคร เกิดมาเพื่อสิ่งใด และจะสร้างสิ่งใดให้กับโลก
5. Spiritual Moment, Intelligent Insight จักระพุทธา
กล่าวถึงพระเจ้าอโศกมหาราช ที่เกิดดวงตาเห็นธรรมขึ้นฉับพลัน หลังเห็นซากศพทหารและประชาขนนอนตายกลาดเกลื่อน ห้วงวินาทีนั้นพระองค์ได้มี Spiritual moment เกิด Moment ตาสว่าง ที่เชื่อมต่อติดกับจักรวาล และเกิดการระลึกรู้ว่าตัวเองเป็นใคร เกิดมาเพื่อกระทำสิ่งใด และต้องการมอบความหมายใดให้กับโลกที่ตนเองอยู่อาศัย พระองค์จึงเปลี่ยนจากนักรบโหดร้ายสู่นักปราชญ์ กลายเป็นธรรมราชาผู้ยิ่งใหญ่ ที่ยังคงความสมบูรณ์ทางโลกไว้ได้ ทรัพสินมากมายนั้นไม่ได้รบกวนความสงบจิตใจ งานนั้นหรือ ก็คือการทำเพื่อสร้างประโยชน์แก่คนอื่น และเติมเต็มจิตวิญญาณ พระองค์ได้แจกจ่ายความมั่งคั่งที่ได้มามากมาย เพื่อเพื่อนมนุษย์อื่นๆ
แต่น่าเสียดายที่ในเวลาผ่านไปสองพันปี มนุษย์หลงลืมสมดุลอันเรียบง่ายนี้ จิตใจมีแต่สงคราม การเมือง การค้า หุ้น ทองคำ น้ำมัน ค่าเงิน มีความสุขในการสร้างส่วนเกิน เราแสวงหาความมั่งคั่งไม่มีที่สิ้นสุด ไม่คิดแบ่งปันให้ผู้อื่น กลายเป็นคนที่รวยที่สุดในหลุมฝังศพ รวยที่สุดในหน้านิตยสาร รวยที่สุดในตำนาน แต่กลับล้มละลายทางจิตวิญญาณ (คุณภิญโญจัดท่านประธานหนักมากครับ ณ จุดนี้)
“…คนมีมาก ล้วนมีมากไป คนมีน้อยมากมาย จึงไม่เคยมีพอ”
คนภิญโญเสนอว่า ความโลภและสงครามในใจมนุษย์นั้นมีมานานแล้ว ดั่งที่พบในเรื่องเล่าการแย่งชิงอำนาจของราชวงศ์ต่างๆ
“กระนั้น ทั้งหมดก็ล้วนพลันหายไปในประวัติศาสตร์
ทั้งเมาระ ฉิน กระทั่งสุมา
ราชวงใดในโลกหล้า ล้วนต้องยอมสยบให้ผู้ยิ่งใหญ่
คือ เวลา ผู้ไม่เคยปรานี
แม้กษัตริย์ ขุนนาง หรือเหล่าทหารกล้า” (จุดนี้ No Comment)
ในตอนท้ายคุณภิญโญก็ได้เฉลยปริศนาของหนังสือเล่มนี้
เนื่องจากเราตกอยู่ในช่วงที่จะมีการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยครั้งใหญ่ มีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ชีวิตเกิด Chaos ธุรกิจเกิด Disruption และ Reinvention และความคิด (mindset) ที่ต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
คุณภิญโญจึงได้เขียนหนังสือชุดปํญญา Wisdom series มาเพื่อช่วยเป็นพาหนะนำพาพวกเราไปสู่สู่ยุคใหม่คล้ายเรือโนอาร์ ด้วยการเป็นผู้ส่งสารรวบรวมถ่ายทอด ปัญญาแห่งจักรวาลต่างๆ มาให้พวกเราใช้
ในโลกที่ก้าวหน้า คนเราก็มีอายุถึง100 ปีได้ไม่ยาก การที่เราจะมีความสุขและความหมาย เงินทองและสุขภาพที่ดีไม่เพียงพอ เราต้องเข้าใจชีวิตด้วย
ในอนาคตมนุษย์จำเป็นต้องเรียนรู้ทักษะใหม่ Relearn ตลอดชีวิตและตลอดเวลา จำเป็นต้องทิ้งตัวตนเก่าที่เรารัก สร้างตัวตนใหม่ ทักษะใหม่
ซึ่งยาก เพราะเรายึดมั่นในตัวกูของกูกันเหลือเกิน การจะทำให้ได้ เราจึงต้องมีความเข้าใจในมนุษย์ เข้าใจลึกลงไปในจิตใจคน มีคามรัก มีเมตตา รู้จักละวางความแค้น อยู่กับความเห็นต่างได้
และต้องเข้าใจตัวเองว่าตนคือใคร เกิดมาเพื่อทำสิ่งใด จะฝากความหมายใดแก่โลก
เมื่อเรารู้มัน เราจะมีกำลังฝ่าฝันความยากลำบากต่างๆไปสู่อนาคตได้
การจะรู้คำตอบนี้ ทักษะจากโรงเรียน มหาลัย ที่ทำงาน ไม่พอ มนุษย์ต้องเข้าใจในจิตวิญญาณ ในพลังงานแห่งจักรวาล ซึ่งถูกถ่ายทอดไว้ในทุกศาสนา
มนุษย์ต้องยกระดับจิตวิญญาณตนเองให้สูงกว่าสัญชาติญานเอาตัวรอดเยี่ยงสัตว์ป่า สัญชาติญาณทางเพศ การใช้อำนาจ
เมื่อเข้าใจตัวเอง จึงจะคลายทุกข์ได้