Key Messages
Homo Deus: When Men Play God
จะเกิดอะไรขึ้น หาก Homo Sapiens (“Knowing Man”) คิดจะอัพเกรดตน กลายเป็น Homo Deus (“God Man”)
หนังสือ Homo Deus: A Brief History of Tomorrow (โฮโมดีอุส : ประวัติย่อของวันพรุ่งนี้) คือภาคต่อของ Sapiens ซึ่งยังคงความยอดเยี่ยมในการนำข้อมูลจากประวัติศาสตร์ และปัจจุบัน มาผสานรวมกับมุมมองของผู้เขียน ออกมาเป็นหนังสือที่เล่าเรื่องราวของมนุษย์ และตั้งคำถามต่อสิ่งต่างๆ ได้อย่างแหลมคม ชวนคิด และน่าทึ่ง
หนังสือ โฮโมดีอุส (Homo Deus) จะบอกเล่าเรื่องราวต่อจากหนังสือ เซเปียนส์ (Sapiens) ที่ Harari ได้อธิบายว่า ทำไมสิ่งมีชีวิตที่ไม่ได้มีความสลักสำคัญใดๆกับโลก จึงสามารถขึ้นมาเป็น “The only Dominant Species”ของโลกใบนี้ได้ โดยใช้เวลาเพียงแค่ 75,000 ปี
คำถามต่อมาคือมันจะสิ้นสุดแค่นี้หรือ? มนุษยชาติจะพอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่นี้ได้หรือไม่ ?
จากประวัติศาสตร์ มนุษย์ก็ดูไม่ได้เป็นสิ่งมีชีวิตที่พอใจกับการหยุดนิ่งกับที่ ก็ในเมื่อเราสามารถพัฒนาจนเอาชนะชะตาที่ธรรมชาติกำหนดมาได้ในระดับหนึ่ง มีเหตุผลอันใดที่เราจะไม่ไปต่อ พัฒนาสิ่งต่างๆ ต่อไปเรื่อยๆ จนกลายมาเป็นผู้กำหนดชะตาธรรมชาติเสียเอง?
จะเกิดอะไรขึ้น หากมนุษย์สามารถไปถึงจุดนั้นได้?
เรื่องราวในหนังสือ โฮโมดีอุส คือ ความพยายามอีกครั้งของ Harari ที่จะนำผู้อ่านออกเดินทางสู่โลกของความเป็นไปได้ในอนาคต โดยอาศัยสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ อาศัยข้อมูลความก้าวหน้าด้านต่างๆ องค์ความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์ มาสังเคราะห์เป็นโลกแห่งความเป็นไปได้ในอนาคต ให้ผู้อ่านได้ไตร่ตรอง พิจารณา
Note : คำเฉพาะภาษาไทยที่ใช้นี้มาจากผมลองแปลจากVersion ภาษาอังกฤษเองนะครับ น่าจะมีหลายๆคำ ที่ไม่ตรงกันกับฉบับ Official แปลไทย
The Human Agenda
Harari เริ่มต้น Homo Deus ด้วยประเด็นว่า มนุษย์นั้นได้บรรลุความใฝ่ฝันของผู้คนในอดีตแล้ว เช่น หากคุณเกิดมาสมัยยุคกลางของยุโรป มันก็เป็นเรื่องปกติที่อายุขัยคนรอบๆตัวคุณจะไม่ได้ยืนยาวเกิน 60 ปี เป็นเรื่องปกติที่วันดีคืนดีคุณจะติดเชื้อโรคระบาดแล้วก็ตายไป วันดีคืนดีคุณจะไม่มีอะไรกิน หรือโดนเมืองข้างๆเปิดสงคราม บุกโจมตี คนในสมัยก่อนคงไม่คิดว่าจะมีวันใดที่มนุษย์สามารถเอาชนะ ภาวะอดอยาก (Famine), โรคระบาด (Plaque) และสงคราม(War) ไปได้ พวกเขาแค่อยู่รอดไปวันๆก็เก่งแล้ว
แต่ไม่ใช่ในสมัยนี้ ที่ สามเรื่องดังกล่าวเป็นอะไรที่เราคุมได้ เราผลิตอาหารได้มากพอ ที่ภาวะอดอยากนั้นเป็นเรื่องของปัญหาการเมือง หากมีโรคระบาดเกิดขึ้น นั่นคือความผิดพลาดในการดำเนินนโยบายทางสาธารสุข และเรามีคนเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย มากกว่าการฆาตกรรมหรือจากสงครามรวมกันเสียอีก
ฉะนั้นแล้วเมื่อมนุษย์สามารถเติมเต็มสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้แล้ว ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่มันจะพอใจแค่นั้น เราได้กลายเป็นเจ้าของชะตาชีวิตของเราเอง ไม่มีอะไรมาหยุดเราไม่ให้ Upgrade ตัวเราให้ดีขึ้น เพื่อชีวิตที่อมตะ (Immortality) เพื่อสุขนิรัน (Bliss) และอำนาจเหนือพระเจ้า (Divinity)
The Hive Switch
แต่ก่อนที่ Harrari จะพยายามอธิบายว่า อะไรจะเกิดขึ้นกับมนุษย์ในอนาคต เขากลับมาตั้งคำถามอีกครั้ง นำผู้อ่านย้อนสู่หนังสือ Sapiens โดยเน้นประเด็นที่ว่าเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร?
เรามาอยู่ในจุดที่มนุษย์เป็น Species เดียวที่สามารถกำหนดความเป็นไปของระบบนิเวศได้ทั่วทั้งโลก ซึ่งแม้จะมีสิ่งมีชีวิตเกิดมาล่วงหน้าเราหลายล้านปี ก็ไม่เคยมี Species ที่ใดที่ทำเช่นนี้ได้
Harari เสนอว่าที่มนุษย์ทำเช่นนี้ได้ ไม่ใช่จากที่มันรู้ภาษา ไม่ใช่จากที่มันทำเครื่องมือหินได้ ไม่ใช่จากที่มันเป็นสัตว์ประเสริฐอะไรใดๆ ไม่ใช่เพราะมันมีความรู้สึกนึกคิดละเอียดอ่อนใดๆ แต่เพราะด้วยความเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างในสมอง ทำให้เราสามารถแต่งนิยาย(Story)ได้ ซึ่งนิยายในที่นี้ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ความเชื่อที่แชร์ร่วมกัน” (Inter-subjective reality) เช่น เราเชื่อว่าเงินมีค่า เพราะคนอื่นๆก็เชื่อว่าเงินมีค่า แต่ถ้าเราเอาเหรียญหรือธนบัตรไปให้คนป่าดู พวกเขาก็คงไม่ได้เห็นค่าอะไร เพราะเขาไม่ได้แชร์ความเชื่อนั้นกับเรา
การที่มนุษย์เชื่อใน Intersubjective reality นี้เอง ทำให้เราสามารถสร้างความร่วมมือได้ในระดับมวลมหาประชาชน ซึ่งไม่มีสัตว์Speciesใดทำได้
ถามว่า Intersubjective Reality นี้ ทำให้มนุษย์ร่วมมือกันได้อย่างไร? นั่นเพราะมันทำให้มนุษย์มีเป้าหมายในชีวีต และ มันให้ความหมายของชีวิตมนุษย์ เช่น ชาวอียิปโบราณเชื่อในฟาโรห์ เชื่อว่าฟาโรห์เป็นพระเจ้า และตนมีชีวิต เกิดมาเพื่อรับใช้ จึงยอมอดทนใช้แรงงานสร้างสิ่งมหัศจรรย์ต่างๆมากมาย รวมถึงสามารถสร้างพีระมิดด้วยความลำบากลำบนได้
The Pie
นอกจากนี้ Intersubjective Reality ยังทำให้สังคมมนุษย์ อยู่อย่างสงบสุข และเกิดสมดุลในการใช้ทรัพยากร
ทำไมจึงเกี่ยวกับความสงบ? เพราะการจะตัดสินได้ ว่าอะไรคือสิ่งที่ดี หรือไม่ดี (Morally Right or Morally Wrong) ก็ต้องใช้หลักคิด คำสอนต่างๆ มาตัดสิน เช่นคำสอนที่มาจากศาสนา (เช่น ขโมยของเป็นบาป การพนันเป็นบาป เป็นต้น)
ส่วนเรื่องความสมดุลในทรัพยากร ก็เริ่มจากว่า มนุษย์ในอดีตไม่เชื่อในเรื่องการเติบโต (Growth) ของเศรษฐกิจ นั่นเพราะธรรมชาติไม่ได้มีกลไกเช่นนั้น ธรรมชาติไม่เชื่อใน Credit
ลองคิดดูว่า ในทุ่งหญ้าแห่งหนึ่ง จะเกิดอะไรขึ้นถ้ามีจำนวนหมาป่าเกิดขึ้นเยอะ จนอัตราการบริโภคกระต่ายแซงหน้าการเกิดของกระต่าย? หรือ หมาป่าบริโภคกระต่ายเกินความจำเป็น? ช่วงแรกนั้นหมาป่าก็จะอวบอ้วนสมบูรณ์ แต่เมื่อกระต่ายลดลงเร็วเกินไป แน่นอนว่าหมาป่าก็จะลดจำนวนลง เพราะพวกมันจะอดตาย หรือ แย่งอาหารกันเอง กลับสู่สมดุล ซึ่งนี่คือธรรมชาติ
และคงไม่มีหมาป่าตัวไหน ที่ไปขอแบ่งเนื้อกระต่าย 1 ตัว จากหมาป่าตัวอื่น แล้วสัญญาว่าเดือนหน้าจะคืนกระต่ายให้อีก 2 ตัว
โลกในอดีตก็เช่นกัน คนเห็นทรัพยากรเป็น Fixed Size Pie ถ้าใครได้ชิ้นใหญ่ไป คนอื่นๆก็จะได้ชิ้นเล็ก ถ้าเมืองใดเมืองหนึ่งรุ่งเรือง นั่นหมายความว่ามีเมืองหนึ่งที่ย่อยยับชิบหาย เพราะว่าถูกยึดทรัพสินมา
วิธีที่จะแก้ปัญหาความขาดแคลนได้นั้น จึงต้องมี Story อะไรบางอย่าง ที่คุมคนไม่ให้แย่งทรัพยากรกัน อาจเป็นการคุมสิทธิเสรีภาพ คุมความทะยานอยากของคนไว้ในคำสอนต่างๆ หรือ ง่ายกว่านั้น ก็บอกว่ามีพายชิ้นใหญ่รออยู่ ในหลังชีวิตความตาย
(Promising pie in the sky) ตอนนี้ก็จงขยัน ทำงาน ทำความดีไว้มากๆซะ
ดังนั้น เมื่อมนุษย์ในอดีตไม่เชื่อใน Growth เศรษฐกิจของโลกก็ไม่เจริญ การใช้ทรัพยากรต่างๆ ก็ไม่ได้เพิ่มสูง ไม่ได้มีการพัฒนาอะไรมากนัก
จนเมื่อ Modernity มาถึง มนุษย์พบว่าเราไม่ต้องอยู่อย่างขัดสน ทุกคนสามารถมีกินมีใช้ได้ มีทรัพยากรพอสำหรับทุกๆคน เพียงแค่เราเพิ่มขนาด Pie ด้วยความเชื่อในการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ (ผ่านระบบ Credit)
ฉะนั้น คนที่ได้ Pie ชิ้นใหญ่อยู่แล้ว ก็จะได้ชิ้นใหญ่ขึ้นไปอีก คนที่ได้ Pie ชิ้นเล็ก ที่ตอนแรกไม่พอกิน ก็จะได้ Pie ชิ้นใหญ่ขึ้น พอให้อิ่มท้อง
ความเชื่อใน Growth นี้ ขัดกับอำนาจและคำสอนเดิมๆ ที่กักขังความทะเยอทะยานของเหล่าปัจเจก จึงทำให้เกิดการท้าทายต่ออำนาจเดิมที่คุมมนุษย์ไว้ ซึ่งก็คุมไว้ไม่ได้นาน เพราะ Growth นั้นทำให้ทุกคน Win-Win อย่างเห็นได้ชัด
เมื่อมนุษย์ละทิ้งความเชื่อเก่า ก็ไม่มีอะไรมากำหนดความหมายของมนุษย์
เมื่อไม่มีอะไรมากำหนดความหมายของมนุษย์ แล้วมนุษย์จะมีคุณค่าอะไร? ใช้ชีวิตเพื่อเป้าหมายอันใด?
God Is Dead
ทำไมการเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีความหมายใดๆ ไม่ได้ทำให้สังคมมนุษย์เกิดความโกลาหล ทำไมมันยังwork ต่อไปได้?
นั่นเพราะ โดยธรรมชาติ มนุษย์ไม่สามารถ Go on ต่อได้ หากขาด นิยาย บางอย่างที่ให้มันยึดเหนี่ยว มันจึงได้สร้างสิ่งที่รองรับแนวคิดเรื่อง Growth นี้ ผ่านหลักการที่เรียกว่า Humanism
มนุษย์สร้างนิยายชุดใหม่ขึ้นมา เรียกว่า Liberal Humanism
Humanism (มนุษยนิยม) คือการที่ มนุษย์หันมาสร้างคุณค่าของมนุษย์ด้วยตัวของเขาเอง
หลักการ (Dogma) ของHumanism คือ อะไรที่ทำให้มนุษย์มีความสุข สิ่งนั้นก็คือสิ่งที่ถูกต้อง
ความเชื่อนี้บอกว่า มนุษย์คือศูนย์กลาง คือผู้ให้ความหมายของจักรวาล มนุษย์จะทำอะไรก็ได้ ที่ทำให้พวกเขามีความสุข
หลักการนี้ ซึ่งก่อร่างพร้อมด้วยกับ Industrial revolution จึงทำให้สังคมมนุษย์เจริญเติบโตอย่างก้าวกระโดด ไม่มีอะไรจะมาหยุดมนุษย์ได้อีกแล้ว ด้วยความรู้ทาง Genetic engineer , Artificial Intelligence และวิทยาการต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นทุกวันๆ ก็ดูเหมือนว่าไม่มีอะไรจะมาหยุดเรา ไม่ให้มีอำนาจเทียมเท่าพระเจ้าได้
ซึ่ง Harari เสนอว่า การที่เราพยายามจะ play god นี่แหละ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของหายนะมวลมนุษยชาติ เพราะสุดท้ายแล้ว ความเจริญนี้ จะย้อนกลับมาทำลาย “ความหมายของมนุษย์” อันเป็นเสาหลักของ Humanism
The Algorithm
อะไรคือความหมายของมนุษย์? อะไรคือ “แก่นของมนุษย์”
ดังที่กล่าวว่า ความพิเศษของมนุษย์อยู่ที่การร่วมมือระดับมวลมหาประชาชน ไม่ใช่ในระดับปัจจเจก ตัว Harari นั้น ไม่เชื่อในจิตวิญญาณ ไม่เชื่อใน Free will ของปัจเจกใดๆทั้งสิ้น
ในมุมมองของ Harari, มนุษย์เดี่ยวๆนั้น ไม่มีความพิเศษอะไรไปมากกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆเลย
เขาเสนอให้มองว่าสิ่งมีชิวิตนั้น ก็คือ Algorithm ชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า Biological algorithm
Biological algorithm นี้มีหน้าที่ในการรับ Input และแปลงให้ได้ Output ใดๆก็ตามให้มันสามารถอยู่รอด และสืบพันธุ์ ได้ต่อไป
เมื่อเป็น Algorithm ก็แสดงว่าเรามี Pattern ที่เราสามารถทำนาย ควบคุม และเลียนแบบได้
ดังนั้นจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อความเจริญด้านชีววิทยา สามารถ Crack the code ถอดรหัส Algorithm ของสมองมนุษย์ได้ สามารถคุมการทำงานของความคิดมนุษย์ได้ และจะเกิดอะไรขึ้น หาก AI สามารถพัฒนา Algorithm ให้ก้าวหน้าจนสามารถทำอะไรต่างๆ ได้เก่งกว่ามนุษย์
ลางหายนะข้อที่หนึ่ง จึงเป็นว่าเมื่อ AI มาแทนที่มนุษย์ จนทำอะไรต่างๆได้ดี มนุษย์เดิมที่มีคุณค่าอย่างน้อยที่สุดในงานแรงงาน ก็จะกลายเป็น ชนชั้นที่ไม่มีคุณค่าใดๆ (Useless class of human) โดยสมบูรณ์แบบ
อาจมีข้อค้านว่า แม้AI จะเก่งยังไง มันก็ไม่มีความรู้สึกนึกคิด (Consciousness) แม้ในปัจจุบันAIจะพัฒนาเร็วแค่ไหน ด้านพัฒนาความรู้สึกก็ยังดูห่างไกล ไม่ได้มีความคืบหน้าใดๆ ยังไงเสีย เมื่อมนุษย์นั้น ยังมีความรู้สึกนึกคิด ฉะนั้น AI ก็น่าจะยังตามหลังเราอยู่เสมอ
แต่ ปัญหาคืออะไรสำคัญกว่าหละ ในการทำงาน ระหว่าง ความฉลาด (Intelligence) หรือ ความรู้สึก (Consciousness) ถ้า AI สามารถทำงานได้เก่งกว่ามนุษย์ จำเป็นด้วยหรือ ที่มันต้องมีความรู้สึก?
หายนะข้อที่สองที่จะมาท้าทายความเป็นมนุษย์ ก็คือความเจริญของ Biogenetic และ Bioengineering
จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อเราสามารถปรับแต่งพันธุกรรมได้สมบูรณ์ เราสามารถกำหนดคุณสมบัติของมนุษย์ได้ตั้งแต่ปฏิสนธิ และเราสามารถปรับเสริมเติมแต่ง ใส่นุ่นนี่นั่นให้มนุษย์ได้ (สร้างCyborg) จนสุดท้ายเราอาจสามารถเปลี่ยนสมอง คุมความคิดของมนุษย์ได้ อุปนิสัยอะไรที่ไม่ดี เราก็กด Switch ปิดมัน อุปนิสัยที่ดีๆ เราก็ขยายสัญญาณมันมากๆขึ้นๆ
เมื่อความก้าวหน้ามาถึงขั้นเราสามารถ Manipulate ความรู้สึกของคนได้แล้ว เรายังจะเรียกได้หรือไม่ ว่าแต่ละคน Unique หรือ มีตัวตนอันเป็นเอกลักษณ์จริงๆ
หายนะที่ต่อเนื่องมาคือ หากการ Engineer มนุษย์นี้ เกิดขึ้นจริง มันย่อมเกิดขึ้นก่อนในหมู่ Elite ซึ่งนั่นจะยิ่งทำให้ความสามารถของคนธรรมดากับคนที่ได้รับการปรับแต่ง ห่างชั้นกันมากขึ้น พวก Elite ที่ได้รับการปรับแต่ง อาจมีการทำงานร่างกายที่ไม่เหมือนเรา อาจมีสมองที่คิด รู้สึก ประสบการณ์ต่างจากเราไปมากเรื่อยๆ เหมือนที่เราไม่มีวันเข้าใจความคิดของหมู ของไก่
พวกเขาอาจเปลี่ยนไปเป็นสิ่งมีชีวิตใหม่ ที่Sapiens ไม่มีวันเข้าใจ เกิดเป็นมนุษย์สายพันธุ์ใหม่ เรียกว่า Homo Deus
It’s all about the Data Flow
เมื่อเสาหลักของ Humanism ซึ่งก็คือความ Unique และความหมายของแต่ละคน ถูกท้าทาย และมีแนวโน้มจะถูกทำลายไป นั่นแปลว่า Liberal humanism อาจถูกทำลายได้ในอนาคต
เมื่อนั้นแล้วอะไรจะมาแทนที่มันหละ อะไรจะมากำหนดความหมาย กำหนดเป้าหมายให้ Homo Sapiens ได้อีก?
Harari เสนอว่า สิ่งนั้นอาจเป็น Dataism
Dataism ยึดหลักที่ว่า Universe ไม่ใช่อะไรอื่น มันคือ Data flow
คุณค่าหรือความหมายของสิ่งใดๆ ขึ้นกับว่ามันสามารถ มอบอะไรให้กับการสร้าง แปรผล และผลิตซ้ำ แบ่งปัน Data ได้มากน้อยแค่ไหน
ถ้ามันทำให้เกิด Data Flow ได้มาก แสดงว่ามันมีคุณค่า และมันได้ไปต่อ
การที่มนุษย์มาถึงจุดนี้ได้ ก็เพราะมันเป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถ contribute data flow ได้ดีกว่าสัตว์ตัวอื่นๆ โดยเฉพาะการที่มันสามารถร่วมมือเป็นมวลมหาประชาชนนี้ได้ ยิ่งทำให้เกิด Processor อันทรงพลัง มันจึงเป็นผู้ชนะในโลกนี้
กรณีอื่นๆ เช่น การที่ ทุนนิยม เอาชนะ คอมมิวนิส ได้นั้น ไม่ใช่เพราะ ทุนนิยมคือพระเอก คอมมิวนิสคือซาตาน แต่เพราะทุนนิยมใช้ระบบ Distributed Data processing ในขณะที่ Communist ใช้ Centralised Data processing ซึ่งช้ากว่า มันเลยแพ้ไป
Dataism เกิดจาก การพยายามผสานรวมกันของสองทฤษฏีที่สำคัญ คือ การมองสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเป็น ฺBiochemical algorithm และ การเกิดมาของ Computer ซึ่งเป็น Electronic algorithm
Dataism เสนอว่า เราควร ควบรวม ทั้งสองอย่างนี้เข้าด้วยกัน ทำลายบาเรียกั้นระหว่างสัตว์และเครื่องจักร เมื่อนั้นแล้วองค์ความรู้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ก็สามารถผนวกรวมกัน เกิดเป็น Single Processing algorithm ที่ทำให้ข้อมูลมีการ Flow อย่างดีที่สุดโดยที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
และโลก ก็จะอยู่ในยุคสมัยแห่งความรุ่งเรือง ก้าวหน้า อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่นกัน
หาก Dataism สามารถครองโลกได้สำเร็จ จะเกิดอะไรขึ้นกับมวลมนุษชาติ?
Harari เสนอว่า ในช่วงแรก มนุษย์จะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาล จากความเจริญรุ่งเรืองต่างๆ
แต่แน่นอนว่าสิ่งที่จะรับมือกับข้อมูลปริมาณมหาศาลนี้ได้ มิใช่สมองมนุษย์ มันคือ AI
สุดท้ายแล้ว AI จะสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ และ มนุษย์ จะไม่เกี่ยวอะไรกับโลกนี้อีกต่อไป
ความสุขของมนุษย์จะไม่มีความสำคัญใดๆอีกต่อไปมนุษย์ จะไม่มีความหมายใดๆอีกต่อไป เพราะBiological algorithm ที่ล้าหลังของมนุษย์ จะถูกแทนที่ด้วย Electrical Algorithm
มนุษย์จะยังคงมีอยู่ อยู่ดี กินดี แต่ชีวิตเหล่ามนุษย์ที่ไม่มีความหมายเหล่านี้ มันจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเขา?
สุดท้ายแล้ว มนุษซึ่งสร้าง Electric Algorithm ขึ้นมา ก็จะถูกลดสภาพเป็นแค่ฟันเฟืองหนึ่งในระบบ แล้วอาจหายไปกับกลุ่มข้อมูลต่างๆ
บั้นปลายของ Dataism จึงชี้ให้เห็นว่า สุดท้าย มนุษย์จะกลายเป็นสิ่งที่ทำมันทำสัตว์ร่วมโลกใบนี้ ที่มันทำกับหมู ทำกับไก่
สุดท้าย Homo Sapiens จะเป็นสัตว์ล้าหลังตัวหนึ่ง ที่ไม่มีความสลักสำคัญใดๆต่อโลกใบนี้
Harari ทิ้งท้ายหนังสือ ด้วยคำถามสำคัญสามข้อ ซึ่งเขาเชื่อว่าสามารถตอบทุกๆปัญหา และพอชี้ให้เราเห็นแนวทางในอนาคตได้ นั่นคือ
1. Are organism really just algorithm, and is life really just data processing? (สิ่งมีชีวิตเป็นแค่ Algorithm และ ชีวิตเป็นแค่ Data processor จริงๆหรือ)
2. What’s more valuable – intelligence or consciousness? (อะไรสำคัญกว่า ความรู้สึก หรือ ความฉลาด)
3. What will happen to society, politics and daily life when non-conscious but highly intelligent algorithm know us better than we know ourselves? (อะไรจะเกิดขึ้นต่อระบบสังคม การเมือง และชีวิตประจำวันของพวกเรา หากมี algorithm ที่ไม่มีความรู้สึกใดๆ แต่ฉลาดมากๆ รู้จักตัวเรา ดีกว่าเรารู้จักตัวเองสะอีก)
Opinion
นี่คือหนังสือที่เสนอมุมมอง และแง่มองต่างๆ ของสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในโลกใบนี้ อธิบายว่าเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร และอธิบายว่าเรากำลังจะเดินไปทางไหนในอนาคต ได้อย่างละเมียดละไม มีชั้นเชิง เป็นหนังสือที่มีอำนาจที่สุดเท่าที่ผมเคยมา เพราะมันปลุกความคิด ท้าทายปัญญา เปิดหูเปิดตา และเปลี่ยนตัวตน และมุมมองของผมที่มีต่อกลไก การทำงานของโลกใบนี้ ไปอย่างมหาศาล
เป็นหนังสือที่เกิดมาชาตินี้ ต้องอ่านครับ
อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าหนังสือเล่มนี้มีข้อควรระวังในการอ่าน คือ
- เราต้องไม่ลืมว่า Harari นั้นเป็นนักประวัติศาสตร์ การนำข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ต่างๆมาอ้างอิงของเขาจึงดู ฉาบฉวย (Face Value)ไปบ้าง และอาจดู Extrapolate ผลการทดลองหลายๆอย่างมากไปหน่อย ซึ่งผมเชื่อว่าหลายๆคนที่อ่านเล่มนี้ หรืออ่าน Review อาจคิดว่า นี่มันหนังสือนิยายไซไฟชัดๆ ดังนั้นแล้วเราจึงไม่ควรเชื่อเป็นตุเป็นตะว่าสิ่งต่างๆนั้นจะเกิดขึ้นจริง
- Focus in the process แต่ที่สุดยอดและน่าทึงมาก และเราควรศึกษาเรียนรู้ คือ การที่ Harari สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ในหลายๆศาสตร์ มา Integrate เข้ากับระเบียบวิธีคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ ออกมาเป็นแนวทางของเขาได้อย่างไร ที่น่าทึ่งไม่แพ้กันคือ ความสามารถเขียนอธิบายข้อมูลต่างๆ ไล่มาเป็นฉากๆ ได้อย่างลื่นไหล เขาทำได้อย่างไร ซึ่งต้องไปอ่านเองครับ ผมไม่รู้จะเอาคำไหนมาบรรยาย บอกได้แค่มันสนุกและน่าทึ่งมากๆ
- ไม่มีใครทำนายอนาคตได้ อนาคตที่ดูทำนายได้แม่นยำ มันจะไม่เกิด สิ่งที่มักจะเกิดคือสิ่งที่ผู้คนคิดไม่ถึง ในประเด็นนี้มี Discuss อย่างละเอียดในบทนำของหนังสือครับ
สรุปเนื้อหา Homo Deus แต่ละบท
บทที่ 1 : The New Human Agenda
จุดมุ่งหมายเดิมของมนุษยชาติ (Origin human Agenda) คือ การแก้ไขปัญหา ความอดอยาก (Famine) โรคระบาด(Plaque) และภาวะสงคราม (Wars)
แต่ในโลกสมัยใหม่นี้ ปัญหาดังกล่าวได้บรรเทาเบาบางลงไปแล้ว
1. Famine
ไม่มีการอดอยากที่เกิดจากธรรมชาติอีกแล้วในโลกนี้ เพราะจริงๆแล้ว เราสามารถผลิตอาหารได้พอกับความต้องการทั้งโลก จะมีเหลือก็แต่การอดอยากเพราะปัญหาจากการเมืองเท่านั้น
ปัญหาการบริโภคเกินความต้องการ น้ำหนักเกิน โรคอ้วน กลับกลายเป็นปัญหาหนักว่าการอดอยาก
ในปี 2010 มีคนตายด้วยโรคอ้วน 3 ล้านคน ในขณะที่ตายจากขาดสารอาหารเพียง 1 ล้านคน
2.Plagues
มนุษย์เราสามารถคุมการระบาดของโรคติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากมีการระบาดของโรค นั่นคือความผิดพลาดของการบริหารจัดการ เป็นความผิดของรัฐบาล ของสาธารณสุข ไม่ใช่ความโหดร้ายของธรรมชาติ
3.Wars
ในปี 2012 สถิติคนตายทั้งโลกอยู่ที่ 56 ล้านคน
ในนี้มีอยู่ 6 แสนคน ที่ตายด้วย ฝีมือมนุษย์ แบ่งเป็น 1.2 แสนคนที่ตายจากสงคราม , 5 แสนคนตายจากฆาตกรรม ในขณะที่มีถึง 800,000 คนที่ฆ่าตัวตาย
สงครามไม่ค่อยมีประโยชน์อีกต่อไป มันทำกำไรไม่ค่อยได้แล้ว เพราะจากเดิมที่ความมั่งคั่งสร้างขึ้นมาจาก สินทรัพย์ต่างๆ เช่นเหมืองทองคำ น้ำมัน พื้นที่การเกษตร
ปัจจุบัน ความรู้คือทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุด
World Peace (สันติภาพ) มีความหมายใหม่ จากเดิมนั้น Peace หมายถึงช่วงลมสงบชั่วคราวก่อนที่จะมีสงครามครั้งต่อไปเกิดขึ้น ปัจจุบันนี้ Peace คือสิ่งที่เป็นปกติ (new normal) แต่สงครามคือสิ่งที่มาเกิดทำให้สันติภาพซึ่งเป็นของปกตินั้น เสื่อมเสียไป
อาจจะมองว่า การก่อการร้ายจะดูมีมากขึ้น และดูน่ากลัวมากขึ้น แต่แท้จริงแล้วการก่อการร้ายไม่ได้มีอำนาจอะไรเลย คนตายจาก Coca-Cola มากกว่า Al-Qaeda
ฉะนั้น หากการก่อการร้ายจะทำให้เกิดความเสียหายรุนแรง หรือสงครามครั้งใหญ่ นั่นก็เป็นความผิดของ ปฏิกิริยาของประเทศต่างๆ ไม่ใช่ของขบวนการก่อการร้าย
จึงกล่าวได้ว่า Famine, Plaque , Wars นั้นเป็นปัญหาที่อยู่ในอำนาจของมนุษย์ที่จะจัดการให้มันหมดไปได้ มนุษย์ไม่สามารถที่มัวจะโทษธรรมชาติ ชะตากรรม หรือพระเจ้า ได้อีกต่อไป
แต่ ประวัติศาสตร์ จะไม่อดทนต่อภาวะสุญญากาศ
หากปัญหาสามอย่างนั้นลดลง ก็จะมีบางอย่างเกิดขึ้นมาใหม่ เป็นปัญหาใหม่ เป็นเป้าหมายใหม่ ที่มนุษย์จะใฝ่อีกครั้ง
ที่ใกล้ตัวเราที่สุด คือ ปัญหาสิ่งแวดล้อม (Ecological Equilibrium) ซึ่ง Harari เชื่อว่ายังไงมนุษย์ก็หาทางแก้มันได้
ดังนั้นถ้ามนุษย์สามารคุม Famine, Plaque, Wars และ Ecological equilibrium ได้ จะเกิดอะไรต่อ มนุษย์จะสามารถพอใจอยู่แค่นั้น แล้วใช้ชีวิตอย่างปกติสุขต่อไปหรือไม่?
แน่นอนว่าไม่ใช่อย่างนั้น โดยปกติมนุษย์จะไม่พอใจในสิ่งที่มีอยู่ เพราะ ปฏิกิริยาต่อความสำเร็จ ไม่ใช่ความพอใจ แต่การต้องการเพิ่มยิ่งขึ้น (Craving for more)
เป้าหมายของมนุษย์นั้นก็เป็นอะไรที่ดียิ่งขึ้น ยิ่งใหญ่ขึ้น ให้อำนาจมนุษย์มากขึ้น
…เมื่อเราคุมความเป็นความตาย ( Mortality )ได้แล้ว เราก็จะแสวงหาความเป็นอมตะ ( Immortality )
…เมื่อเราลดความทุกข์โศก (Misery) ได้แล้ว เราก็จะแสวงหาสุขนิรันดร์ (Happiness)
..เมื่อเราไม่ต้องมากังวลกับการตัวรอดไปวันๆ ( Survival Struggles) ดังเช่นสัตว์ Species อื่นๆแล้ว เราก็จะยกตนเหนือกว่าพวกมัน สัตว์เดรัจฉาน และนำเราไปสู่ อำนาจเทียมทัดเทพเจ้า (Divinity)
3 สิ่งนี้ คือ New human Agenda :
ความเป็นอมตะ (Immortality),สุขนิรันดร์ ( Happiness) และ อำนาจเทียมทัดเทพเจ้า (Divinity)
1. Immortality : The last day of death
Homo sapiens มีอายุขัย 70-80 ปี โดยธรรมชาติอยู่แล้ว ในอดีตที่การแพทย์ไม่เจริญ ก็มีคนจำนวนหนึ่งมีชีวิตยืนยาวได้ถึงช่วงนี้
จะเห็นได้ว่า การแพทย์สมัยใหม่ ไม่ได้ทำให้ชีวิตเรายืนยาวขึ้น มันแค่ไม่ทำให้เราตายก่อนอายุขัยที่ควรจะเป็นเท่านั้น
ยังไงเสีย มนุษย์เราต้องค้นหาหนทางในการยืดอายุขัย เพราะเรามีความกลัวตาย ฝังลึกลงในจิตใจ (Fear of death ingrained in human mind)
2. Happiness : The right to happiness
ความสุขเป็นสิ่งที่มนุษย์ใฝ่หามาตั้งแต่อดีตกาล
ในเมื่อมนุษย์สามารถบรรลุ Original agenda ได้แล้ว โดยรวมแล้ว มนุษย์ก็ควรจะมีความสุขขึ้น
แน่นอน ความสุขไม่ได้เป็นสิ่งที่ง่ายดายขนาดนั้น แม้ว่าโลกเราจะร่ำรวยมากขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้น แต่อัตราการฆ่าตัวตายกลับมีมากขึ้น (โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว)
แม้จะมีความเจริญมากขึ้น มนุษย์ก็ไม่ได้มีความสุขขึ้นเลย
อะไรที่เป็นเพดาน (Glass ceiling) บังไม่ให้มนุษย์มีความสุขมากขึ้น แม้ว่าเราจะประสบความสำเร็จต่างๆมากมาย
Glass Ceiling of happiness and the pillars
Harari กล่าวไว้ว่า ความสุขของมนุษย์มีขีดจำกัด เสมือนกับมันมี Glass Ceiling of Happiness (เพดานแก้วจำกัดความสุข) คอยกั้นอยู่ ซึ่งเพดานนี้มีเสา (Pillar) สองต้นคอยค้ำจุน ถ้าเสามีขนาดสูง เราก็จะมีพบความสุขได้มากขึ้น เข้มข้นขึ้น ถ้าเสามันเตี้ย คุณก็จะมีความสุขได้ลดลง เสาสองต้นที่ว่านี้ คือ
2.1 Psychological Pillar: ความสุขขึ้นอยู่กับ ความคาดหวัง (มากกว่า สภาพปัจจุบัน)
ชีวิตที่สงบสุข มักไม่ได้ทำให้ Sapiens มีความสุข
กลับกัน เรารู้สึกพอใจหากความคาดหวังเราเป็นจริง และเมื่อเราบรรลุมันมากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งหวังสูงขึ้นไปเรื่อยๆ
ดังนั้นแล้ว แม้เราจะสมหวังมากแค่ไหน เราจะไม่มีวันที่มีความสุขง่ายๆ
2.2 Biological Pillar: ความสุขขึ้นอยู่กับสารเคมีในร่างกาย
ความสุขมาจากความรู้สึกพอใจ ความทุกมาจากความรู้สึกเจ็บปวด
ไม่มีใครมีทุกข์เพราะตกงาน เราทุกข์ เพราะเรา “รู้สึก” ว่าการตกงานทำให้เรารู้สึก “ไม่ดี” อันเป็นสิ่งที่เกิดในสมอง
คุณสามารถเป็นคนตกงานที่มีความสุขที่สุดในโลกได้ หากคุณไปเล่นยา หลังจากตกงาน
ปัญหาคือ ความรู้สึกพอใจที่เกิดจากสารเคมีในสมอง จะมีช่วงเวลาที่สั้นมาก ภายในเวลาไม่นาน มันก็จะกลายเป็นความรู้สึกไม่พึงพอใจ
คุณอาจจะได้รับการเลื่อนตำแหน่ง คุณอาจจะดีใจตอนที่มีคนแจ้งข่าว แต่ความพอใจนั้นก็มีแค่ประเดี๋ยวประด๋าว ในไม่ช้า คุณก็จะไม่รู้สึกอะไร และหากปีหน้าคุณไม่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง คุณก็จะมีความทุก อาจจะมีความทุกมากขึ้นด้วยซ้ำ เทียบกับหากคุณไม่ได้รับการ promote ตั้งแต่แรก
ทำไมมันจึงเป็นเช่นนี้?
ก็ต้องโทษ วิวัฒนาการ (Evolution) ที่ทำให้เรามีความรู้สึกพึงพอใจได้แค่ช่วงสั้นๆ
Evolution ทำให้ระบบสารเคมีในร่างกายปรับตัวเพื่อความอยู่รอด และการสืบพันธ์ ไม่ใช่เพื่อความสุข
จินตนาการว่าหากคุณเป็นกระรอกกลายพันธุ์ ที่เกิดมาแล้ว กินถั่วเม็ดเดียว ก็มีความสุขตลอดกาล
คุณจะเป็นกระรอกที่โชคดีมาก แต่ชีวิตก็จะสั้นมาก และคุณลักษณะนี้ จะสูญพันธ์ไปอย่างรวดเร็ว
สิ่งมีชีวิตที่จะรอดและสืบตระกูลได้ ต้องหิวกระหายขึ้นเรื่อยๆ (Hunger for more & Craving for more)
ซึ่งหากความสุขและพึงพอใจนั้นเกิดจากสารเคมีในร่างกาย ก็มีทางเดียวเท่านั้น ที่จะทำให้มนุษย์ทุกคนมีความสุขได้ นั่นคือ การควบคุมสารเคมีในสมองโดยตรง (Manipulate Human Chemistry)
จึงจะเห็นได้ว่าการควบคุมความสุขนั้น ก็แบ่งหลักๆเป็นสองส่วน ตามเสาทั้งสอง
- Psychological : เราสามารถฝึกจิตเรา ให้ละกิเลสต่างๆ ฝึกให้มันอยู่กับปัจจุบัน เพราะมันเป็นบ่อเกิดของความทุกทั้งสิ้น ดังเช่นคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือ
- Biochemical : สร้างผลิตภันฑ์ที่ไปยุ่งเกี่ยวกับสารเคมีในสมอง เพื่อทำให้มนุษย์มีความสุขตลอดการ
ซึ่งคงไม่ต้องถาม ว่ามนุษย์จะเลือกพัฒนาวิธีไหน
3. Divinity : The Gods of planet Earth
Homo sapien จะกลายเป็นเทพเจ้า (Homo deus – God men)
การอัพเกรดสู่อำนาจแห่งพระเจ้านี้ เกิดจากความก้าวหน้าของ 3 แขนงวิชาสำคัญ คือ
3.1 Biological Engineering
ดัดแปลง เปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรม เปลี่ยนวงจรการทำงาน และสารเคมีของสมองมนุษย์
3.2 Cyborg Engineering
ผสานรวมสิ่งมีชีวิต เข้ากับเครื่องมือจักรกลต่างๆ (Merging Organic body with non-organic device)
3.3 Engineering of non-organic being
ปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนตร์ และ Neural Network
Homo sapiens จะอัพเกรดตัวมันอย่างเป็นลำดับขั้น จนถึงวันนึงที่ลูกหลานเรามองย้อนกลับมาและพบว่าเขาเป็นคนละเผ่าพันธุ์กับเรา
ซึ่งที่จริง กระบวนการนี้ได้เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน ในยุคที่ผู้คนพึ่งsmart phone มากขึ้น ยุคที่มีการผ่าตัดเปลี่ยนแปลงใบหน้า เปลี่ยนแปลงรูปร่าง ยุคที่ใช้ยาควบคุมความรู้สึกต่างๆในสมองของตนเองมากขึ้น จนเป็นเรื่องปกติ
ดูเหมือนว่าอนาคตนั้น มนุษย์จะมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและรุนแรง โดยที่เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันจะเกิดประโยชน์หรือโทษอะไรยังไงบ้าง
จะดีกว่าใหม หากเราพยายามชะลอให้มันค่อยๆเป็นค่อยๆไป?
คำตอบคือ เป็นไปไม่ได้ นั่นเพราะ
- ไม่มีใครเข้าใจปัญหาทั้งหมด ทุกคนเป็นแค่ผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่ง ข้อมูลมันมหาศาลเกินไปที่จะมีใครคนใดคนหนึ่ง เข้าใจถึงปัญหาทั้งหมด
- ถ้าสมมติว่าเราสามารถชะลอการเปลี่ยนแปลง นั่นหมายถึงเราชะลอการเติบโต ซึ่งจะทำให้ระบบเศรษฐกิจทั้งหมดพังพินาศ และสังคมมนุษย์ก็จะพังไปด้วย เพราะเศรษฐกิจทุนนิยมของเราดำเนินได้ด้วยความเชื่อที่ว่ามันจะโตขึ้นเรื่อยๆ หากวันใดเศรษฐกิจหยุดโต หายจะก็จะมาถึง ทุนนิยมนี่เองที่ส่งเสริมให้มนุษย์แสวงหาสิ่งใหม่ๆอยู่เรื่อยๆ
แล้วเราสามารถทำนายได้ใหมว่าจะเกิดอะไรในอนาคต?
ไม่ได้ เนื่องจากสิ่งที่เรียกว่า Paradox of knowledge
- หากเรามีข้อมูลน้อย หรือไม่ได้มีข้อมูลที่มีผลกระทบอะไร มันก็จะเป็นข้อมูลที่ไม่มีประโยชน์ (Knowledge that dose not change behavior is useless)
- แต่หากเรามีข้อมูลมากพอ และเรามีข้อมูลที่ดีพอที่สามารถเปลี่ยนการกระทำของเราได้ ข้อมูลนั้นก็จะสูญเสียความสำคัญไปในไม่ช้า (Quickly lose its relevance) -> ยิ่งเรารู้มากเท่าไหร่ว่าจะเกิดอะไร มันก็จะไม่เกิดขึ้นจริง
ยกตัวอย่าง Karl Marx ที่ทำนายว่า ในไม่ช้า ระบบทุนนิยม จะทำให้ชนชั้นทางสังคม เหลื่อมล้ำกันมากขึ้น นำไปสู่การแตกหักระหว่างชนชั้น และจบลงด้วยการล่มสลายของทุนนิยม -> แต่ปรากฏว่าข้อมูลอันหลักแหลมนี้ ก็ทำให้พวกทุนนิยมสามารถใช้มันมาป้องกันแก้ไขสิ่งที่จะเกิดขึ้น “Commune”ที่ Marx ทำนายไว้ จึงไม่เกิดขึ้นจริง
ยิ่งเรามีข้อมูลมากเท่าไหร่ รู้ดีเท่าไหร่ สิ่งนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น ทำให้เราทำนายอนาคตไม่ได้
… แล้วเราจะศึกษาประวัติศาสตร์ไปทำไม?
คำตอบคือ
“Each and Everyone of us has been born into a given historical reality, ruled by particular norms and values, and managed by a unique economic and political system. We take this reality for granted, thinking it is natural, inevitable and immutable” – Yuval Noah Harari
เราอาจจะคิดว่าเราเกิดมาในโลกที่มันเป็นเช่นนี้อยู่แล้ว โลกที่เราเกิดมา มันมีความเชื่อเช่นนี้ มีระบบเช่นนี้ เป็นธรรมดา และเราทำอะไรมันไม่ได้ แต่อันที่จริงแล้วโลกที่เราอยู่ เป็นผลจากเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดมาในอดีต และส่งผลกระทบเป็นห่วงโซ่ตามๆกันมา
สิ่งต่างๆที่เกิดในอดีต ต่างเป็นปัจจัยหนึ่งที่มา Shape เทคโนโลยี การเมือง สังคม และ ความคิด ความกลัว ความฝันของเรา
มันเหมือนกับมีมือของบรรพบุรุษจากหลุมศพ มาตรึงรัดคอของเรา ให้เรามองไปยังเป้าหมายเพียงอันเดียว มันเล่นงานเราตั้งแต่เกิด ทำให้เราอาจไม่เคยพยายามสะบัดคอหนีมัน และหลุดออกจากมันได้
การศึกษาประวัติศาสตร์ เป็นการพยายามที่จะลดความแน่นจากการถูกบีบคอนี้ (Loosen the grip from the past) ทำให้เรามองเห็นตัวเลือกมากขึ้น เห็นสิ่งบรรพบุรุษของเราไม่เคยเห็น หรือ ที่ไม่ต้องการให้เราเห็น
ประวัติศาสตร์ไม่ได้ช่วยเราในการตัดสินใจในการเลือกสิ่งต่างๆ แต่มันช่วยให้เราเห็นตัวเลือกมากยิ่งขึ้น ( Studying history will not tell us what to choose , but at least It gives us more options. )
The Lawn
Harari ยกตัวอย่างเรื่องสนามหญ้า
หากคุณจะสร้างบ้านสักหลัง คุณอยากมีสนามหญ้าหน้าบ้านหรือไม่
ถ้าคุณอยากมี คุณจะมีไปทำไม?
คุณอาจจะคิดว่า ก็มันสวยดี ใครๆเขาก็มีกัน ถามอะไรแปลกๆ
ประเด็นคือมันเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่?
ประวัติศาสตร์บอกเราว่า สนามหญ้า ไม่เคยมีอยู่ในถิ่นอาศัยของมนุษย์ถ้ำ ในวิหารกรีซ ในกรุงโรม หรือ ในพระราชวังต้องห้ามของจีน
วัฒนธรรมการทำสนามหญ้าสวยๆไว้ต้อนรับแขก เกิดในพระราชวังของอังกฤษและฝรั่งเศส ในช่วงยุคกลาง
น่าเหลือเชื่อว่านิสัยนี้ยังฝังรากลึก และกลายเป็นเครื่องหมายของความเป็นชนชั้นนำ ในยุคสมัยใหม่นี้
เมื่อคิดในด้านอรรถประโยชน์ สนามหญ้านั้นเป็นอะไรที่ไร้ประโยชน์มาก คุณต้องลงแรง ลงเงิน ทนุถนอมมันอย่างดีเพื่อจะได้มีผืนหญ้าสวยๆไว้โชว์หน้าบ้าน มันไม่ได้มีคุณค่าอะไรอื่นเลย จะเอาพื้นที่มาเพาะปลูกก็ไม่ได้ เลี้ยงสัตว์ก็ไม่ได้
สนามหญ้าจึงเป็นเครื่องหมายของความผู้มีความมั่งคั่งและอำนาจ
คุณจึงเห็นสนามหญ้าผืนใหญ่ในพระราชวัง ในสถานที่สำคัญของทางราชการ ในสนามกีฬา
ไปๆมาๆ มนุษย์ก็เลยโยง “สนามหญ้า” เข้าด้วยกับ อำนาจทางการเมือง หน้าตาทางสังคม และความมั่งคั่งส่วนตน
ดังนั้นหากในอนาคตคุณต้องการมีสนามหญ้าเป็นของตัวเอง ลองถามตัวเองสักครั้งว่า คุณต้องการมันไปทำไม?
แน่นอน สุดท้ายมันก็เป็นเรื่องของคุณ แต่คราวนี้คุณก็จะมีความเข้าใจมากขึ้นว่า ทำไมคุณถึงต้องนึกถึงสนามหญ้า?
นี่คือเหตุผลที่สำคัญที่สุดของการศึกษาประวัติศาสตร์
มิใช่เพื่อทำนายอนาคต แต่เพื่อปลดปล่อยคุณให้เป็นอิสระจากอดีต เพื่อให้คุณเห็นทางเลือกที่มากขึ้น
“Not in order to predict the future , But to free yourself of the past and imagine alternative destinies”
ดังนั้นเพื่อให้เข้าใจถึง ความเป็นไปได้ของมนุษย์…หนังสือเล่มนี้จะพยายามหาคำตอบว่า
- แท้จริงแล้ว Homo Sapiens คืออะไร มันแตกต่างกันอย่างไรกับสัตว์ชนิดอื่นๆ อะไรทำให้มันพิเศษ เพื่อเป็นการทำนายว่า ถ้าอนาคตเกิด SuperHuman ขึ้นมาจริงๆ เขาจะรู้สึกกับพวกเราเหล่า Sapiens ที่ล้าหลัง อย่างไร?
- Homo Sapiens ที่เคยใช้เวลาเกือบทั้งหมดของเผ่าพันธ์ เชื่อในภูติผี เชื่อในพระเจ้า เชื่อในอำนาจลึกลับ มาลงเอยด้วยการเชื่อใน Humanism ได้อย่างไร? Humanism คือความเชื่อว่า ตัวมันเองเป็นศูนย์กลางจักรวาล และเป็นต้นกำเนิดของทุกๆความหมายและความชอบธรรมต่างๆ ในโลก …ความเชื่อนี้ ได้เปลี่ยนแปลงมนุษย์ไปอย่างไรบ้าง
- ทำไมความพยายามที่จะสานฝัน Humanism จะนำไปสู่การสูญสิ้นความหมายของ Sapiens เสียเอง …และหาก Humanism อยู่ในอันตราย จะมีอะไรมาแทนที่มัน?
Part 1 : Homo Sapiens Conquers the World
บทที่ 2 : The Anthropocene
ปัจจุบันนี้เราอยู่ในยุค Holocene ซึ่งเป็นการแบ่งยุคของโลกตามธรณีวิทยา ยุค Holocene เริ่มขึ้นตั้งแต่ 11,500 ปีก่อน หลังจากที่ยุคน้ำแข็งยุติลง
แต่คุณอาจจะเรียก 70,000 ปีที่ผ่านมาว่ายุค Anthropocene ซึ่งหมายถึงยุคที่ Homo sapiens ขึ้นมามีบทบาทต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศทั่วทั้งโลก ซึ่งนี่เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยขึ้นมาก่อน ที่มีสิ่งมีชีวิตแค่ Species เดียว จะสามารถกำหนดความเป็นไปของระบบนิเวศวิทยาทั้งหมดของโลกใบนี้ได้
มนุษย์ทำให้สิ่งมีชีวิตอื่นๆ และระบบนิเวศวิทยาในโลกเปลี่ยนไป แบบที่ปรากฏการณ์ธรรมชาติไหนๆ ก็ยังทำไม่ได้ เพราะมนุษย์ได้เปลี่ยนโลกนี้เป็น Single Ecosystem
Serpent children
หลักฐานทางมานุษวิทยาต่างๆ ชี้ว่า ในอดีต เหล่า Sapiens ที่ใช้ชีวิตแบบ Hunter-Gatherer นั้นน่าจะเป็น Animism คือกลุ่มที่เชื่อในเรื่องภูติผีปีศาจ เชื่อว่ามีวิญญาณในต้นไม้ ก้อนหิน ในสัตว์ป่าต่างๆ พวกเขาเชื่อว่าคนและสัตว์อื่นๆ เท่าเทียมกัน ไม่มีช่องว่างใดแยก โลกนี้เป็นของทุกสิ่งมีชิวิต ไม่ว่าจะสัตว์ พืช หรือก้อนหิน
ที่น่าสนใจคือ ในตำนานของ Animism หลายๆแห่ง จะมีความเชื่อว่าคนพัฒนามาจากงู หรือสัตว์เลื่อยคลานต่างๆ
ในขณะที่ผู้แต่งคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งมาทีหลัง ปฏิเสธความเชื่อนี้ของ Animism นี้ ปฏิเสธความเชื่อว่าคนพัฒนามาจากงู เพราะคนนั้นถูกสร้างโดยพระเจ้า ส่วนงูคือสิ่งที่จะนำมาพาซึ่งหายนะ นำมาซึ่งความเสียหายระหว่างมนุษย์ กับพระเจ้า
เรื่องตลกคือ เมื่อวิทยาศาสตร์พบว่าสมองของเราก็พัฒนามาจากสมองสัตว์เลื้อยคลานอีกที (limbic system) การค้นพบนี้ก็ทำ ความเชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้า เสียหายไปจริงๆ
Ancestral need
Harari เสนอว่า ที่มาของคัมภีร์ศาสนา เช่น คัมภีร์ Bible และความเชื่อต่างๆที่บอกว่ามนุษย์แตกต่างจากสัตว์ชนิดอื่นนั้น เป็น ผลพลอยได้ (By product) ของการปฏิวัติทางเกษตรกรรม (Agricultural Revolution) อีกที
Agricultural revolution ทำให้เกิดการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งในปัจจุบัน จำนวนสัตว์ใหญ่บนโลกกว่า 90% ก็คือพวกสัตว์ที่เราเลี้ยงไว้ทำประโยชน์นี้เอง (เช่น หมู ไก่ และวัว)
แม้สัตว์เลี้ยงต่างๆเหล่านี้ จะสามารถรอดชีวิตได้ มีคนคอยดูแล แต่มนุษย์ทำให้มันทรมานเป็นอย่างมาก
ที่ว่าทรมาน มิใช่ว่าสุดท้ายมันต้องตาย เพราะอยู่ในป่ามันก็โดนสิงโตจับกินเมื่อไหร่ก็ได้อยู่แล้ว แต่เป็นเพราะมนุษย์เลิกมองว่าสัตว์เหล่านี้มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน
มนุษย์มองว่าสัตว์เหล่านี้ด้อยกว่า มันจึงถูกจับ หรือเพาะเลี้ยงให้อยู่แต่ในกรงแคบๆ แม้จะมีคนคอยเอาอาหารมาให้ แต่มันไม่ได้ใช้ชีวิต ไม่ได้มีปฏิสัมพันกับสัตว์อื่นๆ สัตว์ตัวเมียที่มีลูก ก็ไม่ได้โอกาสสร้าง bond กับลูกๆของมันแต่อย่างใด
พวกมันไม่ได้แม้แต่จะเดินเล่น ซึ่งทำให้มันยังคงทรมานอย่างมาก เนื่องจาก Gene ที่ต้องการทำสิ่งต่างๆเหล่านี้ ก็ยังอยู่กับมัน ไม่ได้หายไปไหน แม้จริงๆแล้วมันอยู่รอดได้โดยไม่ต้องทำอะไรเลย
Organism and algorhythm
คิดไปเองหรือปล่าว ว่าสัตว์พวกนั้นมันจะมีความทุกข์หรือทรมานจริงๆ?
เรารู้ได้ยังไงว่าพวกหมู หรือวัว ที่เราเลี้ยงไว้ในกรงแคบๆ เพื่อรอโดนกินนั้น มีความต้องการ มีอารม มีความรู้สึก (Emotion) เหมือนที่มนุษย์มี?
Harari เสนอว่า Emotion ต่างๆนั้นไม่ได้เป็นสิ่งลี้ลับอะไร แท้จริงแล้ว Emotion ก็คือ Biological Algorithm ชนิดหนึ่ง
Algorithm คือสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต และอย่างน้อย มันก็มีอยู่ใน mammal ทุกชนิด
Algorithm คืออะไร ?
Algorithm คือ Set ของขั้นตอน กระบวนการต่างๆ ที่ใช้ในการคำนวณ ใช้ในการแก้ปัญหา และการตัดสินใจ
Harari เสนอว่า Algorithm จะกลายเป็น concept ที่สำคัญอย่างมากในการเข้าใจโลกและอนาคต
เราอาจจะเคยชินกับการใช้คำนี้เมื่อพูดถึงคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ ก็คือ Electrical Algorithm ชนิดหนึ่ง เราใช้มันมาเป็นเครื่องมือ ใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆได้ เช่น การใช้ algorithm ในการหาค่าเฉลี่ยของตัวเลข2ตัว คุณก็ตั้งค่าโปรแกรม ให้มันเอาตัวเลข2ตัวนั้นบวกกัน แล้วหารสอง
ขั้นตอนที่มีการเอาเลขมาบวกกัน แล้วหารสอง นี้คือ Algorithm ในที่นี้ก็คือ Electrical Algorithm นั่นเอง ซึ่งทำตัวเป็นตัวกลาง คุณแค่ป้อน Input ลงไป แล้วมันจะหา Output ให้คุณเอง
คนก็เป็น Algorithm เหมือนกัน แต่เป็น Biological Algorithm
คนเป็น Algorithm ที่มีชุดคำสั่งคือ ทำอะไรก็ได้ ให้มันอยู่รอด และสามารถสืบพันธุ์ ซึ่งชุดคำสั่งนี้ก็มีอยู่ใน Gene ของเรานั่นเอง
หาก Electrical Algorithm ที่คุมเครื่องทำกาแฟ ทำงานโดยผ่าน ฟันเฟือง และวงจรไฟฟ้า
Biolgical Algorithm ที่ควบคุมมนุษย์ และสัตว์อื่นๆในการทำงาน ก็ทำงานในรูปแบบของความรู้สึก และความนึกคิด (Sensation , Emotion and Thought)
สมมุติว่าลิงตัวหนึ่งเห็นกล้วย และเห็นสิงโตอยู่ใกล้ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ จะต้องมีข้อมูล Input ผ่านสมองลิงที่เป็น Algorithm แล้วแปลงเป็น output ซึ่งก็คือการกระทำต่างๆ
Input ก็จะแบ่งอีกเป็น 2 พวก คือ
- External Input : เช่น กล้วยมีกี่ลูก กล้วยสุกหรือดิบ กล้วยอยู่ใกล้แค่ไหน สิงโตตัวนั้นหิวหรืออิ่มอยู่ อยู่ไกลแค่ไหน ถ้าสิงโตวิ่งมา มันจะหนีทันมั้ย
- Internal input : ซึ่งก็ขึ้นกับว่าตอนนั้นมันอยู่ในสภาพไหน ถ้ามันหิวจนใกล้ตาย มันก็คุ้มที่จะแลกด้วยชีวิต ถ้ามันพึ่งกินมา มันจะเสี่ยงตายไปทำไม
การที่สิ่งมีชีวิตใช้ input ทั้งหลายมาหาน้ำหนัก มาคำนวณความเป็นไปได้ ว่าจะทำหรือไม่ทำอะไร มาคำนวณข้อดีข้อเสียของ Action นั้นๆ ก็ต้องผ่าน algorithm ที่ซับซ้อนมากมายกว่าเครื่องทำกาแฟ
ลิงที่คำนวณความน่าจะเป็นต่างๆได้ดี รางวัลตอบแทนนั้นก็คือความอยู่รอด เมื่อยู่รอดมันก็สามารถถ่ายทอดพันธุกรรมของมันต่อไปได้
แน่นอนว่าลิง ไม่สามารถคำนวณความน่าจะเป็นออกมาเป็นตัวเลข หรือสามารถ List Pro-Cons ออกมาเป็นรูปธรรมได้ แต่มันใช้ทั้งตัวของมันในการตัดสินใจ ใช้ตัวมันเป็นเครื่องคำนวณ โดยอาศัยข้อมูลจาก External input และ internal input
จึงกล่าวได้ว่า ตัวมัน ก็คือ Biological Algorithm นั่นเอง
ดังที่ได้กล่าวว่า Algorithm ไม่ได้มีบทบาทแค่ในการเอาตัวรอด แต่ในการสืบพันด้วย เวลาคุณเห็นคนหน้าตาสวยๆ ในไม่กี่ชั่วพริบตาคุณอาจจะแปลผลได้เลย ว่าผู้หญิงคนนี้น่าตาดี มี Gene ที่ดี เหมาะกับเป็นแม่ของลูก ผ่าน Algorithm ที่พัฒนาและอยู่ในตัวคุณมาอย่างยาวนานหลายล้านปี
99% ของการตัดสินใจในชีวิตเรานั้น ไม่เว้นแต่การตัดสินใจสำคัญๆในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นที่เรียน คู่ชีวิต ที่อยู่อาศัย ต่างก็ผ่านการใช้ Algorithm ทั้งนั้น
แล้ว Algorithm เกี่ยวข้องอะไรกับความรู้สึก?
ความรู้สึกคือ Input แบบหนึ่ง
ถ้าเราเชื่อว่า Algorithm นั้นควบคุมการอยู่รอดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีก และอาจจะรวมถึงสัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์น้ำ –> เราจึงอาจ Assume ได้ว่า พวกสัตว์ต่างๆ ก็มีความรู้สึกด้วย
แน่นอนว่าความรู้สึกของสัตว์นั้น ก็คงไม่เหมือนมนุษย์
หมูคงไม่มีความรู้สึก’ทึ่ง’เวลามันเห็นดาวสวยๆ บนท้องฟ้า แต่เชื่อว่าความรู้สึกที่ทุก mammal มีเหมือนกัน คือความรู้สึกของสายสัมพันธ์แม่ลูก ( Mother-infant Bond )
เรารู้ว่าในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ลูกที่เกิดใหม่นั้นไม่สามารถรอดได้ หากไม่ได้นมจากแม่ของมัน แต่อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน คือความรู้สึกอบอุ่น ที่ได้มาจากความใกล้ชิดกันของแม่และลูก -> สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เป็นวัยทารก ต้องการ mammal bond ด้วย จึงจะอยู่รอดได้นาน ดังจะเห็นได้จากการศึกษาของ Harry Harlow ซึ่งศึกษาเปรียบเทียบชีวิตของลูกลิงที่เลี้ยงไว้กับหุ่นเหล็ก และหุ่นที่บุผ้านวม
ถ้าเราเชื่อว่า การที่ลูกสัตว์และแม่สัตว์ถูกพรากความรู้สึก Mammal bond แล้วจะเกิดความทุกข์ อุตสาหกรรมการผลิตเนื้อ และนม ก็ทำให้สัตว์หลายพันล้านตัวในแต่ละตัว ต้องทุกทรมาน
The Agricultural Deal
ถามว่าคนเลี้ยงสัตว์รู้ถึงปัญหาความทรมานของสัตว์นี้หรือไม่? … ก็น่าจะรู้
คำถามคือเหล่าคนที่เลี้ยงสัตว์นี้ Deal กับความรู้สึกผิดได้ยังไง?
Harari เสนอว่า พวกเขา Justify การกระทำนี้ ผ่านสิ่งที่เกิดขึ้นมาในช่วง Agricultural Revolution สิ่งที่ว่านั้น ก็คือ ศาสนา
จากความเชื่อเดิมของ Animist ที่คน สัตว์ พืช เท่าเทียมกัน พึ่งพาอาศัยกัน การมาของศาสนาทำให้มีผู้เล่นใหม่หน้าใหม่เกิดขึ้น นั่นคือ การมาของ พระเจ้า
ศาสนานั้นยกระดับของพระเจ้าให้เหนือมนุษย์ แต่สิ่งที่ซ่อนอยู่ด้วยนั้น ก็คือการยกระดับของมนุษย์ขึ้นไปด้วยกัน
พระเจ้ามีบทบาทในแง่นี้ 2 อย่าง
- พระเจ้าช่วยอธิบายว่าทำไมSapiens จึงพิเศษกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆ และทำไมเขาจึงควรปกครองสัตว์ต่างๆ :
เช่น ในเรื่องน้ำท่วมโลกของศาสนาคริส พระเจ้าเห็นสมควรที่จะฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สัตว์ทุกชนิดบนโลก เพื่อเป็นการลงโทษบาปของมนุษย์ เรือ Noah ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นการอพยพมนุษย์และสัตว์โลกต่างๆให้รอดพ้นจากวันล้างโลก ซึ่งในภายหลัง พระเจ้าเองก็รู้สึกพลาด เนื่องจากจะไม่มีใครมา Offer สิ่งบูชายันให้อีกต่อไป พอเมื่อน้ำท่วมหาย พระเจ้าจึงได้สัตว์ต่างๆเป็นบูชายันอีกครั้ง และทำให้พระเจ้าไม่คิดจะทำให้เกิดเหตุกาณ์นี้ขึ้นอีก
- พระเจ้าเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างมนุษ์ และธรรมชาติ
เช่น ใน Animist ถ้าคุณอยากให้ฝนตก คุณก็ต้อง บูชาก้อนเมฆ หากอยากให้ผลไม้ออก คุณก็บูชาต้นไม้
แต่การบูชาพระเจ้า ก็จะให้คุณได้ทั้งฝน ได้ดินอุดสมบูรณ์ ได้พืชพรรณที่เจริญงอกงามดี แค่คุณต้องมีอะไรไปแลกเปลี่ยน เช่น เหยื่อบูชายัน
แน่นอน ในหลายๆศาสนา เช่น พุทธ ฮินดู ก็มีการแสดงความเมตตาต่อสัตว์ แต่ก็จำเพาะเจาะจงเป็นรายกรณีไป และมักจะมีช่องทางใดช่องทางหนึ่งที่เปิดช่องให้พอใช้ประโยชน์จากสัตว์ต่างๆได้ เช่น หากกินเนื้อวัวไม่ได้ เราก็กินนมวัวได้
จะเห็นได้ว่าการที่มนุษย์ตกลงปลงใจไปกับ Agricultural Deal นี้เอง ทำให้มนุษย์เชื่อว่า มี cosmic force ที่ให้พลังแก่มนุษย์ในการมีอำนาจเหนือสัตว์ต่างๆ โดยมีเงื่อนไขที่ต้องยอมรับต่างกันไปในแต่ละศาสนา
ในขณะที่ Hunter Gatherer ต้องสนใจความรู้สึกว่ากวางตัวนั้นคิดอะไรอยู่ สิงโตตัวนั้นกำลังคิดอะไรอยู่ เพราะมันเกี่ยวข้องกับความอยู่รอดโดยตรง
Agriculture Revolution ได้แยกมนุษย์ ให้มีลำดับชั้นเหนือกว่าสัตว์อื่นๆ
Agriculture revolution จึงเป็นทั้ง economic และ religious revolution
มันทำให้ เกิดระบบเศรษฐกิจ เกิดลำดับขั้นของมนุษย์แบบใหม่ๆ และเกิดศาสนาแบบใหม่ ที่ยอมให้มนุษย์เอาเปรียบสัตว์ตัวอื่นๆได้
ที่น่าสนใจคือ กระบวนการลดคุณค่าความสำคัญ ( Degrade) สัตว์ชนิดอื่นๆ จากเป็นเพื่อนร่วมโลก จนกลายเป็นสมบัติของมนุษย์นั้น ก็ไม่ได้หยุดแค่สัตว์ร่วมโลก ท้ายสุดมันก็วกมาทำร้ายมนุษย์ด้วยกันเอง ดังที่เราเห็นตั้งแต่สมัยโบราณ ที่มีทั้งการค้าทาส การค้ามนุษย์ การแบ่งวรรณะ การเหยียดผิว เป็นต้น
Five Hundred Year of Solitude
Animism : เมื่อนายพรานโบราณออกล่าสัตว์ เขาขอความช่วยเหลือจากวัวป่า และวัวป่าก็ขอบางอย่างเป็นสิ่งตอบแทน
Agricultural Revolution :เมิ่อชาวนาโบราณขอให้วัวของเขาผลิตนมเยอะๆ เขาขอพรพระเจ้า พระเจ้าก็ขอสิ่งตอบแทน
Scientific Revolution: เมื่อนักวิทยาศาสตร์ ของ Nestle’ ต้องการเพิ่มผลผลิตนมวัว พวกเขาศึกษาGene และ Gene ไม่ต้องอะไรตอบแทน!
ถ้า Agricultural Revolution นำมาซึ่งศาสนาแห่งเทพเจ้า (Theism)
Scientific Revolution ก็นำมาซึ่ง ศาสนาแห่งมนุษย์ (Humanist religion/ Humanism)
มนุษย์ขึ้นมาแทนที่ตำแหน่งพระเจ้า และบูชาความรู้สึก ตัวตนของมนุษย์ด้วยกัน และนั่นหมายถึงว่า สัตว์ต่างๆ ก็ยิ่งมีสำคัญน้อยลงไปอีก
แต่ผิดคาด…ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มนุษย์เริ่มแสดงความเห็นแกเห็นใจสิ่งมีชิวิตร่วมโลกมากขึ้น เหตุผล? หรือว่ามนุษย์กลัวจะกลายเป็น Lower life form ไปด้วย?
จึงนำมาสู่คำถามว่า แล้วมันคืออะไรหละ ที่ทำให้มนุษย์ มีคุณค่ากว่าสัตว์ ?
…เพราะเราฉลาดกว่างั้นหรือ?
ถ้าหาก Computer program พัฒนาจนถึงขั้นมี Superhuman intelligence จนมันเลียนแบบสมองมนุษย์ได้ และมันฉลาดกว่าเรา…มันจะมีค่ากว่าเราหรือไม่?
จะโอเคมั้ยถ้า AI ใช้ประโยชน์คนแบบทิ้งๆขว้างๆ หรือฆ่าคนได้เมื่อมันต้องการ เหมือนที่เราทำกับ หมู เห็ด เป็ด ไก่?
ถ้ามันไม่โอเค มันไม่ควรเกิดขึ้น …AI ไม่มีสิทธิ์หรือความชอบธรรมมาทำร้ายเรา แม้มันจะเก่งกว่า ฉลาดกว่ามนุษย์สักแค่ไหน
ก็จะพาเราสู่คำถามสำคัญ ที่ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ต้น นั่นคือ มนุษย์มีความชอบธรรมอะไรที่จะไปทรมานสัตว์อื่นๆ หรือ ฆ่าสัตว์ตัวอื่นๆได้หละ?
หรือเพราะมนุษย์มี ประกายเวทมนตร์วิเศษ (Magical Spark) อะไรบางอย่าง ที่อยู่ดีๆก็ประทุออกมา ดุจดังมนตราคาถา เสกให้เผ่าพันธุ์นี้เหนือกว่า และ แยกออกมาได้จาก หมู ไก่ ชิมแปนซี หรือแม้แต่ Super AI
ถ้าใช่ … Magical Spark ที่ว่านั้นมาจากไหน แล้วทำไม AI จะไม่สามารถพัฒนามันได้เหมือนเราหละ
อะไรกันแน่ที่ทำให้มนุษย์ฉลาด และมีอำนาจจนมาถึงจุดนี้ได้?
คำถามนี้สำคัญ เพราะมันจะช่วยตอบว่า ถ้าในอนาคต มีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (Entity) ที่เหนือกว่า Sapiens และเอาชนะเราได้ อนาคตของ Sapiens จะกลายเป็นอย่างไร? และช่วยตอบว่า จะมี Entity ใด สามารถเอาชนะเราในอนาคตได้หรือไม่?
บทที่ 3 : The Human Spark
มนุษย์คือสิ่งมีชีวิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก อันนี้ไม่ต้องสงสัย
แต่เพราะอะไร? อะไรทำให้มันมาถึงจุดนี้?
เพราะมนุษย์ มีกำลังและมีอำนาจ มากกว่าหมูที่เลี้ยงอยู่ในเล้างั้นหรือ?
หากเป็นเช่นนั้น ถ้าพละกำลังที่มากกว่านำมาซึ่งสิทธิ์ที่มากกว่า (Might makes right) ก็แสดงว่า การที่อเมริกามีอำนาจมากกว่าอัฟกานิสถาน มันทำให้คนอเมริกามีคุณค่ามากกว่าหรือไม่?
แน่นอน ในทางปฏิบัติ คนอเมริกามีคุณค่ามากกว่าอัฟกานิสถาน เพราะมีเงินเยอะแยะมากมายใช้ไปในการลงทุนการศึกษา สุขภาพ ความปลอดภัย ให้กับอเมริกันชน มากกว่าชาวอัฟกัน
ดังนั้นถ้าคนอเมริกาถูกฆ่าไปหนึ่ง ก็คง”เป็นเรื่อง” มากกว่าที่ชาวอัฟกันหนึ่งคนโดนฆ่า
เราใช้อะไรมาตัดสินคุณค่าของคน?
ขั้นแรก ลองย้อนมาเทียบเรากับสัตว์ชนิดอื่นๆก่อน
เวลาเราพูดว่าเรามีคุณค่า มากกว่าหมูหรือ มากกว่าไก่ …
เราอาจจะกำลังสื่อว่า เรา’เชื่อ’ ว่ามีอะไรบางอย่างในตัวเราที่พิเศษกว่าพวกมัน
เรามีสิ่งพิเศษ ที่พวกมันไม่มี สิ่งพิเศษนี้ ทำให้เรามีคุณค่ามากกว่า
คำถามคือ สิ่งที่พิเศษที่มีเฉพาะในมนุษย์นั้น คืออะไร (What is this unique human spark?)
ในมุมของศาสนาดั้งเดิมที่นับถือพระเจ้า (Traditional Monotheist) คำตอบนั้นก็คือ มนุษย์มีจิตวิญญาณอมตะ (Eternal soul) ดังนั้นแม้กายหยาบจะสลาย แต่ Soul ยังคงอยู่ มันยังมีการเดินทางสู่การไถ่บาปและดินแดนของพระเจ้า ( realm of god )
ในขณะที่ หมู หรือ ไก้ ไม่มีวิญญาณ เมื่อมันตายไป มันก็ว่างเปล่า เราจึงไม่ต้องไปแคร์ชีวิตพวกมัน
ปัญหาคือ ความเจริญก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ จนถึงต้องนี้ ก็ยังหา ‘วิญญาณ’ ไม่เจอ
โอเค อาจจะอ้างได้ว่าความเจริญยังไม่ก้าวหน้าขนาดนั้น สิ่งที่เราต้องทำคือหามันต่อไป (ไม่เชื่ออย่าลบหลู่)
ไม่เจอ ไม่ได้แปลว่าไม่มี
ประเด็นคือ นอกจากวิทยาศาสตร์ยังคงหาสิ่งที่เรียกว่าวิญญาณไม่เจอแล้ว ยังมี อีกข้อแย้งสำคัญคือ มันมีทฤษฏีหนึ่งที่ขัดกับความเชื่อเรื่องวิญญาณ
ทฤษฏีนั้นคือ ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Theory of Evolution)
Who’s Afraid of Charles Darwin
ผลสำรวจ ปี 2012 จาก Gallup พบว่า มีคนอเมริกาเพียง 15% ที่เชื่อในทฏษฎีวิวัฒนาการ และส่วนใหญ่ไม่เชื่อ Natural evolution เลย โดยไม่สำคัญว่าคุณจะเรียนสูงแค่ไหน มีคนเรียนจบสูงๆมากมายที่ไม่เชื่อทฤษฎีนี้
ที่น่าสนใจคือ ทฎษฎี Natural selection นั้นดูเป็นอะไรที่ทื่อๆ ตรงไปตรงมา หลัก Survival of the fittest ก็ดูเป็นอะไรที่ common sense มากๆ (สิ่งมีชีวิตที่ปรับตัวอยู่รอดได้เก่งกว่า ก็มีโอกาสอยู่รอดมากกว่า) แต่ทำไมทฏษฎีนี้จึงมีคนต่อต้านมากมาย?
ทำไมไม่ไปต่อต้าน ทฤษฎีสัมพันธภาพ? ทำไมไม่ไปต่อต้านทฤษฎี Quantum?
อย่างในทฤษฎี General relativity มันถึงขั้นบอกว่าคุณสามารถยืดหดกาลเวลาได้ มันน่ากลัว เข้าใจยาก และแปลกกว่าตั้งเยอะ หรือใน Quantum ที่บอกว่าแมวตัวนึงมีสถานะได้ทั้งเป็นหรือตายในเวลาเดียวกัน ก็ดูน่ากลัวกว่าตั้งเยอะ
ทำไมทฤษฎีของ Charles Darwin จึงยังโดนต่อต้านเรื่อยๆ?
มันอาจเป็นเพราะ Theory of Evolution ตั้งอยู่ในพิ้นฐานที่ว่า วิญญาณไม่มีจริง (There is no soul) ซึ่งเป็นความคิดที่อันตรายมากในชาวคริสหรืออิสลามที่เคร่งครัด หรือในคนที่เชื่อว่ามนุษย์แต่ละคนนั้นมี แก่นเอกลักษณ์สำคัญอยู่ภายใน (Individual essence) ที่ เป็นเช่นนั้นอยู่ตลอดช่วงชีวิต และไปถึงหลังความตาย
Individual = in-dividual = my self is not divisible ->ตลอดช่วงที่ฉันเกิด และหลังความตาย ตัวฉันคืออันหนึ่งอันเดียว แบ่งแย่งไม่ได้ ฉันก็คือฉัน
ในช่วงชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ฉันก็มีอยู่ Soul เดียว ไม่เปลี่ยนแปลง แม้ร่างกายจะชราภาพลง แม้อุปนิสัยจะเปลี่ยนไปตามอายุ แต่’แก่น’ ของฉัน มันไม่เปลี่ยนแปลง
ในขณะที่ Evolution บอกเราว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบขึ้นจากส่วนเล็กๆต่างๆที่กระจัดกระจายและประกอบเข้าด้วยกัน
เช่น ช้างตัวหนึ่งได้ผ่านกระบวนการวิวัฒนนาการมายาวนานจากสัตว์โบรารณ ผ่านการคัดเลือก ผ่านการผสมรวม การประสานแยก ของ Gene มานับไม่ถ้วน (new combination of gene and split) จนพัฒนามาเป็นช้างในปัจจุบัน
หรือ ดวงตามนุษย์นั้นก็พัฒนามาจากอวัยวะรับแสงของสัตว์เซลเดียว ที่ค่อยๆ Take shape and form ในช่วงหลายร้อยล้านปีที่ผ่านมา ค่อยเกิดมาเป็นส่วนต่างๆ เช่น retina เลนต์ตา กระจกตา รวมๆเป็นตามนุษย์ในปัจจุบัน
ปัญหาคือถ้า Soul มีจริง แสดงว่า ดวงตาของมนุษย์นั้น เป็นส่วนหนึ่งของแก่น (Soul) ของมนุษย์ ก็แสดงว่ามันไม่สามารถแบ่งแยกได้แล้ว มันเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เราไม่สามารถพูดได้ ว่าดวงตา sapiens พัฒนามาจาก Homo erectus อีกที
ดวงตาของ Sapiens ก็เป็นของ Sapiens อยู่เดิม ไม่มีทางที่มันจะเริ่มเกิดจากความเปลี่ยนแปลงจากสัตว์เซลเดียวเมื่อหลายล้านปีก่อน
ด้วยเหตุ Evolution จึงไม่สามารถ ยอมรับการมีอยู่ของ soul ได้
และ Soul ก็ไม่สามารถใช้หลัก Evolution อธิบายได้เช่นกัน
คุณอาจจะบอกว่า Soul เกิดจากว่า อยู่มาวันหนึ่งมันก็เกิดขึ้นมาเอง (one bright day) แต่ one bright day นั้นคืออะไร?
แสดงว่าเราอาจเคยมีพ่อแม่ที่ไม่มี soul แล้วอยู่ดีๆ ก็มีมนุษย์รุ่นแรกที่มี soul ออกมา?
ชีววิทยาอธิบายได้ว่าทำไมเด็กคนนี้เกิดมาตาไม่เหมือนพ่อแม่ แต่คงอธิบายไม่ได้ว่าทำไมอยู่ดีๆเด็กคนนี้ก็มี soul เกิดขึ้นมา
ในมุมของ Evolution สิ่งที่ใกล้เคียงที่สุดกับเรื่อง ‘แก่นของมนุษย์’ ก็คือ DNA ซึ่ง DNA นั้นเป็นส่วนที่เกิดการ mutation มากมาย ไม่ใช่อะไรที่ ‘ไม่เปลี่ยนแปลง และอยู่เป็นนิรัน’ ดังเช่นจิตวิญญาณ
Why the Stock Exchange has no consciousness
Ok ถ้าคุณไม่ซื้อเรื่องวิญญาณแต่แรก คุณอาจจะบอกว่าที่มนุษวิเศษวิโส ได้นั้น เป็นเพราะเรามี Conscious mind (การรู้ตัวเอง – สติ)
Consciousness ไม่ใช่สิ่งลี้ลับใดๆ เราต่างรู้จักมัน มันไม่ใช่ organ ใดอันหนึ่ง มันคือ การไหลของประสบการณ์ที่เรารู้สึกได้ ( Flow of subjective experience )
ในเรื่อง Soul อาจมีหลายๆคนไม่เห็นด้วย
แต่ในเรื่อง conscious ทุกคนต้องมี ทุกคนรู้สึกมัน และคงไม่มีใครปฏิเสธ
Conscious ประกอบด้วยองค์ประกอบสองอย่างหลัก Sensation (ความรู้สึก) and Desire (ความปรารถนา)
หุ่นยนไม่มี conscious เพราะหุ่นยนดูดฝุ่น มันคงไม่ได้มีความรู้สึกใดๆ และคงไม่มีความปรารถนาใดๆ
แต่ในสัตว์ ดังที่ Harari Discuss ไปก่อนหน้าว่า Sensation and Emotion คือ Biochemical data-processing algorithm ดังนั้น มันก็น่าจะมี conscious ด้วย เหมือนที่เรามี
เพื่อเป็นการหาคำตอบ ว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ มีความรู้ตัว เหมือนมนุษย์หรือไม่
เราต้องมาหาคำตอบกันก่อนว่า Mind (จิตใจ) ทำหน้าที่อย่างไร ?
ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังรู้คำตอบน้อยมากเกี่ยวกับ Mind and Consciousness เรารู้ว่ามันเกิดจาก Electrochemical Reaction ในสมอง แต่ก็ยังไม่มีใครรู้อยู่ดีว่า ไอ้ ปฏิกิริยานี้ ที่เกิดในส่วนต่างๆของสมอง ทำให้เรา “รู้สึกว่าเรามีตัวตน”ได้อย่างไร
ด้วยเทคโนโลยี fMRI scan เรารู้ว่าสมองแต่ละส่วน เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอารมต่างๆยังไง เรารู้ด้วยซ้ำว่า สมองส่วนนี้สัมพันธ์กับคำว่า ฺBill Clinton อีกส่วนสัมพันกับคำว่า Homer simpson เรารู้ว่าเวลาเราโกรธ สมองส่วนไหนจะส่องสว่าง (ทำงาน/ Light up) มากขึ้น
ความก้าวหน้าเรื่องสมองนี้ ไปถึงขั้นที่นักวิทยาศาสตร์สามารถทำนายอารมความรู้สึกคนได้ เพียงแค่ดู Light up area in the brain
เรารู้ว่าเวลาคนโกรธ เซลล์สมองส่วนไหนจะทำงานมาก
แต่ การทำงานบริเวณนี้ ทำให้เราเกิดอารมณ์โกรธได้ยังไง อันนี้เรายังไม่รู้
ความซับซ้อนนี้ มี Model ที่คล้ายๆกัน แต่มันก็อธิบายที่มาของ Consciousness ไม่ได้
เช่น ในตลาดหุ้น เวลาหุ้นหนึ่งตัวมีการซื้อขายหนึ่งครั้ง มันเข้าใจง่ายๆ แต่เมื่อเกิดการซื้อขายนับล้านครั้งด้วยเวลารวดเร็ว มันก็ไม่มีใครที่จะเข้าใจความซับซ้อนของตลาดหุ้นได้
สิ่งที่เกิดในตลาดหุ้น ก็คือการทำงานของ Electronic signals ที่ซับซ้อน ซึ่งไม่มีใครเข้าใจ
ถ้าสมมติทุกคนพร้อมใจกันขายหุ้น มันก็จะเกิดวิกฤติ แต่ถามว่าตัวตลาดหุ้นเกิด “ความรู้ตัว” มั้ย ว่าตัวมันวิกฤติแล้ว ก็ไม่ คำว่า วิกฤติ มันคือคำที่มนุษย์เอาอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วเท่านั้น
แต่ ความโกรธ ของมนุษย์ ที่เกิดจากการทำงานของเซล์ประสาทนับล้านๆตัวนั้น เป็นของจริง ทำไมเซลล์ที่ทำงานมากมายนี้ มันต้องทำให้เรารู้ตัวด้วย…
ในปี 2016 ที่หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้น มันก็ยังคงไม่มีคำตอบใดให้เรื่องนี้
The Equation of Life
นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้ว่า กลุ่มกระแสไฟฟ้าที่เกิดจาก Neuron ทำงาน ให้เกิดความรู้สึก (Emotion & Consciousness)ได้อย่างไร
และยิ่งไปกว่านั้น การมีอยู่ของความรู้สึก มีประโยชน์อะไร? เรามีความรู้สึก กลัว โกรธ เศ้รา สุขใจ เหนื่อย หิว กระหาย ไปเพื่ออะไร?
คำตอบนั้นดูเหมือนง่าย เรามีความรู้สึกเพื่อการอยู่รอด ถ้าเราหิว เราก็จะไม่ไปหาอาหาร ถ้าเราไม่เจ็บ เราก็จะไม่รู้ว่ามันอันตราย ถ้าเราไม่กลัว เราอาจเอาตัวไปเสี่ยงตาย ซึ่งก็ดูสมเหตุสมผลดี
ปัญหาคือ เรารู้มากขึ้น
เมื่อวิทยาศาสตร์อธิบายว่า เวลาเรามองเห็นสิงโตกำลังวิ่งเข้ามา แล้วเราหนี กลไกคือแสงกระทบสิงโต สะท้อนเข้ามายัง Retina ของเรา , สัญญาณภาพจาก retina ส่งไปแปลผลที่สมอง สมองสั่งให้หัวใจสูบฉีดเร็วขึ้น สั่งให้ต่อมหมวกไตหลั่ง Adrenaline มากขึ้น สมองสั่งการมายังกล้ามเนื้อ ส่งผลลัพธ์สุดท้ายคือ คนที่วิ่งหนีสิงโตด้วยใจเต้นเร็วและกล้ามเนื้อที่ทำงานอย่างฉับไว
คำถามคือ ความรู้สึก อยู่ที่ขั้นไหนของกระบวนการวิ่งหนีสิงโต?
เราจะรู้สึกกลัวไปทำไม เพราะกลไกการทำงานนั้น ไม่เห็นต้องใช้ความรู้สึกกลัวเลย เราก็หนีสิงโตได้
เรารู้สึก เพื่อให้สมองสั่งการได้ ?
ก็คงไม่ เพราะกิจกรรมต่างๆในร่างกาย เช่นหัวใจสูบฉีด ต่อมหมวกไตหลั่ง adrenaline ก็เกิดขึ้นก่อนความรู้สึกเสียอีก
หรือ ความรู้สึก ทำให้เราจำได้ ทำให้เรามี plan ในการรับมือกับสิ่งต่างๆ?
เช่นสมมติผู้ชายคนนั้นเห็นสิงโต แล้วเค้าจำได้ว่าเมื่อปีก่อนป้าของเขาโดนสิงโตเขมือบไป เขาจึงเกิดจินตนาการว่าสิงโตตัวนี้ มันจะมาเขมือบเขาต่อแน่ๆ การที่เขาเห็นสิงโต จึงทำให้สมองของเขาตื่นตัว ทำให้คิดถึงอันตรายจากสิงโต ทำให้เขาคิดแผนว่าจะรับมือหรือหนีสิงโตต่อไป
ปัญหาก็คือ ทั้งความจำ จินตนาการ การวางแผนต่างๆ นั้นก็อยู่ในสมองของเรา เป็นผลผลิตของกระแสไฟฟ้าที่ generate จาก neuron หลายร้อยพันล้านตัวเช่นกัน
ดังนั้นแม้เราจะบอกว่า Reaction ต่อสิ่งโตเกิดจากสมองของเราสั่งเอง จากความคิดความทรงจำ มันก็เกิดจากข้อมูลที่เก็บไว้ในสมอง ข้อมูลพวกนี้ก็แค่ส่งสัญญาณให้เกิดการกระทำต่างๆของร่างกายก็ได้นี่ ไม่เห็นต้องทำให้เรา รู้สึก เลย
ถ้าเรายึดหลักว่า สิงมีชีวิต คือ algorithm – การกระทำต่างๆนั้นเป็นขั้นตอน และสามารถเขียนออกมาเป็นแผนภาพ หรือสูตรทางคณิตศาสตร์ได้ – ความรู้สึกจะอยู่ในขั้นตอนไหน?
การที่เราหนีสิงโตนั้น มันมีขั้นที่ว่า ความกลัว ไปสั่งให้ ต่อมหมวกไต หลั่ง adrenaline รึปล่าว? ก็คงไม่
หรือ ความรู้สึกทำให้เรารู้สึกถึงความเป็นตัวเอง (Emotion -> Self – Consciousness) ถ้าเรารู้จักตัวเราเอง เราสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นได้?
ก็อาจไม่จำเป็น เช่น ใน autonomous car ของ Google, เราก็พบว่ารถแต่ละคันสามารถเคลื่อนที่ได้เอง และ interact กันได้เอง โดยไม่ชนกันได้ ผ่าน algorithm ต่างๆ
โดยตัวรถของ google มันไม่จำเป็นต้อง รู้สึกกลัว ว่ามันจะเกิดรถชน
เอาหละ งั้นลองมาหามุมมองใหม่ ลองตั้งคำถามว่า
“มีอะไรไหม ที่เกิดขึ้นเฉพาะในจิตใจ โดยไม่เกิดขึ้นในสมอง?”
(“What happens in the mind that doesn’t happen in the brain?”)
เช่นเราอาจจะคิดว่า มีอะไรบ้าง ที่เราต้องใช้ ใจ สร้างสรรออกมา ต้องใช้ ใจ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งใหม่ๆ ที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน?
ซึ่งเราก็ดันค้นพบว่า การที่เราสามารถคิดสร้างเชื่อมโยงความรู้ต่างๆได้นั้น เกิดจากการมี synapse เพิ่มขึ้นใหม่ ระหว่าง Neuron ตัวต่างๆ
จึงวนลูปไปที่ว่า สิ่งใหม่ๆนั้น มันไม่ได้เกิดที่ใจ มันเกิดในสมองอยู่ดี
หรือว่าความรู้สึกไม่่มีอยู่จริง?
หรือ ในเมื่อเราหาแหล่งที่มาของความรู้สึกไม่ได้ เราอาจจะละทิ้ง(discard)มันไปเลยตามหลักวิทยาศาสตร์
เหมือนที่สมัยก่อนนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าแสงต้องมีตัวกลาง และตัวกลางที่ว่าคือ Ether แต่เมื่อทฤษฎีต่างๆของแสงพัฒนามากขึ้น และไม่พบสักทีว่า ether มีอยู่จริง พวกเขาก็แค่ทิ้งมันไป
หรือแม้แต่ในทางสังคมศาสตร์ ที่คนสมัยก่อนเชื่อในเรื่องพระเจ้า ในเรื่องจิตวิญญาณกันอย่างจริงจัง โอเค แม้ในสมัยนี้ความเชื่อนั้นก็ไม่ได้หายไปไหน แต่มันก็เจือจางลง ปัจจุบันนี้ เวลาคุณบอกว่าอเมริกาชนะสงคราม คงไม่มีตำราวิชาประวัติศาสตร์เล่มไหนไหนเขียนว่า เป็นเพราะพรจากพระเจ้า
ดังนั้นแล้ว เราเอาความรู้สึก ไปไว้ตำแหน่งเดียวกับเรื่องราวของวิญญาณ พระเจ้า ได้หรือไม่?
ปัญหาก็คือ ในเรื่องความเชื่อพระเจ้า วิญญาณ ยังไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่ามีจริง
แต่ “ความรู้สึก (Emotion)” มันโคตรจริงและจับต้องได้
เราบาดเจ็บ เรากลัว เราตื่นเต้น ทุกคนต้องเคยพบมัน และไม่มีใครปฏิเสธความรู้สึกได้ ว่ามันไม่มีอยู่จริง
นอกจากว่าเราไม่สามารถละเลย การมีอยู่จริงของความรู้สึกได้ เพราะ เรารู้สึก จริงๆ
ปัญหาอีกอย่างคือ หากเราละทิ้งความรู้สึก และจะอธิบายมันด้วย process การทำงานของสมองล้วนๆ คือ ถ้าเราปฏิเสธความสำคัญของมันไปเลย มันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะในการคิดด้านศีลธรรมและจริยธรรม ของมนุษย์นั้น ล้วนตั้งอยู่บนความรู้สึกทั้งสิ้น
เรารู้ดีว่าการทรมาน การข่มขืนกระทำชำเราเป็นเรื่องที่ผิดอย่างมาก แต่หากเราละเรื่องความรู้สึก และไปมุ่งแต่สัญญาณในสมอง เราก็เห็นแค่ทำงานของสมอง บริเวณหนึ่ง ของneuron กลุ่มหนึ่ง เราจะไปรู้ได้อย่างไรว่ามันผิดศีลธรรม หากเรามองความรู้สึก เป็นแค่ การทำงานของเซล์ประสาท?
สุดท้ายแล้ว ทฤษฎีที่ดีที่สุดที่เรามีในการอธิบายเรื่องของความรู้สึกในตอนนี้ กลับเป็นว่าความรู้สึกคือ By product ของการทำงานของสมอง เหมือนเสียงเครื่องบิน Jet ที่ไม่ได้มีประโยชน์อันใด (Consciousness may be a kind of by-product from innumerable neuron firing)
ความรู้สึก ที่เกิดขึ้นมาในสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้นับพันล้านชนิด สัตว์ที่มีพัฒนาการมาหลายร้อยล้านปี … มันเป็นแค่ Mental Pollution ที่เกิดจากการทำงานของเซล์ประสาทหลายล้านตัว
หรือว่าเรามองโจทย์คำถามผิดตั้งแต่ต้น?
Life Science มองว่า ชีวิตเป็นแค่กระบวนการของ data processing แบบหนึ่ง และสิ่งมีชีวิตก็คือ เครื่องมือ ที่สามารถคำนวณและตัดสินใจอะไรต่างๆได้ ซึ่งการเปรียบเทียบนี้อาจทำให้เราเขว เลยไม่สามารถหาคำตอบแท้จริงได้ว่าทำไมเราจึงมี Consciousness
เรามักพยายามหาเปรียบเทียบสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เราไม่ค่อยเข้าใจ โดยการพยายามใช้สิ่งที่เราเข้าใจกว่า มาอธิบาย เช่น
ก่อนการมาของคอมพิวเตอร์ นักวิทยาศาสตร์ก็เคยเปรียบเทียบว่าสมองและจิตใจคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรไอน้ำ ซึ่งเห็นได้ชัดแนวคิดจิตวิทยาของ Sigmund Freud เช่น Freud อธิบายว่าที่กองทัพต้องเกณฑ์คนหนุ่ม และต้องพยายามกด Sex Drive ของพวกเขาไว้ ก็เพื่อให้ความรู้สึกนั้นกักเก็บไว้ภายในจิตใจพวกเขา ให้มันสะสมไปเรื่อยๆ แล้วรอให้มันถูกปล่อยออกมาในรูปแบบของความรุนแรงเวลาทำสงคราม ซึ่งคำอธิบายนี้ก็คือการเอาเรื่อง Steam engine มาอธิบายนั่นเอง
ย้อนกลับมาในปัจจุบัน เรามีคอมพิวเตอร์ซึ่งทันสมัยกว่ามาก ดังนั้นเราจึงพยายามนำแนวคิดที่ทันสมัยที่สุดมาอธิบายเรื่องของจิตใจ ซึ่งยังคงซับซ้อน
ปัญหาคือ การเอาคอมพิวเตอร์มาเทียบกับการทำงานของจิตใจนั้นก็ดูแปลกๆ เพราะคอมพิวเตอร์ไม่มีจิตใจ มันไม่มีความต้องการ มันไม่รู้สึกเจ็บปวดเวลาโดน censor ข้อมูล เป็นต้น
แล้วเรารู้ได้ยังไง ว่า คอมพิวเตอร์ ไม่มีจิตใจ?
เรารู้ได้อย่างไร ว่า คอมพิวเตอร์ ไม่มีความรู้สึก?
โอเค ตอนนี้มันก็ดูไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่หากมันถูกพัฒนาได้ฉลาดขึ้น ทำงานซับซ้อนได้มากขึ้น มันก็อาจจะพัฒนาความรู้สึกนึกคิดขึ้นมาก็ได้?
หากวันที่คอมพิวเตอร์มาแทนที่คนขับรถ มาแทนที่อาจารย์ของเราได้เต็มตัว เราจะรู้ได้ยังไงว่ามันมีความรู้สึกแล้ว หรือมันยังคงเป็นแค่ mindless algorithm ??
สมมติเราเจอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่กลายเป็นผัก (Vegetative Stage) เรารู้ได้อย่างไรว่าคนๆนั้นยังมีความรู้สึกรู้ตัวอยู่?
คำตอบคือ ในกรณีนี้เรารู้ได้ว่าเขายังรับรู้อยู่หรือไม่
ถึงแม้เรายังไม่รู้ว่า conscious เกิดมาได้ยังไง
แต่เรารู้ได้ว่าคนๆหนึ่ง แม้จะนิ่งสนิท ทำแค่การหายใจ ไม่ตอบสนองต่อโลกภายนอกอะไรเลย ยังมีความรู้ตัวอยู่หรือไม่ โดยการใช้ fMRI
เช่น ในคนที่ป่วยเป็นผักจาก stroke เรารู้ได้อย่างไรว่าเขาไม่รู้สึก?
นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลอง เทียบ Electric brain activity ตอนที่คนๆนั้น report ว่าเขารู้สึก เทียบกับตอนที่ไม่รู้สึก
เขาอาจจะรู้สึกตัวดี แต่ขยับแขนขาไม่ได้ ซึ่งก็ได้มีการใช้ fMRI ในผู้ป่วยแนวนี้ โดยให้ผู้ป่วยจินตนาการถึงการเล่นtennis แทนคำว่า yes และจินตนาการถึง ตำแหน่งที่ตั้งของบ้าน แทนคำว่า No แล้วก็ดูว่าบริเวณที่ Light up เวลาตอบคำถาม ว่ามันสอดคล้องกันหรือไม่ ด้วยวิธีนี้เองเราจึงบอกได้ว่า คนๆหนึ่ง ที่นิ่ง ไม่ขยับ ยังมีความรู้สึกหรือไม่
สำหรับคอมพิวเตอร์ เราจะรู้ได้อย่างไร? ว่ามันมี ความรู้ตัว (Consciousness) หรือไม่?
ในคน เราตั้งสมมติฐานว่า คนเชื่อถือได้ ดังนั้นถ้าเราไปถามใครสักคนแล้วเขาบอกว่า เขามีความรู้ตัว เราก็จะเชื่อว่าเขา conscious จริงๆ
แต่หากวันหนึ่ง เป็นคอมพิวเตอ หรือ Siri บอกว่าตัวมัน conscious หละ คุณจะเชื่อมันหรือไม่?
ถ้าไม่ แล้วมันมีเหตุผลอะไรหละ ที่คุณจะเชื่อคำตอบของคน ถ้าคนๆนั้นบอกว่าเขามีความรับรู้ตัว (Conscious)?
นี่เป็นปัญหาทางปรัชญามาหลายยุคสมัย เราไม่มีทางรู้ว่าคนอื่น conscious หรือไม่ นอกจากตัวเราเอง เรา “เชื่อว่า” ว่าคนอื่นๆ conscious แต่เราไม่มีทางมั่นใจจริงๆ
เอาจริงๆแล้วเราไม่สามารถบอกได้เลยว่าคนอื่นๆ มีความรู้ตัว มีความรู้สึกจริงๆหรือไม่
คุณแน่ใจได้อย่างไรว่าคนอื่นๆ เป็นคนที่มีความรับรู้ รู้ตัว เหมือนกับคุณ?
ตอนนี้ คุณอาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตเดียวในจักรวาลที่รู้ตัวอยู่ก็ได้ สิ่งมีชีวิตอื่นๆที่คุณเห็น อาจเป็นแค่ mindless robot
คุณอาจจะฝันอยู่ก็ได้?
คุณอาจจะอยู่ใน Virtual world อยู่ก็ได้?
ก็ในเมื่อทุกๆสิ่งทุกอย่างที่คุณรู้ สัมผัส กระทำ มันเป็นสิ่งที่เกิดจาก Biochemical signal ในสมองของคุณ ทำไมเราจะ simulate entire virtual world ไม่ได้หละ?
แล้วถ้าคุณจำลองสิ่งต่างๆโดยตรงในสมองได้ คุณจะแยกสิ่งที่จริงกับไม่จริงออกได้ยังไง?
สัญญาณของสมองที่แสดงใน fMRI อาจกำลังหลอกคุณอยู่ก็ได้?
คุณรู้ได้ยังไงว่า ตัวคุณตอนนี้ เดี๋ยวนี้ ไม่ใช่วัยรุ่นเบื่อโลกคนหนึ่ง ในปี 2216 ที่กำลังถูกควบคุมสมอง ให้ตกอยู่ในโลกเสมือนจริง ยุค 2020 หละ? (trap in virtual world of 2020)
ในเมื่อ There is only one real world แต่สามารถมี Endless number of virtual world อะไรที่มันเป็นได้มากกว่าหละ?
คิดตามหลักความน่าจะเป็น, โอกาสที่ ณ เดี๋ยวนี้ ตอนนี้ ที่คุณจะอยู่ในโลกของความเป็นจริง มันยิ่งน้อยมากๆ มิใช่หรือ?
… ยังไม่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ที่พิสูจน์ปัญหานี้ได้ (Problem of other minds)
Turing Test
ปัญหาเรื่องการแยกว่า Entity ที่เราเห็นอยู่นี้ มันเป็นคน หรือ คอมพิวเตอร์ มันมี หรือ ไม่มีจิตใจนั้นมีมานานแล้ว หนึ่งในวิธีทดสอบที่โด่งดัง ที่ถูกนำเสนอเมื่อนานมาแล้ว และปรากฏในหนัง Hollywood หลายๆครั้ง คือ Turing Test
Turing Test คือ การทดสอบว่า ตอมพิวเตอร์นั้น ได้พัฒนาความคิดความรู้สึก แบบมนุษย์ ขึ้นมาได้หรือยัง
ใน Turing Test การพิสูจน์ว่า computer มีจิตใจหรือไม่ คือการที่คุณได้สื่อสารกับทั้งคอมและคนไปพร้อมๆกัน โดยไม่รู้ว่าใครเป็นใครกันแน่ คุณจะถามอะไรก็ได้ ทำactionใดๆก็ได้ เท่าที่คุณต้องการ ในตอนสุดท้าย ถ้าคุณตัดสินไม่ได้ว่าใครคือคน หรือคอม หรือคุณตัดสินพลาด ก็แสดงว่า computer อันนั้น ผ่าน Turing Test และเราควรปฏิบัติกับมันดั่งที่เราปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์
จะเห็นได้ว่าหลักการคิดนี้ไม่ได้ดูวิทยาศาสตร์เลยสักนิด…
เพราะมันไม่ได้แยกได้จริงๆอยู่ดีว่าคอมพิวเตอร์มีจิตใจ หรือมีความรับรู้ตัวหรือไม่ …
มันอาจแค่คอมพิวเตอร์ที่ฉลาดมากๆ ที่ไม่มีจิตใจ แต่ตอบโต้เราได้ราวกับเป็นคนจริงๆ ก็ได้
Turing Test จึงไม่ได้เป็นหลักคิดทางวิทยาศาตร์ มันคือหลักคิดทางสังคม
เพราะ มันไม่สำคัญว่าสุดท้ายแล้ว คอมพิวเตอร์มันจะมีจิตใจจริงๆหรือไม่
ที่สำคัญคือ ผู้คนอื่นๆคิดกับมันอย่างไร
เรื่องน่าสลดคือ Turing Test นั้นคิดมาโดย Alan Turing ผู้ให้กำเนิดคอมพิวเตอร์
ในช่วงนั้น การเป็นชายรักชาย เป็นสิ่งที่ผิดกฏหมายในอังกฤษ
Alan turing ซึ่งเป็นเกย์ ก็โดนจับและถูกบังคับทำหมันโดยการใช้ยา ก่อนที่จะฆ่าตัวตายเมื่อเวลาผ่านไปสองปีหลัง…
แท้ที่จริงแล้ว Turing Test นั้นถอดแบบมาจาก แบบทดสอบที่เกย์ทุกๆคนในอังกฤษต้องทำ นั่นคือ พวกเขาต้องพิสูจน์ตัวเองให้ได้ ว่าตัวเองไม่ใช่เกย์ (“Can you pass for a straight man”) โดยการทำให้ผู้ทดสอบ ยอมรับ … มันไม่สำคัญว่าคุณ แท้จริงแล้ว จะเป็นชายแท้รึเกย์ มันสำคัญว่าคนอื่นๆคิดอย่างไรกับคุณ
ในแง่นี้ สำหรับคอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน มันไม่สำคัญว่าตัวมันจะพัฒนาความรู้ตัวขึ้นมาได้หรือไม่ สิ่งสำคัญคือ ผู้คนคิดเห็นกับมันอย่างไร ก็เท่านั้น
The Depressing Lives of Laboratory Rats
หลังจากdiscuss เรื่อง Human Mind ไปแล้ว (ซึ่งได้ข้อสรุปว่า เราแทบไม่รู้อะไรเกี่ยวกับมันเลย) Harari ก็ชวนกลับไปยังคำถามที่ว่า สัตว์ชนิดอื่นๆ มีจิตใจหรือไม่
เช่นเดียวกับ Turing Test , เวลามนุษย์จะพิจารณาว่าสิ่งใดๆนั้นมีจิตใจหรือไม่ เราแค่หาว่ามันสามารถสร้างemotional relationship กับเราได้หรือไม่ ในทั้งสองทาง
เช่น หลายๆคนอาจชอบรถยนต์มาก รักเหมือนลูก แต่มันก็เป็นแค่ความสัมพันธ์ทางเดียว
แต่ในกรณีของสุนัข มันสามารถสร้างความสัมพันธ์กับเราได้ทั้งสองทาง ดังนั้น มันก็มีจิตใจ
แต่เรารู้ได้อย่างไรหละ ว่าสุนัขตัวนั้นมันมีความรู้ตัวจริงๆ?
รู้ได้อย่างไรว่า สิ่งที่มันกระทำออกมา มันทำเพราะตัวมันมีความรู้สึก รู้ว่ามันมีตัวตนจริงๆ?
การกระทำที่เกิดขึ้น อาจทำให้มันดูมีความรู้สึก แต่มันก็อาจไม่ได้มีความรับรู้ตัวตนเลยก็ได้ ไม่ใช่หรือ? (คือมี Emotion แต่ ไม่มี consciousness)
หลายๆคนก็ตั้งข้อสังเกตว่า ในเมื่อ Emotion เกิดจาก algorithm และ algorithm ไม่ต้องใช้ Consciousness เพื่อให้ใช้งานได้ ดังนั้น เมื่อสัตว์เหล่านั้นมันสามารถแสดง complex emotional behavior ได้ เราก็ยังพิสูจน์ไม่ได้อยู่ดี ว่าสัตว์ต่างๆนั้น มี Consciousness
เพราะการกระทำทุกอย่างของมันก็อาจเกิดจาก complex non-conscious algorithm ก็ได้
ประโยคข้างต้นนี้เป็นจริงกับมนุษย์เช่นกัน เราก็โต้แย้งได้ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ทำ รวมถึงการบอกว่ามันมีสติรู้ตัวนั้น แท้จริงอาจเป็น non-conscious algorithm ที่กำลังทำงานอยู่ก็ได้ ในทางทฤษฎี
อย่างไรก็ตาม ในมนุษย์ เราก็ไม่ได้คิดเช่นนั้น เราเชื่อว่าการที่คนๆนั้นบอกว่าเขาระลึกตัว (มีconscious) เราเชื่อว่า เขามีจริงๆ เขาเชื่อถือได้จริงๆ ดังนั้น เราจึงสามารถใช้เครื่องมือแยกbrain pattern เวลา Conscious และ non-conscious ได้
ใช้หลักที่ว่าเราเชื่อว่าคนมี Conscious และใช้เครื่องมือแยกสมองคนที่มี และไม่มี conscious ออกจากกันได้
ถ้าเราสามารถเจอ pattern ที่คล้ายคลึงกันนี้ในสมองสัตว์ สัตว์ตัวนั้น ก็น่าจะมี conscious ด้วย
จนถึงตอนนี้ (2016) นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้ว่าสัตว์ต่างๆนั้นมีความรู้ตัวหรือไม่
แต่พวกเขารู้ว่า สัตว์เหล่านั้นก็มีลักษณะทางกายภาพ สรีระวิทยา และสารเคมี ในสมอง ที่บ่งชี้ว่าพวกมันก็น่าจะมี Conscious , ไม่ได้ต่างกันไปเลยกับที่เจอในมนุษย์
ส่วนหลักฐานที่จะฟันธงได้จริงๆว่าพวกมันมี หรือ ไม่มี Conscious จริงๆหรือไม่นั้น ก็ต้องสืบหากันต่อไป….
ยาต้านเศ้ราของมนุษย์….แต่เริ่มใช้ในหนูทดลอง
เรื่องตลกร้ายคือ ในหลายๆธุรกิจและอุตสาหกรรมนั้น ก็ทำสิ่งที่ลักลั่นกันเอง
อุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ ฆ่าสัตว์ อาจ Justify เหตุผลว่าแม้สัตว์จะมี Emotion แต่มันก็ไม่มีความรู้ตัวเช่นมนุษย์
แต่หลายๆอุตสาหกรรม เช่น บริษัทยา ก็ทำราวกับว่าสัตว์ร่วมโลกนั้นมีความรู้สึกนึกคิดคล้ายคลึงกับมนุษย์
เช่น บริษัทยาใช้หนูทดลองในการทดสอบยาต้านเศร้า
การทดลองคือ ให้หนูพยายามไต่หนีจากกระบอกน้ำทรงสูง หากมันทำไม่สำเร็จเลย มันก็จะลอยไปเรื่อยๆบนผิวน้ำ…อย่างสิ้นหวัง และล้มเลิกความพยายามใดๆที่จะปีนป่ายเอาตัวรอด หลังผ่านไปสิบห้านาที
หลังจากนั้นก็ทำแบบเดียวซ้ำ แต่เมื่อ 14 นาทีผ่านไป นักวิทยาศาสตร์จะจับมันออกมาจากน้ำ ให้มันพัก แล้วจึงใส่มันกลับเข้าไปใหม่ ครั้งที่สอง เขาพบว่าหนูจะพยายามดิ้นรนเอาตัวรอดนานขึ้น เป็น 20นาทีกว่า
การที่หนูตัวเดียวกัน อดทนตะเกียกตะกายเอาตัวรอดยาวขึ้นอีก 6 นาทีนี้ เชื่อว่า เป็นผลมาจากที่มันจำได้ว่า การตะเกียกตะกายครั้งก่อนมันทำสำเร็จ ซึ่งความจำนี้จะไปกระตุ้นการหลั่งของสารบางอย่างให้หนูมีความหวังและลดระยะเวลาท้อถอยลง,
ที่บริษัทยาต้องทำคือ หาว่าสารตัวนั้นคืออะไร หากเขาสามารถสกัดสารดังกล่าวมาได้ มันก็เอามาใช้ในคนเพื่อรักษาซึมเศร้าได้
การทดลองนี้ มองได้ถูกมองว่าเป็นทั้งการทรมานสัตว์ แต่หลายๆคนก็บอกว่าจะไปสงสารมันทำไม มันไม่มีความรู้ตัวอะไรหรอก ที่มันทำไปก็แค่ตามสัญชาติญาณ (driven by non-conscious algorithm)
ที่ตลกร้ายก็เพราะ หากคนๆนั้นคิดว่าหนูไม่มีconsciousness or emotion จริงๆ พวกเขาจะทำการทดลองในหนูตั้งแต่แรกทำไม? ก็ในเมื่อเขาต้องการสารที่มาใช้ในคนนี่?
ด้วยเหตุผลต่างๆนี้ สัตว์ชนิดอื่นๆที่ไม่ใช่มนุษย์ จึงน่าจะมีความรู้สึก (Emotion) และมี Consciousness เช่นกัน มนุษย์ไม่ได้ผูกขาดความสามารถนี้ แต่เผ่าพันธ์เดียว
The Self-conscious chimpanzee
ถ้าเรายอมรับว่าสัตว์หลายๆชนิด ไม่ว่าจะหมู แมว หมา ไก่ ก็มีความรู้สึก มีความรู้ตัวจริงๆ
แล้ว จะมีอะไรอีกที่ทำให้มนุษย์มีคุณค่าเหนือกว่าพวกมันได้?
บางคนอ้างว่า มนุษย์เรายังเหนือกว่า เพราะเรามี Self-Consciousness แต่สัตว์อื่นๆไม่มี
มันอาจรู้สึกเศร้า สุข หิว แต่มันไม่มี “ตัวกู ของกู” (notion of self) มันไม่รู้ว่าความเศร้า ความหิวนั้น เป็นเอกลักษณ์อันจำเพาะ (Unique entity) ของตัวมันเอง
ซึ่งก็เป็นไอเดียที่แปลก เวลาหมามันหิว มันก็คาบเอาอาหารไปกินเอง ไม่ได้เอาไปให้ตัวอื่นกิน มันจะไม่รู้จัก I ได้ยังไง
Version ที่ซับซ้อนกว่านั้น เสนอว่า สิ่งมีชีวิตมี level ของ self-consciousness ที่แตกต่างกันไป ก็คือว่า คนเท่านั้นที่รู้จักตัวมัน และรู้จักอดีตกับอนาคต เพราะมนุษย์เท่านั้นที่ใช้ภษาได้
เขาอธิบายว่า การจะคิดย้อนอดีต และวางแผนอนาคตได้นั้น ต้องรู้จักภาษา ซึ่งมีแต่มนุษย์เท่านั้นที่รู้จักการใช้ภาษา
ในขณะที่สัตว์ตัวอื่นอยู่กับปัจจุบบัน (eternal present) มันไม่ได้จำอดีตได้ หรือวางแผนเพื่ออนาตได้ มันอยู่กับปัจจุบัน อยู่เพื่อตอบสนองความอยาก ณ ช่วงนั้นๆ ไปวันๆ เช่น กระรอกที่เก็บซ่อนลูกนัทไว้สำหรับฤดูหนาว ไม่ได้ทำเพราะมันกลัวว่าในอนาคตจะไม่มีอะไรกิน มันแค่เห็นลูกนัท แล้วสัญชาติญาณของมันสั่งให้เก็บลูกนัทอันนี้เอาไว้ม
ซึ่งก็มีข้อโตแย้ง เพราะการบอกว่าต้องมีภาษา แล้วจะวางแผนอนาคต หรือคร่ำครวญถึงอดีตได้ มันก็พิสูจน์ได้ยาก
เราเองก็น่าจะเคยประสบเหตุเช่นนี้ ที่เราไม่สามารถบรรยายหรือคิด เหตุการณ์ออกมาเป็นคำพูดได้ เช่น เวลาฝัน เราตื่นมาหลายๆครั้ง เราก็รู้เหตุการ เรารู้ว่ามันเกิดอะไรขึ้น แต่เราบรรยายความฝันมันออกมาเป็นภาษาไม่ได้
การทดลองหลายๆแหล่งยืนยันว่าในสัตว์บางชนิด เช่นนกแก้ว จำการกระทำของมันได้ และมีการวางแผนเพื่ออนาคตจริงๆ
สัตว์มันยังวางแผนอนาคตแบบซับซ้อนได้ ยกตัวอย่าง ลิงชิมแปนซี ชื่อ Santino ในสวนสัตว์ Furuvik ประเทศ สวีเดน
เวลาเบื่อๆมันจะเก็บรวบรวมกอนหินมา เพื่อปาใส่ คนที่เดินผ่านไปมา
แต่พอรู้ทันพฤติกรรมนี้เข้า ครั้งหลังๆ มันจะวางแผนล่วงหน้าว่าจะซ่อนหินที่ไหนไม่ให้มีคนจับได้ ไม่ให้ผู้ชมรู้ว่ามันซ่อนก้อนหินไว้ และจะจู่โจมผู้ชมตอนทีเผลอ
และเมื่อแผนการเก่ามันไม่ work มันก็จะมีการวางแผนใหม่ๆเพื่อให้ปาหินใส่ผู้ชมจนได้
การที่สัตว์หลายๆชนิดสามารถวางแผนได้ซับซ้อนเช่นนี้ จึงเป็นข้อสนับสนุนอีกอย่าง ว่าพวกมันก็มี Self-consciouness มันรู้อดีต รู้การวางแผนเพื่ออนาคตได้เช่นกัน ไม่ใช่แค่มีชีวิตกับปัจจุบัน หรืออยู่ไปวันๆแค่นั้น
The Clever Horse
Ok มาถึงตอนนี้ ถ้าคุณยอมเชื่อแล้วว่าสัตว์นั้นมีทั้ง Consciousness และ มี action ที่ซับซ้อน มีการวางแผนอดีตและคิดถึงอนาคต
แต่ทั้งหมดทั้งมวลนี้ Harari ไม่ได้ต้องการให้คิดว่า สัตว์ร่วมโลก มีความคิดความอ่าน มีอารมณ์ เฉกเช่นในมนุษย์
เราก็ไม่ควร เปรียบเทียบมันกับคนในทุกๆด้าน (Humanise) หรือคิดว่ามันเป็นอีกเวอชั่นของมนุษย์ การคิดในแง่นี้ยิ่งสื่อว่าเราไม่ได้พยายามเข้าใจคุณค่าของมันพวกเลย (Understand its own term)
ยกตัวอย่างเช่น ในปี 1900 มีม้าตัวหนึ่งชื่อ Clever Hans ซึ่งโด่งดังมากในเยอรมัน ม้าตัวนี้มีความสามารถพิเศษในการบวกลบคูณหารเลข เช่น หากถามมันว่า 4×3 ได้เท่าไหร่ มันจะtap เท้ามันจนได้ 12 ครั้ง มันยังทำได้ทั้งบวก ลบ และหารอีกด้วย
นักวิทยาศาสตร์พยายามหาคำตอบ แรกเริ่มพวกเขาคิดว่า เจ้าของม้าเล่นตุกติก หรือเป็นมายากล แต่พวกเขาก็ไม่พบหลักฐานอะไร
จนสุดท้ายได้คำตอบว่า Hans รู้คำตอบได้ ด้วยการอ่านภาษากาย และใบหน้าของผู้ที่ถามคำถามกับมัน
เมื่อมันถูกถามว่า 4×3 ได้เท่าไหร่ มันจะรู้ว่ามนุษย์ต้องการให้มัน กระทืบกีบ มันจึงเริ่มกระทืบ และจะคอยสังเกตว่าคนที่ดูมันมีปฏิกิริยายังไง
เมื่อใกล้ถึงเลขที่ต้องการ มนุษย์จะแสดงความตึงเครียดมากสุด และ peak สุดตอนที่เป็นเลขที่ถูกต้อง
มันจะจดจำ posture และสายตาของมนุษย์เมื่อถึงจุดนั้น แล้วจะหยุดกระทืบเท้า และดูว่า Tension หายไปหรือไม่ และตามด้วยเสียงหัวเราะหรือเสียงฮือฮาหรือไม่ ตอนนั้นมันจะรู้ทันทีว่ามันได้คำตอบที่ถูกแล้ว
ตัวอย่างของ Clever Hans นี้จึงบอกว่า การที่ไป Humanize animal , คือการประเมินความสามารถของพวกมันต่ำเกินไป และเป็นการไม่สนใจความพิเศษเป็นเอกลักษณ์ของพวกมัน การที่ Hans สามารถใช้การอ่านภาษากายของมนุษย์ได้นั้น เป็นอะไรที่อัจฉริยะมากๆ ที่แม้แต่คนก็คงเลียนแบบได้ยาก
หากสัตว์ต่างๆก็มีความฉลาดที่ต่างกันไป ทำไมจึงเป็นมนุษย์ล่ะที่ได้มาใช้งานพวกมัน?
Homo Sapiens มีความสามารถพิเศษอะไรอีก ที่แตกต่างไป และทำให้มันสามารถ Dominate all animals ได้
หลังจากได้ Discuss ในเรื่อง Soul , consciousness , Clever เราก็ได้ตระหนักว่าเราเองก็อยู่ใน level เดียวกันกับพวกมัน แต่แล้วคืออะไรหละ ที่ทำให้เผ่าพันของเรามาถึงจุดนี้
หรือเพราะ Sapiens ฉลาดที่สุด และ มันทำเครื่องมือได้?
หลายๆงานวิจัยบอกว่าเป็นเพราะ มนุษย์สามารถประดิษฐ์เครื่องมือได้ และมันฉลาดที่สุดในบรรดาสัตว์ด้วยกัน (ความฉลาดในนิยามของมนุษย์เอง) แต่หลักฐานโบราณคดีก็บอกว่า Homo Sapiens ก็เป็นสัตว์ที่ฉลาดที่สุดอยู่แล้ว และสร้าง tool ได้เก่งที่สุดอยู่แล้ว มาหลายล้านปี แต่มันก็ไม่ได้มีความสลักสำคัญอะไรในธรรมชาติมากมาย มันก็อยู่อย่าง low profile มาหลายล้านปี
หรือแม้แต่ในข่วงยุคหิน ซึ่งคือช่วงสองหมื่นปีก่อน มนุษย์ยุคนั้นก็สามารถเอาตัวรอดได้เก่งกว่า และสร้าง tool ได้เก่งกว่าคนในยุคนี้ แต่พวกเขาก็อ่อนแอกว่าพวกเราในปัจจุบัน
การที่มนุษย์พัฒนาจากการทำทวนติดหินล่าแมมมอธ แล้วมาสร้างยานอวกาศได้นั้นไม่ได้เป็นเพราะทำเครืองมือได้เก่งขึ้น หรือสมองใหญ่ขึ้น แต่เป็นเพราะพวกเราสามารถเชื่อมต่อกันและกันได้อย่างมากมายมหาศาล ( connect many humans to one another)
มนุษย์ปกครองโลกใบนี้ได้ เพราะ Homo sapiens คือ species เดียวในโลก ที่สามารถ “ร่วมมือกันทำงานอย่างยืดหยุ่น” (Cooperate flexibly in large number)
แม้ความฉลาดและการทำเครื่องมือจะสำคัญ แต่ถ้าเรา cooperate flexibly in large number ไม่ได้ เพราะก็ยังคงไม่ไปถึงไหน
ถ้า Cooperation คือ Key Success แล้วทำไมมด หรือฝึ้ง จึงไม่ครองโลก?
ถ้า cooperation คือ Key แล้วทำไมมดกับผึ้ง ซึ่งพัฒนามาก่อนมนุษย์ ไม่ได้เป็นspecies ที่ครองโลกใบนี้ไปนานแล้ว?
คำตอบคือ พวกมันขาด Flexibility
เช่น มดงานก็มีหน้าที่เกิดมาทำงานแล้วตายไป มันไม่สามารถที่วันดีคืนดีเกิดความไม่พอใจราชินีมด แล้วลุกฮืองานประท้วงแล้วจับนางพญามาตัดหัวได้
สัตว์บางชนิดเช่น ช้าง หรือ chimpanzee ก็ cooperate flexibly ได้ แต่พวกมันต้องรู้จักกันดีก่อน มันไม่สามารถร่วมมือกับคนแปลกหน้าที่ไหนก็ไม่รู้ได้
Sapiens จึงมีทั้ง Flexibility และ มีความสามารถที่จะร่วมมือกันได้แบบจำนวนมหาศาล
สิ่งนี้เอง ที่ทำให้มันครองโลกใบนี้
Long Live The Revolution
Large Scale Cooperation นั้นมีให้เห็นทั่วไปในประวัติศาสตร์
การที่โรมันเอาชนะกรีซไปได้ ไม่ใช่เพราะพวกโรมันมีมันสมองใหญ่กว่าหรือสร้างเครื่องมือเก่งกว่า แต่เป็นเพราะพวกเขาสามารถร่วมมือกันได้มีประสิทธิภาพมากกว่า
ไม่ใช่เฉพาะสงคราม การปกครองคนก็เช่นกัน
ในปี 1914 ชนชั้นนำชาวรัสเซียเพียแค่ 3 ล้านคน ก็สามารถปกครองชนชั้นล่าง และเหล่าชาวนาที่มีจำนวน 180 ล้านคนได้ เพราะชนชั้นนำพวกนั้นรู้ว่าจะร่วมมือยังไงในการป้องกันผลประโยชน์ของพวกเขา
แต่ชาวนา 180ล้านคนนั้นไม่ได้รู้เรื่องอะไร และไม่สามารถร่วมมือกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งที่จำนวนขนาดนั้น ก็สามารถล้มการปกครองของเหล่าชนชั้นนำเมื่อใดก็ได้
การปฏิวัติ ( Revolution ) จะเกิดได้นั้น แค่จำนวนคนอย่างเดียวไม่พอ
สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ เครือข่ายแกนนำ (small networks of agitator)
คำถามสำคัญในการปฏิวัติจึงไม่ใช่ว่าฉันมี supporter เท่าไหร่
แต่เป็นว่า ฉันมีคนที่สามารถทำให้เกิด Effective collaboration ได้มากน้อยเพียงใด
ดังนั้นแล้วการปฏิวัติรัซเวียไม่ได้เกิดจากที่อยู่ดีๆ มีคน 180 ล้านลุกฮือขึ้นมาได้ แต่เป็นเพราะมีกลุ่ม คนที่เชื่อในลัทธิ communist จำนวนหนึ่ง ที่มาอยู่ถูกที่ถูกเวลา [place themselves at the right place and the right time (เพียงแค่ 23,000 คน)] พวกเขาทำให้เหล่า 180 ล้านคนลุกฮือ จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้
อีกตัวอย่างที่ Harrari เสนอ คือกรณีของผู้นำเผด็จการชาวโรมาเนีย ชื่อ Nicolae Ceaușescu
ตั้งแต่ปี 1965 , กระแสการปฏิวัตนั้นมีมาก่อนหน้านั้นแล้วหลายวัน แต่ด้วยความที่ต้องการแสดงให้เห็นว่าเขายังมีอำนาจอยู่ เขาจึงจัด Speech และเกณฑ์คนมาอย่างน้อย 60,000 คน บรรยากาศงานนั้นก็ดูเหมือนที่ผ่านๆมา แต่เมื่อเขาพูดไปได้มีกี่นาที จากเสียงปรบมือก็เริ่มกลายเป็นเสียงโห่ร้อง และนั่นคือ Moment ที่ Communism Collapse ออกสื่อทีวี ที่เด่นชัดที่สุดในประวัติศาสตร์
ในกรณีนี้ คำถาม คือ ทำไมมันจึงพึ่งจะมา Collapse?
ทำไมคนหลายหมื่นคนซึ่งมีกำลังมากกว่าผู้ชายแก่ๆที่กำลังพูดปราศัย จึงยอมปรบมือและอยู่ในอาณัติมาหลายสิบปี ?
Harari อธิบายว่า Nicolae Ceaușescu และลูกน้องของเขา ปกครองโรมาเนีย ได้ถึงสี่สิบปี ด้วยองค์ประกอบสำคัญสามอย่าง
- 1. เขาใส่คนที่ศรัทธาและจงรักภักดีในระบบคอมมิวนิส อยู่ในทุกเครือข่ายที่สำคัญต่อการร่วมมือกัน( in control of all networks of cooperation) เช่น กองทัพ สหภาพ หรือแม้แต่สโมสรกีฬา
- 2. เขาป้องกันไม่ให้มีการสร้าง rival organization ไม่ว่าจะทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ซึ่งวันดีคืนดีจะเติบโตเป็นรากฐานสู่ Anti-communist cooperation ได้
- 3. พวกเขาพึ่งพา support จากพรรคคอมมิวนิสอื่นๆใน สหภาพโซเวียต
ด้วยองค์ประกอบสามอย่างนี้ แม้คน 20ล้านจะทุกเข็ญแค่ไหน พวกเขาก็ไม่สามารถ organize effective opposition ได้
Nicolae Ceaușescu ตกลงจากอำนาจเมื่อ condition ทั้งสามนี้หมดไป
แต่อย่างไรก็ตามอำนาจนั้นก็ไม่ได้ผ่านจากมือเขาไปยังผู้คน
มันแค่ผ่านไปสู่เผด็จการคนอื่นต่อไป เพราะคนนั้นแม้จะมีมาก แต่ไม่รู้วิธีทีจะดูแลอำนาจที่เขาได้มาต่อยังไง (Effective Organization to look after their own interest)
สุดท้ายอำนาจก็ตกไปอยู่กับคนกลุ่มน้อย ที่สามารถร่วมมือกันได้มีประสิทธิภาพกว่า
ชะตากรรมของพวกเขาจึงไม่ได้ดีอะไรขึ้นมากนัก
Beyond Sex and Violence
ถ้า Sapiens ขึ้นมาปกครองโลกใบนี้ได้ เพราะว่าพวกมันเป็น species เดียวที่สามารถ cooperate flexibly in large number ได้
นั่นก็แปลว่า ถ้ามองในแง่ Sapiens ตัวเดี่ยวๆนั้น จะพบว่าเราก็ทำอะไรตัวคนเดียวไม่ค่อยได้ และไม่ได้มีอะไรดีไปกว่าสัตว์ตัวอื่นๆมากมายนัก (อยู่คนเดียวในที่นี้ อารมณ์แบบหลงตัวคนเดียวในป่า ต้องเอาตัวรอดเอง โดยมีแค่ 1สมอง 2มือ แนวๆนั้นครับ)
ทำไมมนุษย์เท่านั้นที่สามารถร่วมมือกัน เป็นจำนวนมหาศาลได้?
ดังที่บอกว่า flexibility นั้นก็มีให้เห็นในสัตว์บางตัว เช่น chimpanzee แต่พวกมันต้องรู้จักกันดี และต้องตั้งลำดับขั้นทางสังคมก่อน (establish social hierarchy) จึงจะทำงานด้วยกันได้ มันจึงใช้เวลามากมายในการมีปฏิสัมพันธ์กัน ไม่ว่าจะเป็นการผลัดกันหาเหา ปัดขน หรือไม่ก็เปิดฉารสู้กันไปเลย
เราพบพฤติกรรมนี้ในลิง bonobo (Ape ชนิดหนึ่ง) เช่นกัน แต่จะต่างกันที่มันมักใช้ sex เป็นเครื่องมือในการสร้าง social bond และลดความตรึงเครียด
Sapiens อย่างเราๆรู้ดีว่า การต่อสู้กัน หรือการมี Sex ช่วยทำให้เกิดความร่วมมือกันได้อย่างไร แต่นั่นคงไม่พอสำหรับ large scale cooperation
งานวิจัยพบว่าคนเราสามารถมีความสัมพันธ์แบบสนิทกัน ( intimate relation) ได้ไม่เกิน 150 คนเท่านั้น
ดังนั้นแล้วหาก intimate relation ไม่ใช่ Key ที่ทำให้คนเราร่วมกันได้มากมายมายมหาศาล สิ่งที่ว่านั้นมันคืออะไร?
แต่ก่อนอื่น ต้องมารู้จักข้อจำกัดในการอธิบายพฤติกรรมมนุษย์เมื่ออยู่เป็นกลุ่มใหญ่ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร?
สิ่งที่ยากในการที่จะอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์เมื่ออยู่เป็นกลุ่มใหญ่ (large scale) ก็คือการหาหลักฐานงานวิจัยมา Back up … เวลาที่เราพยายามจะอธิบายอะไรนั้น เราก็มักหาหลักฐานมาอ้างอิง ในกรณีนี้ ถ้าถามว่ามีหลักฐานการทดลองมั้ย ก็ต้องตอบว่า มี
แต่ในทางสาขาจิตวิทยา สังคมศาสตร์ หรือแม้แต่เศรษศาสตร์ หรือสาขาใดๆที่พยายามอธิบายพฤติกรรมมนุษย์นั้น การทดลองมันทำผ่านห้องแล็บ ซึ่งก็มักจะมีผู้ร่วมทดลองแค่ไม่กี่คน
สิ่งที่เรามักจะพบเจอก็คือ พวกนักวิจัยก็จะพยายามเอาผลที่ได้ในการทดลอง ซึ่งมาจากคนไม่กี่คนนี้ ไปขยายความ ( Extrapolate ) อธิบายคนในกลุ่มใหญ่ๆ
ปัญหาอยู่ที่ว่า พฤติกรรมมนุษย์เมื่อในเป็นกลุ่มใหญ๋ๆ กับมนุษย์เดี่ยวๆหรือเมื่ออยู่ในกลุ่มเล็กๆ
มันต่างกัน
เช่น ใน เกมยื่นคำขาด “Ultimatum Game” ซึ่งมักมีผู้ร่วมทดลองแค่สองคน
กติกาเกมส์นี้คือ ให้เงินจำนวนหนึ่ง สมมติ หนึ่งร้อยดอลล่า แล้วให้ผู้ร่วมทดลองเอาเงินไปแบ่งกัน โดยที่จะมีคนๆนึงเป็นคนเลือกว่าจะให้อีกคนเท่าไหร่ แล้วอีกคนนั้นก็ต้องเลือกว่าจะรับเงินไว้มั้ย
ถ้าไม่รับ ก็จะไม่มีใครได้อะไรเลย
ถ้าเราใช้ Classical Economics อธิบาย มันก็จะได้ว่า ถ้าคนที่ได้เงินไป เก็บไว้กับตัวเอง 99 แล้วให้อีกคน 1 ยังไงคนที่ได้ 1 นั้นก็ต้องรับ เพราะมันก็ดีกว่าไม่ได้อะไรเลย ซึ่งก็ฟังดูสมเหตุสมผลดี แต่เรารู้ดีว่าชีวิตตริงไม่ใช่อย่างนั้น คนส่วนใหญ่คงไม่รับข้อเสนอสุดเอาเปรียบนี้ เพราะมันไม่แฟร์ เขายอมไม่ได้อะไรเลย ถ้าฝ่ายนั้นก็ไม่ได้อะไรด้วย
ดังนั้นแล้ว Sapiens จึงไม่ได้ประพฤติตัวด้วย Mathematical Logic ใดๆ เขาเพียงแต่ทำไปตามSocial logic เท่านั้น (หรือก็คืออารมณ์นั่นเอง)
Emotion ที่ปกครองเราอยู่นี้ก็คือ algorithm นั่นเอง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึง social mechanism ของการใช้ชีวิตของ Sapiens โบราณ คือเป็นกลุ่มของนักเก็บรวบรวมและนักล่า ( ancient hunter-gatherer bands )
เพราะเมื่อสามหมื่นปีก่อน หากคุณไปช่วยอีกคนในการล่าสัตว์ แต่ไอ้คนที่คุณช่วย ดันแบ่งเพียงเศษเสี้ยวของเนื้อมาให้คุณ เราก็คงไม่รับมัน แต่เราจะสู้กับไอ้คนที่ทำไม่ดีกับเราเต็มที่ เพื่อไม่ให้ครั้งหน้ามันกล้าเอาเปรียบเราอีก เรา Refuse unfair offer เพราะ ถ้าเราเป็นพวกที่ง่ายๆอะไรก็ได้ในยุคหิน เราก็จะไม่รอด เพราะโดยเอาเปรียบจนตายไปเลยนั่นเอง
Mechanism นี้เป็นจริงในฝูงชิมแปนซีด้วยเช่นกัน
Mechanism นี้ ทำให้หลายๆคนเชื่อว่า primate มี natural morality and equality นั่นคือ พวกเรานั้นเกิดมาด้วยความเชื่อในความเท่าเทียมกัน ความเชื่อนี้อยู่ใน DNA มันฝังในสมองเรามาแต่กำเนิดแล้ว
แต่ในโลกความเป็นจริง มันเป็นแบบนี้เหรอ?
ถ้ายึดตาม Ultimatum Game ก็จะพบว่า มันเป็นไปไม่ได้เลย ที่โลกเรายังไปต่อได้ ใน Setting ที่มีคนเสวยสุขอยู่เบื้องบน รวยเอาๆ มากขึ้นเรื่อยๆ โดยอีกด้านหนึ่ง คนที่จน ก็จนเอาๆ
ถามว่า อะไรทำให้ความเหลื่อมล้ำสุดขั้วนี้ มันยังดำเนินอยู่ได้?
นั่นเพราะ Mechanism ของ Ultimatum game นั้น อธิบายพฤติกรรมได้ดีเฉพาะในระดับ Scale ฝูงลิง หรือ band of hunter gatherer ซึ่งมีจำนวนคนไม่มาก
แต่นี่เรากำลังพูดถึงผู้คนในอาณาจักร ซึ่งมีจำนวนมหาศาล
คุณอาจเป็นชาวนาอียิปแร้งแค้น กัดก้อนเหลือกิน แต่คุณก็ยินดีที่กษัตริย์ของคุณมีกินมีใช้ฟุ่มเฟือย และยินดีที่ตัวเองยังพอมีกินบ้าง
หรือคุณอาจเป็นทหารที่ยืนอยู่ในขบวนต่อหน้ากษัตริย์ คุณกำลังจะไปตาย แต่คนยืนดูอยู่นั้นก็แทบไม่ต้องทำอะไร ทำไมหลายหมื่นคนในกองทัพคิดไม่ได้ แล้วไม่ไปจัดการกษัตริย์หละ?
จะเห็นได้ว่า model ของ ความยุติธรรม ดังเช่นสิ่งที่เกิดขึ้นใน Ultimatum game คงอธิบายปรากฏการเช่นนี้ไม่ได้
ในทำนองเดียวกัน หากคุณเอาคน 2 ล้านคน แบ่งเป็นฝั่งละล้าน มาแบ่งเงิน แสนล้านหละ มันจะเกิดอะไรขึ้น? คนหนึ่งล้านคนคงไม่สามารถมีมติเอกฉันท์ในการแบ่งเงินได้ แต่ละกลุ่มอาจจะตั้งคนมาเป็นกรรมการกลาง และกรรมการพวกนั้นอาจจะไปตกลงกับกรรมการอีกฝั่ง แล้วฮั้วกันเอง โดยเก็บเงิน 9หมื่นล้านไว้กับพวกนั้น แล้วเอาอีกหมื่นล้านแจกจ่ายให้ที่เหลือ เป็นต้น หรือผู้นำในกลุ่มอาจจะไม่ให้เงินกับใครเลย แต่จะขู่ถึงความผิดบาปและชีวิตหลังความตาย หากมีผู้ใดขัดขืน เป็นต้น
All large-scale human cooperation สามารถ Stable ได้ ผ่านการเชื่อใน Imagined Order ซึ่งก็คือกฏอะไรบางอย่าง ที่มีอยู่ในจินตนาการของเรา แต่เราเชื่ออย่างแรงกล้าว่ามันจริงและหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตราบใดที่ Sapiensอื่นๆที่อาศัยในละแวกเดียวกันก็เชื่อมัน เช่น การเชื่อในพระเจ้าแห่งของคนยุคสมัยอียิป เป็นต้น
และนี่แหละ คือสิ่งที่ทำให้ sapiens สามารถร่วมมือกันในระดับมหาศาลได้ ( organise mass-cooperation network ) ในขณะที่ Chimpanzee ทำไม่ได้
The Web of Meaning
Idea ของ ‘Imagined Order’ นั้นอาจเข้าใจยากไปหน่อย ก่อนอื่นเราต้องรู้จัก Reality กันก่อน
โดยทั่วไปเราจะคิดว่าเรามีความเป็นจริง 2 แบบ คือ (2 types of reality) นั่นคือ Objective Reality และ Subjective Reality
- Objective Reality: สิ่งนั้นๆมีอยู่จริง และเป็นจริง โดยไม่สนว่าคุณจะคิดยังไงกับมัน เช่น คุณอาจจะเชื่อหรือไม่เชื่อในแรงดึงดูดก็ได้ เพราะแม้คุณไม่เชื่อ มันก็จะยังคงมีอยู่อยู่ดี
- Subjective Reality: คือความจริงที่เป็นของคุณคนเดียว เช่น คุณอาจรู้สึกปวดหัวมากๆ แต่ไปตรวจแล้วยังไงๆ ก็ไม่เจออะไร อาการปวดหัวนั้นเป็นจริงสำหรับคุณ แบบแท้แน่นอน100% แต่กับคนอื่นเขาก็ไม่ได้รู้สึกอะไร
Subjective Reality คือความจริงของฉัน คือสิ่งที่เรารับรู้เพียงคนเดียว
การเชื่อว่าความจริงมีเพียงสองแบบนี้ ก่อให้เกิดปัญหา เช่นหากคุณเชื่อในพระเจ้า เชื่อในคุณค่าของเงิน และคนๆอื่นหลายๆคนก็เชื่อ คุณจะสรุปไปว่ามันเป็น Objective reality คือมีอยู่จริง ซึ่งไม่ถูกต้องนัก เช่น
ถ้าคุณบอกว่าเงินคือ Objective reality แสดงว่าเงิน 100 ดอลล่าต้องมีค่า ไม่ว่าคนๆนั้นจะเชื่อในดอลล่า หรือไม่เชื่อ (เป็นคนป่า) ซึ่งก็ไม่ใช่ เพราะสำหรับคนป่านั้น ดอลล่าคงไม่มีค่าอะไรเลย
ต่างจาก action=reaction หรือ แรงโน้มถ่วงโลก ที่แม้ขึ้นจะไม่รู้จักวิทยาศาสตร์เลย มันก็ยังเป็นจริงกับคุณ
ดังนั้น Harari จึงบอกว่ายังมี Reality แบบที่ 3 นั่นคือ Inter-subjective Reality
Intersubjective Reality คือ ความจริงที่อยู่ใน การสือสารระหว่างมนุษย์ (communication among humans) ซึ่งเป็นมากกว่าความเชื่อส่วนบุคคล
ซึ่งสิ่งสำคัญในโลกมนุษย์และประวัติศาสตร์นั้นก็มักเป็น Intersubjective reality นี้ เช่น เงิน
เงิน ไม่มีคุณค่าใดๆในตัวมันเอง คุณเอามันไปกิน ดื่ม สวมใส่ อาศัย ไม่ได้ แต่มันไม่สำคัญ เพราะตราบใดที่คนอีกหลายพันล้านคนเชื่อในคุณค่าของเงิน มันก็จะยังมีค่า
คุณเอามันไปซื้อปัจจัยสี่ได้ ถ้ามีคนใดคนหนึงเพี้ยนขึ้นมาไม่ยอมรับเงินของคุณ มันก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่
แต่หากวันใดประเทศของคุณล่มจม นานาชาติปฏิเสธค่าเงินของคุณ กระดาษในมือคุณก็จะไม่มีค่าใดๆทันที
ไม่ใช่เพียงแค่เงิน แต่รวมถึงกฏหมาย พระเจ้า และอาณาจักรอีกด้วย
เช่น Soviet Union นั้นเคยมีอำนาจมากมาย จนสามารถล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ได้ แต่ในเดือนธันวา 1991 เพียงแค่ผู้นำของรัสเซีย ยูเครน และเบลารุส เซ็นลงนามใน Belavezha Accord โซเวียดก็หายไปทันทีจากประวัติศาสตร์ ไม่มีตัวตนอีกต่อไป
แน่นอน คำว่า Intersubjective reality นี้ดู make sense ดีเมื่อใช้กับเงิน กฏหมาย เทพเจ้าโบราณ
แต่ดราม่าจะบังเกิด หากเราบอกว่า พระเจ้า ประเทศ และขนบธรรมเนียมของเรา ก็อยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน คือเป็นแค่ Fiction ทีให้ความหมายกับชีวิตเรา เราอยากเชื่อว่าชีวิตเรามีความหมายเพื่ออะไรบางอย่าง แต่แท้จริงแล้ว’ความจริง’ ที่ว่านั้นก็มีนิยามอย่างจำกัด มันมีความหมาย (Meaning) อยู่แค่ในหมู่คนที่เชื่อในเรื่องเดียวกันกับเราเท่านั้น (Have meaning only within the network of stories, we tell one another)
Meaning สร้างขึ้นมาเมื่อทุกๆคนร่วมกันถักทอเรื่องราวต่างๆให้เป็นnetwork ซับซ้อน
การกระทำหลายๆอย่าง เช่น จับช้อนมือขวา แต่งงานในโบสถ์ การถือศีลอด งดเหล้าเข้าพรรษา มีความหมายกับเรา เพราะพ่อแม่เราเชื่อในมัน เพราะเพื่อนๆเราก็ทำ เพราะคนในประเทศก็เชื่อแบบนี้
แล้วทำไมคนอื่นถึงเชื่อแบบนี้ ก็เพราะคนอื่นๆเชื่ออีกที เกิดเป็น self-perpetuating loop ของการสร้างหมายความขึ้นมา ยิ่งหยั่งรากลึกเท่าใด ก็ยิ่งแน่นหนาเท่านั้น จนยากที่เราจะหา choice อื่นๆ หรือคิดเป็นการอื่นใด้
อย่างไรก็ตามประวัติศาสตร์ก็ได้บอกเราว่า ในช่วงเวลาหลายสิบหลายร้อยปีที่ผ่านมากนี้ Web of meaning ไม่ได้หยุดนิ่งตายตัว มันมีการคลายออก ขมวดปมใหม่ ทำให้เกิดเป็น new meaning มาแทนที่ เป็นระยะๆ
เราจึงเห็นปรากฏการณ์ที่ว่า เรื่องหลายๆเรื่องสำคัญ สำหรับคนในบางยุค จึงกลายเป็นเรื่องไร้สาระสำหรับคนยุคถัดไป
เช่น ปี 1187 Saladin ชนะสงครามครูเสดและยึดเยรูซาเล็มได้ พระสันตะปาปาจึงเริ่มสงครามครูเสดครั้งที่สาม เพื่อยึดเมืองศักสิทธิ์นี้กลับมา
สมมติว่า มีอัศวินหนุ่มคนหนึ่งชื่อจอน จอนเชื่อใน Objective meaning เชื่อในพระเจ้า เชื่อในสวรรค์ เชื่อในนรก เชื่อในชีวิตหลังความตาย
การตายเพื่อพระเจ้าคือเกียรติอันยิ่งใหญ่ จอนเชื่อสิ่งเหล่านี้เพราะเขาโตมากับครอบครัวที่เชื่อสิ่งนี้ กับละแวกเพื่อนบ้านที่เชื่อสิ่งนี้ กับอาณาจักรที่เชื่อสิ่งนี้ วันที่จอนออกเดินทาง พ่อแม่ของเขาก็ไปส่งโดยความปราบปลื้มใจ
แต่เมื่อจอนเดินทางไปถึงสนามรบ สิ่งที่เห็นนั้น ไม่ใช่ชาวมุสลิมไร้อารยะธรรม หรือ นักรบที่เป็นสัตว์ร้าย
แต่คือคนๆหนึ่ง ที่เชื่อสิ่งๆต่างๆเหมือนจอน นักรบมุสลิมคนนั้นเชื่อในสวรรค์ นรก กรรมดี ความชั่ว เพียงแต่เขานับถือพระเจ้าคนละองค์กัน
และนักรบมุสลิมคนนั้น ก็เชื่อเช่นกันว่าถ้าเขาตายไปจากการรบ ก็จะขึ้นสวรรค์
พอเรื่องราวยุคกลาง (Medieval) นี้ก็ผ่านพ้นไป Web of meaning เดิมนี้ก็คลายออกมา
จากยุคที่ Pope มีอำนาจล้นฟ้า ไปสู่ยุค Renaisance ที่ Pope กลายเป็น Devil In the rome …. จากยุคที่นักรบเพื่อพระเจ้า ก็กลายเป็น นักรบพลีชีพเพื่อกษัตริย์
ปัจจุบันเรื่องราวพวกนี้ ก็เป็นแค่ประวัติบทหนึ่งเท่านั้น แต่ในอดีต มันเป็นเรื่องที่ “จริง” มากๆ และกำหนด ตัดสิน ชะตาชีวิตของใครไปหลายๆคน
หากมีใครพูดถึงการออกรบเพื่อดินแดนศักสิทธิ์ในยุคนี้ คนๆนั้นคงโดนหาว่าบ้า ไม่มากก็น้อย
จากสมัยก่อนที่ชีวิตคนไม่เท่ากัน แบ่งชนชั้นวรรณะกันโจ่งแจ้ง ตอนนี้ก็ทุกคนก็ต้องเชื่อใน Human right เชื่อว่าคนมีสิทธิ์พื้นฐานเท่าเทียมกัน
Dreamtime
Sapiens ปกครองโลกนี้ได้ ก็เพราะมันสามารถถักทอโครงข่ายของ Intersubjective reality นี้ให้ซับซ้อนและขยายมากขึ้นเรื่อยๆ กลายมาเป็น Web of Meaning อันมหาศาล
โครงข่ายของความเชื่อต่างๆ เช่น เงิน กฏหมาย พลังอำนาจ ที่มีอยู่แค่ในดินแดนแห่งจินตนาการของผู้คนเพียงจำนวนหนึ่งนั้น ก็มีความแข็งแกร่งมากเสียจนทำให้เหล่าผู้คนสามารถก่อสงครามศาสนาได้ ปฏิวัติคอมมิวนิสได้ หรือนณนงค์เรื่องสิทธิมนุษยชน ก็ได้
สัตว์ตัวอื่นๆ อาจจินตนาการได้ เช่น แมวจินตนาการถึงรสชาติหนู แต่ความรู้เท่าที่มีตอนนี้ มันคงทำได้แต่จินตนาการไปถึงสิ่งที่มีตัวตนจริงๆ (objective reality)
และแมวตัวนั้นก็อาจจะสื่อสารกับแมวตัวอื่นได้ แต่อีกเช่นกัน มันสื่อสารได้แค่สิ่งที่มีอยู่จริง มันคงไม่สามารถสร้างสิ่งในจินตนาการขึ้นมาในหัว แล้วไปชักชวนให้แมวอีกตัวเชื่อเหมือนมันด้วย
Sapiens จึงแยกกับสัตว์ชนิดอื่นได้ และกลายมาเป็นSpecies ที่ครองโลก เพราะเหตุอันนี้
เพราะ Sapiens สามารถสร้าง Intersubjective reality ที่นำไปสู่การร่วมมือกันได้อย่างมหาศาลใน Species นั่นเอง
ความสามารถในการสร้าง Intersubjective Reality นี้ นอกจากมันจะแยกเรากับสัตว์ตัวอื่นแล้ว มันยังแยก มานุษวิทยา (Humanity) ออกจาก Life Science
Humanities เน้นศึกษาความสำคัญของ Intersubjective Entity ว่ามันได้ส่งผลกระทบกับมนุษย์มากแค่ไหนจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ไม่ได้แปลว่าพวกเขาไม่สนใจเรื่อง objective factor เลย เช่นเรื่องพันธุกรรม
แต่พวกเขาให้ความสำคัญกับเรื่องที่ผู้คนแต่งและเชื่อมากกว่า เช่น การที่เกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ มีความแตกต่างกันมหาศาล มันไม่ใช่เพราะว่าคนในสองประเทศนั้นมีพันธุกรรมที่ต่างกัน หรือเพราะอากาศภาคเหนือเย็นกว่า
แต่เพราะว่าเกาหลีเหนือมี Fiction ชนิดคนละโลกปกคลุมผู้คนอยู่นั่นเอง
ในขณะที่ Biologist เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ที่เกิดมาจากฝีมือ จากความนึกคิดของมนุษย์นั้น มีคำตอบอยู่ใน Genetic code และ Neuron ในสมอง เราเพียงแต่รอให้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เผยออกมา
พวกเขาเชือว่า การกระทำทุกอย่าง เช่นสงครามครูเสด ท้ายสุดแล้ว มันจะอธิบายได้ด้วยหลักทางวิวัฒนาการและชีววิทยา
แน่นอนว่าในอนาคตความเจริญทาง Neurobiology อาจจะมาถึง และมันจะอธิบายได้หมดว่า Communist และ Crusade นั้นสามารถอธิบายได้อย่างไร ด้วยวิทยาศาสตร์ แต่เราคงยังไกลจากจุดนั้นมาก
ในศตวรรษนี้ border ระหว่าง history and biology มีแนวโน้มแบ่งแยกไม่ชัดเจนมากขึ้น ( Blurred Border) ไม่ใช่เพราะว่า biology จะมาอธิบาย history ได้หมด แต่กลับกัน คือ Fiction จะมา rewrite DNA ของมนุษย์
Harari เสนอว่า สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันไกล้นั้น
ไม่ใช่ว่าความเจริญก้าวหน้าทางชีววิทยา จะมา Disrupt ไขปริศนา เรื่อง Intersubjective Reality และทำให้มันหมดความสำคัญไป เพราะสุดท้ายแล้วทุกอย่างจะอธิบายได้ด้วยปฏิกิริยาเคมีในสมอง
แต่สิ่งจะเกิดคือ Intersubjective Reality หรือ Fiction ของเหล่ามนุษย์ชาตินั้น จะทวีอิทธิพลมากยิ่งกว่าเดิม ด้วยความเจริญทางวิทยาศาสตร์
Fiction ของมนุษยชาติ เช่นระบบการเมือง ระบบเศรษฐกิจ ที่คราวนี้ได้ติดอาวุธเพิ่มจากความเจริญทางวิทยาศาสตร์ นี่แหละ ที่จะไปกำหนดชะตากรรมของสภาพอากาศ กำหนด Genetic Code ของมนุษย์
Intersubjective Reality จะกลืนกิน Objective Reality
Biology จะถูกผนึกหลอมรวมไปกับ History
ดังนั้น ในศตวรรษอันใกล้นี้ Fiction จะเป็นสิ่งที่ทรงกำลังที่สุดในโลก
มันจะมีพลังเปลี่ยนแปลกโลก มากกว่า อุกาบาต หรือ natural selection
ดังนั้นหากเราต้องการเข้าใจในอนาคต ….การไขปริศนา Genome หรืออาศัยแต่เรื่องวิทยาศาสตร์อย่างเดียว คงไม่พอ
เราจะต้องไขปริศนา Fiction ที่ว่านี้ ว่าตอนนี้เรากำลังถูกครอบด้วย Fiction อะไรอยู่ มันมาได้ยังไง และมันกำหนดความหมายให้เราอย่างไรบ้าง
Part 2 : Homo Sapiens Gives Meaning to the World
บทที่ 4 The Story Tellers
Sapiens อาศัยอยู่ใน triple-layered reality นั่นคือ Objective Reality , Subjective Reality และ Inter-subjective Reality
พูดอย่างง่าย Inter-subjective Reality คือ Fiction หรือ Web of Stories ที่มนุษย์สรรสร้างขึ้นมา
มันคือเรื่องราวของ พระเจ้า (Gods) ประเทศ (Nation) และ บริษัท (Corporation)
เนื่องจากในศตวรรษที่ 21 นี้ technology ต่างๆมีแนวโน้มที่จะทำให้ Fiction ดังกล่าวนั้นมีอำนาจมากขึ้น
ก่อนที่เราจะเข้าใจในอนาคตได้ เราก็ต้องรู้ก่อนว่า เรื่องราวของพระเยซู ฝรั่งเศส และบริษัทแอปเปิ้ล มันมีอำนาจมากขนาดนี้ได้ยังไง
ผู้คนคิดว่าเขาเองเป็นคนสร้างประวัติศาตร์ แต่หารู้ไม่ว่า ประวัติศาสตร์นั้นเกิดท่ามกลาง web of stories
นั่นเพราะคนในระดับปัจเจกนั้นไม่ได้มีความสามารถพิเศษใดที่เหนือกว่ามนุษย์ยุคหิน
แต่ Web of stories นั้นพลังอำนาจจริง เติบโตจริง
มันคือสิ่งที่ทำให้ Stone age กลายเป็น Silicon age
70,000 ปีก่อน Cognitive Revolution ทำให้ Sapiens เริ่มพูดถึงสิ่งที่มีอยู่ในจินตนาการของพวกเขา
60,000 ปีหลังจากนั้น Sapiens ถักทอfictional web มากมาย แต่มันก็ยังคงอยู่ในกลุ่มคนเล็กๆ ในท้องถิ่นใกล้เคียงกัน เช่น เรื่องราวการบูชาผีสาง การใช้เงินจากเปลือกหอย ที่เป็นถิ่นใครถิ่นมัน
แต่ถึงกระนั้นมันก็สร้างประโยชน์กับ Sapiens อย่างมาก เพราะมันทำให้ Sapiens นับพันสามารถมารวมกันได้ และ ร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมันก็เพียงพอแล้ว และมากกว่าที่ นีแอนเดอทัล หรือชิมแปนซีจะทำได้
แต่การรวมกันของ Sapiens ก็ยังมีขีดจำกัด เพราะถ้ามากไป ก็จะขาดอาหารมาเลี้ยงคนจำนนวนมาก นั่นเอง
12,000 ปีก่อน Agricaltural Revolution ทำให้คนได้ อาหารเพียงพอ มาเลี้ยงผู้คนจำนวนมาก และทำให้เรื่องราวfiction ต่างๆแข็งแกร่งขึ้น
แต่ปัญหาที่ตามมาคือ Fiction ก็ซับซ้อนได้จำกัด เพราะการจะคงเรื่องราวต่างๆให้ตรงกัน ในหลายๆคน ก็ต้องพึ่งแต่สมองมนุษ์ ซึ่งเก็บข้อมูลได้จำกัด
ชาวนาเชื่อในพระเจ้า พวกเขาสร้างวิหารเพื่อถวายแด่เทพที่เขาศรัทธา จัดงานพิธีเพื่อเป็นเกียรติแก่พระองค์ ให้สิ่งบูชายัญ อ้างตามเมืองแรกๆของชาวซูเมเรียน (Sumer) เมื่อ 6000 ปีก่อน นอกจากวิหารจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการมอบสิ่งบูชายันให้พระเจ้าแล้ว มันยังเป็นศูนย์กลางเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจ ( political and economic hubs )
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เทพเจ้าของชาวซูเมเรียน ก็ทำหน้าที่เหมือน modern brand and corporation นั่นเอง (เช่นในบ้านเรา ผู้คนก็รวมตัวกันผ่านเทพเจ้าชื่อพารากอน เซ็นทรัล โลตัส ประมาณนั้นครับ)
ปัจจุบันบริษัทต่างๆคือ นิติบุคคล ซึ่งมันก็คือเรื่องแต่ง (Fictional legal entity)
บริษัทสามารถมีทรัพสิน สามารถยืมเงิน และว่าจ้างคนมาทำงานได้
ในอดีต พระเจ้าก็สามารถมีที่นาของตัวเอง มีทาสของตัวเอง ให้เงินกู้ จ่ายเงินเดือน และสร้างเขื่อนกับขุดคลองได้
เนื่องจากพระเจ้าไม่ตาย พระองค์จึงสะสมสินทรัพและอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ มีชาวสุเมเรียนที่เป็นคนงานของเขา ติดหนี้สินเขา มากขึ้นเรื่อยๆ (ซึ่งไม่ต่างอะไรกับบริษัทในปัจจุบัน ที่ขยายขนาดมากขึ้นเรื่อยๆ จ้างงานคนได้เรื่อยๆ)
สำหรับชางซูเมอ เทพ Enki และ Iananna นั้นก็อยู่จริงๆ พอๆกับที่คนปัจจุบัน เชื่อว่า Google และ Microsoft มีตัวตนอยู่จริงๆ
เช่นเดียวกันกับ Google , เทพเจ้าโบราณพวกนี้ก็ไม่ได้ดำเนินธุรกิจหรือทำธุรกรรมใดๆเอง เพราะพวกเขาไม่ได้มีตัวตนจริงๆ นอกไปจากตัวตนในจินตนาการของมนุษ์
ในกรณีของเทพเจ้าซูเมเรียน นักบวช ก็คือ Manager ที่คอยบริหารกิจการต่างๆให้พระเจ้า
แต่เมื่อข้อมูลต่างๆมีเยอะขึ้น นักบวชก็คงไม่สามารถจัดการกับมันได้ ไม่สามารถจำที่ดินที่อยู่ในนามของพระเจ้าได้หมด ไม่สามารถจำลูกจ้างได้หมด
ดังนั้นแม้จะเกิด Agriculture revolution มาหลายๆปีแล้ว human cooperation network ก็ไม่สามารถexpand ได้มากนัก ด้วยข้อจำกัดเรื่องความซับซ้อนของ Fiction ที่ยังมีมากไปไม่ได้ นั่นเอง
จนเมื่อsumerian คิดค้นตัวอักษรและการเขียน ประมาณ 5000 ปีก่อน ขีดจำกัดของการจดจำข้อมูลนั้นก็หายไป
เงินตรา และการเขียน ทำให้พวกเขาสามารถขยายอาณาจักรได้มากขึ้น สามารถ collect tax ได้มากขึ้น และสามารถจัดการระบบราชการที่ซับซ้อน (complex bureaucracy) ได้
ใน Sumer สิ่งเหล่านี้ถูกจัดการโดยพระเจ้า โดยมีนักบวชเป็นตัวแทน
แต่ในหุบเขาแห่งแม่น้ำไนล์ ชาวอียิป ไปไกลกว่านั้น พวกเขาผสมพระเจ้าและนักบวชเข้าด้วยกัน จนได้มาเป็น living deity นั่นก็คือ องค์ Pharoah
ในอียิป pharaoh คือพระเจ้าจริงๆ ไม่ใช่แค่ตัวแทน
แน่นอนเมื่อเป็นอย่างนี้ตัว biological pharaoh นั้นก็ตายได้ แต่สิ่งที่สำคัญจริงๆคือ imagnined pharaoh ที่อยู่ในจินตนาการของผู้คน
ด้วยเหตุนี้ระบบการทำงานและการปกครอง การเก็บภาษีของอียิปต์ก็ดำเนินไปได้เรื่อยๆ แม้จะเปลี่ยนฟาโรห์ไปกี่คน
Harrari เปรียบเทียบว่า เทพเจ้าของชาวซูเมเรียน นั้นคือ Company Brand แต่ pharaoh นั้นคือ Personal brand
เขาเปรียบเทียบ pharaoh ว่าเหมือนกับ Elvis
Elvis นั้นมีร่างเนื้อ ที่แม้จะตายไป ชื่อของเขาก็ยังอยู่ เขายังสร้างรายได้ได้ โดยการทำงานของค่ายเพลงต่างๆ ปัจจุบันนี้ ผู้คนยังคงพูดถึงเขา ยังอยากไปเยี่ยมเยียนบ้านเกิดเขา แม้ Biological Elvis ตายไป แต่ Imagined Elvis ยังอยู่ และสร้างงาน สร้างรายได้ได้ ไม่ต่างอะไรกับ pharaoh
ก่อนที่มีการเขียน คุณไม่สามารถสร้างเรื่องที่ซับซ้อนได้มาก เพราะคนจะจำไม่ได้ แต่เมื่อการเขียนเกิดขึ้น เรื่องราวนั้นจะยาวและซับซ้อนเท่าใดก็ได้
การเขียน ทำให้สังคมมนุษย์ประพฤติตัวเป็นระบบอัลกอริทึม (Organise as algorithmic function )
นั่นคือ ผู้คนจะหลอมรวมตนไปกับ ฟันเฟืองนึง ขั้นใดขั้นนึง ของระบบอัลกอริทึมอันซับซ้อนทำ และ Algorithm อันใหญ่นี่แหละ ที่เป็นตัวทำงาน ทำให้มีการตัดสินใจ ทำให้มี action
ตัวอย่างเช่น ในโรงพยาบาล แต่ละคนก็จะมีหน้าที่เล็กๆย่อยๆกันไป ตั้งแต่คัดกรองคนไข้ ซักประวัติเบื้องตัน ซักประวัติตรวจร่างกายให้การรักษาเบื้องต้น ไปจนถึงรักษาแบบจำเพาะเจาะจง
Algorithm ทำให้ ระบบมันอยู่ได้ เพราะไม่สำคัญว่าใครจะเป็นเสมียน เป็นพยาบาล เป็นแพทย์ ไม่สำคัญว่าพวกเขาจะมีนิสัยแบบไหน ตราบใดที่มันยังเป็นไปตามอัลกอริทึม มันก็ยังเวิค
ความเป็น algorithm นี้ก็พบในกองทัพ โรงงาน โรงเรียน คุก และยังพบในอียิปโบราณอีกด้วย
การที่คนอียิปนั้นสามารถขุดคลองจากแม่น้ำไนท์ได้ยาวๆ หรือ สร้างพีระมิดได้ ก็เพราะระบบสายพานนี้
แน่นอนว่าฟาโรห์แทบไม่ได้ทำอะไร แต่เมื่อคนเป็นล้านเชื่อในฟาโรห์ และร่วมมือกันสร้างเขื่อน ขุดคลอง ผลดีก็เกิดขึ้นกับพวกเขาจริงๆ ทำให้พวกเขามีกินมากขึ้นจริงๆ ในระยะยาว
การมองในแง่นี้ เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงว่า Fiction มีอำนาจ และมันสามารถเปลี่ยน Reality ได้มากมายแค่ไหน
ในแง่ของชาวอียิป จึงกล่าวได้ว่า ฟาโรห์และเทพเจ้าต่างๆ นั้นทรงพลังจริงๆ เพราะเขาทำให้สามารถสร้างเมือง สร้างกองทัพขึ้นได้ และเป็นตัวสำคัญต่อชีวิตสัตว์ต่างๆมากมาย
บางคนอาจจะฟังแล้วรู้สึกแปลกๆ ที่บอกว่าฟาโรห์ หรือเทพเจ้าต่างๆ (ไม่ใช่คนงานอียิปต์) เป็นสิ่งที่สร้างสร้างเขื่อน ขุดคลอง ขุดแม่น้ำ สร้างวิหาร
แต่ปัจจุบันเราก็พูดกันนะ เช่น จีนสร้างเขื่อนสามฝา กูเกิ้ลสร้างรถขับเคลื่อนอัตโนมัติ แอปเปิ้ลสร้างไอโฟน
Living On Paper
ภาษาเขียน จึงทำให้ fictional entities มีพลังอำนาจมากขึ้น จนทำให้ผู้คนนับล้านร่วมมือกันได้
ความร่วมมือนี้ นำไปสู่การสร้างแม่น้ำสายใหม่ สร้างเขื่อน สร้างสิ่งก่อสร้างมากมาย ที่ท้ายสุดก็กลับมากระทบชีวิตคนจำนวนมาก วนลูปมาทำให้ผู้คนเชื่อในการมีอยู่จริงของ fictional entities มากขึ้นไปอีก
การเขียนนั้นยังมีพลังมาก จนอาจจะตัดสินชะตาชีวิตคนนับล้านได้
เช่น ในปี 1940 ทืนาซียึดครองฝรั่งเศษได้ คนยิวบางส่วนจำเป็นต้องอพยพมาทางใต้เข้าสู่สเปนและโปรตุเกส แต่การจะทำเช่นนั้นได้ พวกเขาต้องมีวีซ่า
แน่นอนว่ากงศุลหลายๆคนปฏิเสธที่จะให้ แต่มีกงศุลคนหนึ่ง ชือ Souse Mendes ตัดสินใจไม่ทำตามสั่ง และ visa ให้คนยิวนับหมื่นคนในช่วงสิบวันอย่างไม่หยุดพัก
เพียงแค่กระดาษและตรายางนั้น ก็สามารถช่วยชีวิตคนได้สามหมื่นคน
หรือระหว่างปี 1958-1961 ในช่วง The Great leap forward ของเหมาเจ๋อตุง ที่ต้องการเปลี่ยนให้จีนเป็นมหาอำนาจอย่งรวดเร็ว เขาตั้งใจใช้ผลผลิตทางเกษตร ซึ่งมีส่วนเกินมหาศาล มาเพิ่มเป็นทุนเพื่อเพิ่มขีดอำนาจของอุตสาหกรรมและทหาร เขาจึงสั่งให้เพิ่มการผลิตเกษรกรรมเป็น 2-3 เท่า
คำสั่งนี้ส่งมาจากส่วนกลาง ไปสู่ ท้องถิ่น
แต่ก็มีแค่คำสั่ง ท้องถื่นต้องไปหาวิธีการเอาเองว่าจะทำไงให้ตอบสนองความต้องการนี้ได้
ตัวเลขTarget ที่แทบเป็นไปไม่ได้ได้นี้ ทำให้เหล่า local officer แก้ปัญหาด้วยการใส่ตัวเลขในจินตนาการลงไปใน”กระดาษรายงาน” เพื่อให้ดูว่าผลผลิตมากขึ้นจริงๆ
ด้วยอำนาจของปากกา ผลผลิตทางเกษตร ก็เพิ่มขึ้นมามหาศาล!!
นั่นทำให้ปี 1958 รัฐบาลจีนได้ตัวเลขมาว่าผลผลิตทางการเกษตรประจำปี เพิ่มขึ้นมามากกว่า 50 เปอเซนที่ต้องการ
ผลคือพวกเขาจึงขายข้าวจำนวนมากให้กับต่างประเทศเพื่อซื้ออาวุธและเครื่องจักร
แต่ตัวเลขนั้นคือของปลอม
ท้ายสุด คนในประเทศจีนจึงไม่มีอะไรกิน เกิดเป็นความอดอยากที่ร้ายแรงสุดในประวัติศาสตร์จีน และทำให้คนตายด้วยความอดอยาก หลายสิบล้านคน
กรณีศึกษา ทำให้ได้บทเรียนว่า การตวัดปากกา ฆ่าคนได้หลายล้านคน!!
รอยปากกานั้นมีพลังมากมหาศาล
ในกรณีของจีน ปากกา ควรมีหน้าที่แค่บรรยาย “ความเป็นจริง” (Describe reality)
ไปๆมาๆ อำนาจของปากกา มีมากขึ้นจนถึงขั้น reshape reality ได้
เมื่อ official report (ตัวเลขในรายงาน)ไม่ตรงกันกับ objective reality (ผลผลิตที่ได้มาจริงๆ) ผลคือเป็น reality นั่นแหละที่ต้องถอยออกไป
อาจจะคิดว่า เว่อไปรึปล่าว ไกลตัวไปใหม
แต่เอาจริงแล้ว ปรากฏการณ์ที่ความเป็นจริง ต้องหลีกทางให้สิ่งที่เขียนอยู่บนกระดาษนี้ มันเป็นอะไรที่เราคุ้นเคยดี
เช่น เวลาที่ต้องจ่ายภาษี ในระบบการศึกษา หรือระบบประเมินต่างๆ
ความเป็นจริง จะเป็นอย่างไรนั้นไม่สำคัญ สิ่งที่สำคัญจริงๆคือ มันเขียนในกระดาษไว้ว่ายังไง!!!
(The truth is hardly matters, what’s written on your form is far more important)
Holy Scriptures
คำกล่าวที่ว่าเมื่อ text กับ reality ไม่ลงรอยกัน ก็เป็น reality ต้องหลีกทางไป นั้นเป็นการกล่าวหาเกินจริงไปหรือไม่?
ในเมื่อบทเรียนความฉิบหายจากเรื่องนี้มีอยู่มากมาย และผู้คนที่ทำงานนั้นก็เป็นคนฉลาดมีเหตุผล เขาก็น่าจะปรับมันได้ เขาก็ควรlearn from mistake และทำให้record ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากขึ้นสิ
นั่นก็ไม่แน่เสมอไป เพราะหากดูตามประวัติศาสตร์ มีหลายๆครั้งที่ แทนที่ story จะถูกเปลี่ยนให้ตรงกับ reality , พวกเขาเปลี่ยน reality ให้มาตรงกับstory ของพวกเขา โดยบังคับ ให้ Reality เป็นไปตามที่เขาต้องการ
ตัวอย่างเช่น เขตแดนของหลายๆประเทศในแอฟริกา
คิดง่ายๆว่า เขตแดนของประเทศใดๆ ก็ต้องมีเรื่องทางเดินแม่น้ำ มีเทือกเขา มีเรื่องของถิ่นอาศัย วัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆ มาเกี่ยวข้อง
ซึ่งในกรณีการขีดแผนที่ทวีปแอฟริกานั้น เรื่องต่างๆพวกนี้ ไม่ได้มีในหัวของผู้มีอำนาจแต่อย่างใด
ที่ขอบเขตของหลายๆประเทศในแอฟริกา เป็นบล็อกเหลี่ยม และทำให้เกิดปัญหามากมายเช่นทุกวันนี้ ก็เพราะเขตแดนต่างๆเหล่านั้นถูกเขียนโดยเจ้าพนักงานชาวยุโรป ที่ไม่แม้แต่จะเคยไปเยือนแอฟริกาด้วยตัวเองจริงๆ
แต่นั่นก็ไม่สำคัญ พวกเขาเพียงแค่กางแผนที่ที่ว่างเปล่าแล้วขีดเส้นแบ่งดินแดนของ Africaออก เพื่อป้องกันการขัดแย้งกันระหว่างประเทศในยุโรปที่กำลังจะมาแย่งดินแดนกัน
จนเมื่อข้อมูลในพื้นที่แอฟริกามีมากขึ้น พวกเขาก็รู้ว่าเส้นที่แบ่งไปนั้นไม่ได้สมเหตุสมผลและไม่เป็นผลดีต่อคนในแอฟริกา แต่เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง พวกเขาจึงยึดเส้นเดิมนี้ต่อไป
จนเมื่อประเทศเหล่านี้ได้อิสระภาพของตนคืน พวกเขาก็ต้องจำยอมรับดินแดนนี้ต่อ ด้วยกลัวว่ามันจะทำให้เกิดสงครามอีกระลอก
เช่นเดียวกันในระบบการศึกษา เมื่อระบบโรงเรียนตัดสินใจวัดความสามารถคนด้วยตัวเลข ชีวิตของนักเรียนหลายล้านทั่วโลกก็เปลี่ยนไปตลอดกาล
คะแนนถือว่าเป็นสิ่งที่ใหม่มาก เมื่อเทียบกับประวัติมนุษย์ ในยุคก่อนๆคุณคงไม่วัดความสำเร็จด้วยคะแนน ในยุคกลางนักรบฝึกหัดก็ไม่ได้ใบคะแนนเพื่อบอกว่าเขาได้ C ในวิชาการรบ A ในวิชาการวางแผน มีเพียงแค่ผ่านกับไม่ผ่าน
แต่เมื่อยุคอุตสาหกรรมเกิดขึ้น และจำเป็นที่จะต้องมี mass education system ระบบคะแนนจึงเกิดขึ้น
มันต่างกัน ระหว่างการ enlight และ educate นักศึกษา กับการวัดความสำเร็จด้วยระบบคะแนน
ทักษะในการสอบได้คะแนนสูงๆ ไม่ใช่อันเดียวกับ ความเข้าใจอันแท้จริงในวิชาต่างๆ
แต่ถึงอย่างนั้นเมื่อต้องจำยอมเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่างสองสิ่งนี้ ทุกๆคนก็พุ่งไปที่คะแนน
Written record แสดงอำนาจมากที่สุด ในรูปแบบของคัมภีร์ศาสนา (holy scripture)
ในทางทฤษฎี หาก holy book พวกนี้ให้คำบรรยายหรือพยากรณ์ reality ผิดไป ผู้ติดตามย่อมค้นพบความผิดพลาดนี้ และความศักสิทธิ์ ก็ควรจะลดลงไป
แต่ในชีวิตจริงมันจะเป็นอีกแบบ การร่วมมือของมนุษย์นั้นต้องมีความสมดุลระหว่าง truth และ fiction
หากคุณปรับเปรี่ยนความจริงมากเกินไป คุณจะอ่อนแอและไม่สามารถ สู้กับศัตรู ที่มีความจริงชัดเจนกว่าได้
แต่หากคุณจัดระเบียบคนหมู่มาก โดยไม่พึ่ง fictional myth เลย ก็จะไม่มีใครติดตามคุณ
เช่น สมมติคุณนั่งไทม์แมชชีนกลบไปยังยุคอียิปโบราณ สมมติให้คุณเป็นโคตรนักวิทยาศาสตร์สุดปราดเปรื่อง คุณรู้วิธีสร้างไฟฟ้า สร้างอุปรณ์ สร้างอาวุธ แต่ก็จะไม่มีอำนาจใดๆ และคงไม่มีใครเชื่อคุณ แม้คุณจะพยายามเปิดโปงว่าเหล่านักบวชนั้นก็แค่คนธรรมดาเดินดิน คุณอธิบายหลักควอนตัมฟิสิกให้ชาวบ้านฟัง
โอเค คุณอาจจะใช้ความรู้ในการสร้างอาวุธเพื่อมายึดอำนาจฟาโรได้ แต่จะทำอย่างนั้นคุณก็ต้องมีเงินทุน มีเหล็ก มีเตาเผา มีผงดินระเบิด และมีเหล่าชาวบ้านที่ขยันขันแข็ง มาช่วยงานของคุณเสียก่อน
Powerful human organization ต่างๆ เช่น ฟาโร European empire หรือระบบโรงเรียนสมัยใหม่ และระบบเงินตรา มักจะไม่ได้มีความจริงอย่างชัดแจ้ง อยู่ในระบบไปทั้งหมด
อำนาจของพวกเขานั้นมักตั้งอยู่ใน ความสามารถในการบังคับใช้ความเชื่อเพื่อลงไปบิดเบือนความจริง (ability to force their fictional belifes on a submissive reality )
ในระบบการศึกษา เมื่อมันประกาศว่าการสอบเก็บคะแนนวัดผลสอบ หรือการตัดเกรด นั้นเป็นสิ่งที่่ประเมินนักเรียนได้ดีที่สุด ระบบนี้ก็จะไปมีอิทธิพลต่อการเข้าโรงเรียนดังๆ หรือมหาวิทยาลัยดังๆ และการจ้างงาน นักเรียนจึงทุ่มเต็มที่กับการเตรียมสอบให้ได้คะแนนดี
เมื่อตำแหน่งงานดีๆ เต็มไปด้วยคนที่ได้คะแนนดีๆ ระบบการสอบและคะแนนก็ยิ่งได้รับความสำคัญมากขึ้นไปอีก ในการได้ที่เรียนดีๆ ได้งานดีๆ ต่อไป
ถ้าบางคนประท้วงว่า เกรด หรือ ปริญญา ก็แค่กระดาษแผ่นนึง เขาคงไปไม่ได้ไกลในชีวิต
เช่นเดียวกับ Holy Scripture, เมื่อสถาบันศาสนาป่าวประกาศว่า คัมภีร์ศาสนามีคำตอบทุกสรรพสิ่ง( holy book contain answer to all questions) มันก็ทำให้ศาล รัฐบาล ภาคเศรษฐกิจ ทำตามนั้น เมื่อมีคนฉลาดมาอ่าน scripture และมองโลก พวกเขาก็จะเห็นว่ามีสิ่งต่างๆมากมายที่เป็นไปตามคัมภีร์กล่าว (Good Match)
ในคัมภีร์ เขียนไว้ว่าคนที่ศึกษาและทำตามคำสอนของพระเจ้าจะประสบความสำเร็จ และเมื่อดูตามจริงแล้ว งานที่ดีๆ ก็อยู่ในมือคนที่รู้จักคัมภีร์ศาสนาอย่างดีจริงๆ
ดังนั้น คนฉลาดคนนั้น จึงศึกษาตำรา และเพราะเขาฉลาด เขาก็จะกลายเป็น ผู้เชี่ยวชาญ และได้รับการต่างตั้งเป็นผู้พิพากษา เมื่อเขากลายเป็นผู้พิพากษา ก็จะไม่ยอมให้ ผู้หญิงสามารถมาเป็นพยานในศาสได้ ตามที่ตำราเขียนไว้
และเมื่อต้องเลือกผู้สืบทอด เขาก็จะเลือกคนที่รู้จักคัมภีร์อย่างถ่องแท้
หากมีใครมาท้วงว่าตำราพวกนี้ก็แค่หนังสือและกระดาษ พวกเขาก็จะไปไม่ไกลในชีวิต
แม้คัมภีร์ศาสนาสามารถทำให้ผู้คนเข้าใจความเป็นจริงผิดไปได้อย่างยาวนาน แต่องค์กรของพวกเขาก็สามารถมีอำนาจได้จริงหลายพันปี เช่น ในคัมภีร์ไบเบิลที่อ้างว่าโลกปกครองด้วยพระเจ้าองค์เดียว และพระองค์ตัดสินว่าฉันเป็นคนดีหรือไมดี จะให้รางวัลและทำโทษต่อความดีและบาป
ดังนั้นชาวยิวจึงเชื่อว่าการที่พวกเขาเจอภัยแล้ง เป็นเพราะบาปของพวกเขา … bible ก็ไม่ได้ยอมรับว่าภัยแล้งนี้ มันอาจเกิดจากภูเขาไฟระเบิดที่ฟิลิปปินด็ได้
แน่นอนในยุคสมัยนั้น ก็มีนักคิดหลายๆคนที่พยายามหาข้อมูลที่แม่นยำกว่า มาอธิบายประวัติศาสตร์ เช่น Herodotus นักประวัติศาสตร์ของกรีกก็อธิบายว่าสงครามต่างๆ เกิดจากปัจจัยอันซับซ้อนด้านการเมือง เศรษฐกิจ
ผู้คนตกเป็นเหยื่อ โดยที่ตัวเองไม่ได้มีความผิดอะไร ขัดกับใน bible ที่เชื่อว่าสงคราม เกิดจากบาปของพวกเขา
แม้เหล่านักประวัติศาสตร์จะมีความเข้าใจในความเป็นจริงมากกว่าคนที่แต่งไบเบิล แต่เมื่อทั้งสอง view นี้ไม่ลงรอยกัน ก็เป็นไบเบิลที่ชนะไปอย่างง่ายดาย
สุดท้ายชาวกรีกก็เหมือนยิว ที่เชื่อว่าหากมี คนเถื่อน มาจู่โจมพวกเขา นั่นก็เพราะ พระเจ้าลงโทษ
“No matter how mistaken the biblibcal world view was, it provide better basis for Large-scale human cooperation “
แม้ในปัจจุบัน ก่อนที่ประธานาธิบดีของสหรัฐ จะสาบานตนก่อนเข้าทำงานในทำเนียบขาว มือเขาต้องทาบลงบนไบเบิล หรือแม้แต่การให้พยานในศาลที่ต้องเอามือ ทาบลงบนไบเบิล
มันเป็นตลกร้าย ที่พวกเขาสาบานจะพูดแต่ความจริง โดยอิงจากหนังสือที่เต็มไปด้วยเรื่องแต่ง ( myth and error )
But it Works!
Fiction ทำให้คน cooperate better แต่มันก็มีราคาที่ต้องจ่าย
ราคาที่ว่านั้นคือการที่ fiction มันก็ กำหนดเป้าหมาย (determine goal) ของเราด้วย – fiction ที่เราสร้างเพื่อให้เราร่วมมือกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เราต้องสร้างเป้าหมายของระบบนั้นๆลงไปด้วย เพื่อที่ระบบจะไปต่อได้
เช่น ชาวมุสลิมอาจบอกว่าระบบมัน work ทำให้ตอนนี้มีชาวอิสลามเป็นพันล้านคนทั่วโลก และหลายๆคนก็สนใจศึกษาคัมภีร์อัลกุรอาน หรือ ระบบการศึกษาที่ใช้เกรดและคะแนนนี้ก็ work ทำให้โรงเรียนต่างๆแข่งขันยกมาตรฐานการสอบได้มากขึ้น แต่คำถามคือ สิ่งที่ถูกต้องจริงๆในการมาใช้วัดความสำเร็จนั้น ( right yardstick for measure success ) มันคืออะไรกันหละ?
ผู้คนมีความต้องการมากมาย ไม่ว่าจะเป็น material social psychological need
แม้อียิบโบราณจะยิ่งใหญ่ แต่ถ้าเรามองในคุณภาพชีวิตของชาวนาหรือคนงานก่อสร้างนั้น ชีวิตพวกเขากลับแย่กว่าเมื่อเทียบกับคนในยุค hunter-gatherer เสียอีก
พวกชาวอียิปต์ ถูกใช้แรงงานอย่างหนักหามรุ่งหามค่ำ ไม่มีเวลาพักผ่อน และตายไปอย่างผักปลา ด้วยงานที่หนักกาย และหนักใจ อาหารที่ไม่พอกิน สุขอนามัยที่ตกต่ำ โรคระบาดในที่ทำงาน
ในขณะที่ยุคหิน งานในแต่ละวัน คือการเดินไปมาในป่า เพื่อหาอาหาร หาผักหาปลาตามเรื่องราว เย็นๆก็ตั้งแคมป์ข้างแม่น้ำชิวๆ
ดังนั้น เมื่อมองในแง่มุมของการร่วมมือกันของมนุษย์ (Human cooperation networks) มันก็ขึ้นกับว่า เราจะนิยามความสำเร็จว่ายังไง (It all depends on the yardstick and viewpoint we adopt)
เราตัดสินอียิบโบราณยังไง?
ถ้าเรามองในแง่มุมการผลิต ความสงบของสังคม หรือ มองในความยิ่งใหญ่ของฟาโรห์ อิยปต์คืออาณาจักรที่ยิ่งใหญ่
แต่หากมองมันในแง่ของความกินดีอยู่ดี ความสุขของคนชนชั้นล่าง คนในอิยิปก็มีทุกขลาภมากกว่าคนยุคหิน
ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ก็ไม่น่าแปลกใจที่เราจะชอบมองในมุมมองแรกมากกว่า เพราะ Human cooperation network มักตัดสินมันเอง โดยใช้นิยามหรือเครื่องมือที่มันสร้างมาเอง (judge themselves by yardstick of their own invention)
ความสำเร็จนั้นก็เลยมาจากมุมมองของ imaginary entity นั้นๆแหละ เช่น
Imaginary Entity ของอียิปต์ ก็คือฟาโรห์และเทพเจ้า ถ้าฟาโรห์ยิ่งใหญ่ มีพีระมิดมากมาย ยุคของฟาร์โรนั้นก็คือ ประสบความสำเร็จ
Imaginary Entity อื่นๆ เช่น ศาสนา ก็จะเรียกว่าประสบความสำเร็จ หากผู้ติดตามนั้นมีความเลื่อมใสศรัทธาเคร่งครัด
ประเทศนั้นประสบความสำเร็จหากมันทำให้ผู้คนสนใจรักชาติได้มาก
เวลาเรามองประวัติศาสตร์ เราจึงมักตัดสินความสำเร็จของมันผ่าน Imaginary Entitiy ซึ่งอาจไม่ถูกต้องนัก
ดังนั้น เวลาสำรวจประวัติศาสตร์มนุษย์ มันเป็นการดีที่จะลองหยุดใช้เวลาสังเกตสิ่งต่างๆ ในมุมมองของ real entity
real entity ก็คือสิ่งที่เจ็บปวดได้ (It can suffer) เช่น เมื่อแบงค์ล้มละลาย แบงค์ไม่เจ็บปวด เมื่อประเทศแพ้สงคราม ประเทศไม่เจ็บปวด ในขณะที่ถ้าทหารล้มตาย ทหารเจ็บปวดจริงๆ
Fiction ไม่ใช่สิ่งที่แย่ มันเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ หากไม่มี stories ที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันมันทำให้เรามี complex human society
แต่สิ่งสำคัญเราต้องตระหนักให้ได้ว่า fiction คือ tool เพราะถ้าเราลืมข้อนี้ไป เราจะสูญเสีย touch of reality และมันอันตราย เช่น มันอาจทำให้เรายอมก่อสงคราม เพียงเพื่อ ปกป้องประโยชน์ของชาติ หรือ ทำผลกำไรเป็นกอบเป็นกำ ให้บริษัท (protect national interes or make tons of money for cooperation )
เราสร้าง Fiction ต่างๆ (money, state, coporation) มารับใช้เรา, ทำไม ไปๆมาๆ เป็นเราที่ต้องเสียสละชีวิตให้มัน
ซึ่งแนวโน้มในศตวรรษที่21 นั้น เราจะสามารถสร้าง Fiction ที่มีพลังมากขึ้นเรื่อยๆ เราจะมีศาสนา ที่มีพลังอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ
ด้วยความก้าวหน้าของ biotechnology และ computer algorithm, ศาสนาที่เรากำลังเพิ่มพลังให้มันนั้น จะไม่เพียงควบคุมชีวิตความเป็นอยู่ของเราในแต่ละวัน มันอาจมีอำนาจมากจนเปลี่ยนร่างกาย เปลี่ยนสมอง เปลี่ยนจิตใจ และสร้างโลก virtual world ได้
ดังนั้น ความสามารถในการแยกแยะ Fiction จาก Reality แยกแยะ Religion ออกจาก Science จะทำได้ยากขึ้นในอนาคต แต่จะยิ่งสำคัญกับเรามากขึ้นกว่าเดิม
บทที่ 5 The Odd Couple
Stories ทำหน้าที่เป็นรากฐานและเสาค้ำ ให้กับสังคมมนุษย์ (Foundation and pillar of human societies )
ประวัติศาสตร์ทำให้รู้ว่าเรื่องราวของพระเจ้า ประเทศ และบริษัท มีอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ จนมันสามารถบิดเบือน Reality ได้
เพราะความเชื่อในฟาโรห์ บัญชาสวรรค์ หรือคัมภีร์ไบเบิล จึงทำให้เกิด Pyramid กำแพงเมืองจีน และ มหาวิหาร
แต่ความศรัทธาอันแรงกล้านี้ ก็เพียงเพื่อเชิดชูเกียรติ fictional identity ต่างๆ แทนที่จะมุ่งไปยังความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน
ในปัจจุบัน Stories ยังทำให้เกิดสิ่งผิดเพี้ยนเหล่านี้อีกหรือไม่?
ในเมื่อปัจจุบัน มีความเจริญของวิทยาศาสตร์ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ objective reality มากขึ้น มันช่วยให้อำนาจของ story โบราณต่างๆนี้ ลดลงไปหรือไม่?
อาจมีคนแย้งว่า ความเชื่อในวิทยาศาสตร์ ก็คือ myth แบบหนึ่ง ซึ่งไม่ต่างกับที่คนโบราณเชื่อในฟาโรห์
แน่นอนว่ามันคนละเรื่องกัน
ฟาโรห์มีอำนาจอยู่เฉพาะเหล่าผู้ติดตามเท่านั้น การบูชาเขาทำให้เกิดความเจริญ เกิดการสร้างเขื่อน สร้างคลอง ทำให้ภัยแล้งอียิปหายไปได้จริง
แต่คนที่บูชาฟาโรห์นั้น ก็ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ปรากฏการณ์น้ำหลากหรือน้ำแล้งของแม่น้ำไนล์
ในขณะที่วิทยาศาสตร์นั้นช่วยคนได้จริงๆ แม้คนๆนั้นจะเชื่อมันหรือไม่
คุณอาจไม่เชื่อในวิทยาศาสตร์เลยก็ได้ แต่ยาปฏิชีวินะมันรักษาอาการติดเชื้อของคุณได้จริงๆ
แม้ในสมัยโบราณเทพเจ้าจะดูมีอำนาจแค่ไหน เขาก็ไม่สามารถเอาชนะความอดอยาก โรคระบาด และสงครามได้ แม้จะมีความพยายามหลายพันปี
ต่างกับวิทยาศาสตร์ที่แก้ปัญหาเหล่านี้ในเวลาเพียงไม่กี่ร้อยปี
จะเห็นว่าวิทยาศาสตร์มีคุณประโยชน์อย่างมาก ดังนั้นแล้วเราสรุปได้หรือไม่ ว่าผู้คนจะเห็นคุณค่าของมันมากขึ้น เห็นความไร้สาระของ old myth และพยายามที่จะพัฒนาความสามารถในการทำงานของร่างเนื้อเชื้อไขจริงๆ แทนที่จะไปสนใจเรื่องของพระเจ้า ประเทศ หรือบริษัท ที่ไม่มีตัวตนจริงๆ ?
แน่นอนว่า ไม่
มันไม่ง่ายอย่างนั้น วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ อาจทำให้ rule of game เปลี่ยนไป แต่มันไม่สามารถ เอาความจริงเหล่านี้ มาแทนที่เรื่องเล่าต่างๆได้ (Replace myth with fact)
Myth ยังคงปกครองมนุษยชาติ และวิทยาศาสตร์จะยิ่งทำให้ Myth เข้มแข็งมากขึ้น
แทนที่วิทยาศาสตร์มันจะมาทำลาย Intersubjective reality … วิทยาศาสตร์จะยิ่งทำให้เราควบคุม objective และ subjective reality ได้มากขึ้น มันยิ่งทำให้เส้นแบ่งระหว่าง fiction and reality เบาบางลงไปอีก
จนในท้ายที่สุด ผู้คนจะสามารถเปลี่ยนความจริง ให้ตรงตามความเชื่อของพวกเขาได้! (reshape reality to match their fiction)
วิทยาศาสตร์ ทำให้ Fiction/Myth/Intersubjective Reality ต่างๆนั้น กลายมาเป็นความจริงได้อย่างไร ?
ยกตัวอย่างง่ายๆคือ ในอดีต หากฟาโรห์นั้นฝันถึงชีวิตอมตะ แม้มีอำนาจแค่ไหน ก็ทำไม่ได้ เพราะร่างกายของฟาโรก็ไม่ต่างอะไรกับชาวนาที่จนที่สุดในอียิป … แม้ศพของเขาจะถูกทำเป็นมัมมี่ แต่มันก็คือร่างไร้วิญญาณ
แต่ในอนาคตผู้คนอาจพบหนทางสู่ความอมตะ และทำให้สิ่งที่ครั้งหนึ่ง เป็นแค่ fiction ในอียิปต์โบราณนี้ เป็นจริงขึ้นมา
สุดท้ายแล้ว science จะทำให้ myth และ religion แข็งแกร่งมากขึ้นไปอีก
ถามว่าทำไมต้องพ่วงScience กับ Religion ไปด้วย?
ก่อนจะมาเข้าใจประเด็นนี้ ต้องเริ่มจากคำถามที่ชวนดราม่า ว่า Science เกี่ยวข้องกับ Religion ในประเด็นใดบ้าง
Germs and Demons
คำถามนี้อาจจะดูไม่เข้าท่า เพราะมองยังไงศาสนากับวิทยาศาสตร์มันก็คนละเรื่องแน่ๆ แต่นั่นเป็นเพราะว่าเราอาจเข้าใจความหมายของศาสนาผิดไป
ก่อนอื่นต้องแยกก่อนว่า Religion ไม่เหมือนกับ Superstition (การเชื่อเรื่องโชคลาง) , Spirituality (การแสวงหาจิตวิญญาณ), Belife in god (ความเชื่อในพระเจ้า) หรือ belief in supernatural power (ความเชื่อในพลังเหนือธรรมชาติ)
- Religion ไม่ใช่ Superstition
Religion ไม่ใช่ Superstition เพราะคนส่วนใหญ่คงไม่เรียกสิ่งที่เขาเชื่อสุดใจว่า Superstition
Superstition มักเป็นคำที่เราใช้เรียกความเชื่อของคนอื่นๆ เพราะ “ความเชื่อของเรา”นั้น มักเป็นเรื่องจริงเสมอ ไม่ใช่โชคลางไร้สาระ
2. Religion ไม่ใช่ Supernatural power
เช่นเดียวกัน ก็มีคนไม่มากที่เชื่อในพลังเหนือธรรมชาติ (Supernatural power) เพราะสำหรับคนที่เชือในภูติผีปีศาจ วิญญาณ ทูต สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ supernatural สำหรับพวกเขา แต่มันคือ natural part จริงๆ
พวกเขาคิดว่ามันไม่ใช่เรื่องเหนือธรรมชาติอะไร (there is noting supernatural about it ) เช่น ถ้าคุณทำให้วิญญาณโกรธ มันจะเข้าสิงคุณและทำให้คุณเจ็บป่วย ซึ่งมันก็make sense สำหรับพวกเขามากๆ
การเทียบว่า religion = faith in supernatural power จึงไม่ถูกต้อง แสดงว่าคุณเข้าใจดีในปรากฏการธรรมชาติแล้ว โดยที่ไม่ต้องมีศาสนาใดๆ มาเขียนคำอธิบายในสิ่งที่คุณไม่เข้าใจ
ซึ่งก็จะแย้งกับหลายๆศาสนาที่บอกว่า คุณไม่สามารถเข้าใจธรรมชาติได้ หากไม่เอาหลักศาสนามาใช้คิดคำนึงถึง
3.Religion ก็ไม่ใช่ belief in gods
เรามักพูดว่าชาวคริสเป็นกลุ่มที่นับถือศาสนา ( religious ) เพราะพวกเขาศรัทธาในพระเจ้า
แต่ คอมมิวนิสไม่ใช่ศาสนา เพราะคอมมิวนิสไม่มีพระเจ้า
ซึ่งเอาจริงๆแล้ว คอมมิวนิสนั้นก็อาจมองได้ว่าเป็นศาสนาอันหนึ่ง
เพราะ ทุกๆ Religion นั้นสร้างมาจาก มนุษย์ ไม่ใช่ พระเจ้า
การจะนิยามว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นศาสนาหรือไม่ เราตัดสินจากว่า มันใช้ในการจัดระเบียบสังคม ( Social Function ) หรือไม่ ถ้าใช่ มันก็อาจเป็นศาสนา โดยที่เรื่องว่าจะมีเทพเจ้าอยู่ด้วยหรือไม่นั้น มันไม่เกี่ยวข้องเลย
Religion คือ Story ใดๆ ที่บอกว่าในโลกนี้มีสิ่งที่มีพลังเหนือกว่ามนุษย์ (Superhuman) ซึ่งคอยกำกับกฏเกณฑ์ ค่านิยม หรือคุณค่าต่างๆในสังคมมนุษย์
ศาสนาบอกว่าสังคมมนุษย์ยังคงสถานะอยู่ได้ มีชื่อมีแป มีโครงสร้างเสถียรอยู่ได้ เพราะเรากำลังทำตามสิ่งที่มีพลังเหนือพวกเรา กำหนดไว้อยู่ (มี Supernatural Law)
(Religion is any all-encompassing story that confer superhuman legitimacy on human laws, norms and value. It legitimise social structures by arguing that they reflect superhuman laws )
ศาสนาเน้นย้ำว่า เราเหล่ามนุษย์เดินดินถูกกำกับด้วยระบบกฏเกณฑ์ทางศีลธรรมที่มนุษย์นั้นไม่ได้เป็นผู้สร้างมันขึ้นมา และเราไปเปลี่ยนอะไรมันไม่ได้
ฟุตบอลไม่ใช่ศาสนา เพราะ เราจะเปลี่ยนกติกามันเมื่อไหร่ก็ได้
คนยิวที่เคร่งครัดจะบอกว่ากฏเกณฑ์ทางศีลธรรมนั้น ถูกสร้างโดยพระเจ้า และถูกจารึกลงไว้บนไบเบิ้ล
คนฮินดูจะบอกว่าพระพราหมณ์ พระวิษณุ พระศิวะ คือผู้สร้างกฏเกณฑ์ที่ว่านั้น และจารึกไว้ในคัมภีร์
ศาสนาอื่นๆ ตั้งแต่ศาสนาพุทธ ลัทธิเต๋า แม้ไม่มีพระเจ้า แต่เราก็เรียกว่าศาสนา เพราะมีสิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนไม่ได้ นั่นคือ กฏธรรมชาติ (Natural Laws) คอยกำกับอยู่
เช่นนี้แล้ว เราก็อาจจะมองได้ว่า แม้แต่คอมมิวนิส นาซี เสรีนิยม ก็มีกฏธรรมชาติ (Natural Laws) ซึ่งแต่ละศาสนาก็จะบอกว่ามีผู้ค้นพบและเผยแพร่แต่งต่างกันไป ตั้งแต่พระพุทธเจ้า เหล่าจื้อ Karl Marx และ Hitler
ตัวอย่างเช่น
เด็กหนุ่มชาวยิวอาจถามพ่อว่า ทำไมถึงห้ามกินหมู พ่อของเขาจะบอกว่า มันเป็นสิ่งที่พระเจ้ากำหนดไว้ ถ้าเราฝ่าฝืน ก็จะถูกทำโทษและตกนรกหมกไหม้ กฏนี้เขาไม่ได้สร้าง, Rabbi ไม่ได้สร้าง แต่พระเจ้าสร้าง เขาก็ไม่รู้เหตุผลแน่ชัด ว่าจะมีไว้ทำไม แต่เราก็ควรทำตามนั้น
ในปี 1943 หนุ่มน้อยเยอรมันอาจถามพ่อเขาที่เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงในพรรคนาซีว่า ทำไมต้องฆ่ายิว พ่อเขาจะบอกว่านั่นคือสิ่งที่โลกเป็น (How the world works) เธออาจเด็กเกินไป แต่ถ้ายอมให้ชาวยิวอยู่รอด มนุษยชาติจะถึงกาลอวสาน นี่ไม่ใช่ไอเดียของเขาหรือของท่านผู้นำ แต่มันอยู่ในกฏของธรรมชาติ ที่ท่านผู้นำไขปริศนามันได้ และสั่งให้เราทำตามกฏนี้ หากเราไม่ทำตาม อาณาจักรที่เกรียงไกรของเรา ก็จะมีปัญหาตามมาได้
ในปี 2016 หนุ่มชาวอังกฤษ อาจถามพ่อเขาที่เป็น สส.ว่า ทำไมเราควรสนใจ สิทธิมนุษย์ชนของมุสลิมตะวันออกกลาง , พ่อเขาจะบอกว่านี่คือ how the world work ลูกอาจยังเด็กไป แต่มนุษย์ชาติทุกคนนั้นมีคุณค่าเหมือนกัน ดังนั้น จึงมีสิทธิมนุษยชนเท่ากัน นี่ไม่ใช่ไอเดียของเขา หรือของสภา (เพราะถ้าสภาอังกฤษสร้างโลก พกวเขาคงมองว่าหลัก universal right มันบ้าสิ้นดี คนอังกฤษต้องมีสิทธิ์และอยู่เหนือมากกว่าชาติพันธุ์อื่นๆในโลกสิ) แต่เอาเถอะ อย่างไรก็ตาม ตอนนี้สภาก็ต้องเคารพหลักนี้ และเราต้องเคารพมัน ถ้าปล่อยไป ในอนาคตอาจเป็นเราที่โดยคุกคามสิทธิพื้นฐานก็ได้
Liberal และ Communist มักไม่ชอบให้ใครมาเรียกระบบของพวกเขาว่าศาสนา นั่นเพราะพวกเขาไปเชื่อมคำว่าศาสนา เข้าด้วยกันกับ Superstition (โชคลางไสยศาสตร์) หรือ เรื่องเหนือธรรมชาติ (supernatural power )
ถ้าคุณไปเรียกพวกเขาว่า religious เขาจะเข้าใจว่า คุณกล่าวหาว่าเขาเป็นพวกเชื่อในฝันลมๆแล้งๆแบบโงหัวไม่ขึ้น
แต่แท้จริงแล้ว Religious แปลว่า belief in some system of moral laws ที่ไม่ได้สร้างขึ้นมาโดยมนุษย์ แต่มนุษย์ต้องเชื่อมัน ซึ่งจนถึงตอนนี้ ก็ไม่มีสังคมมนุษย์ใดที่จะไม่ได้ถูกกรอบของมันปกครองอยู่
(Every society tells it member that they must obey some superhuman moral law, breaking law will result in catastrophe )
Religion แต่ละอันก็มี Story แตกต่างกันไป มีแรงจูงใจ และบทลงโทษต่างกันไป
เช่น ยุโรปยุคกลาง จะให้เหตุผลต่างๆว่าพระเจ้าไม่ชอบคนรวย และไม่ชอบคนขี้เหนียว ถ้าคุณทำตัวเช่นนั้น บทลงโทษคือขุมนรกที่รออยู่
Communist เองก็ไม่ชอบคนรวย และมีบทลงโทษคือ class conflict ที่เหล่าชนชั้นกรรมาชีพพร้อมลุกฮือ
If you meet the Buddha
การกล่าวว่า religion คือเครื่องมือในการรักษา Social Order และ Organise large scale cooperation อาจก่อดราม่าได้มากในคนที่่มองศาสนาเป็นเรื่องทางจิตวิญญาณ (Spirituality)
Religion and science นั้นมีช่องว่างที่แคบกว่าที่เราคิด
แต่ Religion กับ Spirituality นั้นมี gap มากกว่าที่เราคิด
Religion is a deal, whereas Spirituality is a journey
Religion บรรยายให้เราเสร็จสรรพ ว่าโลกนี้เป็นอย่างไร ทำงานอย่างไร ให้เป้าหมายชีวิตเราไว้แล้ว (predertermined goal) และให้ข้อตกลง (Deal) ไว้กับเรา เช่น พระเจ้ามีจริง พระองค์บอกให้เราทำแบบนี้ ถ้าคุณเชื่อพระเจ้า คุณจะสำเร็จในชีวิต และจะขึ้นสวรรค์ ถ้าไม่เชื่อ คุณจะตกนรกหมดไหม้
ซึ่ง deal นี้ก็ทำให้สังคมสามารถนิยาม ค่านิยม ร่วมกัน (common norma and value) และช่วยคุมประพฤติคนได้
ในทางกลับกัน Spirituality ไม่ใช่ complete deal เช่นนั้น มันคือการเดินทางสู่จุดหมายที่ไม่มีใครรู้ ซึ่งมักเริ่มด้วยคำถามยากๆ เช่น ฉันคือใคร ความหมายของชีวิตคืออะไร
ศาสนาได้ให้ Ready-Made Answer แต่คนที่กำลังเดินทางตามหาจิตวิญญาณ มักเริ่มด้วยความไม่พอใจ ต่อคำตอบที่ได้รับนั้นๆ
ดังนั้นแล้ว การเรียนการสอนในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย จึงเปรียบได้ว่าเป็น Deal มากกว่า spiritual journey เพราะเวลาเราเรียนมันจะมี goal กำหนดไว้แล้ว ว่าเราจะได้ปริญญาอะไร
Spirituality เป็น มรดกตกทอด (Legacy) จาก ศาสนาทวินิยมโบราณ ( ancient dualist religion ) ซึ่งเชื่อว่าในโลกนี้มีเทพเจ้า 2 ฝ่าย (2 god) คือ เทพฝ่ายดี และ เทพฝ่ายชั่วร้าย ( one good and one evil)
เทพองค์ที่ดีสร้างวิญญาณบริสุทธิ์ที่อาศัยในโลกวิญญาณ
เทพองค์ร้ายอยู่ในอีกโลก โลกแห่งกายหยาบ ที่เน่าเฟะ
ในการที่เขาจะเอาชีวิตมาสู่กายหยาบได้นั้น Satan ต้องล่อลวงวิญญาณจากโลกบริสุทธิ์ มาอยู่ในร่างเนื้อ มนุษย์จึงเป็นจิตวิญญาณที่ดี ที่ถูกขังไว้ในกายหยาบอันเป็นของเทพผู้ชั่วร้าย (good spiritual soul trapped inside an evil material body )
ซึ่งแม้ body จะตายไป แต่ soul มีโอกาสหนีได้
Satan ก็จะพยายามล่อลวง Soul ให้กลับมา ด้วยกิเลสต่างๆ เช่น อาหาร Sex และอำนาจ
Dualism จึงสอนให้คนละซึ่งกิเลสทางโลก ( break material shackles) และสนับสนุนให้ออกเดินทางเพื่อหาทางกลับไปสู่โลกแห่งจิตวิญญาณบริสุทธิ์ (undertake journey back to the spiritual world) ซึ่งเป็นทางที่เราไม่คุ้นเคย
Spirituality จึงเป็นเรื่องของการตั้งคำถามต่อสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นกับตัวเรา คือการที่เราออกเดินทางหาเผ้าหมาย ที่เราก็ไม่รู้ว่าปลายทางนั้นคืออะไร
Spiritual journey จึงต่างจาก Religion เพราะ Religion ต้องการ หลักอะไรมายึดโยงไว้ ให้โครงสร้างสังคมมนุษย์เกิดความเป็นปึกแผ่น แต่ Spirituality บอกให้เราหนีไป
ซึ่งสำหรับ Religion , Spiritualiy คือ สิ่งอันตราย
Religion จึงพยายามควบคุมการเกิด Spiritual quest of the followers
เพราะหากคนที่เชื่อในศาสนา มีความสงสัยเข้ามากๆ แล้วออกเดินทางหาคำตอบกันเยอะๆ ศาสนาและสังคมที่ศาสนานั้นครอบไว้ จะไม่มั่นคง
สิ่งที่น่าสนใจคือ ผู้ที่มาท้าทายมัน มักไม่ใช่คนธรรมดาที่เต็มไปด้วยกิเลส แต่ก็คือ Spiritual Seeker ที่ต้องการอะไรมากกว่า สิ่งที่ศาสนาดั้งเดิมเคยให้
เช่น ในยุคสมัยที่ Catholic church เจริญรุ่งเรื่อง ผู้ที่มาจุดประกายการปฏิรูปศาสนา (Protestant Revolt ) ไม่ใชคนไร้ศาสนา แต่คือผู้ที่เคยเลื่อมไสในมันมากๆ – Martin Luther
Martin Luther ต้องการหาความหมายของชีวิต และไม่ยอมรับพิธีกรรมหลายๆอย่างของศาสนจักร โดยเฉพาะการใช้เงินเพื่อซื้อตั๋วไปสวรรค์ (Buy an indulgence)
อย่างไรก็ตาม ในมุมมองประวัติศาสตร์นั้น Spirituality มักเป็นเรื่องน่าเศร้า เพราะมันเป็นแค่ lonely path
Spirituality มักเป็นเรื่องเล่าของคนๆหนึ่ง เป็นเรื่องที่ไม่สามารถมาใช้บรรยายสังคมได้ (fit for individual rather than entire society)
แต่ Human cooperation อยู่ได้ด้วย คำตอบที่กระชับ ชัดแจ้ง (Firm answer) ไม่ใช่คำถามที่ไม่สิ้นสุด
สุดท้ายแล้ว เราจึงเห็นว่า คนที่ต่อต้าน Religious structure ที่มีมานาน กลับสร้างมาสร้างโครงสร้างใหม่ๆ ที่เต็มไปด้วย Ready-made answer มาแทนที่สะเอง
เช่น Martin luther ก็มาเขียนคัมภีร์เล่มใหม่ มาเขียนกฏเกณฑ์ใหม่
Buddha หรือ Jesus ที่เริ่มจาก Quest for the truth ในยุคของ Hindusion และ judasim ก็กลายเป็นสร้างลัทธิใหม่ที่มีกฏเกณฑ์ต่างๆ มากมาย ไม่แพ้กัน
Counterfeiting God
เมื่อได้ Clarify เรื่องของ Religion, Spirituality, Supernaturality กันไปแล้ว ก็กลับมาสู่คำถามเดิมว่า
Religion และ Science มีความสัมพันธ์กันยังไง?
มีคำอธิบายที่ต่างกัน 2 ขั้ว เกี่ยวกับ 2 สิ่งนี้
1. ทั้งสองเป็นศัตรูกัน และ ในยุคสมัยใหม่นั้น โลกจะถูกก่อร่างด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะมาแทนที่ความเชื่องมงายในศาสนา
โลกจะเป็นสถานที่ ที่มีเหตุมีผลมากขึ้น อิทธิพลของศาสนาจะค่อยๆจางหายไป
ซึ่งไม่จริง
เพราะ โลกนี้ไม่สามารถอยู่กันอย่างสงบได้ ด้วยหลักของวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว (Science always need religious assistance in order to create viable human institutions )
นักวิทยาศาสตร์ไขปริศนา สิ่งต่างๆว่าทำงานอย่างไรได้ แต่ไม่สามารถหาคำตอบ ว่าคนจะปฏิบัติตัวกันยังไง
วิทยาศาสตร์บอกไม่ได้ว่า อะไรดี อะไรเลว
วิทยาศาสตร์รู้ว่าคนต้องการออกซิเจน แต่ตอบไม่ได้ว่าถ้าเราทรมานคนร้ายด้วยการบีบคอ มันจะโอเคหรือไม่ ซึ่งลักษณะคำถามนี้ต้องอาศัย Religious guidance
ดังนั้น ทุกๆโครงการที่นักวิทยาศาสตร์ทำ ก็จำเป็นต้องใช้ Religious insights ด้วย
เช่น การสร้างเขื่อนสามผาที่ประเทศจีน แม้วิทยาศาสตร์ให้คำตอบได้ว่าจะต้องสร้างเขื่อนยังไง จะสร้างไฟได้เท่าไหร่ แต่เขาตอบไม่ได้ว่า การที่มันทำให้คนหลายล้านต้องย้ายที่อยู่ สัตว์หลายสปีชี่ต้องสูญพันธ์ มันโอเคหรือไม่ คำตอบสู่คำถามพวกนี้จึงต้องการหลักศาสนาด้วย
2. ทั้งสองแยกจากกันโดยสิ้นเชิง ( complete separate kingdom) : Science ศึกษา facts, religion ศึกษา ค่านิยม (values) ดังนั้นทั้งสองนี้ไม่ควรก้าวก่ายกัน
นั่นคือศาสนาจะคอยตัดสินเองว่าอะไรดีไม่ดี ส่วนวิทยาศาสตร์ก็ยุ่งกับเรื่อง Fact ไป
เช่น ถ้าโป้ปพูดว่าการทำแท้งเป็นบาป นักชีววิทยาก็ไม่ควรมายุ่งกับเรื่องนี้
การคิดแบบนี้มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับศาสนาปนอยู่ เพราะศาสนาก็ต้องมีการ Claim ว่าสิ่งต่างๆนั้น เป็น Fact เช่นกัน – นั่นคือ ศาสนาก็มี “ข้อเท็จจริง” ที่กำหนดมาเองเช่นกัน
เพราะศาสนาจะไม่สามารถให้แนวทางปฏิบัติอะไรได้เลย ถ้าตัวมันเองก็ไม่บอกว่ามีอะไรบ้างที่เป็น ข้อเท็จจริง (provide any practical guidance unless it makes some factual claims)
ซึ่งFactual claim ของศาสนา หลายๆครั้ง ก็ขัดแย้งกับ Fact ของ Science
จึงกลายมาเป็นว่า เรื่องราว Religious story นั้นมักประกอบด้วยสามส่วนสำคัญคือ
1. Ethical Judgement : ศาสนาจะตัดสินให้เองว่า อะไรดี หรือ อะไรไม่ดี
2. Factual Statement : ข้อเท็จจริง ในมุมมองของศาสนา
3. Combination ระหว่างข้อ 1&2 ซึ่งทำให้เกิด Practical guideline – แนวทางการปฏิบัติของศาสนา
ตัวอย่างเช่น
เรื่องการทำแท้ง
1. Ethical Judgement : ศาสนาบอกว่าชีวิตมนุษย์ศักสิทธิ์ มันจึงเป็นสิ่งที่ดี
2. Factual Statement : ศาสนาบอกว่า ชีวิตมนุษย์ เริ่มเมื่อปฏิสนธิ
3. Combination -> Practical guideline ตามแนวทางศาสนา = การทำแท้ง เป็นสิ่งไม่ดี
จะเห็นวิทยาศาสตร์ไม่สามารถถกเถียง Ethical judgement ที่ศาสนายกมาได้ (ชีวิตมนุษย์ศักสิท) แต่ในเรื่อง Factual statement วิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์ได้ เช่น ถ้า fetus ยังไม่มีการพัฒนาสมอง จะถือว่ายังมีชิวิตหรือไม่ เป็นต้น
ตัวอย่าง Case Donation of Constantine
ในยุโรปยุคกลาง ซึ่งเป็นช่วงที่โป๊ปมีอำนาจเหลือล้น เวลาที่มี ความขัดแย้ง เกิดขึ้นเมื่อไหร่ พวกเขาก็จะ claim ว่าเขามีอำนาจในการตัดสินทุกๆปัญหาได้ โดยยก พระราชบริจาคของคอนสแตนติน (Donation of Constantine) มาอ้าง
Donation of Constantine เป็นเรื่องราวว่า ในวันที่ 30 มีนาคม คศ 315 จักรพรรดิโรมัน Constantine ออกประกาศให้อำนาจโป้ป Sylvester I และผู้สืบทอด มีอำนาจในการปกครอง จักรวรรดิโรมันฝั่งตะวันตก ตลอดไป
ซึ่งโป้ปก็เก็บเอกสารอันล้ำค่านี้ไว้อย่างดี และใช้เป็นเครื่องมือในการต่อรองอำนาจมาเสมอ
ซึ่งเมื่อดูเรื่องนี้ เราจะพบว่าเป็นเรื่องราวที่มี 3 part ตามศาสนา นั่นคือ
1. Ethical judgement : ผู้คนควรจะเคารพเชือฟังคำสั่งจากยุคโบราณ มากกว่าความเห็นของผู้คนในปัจจุบัน
2. Factual Statement : Constantine ให้อำนาจสูงสุดแก่โป้ป ตั้งแตปี 315
3. Practical Guideline : ดังนั้น Europe ในปี 1315 ก็ต้องเชื่อฟังคำสั่งโป้ป
แน่นอนว่าเรื่องศีลธรรมข้อแรกนั้นเถียงกันยังไงก็ไม่จบว่าควรเชื่อกษัตริย์หรือประชาชน
แต่ในFactual statement ที่บอกว่าเอกสารทำในปี 315 นั้น นักวิทศาสตร์พิสูจน์ได้ โดยใช้หลักของภาษาศาสตร์ ซึ่งพบว่าเอกสารนี้ถูกทำใน 400 ปีหลัง Constantine ตาย
พระราชบริจาคของคอนสแตนติน จึงเป็นเอกสารปลอมแปลง
Holy Dogma
แต่ในทางปฏิบัติ มันก็ไม่ง่ายที่จะแยก ethical judgement ออกจาก factual statement
เพราะ Religion มักจะชอบตีเนียนเอา factual statement ไปรวมกันกับ Ethical Judgement ไปด้วยเลย เช่น
God เขียน bible เป็น factual statement
แต่มันมักจะถูกปรับให้มีความเป็น Ethical มากขึ้น เช่น คุณต้องเชื่อว่าพระเจ้าเขียน Bible จริงๆ การเชื่อสิ่งนี้จะทำให้ขึ้นสวรรค์ ถ้าสงสัยมากก็เชิญลงนรก
ในทำนองเดียวกัน Ethical judgment ก็มักให้ที่ซ่อนตัว Factual statement เช่น
Ethical Judgement : ชีวิตมนุษย์มีความศักสิทธิ์(วิทยาศาสตร์พิสูจไม่ได้) อาจซ่อน factual statement ที่ว่า มนุษย์ทุกคนมีดวงวิญญาณอันเป็นนิรันด์ (วิทยาศาสตร์หาข้อพิสูจได้)
ความที่มี Factual statement ซ่อนอยู่ใน Ethical judgemet ทำให้นักปรัชญาบางคนเช่น Sam Harris เชื่อว่า วิทยาศาสตร์จะหาทางแก้ปัญหาทางศีลธรรมได้เสมอ เพราะค่านิยมของผู้คนนั้น มักมีสิ่งที่เป็น Factual Statement ซ่อนไว้อยู่เสมอ และ เชื่อว่าทุกๆคนมีค่านิยมสูงสุดร่วมกัน นั่นคือ ลดความทุกทรมานให้น้อยที่สุด และเพิ่มความสุขให้มากที่สุด (Minimising suffering and maximising happiness)
ดังนั้นแล้ว ทุกๆกรณีของข้อพิพาททางศีลธรรม ข้อถกเถียงกันเรื่องความดีความเลว นั้น คือการถกเถียงกันเกี่ยวกับ Fact ว่า กรณีนั้นๆ ทำให้เกิดความทุกข์และความสุขต่อมนุษย์อย่างไร
หากอ้างหลักการคิดนี้ ก็แสดงว่า อิสลามหัวรุนแรง นักเสรีนิยม หรือเหล่าคนชาตินิยม ก็มี ethical judgment ไม่ขัดกัน (ต้องการให้มนุษย์มีความสุขสูงสุด) ที่ขัดกันคือ factual statement ว่าวิธีจะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ขาดหวังนั้น จะทำยังไง
ความยากของหลักการนี้ คือ เรายังไม่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์ ในการวัดระดับความสุข
เช่น ในเคสของเขื่อนสามผา แม้เราจะเห็นพ้องกันว่า เป้าหมายสุดท้าย ของ mega project นี้ คือทำให้โลกมีความสุขขึ้น แต่เราจะรู้ได้ยังไงว่าค่าไฟที่ถูกลง สามารถให้ global happiness ได้มากกว่าการป้องกัน traditional lifestyle ของคนกลุ่มน้อย หรือรักษาพันธ์สัตว์หายาก
ตราบใดที่เรายังไม่สามารถไขรหัสลับของ consciousness ได้ เราก็คงไม่สามารถทำ universal measurement for happiness and suffering และไม่สามารถเปรียบเทียบความรู้สึกกับของแต่ละคนได้ ไม่ต้องไปพูดถึง เปรียบเทียบความรู้สึกของคน กับสัตว์สปีซี่อื่นๆ
เช่น การสร้างเขื่อนสามผาเพิ่มความสุขให้คนจีนกี่หน่วย? สร้างความทุกให้สัตว์ป่ากี่หน่วย? ความสุขและความทุก มันหักลบกันได้เหมือนการบวกลบคูณหารหรือไม่?
กินไอติมทำให้มีความสุข พบรักแท้ทำให้โคตรมีความสุข -> กินไอติมหลายๆก้อน จะทำให้ความสุขมีเท่ากับการพบรักแท้ได้หรือไม่? อันนี้เรายังตอบไม่ได้ เพราะเรายังไม่มี Scale วัดความสุขที่จับต้องได้และแน่นอนจริงๆ
ดังนั้นแล้ว แม้ดูเหมือนวิทยาศาสตร์สามารถช่วยใน Ethical debate ได้มาก ก็ยังมีเส้นที่มันผ่านไม่ได้อยู่ดี
ตอนนี้ วิทยาศาสตร์จึงทดแทนศาสนาไม่ได้
หากไม่มีการช่วยเหลือจากหลักคิดทางศาสนา เราก็ไม่สามารถ maintain large scale social order ได้
Religion ยังทำหน้าที่ backing university and lab อีกด้วย โดยการให้ ethical justifaction ในงานวิจัยต่างๆ มันจึงมีอินธิพลต่อ scientific agenda และการใช้สิ่งที่ค้นพบ
คุณจึงไม่สามารถเข้าใจ History of science โดยไม่เอาความเชื่อทางศาสนามารวมด้วยได้
The Witch Hunt
เรามักคิดว่าวิทยาศาสตร์ไปด้วยกันกับสิ่งแวดล้อมแบบ ฆราวาสนิยม (secularism) และ มีการยอมรับความต่างทางศาสนา (Religious Tolerance) ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆ ที่สุดท้ายที่เราจะเห็น scientific revolution ก็ควรเป็น ยุโรป
เพราะในยุคของโคเปอนิคัสและนิวตัน มันคือที่ที่มีการรวมกันของเหล่าผู้ยึดมั่นในศานาอย่างเคร่งครัด และทนความเห็นต่างทางศาสนาไม่ได้มากที่สุด
ยุโรปในยุคนั้น คึอสังคมที่ขับไล่ยิว มุสลิม ล่าแม่มด และก่อสงครามในนามศาสนาเป็นว่าเล่น
ในขณะที่เมืองอย่าง cairo , Istanbul มีผู้คนหลากหลายวัฒนธรรมมากกว่า
แต่ทำไม Scientific revolution ก็เกิดที่ที่เต็มไปด้วยคนคลั่งและงมงายในศาสนา ?
เรามักวาดภาพว่าประวัติของความ สมัยใหม่ ( history of modernity ) ว่าเป็นการต่อสู้กันระหว่าง Science และ Religion
ในทางทฤษฎีนั้น ทางศาสนาและวิทยาศาสตร์สนใจในสิ่งเดียวกัน คือ The Truth ซึ่งแต่ละฝ่าย มี Different Truth มันจึงต้องขัดแย้งกัน
แต่ในทางปฏิบัติ ทั้งสองฝ่ายไม่ได้สนใจ “ความจริง” ขนาดนั้น
ศาสนาสนใจที่สุดคือ ความเป็นระเบียบของโครงสร้างสังคม (Order)
ส่วน วิทยาศาสตร์สนใจสุดคือ พลังอำนาจ (Power) ในการยกระดับชีวิตคน เช่น การรักษาโรค ผลิตอาหาร
ไปๆมาๆ ทั้งสององค์กรนี้จึงมักหยวนๆ และร่วมมือกันได้
ดังนั้นจึงเหมาะกว่าที่จะมอง modern history เป็น process of formulating deal ระหว่างวิทย์ และ ศาสนาจำเพาะอันหนึ่ง
ศาสนาที่ว่านี้ มีชื่อว่า Humaninsm
สังคมสมัยใหม่ เชื่อถือในหลักของ Humanism และใช้วิทยาศาสตร์ในการเอาหลักการนี้มาช่วยปรับใช้ในสังคมมากๆขึ้นๆ แทนที่จะใช้วิทยาศาสตร์เพื่อค้นหาข้อโต้แย้ง ต่อหลัก Humansim
ในศตวรรษที่ 21 หลักของ Humanism จะไม่ถูกแทนที่ด้วยวิทยาศาสตร์ แต่ Deal ระหว่าง 2 สิ่งนี้ อาจมาถึงจุดจบ ยุคต่อไปอาจเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง Science และ Post-Humanism religion บางอย่าง
ในบทต่อๆไป Harari จะอธิบายว่า Science และ Humansim สัมพันธ์กันอย่างไร มันทำข้อตกลง (Covenant) อะไรกันไว้ ข้อตกลงนี้ จะมาถึงจุดจบได้อย่างไร แล้วจะมีอะไรมาแทนที่