สรุปหนังสือ: เหนือกว่าวอลสตรีท ตอนที่ 3 (One Up on Wall Street – Part 3)

สรุปหนังสือ เหนือกว่าวอลสตรีท one up on wall street part 3
ผู้เขียน : Peter Lynch, John Rothchild (ผู้แปล – ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร)
สำนักพิมพ์ : Fidelity
จำนวนหน้า : 352 หน้า
Genre : Investing
ISBN : 9786169033288
พิมพ์ครั้งแรก : 2012

เหนือกว่าวอลสตรีท

8.5

เนื้อหา

10.0/10

การนำเสนอ

7.0/10

ส่วนที่ 3 : ภาพระยะยาว

บทที่ 16 : การออกแบบ Portfolio

ผลตอบแทน

  • อย่าคาดหวังสูง การคาดหวังจะทำเงินจากหุ้นในอัตราปีละ 25-30% ทุกปีนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะ ถ้าทบกันแบบนั้นไม่กี่ปี สุดท้ายคุณจะรวยกว่าหลายๆประเทศ แต่ก็ควรหวังผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนในธนบัตร
  • ผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดหุ้นในระยะยาวคือ 9-10% ต่อปี ซึ่งหากต้องการแค่ประมาณนี้ คุณสามารถเลือกลงทุนใน index fund ได้
  • ดังนั้นการเลือกหุ้นเองนั้น ควรหวังผลประมาณ 12-15% ทบต้นไปเรื่อยๆ หลักจากหักต้นทุนและค่าคอมแล้ว

มีหุ้นกี่ตัวดีในportfolio

  • ต้องเข้าใจก่อนว่า Diversification นั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่ต้องทำ เช่น หากมีหุ้นวิเคราะห์มาอย่างดีแล้ว และมั่นใจในอนาคตบริษัทมากๆ การลงทุนหุ้นตัวเดียว เช่น Walmart ก็ดูเป็นอะไรที่ฉลาดหลักแหลม
  • ไม่มีประโยชน์ใดๆที่จะกระจายการถือหุ้นไปบริษัทที่คุณไม่รู้จักดีพอ เพียงเพราะต้องการให้เกิดการกระจายความเสี่ยง
  • แต่การถือหุ้นตัวเดียวนั้น แม้เราจะมั่นใจแค่ไหน มันก็เสี่ยงเกินไป เพราะมันอาจมีเหตุการไม่คาดคิดเกิดได้เสมอ และตัวเขาเองไม่เคยลงทุนในหุ้นโตเร็วเกิน 30-40% ของเงินในกองทุน
  • อย่างไรก็ตาม Peter Lynch ก็เสนอว่าในพอร์ตขนาดเล็กนั้น ควรมีหุ้นประมาณ 3-10 ตัว มีข้อดีเช่น
  • ยิ่งมีหุ้นมาก ยิ่งมีโอกาสได้เจอหุ้นสิบเด้ง ตัวที่ไปได้ไกลสุดมักเป็นตัวที่คุณไม่คาดคิด
  • ยิ่งมีหุ้นมาก ก็จะมีความคล่องตัวในการสับเปลี่ยนเงินทุนระหว่างมัน
  • ปกติ Peter lynch จะลงเงิน 30-40% ในหุ้นโตเร็ว 10-20% ในหุ้นแข็งแกร่ง 10-20% หุ้นวัฒจักร และที่เหลือในหุ้นฟื้นตัว และจะมีการสับเปลี่ยนเงินทุน เมื่อพบโอกาสในหุ้นตัวอื่นๆในกลุ่มอื่นๆ

Diversification

  • การลดความเสี่ยงที่ดีที่สุดคือการศึกษาหุ้นให้รอบคอบ และซื้อมันในราคาที่เหมาะสม แต่การกระจายหุ้นไปหลายๆกลุ่มก็มีข้อดี เช่น
    • หุ้นโตช้า ความเสี่ยงต่ำ กำไรต่ำ ราคาหุ้นจะต่ำๆไม่ไปไหน
    • หุ้นแข็งแกร่ง ความเสี่ยงต่ำ กำไรพอสมควร ถ้ามันทำดี คุณอาจทำกำไรได้งดงาม แต่ถ้ามันผิดพลาด คุณก็จะขาดทุนไม่มาก
    • หุ้นทรัพสิน ความเสี่ยงต่ำ กำไรสูง แต่คุณต้องมั่นใจในมูลค่าทรัพสินนั้นจริงๆ
    • หุ้นวัฏจักร ความเสี่ยงต่ำ กำไรสูง (หรือตรงข้าม) ขึ้นอยู่กับความเก่งกาจในการดูวัฏจักร
    • หุ้นโตเร็ว และฟื้นตัว เป็นกลุ่มที่มีโอกาสเป็นหุ้น 10 เด้งมากที่สุด เป็นกลุ่มความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนสูง มันสามารถเปลี่ยนชีวิตคุณ และทำให้ชีวิตล่มจมได้เลย
  • โดยทั่วๆไป อาจออกแบบพอร์ตให้มีหุ้นแข็งแกร่ง 2-3 ตัว เพื่อลดความผันผวน มีหุ้นโตเร็ว 4 ตัว หุ้นฟื้นตัวสัก 4 ตัว ที่สำคัญคือต้องซื้อในราคาที่เหมาะสมด้วย ถ้าซื่อแพงไป ผลตอบแทนก็ไม่เหลือ

รดน้ำวัชพืช

  • Peter lynch บอกว่าเขาจะไม่เก็บเงินสดไว้เลย เพราะถือว่ามันเป็นการออกจากตลาดหุ้น แต่จะมีการสับเปลี่ยนหุ้นตามพื้นฐานของกิจการ
  • หลายๆคนขายหุ้นที่ ชนะ และ ถือหุ้น แพ้ ซึ่งมันเหมือนกับการเด็ดดอกไม้และรดน้ำวัชพืช ส่วนการขายหุ้นแพ้ และเก็บหุ้นชนะแบบอัตโนมัติ ก็ไม่ได้ดีกว่ากัน เพราะการตัดสินใจลักษณะนี้เป็นการใช้ ราคาหุ้น มาตัดสินใจ แทนที่จะใช้คุณค่าของบริษัทมาคิด ราคาหุ้นในปัจจุบันไม่ได้บอกอะไรเกี่ยวกับอนาคตของบริษัท และบางครั้งมันก็วิ่งไปตรงข้ามกับพื้นฐาน
  • กลยุทธ์ที่ดีกว่าคือการสับเปลี่ยนหุ้นโดยดูว่า เรื่องราวของบริษัท และ ราคา นั้นมันเกี่ยวข้องกันยังไง
  • หุ้นแข็งแกร่งมีราคาขึ้นมาถึง 40% และยังไม่มีเรื่องราวใดๆที่น่าจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ตัวเขาจะขายหุ้นนั้นออกมาแล้วเปลี่ยนมันไปในหุ้นแข็งแกร่งตัวอื่น (หรืออาจเลือกขายบางส่วน)
  • กลยุทธ์สับเปลี่ยนหุ้นแบบนี้ ทำให้สามารถได้กำไรหลายๆเด้งได้ หุ้นที่กำไร 30% 6 ตัว จะได้ผลตอบแทน 4 เด้งกว่าๆ 1 ตัว และหุ้นกำไร 25% หกตัว จะได้หุ้น 4 เด้ง1 ตัว 
    • หุ้นโตเร็ว : Peter Lynch จะเก็บไว้ตราบเท่าที่กำไรยังโตและขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยไม่สะดุด และจะตรวจสอบ story ทุกๆ 2-3 เดือน หากมีหุ้นโตเร็ว 2 ตัว ตัวหนึ่งกำไรโต 50% แบบน่าสงสัย เขาก็จะขายมันออกและเอาไปซื้อหุ้นที่โตเร็วแต่ราคาลดลงหรือน่าสนใจกว่า
    • หุ้นวัฏจักร และหุ้นฟื้นตัว : ถอนจากตัวที่พื้นฐานเลวลงแต่ราคาหุ้นขึ้น ไปเข้าตัวที่พื้นฐานดีขึ้นแต่ราคาดิ่งลง
  • Peter Lunch เกลียดกลยุทธ์ Cut loss “ถ้าคุณไม่สามารถบอกตัวเองว่า หากหุ้นลง 15% จะซื้อเพิ่ม หรือ มีคติว่า หุ้นลง25% จะขาย คุณจะไม่มีวันทำกำไรได้ดีในหุ้น”
  • การตัง cut loss อัตโนมัติ เช่นที่ 10% จะทำให้คุณพลาดโอกาสดีๆมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อในตอนนั้นหุ้นมีราคาต่ำกว่ามูลค่า คุณยังจะไม่ขายในราคาที่ต่ำลงไปอีก
  • การ cut loss นั้นยัง paradox ในแง่ที่ว่า กว่าคุณจะซื้อหุ้นนั้นคุณต้องวิเคราะห์มาอย่างดี คุณต้องคิดมาแล้วว่าราคามันเหมาะสม แต่พอจะขาย กลับตั้งขายอัตโนมัติไว้ การขายหุ้นเพื่อ take profit อัตโนมัติก็เช่นเดียวกัน

บทที่ 17 : เวลาที่ดีที่สุดที่จะซื้อและขาย

  • เวลาซื้อหุ้น

  • ทุกๆวันเป็นวันที่เหมาะในการซื้อหุ้น เมื่อหุ้นที่คุณพบนั้นอยู่ในราคาถูก แต่มีช่วงเวลาเฉพาะ 2 ช่วงที่คุณมีโอกาสได้หุ้นราคาถูกสุด
  • ช่วงแรกคือตอนสิ้นปีภาษี เพราะสถาบันจะชอบกำจัดหุ้นที่ขาดทุนเพื่อที่พอร์ตจะได้ดูดีเวลาประเมินผลงาน (Window Dressing) ราคาหุ้นจะถูกขายกระหน่ำ และถูกซ้ำเติมจากคนที่โดน Margin call หลายๆครั้งหุ้นจะถูกจนน่าตกใจ
  • ช่วงที่สอง ช่วงที่ตลาดหุ้นเละเทะ ตกต่ำ ดัชนีร่วงแบบไร้แนวรับ และช่วงที่สัญชาติญาณคุณบอกให้ขาย จะเป็นช่วงที่เหมาะที่เก็บของดีราคาถูก โดยเฉพาะถ้าคุณเคยตกรถจากที่มันขึ้นมาสูงๆในรอบแรก
  • ขายหุ้นเมื่อไหร่

  • Peter Lynch ไม่สนใจในสัญญาณ Technical แต่ก็มักมีเพื่อนนักลงทุนคอยเตือนเค้าบ่อยๆว่าหุ้นตัวนั้นตัวนี้ถึงเวลาขายแล้ว ซึ่งเขายอมรับว่า มันยากที่จะไม่มีปฏิกิริยาไปกับคำแนะนำต่างๆ
  • ตัวอย่างเช่น ตัวเขาเองเคยเข้าซื้อหุ้น Warner ที่เขามั่นใจว่าอยู่ในช่วงกำลังฟื้นตัว เขาซื้อมันในราคา 26 USD สองสามวันหลังจากนั้นเพื่อนก็โทรมาเตือนว่าในทาง Technical หุ้นมันราคาสูงมากๆแล้ว ครั้นพอผ่านไปหกเดือน ราคาหุ้นจาก 26 -> 32usd และเขาก็เริ่มกลัวๆว่า ถ้า 26 มันสูงไปมาก 32 ก็ต้องสูงสุดๆ แล้วพอหุ้นขึ้นไปที่ 38 USD เขาก็ขายหุ้นออกมาหมด เพราะคิดว่ามันพุ่งเร็วไป แต่นั่นคือการคิดผิด เพราะภายหลังหุ้นก็ขึ้นไปมากกว่า 18o USD
  • บทเรียนคือ แม้แต่มืออาชีพอย่างเขาก็ขายหมูไปมากมาย สิ่งที่เราต้องทำคือทบทวนว่าทำไมเราซื้อหุ้นตัวนั้นมาตั้งแต่แรก
  • ผลกระทบของเสียงกลอง นักลงทุน ไม่ว่าจะสมัครเล่นหรืออาชีพ ย่อมได้รับอิทธิพลจากเสียงต่างๆ จากสื่อต่างๆตลอดเวลา ว่าให้ซื้อ ให้ขายหุ้นต่างๆ และมันจะทำให้เราเป๋ไปเป๋มา
  • ดังนั้น ตลาดไม่สามารถบอกคุณได้ว่าจะขายเมื่อไหร่ การ “ขายก่อนวิกฤติเศรษฐกิจจะมา” นั้นเป็นคำแนะนำที่ถูกต้อง 100% แต่ใครจะไปรู้ว่ามันเกิดเมื่อไหร่
  • การขายหุ้น “ไม่มีสูตรสำเร็จ” แต่ให้คิดเวลาขายหุ้น ให้เหมือนกับเวลาซื้อ ส่วนตัวเขาไม่ให้ความสนใจกับภาวะเศรษฐกิจ ยกเว้นบางสถานการที่ชัดมากๆ เช่น น้ำมันตกลงจนบริษัทน้ำมันโดนแน่ๆ
  • ถ้ารู้ว่าซื้อหุ้นทำไมแต่แรก คุณจะมีเหตุผลที่ดีมากมายว่าจะขายหุ้นเมื่อไหร่
  • หุ้นโตช้า

  • Peter Lynch ไม่ค่อยมีประสบการกับหุ้นกลุ่มนี้ ทั่วๆไปเขาจะขายเมื่อราคาขึ้นไป 30-50% หรือพื้นฐานเริ่มแย่ลง มีสัญญาณเช่น
  • สูญเสีย Market Share 2 ปีติดกัน และกำลังจ้างโฆษณาใหม่
  • ไม่มี R&D กำลังกินบุญเก่า
  • DiWorsification
  • ราคาหุ้นต่ำ แต่ผลตอบแทนเงินปันผลก็ไม่สูงพอ
  • หุ้นแข็งแกร่ง

  • อย่าคาดหวัง 10 เด้งจากหุ้นกลุ่มนี้
  • หากราคามันฉีก PE จากช่วงปกติไปมาก คุณอาจขายมันไปซื้อหุ้นอื่น หรือขายออกก่อนแล้วรอซื้อคืนตอนหลังที่ราคามันต่ำลงมา
  • ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่ออกมาในช่วงสองปี ไม่ประสบความสำเร็จ
  • ไม่มี insider buying ในปีที่ผ่านมา
  • ส่วนงานหลักที่ทำกำไรเป็นกอบเป็นกำ (>25%) กำลังเสี่ยงต่อภาวะ recession ที่กำลังมา
  • บริษัทกำลังโตด้วยการลดต้นทุน
  • หุ้นวัฏจักร

  • เวลาที่ดีที่สุดในการขายคือปลายทางของวงจร (ซึ่งไม่มีใครรู้) และในทางปฏิบัต ราคาหุ้นมักจะตกลงมาก่อนถึงปลายทาง เพราะคนมองว่าต้องรีบขายก่อน รอปลายทางแล้วมันจะแย่งกันขายหนัก
  • เวลาที่ดีที่สุดจริงๆ จึงเป็นช่วงที่เริ่มมีสัญญาณบางอย่างแย่ลง เช่น ต้นทุนเพิ่ม โรงงานใช้กำลังผลิตเต็มอัตรา หรือ Inventory กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หมายถึงกำไรที่ต่ำลงรออยู่ข้างหน้า
  • สัญญาณอื่นๆ เช่น บริษัทกำลังเพิ่มงบสร้างโรงงานใหม่ที่หรูหรา แทนที่จะปรับปรุงโรงงานเก่าซึ่งใช้เงินน้อยกว่า หรือ บริษัทพยายามลดต้นทุน แต่ก็สู้ผู้ผลิตจากต่างประเทศไม่ได้
  • หุ้นโตเร็ว

  • ดูให้ออกว่าบริษัทสิ้นสุดช่วงที่สองของการเติบโตหรือยัง(ช่วงที่โตจากการเอาสูตรสำเร็จในตอนแรกขยายไปเรื่อยๆ) เช่น หากบริษัทแฟชั่น มีแต่คนมาบ่นว่าร้านเก่าลง โทรมลง ไม่มีใครนิยมแล้ว มันก็ถึงเวลา
  • หรือ หากหุ้นตัวนั้นมีแต่คนพูดถึง มีแต่คำแนะนำให้ซื้อ มีแต่คนชื่นชม CEO บริษัท ก็ถึงเวลาบอกลา
  • ช่วงท้ายๆของหุ้นโตเร็ว PE จะสูงแบบเหลือเชื่อ เช่น 50-60 เท่า และดูไม่มีทางเป็นไปได้ นั่นก็เป็นอีกสัญญาณขาย
  • สัญญาณอื่นๆ เช่น SSSG ลดลง 3% ในไตรมาสสุดท้าย, ยอดขายร้านเปิดใหม่น่าผิดหวัง, CEO และพนักงานสำคัญลาออกยกทีม, บริษัทกำลังตระเวณให้ข่าวว่าอนาคตไม่มีปัญหา , หุ้นซื้อขายที่ PE 30 เท่าในขณะที่ประมาณกำไรเติบโตดีสุดคือ 15-20% ในสองปีข้างหน้า
  • หุ้นฟื้นตัว

  • เมื่อปัญหาทุกอย่างถูกจัดการและคนรู้ว่ามันกลับมาแล้ว บริษัทกลับมาเป็นแบบเดิมก่อนที่มันจะล้มเหลว คนไม่กลัวหุ้นตัวนี้แล้ว หุ้นฟื้นตัวจะถูกจัดกลุ่มใหม่ ถ้าคุณซื้อมันเพราะต้องการหุ้นฟื้นตัว คุณก็ต้องขายเมื่อมันฟื้นตัวสำเร็จแล้ว แต่หากหลังฟื้นตัวแล้วมันเป็นหุ้นในกลุ่มที่คุณชอบ ก็ถือต่อ
  • เช่น หุ้น Chrysler ที่ฟื้นตัวจากราคา 2 USD มาเป็น 48 USD ก็เปลี่ยนจากหุ้นฟื้นตัวเป็นหุ้นวัฏจักรตามอุตสาหกรรมรถยนต์ ดังน้้นเมื่อมันฟื้นตัวแล้วคุณจะหวังผลตอบแทนหลายๆด้งก็คงเป็นไปไม่ได้
  • สัญญาณอื่นๆ เช่น จากที่หนี้ลดลงทุกไตรมาส อยู่ๆดีก็เพิ่มขึ้นอีกครั้ง , inventory เพิ่มเป็น 2 เท่าของยอดขาย, PE พุ่งสูงเกินไปเทียบกับกำไร
  • หุ้นทรัพย์สินมาก

  • ถ้าบริษัทมีสินทรัพซ่อนอยู่จริง และไม่ก่อหนี้ขึ้นมามากจนลดมูลค่าทรัพสิน ก็รอให้นักล่ากิจการเข้ามาจัดการ ดังนั้นคุณจะขายก็ต่อเมื่อมีคนมาเทคโอเวอร์นั่นเอง เพราะราคามันจะพุ่งถึง 2-4 เท่า
  • สัญญาณขายอื่นๆ : บริษัทขายหุ้นเพิ่มทุน เพื่อจะมาทำdiversification, แผนกงานที่คาดว่าขายได้ราคาดี กลับขายได้จริงน้อยกว่ามากๆ

บทที่ 18 : สิ่งที่โง่เขลาที่สุด และอันตรายที่สุด ที่คนพูดเกี่ยวกับราคาหุ้น

  • หุ้นตกมาเยอะแล้ว มันจะลงต่ำกว่านี้ไม่ได้แล้ว

  • ไม่มีกฏที่บอกคุณได้ว่าเมื่อราคาหุ้นตกลงมาเยอะแล้ว มันจะไม่ลงไปอีก
  • แม้คุณจะคิดว่า Valuation หุ้นเหมาะสมแล้วที่ราคานี้ๆ แต่ราคาหุ้นมันก็ตกลงไปได้อีก เช่น Peter lynch เคยซื้อหุ้น Kaiser Industries เมื่อราคามาตกจาก 25 -> 11 usd แล้วหุ้นก็ตกลงไป bottom ที่ 4 usd ในสองปีถัดไป แต่ด้วยความเชื่อมันในพื้นฐาน ราคาหุ้นก็กลับมาได้จริงๆ
  • คุณบอกได้เสมอว่าราคาหุ้น Bottom แล้ว

  • การช้อนหุ้นที่ตกลงมาอย่างรวดเร็วนั้น มักลงเอยเป็นการรับมีด
  • จะดีกว่าถ้าคุณรอให้มีดลงถึงพื้น ดูมันสั่นไปมาสักพัก แล้วค่อยไปรับมัน ซึ่งกระบวนการนี้ใช้เวลาหลายปี
  • ถ้ามันขึ้นสูงแล้ว มันจะสูงไปอีกได้ยังไง

  • ถ้าคุณมัวแต่คิดว่า หุ้นตัวนี้จะขึ้นต่อไปได้ยังไง คุณอาจจะพลาดหุ้นที่แม้มันจะขึ้นมาแล้ว 20 เท่า แต่พื้นฐานยังถูก และทำกำไรได้ต่อไปอีกถึง 7 เท่านั้น
  • ตราบใดที่พื้นฐานยังดี เรื่องราวยัง กำไรยังขึ้น ไม่มีเหตุผลอะไรที่หุ้นมันจะไม่สามารถ ขึ้นสูงกว่านั้นอีก อย่าใช้เหตุแค่ว่า หุ้นขึ้นมา 2-3 เท่า ก็ถึงเวลาขาย เพราะจะทำให้คุณไม่มีวันได้หุ้น 10 เด้งจากเหตุผลเหล่านี้
  • Peter Lynch ไม่เคยทำนายได้ทันทีว่าหุ้นตัวนั้นตัวนี้ จะไปถึง 5-10 เท่า สิ่งที่เขาทำคือติดตามเรื่องราวมันว่ายังไปตามคาดหรือไม่ หลายๆครั้ง เขาซื้อหุ้นมาในฐานะหุ้นปันผล แต่กลายเป็นว่ามันเปลี่ยนเป็นหุ้นโตเร็ว
  • หุ้นราคาต่ำๆ ปลอดภัยกว่าหุ้นราคาสูงๆ

  • ไม่ว่าราคาหุ้นเท่าไหร่ ถ้ามันเป็นหุ้นเน่าๆ คุณก็เสีย 100% ได้เหมือนกัน
  • มันจะกลับมา

  • มีบริษัทระดับโลกมามายที่ไปแล้วไปลับ
  • มันจะต้องมีจุดที่มืดดำสุด ก่อนจะสว่าง

  • ธุรกิจที่เคยคึกคักทำกำไรได้มหาศาล ก็อาจตกต่ำ และไม่กลับมาอีกเลย
  • เมื่อมันเด้งขึ้นที่ 10 เหรียญ ผมจะขาย

  • หากมีหุ้นที่คุณติดดอยอยู่ และคุณคิดว่าถ้ามัน Rebound ราคานี้เมื่อไหร่ จะขาย แสดงว่าคุณได้แสดงการจำทนถือหุ้นที่คุณไม่ชอบแล้ว
  • ความคิดนี้จึงเป็นกับดัก ให้คิดไปเลยว่า มั่นใจ และจะซื้อหุ้นเพิ่ม หรือไม่งั้นก็ขายมันทิ้งทันที
  • หุ้นปลอดภัยจะไม่ผันผวน

  • คุณไม่มีทางหาหุ้นที่จะถือไปได้ตลอดโดยไม่ต้องสนใจเรื่องราวของมัน เพราะอนาคตนั้นไม่แน่นอน และพื้นฐานเปลี่ยนไปเรื่อยๆ หุ้นที่มองว่าเป็นธุรกิจปลอดภัย เช่น สาธารณูปโภค ก็เหวี่ยงขึ้นเหวี่ยงลงและล้มละลายได้เช่นกัน
  • นานขนาดนี้ มันคงไม่เกิดขึ้นแล้ว (“It’s taking too long for anything to ever happen”)

  • หุ้น Merck มีกำไรเติบโตสม่ำเสมอในอัตรา 14% ต่อปี ในช่วง 1972 – 1981 แต่ราคาหุ้นไม่ไปไหนเลย ถ้านักลงทุนยอมแพ้เพียงเพราะเบื่อการรอคอย โดยไม่สนใจพื้นฐานบริษัท เขาจะเสียโอกาสที่จะได้หุ้นที่พึ่งเป็น 4 เด้ง ใน 5 ปีต่อมา
  • Peter Lynch เองได้ผลกำไรเป็นชิ้นเป็นอันจากหุ้นที่ราคาไม่ไปไหน แต่พื้นฐานดี ก็เมื่อหุ้นนั้นผ่านไปในปีที่ 3-4
  • ถ้าตอนนั้นได้ซื้อหุ้นเด็ดตัวนี้ ก็จะมีเงินมากมายแล้ว

  • หลายๆคนมักชอบเช็คว่าหุ้นที่มีกำไรสูงสุดประจำปีคือตัวไหน และทนทุกทรมานกับงาน “รู้งี้” กับการ ตกรถ คิดเอากำไรของคนอื่น มาเป็นการขาดทุนส่วนตัว
  • ทัศนคตินี้ยังทำให้เราเผลอกลัวตกรถหุ้นร้อนแรง และติดดอย เสียหายจริงๆ
  • พลาดตัวนี้ไป จะไปจับตัวต่อไป

  • ….ตัวต่อไป ไม่มีอยู่จริง เช่น ถ้าพลาดหุ้น Home Depot ในราคาต่ำๆ แล้วไปซื้อหุ้น Scotty’s ที่ได้ฉายาว่า Home Depot ตัวถัดไป สิ่งที่เกิดขึ้นคือ คุณจะได้กำไรต่ำเตี้ยเพราะหุ้น Depot ขึ้นไปถึง 25 เท่า แต่หุ้น ตัวถัดไปขึ้นเพียง 30%
  • ดังนั้น ซื้อบริษัทดีในราคาสูง อาจดีกว่าซื้อหุ้นตัวต่อไป ในราคาถูก
  • หุ้นขึ้น ดังนั้นฉันคิดถูก หุ้นลง ดังนั้นฉันคิดผิด

  • นี่คือ Fallacy ที่สำคัญที่สุดในการลงทุน คนทั่วๆไปมักอิ่มอกอิ่มใจเมื่อซื้อหุ้น 5 เหรียญแล้วมันปรับขึ้นเป็น 6 เหรียญในเวลาอันสั้น และคิดว่าราคาที่ขึ้นนั้นแสดงว่าเขามาถูกทางแล้ว และมักขายหุ้นที่ตกต่ำลง “เก็บตัวชนะ และทิ้งตัวที่แพ้” ซึ่งหลายๆครั้ง เวลาผ่านไปนานๆเข้า มันจะตรงกันข้ามกัน
  • ที่เป็นเช่นนี้เพราะหลายๆคนสับสน “ราคา กับ อนาคต ของกิจการ”
  • หุ้นที่ขึ้นหรือลงหลังจากคุณซื้อมัน บอกได้แค่ว่า มีคนบางคนเต็มใจจะจายมากกว่าหรือน้อยกว่า ราคาสำหรับสินค้าตัวเดียวกัน

บทที่ 19 : Option, Future and Short Sells

  • Option & Future

  • Peter Lynch ไม่เคยลงทุนใน Future และ Option เนื่อจากเขาเองก็ไม่ค่อยเข้าใจมันเหมือนกัน และลำพังการลงทุนในหุ้นก็ยุ่งยากพอแล้ว
  • เขาอ้างรายงานว่า 80-95% ของมือสมัครเล่น ขาดทุน ซึ่งมันแย่กว่าการเล่นคาสิโน หรือสนามม้า
  • เขามองว่าสิ่งที่เลวร้ายที่สุดในการซื้อ Option คือ มันไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการถือหุ้นเลย เมื่อบริษัทเติบโตรุ่งเรือง ผุ้ถือหุ้นทุกคนได้ประโยชน์ แต่ Option เป็น Zero-Sum game การซื้อหุ้นนั้นแม้มันจะเป็นหุ้นที่เสี่ยงมาก หรือแม้แต่เล่นหุ้นแบบเก็งกำไร ก็มีประโยชน์กว่า มันทำให้หุ้นหลายๆตัว เช่น IBM, Wall-Mart สามารถจัดหาทุนเพิ่มได้ แต่เม็ดเงินในตลาด Option นั้นไมมี่ประโยชน์อะไรเลย นอกจากทำให้Broker รวยเอาๆ และคนที่รวยอยู่ไม่กี่คน
  • สำหรับการใช้ Option หรือ Future เพื่อ Hedge หุ้นในพอร์ต ที่นักลงทุนสถาบันนิยมชมชอบนั้น หลายๆครั้งมันก็ทำร้ายเขายิ่งกว่าเดิม
  • การซื้อ Put option เพื่อประกันหุ้นตกในรายย่อยก็เช่นกัน ที่ทำให้เราต้องเสียเงิน 5-10% ของเงินลงทุนแต่ละปี เพื่อป้องกันตัวเองในเวลี่หุ้นตก 5-10%
  • ที่ร้ายแรงไปกว่าคือ บ่อยครั้งคนที่เริ่มต้นซื้อ Put เพื่อประกันราคาหุ้น ก็จะไปเล่น option อื่นๆ จนลืมไปว่าเขาสนใจหุ้น ทิ้งเรื่องพื้นฐานไป ไปหมกมุ่นกับ Technical analysis
  • Short Sell

  • ข้อเสียการยืมหุ้นมา short คือ ระหว่างเวลาที่คุณยืมหุ้นนั้น ปันผลก็ยังไปสู่เจ้าของ และคุณจะไม่ได้เงินจนกว่าคุณจะซื้อหุ้นมาคืนและปิดรายการ
  • สิ่งที่น่ากลัวคือ แม้คุณจะประเมินแล้วว่าบริษัทนี้ ราคาหุ้นสูงเกินไปมาก แต่นักลงทุนคนอื่นอาจไม่ตระหนักและไล่ราคาหุ้นให้สูงไปอีก และจะทำให้คุณกังวลใจสุดๆ ถ้าคุณไม่มีเงินพอจะรับมือกับ Margin call คุณก็จะขาดทุนมหาศาล หลายๆครั้งหุ้นเน่าที่ยังไม่มีใครตระหนัก ก็ทำให้คุณหมดตัวได้
  • การที่หุ้นตกหนักนั้นทำให้คนหวาดกลัว แต่มันจะไม่มีทางที่ราคาต่ำกว่า 0 ในขณะที่การ short sell นั้น ราคามันวิ่งขึ้นไปได้แบบ unlimited

บทที่ 20 : คนฝรั่งเศส 50,000 คน อาจจะผิดได้

  • ในบทนี้ Peter Lynch ได้บรรยายเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ระหว่างปี 1960 – 1988 และการเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้น และสรุปส่งท้ายบทเรียนคือ
  1. ตลาดอาจตกลงไปมาก ในเดือนหน้า ปีหน้า สามปีหน้า ไม่มีใครรู้
  2. ตลาดตกเป็นโอกาสที่ดีมากในการซื้อหุ้นบริษัทที่ดี
  3. เป็นไปไม่ได้ที่จะทำนายทิศทางของตลาดลล่วงหน้าไป 1 ปีหรือแม้แต่ 2 ปี
  4. คุณแค่ถูกเป็นส่วนใหญ่ ก็จะชนะแล้ว ไม่ต้องถูกตลอดเวลา
  5. ตัวที่ชนะมากที่สุดนั้น เป็นตัวที่ Peter Lynch ประหลาดใจ ไมใช่ตัวที่คิดไว้แต่แรกว่ามันจะชนะเยอะแน่ๆ
  6. หุ้นแต่ละกลุ่ม มีความเสี่ยง และผลตอบแทนต่างกัน
  7. กำไรทบต้นปีละ 20-30% ในหุ้นแข็งแกร่งก็เพียงพอแล้ว
  8. ระยะสั้นราคาหุ้นมักเคลื่อนไหวไปคนละทิศทางกับพื้นฐาน ในระยะยาง กำไรและราคาจะไปด้วยกันเสมอ
  9. บริษัทที่กำลังแย่ จะสามารถแย่ลงได้อีก
  10. ราคาหุ้นที่ขึ้น ไม่ได้แปลว่าคุณถูก
  11. หุ้นแข็งแกร่งที่ทุกคนเชียและราคาไดด้วิ่งสูงเกินพื้นฐานแล้ว จะต้องพักหรือถอยลง
  12. หุ้นราคาถูก จากบริษัทที่ไม่สดใส เป็นการหาเรื่องเสียเงิน
  13. อย่าขายหุ้นโตเร็วที่โดดเด่นด้วยเหตุว่าเพียงแค่ว่าราคาสูงเกินไป
  14. บริษัทไม่ได้โตเร็วโดยไม่มีเหตุผล หุ้นโตเร็วจะไม่สามารถโตได้ระดับนั้นตลอดไป
  15. คุนไม่ได้ขาดทุนเสียหายอะไรจากการที่ไม่ได้ซื้อหุ้น 10 เด้ง
  16. หุ้นไม่ได้รู้ว่าคุณเป็นเจ้าของมัน
  17. อย่ายึดติดกับหุ้นชนะมากไปจนลืมติดตามเรื่องราวของมัน
  18. สลับเปลี่ยนหุ้นอย่างระมัดระวัง โดยอิงจากพื้นฐานของกิจการ เมื่อหุ้นที่คุณมีออกนองเส้นทาง และมีตัวเลือกที่ดีกว่า ก็จงขายมันและไปเข้าสิ่งอื่นแทน
  19. เมื่อมีข่าวดีโอกาสดีเพิ่มขึ้นในเรื่องราวของหุ้นคุณ ก็ซื้อมันซะ ทำนองเดียวกัน ข่าวร้ายมา ก็ลดการถือครองมันลง
  20. ถ้าคุณไม่คิดว่าจะเอาชนะตลาดได้ ก็จงซื้อกองทุนรวม
  21. จะมีอะไรมาทำให้คุณกังวลเสมอ
  22. เปิดกว้างกับความคิดใหม่ๆ
  23. “You don’t have to ‘kiss all the girls.’ I’ve missed my share of 10-baggers and it hasn’t kept me from beating the market.

Share

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter

รีวิวหนังสือล่าสุด

China Next Normal รีวิว หนังสือ
Social Science

รีวิวหนังสือ: China Next Normal – วิกฤตและโอกาสของจีนในโลกหลังโควิด

จีนจะเป็นอย่างไรในยุคPost Corona เมื่อ COVID มาเร่งเวลาเข้าสู่ China Next Normal – วิกฤตินี้สร้างโอกาสให้จีนได้อย่างไร หาคำตอบได้ในเล่มครับ

post corona book review รีวิว
Social Science

รีวิวหนังสือ: Post Corona – From Crisis to Opportunity

โลก(อเมริกา) จะเป็นอย่างไรในยุค Post Corona – หนังสือที่ว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงที่จะรวดเร็วและรุนแรง ผ่านมุมมองของศาสตราจารย์นักธุรกิจชั้นเซียน

บทความอื่นๆ

Solon's Warning คำเตือนของ โซลอน
Perspective

คำเตือนของโซลอน – Solon’s Warning

เมื่อพระเจ้าครีซัสผู้มั่งคั่งและทรงอำนาจที่สุดแห่งยุคตรัสถาม โซลอน ว่าเคยพบใครที่มีความสุขมากกว่าพระองค์หรือไม่ เขากลับตอบชื่อสามัญชนที่เสียชีวิตแล้วกลับมา!