สรุปหนังสือ: เหนือกว่าวอลสตรีท ตอนที่ 1 (One Up on Wall Street – Part 1)

สรุปหนังสือ เหนือกว่าวอลสตรีท one up on wall street part 1
ผู้เขียน : Peter Lynch, John Rothchild (ผู้แปล – ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร)
สำนักพิมพ์ : Fidelity
จำนวนหน้า : 352 หน้า
Genre : Investing
ISBN : 9786169033288
พิมพ์ครั้งแรก : 2012

เหนือกว่าวอลสตรีท

8.5

เนื้อหา

10.0/10

การนำเสนอ

7.0/10

บทที่ 1 : กำเนิดนักลงทุน 

  • Peter Lynch เล่าถึงประวัติความเป็นมาว่าเขาได้กลายมาเป็นผู้จัดการกองทุนหุ้นได้อย่างไร เขาบอกถ้าย้อนมองไปนั้น วิชาประวัติศาสตร์และปรัชญาเป็นวิชาที่มีประโยชน์กับตลาดหุ้นมากกว่าวิชาหลักเช่นสถิติ เพราะการลงทุนนั้นเป็นศิลปะ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ ถ้าการเลือกหุ้นมีสูตรคำนวณตายตัวจริงๆ คุณก็ใช้ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ทำเงินได้มหาศาล ซึ่งมันไม่ได้เป็นแบบนั้น คณิตศาสตร์ที่ใช้ในตลาดหุ้นก็เป็นแค่บวกลบคูณหารธรรมดา  
  • วิชาที่ช่วยเลือกหุ้นนั้น กลับเป็นวิชาตรรกวิทยา เพราะเป็นวิชาที่ช่วยแยกแยะความไร้เหตุผลของวอลสตรีท ผู้เชี่ยวชาญชอบมานั่งหาเหตุผล หาคำอธิบายในแต่ละวัน ว่าทำไมหุ้นถึงขึ้น ทำไมหุ้นถึงลง การได้ยินเรื่องนี้บ่อยๆทำให้เขารู้สึกเหมือนกับเรื่องเล่าที่ว่า คนได้ยินเสียงไก่ขันเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น แล้วเขาก็เข้าใจว่าไก่ขันทำให้พระอาทิตย์ขึ้น 
  • Peter Lynch ไม่เชื่อในทฤษฎีตลาดมีประสิทธิภาพ (Efficient-market hypothesis)  เพราะเขาเองก็เห็นการผันผวนมากมายจนไม่สามารถเชื่อได้ว่าตลาดมีเหตุผล และนักลงทุนหลายๆคนก็เอาชนะตลาดได้จริงๆ แบบที่เขาคาดการณ์ตลาดได้จริงๆ ไม่ใช่แค่โชคช่วย 
  • เขาบอกว่า นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้าน Quantitative analysis (วิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขสถิติต่างๆเพื่อลงทุน) นั้น หลายๆครั้งก็ลงทุนได้แย่กว่าพนักงานใหม่ของที่ทำงานเขาเสียอีก

บทที่ 2 : คนทึ่มผู้เฉียบแหลมแห่งวอลสตรีท (The Wall Street Oxymorons) 

  • Peter Lynch บอกว่า คำว่า “การลงทุนแบบมืออาชีพ (Profession Investing)” นั้นเป็นคำที่ ปฏิพจน์ (Oxymoron) กันเอง เนื่องจาก แม้จะได้ชื่อว่าเป็นนักลงทุน’มืออาชีพ’ แต่ก็ดันมีข้อจำกัด มีกฏ มีข้อห้ามบังคับความอิสระในการเลือกลงทุนมากมาย 
  • พวกนักลงทุนมือสมัครเล่นนั้น จึงต้องมองพวกเขาด้วยความสงสัยบ้าง (with Skeptical Eyes) เพราะด้วยข้อจำกัดต่างๆนั้น จะทำให้นักลงทุนมืออาชีพ มักทำงานได้ไม่ดีนั่นเอง 
  • แน่นอนว่ามีข้อยกเว้น เช่น John Templeton, Peter D Rose, George Soros, Jimmy Roger และ Warren Buffett 
  • นักลงทุนมืออาชีพนั้นอ่านหนังสือเล่มเดียวกัน ฟังนักเศรษฐศาสตร์คนเดียวกัน มีแนวคิดคล้ายๆกัน มีไม่กี่คนที่จะคิดอะไรแตกต่างออกไป 
  • มีอุปสรรคมากมายที่ทำให้นัลงทุนมืออาชีพไม่สามารถเลือกซื้อหุ้นได้อย่างอิสระ และไม่สามารถเข้าซื้อหุ้นสิบเด้งได้ เช่น กว่าจะซื้อหุ้นได้ หุ้นนั้นต้องได้รับการวิเคราะห์จากมืออาชีพในตลาดเสียก่อน และต้องรอให้มีสถาบันการเงินใหญ่ๆให้การยอมรับมัน แม้นักลงทุนคนนั้นจะหาหุ้นเด็ดเจอ แต่ถ้ามันยังเป็นหุ้น no name ยังไม่ค่อยมีใครรู้จัก เขาก็ยังซื้อมันไม่ได้ เพราะซื้อแล้วเกิดมีปัญหาขึ้นมา มันจะเหมือนเขาไปหาเรื่องเสี่ยงไม่เข้าเรื่องนั่นเอง
  • ระหว่างโอกาสในการทำกำไรงามจากหุ้นเล็กๆ ทำกำไรจากบริษัทที่ยังไม่ค่อยมีใครรู้จัก กับการลงทุนในบริษัทโด่งดังและมั่นคง ทุกคนรู้จัก มืออาชีพมักจะเลือกลงทุนอย่างหลัง เพราะความสำเร็จในหน้าที่การงานก็เป็นอย่างหนึ่ง แต่ความล้มเหลว(ขาดทุน)นั้นจะทำให้มืออาชีพเสียชื่อ และตกงานหมดอนาคตในเส้นทางได้! – คุณจะไม่ตกงาน หากทำให้ลูกค้าขาดทุนจากหุ้น IBM  เพราะถ้าหุ้น IBM ตก จะมีแต่คนถามว่า “เกิดอะไรขึ้นกับ IBM” แต่ถ้าคุณไปซื้อหุ้นตัวเล็กๆ no name แล้วขาดทุน จะมีคนถามว่า “ตัวคุณ(ผู้จัดการกองทุน)มีปัญหาอะไร? 
  • ดังนั้นแล้ว การมีผลดำเนินงานกลางๆ ไม่หลากหลาย ไม่โดดเด่น แต่ละคนในบริษัทเกาะกลุ่มกันไป จะทำให้มืออาชีพชอบอยู่ใน safe zone มากกว่าจะผลงานที่หลากหลายและแตกต่างกันมาก   ซึ่งตามมาด้วยความเสี่ยงที่มากกว่า
  • อีกเหตุผลคือ ถ้าผู้จัดการกองทุนต้องการซื้อหุ้น No Name ที่น่าสนใจ  เขาก็อาจถูกกฏเกณฑ์หลายๆอย่างที่ทำงานจำกัดอำนาจไว้ ต้องถูกตรวจสอบจากกรรมการอื่นๆมากมาย ต้องหาเวลามากมายมาหาข้อมูลมา defend ว่าทำไมเขาจะซื้อหุ้น no name ตัวนี้ แต่ถ้าเขาซื้อหุ้นดังๆ มันก็ไม่มีปัญหาอะไรเลย
  • ด้วยเหตุผลต่างๆ จึงไม่แปลกใจที่ผู้จัดการกองทุนหลายๆแห่ง มักทำผลงานไม่ได้ดีเด่นอะไร โดยเฉพาะกองทุนที่ต้องรักษาเงินต้นไว้ (เช่น กองทุนบำนาญ) 
  • ตัว Peter Lynch นั้นถือคติว่าต้องคิดให้เหมือนมือสมัครเล่นให้บ่อยที่สุด การลงทุนแบบมือสมัครเล่นนั้น ไม่มีใครมาคอยควบคุม วิจารณ์ คุณจะซื้อหุ้นเล็ก หุ้น no name แค่ไหนก็ได้ คุณจะถือหุ้นกี่ตัวก็ได้ กี่%ของเงินที่มีก็ได้ คุณยังเก็บเงินสดไว้รอลงทุนก็ได้หากตอนนั้นยังหาโอกาสลงทุนไม่เจอ ไม่มีใครมาจ้ำจี้จ้ำไช ไม่มีกฏเกณฑ์ใดๆจะมาบังคับคุณ 
  • ที่สำคัญที่สุดคือ คุณมีหาโอกาสการลงทุนที่ดีได้เสมอ จากเพื่อนข้างบ้าน จากที่ทำงาน หลายๆครั้งกว่าข่าวดีๆจะไปถึงหูมืออาชีพ มันก็ใช้เวลาหลายเดือนหลายปี คุณมีโอกาสได้หุ้นดีราคาถูกสุดๆ ก่อนที่มืออาชีพจะรู้ตัว!

บทที่ 3 : นี่เป็นการพนันหรืออะไร 

  • วิกฤติตลาดหุ้น Recession สงคราม ไม่ว่าจะผ่านไปกี่เหตุการณ์ หุ้นก็แสดงให้เห็นว่ามันสร้างผลตอบแทนได้มากกว่า 15 เท่าของหุ้นกู้ และมากกว่า 30 เท่าเหนือตั๋วเงินคลัง ซึ่งมันก็สมเหตุสมผล เพราะในหุ้นนั้นมีการเจริญเติบโตของบริษัทอยู่ในฝ่ายคุณ ผู้ถือหุ้นคือหุ้นส่วนในความรุ่งเรืองของธุรกิจ ส่วนในพันธบัตรนั้น ความสัมพันธ์มันคือเจ้าหนี้และลูกหนี้  
  • แน่นอนว่าหุ้นเสี่ยงกว่าพันธบัตร แม้แต่หุ้นบลูชิพระดับโลก ก็ไม่มีอะไรมารับประกันว่ามันจะคงอยู่ตลอดไป  
  • สำหรับ Peter Lynch การลงทุนในหุ้นนั้นอาจจะคล้ายกับการพนันที่คุณสามารถจัดการได้ให้โอกาสชนะนั้นเอียงมาอยู่ฝั่งคุณ คล้ายๆกับการเล่นไพ่โป๊กเกอร์ 
  • แต่ความเป็นจริงนั้น แม้จะเตรียมตัวดีเท่าไหร่ คุณก็แพ้ได้ ต้องยอมรับชะตากรรมและเล่นเกมต่อไปด้วยมั่นใจในหลักการพื้นฐานว่ามันถูกต้องและจะให้ผลตอบแทนในที่สุดเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ การลงทุนในหุ้นเองก็ไม่ต้องชนะเสมอ แค่ชนะ ใน 10 ก็เก่งแล้ว 

บทที่ 4 : สอบให้ผ่าน (Passing The Mirror Test)

  •  ก่อนที่จะเริ่มลงทุนในหุ้น อย่าพึ่งกระโจนไปคำถามว่า “ซื้อหุ้น ABC ดีมั้ย?” ก่อนจะไปถึงขั้นนั้น คุณต้องตอบคำถามสามข้อนี้ให้ผ่านก่อน คือ  1. คุณมีบ้านไหม 2. จำเป็นต้องใช้เงินก้อนนั้นไหม และ คุณมีคุณสมบัติส่วนตัวที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการลงทุนในหุ้นหรือไม่ 

    1. คุณมีบ้านไหม? (Do I own a house?)

  • ก่อนจะเอาเงินมาลงทุนหุ้นนั้น Peter Lynch เสนอให้คุณเอาเงินนั้นไปกู้ซื้อบ้านของตัวเองเสียก่อน เหตุผลง่ายๆเพราะมันไม่ได้แย่ที่จะมีบ้านเป็นของตัวเอง การลงทุนในบ้านนั้นให้ผลตอบแทนที่ดี ไม่ยุ่งยาก การเป็นเจ้าของบ้านยิ่งนานเท่าไหร่ ผลตอบแทนมันก็มีแต่จะสูงขึ้น คุณไม่ต้องกังวลใจกับราคาบ้านที่ขึ้นลง และการลงทุนในบ้านฝึกให้คุณเป็นคนละเอียดหาข้อมูลต่างๆ ซึ่งเป็นบันไดที่ดีก่อนเข้าซื้อหุ้น 

    2. คุณจำเป็นต้องใช้เงินก้อนนั้นไปทำเรื่องสำคัญอื่นๆก่อนไหม (Do I Need The Money?)

  • ถ้าคุณมีภาระต้องเลี้ยงดูลูก ต้องหาเงินให้ลูกเข้าเรียนมหาลัยดีๆ ก็ให้หลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นไปก่อน เพราะมันถือว่าเสี่ยงเกินไป แม้จะเป็นการลงทุนในหุ้น Bluechip ก็ตาม ในระยะ 10-20 ปีนั้น หุ้นเป็นอะไรที่พอคาดการณ์ได้ แต่การขึ้นลงในช่วง 2-3 ปีนั้น หุ้นมันคาดเดาไม่ได้เลย หุ้นบลูชิพที่คุณซื้อไว้อาจจะตกต่ำอยู่ 2-3 ปี จนคุณต้องจำใจตัดขายขาดทุนเพื่อนำเงินมาใช้ก่อน 
  • มีสูตรคำนวณสัดส่วนเงินลงทุนต่างๆมากมาย แต่ตัวเขาถือคติง่ายๆข้อเดียวว่า ให้ลงทุนเฉพาะเท่าที่คุณสามารถจะเสียได้ โดยที่การขาดทุนนั้นจะไม่มีผลต่อชีวิตประจำวันของคุณในอนาคต

    3. มีคุณสมบัติส่วนตัวที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการลงทุนในหุ้นหรือไม่? (Do I have the personal qualities it takes to succeed?)

  • คุณต้องอดทน พึ่งตัวเองได้ อดทนต่อความเจ็บปวดได้ดี มีใจที่เปิดกว้าง ยืดหยุ่น ต้องเต็มใจเรียนรู้ลงทุนในหุ้นเอง และเต็มใจยอมรับความผิดพลาดว่ามันเป็นความผิดของคุณเอง มีความต้านทานความแตกตื่นของคนทั่วๆไป
  • IQ? คุณไม่ต้องมีไอคิวดีเด่มากก็ประสบความสำเร็จได้ ในขณะที่คนที่อัจฉริยะจริงๆนั้นอาจจะหลงทางไปกับทฏษฎีอันซับซ้อนและถูกหักหลังจากความเป็นจริง 
  • การลงทุนในหุ้นนั้น จะเป็นการตัดสินใจโดยปราศจากข้อมูลที่สมบูรณ์อยู่เสมอ เพราะเมื่อข้อมูลมาสมบูรณ์ แสดงว่ามันสายไปแล้ว สายเกินไปที่จะทำกำไรจากการลงทุนนั้นๆ
  • การยึดติดความคิดแบบวิทยาศาสตร์มากไปว่าต้องมีข้อมูทั้งหมด (Perfect information) จะไม่ทันกิน 
  • มนุษย์คาดการณ์ภาวะตลาดหุ้นได้แย่มาก อารมณ์ของนักลงทุนทั่วไปจะผันแปรไปเรื่อยๆใน สถานะ นั่นคือ กังวล อิ่มใจ และยอมแพ้ ในเวลาที่ผิดเพี้ยนไปหมด – กังวลเมื่อตลาดตกและไม่กล้าซื้อหุ้นดีๆในราคาถูก พอหุ้นขึ้นเยอะแล้วก็เข้าซื้อ อิ่มใจได้ไม่นาน สุดท้ายหุ้นก็จะตกลงมาอีกในช่วงที่ตลาดไม่ดี จนยอมแพ้ขายหุ้นราคาขาดทุน  
  • หลายๆคนบอกว่าตัวเองเป็นนักลงทุนระยะยาว แต่ก็ยาวถึงแค่ panic ครั้งถัดไป เมื่อตลาดไม่แน่นอน ผันผวนหนัก เขาก็จะกลายเป็นนักลงทุนระยะสั้นอย่างรวดเร็วและขายหุ้นในราคาที่ขาดทุนอย่างหนัก หรือได้กำไรนิดเดียว 
  • ไปๆมาๆ ทักษะสำคัญอันหนึ่งในอยู่กับสภาวะที่มีข้อมูลการคาดการณ์ตลาดหุ้นมากมาย ก็คือ ฟังให้เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา  คุณต้องสร้างวินัยที่จะไม่สนใจ Noise ต่างๆ ต้องยืนหยัดกับหุ้นของคุณ ตราบใดที่พื้นฐานบริษัทไม่ได้เปลี่ยนแปลง อย่าไปสนใจตลาด  (stay disciplined and ignore all the noise unless the fundamentals have changed in some way) 

บทที่ 5 : ตลาดดีหรือเปล่า โปรดอย่าถาม 

  • คุณไม่จำเป็นต้องคาดการณ์ตลาดได้ ไม่งั้นตัวผู้เขียนเองก็คงทำกำไรจากหุ้นไม่ได้เลย เขาเองก็ผ่านเหตุการณ์แย่ๆมาหลายต่อหลายครั้ง โดยไม่สามารถคาดการเหตุต่างๆล่วงหน้าได้เลย เขาเองก็อยากได้คำเตือนก่อนที่จะเกิด Recession แต่โอกาสที่จะได้รับคำเตือนนั้นคือ 0% 
  • สิ่งต่างๆนั้นชัดเจน ก็ต่อเมื่อมันสายเกินไปที่จะทำอะไรแล้ว เช่น ในปี 1981-1982 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ มีคนจำนวนมากลุกขึ้นมาประกาศว่าพวกเขาคาดไว้แล้ว แต่ไม่มีใครบอกผู้เขียนเลยก่อนที่มันจะเกิดเหตุขึ้น หลังจากนั้นความมองโลกในแง่ร้ายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่นานตลาดหุ้นก็ฟื้นตัวอย่างรุนแรงและทุกอย่างก็ดีอีกครั้งหนึ่ง 
  • ถ้านักเศรษฐศาสตร์ และนักลงทุนมืออาชีพคาดการณ์ตลาดไม่ได้ แล้วมือสมัครเล่นจะทำอะไรดี
  • Peter Lynch เลยเสนอทฤษฎีการคาดการณ์ตลาดที่คิดค้นขึ้นมาเอง อิงจากประการณ์เวลาไปร่วมงาน Cocktail Party – แก่นของมันคือให้ฟังคนในงานเลี้ยงพูดถึงตลาดหุ้น ทฤษฎีนี้แบ่งบรรยากาศงานออกเป็น 4 ช่วง
    •  ช่วงที่  คนในงานเลี้ยงจะไม่พูดถึงหุ้นเลย ซึ่งมันตรงกับช่วงที่ตลาดตกมาระยะหนึ่งแล้วและไม่มีใครคิดว่าหุ้นจะขึ้น จะไม่มีใครอยากคุยกับคนที่ทำอาชีพบริหารกองทุน ซึ่งนี่แหละ คือช่วงที่ตลาดหุ้นกำลังจะขึ้น 
    • ช่วงที่ ะมีคนมาพูดคุยกับเขามากขึ้นเล็กน้อย แต่ก็ไม่ได้มีใครสนใจเขามากอยู่ดี ช่วงนี้ตลาดหุ้นจะขึ้นมาประมาณ 15% แล้ว  
    • ช่วงที่ จะมีแต่คนมาล้อมรอบเขาตลอดงาน จะมีแต่คนมาถามว่าซื้อหุ้นตัวไหนดี ดูเหมือนว่าคนในงานจะทยอยซื้อหุ้นกันแล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดปรับตัวขึ้นมา 30% จากช่วงแรก 
    • ช่วงที่ ทุกคนก็ยังล้อมรอบตัวเขา แต่คราวนี้จะมีแต่คนแนะนำหุ้นให้เขาซื้อ ทุกคนจะมีหุ้นเด็ดๆ แม้แต่เพื่อนบ้านก็ให้คำแนะนำว่าเขาควรซื้อหุ้นตัวไหน ช่วงนี้คือสัญญาณที่แน่ชัดว่าตลาดขึ้นไปยอดดอยแล้ว  
  • อย่างไรก็ตาม Peter Lynch ไม่เชื่อในการทำนายตลาด( ทฤษฎีข้างบนคือเอาฮาเฉยๆ) แต่เชื่อในการซื้อหุ้นดีเยี่ยม จะดีสุดๆถ้ามันอยู่ในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน และเชื่อในการลงทุนในหุ้นที่ไม่ได้รับความสนใจกว่าที่มันควรจะเป็น   (Great companies that are undervalued and/or underappreciated)
  • อย่าสนใจว่าตอนนี้มันจะเป็นตลาดหมี ตลาดกระทิง อย่าสนว่าอนาคตภาวะเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร –ตัวเขานั้นทำกำไรได้ทั้งในช่วงที่ตลาดดีและไม่ดี หุ้นหลายเด้งของเขาก็ปรับตัวสูงในช่วงที่ตลาดไม่ดี 
  • อย่าหวังรอคอยให้ตลาดดี แล้วมันจะลากหุ้นคุณขึ้นไป 
  • แน่นอนว่าตลาดที่แพงเกินไปนั้นมีจริง ซึ่งนั่นก็คือเมื่อใดก็ตามที่คุณไม่สามารถหาหุ้นที่มีราคาเหมาะสม หรือตรงกับเงื่อนไขในการลงทุนของคุณได้ 
  • เลือกหุ้นที่ถูกต้อง แล้วตลาดจะดูแลมันให้คุณเอง! 

Share

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter

รีวิวหนังสือล่าสุด

China Next Normal รีวิว หนังสือ
Social Science

รีวิวหนังสือ: China Next Normal – วิกฤตและโอกาสของจีนในโลกหลังโควิด

จีนจะเป็นอย่างไรในยุคPost Corona เมื่อ COVID มาเร่งเวลาเข้าสู่ China Next Normal – วิกฤตินี้สร้างโอกาสให้จีนได้อย่างไร หาคำตอบได้ในเล่มครับ

post corona book review รีวิว
Social Science

รีวิวหนังสือ: Post Corona – From Crisis to Opportunity

โลก(อเมริกา) จะเป็นอย่างไรในยุค Post Corona – หนังสือที่ว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงที่จะรวดเร็วและรุนแรง ผ่านมุมมองของศาสตราจารย์นักธุรกิจชั้นเซียน

บทความอื่นๆ

Solon's Warning คำเตือนของ โซลอน
Perspective

คำเตือนของโซลอน – Solon’s Warning

เมื่อพระเจ้าครีซัสผู้มั่งคั่งและทรงอำนาจที่สุดแห่งยุคตรัสถาม โซลอน ว่าเคยพบใครที่มีความสุขมากกว่าพระองค์หรือไม่ เขากลับตอบชื่อสามัญชนที่เสียชีวิตแล้วกลับมา!