รีวิวหนังสือ: เหนือกว่าวอลสตรีท (One Up on Wall Street)

One Up On Wall Street เหนือกว่าวอลสตรีท
ผู้เขียน : Peter Lynch, John Rothchild (ผู้แปล – ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร)
สำนักพิมพ์ : Fidelity
จำนวนหน้า : 352 หน้า
Genre : Investing
ISBN : 9786169033288
พิมพ์ครั้งแรก : 2012 (ฉบับแปลไทย) / November 1988 (ต้นฉบับ)

เหนือกว่าวอลสตรีท (One Up on Wall Street)

8.5

เนื้อหา

10.0/10

การนำเสนอ

7.0/10

Pros

  • หนังสือการลงทุนในหุ้นที่ครอบคลุมทุกแง่มุม สำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนเองในหุ้น ตั้งแต่วิธีการเลือกหุ้น การแบ่งประเภทหุ้น การพิจารณาซื้อและขายหุ้น การจัด Portfolio ข้อผิดพลาดต่างๆที่พบบ่อย Attitude และที่ถูกที่ควรในการลงทุน
  • เนื้อหาอ่านเข้าใจค่อนข้างง่าย ไม่มีศัพท์เทคนิคมากนัก อ่านสนุก มีสอดแทรกมุขตลก จิกกัด เป็นช่วงๆ
  • การเรียบเรืองเนื้อหาทำได้ดี ไม่วกไปวนมา

Cons

  • ฉบับแปลไทย สำนวนการแปลค่อนข้างแห้ง แปลแบบถอดความตรงตามประโยคภาษาอังกฤษเป๊ะ
  • บางประโยคที่อ่านแบบแปลแล้วเข้าใจยาก หรือสื่อความผิดไปจากต้นฉบับ

Key Messages

 
  • Peter Lynch เชื่อว่ามือสมัครเล่นนั้นประสบความสำเร็จในการลงทุนในหุ้นได้ จากการใช้ข้อได้เปรียบหลายๆข้อ ที่มือสมัครเล่นมีเหนือกว่าเหล่านักลงทุนมืออาชีพ
  • แต่ก็ต้องเลือกหุ้นเอง คิดเองทำเอง วิเคราะห์เอง เลิกฟังข่าวลือ เลิกส่องหาหุ้นเด็ดตามคำแนะนำของโบรกเกอร์ เลิกเล่นเก็งกำไร จงสนใจพื้นฐานให้มาก 
  • เริ่มหาหุ้นเพื่อการลงทุน โดยการมองหาสิ่งรอบๆตัวเรา ว่ามีสินค้าหรือการบริการอะไรใหม่ๆที่มันดูน่าสนใจ มีคนชอบ มีศักยภาพในการเติบโต ขยายกิจการ เมื่อได้หุ้นที่น่าสนใจมาแล้วก็นำมาวิเคราะห์พื้นฐาน วิเคราะห์ความถูก/แพง
  • หุ้นที่เขาชอบนั้นมักเป็นหุ้นที่ยังไม่ดัง ดูน่าเบื่อ ไม่มีเหล่ามืออาชีพมาให้ความสนใจ ส่วนหุ้นที่เขามักจะหลีกเลี่ยงคือหุ้นร้อน หุ้นที่มีแต่คนพูดถึง
  • แบ่งหุ้นออกเป็น 6 ประเภท ตามลักษณะกิจการ การเติบโต งบการเงิน หุ้นแต่ละตัวก็สามารถสลับปรับเปลี่ยนวงจรชีวิตไปมาระหว่าง 6 ประเภทนี้ได้
  • ก่อนจะซื้อต้องตอบตัวเองก่อนว่าจะซื้อเพราะอะไร อธิบายเหตุผลได้ด้วยตัวเองหรือไม่ 
  • เมื่อซื้อแล้วก็จงเชื่อในเหตุผลตนซื้อแต่แรก อย่าสนใจราคาหุ้นมากเกินไป อย่าสนใจกับทิศทางตลาด เพราะไม่มีใครรู้มันได้
  • คอยตรวจสอบแนวโน้มกิจการเป็นช่วงๆ 
  • ขายหุ้น เมื่อมันมีพื้นฐานเปลี่ยนไป หรือเมื่อมันไม่ได้เป็นหุ้นแบบที่เราตัดสินใจซื้อ เช่น เดิมเป็นหุ้นกลุ่มรอฟื้นตัว แต่ตอนนี้ฟื้นเต็มที่แล้ว
  • จะประสบความสำเร็จได้ คุณไม่ต้องเลือกหุ้นได้ถูกตลอดเวลา แค่ชนะบ่อย หรือชนะมากๆไม่กี่ครั้ง ก็ถือว่าเยี่ยมยอดแล้ว 

The Art of Stock Picking by The Legendary Fund Manager

หนังสือ “เหนือกว่าวอลสตรีท” คือหนังสือแนะนำการลงทุนในหุ้นขึ้นหิ้ง แปลจาก “One up on wall street” โดย Peter Lynch ผู้จัดการกองทุนระดับตำนาน แห่ง Magellan Fund ของ Fidelity Investment

ความเทพของเขาคือ สามารถบริหารกองทุน Magellan ตั้งแต่ปี 1977 ซึ่งตอนนั้นอยู่ในสถานะร่อแร่ปางตาย มี AUM 18 ล้านUSD ให้มีมูลค่าเพิ่มเป็น 1.4 หมื่นล้าน ในปี 1990 คิดเป็นผลตอบแทนแบบทบต้นปีละ 29.2% ในเวลา 13 ปี – ดีกว่า S&P 500 index 2 เท่า และเป็นกองทุนที่มีผลงานดีที่สุดในโลก! (ประวัติกองทุนมีเล่าอย่างละเอียดในหนังสือ  Beating the Street ภาคต่อของหนังสือเล่มนี้ )

สิ่งที่หนังสือเล่มนี้แตกต่างและโดดเด่นจากหนังสือการลงทุนอื่นๆ คงเป็นเนื้อหาที่มีความ Original ซึ่งถอดแบบมาจาก Style การลงทุนของ Peter Lynch เองที่เน้นการไล่ตามหา”หุ้นเด้ง” หุ้นศักยภาพสูงอย่างไม่ลดละ เน้นหุ้นที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก แต่เป็นที่ชื่นชอบสำหรับคนท้องที่ 

อีกข้อโดดเด่นคือ เนื้อหาในเล่มนั้นครอบคลุมการลงทุนในหุ้นแบบครบทุกเกือบทุกด้าน ตั้งแต่เหตุผลว่าทำไมมือสมัครเล่นจึงควรลงทุนหุ้นด้วยตัวเอง ทำไมการเป็นมือสมัครเล่นนั้นจึงมีข้อได้เปรียบบางอย่างที่ทำให้เขาสามารถเอาชนะเหล่ามืออาชีพได้ จะเริ่มเลือกหุ้นยังไง หุ้นแบบไหนที่น่าสนใจ แบบไหนที่ควรหนีไปไกลๆ แบ่งประเภทหุ้น จะซื้อหุ้นเมื่อไหร่ จะขายหุ้นเมื่อไหร่ และอื่นๆมากมาย ซึ่งมาจาก wisdom และประสบการณ์ของ Peter Lynch เอง ซึ่งเน้น Practical Points และให้ข้อคิด เปิดกว้างมุมมองได้ดีมากๆ

เนื้อหาในเล่มเรียบเรียงได้ดี ไม่วกไปวนมา ไม่น่าเบื่อ ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานทางการเงินมามาก มือสมัครเล่นก็อ่านเข้าใจได้ง่าย และสนุกมาก อ่านแล้วจะรู้สึกว่าโลกการลงทุนมันช่างสดใส?

และถ้าเราได้ลองใช้ชีวิตในสมรภูมิตลาดหุ้นสักระยะหนึ่ง ผ่านร้อนผ่านหนาวมาสักช่วง แล้วกลับมาอ่านหนังสือเล่มนี้ เราจะพบประเด็นน่าสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พบว่าประเด็นที่ตอนแรกอ่านผ่านเหมือนไม่มีอะไร พอได้ลองเจอกับตัวแล้วมันโดนมากๆ ซึ่งเป็นอะไรที่น่าทึ่งมาก

นี่คือหนังสือการลงทุนในตำนาน และเป็นหนังสือที่ควรค่าแก่การกลับมาอ่านซ้ำๆจริงๆครับ!

Opinion

ในด้านเนื้อหา นี่คือหนังสือที่ยอดเยี่ยมไร้ที่ติ

แต่การแปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยนั้น มีหลายๆจุดที่ผมคิดว่าเป็นการแปลแบบทื่อๆเกินไป คือถอดความภาษาอังกฤษมาเป็นไทยแบบตรงตามตัวอักษร ซึ่งมันทำให้อรรถรสการอ่านลดลงไปมาก และบางครั้งก็แปลสำนวนในภาษาอังกฤษ หรือมุขจำเพาะ มาตรงๆ ทำให้ผิดจากข้อความที่ต้นฉบับต้องการจะสื่อไป แต่ไม่ต้องห่วงเรื่องใจความหลัก หรือเรื่องศัพท์เฉพาะด้านการเงินหรือบัญชีนั้น ซึ่งก็ถูกต้องดีครับ

อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวคิดว่ามีข้อควรระวังในการรับสารจากหนังสือเล่มนี้ครับ

  1. วิธีในเล่มคือวิธีส่วนตัวที่ Peter Lynch ใช้หาหุ้น ซึ่งอาจต้องดูบริบทด้วย คือ ประเทศอเมริกาซึ่งมีบริษัทจดทะเบียนมากมาย และกระจายไปทั่วประเทศ ทำให้มีโอกาสเกิดบริษัทเจ๋งๆได้ดีกว่า และยุคของ Peter Lynch ยังไม่ได้มี Internet อะไรแพร่หลายนัก ข้อมูลข่าวสารบริษัทดีๆน่าจับตามองจึงอาจสงวนไว้ให้แก่คนที่ตั้งใจลุยจริงๆแบบ Peter Lynch เท่านั้น ในPortfolioของกองทุน Magellan เลยมีหุ้นหลายพันตัว!  (วิธีการหาหุ้นแบบพลิกแผ่นดิน มีอธิบายอย่างละเอียดในหนังสือ Beating the Street) ซึ่งสำหรับประเทศไทยอาจไม่ได้มีบริษัทใหม่ๆเข้าตลาดมามากมาย และขนาดประเทศก็ไม่ได้ใหญ่มากมายอะไร แถมบริษัทเด่นๆดังๆ บริษัทหน้าใหม่ไฟแรง ก็กระจุกอยู่แต่ในกทม.
  2. Peter Lynch แม้จะมี concept แบบ VI แต่ก็ไม่ได้เป็น Long Term Investor – เขาเน้นหากำไรจาก Capital gain ของหุ้นโตเร็ว หุ้นวัฏจักร หุ้นฟื้นตัวเสียมากกว่า ซึ่งก็พอเข้าใจได้จากข้อจำกัดของผู้บริหารกองทุน ดังนั้นกลยุทธ์ต่างๆอาจต้องนำปรับใช้กับรายย่อย หรือคนที่อยากถือหุ้นยาวๆ
  3. เนื้อหาซึ่งดูมีความเป็นสูตรสำเร็จมากเกินไป อาจทำให้ผู้อ่านเกิดการ Fixed Idea ได้ โดยส่วนตัวจึงแนะนำให้กลับมาเล่มนี้ซ้ำๆ เพื่อใช้เป็น Mindset Guideline มากกว่า
  4. ในหนังสือไม่ค่อยพูดถึง Risk เท่าไหร่ และมีoversimplify ไปบ้าง อาจทำให้นักลงทุนที่ยังไม่เคยเจอเหตุการณ์ร้ายแรงในตลาด โลกสวยเกินไปบ้าง (อันนี้โดนกับตัวครับ 555)

บทนำ

Introduction to the Millennium Edition

  • บทนำนี้เขียน 10 ปีให้หลังจากหนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ครั้งแรก ตอนที่หนังสือเล่มนี้ออกใหม่ๆนั้น มันคือปี 1989 , 1 ปีก่อนที่เขาจะลาออกจากกองทุน Magellan , มีคนบอกว่าเขายอดเยี่ยมมากที่ออกมาไดทันพอดีก่อนที่ตลาดกระทิงจะชะงักลงจากเรื่องความกลัวสงครามอิรัก แต่สุดท้ายเราก็ชนะ ธนาคารไม่หายไปไหน และตลาดก็ขึ้นมาอีก 4 เด้งจาก 2400 -> 11000
  • จากที่เคยผ่านมาทั้งตลาดหมีและกระทิงมาก่อนแล้ว มันสำคัญมากที่ต้องเตือนตัวเองว่า ทั้งหมีและกระทิง จะไม่อยู่ตลอดไป และต้องใช้ความอดทนในทั้งสองทิศทาง
  • Peter Lynch ไม่เข้าใจ Internet เขาจึงขึ้นรถหุ้น Tech ไม่ทันเช่นกับหลายๆคน ตั้งแต่การมาของ internet , การลงทุนต่างๆก็รวดเร็วขึ้น คนอดทนน้อยลง สมัยก่อนมันใช้เวลาหลายปีกว่าบริษัทจะมีมู,ค่าพันล้าน เดี๋ยวนี้บริษัทก็มู,ค่าหลายพันล้านได้ โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ตัวเองว่าทำกำไรได้ สำหรับ Market แล้วเจ้าพวกหุ้นอินเตอร์เน็ตเกิดใหม่นั้นไม่ต้องรอพิสูจน์ตัวเอง ก็มีมูลค่ามหาศาลได้ เหมือนหุ้น Walmart หรือ Home Depot มันเหมือนกับว่าแค่มีชื่อ dot com และดูconceptน่าตื่นเต้น ก็ไม่ต้องสนfundamental แล้ว และเมื่อมันไม่มี E ใน P/E ก็เป็นได้สูงที่การเคลื่อนไหวต่างๆตั้งอยู่บนราคาหุ้นเท่านั้น ซึ่งราคาหุ้น คือข้อมูลที่มีประโยชน์น้อยที่สุด ถ้าคุณสนใจข้อมูลแค่ตัวเดียวจริงๆ ก็ขอให้สนแต่ Earning
  • เขายังลงทุนแบบเดิม คือเลือกบริษัทที่พิสูจน์ตัวเองแล้วระดับหนึ่งที่กำไรเติบโต ราคาหุ้นเติบโต หรือเลือกหุ้น turn around ซึ่งมันใช้เวลาประมาณ 3-10 ปีกว่าจะเห็นดอกเห็นผล
  • Internet ไม่ใช่นวัตกรรมแรกที่จะมาเปลี่ยนโลก ก่อนหน้านี้เรามีรถไฟ โทรศัพ เครื่องบิน ทีวี ซึ่งอุตสาหกรมใหม่ก็มีเพียงบริษัทใหม่ๆที่จะอยู่รอดไม่กี่แห่งเท่านั้น
  • ถ้าคุณยังยืนยันจะลงทุนในหุ้น Internet ก็มีข้อแนะนำคือ
    • ใข้ Pick and shovel strategy : ช่วงที่มี Gold Rush, คนที่รวยที่สุดไม่ใช่คนที่มาแห่ขุดทอง แต่เป็นคนขายพลั่ว เสียม เต้นนอน กางเกงยีน – ลองหา non-internet company ที่ได้ประโยชน์จากinternet อีกที
    • Free Internet Play : มองหาNon-internet company ที่มี internet business อยู่ในกำไรของมัน และราคาหุ้นยังสมเหตุสมผล เผื่อ่าส่วน internetจะทำให้มันมีมู,ค่าทะยาน หรือมันสามารถ spin=off บริษัทลูกได้ หรือถ้าความสำเร็จไม่มา ก็ยังพึ่งพาส่วน non-internet ได้
    • “Brick and Mortar” : บริษัทที่ใช่เทคโนโลยีมาลดต้นทุนได้ เหมือนสมัยที่เครื่อง scanner บูมมากๆ แล้วเหล่า supermarket ก็ได้ประโยชน์จากมัน
  • ตัวอย่างก็เช่น Microsoft ที่ปล่อยให้อีกหลายๆบริษัทเขาพัฒนาคอมพิวเตอร์ไป แต่ก็ต้องใช้Windows กันมั้งหมด ซึ่งแม้คุณจะรู้สึกตัวช้า พึ่งรู้จักมันตอน Window 95 คุณก็ยังได้หุ้น 7 เด้ง
  • Microsoft ยังเข้ากับ Major Theme ของเล่มนี้ คือ มือสมัครเล่นสามารถเลือกหุ้นผู้ชนะได้ จากการเฝ้าสังเกตสังกาสิ่งใหม่ๆในที่ทำงาน ร้านค้า ภัตตาคาร ที่ทำงาน แต่นี่ไม่ได้แปลว่าผลิตภันณ์หรือบริการที่คุณชอบ = ผู้ชนะ คุณต้องจไว้เสมอว่ามันคือแค่ขั้นแรก เมื่อได้รายชื่อมา ต้องหาเหตุผลต่างๆ หาข้อมูลต่างๆมาดูต่อเนื่อง และอย่าลืมดูว่าบริษัทอยู่ในระยะไหน ถ้ามันเป็นระยะปลายๆ ที่สาขาเต็มประเทศแล้ว future growth ก็อาจไม่เด่นนัก

บทนำ : ข้อได้เปรียบของเงินโง่ (dumb money)

  • ประสบการณ์ของเขาบอกว่า ให้เลิกฟังมืออาชีพ คนธรรมดานั้นสามารถเลือกหุ้นได้ดีพอ หรือดีกว่า ผู้เชี่ยวชาญของวอลสตรีทโดยเฉลี่ย
  • เงินของนักลงทุนมือสมัครเล่น ( ซึ่งสื่อชอบเรียกมันว่า Dumb money) นั้นมีข้อได้เปรียบ และอาจทำให้มือสมัครเล่นเอาชนะมืออาชีพได้ โดยการเลือกหุ้นเอง คิดเองทำเอง วิเคราะห์เอง เลิกฟังข่าวลือ เลิกส่องหาหุ้นเด็ดตามคำแนะนำของโบรกเกอร์
  • ความรู้แบบธรรมดาบ้านๆนั้น สามารถทำให้คุณได้หุ้นที่ผลตอบแทนสุดยอดได้ ตัวอย่างที่ Peter Lynch ชอบยกก็คือ หุ้น Hanes ซึ่งครั้งหนึ่งในช่วงปี 1970 เคยผลิตสินค้าถุงน่องยี่ห้อ L’eggs , สินค้าตัวนี้เป็นสิ่งที่ภรรยาของเขาชอบมาก และแนะนำมันให้เขารู้จัก ในขณะนั้นมันเริ่มเป็นที่นิยมแล้ว และกำลังกระจายไปทั่วประเทาศ แต่นักลงทุนมืออาชีพนั้น มีได้มีข้อมูลอะไรเกี่ยวกับหุ้นตัวนี้เลย สุดท้ายแล้วกองทุนของเขาก็เข้าซื้อหุ้น Hanes และมันกลายเป็นหุ้น 6 เด้ง และสมมติว่าคุณได้ยินยี่ห้อนี้ในปีที่สามหลังจากผลิตภัณฑ์ L’eggs กระจายไปทั่วประเทศแล้ว คุณก็ยังได้หุ้น 3 เด้ง
  • ในขณะเดียวกัน เพื่อนของเขานั้น ก็มีภรรยาแนะนำให้รู้จักหุ้น The Limited ซึ่งเป็นร้านเสื้อผ้าผู้หญิงที่กำลังโด่งดัง มีลูกค้ามากมาย ขายดีเทน้ำเทท่า แต่ไม่มีสถาบันไหนรู้จัก ซึ่งเพื่อนคนั้นก็ไม่ได้สนใจ กลับมุ่งโฟกัสไปที่หุ้น Disk Drive สุดล้ำ ที่เขาเองก็ไม่ค่อยรู้จักมันนัก  แต่มีแต่คนดังๆในนิตรสารการเงินชื่อดัง พูดถึง ว่ามันจะเปลี่ยนโลกและมีอนาคตที่ดี … สุดท้ายคือหุ้น The limited นั้นกลายเป็นหุ้น 100 เด้ง และหุ้น disk drive สุดล้ำนั้นล้มละลาย

เนื้อหาหลักในหนังสือ”เหนือกว่าวอลสตรีท” แบ่งเป็น 3 part คือ

  1. เตรียมตัวลงทุน
  2. วิธีเลือกหุ้นผู้ชนะ
  3. มุมมองระยะยาว

เลือกอ่านสรุปได้ตาม Link ข้างล่างเลยครับ

Share

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter

รีวิวหนังสือล่าสุด

China Next Normal รีวิว หนังสือ
Social Science

รีวิวหนังสือ: China Next Normal – วิกฤตและโอกาสของจีนในโลกหลังโควิด

จีนจะเป็นอย่างไรในยุคPost Corona เมื่อ COVID มาเร่งเวลาเข้าสู่ China Next Normal – วิกฤตินี้สร้างโอกาสให้จีนได้อย่างไร หาคำตอบได้ในเล่มครับ

post corona book review รีวิว
Social Science

รีวิวหนังสือ: Post Corona – From Crisis to Opportunity

โลก(อเมริกา) จะเป็นอย่างไรในยุค Post Corona – หนังสือที่ว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงที่จะรวดเร็วและรุนแรง ผ่านมุมมองของศาสตราจารย์นักธุรกิจชั้นเซียน

บทความอื่นๆ

Solon's Warning คำเตือนของ โซลอน
Perspective

คำเตือนของโซลอน – Solon’s Warning

เมื่อพระเจ้าครีซัสผู้มั่งคั่งและทรงอำนาจที่สุดแห่งยุคตรัสถาม โซลอน ว่าเคยพบใครที่มีความสุขมากกว่าพระองค์หรือไม่ เขากลับตอบชื่อสามัญชนที่เสียชีวิตแล้วกลับมา!