รีวิวหนังสือ: เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี – เรียนรู้อดีต เพื่อเข้าใจอนาคต

เศรษฐกิจโลก 1000 ปี
ผู้เขียน : ลงทุนแมน
สำนักพิมพ์ : Se-ed
จำนวนหน้า : 224 หน้า
Genre : Social Science
ISBN : 9786169317364
พิมพ์ครั้งแรก : January 2020

เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี - เรียนรู้อดีต เพื่อเข้าใจอนาคต

6.5

เนื้อหา

6.0/10

การนำเสนอ

7.0/10

Pros

  • ให้ภาพกว้างๆ Timeline ของเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ยุคกลางได้อย่างน่าสนใจ กระชับ เหมาะกับการอ่านเอาโครงเรื่อง
  • สำนวนการเขียนลื่นไหล อ่านสนุก ของลงทุนแมน

Cons

  • คำอธิบายสาเหตุ หรือจุดเชื่อมโยงในแต่ละเหตุการณ์นั้น สั้นเกินไป และ Oversimplified ไปมาก
  • เนื้อหามีความตะกุกตะกักบ้าง เวลาขึ้นบทใหม่

Key Messages

  • ในช่วงหลายร้อยหลายพันปีที่ผ่านมานั้น มีขั้วอำนาจผลัดกันขึ้นมาเป็นใหญ่ และสุดท้ายก็ร่วงโรยไป ไม่มีอะไรที่จะแน่นอน ไม่ว่าจักรวรรดิหรือประเทศนั้น จะเคยยิ่งใหญ่สักแค่ไหน สุดท้ายก็จะแพ้ภัยตัวเอง หรือภัยสงคราม
  • ความโลภ ความกลัว ของมนุษย์นั้น แม้ที่ผ่านมาพิสูจน์แล้วว่าสร้างอันตรายได้มากแค่ไหน แต่มันก็เป็นวัฏจักร ไม่มีวันหมดไป 

The Cyclical History of Homo Avarus

เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี เป็นหนังสือที่เล่าเรื่องราวของเศรษฐกิจโลกอย่างกระชับ เข้าใจง่าย

ถ้าให้ลองนึกถึงชื่อบุคคลที่สามารถเล่าเรื่องราวเศรษฐกิจได้อย่างเก่งกาจ  ผมคิดว่าต้องมีชื่อของ “ลงทุนแมน” มาเป็นอันดับแรกๆ ด้วยความที่สามารถนำเรื่องราวต่างๆมาเรียบเรียง สรุปประเด็นได้สั้น กระชับ อ่านง่าย อ่านสนุก จนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์มากมาย

และลงทุนแมนเป็นหนึ่งในคนที่พิสูจน์แล้วว่า “ข้อมูล” มันมีค่า มีราคา ได้มากมายแค่ไหน

ซึ่งในครั้งนี้ลงทุนแมนก็ไม่ทำให้ผิดหวัง เขามาพร้อมกับเรื่องราวของ “เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี” ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็น Series บทความย่อยๆ ที่ลงทุนแมนเคยนำมาให้อ่านกันบน Platform ต่างๆ และภายหลังจึงนำแต่ละ Series นี้มารวมเล่มออกมา เป็นหนังสือสรุปประวัติเศรษฐกิจโลก 1,000 ปี เพียง 200 หน้า เท่านั้น!!

เนื้อหาในเล่มแบ่งออกเป็น 25 ตอนย่อย เริ่มจากยุคกลาง มาจนถึงยุคปัจจุบัน โดยจุดเด่นคือการเล่าแบบ Timeline ที่เน้นให้เราเห็น Dynamic ความรุ่งเรือง เสื่อมถอยของแต่ละขั้วอำนาจ ด้วยปัจจัยคร่าวๆชี้แจงพอให้เห็นภาพ ทำให้เราเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันเชื่อมโยงกันไปหมดเป็นห่วงโซ่ โดยเฉพาะผลกระทบจากวงจรเศรษฐกิจ ที่มีต่อขั้วอำนาจต่างๆ เช่น

  • ทำไมอยู่ดีๆอิตาลีที่เจริญมากมายในยุคเรเนอซองค์ ก็เสื่อมสลาย?
  • ทำไมสเปน หรือโปรตุเกส จึงเป็นชาติแรกๆ ที่ได้ออกเดืนเรือค้นพบอะไรต่างๆมากมาย ทำไมไม่เป็นอิตาลี ทั้งๆที่ติดทะเลหมือนกัน?
  • ทำไมเนเธอแลนด์จึงเจริญอยู่ช่วงหนึ่ง ทั้งๆตอนแรกมีแต่ชาวโปรตุเกสและสเปนแข่งกัน?
  • แล้วทำไมอยู่ดีๆ อังกฤษและฝรั่งเศสมาเจริญแทนเนเธอแลนด์?
  • ทำไมหลายๆเมืองในอเมริกาจึงมีชื่อ New + ชื่อเมืองในอังกฤษ ?
  • สภาพการเมืองที่ต่างกันระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส มีส่วนยังไงกับการที่สุดท้ายอังกฤษกลายมาเป็นผู้นำโลก?
  • ลัทธิจักรวรรดินิยม มายังไง?
  • ทำไมญี่ปุ่น isolate ตัวเองดีๆ ต้องไปบังคับให้เปิดประเทศ?
  • อเมริกาและญี่ปุ่นเริ่มมีบทบาทในเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ช่วงไหน?
  • ทำไม US dollar กลายมาเป็นค่าเงินหลักของโลก?
  • ทำไมญี่ปุ่น comeback ได้อย่างรวดเร็วหลังสงครามโลกครั้งที่ 2?
  • สงครามเวียดนามทำให้ประเทศไทยเจริญขึ้นได้ยังไง?
  • ทำไมรถญี่ปุ่นจึงนิยมไปทั่วโลก?
  • สหรัฐกับบ่อน้ำมันมีความสัมพันธ์กันยังไง ? 

สิ่งที่ผมชอบมากๆในเล่มเศรษฐกิจโลก 1,000 ปี ก็คือ การระบุว่าสิ่งประดิษฐ์สำคัญๆ ทางเศรษฐกิจ เช่น ระบบบัญชีคู่ ตลาดหลักทรัพย์  หรือบริษัทดังๆ นั้นเริ่มก่อตั้ง ตั้งแต่เมื่อไหร่ ด้วยเหตุผลปัจจัยอะไร ก็ทำให้เราเห็นภาพความเชื่อมโยงต่างๆได้สนุกยิ่งขึ้น

แต่เนื่องจากหนังสือความยาวเพียง 200 หน้า เนื้อหาจึงขาดความลึกซึ้งไปมาก และง่ายเกินจริง (Oversimplify) เช่นการให้เหตุผลการกระทำต่างๆในอดีต หรือสิ่งที่เกิดขึ้น เพียงไม่กี่บรรทัด มันก็เลยห้วนๆไปหน่อย อาจจะ Fix Idea ผู้อ่านเกินไป และไม่ค่อยชวนให้ผู้อ่านได้ลองคิดตามบ้าง เน้นให้คำตอบแบบสำเร็จรูปไปเลย 

Opinion

โดยรวมแล้วหนังสือ “เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี” สามารถให้ Framework ประวัติเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี เห็นความเชื่อมโยงของปัจจัยต่างๆได้ชัดขึ้น และทำให้เรารู้ที่มาของสิ่งต่างๆ แบรนด์ดังๆ ที่เราพบเห็นอยู่เป็นประจำได้อย่างน่าสนใจ และด้วยสำนวนของลงทุนแมน ก็มั่นใจได้ในเรื่องความลื่นไหล ความชัด แม้อาจจะมีตะกุกตะกักบ้างในช่วงเปลี่ยนตอน แต่ใช้เวลาเพียงไม่นานก็สามารถอ่านจบเล่มนี้ได้แน่นอน อ่านสนุกกว่าแบบเรียนประวัติศาสตร์มากแน่ๆ  

อย่างไรก็ตามไม่เห็นด้วยกับคำโปรยหน้าปกที่บอกว่า “เรียนรู้อดีต เพื่อเข้าใจอนาคต” ในแง่ที่ว่าอดีตนั้นไม่สามารถเอาไปทำนายอนาคตได้ เพราะจากอดีตเองก็เห็นได้ว่ามันมีแต่ความไม่แน่นอน ไม่มีใครจะอยู่คับฟ้า ไม่ว่าจะยิ่งใหญ่แค่ไหน หรือไม่ได้สามารถบอกได้เลยว่าอำนาจนั้นจะล่มสลายเมื่อไหร่ จะมีอำนาจที่ไหนมาแทนที่ 

เราอาจจะมองว่ามันก็ดูเป็นเหตุเป็นผล Smooth ดี แต่นั่นเพราะเรามองย้อนหลัง สิ่งที่เกิดในอดีตหลายๆอย่างมันอาจไม่มีเหตุผลอะไรเลยก็ได้ อาจเป็นดวงล้วนๆ (เช่น อเมริกาลาภลอยจากที่ยุโรปตบตีกันเอง) 

ดังนั้นสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากอดีตและเอามาทำนายอนาคตได้ จากหนังสือ “เศรษฐกิจโลก 1000 ปี” ก็อาจมีเพียงเรื่องเดียว คือ มันไม่มีอะไรแน่นอนเลย ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นวัฏจักร 

การเปลี่ยนแปลงมันมาแน่ แต่ไม่รู้จะมาเมื่อไหร่ สิ่งสำคัญคือเราต้องตระหนักถึงมันไว้ อย่าชะล่าใจมากเกินไป

สรุปหนังสือ: เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี

เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี Part I

1000 ปีแรก

1. ยุคกลาง ค.ส. 1100 – ค.ศ. 1299

  • โลกมีประชากรประมาณ 400 ล้านคน, 100 ล้านอยู่ที่จีน 90ล้านอยู่ที่ อินเดีย มีเพียง 60 ล้านคน อยู่ที่ทวีปยุโรป
  • เป็นยุคหลังจากโรมันล่มสลาย ดินแดนถูกแบ่งเป็นแคว้นเล็กๆย่อยๆ มีระบบ Feudalism เป็นระบบเศรษฐกิจหลัก นั่นคือ กษัตริย์จะมอบหมายที่ดินให้ขุนนางดูแล ขุนนางก็แบ่งที่ดินให้ชาวนาทำการเกษตร และมีการแบ่งผลผลิตกับขุนนางตามที่จะตกลงกัน
  • ระบบเศรษฐกิจยุคกลางเป็นแบบพึ่งพาตนเอง อาศัยผลผลิตจากภายในอาณาเขตตัวเอง มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างเขตแดนอื่นน้อยมาก
  • เป็นช่วงที่มีสงครามภายใน และระหว่างอาณาจักรกันบ่อย และเป็นช่วงที่คริสต์ศาสนาเข้ามามีบทบาทสำคัญ ผู้คนศรัทธาเทิดทูนอย่างมาก มีศิลปะแบบ Gothic เกิดในช่วงยุคนี้
  • และมีสงครามที่ยาวนานที่สุดเกิดในยุคนี้เช่นกัน (200 ปี) นั่นคือสงครามครูเสด เป็นความขัดแย้งระหว่างชาวยุโรป กับชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลาม
  • สงครามนี้แม้ยุโรปไม่สามารถรักษากรุงเยรูซาเล็มไว้ได้ แต่ทำให้ชาวยุโรปเห็นโลกชาวอาหรับที่ก้าวหน้ามากกว่า และนำมาซึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญ คือ
    • การกำเนิดของ เลขอารบิก แทนที่ระบบเลขโรมัน ทำให้เกิดความสะดวกอย่างมากในการทำบัญชีการค้า การแลกเปลี่ยนเงิน การคำนวณดอกเบี้ย
    • การขยายตัวการค้า เกิดชนชั้นใหม่คือ ชนชั้นพ่อค้า ซึ่งเป็นสื่อกลางในการนำสินค้าแปลกใหม่ของตะวันออกมาให้ชาวยุโรป ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ นครเวนิส
    • การก่อตั้งมหาวิทยาลัย กลายเป็นรากฐานภูมิปัญญาของชาวตะวันตกในยุคสมัยต่อมา
    • ธนาคาร ซึ่งถือกำเนิดแห่งแรกในนครเวนิส ปีค.ศใ 1156 สาเหตุหลักเพื่อให้คริสตจักรยืมเงินไปใช้ในการทำสงครามครูเสด และให้เจ้านครเวนิสเอาไปทำสงครามการเดินเรือเพื่อคุมเส้นทางการค้า
  • นอกจากทำการค้าขายกับอาหรับ ยังมีการค้าขายกับจีน ผ่านเส้นทางสายไหม
  • ณ เวลานั้นจีนเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่ มีสิ่งประดิษฐ์มากมาย ทั้งผ้าไหม เข็มทิศ กระดาษ ธนบัตร
  • การค้าขายกับจีนเฟื่องฟู ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น ก็คือ มาโคโปโล ที่ได้เล่าเรื่องราวอันน่าอัศจรรย์ต่างๆของจีน
  • ชาวยุโรปได้ศึกษาวิทยาการใหม่ๆ แต่ความเจริญในเส้นทางการค้า ก็ทำให้เกิดสิ่งร้ายแรง นั่นคือการระบาดของกาฬโรค

2. Black Death ค.ส. 1300 – ค.ส. 1399

  • กาฬโรค มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยบนหมัดหนู มีรายงานระบาดครั้งแรกในจีน แพร่มาตามเส้นทางสายไหม เข้าสู่ยุโรป ในปี 1347
  • โรคร้ายนี้ลามไปทั่วเมือง Messina ศูนย์กลางการค้าของอิตาลี ปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญคือสภาพบ้านเมืองในขณะนั้นที่สกปรก ระบบสุขอนามัยย่ำแย่ มีหนูอาศัยอยู่มากมาย และระบาดจากอิตาลี ไปจนทั่วยุโรป
  • กาฬโรคกินระยะเวลาระบาดตั้งแต่ 1347-1353 โดยไม่มียารักษา มีคนเสียชีวิตจากโรคนี้สูงถึง 75 ล้านคนทั่วโลก เป็นประชากรยุโรป 25 ล้านคน คิดเป็น 1 ใน 3 ของประชากรยุโรปทั้งหมด
  • แม้จะเสียประชากรไปมาก แต่มันทำให้มีปัจจัยต่างๆเช่น อาหาร ที่ดิน เหลือมากขึ้นแก่ผู้รอดชีวิต มีแรงงานลดลง ค่าแรงเพิ่มขึ้น และขุนนางจำนวนมากเสียชีวิต ทำให้ระดับ Feudalism เสื่อมอำนาจลง
  • ผู้คนหลุดพ้นจากการผูกติดที่ดินทำกินกับขุนนาง ย้ายถิ่นฐานกันมากขึ้น หลายๆคนผันตัวมาเป็นพ่อค้าและช่างฝีมือ
  • นครรัฐฟลอเรนซ์ ขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการค้า แทนที่เมืองเวนิส ซึ่งตระกูลเมดิซี เป็นตระกูลพ่อค้าที่มั่งคั่งที่สุด ก็เป็นผู้ปกครองนครรัฐฟลอเรนซ์นี้ และได้ก่อตั้ง Medici Bank ขึ้นมาในปี 1397
  • ธนาคารแห่งนี้เป็นรากฐานสำคัญของระบบธนาคาร มีการพัฒนา
    • ระบบบัญชีคู่ : บันทึก Debit , Credit ทำให้พ่อค้ารู้ว่าเงินที่ได้มาเสียไปเป็นอย่างไร
    • ตราสารเครดิต (Letter of credit) : ตราสารที่ออกโดยธนาคารเป็นสื่อกลางสร่้างความมั่นใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายว่าจะได้รับสินค้าตามช่วงเวลา และผู้ขายจะได้เงินตามจำนวนที่กำหนด
    • บริษัทโฮลดิง (Holding Company) : บริษัทที่ทำธุรกิจโดยมีรายได้จากการถือหุ้นบริษัทอื่นเป็นหลัก เป็นต้นแบบของการซื้อและควบรวมกิจการของโลกธุรกิจในเวลาต่อมา
  • นอกจากเรื่องวางรากฐานระบบธนาคารแล้ว ตระกูลเมดิซียังนำเงินมาอุปถัมศิลปิน สถาปนิก เกิดสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม แนวคิดต่างๆมากมาย เป็นยุคแห่งปัญญา นำพายุโรปสู่ยุค Renaissance

3. เรอเนซองซ์  คส. 1400 -1499

  • ในยุคนี้ สินค้านำเข้าที่มีมูลค่ามากที่สุดคือเครื่องเทศ ซึ่งมีคุณสมบัติในการถนอมอาหาร ในสมัยที่ยังไม่มีตู้เย็น ยุโรปไม่สามารถเพาะปลูกเองได้ จำต้องนำเข้าจากอินเดีย หรือ จากตะวันออกเฉียงใต้
  • เส้นทางการขนส่งเครื่่องเทศ จะต้องผ่านเมือง Constantinople (เมืองอิสตันบูลในปัจจุบัน) ซึ่งเดิมเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิ์ไบแซนไทน์ นับถือคริส และมีศิลปะแบบกรีกและโรมัน
  • แต่ในปี 1453 ก็ถูกยึดครองโดยชาวออตโตมันเตริ์ก ซึ่งนับถืออิสลาม และก่อตั้งจักรวรรดิ์ออตโตมัน
  • ปัญญาชนในกรุงคอนสแตนติโนเบิล ซึ่งมีความรู้ของกรีกละโรมัน ก็กลับมาอยู่ในนครรัฐต่างๆของอิตาลี ทำให้องค์ความรู้ทั้งศิลปะและวิทยาศาสตร์ของชาวกรีก โรมัน มาฟื้นฟูอีกครั้ง หลังจากเสื่อมลงไปในยุคมืด และเริ่มยุคแห่งการเกิดใหม่ (Renaissance)
  • ปี 1448 Johann Gutenberg ได้ประดิษฐ์แท่นพิมพ์ เพื่อจุดประสงค์หลักคือพิมพ์คัมภีไบเบิล แต่หนังสืออื่นๆก็ได้อานิสงค์ และมันทำให้ความรู้ได้ถูกแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว
  • กลับมาที่เครื่องเทศ เนื่องจากการค้านั้นต้องผ่านออตโตมัน และออตโตมันก็ได้ให้สัมปทานการค้ากับอิตาลีอีกทอดหนึ่ง ราคาเครื่องเทศจึงพุ่งทะยาน เป็นแรงผลักดันให้ชาวยุโรปชนชาติอื่นต้องหาทางไปเอเชียด้วยตนเอง ไม่ต้องผ่านอิตาลีและออตโตมัน
  • ทางเลือกใหม่ที่จะไปสู่เอเชีย จากยุโรป จึงเป็นการล่องเรือผ่านมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งยังเป็นเส้นทางปริศนา ในยุคซึ่งโลกยังถูกสำรวจไม่หมด
  • การจะสำรวจเส้นทางใหม่นี้จึต้องมีผู้สนับสนุนที่เพรียบพร้อม ในยุคนั้นก็คือรัฐชาติ ซึ่งมีอาณาเขตติกอยู่กับมหาสมุทรแอตแลนติก อันได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน และ โปรตุเกส

4. อินเดียคนละทวีป 1400 –1499

  • ในยุคสมัยนี้ จีนก็รุ่งเรื่องเช่นกัน มีการสร้างพระราชวังต้องห้าม มีกองทัพเรือขนาดใหญ่ นำโดยเจิ้งเหอ ซึ่งเดินทางออกทะเลนำสินค้าไปแลกเปลี่ยนทั่วทวีปเอเชีย อินเดีย และตะวันออกของแอฟริกา
  • ฝรั่งเศส
    • ทำสงครามร้อยปีกับอังกฤษ สิ้นสุดในปี 1453 รวบรวมอำนาจ ตั้งประเทศอังกฤษได้ ในสมัยของพระเจ้าหลยส์ที่ 11 แต่สงครามที่ยาวนาน ทำให้กำลังพลและเงินเหลือไม่พอจะทำโครงการใหญ่
  • อังกฤษ
    • หลังสงครามร้อยปีกับฝรั่งเศส ก็มีสงครามภายในเพื่อหาผู้ครองบัลลังก์ของอังกฤษ ระหว่าง 2 ราชวงศ์คือ ยอร์ก และ แลงคาสเตอร์ เรียกว่า สงครามดอกกุหลาย ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ 1455 –1487
    • ซึ่งผู้ชนะก็คือ เฮนรี จากตระกูลแลนคาสเตอร์
    • แต่เช่นเดียวกับฝรั่งเศส สงครามที่ยาวนานทำให้อังกฤษไม่สามารถทำ project ใหญ่ได้
  • โปรตุเกส
    • เป็นอาณาจักรเล็กๆที่คุ้นเคยกับมหาสมุทรแอตแลนติกอยู่แล้ว จึงมีความเชี่ยวชาญด้านการเดินเรือกว่าประเทศอื่น และเชื่อว่าหากเดินเรืออ้อมทวีปแอฟริกา ก็จะเดินทางไปถึงเอเชียได้
    • ในปี 1488 กับตันชาวโปรตุเกส Bartolomeu Dias ได้เดินเรือไปถึงจุด (ที่ขณะนั้น) เชื่อว่าใต้สุดของทวีปแอฟริกา Cape of Good Hope แต่ก็ไม่สามารถพ้นแหลมนี้ไปได้ เพราะลมพายุรุนแรง
    • จนปี 1498 Vasco da Gama ก็อ้อมแหลม Good hope สำเร็จ จนไปถึงอินเดียได้ ในปี 1498
  • สเปน
    • สเปนพัฒนาช้ากว่าโปรตุเกสในเรื่องการเดินเรือ การเดินเส้นทางเดียวกับโปรตุเกส จึงเป็นการตามหลัง
    • Chistopher columbus จึงเสนอว่า แทนที่จะขับเรืออ้อมแอฟริกา ก็ให้เดินเรือไปทางตะวันตก ข้าม atlastis ก็จะวนรอบโลกไปยังเอเชีย
    • ทำให้เกิดการค้นพบดินแดนใหม่ในปี 1492 ที่เขาเชื่อว่าเป็นประเทศอินเดีย
    • การค้นพบทั้งอินเดียจริงๆ และ อินเดียที่อยู่คนละทวีปของทั้งสเปนและโปรตุเกสนี้เอง กลายเป็นจุดเริ่มต้น ที่ทำให้โลกตะวันตก กำลังจะวิ่งแซงโลกตะวันออก

5. สนธิสัญญาแบ่งโลก ค.ส. 1500 – 1599

  • Christopher Columbus นำสัปปะรด ยาสูบ มะเขือเทศ กลับมาให้ชาวยุโรปได้เห็นเป็นครั้งแรก … แต่ไม่มีเครื่องเทศ (เพราะไปผิดที่)
  • จนภายหลัง มีนักเดินเรือชาวอิตาลีชื่อ Americo Vespusci ได้เดินเรือสำรวจ และพบว่าแท้จริงแล้ว นี่คือผืนแผ่นดินขนาดใหญ่ที่กั้นระหว่างเอเชียและยุโรป และตั้งชื่อทวีปนี้ว่า อเมริกา
  • ในส่วนของ Vasco Da Gama นั้น ได้ตั้งสถานีการค้าของโปรตุเกสที่อินเดีย และสามารถขนพริกไทยดำกลับมาได้เต็มลำ – การขนส่งพริกไทยครั้งนั้น ทำกำไรได้ถึง 6000%
  • ผลกำไรอันมหาศาลทำให้นักเดินเรือชาวโปรตุเกส และสเปน ต่างพยายามออกเดินทางเพื่อค้นหาดินแดนใหม่
  • สเปนไปสำรวจตอนกลางและตอนใต้ของทวีปอเมริกา
  • โปรตุเกส ค้นพบดินแดนทางจะวันออกของอเมิรกาตอนใต้ ซึ่งปัจจุบันคือ บราซิล เป็นแหล่งปลูกอ้อย เพื่อผลิตน้ำตาล
  • 2 ประเทศนี้สามารถขยายดินแดนได้อย่างรวดเร็ว จนนำมาสู่การทำข้อตกลงเพื่อแบ่งเขตอิทธิพลโลกใบนี้ เพื่อป้องกันความขัดแย้ง เรียกว่า สนธิสัญญาตอร์เดซิยัส (Treaty of Tordesillas) โดยแบ่งโลกเป็น 2 ส่วน ตามเส้นสมมติที่ลากผ่านใจกลางของทวีปอเมริกาใต้
    • สเปนได้ดินแดนทางตะวันตกของเส้น : นั่นคือทวีปอเมริกาฝั่งตะวันตก จนสิ้นสุดที่ ฟิลิปปิน
    • โปรตุเกสได้ดินแดนทางตะวันออก ตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของเมริกา ไปแอฟริกา อินเดีย SEA สิ้นสุดที่หมู่เกาะโมลุกกะ
  • สเปนได้ดินแดนทวีปใหม่เยอะกว่า แต่ไม่มีเครื่องเทศ แต่ได้พบกับอารยธรรมเก่าแก่ของคนพื้นเมือง หนึ่งในนั้นคือ Aztec Empire ซึ่งมีสิ่งที่มีคุณค่าเทียบเท่าเครื่องเทศ นั่นคือ ทองคำ
  • สเปนมีอาวุธที่ดีกว่า จึงเอาชนะชาวพื้นเมืองอเมริกาได้อย่างง่ายดาย แม้จะมีจำนวนน้อยกว่า ผนวกกับสิ่งที่สเปนนำมาด้วย คือไข้ทรพิษ ทำให้ชนพื้นเมืองอเมริกา จาก 40 ล้านคนในปี 1500 ลดเหลือเพียง 10 ล้านคน ในปี 1550
  • สเปนซึ่งชนะแอซเท็กอย่างง่ายดาย จึงได้ทองคำมหาศาล
  • อย่างไรก็ตาม ในเวลานั้น ศูนย์กลางการค้าของยุโรปกลับอยู่ที่เมือง Antwerp ซึ่งปัจจุบันเป็นเมืองในประเทศเบลเยี่ยม ภายในเวลานั้นคือภายใต้การปกครองพระเจ้าเฟลิเป (ฟิลลิปปินมาจากชื่อกษัตริองค์นี้) และเรียกดินแดนของเบลเยียมและเนเธอแลนซึ่งใกล้เคียงกันว่า แฟลนเดอร์ส (Flanders)
  • แฟลนเดอร์สเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นศูนย์รวมของช่างฝีมือ
  • แล้วอิตาลีหละ?
    • นครรัฐฟลอเรนซ์ที่เคยรุ่งเรือง ก็ตกต่ำ ถูกประชาชนปฏิวัติขับไล่ และผู้ปกครองนครถูกลอบสังหาร ในปี 1537
    • ส่วนเวนิชก็อยู่ในสภาพล้มละลาย เพราะผู้ปกครองกู้เงินมามากเพื่อทำสงครามกับออตโตมันเติร์ก แต่แพ้ไป
  • พ่อค้า นายธนาคารหลายคนจึงอพยพมาอยู่เหนือ มาที่ Antwerp มันจึงเป็นศูนย์กลางกาค้าไปโดยปริยาย
    • เกิดตลาดหลักทรัพย์แห่งแรกของโลก ที่เมืองแอนเวิป ชื่อว่า Flanders Van de Bourse ในปี 1531
    • แต่ความรุ่งเรืองของแอนเวิปก็อยู่ได้ถึงปี 1585 เพราะพ่อค้าและนายธนาคารจำนวนมากถูกกษัตริย์สเปนขับไล่ สาเหตุสำคัญคือความขัดแย้งทางศาสนา
    • เลยเกิดศูนย์กลางการค้าใหม่ที่ชื่อว่า Amsterdam

6. เศรษฐกิจและศาสนา 1500 – 1599

  • ช่วงศตวรรษที่ 16 องค์กรที่มีอิทธิพลมากสุดในยุโรป คือ ศาสนจักร เป็นทั้งศูนย์รวมทางจิตใจ และเป็นผู้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วยุโรป ศาสนาจักรก็คือนิกายโรมันคาทอลิก มีศูนย์กลางอยู่ที่โรม และมี Pope เป็นประมุขสูงสุด
  • ด้วยอำนาจล้นเหลือ พระสันตะปาปาและบาทหลวงหลายรูปมีความเป็นอยู่รำรวย ใช้ความศรัทธาประชาชนมาหารายได้ สร้างความหรูหราได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เช่น การขายใบไถ่บาป ใช้อำนาจในการเก็บภาษีบำรุงศาสนาจากทุกคนที่อยู่ในคริสจักร
  • ศาสนาคริส ซึ่งได้กลายเป็นศูนย์รวมจิตใจอันสำคัญของชาวยุโรป มีอิทธิพลมากเกินไป เปิดช่องว่างให้ศาสนจักรและนักบวชหาเงินจากความศรัทธา มาใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย จนมีบาทหลวงรูปหนึ่งลูกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงคริสตจักรให้เข้าสู่โฉมใหม่ บาทหลวงคนนั้นคือ มาติน ลูเธอ ไม่พอใจกับการขายใบไถ่บาป จึงได้ประกาศจุดยืนต่อต้านคริสตจักรในปี 1517 ด้วย ซึ่งเหล่าปัญาชน ชาวนาหลายคนต่างสนับสนุนแนวคิดของลูเธอ นำมาสู่การปฏิรูปศาสนา เกิดคริสตนิกายใหม่ ที่เรียกว่านิกายลูเธอรัน ส่วนในอังกฤษก็มีการตั้งนิกายใหม่ ชื่อว่า แองกลิคัน และทั้งนิกายลูเธอรัน และ แองกลิคัน ถูกเรียกรวมกันว่า นิกายโปรเตสแตนส์ (ผู้ต่อต้าน)
  • สเปน เป็นราชอาณาจักรคาทอลิกที่มีขนาดใหญ่และมั่นคงที่สุดในเวลานั้น จากการยึดครองทวีปอเมรริกา และทองคำมากมาย แต่ความมั่งคั่งถูกนำไปใช้กับการก่อสงคราม โดยเฉพาะกับฝรั่งเศส -> ทำให้ สเปนมีหนี้มหาศาล วิธีแก้ จึงขึ้นภาษี
  • ผลจึงตกไปแก่ศูนย์กลางการค้าที่มั่งคั่งที่สุดในยุโรป ณ ขณะนั้น คือ ดินแดน Flanders
  • การปฏิรูปศาสนา ทำให้พ่อค้าและนายธนาคารจำนวนไม่น้อยได้เปลี่ยนมานับถือนิกายโปรเตสแตนส์ เหตุหนึ่งเพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายภาษีบำรุงศาสนาให้พระสันตะปาปา ทำให้ผู้ปกครองของ Flanders ไม่พอใจ จับกุมคนที่เปลี่ยนศาสนา
  • เหล่าพ่อค้า จึงหนีจากเมือง Antwerp ศูนย์กลางของดินแดน Flander ขึ้นเหนือไปยังเมืองของชาวดัตช์ ที่มีชื่อว่า Amsterdam
  • Amsterdam แม้จะอยู่ภายใต้การปกครองของสเปน แต่ชาวดัตท์ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น ใจกว้างและยอมรับเสรีภาพในศาสนา ทำให้ดึงดูดเหล่าพ่อแค้าและนายธนาคารจากแอนเวิป และโปรเตสแตนทั่วยุโรป
  • การประกาศขึ้นภาษีของสเปน ทำให้พ่อค้าชาวดัตท์มากมายต่อต้าน ก่อจราจล จนพระเจ้าเฟลิปเปส่งกองเรือสเปนมาทำสงคราม ในปี 1568
  • เกิดเป็นสงคราม 80 ปี จบลงด้วยเอกราชของเนเธอแลนด์ จัดตั้งเป็น Republic of the seven united netherlands
  • นอกจากเนเธอแลน สเปนยังมีศัตรูอีกหนึ่งประเทศ คืออังกฤษ ซึ่งนอกจากจัดตั้งนิกายแองกลิคันแล้ว ยังมีโจรสลัดที่คอยดักปล้นกองเรือของสเปน
  • 1588 สเปนยกกองเรือกว่า 150 ลำ บุกถึงเกาะอังกฤษ
  • แต่อังกฤษได้ผูกมิตรกับเนเธอแลน ต่อสู่กับสเปน และได้รับชัยชนะ ปิดฉากมหาอำนาจของเสปน
  • เปิดฉากการเดินทางสู่โลกใหม่ ของอังกฤษ และเนเธอแลน ซึ่งเนเธอแลนนั้นเป็นดินแดนของการค้าอยู่แล้ว จึงไปได้ไกลและเจริญกว่าอังกฤษ ในเวลาเดียวกัน
  • ชาวดัตซ์สร้างอาณานิคม ก่อตั้งยริษัทการค้าทั่วโลก นำไปสู่้การเปลี่ยนแปลงทางการเงินครั้งใหญ่ที่สุดในโลกตะวันตก

7. ฟองสบู่แรกของมนุษยชาติ 1600 –1699

  • ศตวรรษที่ 17 คือยุคทองของเนเธอร์แลนด์ จุดศูนย์กลางคือเมือง Amsterdam
  • การเดินเรือเพื่อค้าขายไปรอบโลก คือกิจการที่สร้างกำไรได้มหาศาล แต่มีต้นทุนสูง
  • พ่อค้าในยุคนั้น จึงแก้ปัญหาจัดหาทุน ด้วยการจัดตั้ง ตลาดหุ้น ในปี 1602
  • ระบบตลาดหุ้น ก่อกำเนิดบริษัท VOC ซึ่งภาษาไทยมีชื่อว่า บริษัท ดัตช์ อีสต์ อินเดีย
  • บริษัทใช้การค้าแบบระบบบริษัทจำกัดแบบสมัยใหม่ และมีสิทธิ์ในการดำเนินการต่างๆได้เอง โดยไม่ต้องขอนุญาติจากประเทศแม่ เพราะต้องใช้เวลานาน
  • VOC มีกองกำลังของตัวเอง ประกาศสงครามได้ ตัดสินคดีความได้ ทำอะไรใดๆก็ได้ ที่จะมีประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น
  • ธุรกิจเดินเรือเจริญรุ่งเรือง มีเงินทุนไหลมามากมาย ชาวดัตซ์ออกเดินเรือไปดินแดนต่างๆรอบโลก ค้นพบออสเตรเลีย ตั้งสถานีการค้าที่ฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกา ชื่อว่า New Amsterdam ที่ต่อมากลายเป็น New York
  • ส่วนในเอเชีย ชาวดัตก็มาทั้งอินเดีย ศรีลังกา เกาะชวา อยุธยา และไปถึงญี่ปุ่น
  • ปี 1600 ญี่ปุ่นอยู่ภายใต้การปกครองของโชกุนอิเอยาสุ โทกุงาวะ ปกครองญีุ่่นเด็ดขาด กลัวอิทธิพลศาสนาจากต่างชาติ ทำให้มีนโยบายแยกตัวโดดเดี่ยว ตั้งแต่ปี 1633 และดำเนินนโยบายนี้ต่อไปจนถึง 200 ปี
  • นอกจากญี่ปุ่น ชาวดัตก็ตั้งเมืองท่าค้าขายกับจีน ที่เกาะฟอโมซา หรือปัจจุบันคือไต้หวัน มีสินค้าสำคัญคือเครื่องลายคราม และใบชา
  • นอกจากจีน มีการค้าดอกไม้ชนิดหนึ่งจากออตโตมัน คือดอกทิวลิป
  • ดอกทิวลิปเป็นดอกไม้ที่สวยงาม แปลกใหม่ มีราคาสูง มีคนต้องการเป็นจำนวนมาก ไปๆมาๆ ราคาดอกทิวลิปสูงมากขึ้นเรื่อยๆ จากการแห่เก็งกำไร จนเกิดฟองสบู่แตก ดอกทิวลิปหมดค่าไปอย่างรวดเร็วในเวลา 3 เดือน
  • VOC เป็นบริษัทที่เจริญเติบโตมั่งคั่ง กลายเป็นบริษัทที่ผูกขาดการค้า ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับประเทศเพื่อนบ้าน นั่นคือ อังกฤษ และฝรั่งเศส นำไปสู่สงคราม ผลคือความพ่ายแพ้ของเนเธอแลน และสิ้นสุดยุคทอง
  • โลกได้ 2 ประเทศผู้นำมหาอำนาจคู่ใหม่
  • อังกฤษออกเดินทางขยายอำนาจ ขยายยริษัท British East India ไปทั่วโลก ยึดอาณานิคมต่างๆของชาวดัตช์ เมือง New Amsterdam เปลี่ยนชื่อเป็น New York
  • ฝรั่งเศษก็ตั้งอาณานิคมในทวีปอเมริกาด้วย และได้สร้างกองทัพบกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุโรป

8. ครองเทคโนโลยี คือ ครองโลก 1600 – 1699

  • ความเจริญทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ก่อให้เกิดความเจริญทางเทคโนโลยี
  • ผู้ที่ครองเทคโนโลยี ก็จะพร้อมจะครองโลก ซึ่งในสมัยนั้น ก็คือประเทศอังกฤษ
  • อาณานิคมในทวีปอเมริกา คือเหยื่อรายแรก อังกฤษได้ครอบครองดินแดนบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกา มีอาณานิคมแห่งแรกคือ เมืองเจมส์ทาวน์ รัฐเวอจิเนีย ในปี 1607 และก่อตั้งมหาวิทยาลัย Harvard ในปี 1636 บริเวณทางตอนเหนือของรัฐเวอจิเนีย
  • แน่นอน เมือ New Amsterdam ของชาวดัดช์ ก็ถูกยึดครอง และเปลี่ยนชื่อเป็น New York
  • แม้ดินแดนอเมริกาเหนือไม่มีขุมทรัพทองคำเช่นอเมริกาใต้ แต่มีทองคำสีเขียว นั่นคือ ยาสูบ ซึ่งกลายเป็นรายได้หลักของอาณานิคม สร้างความมั่งคั่งให้ดินแดนอาณานิคมนี้มหาศาล ขยายขนาดอาณานิคมมากขึ้นจนเป็น 13 แห่ง
  • ตัดกลับมาในอังกฤษ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญ จากมูลเหตุที่กษัตริย์มักเพิกเฉยต่อกฏหมายที่ออกโดยสภา ทำให้สุดท้าย พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 ลงนามใน Bill of Right โดยมีใจความสำคัญว่าห้ามกษัตริย์ ใช้อำนาจ เพื่อออกหรือยกเลิกกฏหมายใดๆ โดยที่สภาไม่อนุมัติ
  • เรียกการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนี้ว่า Glorious Revolution ทำให้อังกฤษเป็นประเทศแรก ที่มีกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ปูพื้นฐานประเทศ สู่ประชาธิปไตย
  • อย่างไรก็ตาม ชาวอาณานิคมกลับถูกกฏหมายภาษีขูดรีดมากขึ้นเรื่อยๆ จนความอดกลั้นเดินทางมาถึงจุดสิ้นสุด
  • ชาวอาณานิคมทั้งสิบสามแห่ง รวมกันประกาศอิสรภาพ แยกตัวออกจากอังกฤษ ตั้งประเทศใหม่ เรียกว่า สหรัฐอเมริกา

9. กำเนิดสหรัฐอเมริกา 1700 – 1799

  • ดินแดนอเมริกานั้นมีพื้นที่กว้างใหญ่ เป็นแหล่งเพาะปลูกพืชที่สำคัญ โดยเฉพาะอ้อย และยาสูบ
  • จะเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ก็ต้องใช้แรงงานมาเพิ่ม แต่ชาวพื้นเมืองของทวีปนี้ดันตายจากสงครามและโรคระบาดไปเยอะแล้ว จึงทำให้เกิดการนำเข้า ทาส จากแอฟริกา
  • จุดเริ่มต้นของการค้าทาส มาจากการที่พ่อค้าชาวโปรตุเกสทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากับผู้ปกครองอาณาจักรในแอฟริกา ระหว่างผ้าขนสัตว์ อาวุธ กับ ทาสชาวแอฟริกัน
  • ในทวีปแอฟริกานี้ แรกๆ ทาสก็ถูกนำเข้ามาโดยชาวสเปนและโปรตุเกส ตามมาด้วยชาวอังกฤษ
  • การนำเข้าทาสของอักฤษเพิ่มอย่างรวดเร็ว จาก 5000 คนต่อปี ในปี 1685 ไปจนถึง 45000 คนต่อไป ในช่วงต้นของ 1700
  • ส่วนฝรั่งเศสนั้น ก็มีส่วนแบ่งในดินแดนเหมือนกัน แต่อยู่ลึกไปข้างในทวีป ตั้งแต่แถบ Quebec ถึง ที่ราบลุ่มมิสซิสซิปปี
  • นำไปสู่การขัดแย้งกัน ระหว่างอาณานิคมอังกฤษและฝรั่งเศส เกิดสงคราม ตั้งแต่ 1756 – 1763 ผลคืออังกฤษชนะ และได้ดินแดนแคนาดาของฝรั่งเศส
  • อังกฤษกลายเป็นเจ้าอาณานิคมในอเมริกาเหนือ
  • สงครามทำให้สูญเสียงบไปมหาศาล อังกฤษจึงหารายได้เพิ่ม โดยเก็บภาษีจากชาวอาณานิคม ทำให้ชาวอาณานิคมไม่พอใจ และเกิดการประท้วง จนมาถึงแตกหักในปี 1773 ที่มี พรบ ลดภาษีใบชาของอังกฤษ เนื่องจากบริษัท british east india ขาดทุนอย่างหนัก จึงลดภาษีใบชาที่ค้างสต็อตกว่า 18 ล้านปอน ใบชาอังกฤษถูกลงมาก เทียบกับใบชาของอาณานิคม
  • พ่อค้าในเมืองบอสตันไม่พอใจอย่างมาก รวมตัวกันเป็นชาวอินเดียนแดง ลักลอบขึ้นเรือบรรทุกใบชาอังกฤษ แล้วทิ้งลงทะเลทั้งหมด เรียกเหตุการนี้ว่า Boston Tea party
  • เหตุการนี้ทำไปสู่การปิดท่าเรือบอสตัน ตัวแทนทั้ง 13 อาณานิคม ประชุมกันในเมืองฟิลาเดลเฟีย ปี 1774 นำไปสู่การคว่ำบาตสินค้าอังกฤษทุกประเภท
  • 1776 มีการประชุมครั้งที่ 2 และ Thomas Jefferson ได้ร่างคำประกาศอิสรภาพ ประกาศตนแยกออกจากจักรวรรดิอังกฤษ ถือกำเนิดประเทศสหรัฐอเมิรกา
  • แน่นอนว่าอังกฤษไม่ยอมรับ และเกิดสงครามยาว 7 ปี อเมริกามีฝรั่งเศสมาช่วย สงครามสร้างความเสียหายให้ทั่งคู่ จนอังกฤษยอมรับเอกราชสหรัฐในปี 1789
  • George Washinton ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนแรก
  • แต่การกำเนิดของอเมริกาไม่ได้ทำให้อังกฤษเสื่อมถอยลง
  • ในปี 1757 ผู้บัญชาการสูงสุดของบริษัท British east india ได้นำกองทหารยึดครองแคว้นเบงกอง ซึ่งร่ำรวยสุดในอินเดีย ให้ตกเป็นของอังกฤษ
  • ณ ตอนนี้ อังกฤษมีดินแดนของแคนาดา ในอเมริกาเหนือ เบงกอลในอินเดีย ฝั่งตะวันตกของแอฟริกา และได้ยึดครองทวีปออสเตรเลีย อังกฤษเป็นประเทศที่มีประชากรเพียง 10 ล้านคน ในปลายศตวรรษ 18 แต่กำลังขยายอาณาเขตครองโลก
  • กลับมาที่ฝรั่งเศส ขณะนั้นมีประชากร 28 ล้านคน มากสุดในยุโรปตะวันตก ซึ่งก็ก่อสงครามมานับไม่ถ้วน แต่ตามมาด้วยภาระหนี้สินมหาศาล
  • ความล้มเหลวทางการเงิน นำมาซึ่งความอดอยากของผู้คน และก่อกำเนิดศัตรูที่ทรงพลังที่สุด คือ พลังประชาชนของตนเอง

10. จากฟองสบู่ สู่ปฏิวัติฝรั่งเศส 1700-1799

  • อังกฤษ และ ฝรั่งเศส ห้ำหั่นกันยาวนาน มีการใช้เงินไปมากมาย มีหนี้สินมากมาย
  • อังกฤษ กู้เงินมากมายในรูปแบบพันธบัตร หนี้สินมากมาย จึงตั้งบริษัท South Sea Company เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของรัฐบาล โดยมีโมเดลคือ ให้เจ้าหนี้ของรัฐบาลอังกฤษ เปลี่ยนหนี้ที่ค้างไว้ มาเป็นหุ้นของบริษัทแทนได้ (นำBondอังกฤษ มาแลกเป็น หุ้นของ South Sea)
  • ส่วนรัฐบาลก็จะมอบสัมปทานการผูกขาดการค้าทั้งหมดในแถบทะเลใต้ นั่นคือ มหาสมุทรแอตแลนติกในแถบทวีปอเมริกาใต้ ให้กับบริษัท ซึ่งบริษัททำการค้าหากำไรหลัก จากการค้าทาส และค้าฝ้าย
  • ธุรกิจของบริษัทก็แค่ทรงๆ แต่ราคาหุ้นกลับพุ่งทะยาน จากไม่กี่ 10 ปอน ไปถึง 1000 ปอนในเวลาไม่กี่ปี
  • ผู้ถือหุ้นของบริษัท South Sea มีมากมาย ไม่เว้นแม้แต่ขุนนาง ประชาชน รวมไปถึง sir Isaac newton (ซึ่งติดดอยไปเต็มๆ)
  • จนเมื่อกิจการคงไปไม่ถึงมูลค่าที่คาดหวัง insider ก็เริ่มขายหุ้นออกมา เพื่อข่าวหลุดมาภายนอก คนก็แย่งขายหุ้นกันหนีตาย
  • บริษัทนี้ล้มละลาย ในปี 1720 (สิริอายุ 9 ปี) เป็นฟองสบู่ของอังกฤษ
  • ฝรั่งเศสไม่น้อยหน้า มีฟองสบู่เหมือนกัน เรียกว่า ฟองสบู่ Mississippi
  • เริ่มต้นจากที่ John Law นักเศรษฐศาสตร์ชาวสก็อตแลน เข้ามาเป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้รัฐบาล ซึ่งกำลังมีหนี้มาหศาล
  • ลอร์สนับสนุนให้มีการแทรกแซงของรัฐบาลในการบริหารประเทศ และแนะนำให้ใช้ Fiat currency แทนใช้โลหะที่มีค่าในการซื้อขาย
  • ปี 1716 ลอร์จัดตั้งธนาคารกลาง เปิดให้ประชาชนเอาโลหะ ทองคำมาแลกกับเงินธนบัตรที่ธนาคารออกให้
  • Law ได้เข้าซื้อบริษัทในลุยเซียน่า ซึ่งขณะนั้นเป็นดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศส
  • Law รับซื้อหนี้รัฐบาลที่เหลืออยู่ จากประชาชน ด้วยหุ้นของบริษัท missisippi
  • ราคาหุ้นตอนแรกคือ 500 Livres เพิ่มขึ้นเป็น 10000 livre ใน 1 ปี เหตุผลหนึ่งเพราะคนเชื่อว่าบริษัทนี้จะขุดเงินและทองคำได้อย่างมหาศาลจากดินแดนแห่งนั้น (ซึ่งในความเป็นจริง มีแต่ดิน)
  • การเอาหุ้นแลกหนี้นี้ ทำให้รัฐบาลปลดหนี้ทั้งหมด
  • และเนื่องจากจะซื้อหุ้นได้ ต้องใช้เงินที่ธนาคารพิมเท่านั้น จึงมีการผลิตเงินเพิ่มถึง 186% ซึ่งเงินที่พิมเพิ่มออกมานั้น มีจำนวนมากกว่าทองคำที่เก็บสำรองในธนาคารถึง 4 เท่า
  • ปัญหาเริ่มเกิดขึ้น เมื่อคนต้องการแลกเงินกลับมาเป็นทองคำ แรกๆจึงมีมาตรการจำกัดจำนวนทองที่แลกได้ต่อวัน หลังๆก็มีการประกาศลดมูลค่าหุ้นและธนบัตรลง เพราะทองสำรองขาดแคลน
  • เงินจำนวนมหาศาลที่พิมออกมา ทำให้เงินเฟ้อของฝรั่งเศสพุ่งถึง 23% ต่อเดือน ไม่นาน john law ก็หนีออกจากประเทศ ประชาชนฝรั่งเศส เหลือแต่เงินกระดาษที่ไม่มีค่าอันใด
  • ฟองสบู่ฝรั่งเศสนี้ ทำให้เศรษฐกิจฝรั่งเศสพินาศย่อยยับ ประเทศล้มละลาย รัฐหาเงินวิธีอื่นไม่ได้ จึงขึ้นภาษี
  • ผู้เสียภาษีของฝรั่งเศส คือชนชั้นที่ 3 สามัญชนทั่วไป ส่วนชนชั้น 1 และ 2 คือกษัตริย์และนักบวช ไม่ต้องเสียภาษีใดๆ
  • ความเหลื่อมล้ำที่มากขึ้น ประชาชนก็หมดความอดทน วันที่ 14 กค 1789 ประชาชนในกรุงปารีสบุกยึดคุกบาสตีล กำเนิดการปฏิวัติฝรั่งเศส ที่กินระยะเวลาอยู่ 2 ปี ปิดฉากระบบกษัตริย์ในฝรั่งเศส ด้วยการประหารชีวิตพระเจ้าหลุยที่ 16 และราชินีมารี อ็องตัแนต ด้วยกิโยติน ในปี 1793
  • ระหว่างที่ฝรั่งเศสวุ่นวายกันอยู่นี้เอง อังกฤษได้คิดสิ่งที่ทำให้เผ่าพันธ์มนุษย์พัฒนาการแบบก้าวกระโดด

11. ปฏิวัติอุตสาหกรรม 1780 – 1829

  • การปฏิวัติอุตสาหกรรม คือการที่ งาน ไม่ได้มาจากผลคูณของ ปริมาณแรงงาน และ เวลา เท่านั้น อีกต่อไป
  • ทำไมการปฏิวัติอุตสาหกรรม เกิดที่อังกฤษ?
    • ความพร้อมที่ 1 : ทุนความรู้ จากทั้งการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ และการมีกฏหมายเกี่ยวข้องกับสิทธิบัติในอังกฤษ กระตุ้นการต่อยอดพัฒนาสิ่งต่างๆมากมาย
    • ความพร้อมที่ 2 : วัตถุดิบและตลาด ดินแดนอาณานิคมของอังกฤษในช่วงนั้น มีวัตถุดิบสำคัฐคือ ฝ้าย ที่ถูกนำมาทำสิ่งทอ และถ่านหินมาผลิตพลังไอน้ำ
    • ความพร้อมที่ 3 : การขนส่งทางเรือ ในช่วงนั้นอังกฤษมีกองเรื่อจำนวนมาก และทรงอานุภาพทุสุดในโลก
    • ความพร้อมที่ 4 : การเมืองที่มั่นคง จาก Glorious Revolution ทำให้กษัตริอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ระบบการเมืองมั่นคง ขัดแย้งกันน้อย ไม่มีอุปสรรคภายใน
  • การประดิษเครื่องจักรไอน้ำ ของ jame watts ในปี 1776 เป็นจุดเริ่มต้นของยุค และมันถูกปรับเป็นนวัตกรรมต่างๆ เช่น เครื่องทอผ้า เครื่องคัดเมล็ดฝ้าย  รถจักรไอน้ำ
  • อังกฤษกำลังไปข้างหน้า แต่ดินแดนในยุโรปกำลังเจอปัญหาจากชายที่ชื่อว่า นโปเลียน
  • ความวุ่นวายภายในฝรั่งเศส การล้มระบอบกษัตริย์ ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านกลัวว่าการปฏิวัติจะแพร่มายังประเทศตน จึงประกาศสงครามกับฝรั่งเศส ซึ่ง นโปเลียน โบนาปาร์ต คือผู้นำในการกรบกับเพื่อนบ้าน และทำศึกชนะครั้งแล้วครั้งเล่า
  • นโปเลียน ทำรัฐประหาร และได้แต่งตั้งตนเป็นจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 มีจุดหมายจะทำให้จักรวรรดิฝรั่งเศส ยิ่งใหญ่เช่นโรมันในอดีต จึงเปิดสงครามขยายอาณาเขตฝรั่งเศสไปทั่วยุโรป และพบความพ่ายแพ้ที่รัสเซีย
  • สงครามครั้งนี้ ทำให้ยุโรปมมีการจัดระเบียบใหม่ กำเนิดประเทศต่างๆ ส่วนการหมดอำนาจของประเทศยิ่งใหญ่ เช่น สเปน ก็ทำให้อาณานิคมในทวีปอเมริกาใต้ทำสงครามประกาศเอกราช ก่อตั้งประเทศเช่น เม็กซิโก เวเนซุเอล่า เปรู โบลิเวีย
  • การปฏิวัติทางอุตสาหกรรม ที่เริ่มจากอังกฤษ ก็ไปถึงประเทศต่างๆในยุโรป และอเมริกา
  • มันทำให้ทรัพยากรแรงงานมนุษย์ลดความสำคัญลง ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ไม้ ถ่านหิน เหล็ก แร่ธาตุต่างๆ มีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในสายการผลิต
  • ทรัพยากรต่างๆนี้ หาได้ในทวีปที่ล้าหลังกว่า นั่นคือ ทวีปเอเชีย

12. จักรวรรดิที่พระอาทิตย์ไม่ตกดิน 1830 – 1885

  • ความต้องการทรัพยากรมาป้อนโรงงานในยุโรป ทำให้เหล่าประเทศที่เจริญกว่า หลั่งไหลมายึดทรัพยากรจากโลกตะวันออก ด้วยการติดต่อให้ประเทศเหล่านั้นเปิดการค้าเสรี ถ้าไม่ยอม ก็จะมีกองทัพมาบังคับให้เปิดประเทศ หรือ ยอมไม่ยอมยังไง ก็ถูกยึดเป็นอาณานิคมไปเลย
  • เกิดเป็นลัทธิจักรวรรดินิยม
  • อังกฤษที่สูญเสียอาณานิคมอย่างสหรัฐอเมริกาไป ก็ต้องหาที่ใหม่ มีเหยื่อในเอเชียคือ
    • อินเดีย ดินแดนอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเพาะปลูกฝ้ายที่สำคัญเพื่อป้อนโรงงานอังกฤษ แทนสหรัฐอเมริกาที่เสียไป รัฐบาลเข้าคุมอินเดียโดยตรง เรียกดินแดนนี้ว่า British Raj
    • จีน : อังกฤษนำฝิ่นเข้ามาหาย ทำให้คนจีนเกือบ 12 ล้านคน ติดฝิ่นงอมแงม ส่งผลให้อาชญากรรมขึ้นสูง จนจักรพรรดิในสมัยนั้นสั่งยุติการค้ากับอังกฤษ
    • ผลคืออังกฤษก็ยกทัพเรือมาถึงกวางตุ้ง เกิดสงครามกับจีนในปี 1840 เรียกว่า สงครามฝิ่น แน่นอนว่าจีนแพ้ ทำสนธิสัญญานานกิง ยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษในปี 1842
    • พม่า : กษัตริพม่าพยายามขยายดินแดน ไปชนกับอินเดียของอังกฤษ นำมาสู่สงคราม อังกฤษยึดดินแดนพม่าได้เรื่อยๆ จนพม่าตกเป็นของอังกฤษสมบูรณ์ในปี 1885
    • มาลายา : เดิมบริเวณนี้เป็นอาณานิคมของเนเธอแลนด์ ซึ่งอังกฤษเข้ามายึดครองจนเบ็ดเสร็จ ในปี 1867
  • ในยุครุ่งเรื่อง อังกฤษได้ยึดครองดินแดน ตั้งแต่แคนาดาในอเมริกาเหนือ กายอานาในอเมริกาใต้ ไอร์แลนและมอลตาในยุโรป เคปทาวในแอฟริกา อินเดีย ฮ่องกง พม่า มาลายา ในเอเชีย ออสเตรเลีย นิวซีแลน และหมู่เกาะในสมหาสมุทรแปซิฟิก
  • จักรวรรดิอังกฤษ จึงได้ชื่อว่า จักรวรรดิที่พระอาทิตย์ไม่ตกดิน
  • ครองสุเอซ สร้างเสร็จในปี 1869 ร่นระยะเวลาเดินทางยุโรปไปเอเชียได้อย่างมหาศาล
  • ลอนดอนกลายเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในปี 1881
  • การขยายตัวของอุตสาหกรรมทำให้เกิดชนชั้นแรงงานในเมือง เกิดการขยายกิจการผ่านระบบร่วมทุนในตลาดหุ้น ออกกฏหมายร่วมหุ้นในบริษัท (Joint stock companies act ) ในปี 1856 เป็นศูนย์กลางการเงินของโลก
  • ประเทศอื่นๆ ก็เจริญรอยตามอังกฤษ
  • ฝรั่งเศส
    • หลังนโปเลียนแพ้ไป ฝรั่งเศสก็ยังปกครองด้วยกษัตริย์
    • ฝรั่งเศสเริ่มก่อจักรวรรดิตนเองในเอเชีย ยึดดินแดนตอนใต้ของเวียดนามเป็นอาณานิคม ตั้งศูนย์กลางที่เมืองไซง่อน
  • จักรวรรดิเยอรมัน
    • รวมตัวกันในปี 1871พัฒนาอุตสาอุตาหกรรมถ่านหิน เหล็กกล้า ขยายรางรถไฟทั่วประเทศ ค่อยๆขึ้นมาเป็นผู้นำอุตสาหกรรมในยุโรป
  • อเมริกา
    • ค้นพบทองคำในแคลิฟอเนีย ในช่วงปี 1848 – 1855 เรียกยุคนี้ว่า ช่วง Gold Rush
    • รัฐทางเหนือมีโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนรัฐทางใต้เน้นเพาะปลูกฝ้ายและอ้อย
    • การประกาศเลิกทาส นำมาซึ่งสงครามระหว่างรัฐเหนือและใต้ จบที่ทางใต้พ่ายแพ้ ยอมให้การเลิกทาส
    • อุตสาหกรรมขยายตัวรวดเร็ว รับผู้อพยพมากขึ้นจากยุโรป ที่หนีความแร้นแค้นมา ไม่ว่าจะคนอังกฤษ ไอริช เยอรมัน อิตาลี ทำให้ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จาก 1790 มี 7 ล้านคน ไป 50 ล้านคน ในปี 1880
  • ญี่ปุ่น
    • ประเทศแรกในเอเชียที่มีปฏิวัติอุตสาหกรรม เนื่องจาก การปฏิรูปเมจิ คือการเปิดรับวิทยาการใหม่ๆ จากตะวันตก การอุตสหกรรม การจัดการกองทัพ ปรับสังคมให้ก้าวรับกับการเปลี่ยนแปลง
    • จากประเทศเล็กๆที่ไม่มีทรัพยากรมาก ก็กลายมาเป็นมหาอำนาจแห่งเอเชีย

13. ขีดจำกัดความเป็นมนุษย์ 1875 – 1899

  • งาน World Expo จัดขึ้นครั้งแรก ในปี 1851 ภายใต้ชื่อ The Great Exhibition เพื่อนำเสนอผลผลิตทางอุตสาหกรรมของอังกฤษ สู่ชาวโลก นำความกระตือรือร้นของผู้คนในการแข่งขั้นประดิษคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ทั่งในฝั่งยุโรปและสหรัฐ
  • สหรัฐ
    • Alexander Graham Bell ค้นพบวิธีส่งเสียงตามสายผ่านลวดทองแดง และพัฒนาเป็นโทรศัพท์ จดสิทธิบัตในปี 1876 ก่อตั้งบริษัท Bell Telephone company และพัฒนามาเป็ฯ AT&T ในปี 1885
    • Thomas Alva Edison สามารถหาไส้หลอดไฟที่มีอายุได้นาน นั่นคือ ไส้หลอดคอบอน จดสิทธิบัตรในปี 1879 และก่อตั้งบริษัท Edison Electric Light ที่ดึงดูด J P Morgan มหาเศรษฐีให้เข้ามาเป็นหุ้นใหญ่ และให้เงินเขาตั้งบริษัท
    • Nikolas Tesla ลูกน้องคนหนึ่งของเอดิสัน ซึ่งเชื่อว่าไฟฟ้ากระแสสลับ จะเป็นอนาคตของระบบไฟฟ้า ขัดกับเอดิสัน ที่เชื่อในไฟฟ้ากระแสตรง ก็ลาออก มาทำงานให้กับ Westinghouse Electric ของนักธุรกิจชื่อ George Westinghouse
    • จุดตัดสินอยู่ที่งาน World Expo 1893 ที่ชิคาโก ซึ่ง Westinghouse Electrtic ชนะการประมูล และทำให้งาน Discover America ตอนนั้น เต็มไปด้วยแสงสวาง
    • ความล้มเหลวของเอดิสัน ทำให้ J P  Morgan ยึด Edison Electric Light แล้วควบรวมเข้ากับบริษัท Thomson-Houston Electric ที่เป็นบริษัทซึ่งเน้นผลิตไฟฟ้ากระแสลสลบ เปลี่ยนชื่อเป็ฯบริษัท General Electric ในปี 1892
  • เยอรมัน
    • คาร์ล เบนซ์ มีความคิดที่จะทดแทนการใช้ม้าลาก ด้วยการประดิษฐ์เครื่องยนต์ จึงได้ก่อตั้งบริษัท Benz & Zie สร้างเครื่องยนสันดาปภายในที่ใช้นำมัน และเกิดรถยนคันแรกของโลก Benz Patent Motorwagen ในปี 1885
  • ศตวรรษที่ 19 นี้ คือยุคแห่งการสร้างสิ่งมากมายที่จะเปลี่ยนแปลงโลก ปูรากฐานศตวรรษใหม่ด้วยอุตสากรรม ด้วยความพยายามที่จะทะลุทุกขีดจำกัดของมนุษย์ แต่ก็สร้างความแตกต่างระหว่างสังคมที่ยิ่งใหญ่ ระหว่างชนชั้นนายทุน และแรงงาน ผู้ปกครอง กับประชาชน เจ้าจักรวรรดินิยม และดินแดนอาณานิคม

14. จุดจบของจักรวรรดินิยม 1900 – 1909

  • ศตวรรษที่ 20 เปิดฉากด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เต็มไปด้วยความแข่งขัน จนเกินพอดี ในทวีปยุโรป
  • แข่งขันกันมากไป กลายเป็นความขัยดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นความต่างระหว่างชนชั้นภายใน และความขัดแย้งระหว่างรัฐ
  • ความขัดแย้งระหว่างชนชั้น นายทุนและกรรมาชีพ นำไปสู่การเคลื่อนไหวของสังคมนิยม มี คาร์ล มาร์กซ์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวเยอรมัน สร้างงานเขียนที่มีอิทธิพล ปลดพลังมวลมหาประชาชนขึ้นมา ให้ปกครองแทนผู้นำเดิม
  • ในยูโรป ความสั่นคลอนกำลังมา รอยแตกร้าวกำลังระเบิด
  • แตในในอเมริกา ดินแดนแห่งเสรีภาพ ก็มีเหล่านักประดิษฐ์มากมาย
    • เฮนรี ฟอร์ต ลาออกจากบริษัทของ Edison เพื่อมาตั้งบริษัท ฟอร์ด มอเตอ์ ในปี 1903 เขาเป็นคนที่นำระบบสายพาน มาใช้ในการผลิตรถยนต์ ทำให้ได้รถยนต์ราคาถูก และได้ความนิยมไปทั่วสหรัฐ นั้นคือ Ford Model T
    • รถม้า ถูก Disruption โดยสมบูรณ์แบบ จากรถยนต์ราคาถูกนั่นเอง
    • สองพี่น้องตระกูลไรต์ สร้างเครื่องบินลำแรกของโลก ในปี 1900 และ
  • ในส่วนของญี่ปุ่น การปฏิรูปเมจิ ทำให้ญี่ปุ่นเรียนรู้ซึมซับ ปรับความรู้ตะวันตกมาให้เหมาะกับตัวเอง มีการส่งนักศึกษาไปเรียนนอก จ้างชาวตะวันตกมาวางแผนรากฐานอุตสาหกรรม แปลตำราต่างประเทศมาเป็นภาษญี่ปุ่น
  • ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรม และซึมซับลัทธิจักรวรรดินิยมมาด้วย ด้วยการประกาศสงครามกับทั้งรัสเซีย จีน และเอาชนะไปได้
  • จักรวรรดิจีนระส่ำระส่าย และล่มลสาย
  • รัสเซีย ที่อยู่ภายใต้ราชวงโรมานอฟเอง ก็ถึงจุดจบเช่นกัน ด้วยภาวะข้าวยากหมากแพงจากหลากปัจจัยรุมเร้า และการแพ้สงคราม ทำให้ราชวงศ์โรมานอฟถึงกาลล่มสลาย ด้วยการฏิวัติพรรค Bolshevik
  • ทวีปยูโรปในตอนนั้น ประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ จักรวรรดิเยอรมัน ที่ก้าวมาเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในยุโรป แซงอังกฤษและฝรั่งเศส จักรวรรดิหน้าเดิม เกิดความขัดแย้ง ระหว่างหน้าเดิมและหน้าใหม่
  • เยอรมัน ดึงประเทศเพื่อนบ้านคือ จักรวรรดิออสเตีย ฮังการี และอิตาลี ตั้งเป็นกลุ่มไตรพันมิตร (Triple Alliance)
  • อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย ตั้งกลุ่มสัญญาไตรภาคี (Triple Entente)
  • ทั้ง 2 ฝ่าย สะสมกำลังอาวุธและแสนยานุภาพ รอวันที่ระเบิดลูกใหญ่ถูกจุดชนวน เป็นสงครามโลกครั้งที่ 1
  • เป็นอันจบ เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี ช่วงแรก

เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี Part 2

100 ปีหลัง

15. ทวีบใหม่รุ่งโรจน์ ทวีปเก่าเสื่อมถอย 1910 – 1919

  • สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี 1914 –1918 คร่าชีวิตผู้คนไป 10 ล้านคน
  • นำพาความล่มสลายมาสู่รัสเซีย จักรวรรดิเยอรมัน ออตโตมัน และออสเตรีย ฮังการี
  • ทั่งทั้งทวีปยุโรปหยุดชะงัก แต่ทวีปโลกใหม่ กำลังรุ่งเรือง
  • ปี 1912 สหรัฐขุดคลองปานามาสำเร็จ ย่นระยะเวลาการขนส่งสหรัฐไปเอเชียได้มหาศาล
  • Standard Oil บริษัทน้ำมันของอเมิรกา กลายเป็นผู้กลั่นน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งผู้ก่อตั้งบริษัทนี้ คือ Jonh D Rockefeller ก็กลายเป็นคนที่รวยที่สุดในโลก ณ เวลานั้น แต่ต้องแยกกิจการใน ปี 1911 เนื่องจากศาลสั่งว่าทำผิดกฏหมาย เพราะผูกขาดการค้า
  • นายธนาคาร JP Morgan แสดงฝีมือควบรวมบริษัทอีกครั้ง ให้กำเนิด U S Steel corporation กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก เพราะอุตสาหกรรมเหล็กกล้าบูมสุดขีด จากการสร้างตึกระฟ้ามากมาย
  • และเป็นช่วงนี้เอง ที่สหรัฐอเมริกา ก้าวขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่งด้านเศรษฐกิจของโลก
  • ย้อนมาที่สงครามโลกครั้งที่ 1 หลังฝ่ายสัมพันธมิตร ชนะสงคราม ก็ได้ร่างสนธิสัญญาสันติภาพชื่อ สนธิสัญญาแวร์ซาย โดยเป็นเงื่อนไขให้เยอรมันถูกปลดอาวุธ ถูกจำกัดดินแดน ชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามแก่ผู้ชนะจำนวนมหาศาล
  • นี่จึงเป็นสัญญาสันติภาพแค่ชื่อ เพราะมันคือจานบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความเกลียดชัง รอวันปะทุเมื่อเวลามาถึง

16. ทศวรรษแห่งการฟื้นฟู 1920 – 1929

  • ผลสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้ยุโรปสูญเสียแรงงานมหาศาล ต้องฟื้นฟูธุรกิจ เปิดโอกาสให้นักธุรกิจสหรัฐขยายสาขาการลงทุนเข้ามาในยุโรปได้มากขึ้น
  • เป็นยุคที่มีการแข่งขันในอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างหนักหน่วง
  • เป็นยุคที่มีการผลิตอินซูลินสำหรับรักษาเบาหวาน ในปี 1923 พบยา Penicillin ในปี 1929
  • ญี่ปุ่น ซึ่งก็ได้รับผลลบจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ไม่มาก ก็มีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและทหารเพิ่มมากขึ้น จนสามารถยึดครองคาบสมุทรเกาหลี และเริ่มวางแผนบุกแมนจูเรียของจีน
  • ส่วนเยอรมัน ประชาชนก็เผชิญความขัดสนอย่างหนัก เนื่องจากต้องชดใช้ค่าปฏิกรสงครามมหาศาล รัฐบาลจึงต้องพิมเงินขนานใหญ่มาป้อนระบบ สิ่งที่ตามมา คือ Hyperinflation ในช่วงปี 1921-1923 เกิดความวุ่นวายทางเศรษฐกิจ และเปิดโอกาสให้พรรคนาซีเข้ามาเรียกเสียงสนับสนุนจากประชาชนในยุคนั้นได้สำเร็จ
  • บริษัทระดับโลกในช่วงนี้คือ
    • Mazda ก่อตั้งปี 1920
    • Walt Disney 1923
    • Mercedes-Benz 1926 เกิดจากการควบรวมบริษัท Mercedes และ Benz ด้วยกัน
    • Volvo 1927
    • Unilever 1929 เกิดจากการควบรวมบริษัทผลิตสบู่ของอังกฤษและเนยเทียมของเนเธอแลน เพื่อต่อสู้กับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่มาจากอเมริกา
  • อังกฤษ เริ่มเสื่อมอำนาจ เจอปัญหาเศรษฐกิจจากหนี้ที่กู้มาจากอเมริกามาใช้จ่ายช่วงสงคราม เสียอำนาจควบคุมในรัฐหลายๆแห่ง สวนทางกับอเมริกาที่โตวันโตคืน
  • ปี 1925 New York แซงลอนดอน มาเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  • เช่นเดียวกับตลาดหุ้น Wall Street ที่มีMarket capitalization สูงที่สุดในโลก
  • เศรษฐกิจที่โตวันโตคืน ทำให้ผู้คนเอาเงินมาลงทุนในตลาดหุ้น เล่นมาจิ้นกันสนุกสนาน ฟองสบู่โตขึ้นๆ จนราคาหุ้นมีค่าสูงกว่า intrinsic Value มากเกินไป และเมื่อการเติบโตไม่เป็นไปตามที่หวัง ฟองสบู่ครั้งใหญ่ที่กระทบกับทั่วทั้งโลก ก็แตกลงในวันที่ 29/10 /1929 วัน“Black Tuesday” เกิดเป็นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำสาหัสที่สุดใน ณ ขณะนั้น กินเวลา 10ปี เรียกว่า The Great Depression

17. ทศวรรษแห่งความตกต่ำ 1930 –1939

  • การล่มจมของตลาดหุ้น เป็นปัจจัยหนึ่งทำให้คนมีหนี้เสียมากมาย
  • มีหนี้เสีย ธนาคารก็ต้องแบกรับภาระแทน คนที่นำเงินมาฝากก็แห่ถอนเงินออกจากธนาคาร ผลคือ ธนาคารขาดเงินและนำไปสู่การล้มละลาย
  • กิจการปิดตัว ธนาคารล้ม คนตกงาน ยิ่งทำให้การบริโภคลดลง เป็นวงจรอุบาด จนสหรัฐต้องรีบขึ้นภาษีสินค้าทั้งนำเข้าและส่งออก เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ ทำให้การค้าของโลก ก็หดตัวลงเช่นกัน
  • นำมาสู่การปฏิวัติการเงิน คือยกเลือกมาตรฐานระบบทองคำ เปลี่ยนไปใช้อัตราการแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว
  • และฟื้นตัว ด้วยโครงการ New Deal ของประธานาธิบดี Franklin D Roosevelt มีการเพิ่มสวัสดิการ การจ้างงาน ด้วยโครงการก่อสร้างของรัฐ ช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจกระเตื้องขึ้นบ้าง
  • ในเยอรมันนี ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ตกต่ำ Adolf Hitler ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำเบ็ดเสร็จ ในปี 1934 ได้เริ่มแผนฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และการจ้างงาน มีการขยายกองกำลังทหารและผลิตอาวุธมากมาย
  • ในญี่ปุ่น มีอุตสากรรมเกิดขึ้นมากมาย กองทหารก็ขยายตัวรวดเร็ว บุกแมนจูเรียและเมืองใหญ่ๆของจีนได้ ในปี 1937 และกลายมาเป็นอีกหนึ่งมหาอำนาจของโลก
  • บริษัทระดับโลกที่ก่อตั้งในช่วงนี้ ส่วนใหญ่จึงเป็นของเยอรมันและญี่ปุ่น
    • Porsche 1931 เริ่มจากธุรกิจพัฒนามอเตออ์ และเครื่องยนต์
    • Nissan 1933 เริ่มจากผลิตรถบรรทุก เครื่องบิน ให้กองทัพญี่ปุ่น
    • Volkswagen 1937 ผลิตรถสำหรับประชาชน
    • Toyota 1937 ผลิตรถยนต์
    • Samsung 1938 เริ่มก่อตั้ง เพื่อส่งออกปลาแห้ง
  • เยอรมันของฮิตเล่อ ซึ่ง comeback อย่างยิ่งใหญ่ ได้เริ่มเรียกร้องความยุติธรรมที่สูญเสียไปหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และเริ่มบุกเข้า Poland ในปี 1939 จุดชนวนสงครามโลกครั้งที่ 2

18. ทศวรรษแห่งสงคราม 1940 – 1949

  • สงครามครั้งนี้ ก็แบ่งเป็นพันธมิตรสองฝ่าย คือ ฝ่ายอักษะ เยอรมันนี อิตาลี ญี่ปุ่น และ ฝ่ายสัมพันธมิตร คือ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และโซเวียต
  • ภายใต้สงคราม นำมาสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เทคโนโลยีถูกพัฒนาล้ำหน้า ก้าวกระโดด สร้างความเจริญมากมาย จนถึงตอนนี้
  • แต่แรกเริ่มนั้น มันกำเนิดมาเพื่อมาทำลายล้างห้ำหั่นใส่กัน
    • Radar : พัฒนาเพื่อตรวจหาเครื่องบิน และเรือ ในยุคสงคราม
    • Jet engine : พัฒนาโดยกองทัพอังกฤษ เพื่อสู่กับกองบินเยอรมัน
    • Computer : คอมพิวเตอเครื่องแรกของแรกของโลก กำเนิดที่กรุงลอนดอน มีไว้เพื่อถอดสรหัสการสื่อสารในกองทัพเยอรมัน
    • Nuclear Bomb : จาก Manhattan project ของ Franklin D roosvelt 
  • เยอรมันแบ่งเป็นตะวันตก ยึดครองโดนอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส ตะวันออก ยึดครองโดยโซเวียต ส่วนญี่ปุ่นถูกอเมริกายึดครอง
  • บริษัทระดับโลกที่ก่อตั้งในยุคนี้
    • Sony 1946 เริ่มจากพัฒนาสินค้า Electronics ตัวแรกของบริษัทคือ วิทยุทรานซิสเตอร์
    • Cisco 1946 เริ่มจากโรงงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรและชิ้นส่วนกลไกต่างๆ
    • Honda 1947 เริ่มจากผลิตมอเตอไซ
    • Nissin Food 1948 บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
  • สงครามโลกครั้งนี้ ทำให้จักรวรรดิทั่วโลกล้มสลาย อาณานิคมต่างๆ ประกาศแยกตัวเป็นเอกราช
  • ประเทศยุโรปต่างๆบอบช้ำ ทำให้อเมริกาก้าวมาเป็นมหาอำนาจโลก โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจ อย่างเต็มตัว
  • 1944 มีการจัดประชุมร่วมกัน 44 ประเทศ เพื่อหาแนวทางในการจัดระเบียบการเงินระหว่างประเทศ มีสาระสำคัญคือ
  • สมาชิกต้องยินยอมที่จะยกเลิกการกำหนดค่าเงินของตนเอง แล้วหันไปผูกติดอัตราแลกเปลี่ยนกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นเงินสกุลเดียวที่มีทองคำหนุน
  • จัดตั้งองค์กร IMF และ World Bank
  • ข้อตกลงนี้เอง ทำให้อเมริกากลายมาเป็น ผู้ดูแล กติกาการเงินของโลก และดอลลาสหรัฐกลายมาเป็นสกุลเงินหลักของโลกตั้งแต่นั้นมา
  • อย่างไรก็ตาม ในด้านการเมือง และการทหาร ยังมีก้างขวางคอสำคัญของอเมริกา คือ สหภาพโซเวียต ที่ใช้การเมืองคอมมิวนิส
  • เพื่อป้องกันการลุกลามของลัทธิคอมมิวนิส ที่กำลังเฟื่องฟู อเมริกาได้จัดตั้งแผนการ Marshall คือเป็นผู้นำในการให้เงินช่วยเหลือแก่กลุ่มประเทศพันธมิตในยุโรปตะวันตก เพื่อให้ประเทศเหล่านั้นฟื้นตัวได้เร็ว
  • โซเวียตก็ให้ความช่วยเหลือประเทศพันธมิตรในยุโรปตะวันออก
  • เกิดเป็นความขัดแย้งครั้งใหม่ ที่ไม่ได้เป็นการรบราฆ่าฟัน แต่เป็นความขัดแย้งแข่งขัน ด้านอุดมการทางการเมือง เศรษฐกิจ และการสะสมแสนยานุภาพ และ proxy wars – The Cold War

19. สู่ห้วงอวกาศ 1950 – 1959

  • ขณะนี้ ยุโรปแบ่งออกเป็นสองฝั่ง ราวกับมี ม่านเหล็ก Iron curtain กั้นไว้อยู่
  • เป็นสองฝั่งที่ต่างขั้ว
  • ฝั่งตะวันตก คือตัวแทนของฝ่ายทุนนิยมเสรี ตะวันออกคือคอมมิวนิส
  • ทุนนิยมเสรี นำโดย สหรัฐอเมริกา เป็นระบบเศรษฐกิจ ที่ส่วนใหญ่ก็มีระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย
  • ส่วนคอมนิวนิส นำโดยโซเวียต เป็นทั้งระบบเศรษฐกิจ และระบอบการปกครอง
  • ฝั่งตะวันตกมีสนธิวัญญา NATO เพื่อความมั่นคงทางการทหาร ฝั่งตะวันออก ก็มี Warsaw Pact
  • เอเชียก็โดนแบ่ง เกาหลีแบ่งเป็นเหนือกับใต้ ที่เส้นขนานที่ 38
  • 1950 เกาหลีเหนือบุกเกาหลีใต้ ด้วยความเห็นชอบของโซเวียต เกิดเป็นสงครามเกาหลี ที่จบลงด้วยข้อตกลงหยุดยิง ในปี 1953
  • สงครามเกาหลีทำให้ญี่ปุ่นฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว จากการผลิตเหล็ก ต่อเรือ ยานยน เพื่อตอบสนองความต้องการของกองกำลังสหรัฐ
  • สหรัฐเอง ก็ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ จากผลของสงครามโลกครั้งที่สองเช่นกัน
  • บริษัทระดับโลกในช่วงนี้คือ
    • KFC 1955
    • LG 1958 เริ่มจากผลิตวิทยุ
    • VISA 1958 มาจากบัตรเครดิตที่ชื่อ BackAmericard
  • จีนในยุคนี้ คือยุค The Great Leap Forward ของ เหมาเจ๋อตุง ซึ่งจบท้ายคือการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด ประชากร อดตาย นับสิบล้านคน
  • สหรัฐและโซเวียต แข่งกันเพื่อเป็นมหาอำนาจ ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และทหาร รวมไปถึง Space Race
    • 1957 Soviet ส่ง Sputnik 1 ขึ้นสู่วงโคจร เกิดเป็น Sputnik moment และเป็นชนวนเหตุยุคอวกาษศ
    • 1957 ปีเดียวกัน ก็ส่ง Sputnik2 ขึ้นไปพร้อม ไลก้า สิ่งมีชีวิตแรกที่ได้ออกนอนกโลก
    • ความก้าวหน้าของโซเวียตนี้ ทำให้สหัรฐนั่งไปติด จึงก่อตั้งองการ NASA ในปี 1958 นำมาสู่การสร้างดาวเทียม Explorer 1 ในปีเดียวกัน

20. สงครามเย็น 1960 – 1969

  • เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็มีความขัดแย้งจากผลของสงครามเย็น มีศูนย์กลางที่ประเทศเวียดนาม
  • หลังสงคราม เวียดนามแบ่งเป็นเวียดนามเหนือ อยู่ใต้อิทธิพลของจีน และเวียดนามใต้ ที่อยู่ใต้อิทธิพลของอังกฤษ
  • โฮจิมินห์ ขึ้นมาเป็นผู้นำเวียดนามเหนือ ปกครองประเทศภายใต้คอมมิวนิส สหรัฐอเมริกา ก็เข้ามามีส่วนร่วมกับเวียดนามใต้ เพื่อป้องการการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิส
  • เกิดสงครามเวียดนาม ในปี 1965
  • สงครามเวียดนาม สร้างงานอย่างมหาศาล ให้ประเทศไทย มีการตั้งฐานทัพในหลายจังหวัด การขยายของโครงสร้างพื้นฐาน ภาคการบริการ เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว
  • บริษัทระดับโลกในยุคนี้
    • Mastercard 1966 เป็นบัตรเครดิตของธนาคารในแคลิฟอเนีย 4 แห่ง ที่รวมตัวกันเพื่อแข่งกับ BankAmericard (VISA) ในขณะนั้น
    • Intel 1968 เริ่มจากเป็นผู้ออกแบบ Semiconductor เพื่อใช้ในการผลิต Chip
  • ญี่ปุ่น ที่แม้จะอยู่ใต้อิทธิพลสหรัฐ และไม่สามารถทุ่มงบประมาณไปกับการทหาร ทำให้รัฐบาลสามารถทุ่มงบพัฒนาเศรษฐกิจและอุสาหกรรมการผลิตได้เต็มที่ โดยเฉพาะยานยนต์ ที่เติบโตมาเป็นผู้ผลิตเบอ 2 ของโลก ในช่วงปลาย 1970 และได้เป็นเจ้าภาพงานโอลิมปิกและเปิดตัว Shinkansen ในยุคนี้
  • ด้าน Space Race โซเวียตได้ส่ง Yuri Gagarin เป็นมนูษย์คนแรก ที่ออกไปรอบวงโคจรได้สำเร็จ ในปี 1961 ตามมาด้วย Alan Sheperd 1 เดือนถัดมาของเยอรมัน
  • Apollo 11 ทำให้ Neil Armstrong เป็นมนุษย์ไปเหยีบดวงจันทร์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก ในปี 1969
  • ความสำเร็จอย่างงดงามของอเมริกา ไม่ว่าจะเศรษฐกิจ และอวกาศนั้น มีเหตุปัจจัยสำคัญจากทรัพยากรธรรมชาติ คือ น้ำมัน ซึ่งย้อนกลับมาทำร้ายอเมริกาในที่สุด

21. วิกฤติน้ำมัน 1970 – 1979

  • เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี อธิบายว่า เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา มีกระดูกสันหลังอยู่ สอง อย่าง คือ
    • ค่าเงินดอลลาห์สหรัฐ
    • น้ำมัน
  • สหรัฐจะกำหนดราคาทั้งสองสิ่งนี้ให้นิ่ง และมีเสถียรภาพ
  • ระบบ Breton Wood ทำให้ดอลลาห์สหรัฐเป็นสกุลเงินหลักของโลก เป็นสกุลเงินเดียวที่ยังมีทองคำหนุนหลัง
  • แต่ในช่วง 1963 –1969 สหรัฐพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้ในการทำสงครามเวียดนาม เกินกว่าปริมาณทองคำสำรอง ทำให้เงินเฟ้อสูงมากขึ้น ประเทศต่างๆขาดความเชื่อมันในอัตราแลกเปลี่ยนของสหรัฐ เงินเฟ้อยังรุนแรงเรื่อยๆ จนในปี 1971 Richard Nixon ประกาศยกเลิกรับแลกดอลลากับทองคำ
  • มาตรการนี้ ไม่ได้ปิดฉากดอลลาห์สหรัฐ แต่ได้ปิดฉากทองคำ ในฐานะตัวค้ำประกันเงินตราระหว่างประเทศ สิ่งที่มาเป็นหลักค้ำประกันหนุนหลังแทนทองคำนั้ กลายเป็น เงินสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งเงินสำรองระหว่างประเทศเกือบทุกประเทศบนโลก จะมีดอลลาหรือพันธบัตรสหรัฐเป็นหลัก
  • จบเรื่องค่าเงินไป มาต่อเรื่องน้ำมัน
  • 1960 ภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ้งมีน้ำมันดิบปริมาณมหาศาล ได้รวมกันก่อตั้ง OPEC ซึ่งมีอำนาจอิทธิพลอย่างยิ่ง ในการกำหนดปริมาณการผลิตและราคาน้ำมันของโลก
  • ประเทศในตะวันออกกลางมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับที่นับถืออิสลาม และกำลังไม่พอใจกับการมีอยู่ของ อิสราเอล ประเทศเกิดใหม่ชาวยิว ที่มีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งดันไปตั้งอยู่ท่ามกลางประเทศอาหรับเหล่านั้น
  • เกิดสงคราม Yom Kippur ในปี 1973 กลุ่มประเทศอาหรับ นำโดยอิยิปและซีเรีย เริ่มโจมตีอิสราเอล อิสราเองนั้น มีสหรัฐเป็นพันธมิตรสำคัญ และให้ความช่วยเหลือเต็มที่
  • OPEC จึงประกาศยกส่งน้ำมันให้สหรัฐโดยเด็ดขาด(Oil Embargo) ลดการผลิตน้ำมัน และขึ้นราคาน้ำมัน ทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้น 4 เท่าตัว สหรัฐซึ่งผลิตน้ำมันในประเทศได้เกินกำลังแล้ว จึงขาดน้ำมัน จนต้องประกาศนโยบายประหยัดพลังงาน อุตสาหกรรมหลายๆอย่างที่พึ่งพาน้ำมัน เช่นSteel เกิดวิกฤติหนัก เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี 1973 DOW JONES ปรับตัวลดลงต่ำสุดตั้งแต่ Great Depression
  • แต่ปัญหาน้ำมันที่สูงขึ้น ก็ทำให้บริษัทรถยนญี่ปุ่น ที่กินน้ำมันน้อยกว่า เริ่มตีตลาดทั้งสหรัฐและทั่วโลก จนเติบโตอย่างก้าวกระโดด ญี่ปุ่นกลายมาเป็นมหาอำนาจเศรษฐกิจอันดับสอง แซงโซเวียต และเยอรมัน
  • Soviet ในขณะนั้น ก็อยู่ในช่วงขาลง ประสบทั้งปัญหาการจัดการเกษตร การชลประทาน การผลิตในอุตสาหกรรม
  • วิกฤติน้ำมันนี้ จบลงในปี 1978 ด้วย Camp David Accords ที่เป็นข้อตกลงคืนความสัมพันระหว่างอิสลาเอลและอียิป ลดความขัดแย้งลงในตะวันออกกลาง
  • อย่างไรก็ตาม วิกฤตินี้ทำให้มีการแสวงหาแหล่งน้ำมันจากที่อื่นนอกจากในภูมิภาคนี้ ทั้งแคนานา Alaska และ Siberia และการพัฒนาพลังงานทางเลือกต่างๆ
  • บริษัทในยุคนี้
    • Microsoft 1975
    • Apple 1976 สินค้าชิ้นแรกคือ Appple I
    • Oracle 1977
  • ตัดกลับมาที่จีน หลังการจากไปของเหมา เจ๋อ ตุง เติ้ง เสี่ยวผิง มาเป็นผู้นำคนใหม่
  • นโยบายของเติ้ง คือการปฏิรูปเศรษฐกิจประเทศจีน ด้วยนโยบายสี่ทันสมัย ค่อยๆล้มเลิกระบบคอมมิวนิส ค่อยๆปรับเป็นทุนนิยม ที่ยังมีรัฐบาลเผด็จการดูแล รอวันที่พญามังกรจะกลับมา

22. ยุคทองของญี่ปุ่น 1980 – 1989

  • ญึ่ปุ่น ซึ่งกลับมาอย่างยิ่งใหญ่ เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับสอง ผลิตสินค้าประสิทธิภาพดี ราคาถูกกว่าประเทศอุตสาหกรรมอื่นๆ มาตีตลาดได้มากมาย จนหลายๆชาติขาดดุลการค้ามหาศาล ผู้ขาดดุลรายใหญ่ที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา
  • นำไปสู่ข้อตกลง Plaza Accord ในปี 1985 ที่ได้มีข้อตกลงร่วมกัน ระหว่างสหรัฐ กับประเทศที่ได้เปรียบดุลการค้าคือ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมันนีตะวันตก และญี่ปุ่น ว่าจะทำให้ค่าเงินประเทศตนสูงขึ้น เพื่อให้สหรัฐขาดดุลการค้าลดลง เพื่อให้สินค้าสหรัฐราคาถูกลง ส่งออกได้ง่ายขึ้น และสินค้านำเข้าจากประเทศอื่นจะได้แพงขึ้น
  • อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นสามารถบริหารได้อย่างดียิ่ง ใช้กลยุทธ์ลดต้นทุนการผลิต ด้วยการย้ายฐานแรงงานไปประเทศที่มีค่าแรงถูก เช่นประเทศไทย อินโด ฟิลิปปิน
  • เศรษฐกิจญี่ปุ่นโตวันโตคืน ราคาอสังหาพุ่งทะยาน บริษัทต่างๆในญี่ปุ่นก็แห่ซื้อกิจการและอสังหาต่างประเทศ เช่น Sony ซื้อ Columbia picture Mitsubishi ซื้ออาคาร Rockefeller ในนิวยอร์ค หรือแม้แต่คนที่รวยที่สุดในโลกสมัยนั้น ก็คือชาวญี่ปุ่น ชื่อ Yoshiki Tsutsumi
  • แต่งานเลี้ยงก็มีวันเลิกรา เนื่องจากนโยบายการเงินที่หละหลวม ธนาคารปล่อยกู้ง่าย เอกชนใช้จ่ายเกินตัว ค่าเงินเยนที่แข็งขึ้น ทำให้เงินทุนไหลออกจากญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง ธนาคารญี่ปุ่นจึงต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในให้สูงขึ้น เพื่อหวังจะสกัดการไหลออกของเงิน
  • แต่อัตราดอกเบี่้ยที่สูงขึ้น ทำให้ประชาชนและเอกชน ไม่สามารถชำระหนี้ได้ เกิด NPL ทั่วประเทศ ภาคเอกชนล้ม คนว่างงานทั่วประเทศ ฟองสบู่ราคาอสังที่พุ่งทะยาน ก็ตกลงมาอย่างฮวบฮาบ ดัชนี Nikkei ทำจุดสูงสุดในปี 1989 และลดลงกว่า 38% ในปีถัดไป และไม่เคยกลับไปที่เดิมอีกเลย เป็นเวลากว่า 30ปี ! (The Lost Decades)
  • บริษัทที่ก่อตั้งในยุคนี้
    • Adobe 1982
    • Dell 1984
    • Huawei 1987 ก่อตั้งในเมืองเซินเจิ้น เริ่มจากบริษัทซื้อมาขายไป
  • ย้อนกลับมาที่ Soviet ซึ่งมีปัญหาเรื้อรังมานาน เศรษฐกิจไม่ไปไหน สุดท้าย Mikhael – Gobachove ก็ได้ดำเนินนโยบายเปิดปรับ (Glasnot – Perestroika) ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้มีความเป็นทุนนิยมมากขึ้น ยกเลิกการช่วยเหลือต่อประเทศคอมมิวนิสในยุโรปตะวันออก
  • 1989 กำแพงเบอลินล่มสลาย เป็นสัญลักษณ์ถึงจุดจบของระบบคอมมิวนิสในยุโรปตะวันออก และการล่มสลายของสหภาพโซเวียต

23. ฟองสบู่ดอตคอม 1990 – 1999

  • 1989 คือปีที่กำเนิด World Wide Web จากห้องวิจัย CERN ของสวิตเซอแลน
  • 1991 ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึง internet ได้เป็นครั้งแรก คอมพิวเตอร์กลายเป็นของจำเป็น และธุรกิจต่งๆในอินเตอร์เน็ตได้เกิดขึ้นมากมาย บริษัทที่ลงท้ายด้วย .com จึงเป็นอะไรที่นักลงทุนสนใจอย่างยิ่ง และพร้อมให้ราคา premium
    • Amazon 1994 เริ่มจากร้านขายหนังสือออนไลน์
    • Google 1998
    • Tencent 1998
    • Alibaba 1999
  • ในช่วงนี้ ประเทศไทยเองยังใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับดอลลาห์สหรัฐแบบคงที่ เศรษฐกิจเจริญเติบโตรวดเร็ว มีการกู้เงินระยะสั้นดอกเบี้ยราคาถูกจากต่างประเทศมาแสวงหาผลตอบแทนในประเทศมากมาย ไม่ว่าจะเอามาซื้ออสังหา ซื้อหุ้น เก็งกำไร ปั่นราคา จนเป็นฟองสบู่ หนี้ระยะสั้นเพิ่มอย่างรวดเร็วจนมากกว่าเงินทุนสำรองของประเทศ
  • George Soros นักเก็งกำไรจากต่างชาติ เห็นความเสี่ยงนี้ เห็นว่าค่าเงินบาทไทยจะต้องอ่อนค่า จึง Short เงินบาทอย่างมหาศาล จนธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ในปี 1997 เกิดเป็นฟองสบู่ต้มยำกุ้ง
  • แต่ฟองสบู่ที่ใหญ่ที่สุดในทศวรรษนี้ อยู่ที่อเมริกา นั่นคือ Dot com Bubble
  • บริษัทดอทคอม ซึ่งผุดขึ้นมามากมาย มีขนาดเล็ก ไม่สามารถจดทะเบียนในตลาดใหญ่อย่าง NYSE ได้ จึงเน้นจดทะเบียนใน Nasdaq เพื่อระดมทุน และขายฝันให้นักลงทุน ว่าเน้นการเติบโต โดยการสร้างฐานลูกค้าให้มากที่สุดก่อนในตอนแรก ไม่สนว่าจะขาดทุน รอเก็บเกี่ยวกำไรในอนาคต
  • ความคาดหวังของนักลงทุนมีอย่างถาโถม ราคาหุ้นเก็งกำไรพุ่งทะยาน PE ของตลาดNasdaq สูงถึง 2XX ซึ่งแน่นอนว่ากำไรของบริษัทนั้น โตไม่ทัน การเก็งกำไรมาถึงจุดสิ้นสุด ด้วยวิกฤติฟองสบู่ดอทคอม ในปี 2000

24. วิกฤติซับไพรม์ 2000 – 2009

  • Dot com Bubble ทำให้ ธนาคารกลางสหรัฐ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อผ่อนคลายทางการเงิน ในปี 2000
  • 11 /09/2001 เกิดเหตุก่อการร้าย เครื่องบินชนตึกworld trade center ฉุดเศรษฐกิจสหรัฐและตลาดหุ้นที่แย่อยู่แล้ว ให้ตกต่ำยิ่งขึ้น
  • FED ลดอัตราดอกเบี้ยอย่างเร่งด้วย จาก 5% (2000) -> 2.5% (2001) -> 1.00% (2003)
  • ทวีปยุโรป ซึ่งได้จัดตั้งเป็น EU แล้วนั้น ก็ประสบปัญหาจาก dot com bubble เช่นกัน โดยประเทศที่กระทบมากที่สุด คือเยอรมันนี
  • ธนาคารกลางยุโรป จึงได้ทำการลดอัตราดอกเบี้ยลงเช่นกัน จาก 7.5% (2000) -> 2.00% (2003) โดยจุดประสงหลักเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของเยอรมันนี อย่างไรก็ตาม ประเทศสมาชิกหลายๆประเทศ ที่ไม่ได้มีปัญหาเศรษฐกิจ กลับได้การกระตุ้นเศรษฐกิจไปแทน กลายเป็นไปสร้างฟองสบู่อสังหา โดยเฉพาะในไอร์แลน สเปน อิตาลี และกรีซ
  • จีน เริ่มกลับมาได้เข้าร่วมเป็น WTO ในปี 2001 วางตัวเป็น โรงงานของโลก อาศัยความได้เปรียบด้านต้นทุนวัตถุดิบและแรงงาน มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนานใหญ่ในประเทศ ทำให้ราคาสินค้า commodity เช่นเหล็ก ถ่านหิน ยางพารา น้ำมันดิบพุ่งทะยาน และทำให้เงินเฟ้อไปทั่วโลก
  • อเมริกา ซึ่งลดดอกเบี้ยนโยบายมาเยอะ ก็โดนเงินเฟ้อเล่นงาน วิธีแก้ก็เลย ขึ้นดอกเบี้ยอีกรอบ จาก 1.52% (2004) -> 5.25% (2006) แต่ราคาน้ำมันดิบและ commodity ทั้งโลกยังพุ่งไม่หยุด
  • หนี้ครัวเรือนสหรัฐเพิ่มทะยานมากขึ้นเรื่อย จนถึงระดับ 2% ของ GDP สหรัฐในปี 2007 ทำให้สถาบันการเงินขนาดใหญ่ในสหรัฐมีปัญหาอย่างหนัก เช่น Lehman Brothers , Merrill Lynch สถาบันการเงินต่างๆล้มลงกันเหมือนโดมิโน
  • ปี 2008 FED จึงทำการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อแก้ไขสถานการ เป็น 1.2% ส่วนธนาคารยุโรปลดเป็น 2.5% แต่ก็ไม่สามารถแก้ผลกระทบจากวิฤติเศรษฐกิจได้
  • สถาบันการเงินขนาดใหญ่ ยังขาดทุน แต่ล้มไม่ได้ (Too big to fail)
  • จึงเกิดมาตรการ QE มาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ

25. บทสรุปของมนุษยชาติ 2010 – 2019

  • เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี จบลงที่การแก่งแย่งชิงดีระหว่างสองขั้วอำนาจอีกครั้ง คราวนี้เป็น จีน VS อเมริกา
  • Subprime Crisis เกิดในปี 2009 และแผ่ขยายไปทั่วโลก ราคาสินทรัพย์ต่างๆในสหรัฐ ลดลงอย่างรวดเร็ว
  • ธนาคารกลางสหรัฐพยายามลดดอกเบี้ย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ก็ไม่เป็นผล จึงได้มีการทำ QE เพื่อพยุงฐานะของสถาบันการเงิน และราคาของสินทรัพย์ต่างๆ
  • QE คือการที่ธนาคารกลาง พิมเงินเพิ่มในสกุลนั้นๆ แล้วเอาเงินมาซื้อสินทรัพ เพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบ แต่ประเทศที่ทำได้ ต้องต่างจากประเทศทั่วไป คือ
    • สกุลเงินประเทศนั้น ต้องเป็นที่ยอมรับทั่วโลก
    • เงินจาก QE จะไม่หมุนในระบบเศรษญกิจ
  • Fed ได้ทุ่มเงิน QE เข้าซื้อ Government Bond และตราสารหนี้ MBS เพื่อพยุงฐานะของธนาคารและพยุงราคาสินทรัพย์ โดยจะมาไถ่ถอนตราสารหนี้ต่างๆนั้นเมื่อครบกำหนด ทำให้เงินที่พิมเพิ่ม กลับเข้าไปในระบบอีกครั้ง
  • QE ถูกหยุดในปี 2015
  • จีน ก็เติบโตอย่างก้าวกระโดด GDP เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกลายมาเป็นมหาอำนาจอันดับสองของโลก ประกาศแผน Made in china 5.0 ยกระดับประเทศอุตสากรรม สู่ประเทศแห่งเทคโนโลยี เกิด Trade war ต่างๆตามมา

Share

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter

รีวิวหนังสือล่าสุด

China Next Normal รีวิว หนังสือ
Social Science

รีวิวหนังสือ: China Next Normal – วิกฤตและโอกาสของจีนในโลกหลังโควิด

จีนจะเป็นอย่างไรในยุคPost Corona เมื่อ COVID มาเร่งเวลาเข้าสู่ China Next Normal – วิกฤตินี้สร้างโอกาสให้จีนได้อย่างไร หาคำตอบได้ในเล่มครับ

post corona book review รีวิว
Social Science

รีวิวหนังสือ: Post Corona – From Crisis to Opportunity

โลก(อเมริกา) จะเป็นอย่างไรในยุค Post Corona – หนังสือที่ว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงที่จะรวดเร็วและรุนแรง ผ่านมุมมองของศาสตราจารย์นักธุรกิจชั้นเซียน

บทความอื่นๆ

Solon's Warning คำเตือนของ โซลอน
Perspective

คำเตือนของโซลอน – Solon’s Warning

เมื่อพระเจ้าครีซัสผู้มั่งคั่งและทรงอำนาจที่สุดแห่งยุคตรัสถาม โซลอน ว่าเคยพบใครที่มีความสุขมากกว่าพระองค์หรือไม่ เขากลับตอบชื่อสามัญชนที่เสียชีวิตแล้วกลับมา!