China 5.0: สีจิ้นผิง เศรษฐกิจยุคใหม่ และแผนการใหญ่ AI
Pros
- ให้ข้อมูลความเป็นมาของจีนแบบปัจจุบันได้อย่างครอบคลุม
- เนื้อหากระชับ ไม่เยิ่นเย้อ โดยเฉพาะ Part การเมือง ที่เขียนได้สนุกมากๆ
- แสดงทิศทางในอนาคตของจีนได้อย่างเห็นภาพ
Cons
- Part เทคโนโลยี เนื้อหาห้วนๆไปหน่อย เป็นบทความแยกกันเกินไป ถ้าไม่ค่อยรู้เรื่อง AI มาบ้างอาจยังไม่ "อิน" ว่ามันจะเปลี่ยนจีนได้อย่างไร
- ถ้าไม่ได้พอมีพื้นฐานมาบ้าง(โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ) อาจจะอ่านทำความเข้าใจยาก
Key Messages
- จีนเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะสามารถคง % GDP growth ได้สูงและยาวนาน ทำให้ทิ้งห่างกับประเทศต่างๆมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยผลของ Compound Growth
- ก่อนยุคของสีจิ้นผิง การเมืองจีนปกครองโดยคณะบริหารที่มีการคานอำนาจกันอย่างซับซ้อน แต่การมาของเขา ทำให้จีนกลับไปปกครองด้วยการรวบอำนาจเบ็ดเสร็จไว้ที่ผู้นำแต่เพียงผู้เดียว แต่ครั้งนี้มันไม่เหมือนเดิม(ยุคประธานเหมา) เพราะสีจินผิงได้ใช้กลยุทธ์ต่างๆมากมาย เพื่อให้การใช้อำนาจนั้นมีประสิทธิภาพและมั่นคงจริงๆ อย่างน้อยก็ในยุคของเขา
- เศรษฐกิจจีนตอนนี้อยู่ในช่วงใช้แนวคิดแบบ Xiconomics คือ จากเดิมที่จีนเน้นการสร้างอุปสงค์เพื่อขับเคลือนเศรษฐกิจ (Demand-side economics) ที่เห็นได้ชัดคือการลงทุนใน Infrastructure แบบมหาศาลจากรัฐบาล ซึ่งก็ปัญหาต่างๆตามมาในภายหลัง ดังนั้นพอมาในยุคของสีจิ้นผิง ก็จะเปลี่ยนมาใช้หลักคิดของ เศรษฐศาสตร์อุปทาน (Supply side economics) เช่น เน้นการลดภาษี เน้นการลงทุนในภาคเอกชนมากขึ้น โดยที่ยังคงมีการลงทุนจากรัฐ อย่างเป็นระบบ
- จีนมียุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่จะเปลี่ยนโลกมากมาย ที่น่าสนใจคือโครงการ Jing-Jin-Ji ที่จะพลิกโฉมระบบเมืองในประเทศ และโครงการ One Belt One Road (หรือชื่อใหม่คือ Belt and Road Initiatives) ที่จะพลิกโฉมให้จีนเป็นผู้นำแห่ง Eurasia-Africa อย่างเต็มตัว
- สงครามการพัฒนา AI เริ่มขึ้นแล้ว ผู้เล่นหลักของโลกมีแค่จีนกับสหรัฐเท่านั้น ซึ่งแม้สหรัฐจะเหนือกว่าทางเทคโนโลยีและบุคลากร แต่จีนมี ข้อมูล (Big Data) ที่เหนือกว่าสหรัฐมากๆ เพราะจีนเป็นประเทศออนไลน์แบบเต็มตัว และไม่มีกฏเกณฑ์privacy ที่รัดกุมดังเช่นโลกตะวันตก แถมบริษัทเทคโนโลยีของจีนก็ได้รับการปกป้อง และสนับสนุนจากรัฐบาลด้วย ต่างกับในสหรัฐ
- จีนประกาศจะเป็นเจ้าแห่ง AI ภายในปี 2030
- AI จะเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จในทุกๆเรื่อง ของจีน เน้นว่า “ทุกๆเรื่อง” มันไม่ได้ช่วยแค่เรื่องเศรษฐกิจ แต่มันจะเกี่ยวโยงกับความมั่นคงในประเทศของจีน และอาจทำให้ระบบเผด็จการแข็งแกร่งมากขึ้น
The Rise of the Sleeping Dragon
…เพียงชั่วพริบตา China ก็ 5.0
ย้อนไปเมื่อ 10 ปี เวลาเรานึกถึงประเทศจีน เราคิดถึงอะไรกันครับ
โดยส่วนตัว ถ้าให้ลองย้อนนึกไปในอดีต 10 ปีก่อนนั้น ตัวผมซึ่งรู้จักจีนแค่ผิวเผิน เมืองจีนให้ความรู้สึกของบ้านเมืองโบราณ ผู้คนมากมายมหาศาลที่พูดจาเสียงดัง ไม่ค่อยมีระเบียบ และอาจถึงขั้นด้อยพัฒนา
Made In China… คือคำที่สื่อถึง ของราคาถูก แต่คุณภาพตามราคา
เซินเจิ้น… คือแหล่งผลิตนาฬิกาและของแบรนด์เนมด้อยคุณภาพ
เทคโนโลยีของจีน??… ถ้าเมื่อก่อนมีคนบอกเราว่า อนาคตจีนสามารถสร้าง platform ที่ทัดเทียมกับทั้ง google, facebook และ amazon ได้ ก็คงมีแต่คนหัวเราะเยาะ…
ในเวลาเพียงไม่กี่ปี จีนก็พัฒนาแบบก้าวกระโดด
แค่ขั่วพริบตา ตอนนี้ จีนคือประเทศที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจเป็นอันดับ 2 ของโลก จีนกลายมาเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดของสหรัฐ จีนพัฒนาสิ่งของ นวัตกรรมต่างๆมากมาย ที่ทันสมัย ไม่ด้อยกว่าทางตะวันตกกำลัง และตอนนี้จีนก็มาแข่งพัฒนา AI กับสหรัฐแล้ว!
มันเกิดอะไรขึ้น?
การจะรู้จักจีน ในสมัยนี้ แค่คุ้นๆชื่อ สีจิ้นผิง รู้จัก Alibaba , Shopee , Lazada หรือ อ่าน motivation quote ที่แปะหน้าของ Jack ma ไว้นั้น…ก็คงไม่พอ
จีนมีอะไรที่ลึกซึ้ง น่าติดตาม น่าเกรงขาม มากกว่านั้นมากมาย!
“เพราะโลกยุคใหม่ไม่ใช่โลกของอังกฤษ สหรัฐ หรือเยอรมันนี แต่เป็น “โลกของจีน” โลกที่ ‘จีน’ เป็นวิชาบังคับ ไม่ใช่วิชาเลือกอีกต่อไป”
หนังสือ China 5.0 เล่มนี้ จึงเป็นแหล่งข้อมูลชั้นดีที่ช่วยเปิดหูเปิดตาให้เราเข้าใจประเทศจีนมากขึ้น
หนังสือ China 5.0: สีจิ้นผิง เศรษฐกิจยุคใหม่และแผนการใหญ่ AI คือ หนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวอย่างคร่าวๆ ให้พอเห็นภาพ ว่า สีจิ้นผิงคือใคร การเมืองของจีนกำลังไปในทิศทางไหน เศรษฐกิจจีนยิ่งใหญ่อย่างรวดเร็ว ในช่วงเวลาสั้นๆ ได้อย่างไร มันกำลังมุ่งหน้าไปทิศทางใด และทำไมจีนต้องทุ่มสุดตัวกับ AI
ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้คือ อ. อาร์ม ตั้งนิรันดร อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้จบตรี โท เอก จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของทั้งจีนและสหรัฐอเมริกา ( มหาลัยปักกิ่ง Harvard และ Stanford!) ทำให้เรามั่นใจได้ว่า ข้อมูลในเล่มนั้นมีคุณค่ามหาศาล และผ่านการศึกษาวิเคราะห์มาโดยผู้เชี่ยวชาญของจริง
China 5.0 คืออะไร ?
ยุค 4.0 หมายถึง เทคโนโลยีดิจิทัล
ในขณะที่ยุค 5.0 คือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)
China 5.0 จึงหมายถึงว่า จีนมุ่งสู่ยุคแห่ง AI ซึ่ง AI จะกลายเป็นกุญแจที่กำลังชี้ทางของอนาคตจีน และอาจทำให้จีนเอาชนะกลายมาเป็นผู้นำของโลกได้
ในเล่มนี้จะบอกว่า ทำไมมันจึงมีความเป็นไปได้เช่นนั้น
เนื้อหาในหนังสือ China 5.0 เป็นการรวบรวมบทความต่างๆ ที่อ.อาร์มเคยเขียนไว้ในกรุงเทพธุรกิจ ตาม Website Blog และข่าวต่างๆ มาจัดหมวดหมู่และปรับปรุงใหม่ ให้แต่ละบทความมีความเชื่อมโยงสอดคล้องกัน และทันสมัยมากขึ้น
เนื้อหาเล่มนี้แบ่งออกเป็น 3 Part หลัก คือ
- การเมือง : จะพูดถึงประวัติโดยย่อของสีจิ้นผิง เส้นทางสู่อำนาจ กลไกต่างๆที่ใช้ในการรักษาความมั่นคงของรัฐบาลเผด็จการจีน รวมถึงมุมมองของชาวจีนที่มีต่อการเมืองในสมัยนี้
- เศรษฐกิจ : เล่าถึงว่าจีนทำให้ธุรกิจยังโตวันโตคืนได้อย่าง แม้จะรัฐบาลจะลงทุนในโครงการต่างๆไปมหาศาลแล้ว ตั้งแต่ยุคก่อนสีจิ้นผิง, อธิบายแนวคิดของเขาและ สิ่งที่เรียกว่า Xiconomics คืออะไร จนถึงยุทธศาสตร์จีนต่างๆ ที่น่าเรียนรู้และน่าสนใจ
- เทคโนโลยี : เน้นประเด็นหลักคือเรื่อง AI ว่ากลายมาเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของจีนได้อย่างไร AI จะมาทำอะไร และจะเปลี่ยนจีนและโลก ได้อย่างไร
Opinion
หนังสือ China 5.0 คือหนังสือดีมีคุณค่า ที่ช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆต่อประเทศจีน ได้อย่างมหาศาล
อ่านจบแล้ว เราจะไม่กลับไปมองจีนแบบเดิมต่อไป…
เนื้อหาในเล่มเป็นรวมบทความสั้นๆ ที่ใช้เวลาอ่านไม่นาน อัดแน่นไปด้วยสาระ ข้อคิดมากมาย ที่อ.อาร์มก็เน้นเสมอ ว่าต้องเอามาใช้คิดกับประเทศไทยด้วยว่า จะได้ประโยชน์หรือผลกระทบอะไรบ้าง
โดยส่วนตัว ผมชอบ Part การเมืองที่สุด เนื่องจากอ.อาร์มได้ให้ความรู้และเปิดมุมมองของสีจิ้นผิงได้อย่างแหลมคม ล้ำลึก และอ่านสนุกมาก
กระทั่งใน Part เศรษฐกิจ ที่เริ่มอ่านยากขึ้นเล็กน้อย อ.อาร์มก็ยังสามารถชี้ให้เราเห็นภาพว่าจีนกำลังมุ่งไปทางไหน จะเปลี่ยนประเทศ และเปลี่ยนโลก ได้อย่างไร
อย่างไรก็ตาม รู้สึกผิดหวังเล็กน้อยใน Part เทคโนโลยี ที่ผมรู้สึกว่าตัวบทความมันดูไม่ค่อยเชื่อมโยงกันเท่าไหร่ และประเด็นที่ใส่มามันยังดูไม่ค่อยมีความน่าสนใจมากนัก ลักษณะของแต่ละบทนั้น จะเน้นไปที่การแจกแจงย่อยๆไปทาง model ธุรกิจมากกว่า ซึ่งถ้าคนที่ไม่ค่อยศึกษาเรื่องผลกระทบของ AI มาก่อน อาจจะรู้สึกว่ามันก็ “งั้นๆ” มองออกได้ยากว่าจะเปลี่ยนจีนได้อย่างไร ถ้าจะให้ดีอาจต้องนำเสนอความเป็นมาเป็นไปของวงการ AI จีนโดยรวมๆ อาจทำให้เห็นภาพได้ดีกว่าครับ
แต่ทั้งที้ทั้งนั้นก็ไม่ได้ทำให้หนังสือเล่มนี้เสียคุณค่าแต่อย่างใดครับ
รวมๆแล้ว China 5.0 จึงเป็นหนังสือดีที่ต้องแนะนำให้ทุกคนที่ยังไม่ค่อยรู้เรื่องจีนมากนัก ต้องหามาอ่าน
เน้นว่า ทุกคน เพราะในอนาคต เราจะอยู่ในโลกของจีน เป็นโลกที่จีนคือวิชา “บังคับ” ไม่ใช่วิชาเลือกอีกต่อไป
สรุปหนังสือ
บทนำ: หนึ่งปีของแต่ละประเทศ ไม่เท่ากัน
ทำไมจีนจึงมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็วในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา?
คำตอบคือ “การเพิ่มขึ้นแบบทบต้น (Compound Growth)”
Concept ของคำนี้คือ เราจะหาได้ว่าประเทศหนึ่งๆ จะเจริญเติบโต 1 เท่าตัว ภายในเวลากี่ปี ด้วยวิธี เอา 70 ตั้ง หารด้วย อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ
สมมติให้เวลาผ่านไป 100 ปี
ประเทศ A ที่โตขึ้น 3.5% ต่อปี จะมี GDP เพิ่ม 1 เท่าตัว ทบกัน 5 ครั้ง แปลว่า 100 ปี เศรษฐกิจจะโตเพิ่มขึ้น 32 เท่า
แต่ถ้า อีกประเทศหนึ่ง (สมมติประเทศ B) โตขึ้นปีละ 7% ต่อปี ประเทศนี้จะมี GDP เพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว ทบกัน 10 ครั้ง แปลว่า 100 ปี เศรษฐกิจจะโตเพิ่มขึ้นถึง 1024 เท่า
ประเทศ A โตช้ากว่า B ถึง 32 เท่า! แค่ปล่อยให้โตช้ากว่า 3.5% ต่อปี
ในกรณีของประเทศจีนนั้น GDP ต่อหัว ในปี 1990 อยู่ที่ 317 ดอลลาห์ …ในขณะที่ไทย อยู่ที่ 1,508 ดอลล่า
แต่ในปี 2015 , GDP ต่อหัวของประเทศจีนขึ้นมาเป็น 8,027 ดอลลาห์
ส่วนไทยก็ขึ้นมาที่ 5,814 ดอลลห์
จึงไม่แปลกใจ ที่เมื่อ 30ปีก่อน จีนคือประเทศที่ดูยากจน ล้าหลัง
ได้เปลี่ยนมาเป็น จีนแบบปัจจุบัน ที่กลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจ ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ไปแล้ว
คำถามต่อมาคือ จีนทำให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูง ต่อเนื่อง ได้อย่างไร?
เพราะช่วงแรกๆที่ตัวเลข GDP ยังเล็ก มันก็ไม่น่าแปลกใจนักว่าทำไมจีนจึงโตอยู่ในระดับสูงได้
แต่ในกรณีของจีน แม้ว่าฐานจะเริ่มใหญ่ แม้ว่าจะได้ลงทุนinfrastructure ไปมากแล้ว แม้จะมีการส่งออกอยู่ในระดับสูงแล้ว
จีนก็ไม่ได้โตช้าลง
ทำได้ยังไง?
คำตอบสั้นๆ คือ เพราะ Big Idea ของ สีจิ้นผิง ผู้นำรุ่นที่ 5 ของจีน
Big Idea ของสีจิ้นผิง ซึ่งได้เปลี่ยนโฉมทั้ง การเมือง เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีของจีน ทำให้จีนยิ่งใหญ่และสำคัญเช่นดังปัจจุบันนี้ มีอะไรบ้าง เกิดขึ้นได้อย่างไร มีผลอะไร และเราเรียนรู้อะไรจากมันได้บ้าง?
หนังสือ China 5.0 ของอ.อาร์มเล่มนี้ จะค่อยๆ อธิบายอย่างแจ่มชัด ทีละประเด็นครับ
“เพราะโลกยุคใหม่ไม่ใช่โลกของอังกฤษ สหรัฐ หรือเยอรมนี แต่เป็น โลกของจีน โลกที่ จีน เป็นวิชาบังคับ ไม่ใช่วิชาเลือก อีกต่อไป”
Part 1 : การเมือง – ถึงเวลาของผู้นำรุ่นที่ 5
1. สีจิ้นผิง คือใคร ?
ตามประเพณีการเมืองจีน ประวัติส่วนตัวของผู้นำคือความลับระดับชาติ ตามเว็บไซต์ของพรรคคอมมิวนิสจีน จึงมีแค่ชื่อตำแหน่งในอดีต และปีที่ดำรงตำแหน่งเท่านั้น
ปูมหลังของสีจิ้นผิง จึงมาจากแหล่งข้อมูลอื่น หนึ่งในนั้นคือ Wikileaks
พ่อของสีจิ้นผิง คือ สีจงชุน อดีตรองนายกในยุคของเหมาเจ๋อตง ที่ภายหลังถูกกล่าวว่าเป็นพวกนิยมขวาในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม และถูกจับเข้าคุกเป็นเวลากว่า 10 ปี ในขณะที่ตัวสีจิ้นผิงเอง ก็ถูกเนรเทศไปใช้แรงงานในชนบท
จนเมื่อเติ้งเสี่ยวผิงขึ้นมามีอำนาจ ก็ได้รับการนิรโทษกรรมทั้งคู่
แต่บาดแผลทางจิตใจนี้ ก็ไม่ได้ทำให้สีจิ้นผิงหนีออกจากประเทศ ตรงกันข้าม เขาเลือกที่จะแสดงความจงรักภักดีต่อพรรคคอมมิวนิสต่อไป
สีจิ้นผิง เริ่มชีวิตการทำงานด้วยการเป็นเจ้าหน้าที่ทหารในกองบัญชาการทหารสูงสุด (โดยใช้เส้นพ่อ) ก่อนที่จะรู้สึกว่า อยู่ตำแหน่งนี้ไปก็ไม่โต
สีจิ้นผิงจึงลาออก แล้วอาสาไปทำงานเป็นเจ้าหน้าที่พรรคในชนบทเล็กๆ แล้วค่อยๆเก็บประสบการณ์ เก็บสะสมบารมี จนได้ไต่เต้าขึ้นมาเป็นผู้ว่าการมณฑล ขึ้นมาเป็นเลขาธิการพรรคประจำมณฑล
จนได้มาเป็นผู้นำสูงสุดของจีน
ด้วยเพราะถูกมองว่าไม่น่ามีพิษสงมากนัก เพราะไม่ได้สังกัดค่ายการเมืองใดๆของอดีตประธานาธิบดีของจีน และไม่ได้มีพรรคพวกใดๆของตัวเอง และเป็นคนที่มีประสบการณ์ครบถ้วน เพราะเคยทำทั้งงานในพรรค และเคยลงพื้นที่ทำงานจริงๆ
จะเห็นได้ว่า สีจินผิงนั้น ไม่ธรรมดา เขามีความทะเยอทะยาน มีการวางแผนอันแยบคาย มีความอดทน เพื่อที่จะได้ไปอยู่จุดที่สูงที่สุด
2. สีจิ้นผิง รวบอำนาจเบ็ดเสร็จ ได้อย่างไร?
5 ปีก่อนนั้น สีจิ้นผิง ขึ้นมารับตำแหน่งผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ ในsetting ที่มีการคานอำนาจกันภายในอย่างซับซ้อน มีการบริหารเป็นหมู่คณะ
คนมองกันว่า จีนเปลี่ยนผ่านมาจากยุคผู้นำโชเดี่ยวดังเช่นในอดีตแล้ว และมองว่าการกลับมามีผู้นำเผด็จการเต็มใบ จะเป็นไปไม่ได้ เพราะขนาดเศรษฐกิจที่โตขึ้นอย่างรวดเร็ว
หมดยุคแล้ว ที่จะมีผู้นำฉายเดี่ยว เพราะระบบต่างๆ มันซับซ้อนเกินไปที่คนๆเดียวจะมีอำนาจเบ็ดเสร็จ
แต่ … สีจิ้นผิง ทำได้ และไม่ทำให้ประเทศล่มจมเสียด้วย !
เขาได้กลายเป็นผู้นำที่มีอำนาจแบบฉายเดี่ยว เขาสามารถปิดกั้นเสรีภาพทางการเมืองได้มากมาย เขาสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญจีน ให้เขาครองตำแหน่งประธานาธิบดีไปได้ อย่างไม่มีกำหนด
โดยที่ยังเป็นที่นิยมชมชอบของประชาชนส่วนใหญ่ และยังมีความปลอดภัยในพรรคคอมมิวนิสจีน
สีจิ้นผิง กลายมาเป็นผู้นำเดี่ยวที่มีอิทธิพลอย่างมาก ได้อย่างไร?
มีกลยุทธ์มากมายที่สีจิ้นผิงเลือกใช้ เช่น
กลยุทธ์ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว
เมื่อเขารับตำแหน่ง ก็เริ่มมหกรรมปราบคนโกง จัดการกับระดับบิ๊กของแต่ละขั้วการเมืองภายใน จนหมดเกลี้ยง เหลือแต่ค่ายการเมืองของตัวเขาเอง
การปราบคอรับชั่นนี้ แม้มันจะทำให้ปัญญาชนจีนหวาดกลัว แต่ก็ได้ใจประชาชนไปมหาศาล
Marketing และ Market Research ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
Marketing คือ การที่รัฐบาลจีนสามารถคุมสื่อและสารที่ออกมาอย่างรัดกุม ได้เหมือนเช่นรัฐบาลเผด็จการอื่นๆ
ที่ต่างคือ รัฐบาลจีนจะเลือกจะวิจารณ์ตัวเองก่อน จะมีการแสดงให้ประชาชนรับรู้ว่า รัฐบาลตระหนักปัญหา วางแผนจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร ที่ทำอยู่ขาดตกบกพร่องตรงไหน
ภาพลักษณ์ของรัฐบาลและสีจิ้นผิง จึงดูเป็นผู้นำที่แข็งแกร่ง จริงจัง ใส่ใจชาวบ้าน ….โดยที่ไม่มีข่าวเชิงลบออกมาให้เห็นได้เลย (เพราะรัฐจัดการหมด โดยกองทัพนักโพสต์)
Market Research คือ การรวบรวมหาข้อมูลความต้องการและความนิยมของประชาชน คอยสำรวจว่าประชาชนกังวลอะไร ไม่พอใจรัฐบาลเรื่องอะไร
ซึ่งถือว่าแปลกใหม่ในระบบเผด็จการ เพราะปกติเมื่อผู้นำมีอำนาจอิทธิพลเบ็ดเสร็จ จะไม่มีใครกล้ารายงานปัญหาจากเบื้องล่าง เพราะกลัวนายจะไม่ชอบ ซึ่งสุดท้ายปัญหาก็จะเกิด Scenario ที่ปัญหาทับถมสะสมกันจนเป็นวิกฤติ ซึ่งปัญหานี้เองที่ทำให้สหภาพโซเวียตล่มสลาย
แต่กับรัฐบาลจีนที่มีการสำรวจความคิดเห็นประชาชนสม่ำเสมอ ทั้งออฟไลและใน Social Media ทั้งการใช้เทคโนโลยีต่างๆเข้าช่วย เห็นความเสี่ยงได้ดีขึ้น เร็วขึ้น ก่อนที่มันจะลามเป็นวิกฤติ
กองทัพนักโพสต์
ในยุคโซเชียล ที่ข้อมูลข่าวสารต่างๆแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว
รัฐบาลจีนซึ่งเป็นเผด็จการ สามารถควบคุมข่าวสารได้อย่างไร ไม่ให้เป็นภัยต่อความมั่นคงของตน ?
คำตอบไม่ได้อยู่ที่การเซนเซอข้อมูล การปิดเว็บไซ การไล่ลบความคิดเห็นต่าง มันพอจะทำได้ แต่คงไม่มีทางไล่ทำได้หมดทั้งโลกอินเตอร์เน็ต
พรรคคอมมิวนิสจีนจึงเลือกใช้การจัดตั้ง กองทัพนักโพส มาทำหน้าที่ ควบคุม (Manipulate) ข้อมูลต่างๆแทน ซึ่งได้ผลกว่ามาก
หน้าที่ของกองทัพนี้ ไม่ใช่มาต่อล้อต่อเถียง ลากดราม่าให้เข้มข้นขึ้น
แต่คือ การมาโพสเปลี่ยนเรื่อง! โดยเน้นโพสแต่เรื่องดีๆของรัฐบาล โพสเชียรัฐบาล โดยไม่สนว่าชาวบ้านกำลังดราม่าอะไรกันอยู่
เพราะถ้ามัวแต่ด่า เถียง หรือชี้แจง คนก็จะถกเรื่องดราม่านี้กันไม่จบไม่สิ้น สู้โพสเรื่องอื่นใส่ไปเยอะๆ ให้เปลี่ยนเรื่องไปเลย work กว่า อาศัยเน้นปริมาณ ไม่เน้นคุณภาพ
เช่น เมื่อถึงเหตุการณ์ครบรอบการสังหารที่จตุรัสเทียนอันเหมิน โลกโซเชียลจีนจะเต็มไปด้วยโพสต์โปรโมตความสำเร็จในรอบ20ปีของรัฐบาล
กองทัพโพส โพสเยอะขนาดไหน?
มีการคำนวณว่าทุกๆ 178 โพสในโลกโซเชียลของจีน จะมี 1 post ที่โพสโดยกองทัพนักโพส
โลกโซเชียล จึงไม่ได้เป็นอะไรที่น่ากลัวเลย ของรัฐบาลเผด็จการ
3. ทำไมสีจิ้นผิง ต้องรวบอำนาจ
ในยุคสีจิ้นผิง ที่มีการควบรวมอำนาจเข้าหาศูนย์กลางอีกครั้ง มีการกีดกัดเสรีภาพทางความคิดมากขึ้น มีความสนใจสิทธิมนุษยชนต่างๆน้อยลง ต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ย้อนแย้งต่อแนวทางที่ผ่านๆมาตั้งแต่ยุคเติ้งเสี่ยวผิง ซึ่งเน้นเปิดและปฏิรูประเทศมากขึ้น
การรวบอำนาจนี้ มีประโยชน์อะไร? ถ้ามองในมุมของปัญญาชนที่ศรัทธาในพรรคคอมมิวนิส จะมีข้อสนับสนุนคือ
- เพื่อแก้ปัญหาคอรัปชั่นที่รุนแรงของนักการเมืองท้องถิ่น โดยใช้การตรวจสอบจากส่วนกลางอย่างเข้มงวด
- เพื่อรวบรวมอำนาจทางการเมืองของตนให้มั่นคงพอ ที่จะสามารถผลักดันการปฏิรูปเศรษฐกิจขั้นต่อไป คือ การต่อสู้กับทุนนิยมอุปภัมพวกพ้อง ซึ่งหมายถึงการที่รัฐวิสาหิจ และบริษัทลูกหลาน เครือข่ายผู้นำจีนมีอำนาจผูกขาด หรือได้เปรียบจากการอุดนหนุนของรัฐบาล แล้วไปเน้นการส่งเสริมธุรกิจภาคเอกชน ส่งเสริมการแข่งขันเสรีในตลาด ไปจนถึงปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ
- เพื่อที่สามารถล้างบางคอรัปชั่นได้ชนิดจัดเต็ม เป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับการนำของพรรคคอมมิวนิสจีน
- เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับพรรค
4. หนทางดูสดใสขนาดนี้แล้ว สีจิ้นผิง จะมีความเสี่ยงทางการเมืองในอนาคตหรือไม่ ?
ข่าวตะวันตกมักเปรียบเทียบสีจิ้นผิงกับเหมาเจ๋อตง และคิดว่าจีนจะกลับไปมีชะตาเดียวกัน แต่อ.อาร์มเสนอว่า ความคิดนี้ ไม่ถูกต้อง
เพราะนโยบายของสีจิ้นผิงก็คือนโยบายกระแสหลัก เขาไม่ได้จะกลับไปเป็นเศรษฐกิจแบบคอมมูน หรือ กลับไปปฏิวัติวัฒนธรรม แบบเหมาเจ๋อตง
เผด็จการแบบสีจิ้นผิง ทำให้เห็นว่า มันไม่จริง ที่เผด็จการจะทำลายตัวเองแบบอัตโนมัติดังเช่นในอดีต
ซ้ำระบบแบบสีจิ้นผิง ยังปักหลักได้ยืนยาว มีผู้คนในสังคมไม่น้อยที่ให้การสนับสนุน แม้จะมีต้นทุนมนุษย์และเสรีภาพที่ต้องแลกมา
ในขณะที่ประเทศประชาธิปไตยหลายๆประเทศทั่วโลกตะหาก ที่ดูจะล้มเหลว เลือกตั้งมา ก็ได้ผู้นำที่มีความคิดแบบอำนาจนิยม ชาตินิยม มากขึ้น
นี่คือ บทเรียนสำคัญ ของผู้รักประชาธิปไตยและเสรีภาพ ว่าต้องคิดให้กว้างขึ้น ในการต่อสู้กับเผด็จการ
แต่แม้ ยุคของสีจิ้นผิง จะดูไปได้สวยเช่นใน อ.อาร์มเสนอว่า เขาก็ยังมีความเสี่ยงจากวกฤติทางการเมือง เปรียบดังมีระเบิดเวลาซ่อนอยู่ 2 ลูกคือ
- การเป็นผู้นำเดี่ยวของสีจิ้นผิง แม้ความสำเร็จอาจจะสูงแต่ก็เสี่ยงสูง
หลายคนมองว่าสาเหตุหนึ่งที่สีจิ้นผิงต้องการครองอำนาจต่อ เพราะลงจากหลังเสือไม่ได้ มีโอกาสที่จะถูกล้างแค้นเอาคืน หรือจะถูกกลับลำนโยบายทั้งหมด
ถ้ามีผู้นำรุ่นใหม่ที่อยากขึ้นมาแทนสีจิ้นผิง ก็ต้องอาศัยวิธีนอกระบบ ซึ่งนั่นทำให้คาดเดาไม่ได้ - สีจิ้นผิงสร้างบรรทัดฐานใหม่ที่อันตราย
วันนี้ไว้ใจเขาได้ แต่ภายภาคหน้าที่มีผู้นำขึ้นมาใหม่ เราจะไว้ใจเขาได้ไหม ในระบบที่ไม่มีการคานและถ่วงดุลอำนาจหลงเหลือ (ไม่เหมือนกรณี Trump ที่บ้าแค่ไหน ก็มีระบบอื่นๆมาหยุดไว้บ้าง)
5. คนจีนมองสีจิ้นผิงอย่างไร
อ.อาร์มได้คุยกับเพื่อนจีนหลายๆขณะกำลังศึกษาอยู่ที่สหรัฐ แม้เป็นกลุ่มคนที่ไม่สามารถสะท้อนตัวแทนรากหญ้าได้ แต่สะท้อนทัศนคติของคนรุ่นใหม่ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของจีนได้
แน่นอนว่าต้องมีทั้งคนที่รับได้ รับไม่ได้ และเฉยๆ
แต่ไม่ว่าจะคิดต่างกันอย่างไร จุดร่วมความต่างคือ ทุกๆคนมองว่า การเมืองไม่ใช่เรื่องทั่วไปของคนจีน เป็นเรื่องที่ห่างไกล เสรีภาพการเมืองนั้นคือสิ่งที่ไกลเกินหวัง
จีนเป็นประเทศที่ร่ำรวย แต่ไม่ต้องการเสรีภาพ
6. สองขั้วความคิดในจีนยุคใหม่
ฝ่ายซ้าย | ฝ่ายขวา | |
การเมือง | สนับสนุนพรรคคอมมิวนิส | ประชาธิปไตย |
เศรษฐกิจ | สนับสนุนการแทรกแซงและจัดการเศรษฐกิจโดยรัฐบาล และวิสาหกิจ | สนับสนุนเอกชน และตลาดเสรี |
สังคม | อนุรักษ์นิยมแบบขงจื้อ | เสรีนิยมหัวก้าวหน้า |
แนวคิดซ้ายและขวา นี้ ไม่เหมือนการแบ่งแบบตะวันตก
จีนไม่ว่าฝ่ายซ้ายหรือขวา มักจะไปสุดทั้งสามด้าน ต่างจากในสหรัฐ ที่ทัศนคติของคนจะมีความหลากหลายกว่า เช่น คนนิยมเดโมแครต (การเมืองฝ่ายซ้ายในสหรัฐ) นิยมนโยบายเศรฐกิจเสรินิยม (ฝ่ายขวาทางเศรษฐกิจ)
ที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ฝ่ายซ้ายทางการเมืองจีน สนับสนุนแนวคิดค่านิยมคำสอน ของขงจื๊อ
พวกเขาเชื่อว่ามันสามารถอธิบายสังคมมนุษย์ได้ และจีนสมัยใหม่ต้องการคำสอนนี้
ซึ่งต่างจากในอดีต ที่พวกฝ่ายซ้ายในยุคเหมาเจ๋อตง ต่อต้านแนวคิดขงจื้อและค่านิยมโบราณของจีน เพราะคิดว่ามันเป็แนวคิดศักดินานิยมล้าหลัง ที่ฉุดประเทศจีนไว้
ทำไมปัจจุบันขั้วฝ่ายซ้ายจึงนิยมทั้งคอมมิวนิส และนิยมขงจื้อ ร่วมกันได้?
เชื่อว่าสิ่งที่หลอมรวมขั้วฝ่ายซ้ายของจีนจริงๆ ก็คือความคิดต่อต้านตะวันตก
ดังนั้นแล้วขั้วฝ่ายซ้ายจริงๆ จึงเป็น ฝ่ายแนวคิดชาตินิยม มากกว่า
ท้ายสุดแล้ว ขั้วความคิดสองขั้วของจีน แบ่งได้ง่ายๆคือ เชื่อ หรือ ไม่เชื่อ ว่าสามารถสร้างสังคมสมัยใหม่ที่ไม่เป็นแบบตะวันตก ได้หรือไม่ได้
ถ้าเชื่อว่าทำได้ กล่าวคือ เชื่อว่าจีนจะมีสังคมสมัยใหม่แบบของตัวเองได้ ก็เป็นฝ่ายซ้าย
ถ้าไม่เชื่อว่าจะทำได้ ยังไงสังคมสมัยใหม่ ก็ต้องล้อไปตามแบบฉบับตะวันตก ก็เป็นแนวคิดฝ่ายขวา
Part 2 : เศรษฐกิจ – ปฏิรูปแบบสีจิ้นผิง
1. 40 ปีของการปฏิรูป จีนทำได้อย่างไร? อะไรทำให้หนึ่งปีในจีน เท่ากับเวลาหลายปีในประเทศอื่น?
มีเหตุผลหลัก 3 ข้อคือ
-
รัฐบาลจีนเป็นนักปฏิบัติและนักทดลอง ไม่บ้าทฏษฎีและลัทธิความเชื่อ
ตั้งแต่เติ้งเสี่ยวผิง การปฏิรูปจีนก็เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตอนเริ่มแรกนั้นเติ้งไม่ได้มีแผนอะไรเลย มีแค่ทิศทางใหญ่ คือ เดินหน้าเปิดและปฏิรูป วิธีการก็ค่อยๆทำไปปรับไป ทำไปแก้ไป มีการทดลอง เรียนรู้ ปรับปรุงต่อเนื่องอย่างยืดหยุ่น เดินทางสายกลาง ไม่สุดโต่งเหมือนโซเวียต แต่ก็ไม่ได้อยู่เฉยๆแบบเกาหลีเหนือ
-
จีนตอนเริ่มพัฒนา ยังไม่มีกลุ่มผลประโยชน์ขัดขวาง
ปัญหาสำคัญหนึ่งของประเทศกำลังพัฒนา คือการปฏิรูปทำได้ยาก เพราะจะไปเหยียบขาใครเข้า ดังเช่น ในกรณีของฟิลิปปินที่มีปัญหาเรื่องชนชั้นทางสังคมตั้งแต่ยุคที่ยังเป็นอาณานิคมสเปน แม้จะได้ประชาธิปไตยภายหลัง ก็ยังมีชนชั้นทางสังคมอยู่
สุดท้ายพวกชนชั้นสูงก็ได้กลายไปเป็นนายทุนใหญ่ ที่รวยเอาๆ คนรวยมีไม่กี่ตระกูล ปฏิรูปอะไรก็ยากเย็น
ในทางกลับกัน ช่วงแรกของการเปิดและปฏิรูป จีนแทบไม่เหลือนายทุน หรือชนชั้นนำ ทุกคนจนแร้งแค้นกันหมด ด้วยเพราะการปฏิวัติวัฒนธรรมและเศรษฐกิจแบบคอมมูน (แต่ไม่ใช่ว่าประธานเหมาทำถูก เพราะจีนปัจจุบันยอมรับว่านี่คือความผิดพลาด ล้มเหลว สร้างหายนะให้จีนอย่างใหญ่หลวง)
อีกอย่างคือ แปลว่า จีนในอนาคตนั้น ก็อาจมีกลุ่มผลประโยชน์ก่อตัวขึ้น ปฏิรูปในอนาคตจึงอาจไม่ง่ายนั่นเอง
-
การกระจายอำนาจการคลัง ให้รัฐบาลท้องถิ่น
จีนเป็นประเทศที่กระจายอำนาจการคลังมากที่สุดในโลก รายจ่ายของรัฐบาลท้องถิ่น คิดเป็น 85% ของรายจ่ายภาครัฐ ในขณะที่ครึ่งหนึ่งของรายได้ที่เข้ารัฐ จะไปยังรัฐบาลท้องถิ่นโดยตรง
การกระจายอำนาจด้านการคลังนี้เอง ทำให้รัฐบาลท้องถิ่นของจีน ต้องกระตือรือร้นที่จะเดินหน้าพัฒนาและปฏิรูปเศรษฐกิจ และทดลองนโยบายใหม่ๆ เพราะถ้าเศรษฐกิจดี รัฐบาลท้องถื่นก็สามารถเก็บภาษีและรายรับได้มากขึ้น
ในขณะที่ส่วนกลาง ก็ยังมีอำนาจเหนือท้องถิ่น มีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนผู้นำท้องถิ่นตลอด เพื่อป้องกันระบบอุปถัมภ์
การกระจายอำนาจก็เป็นดาบสองคม เพราะทำให้มีหนี้เน่า และการใช้จ่ายที่ไม่มีประสิทธิภาพของรัฐบาลท้องถื่นมากมาย เป็นเหตุให้ยุคสีจิ้นผิงต้องมีการเดินหน้าปราบคอรัปชั่น
อย่างไรก็ตาม ก็ถือว่ามันดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจช่วงเริ่มต้น
ทั้งนี้ต้องไม่สับสนการกระจายอำนาจการคลัง เข้ากับอำนาจการปกครอง
การกระจายอำนาจปกครองอย่างเดียวนั้น เป็นรูปแบบที่แย่ที่สุด เพราะรัฐบาลกลางคุมงบประมาณ ทำให้ผู้นำท้องถิ่นแข่งกันเอาใจผู้นำส่วนกลางเพ่อจะได้รับงบมากๆ โดยส่วนกลางไปสั่งอะไรท้องถิ่นมากไม่ได้
2. ความทันสมัย: เส้นทางคดเคี้ยวของจีน
สีจินผิงประกาศจะพาจีนบรรลุ ‘ความทันสมัย’ (Modernity) ให้ได้ ภายในปี 2035
ทำไมต้องทันสมัย? แค่นี้ยังทันสมัยไม่พอหรือ?
ความทันสมัย ในแง่ชาวจีนนั้น มีความหมายที่ลึกซึ้งเป็นเอกลักษณ์ มีที่มายาวนาน
ก่อนจะเกิดสงครามฝิ่น (ปี1840) คนจีนคิดว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางโลก เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่เกรียงไกรที่สุดในโลก ก่อนจะตาสว่างตอนมาแพ้ในสงครามฝิ่น ให้แก่อังกฤษ
ปัญญาชนสมัยนั้นเฝ้าหาเหตุผลที่ทำให้จีนพ่ายแพ้ พวกเขาเสนอว่า เป็นเพราะว่า จีนล้าหลัง
เมื่อล้าหลัง จึงต้องพัฒนาให้เกิด “ความทันสมัย”
จะทันสมัยได้อย่างไร?
ปัญญาชนยุคแรกๆ มองว่า ความทันสมัย คือการมีอาวุธที่ทัดเทียมตะวันตก ทำให้เกิดการปฏิรูปโดยเน้นการลงทุนซื้ออาวุธและเทคโนโลยี
แต่ต่อมาจีนก็แพ้ให้ญี่ปุ่น แม้จะมีอาวุธดีๆแล้ว
จึงต้องหาคำตอบใหม่
ปัญญาชนจึงมาเสนอว่า จีนนั้นล้าหลังเรื่อง การเมือง จึงเกิดการปฏิรูประบบคัดเลือกราชการเข้าราชสำนัก การบริหารจัดการกองทัพ ปฏิรูปการศึกษา
แต่ปฏิรูปได้เพียง 100 วัน ซูสีไทเฮาก็ยึดอำนาจ จนสุดท้ายราชวงจีนก็ล่มสลาย
ปัญญาชนจึงมาหาคำตอบใหม่อีกครั้ง
ก็มาลงที่ว่า ความทันสมัย คือเรื่องของ วัฒนธรรมความคิด
เกิดการรณรงณ์ สร้างวัฒนธรรมใหม่ โดยนิสิตนักศึกษาในปักกิ่ง
วัฒนธรรมเก่า เช่น ลัทธิขงจื้อ กลายเป็นเรื่องล้าหลัง
จีนจะทันสมัยได้ ต้องอาศัย วิทยาศาสตร์ และ ประชาธิปไตย
แต่ไปๆมาๆ การรณรงค์วัฒนธรรมใหม่นี้ ทำให้ลัทธิ “มาร์กซิสต์” ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะถูกมองว่าเป็นทางสายกลาง คือ ไม่ทุนนิยมไปเหมือนตะวันตก แต่ก็มีความเป็นวิทยาศาสตร์
ลัทธินี้รุ่งเรื่องในยุคเหมาเจ๋อตง แต่ด้วยการดำเนินโยบายที่ผิดพลาด เกิดความเสียหายแก่ประเทศมากมาย
ทำให้จีนเลยต้องกลับมาเริ่มพัฒนาใหม่
มาถึงยุคเติ้ง เติ้งยังยึดความคิดของMarxว่า ลักษณะทางเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดการเมือง กฏหมาย และวัฒนธรรม
ถ้าจีนจะทันสมัย ก็ต้องพัฒนาเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก โดยมุ่งเน้นไปที่พัฒนาการผลิต เพื่อสร้างเศรษฐกิจ สร้างอุตสาหกรรม และสร้างสังคมเมือง
ดังนั้นแล้ว ความทันสมัย จึงเป็นคำที่มีมาอย่างยาวนานในประวัติศาสตร์จีน
ดังจะเห็นว่า ความทันสมัยที่ผ่านมานั้น ไม่ได้มีความหมายตายตัว อยู่ที่การ นิยาม ในแต่ละยุคสมัย
ใต้คำว่าทันสมัย มีการสะท้อนเรื่องการเปรียบเทียบตนเองกับประเทศมหาอำนาจ และเป็นคำที่แฝงถึงความต้องการฟื้นอดีตอันยิ่งใหญ่ของจีน
ในกรณีของสีจินผิง ความทันสมัย คืออะไร?
เมื่อความทันสมัยของจีนในปัจจุบัน ไม่มีแนวคิดประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งในสมการ ทำให้การสร้างระบบการเมืองใหม่ก็ต้องหาทางเลือกใหม่ เช่น จะพัฒนาธรมรมาภิบาลแบบบใหม่ จะสร้างระบบกฏหมายใหม่ๆทีมีประสิทธิภาพ ซึ่งก็ต้องดูว่า จะเป็นไปได้จริงมั้ย ในระบบพรรคการเมืองเดี่ยว
3. สีโคโนมิกส์ (Xiconomics) คืออะไร?
นโยบายเศรษฐกิจจีนในยุคอดีตประธานาธิบดี หูจิ่นเทา จะให้ความสำคัญมากกว่ากับการสร้างอุปสงค์ (Demand side economics) โดยจะใช้ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 3 อย่าง คือ การลงทุน การบริโภค และการส่งออก
นโยบายนี้ทำให้เศรษฐกิจจีนยังคงเจริญเติบโตได้ดีในระยะหนึ่ง แต่ก็ทำให้มีปัญหาการผลิตเกิน และปัญหาหนี้สิน เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดมาในช่วงต้นๆของสีจิ้นผิง
จึงเป็นที่มาของเศรษศาสตร์อุปทาน (Supply side economics) ที่จะมาแก้ปัญหาต่างๆนี้
Supply Side economics นี้มีหลายแบบ และมีแนวคิดนี้มานานแล้ว เช่น
ในยุคของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน แนวคิดนี้คือการ ที่เน้นลดภาษี และลดการแทรกแซงจากภาครัฐในช่วงทศวรรษ 1980 เพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจในสหรัฐมีแรงจูงใจที่จะขยายกิจการ และสร้างความมั่งคั่ง (“เรแกโนมิคส์” (Reganomics)
ในยุคของสีจิ้นผิง ก็เป็นแบบเฉพาะ ที่นักวิเคราะห์ชาวฝรั่งตั้งชื่อเรียกว่า Xiconomics
Xiconomics คือ แนวคิดทาง Supply-Sided Economics แบบหนึ่ง ที่มีแนวคิดแบ่งเป็นสามเรื่องหลัก คือ
- แก้ปัญหาการผลิตส่วนเกินและอสังหาริมทรัพย์ส่วนเกินซึ่งเกิดจากนโยบายในอดีต
เช่น นโยบายควบรวมรัฐวิสาหกิจ นโยบายการลงทุนสาธารนูปโภคในต่างประเทศ นโยบายลูกสองคน การเข้าซื้ออสังหาริมทรำย์ส่วนเกินเองโดยรัฐบาล
- ส่งเสริมให้ธุรกิจและผู้ประกอบการเป็นหัวรถจักรขับเคลื่อนประเทศ แทนการลงทุนด้วยรัฐบาล
ข้อนี้คือหัวใจของ Xiconomics คือมีการปฏิรูปให้ SME และผู้ประกอบการรายย่อยต่างๆสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น เช่น การลดภาษีสำหรับ SME โดยรัฐบาลจะพยายามทำให้ต้นทุนการทำธุรกิจต่ำสุด เพื่อให้มีการเริ่มต้นได้ง่าย เพราะถ้าธุรกิจรุ่งเรือง ก็จะเกิดความมั่งคั่งระลอกใหม่ ช่วยยกระดับรายได้ประชาชน ดังนั้นแล้ว ก็จะเพิ่มการอุปโภคได้มากขึ้น เป็นวงจรกันไป
- ส่งเสริมให้ธุรกิจผลิตสินค้า ที่มีคุณภาพ มมูลค่าเพิ่ม มีครวามคิดสร้างสรรค์ แทนที่จะเน้นแต่ปริมาณ
ในปี 2015 , Xi jinping ประกาศแผน Made in China 2025 โดยกำหนดเป้าหมายอุตสาหกรรม 10 ประเภท เช่น หุ่นยน, EV
เพื่อมุ่งให้จีนเป็นแหล่งอุตสาหกรมก้าวหน้าชั้นนำ ภายในปี 2025
นอกจากนี้ยังมีแผน AI 2030 ที่ตั้งเป้าจะให้จีนเป็นผู้นำเทคโนโลยีนี้ได้ ภายในปี 2030
ศาสตร์และศิลป์ของ สีโคโนมิกซ์
Supply Side ecomonics นั้นไม่ใช่ของแปลกใหม่อะไร ในยุคของอดีตประธานาธิบดีโรนัล เรแกน ของสหรัฐ ก็มีการใช้นโยบายนี้ คือ เน้นลดภาษี ส่งเสริมภาคเอกชน โดยที่รัฐจะละทิ้งเรื่องการลงทุนจากภาครัฐและนโยบายอุตสาหกรรมไปเลย ขณะที่ Xiconomics นั้น ก็ยังมีการใช้นโยบาย เพิ่มอุปสงค์อย่างเหมาะสม โดยให้รัฐบาลอาศัยการลงทุน เป็นตัวสร้างอุปสงค์ที่เหมาะสม เพื่อรักษาระดับการเติบโตทางเศรฐฐกิจให้อยู่ในระดับที่สูง 6-7% ไว้ได้ โดยต้องเป็นการลงทุนที่ตรงจุด เช่น
๑. ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานในชนบท เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
๒.ลงทุนในภาคอุตสาหกรรมที่จีนขาดแคลน แทนทนี่อุตสาหกรรมที่มีการผลิตเกินตัว
๓. ลงทุนในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
๔. ลงทุนนการยกระดับเทคโนโลยี
Xiconomics จึงเป็นการผสานแนวคิดนักเศรษฐศาสตร์ทั้งสองกลุ่ม คือกลุ่มที่เชื่อในกลไกตลาดดเสรี และแบบ Keynesian ที่เน้นขับเคลื่อนด้วยการลงทุน
4. ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมจีนไม่มีสูตรเดียว
ยุทธศาสตร์กรรมของจีนนั้น ไม่ได้มีสูตรเดียว แต่แกนหลักคือ การใช้กลไกตลาดเป็นตัวนำ โดยมีรัฐบาลเล่นบทเสริมให้เหมาะสมไปกับลักษณะของอุตสาหกรรมแต่ละอย่าง
หลินอี้ฟู อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลก และเป็นทีมที่ปรึกษาเศรษฐกิจของรัฐบาลจีน ได้ออกมาแบ่งประเภทภาคการผลิตของจีนเป็น 5 กลุ่ม คือ
- กลุ่มภาคการผลิตจีน ที่ยังมีระดับเทคโนโลยีต่ำกว่าตะวันตกมาก
ทำให้ในปัจจุบันจีดีพีต่อหัวของคนจีน ยังต่ำกว่าของสหรัฐหรือเยอรมันนีมาก เพราะประเทศเหล่านั้นมีประสิทธิภาพแรงงานที่สูงกว่า จากระดับเทคโนโลยีที่สูงกว่า มีการเสริมมูลค่าให้สินค้า ดังนั้นแล้ว วิธีแก้ จึงอาจเป็น- บริษัทจีนเข้าไป take over บริษัทต่างประเทศที่มีเทคโนโลยีสูงกว่า เพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ หรือ
- ตั้งศูนย์ R&D ในประเทศพัฒนาแล้ว เพื่อดึงดูดบุคลากรในประเทศนั้นๆ มาพัฒนาเทคโนโลยีให้แก่จีน
- ดึงดูดบริษัทต่างชาติ มาตั้งโรงงานในจีน
- ส่งเสริมการทำ R&D ด้วยตัวบริษัทจีนเอง
- กลุ่มภาคการผลิตจีน ที่มีระดับเทคโนโลยีเหนือกว่าต่างชาติ หรือเป็นอุตสาหรกรรมที่จีนอยู่ในระดับแนวหน้าของโลกแล้ว
รัฐบาลจีนต้องสนับสนุน fundamental research ในมหาวิทยาลัย และหน่วยวิจัยของจีน เพื่อนำไปสู่การค้นพบใหม่ๆ เพื่อจะต่อยอดระดับเทคโนโลยีให้สูงขึ้นไปอีก ไม่ให้มีใครมาเลียนแบบได้
- กลุ่มภาคการผลิตจีนที่ต้องปรับตัว
เช่น อุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานเข้มข้น ซึ่งความได้เปรียบนี้จะค่อยๆหายไป เพราะรายได้เฉลี่ยต่อหัวคนจีนเพิ่มอย่างรวดเร็ว กลุ่มนี้จะไปต่อได้ มี 2 วิธี คือ
1. บริษัทจีนนั้นต้องเปลี่ยนจากการจับตลาดล่าง ขึ้นมาเล่นตลาดบน โดยการพัฒนาคุณภาพสินค้า สร้างBrand หรือ
2 . ย้ายโรงงานผลิตไปที่ที่ค่าแรงยังถูก เช่น ย้ายไปแถบพื้นที่ตะวันตก หรือตอนในของจีน หรือ ย้ายไปประเทศตามแนวยุทธศาสตร์ One Belt One Road เช่น หลายๆประเทศใน AEC นั่นเอง
- กลุ่มภาคเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) คือ กลุ่มที่จีนกับะวันตกเริ่มพร้อมๆกัน ซึ่งจีนสามารถแข่งได้ทันที หรืออาจเหนือกว่าด้วยตั้งแต่แรก
ในกลุ่มนี้มักเกิดจากแรงงานทักษะชั้นสูงเป็นสำคัญ ไม่ต้องอาศัยเงินลงทุนแรงงาน หรือเครื่องจักรมากนัก จีนจะได้เปรียบ ตรงที่มีทุนมนุษย์มากกว่าต่างชาติ การศึกษาจีนก็พัฒนารวดเร็ว สามารถผลิตคนเก่งได้จำนวนมาก และโอกาสที่ไอเดียดีๆ โมเดลธุรกิจใหม่ๆจะเกิดขึ้น ก็มีขึ้นมากตามไปด้วย
ที่สำคัญอีกอยาง คือลำพังตลาดในประเทศจีนเองก็มีขนาดมหึมาอยู่แล้ว จีนยังมีอุตสาหรกรรมผลิตชิ้นส่วนครบทุกส่วน ขอเพียงแค่มีไอเดียใหม่ๆมา ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆก็เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ภาคเศรษฐกิจนี้เองที่รัฐต้องเน้นผ่อนคลายกฏเกณฑ์ ส่งเริม start up ecosystem ที่ดียิ่งขึ้น
- ภาคการผลิตที่มีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ ต้องมีการคิดค้นวิจัยยาวนาน ใช้เงินทุน เครื่องจักร และแรงงานมนุษย์ อย่างมหาศาล แต่ต้องทำ แบ่งออกไปเป็น
1. ภาคการผลิตที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจในระยะยาว ตามแผน Made in China 2025 ซึ่งภาคการผลิตเหล่านี้เอกชนร่วมได้ แต่รัฐบาลต้องสนับสนุนด้วยสิทธิประโยชน์ต่างๆ
2. ภาคอุตสาหกรรมทหาร ซึ่งรัฐต้องอุดหนุนมากเป็นพิเศษ
5. ยุทธศาสตร์จีน ที่กำลังจะเปลี่ยนโลก
5.1 ยุทธศาสตร์ Jing-Jin-Ji : ภาพอนาคตของประเทศจีน
Jing-Jin-Ji ย่อมาจาก Beijing-Tianjin-Hebei (Ji เป็นชื่อย่อของมนฑลเหอเป่ย)
แนวคิดนี้ คือการเชื่อมโยง ปักกิ่ง เทียนจิน และเมืองใหญ่ 11 เมืองในมนฑลเหอเป่ยเข้าด้วยกัน ผ่านรถไฟความเร็วสูง โดยมุ่งให้การเดินจากเมืองใหญ่แต่ละแห่งในเหอเป่ย เข้าสู่ปักกิ่ง หรือ เทียนจิน ได้ในเวลาไม่ถึง1ชม.
เมื่อสามารถเดินทางไปมากันได้ด้วยความเร็วสูงเช่นนี้ แม้จะไกลแค่ไหน มันก็คงไม่ต่างอะไรกับเป็นเมืองเดียว
แผนการนี้จะทำให้เกิดอภิมหานคร ที่จะมีประชากรและพื้นที่มากสุดในโลก คือ 40% ของประเทศไทย และมีคนถึง 130ล้านคน
จากเดิมที่เมือง คือพื้นที่ ที่ประชากรอยู่กันอย่างแน่นหนาต่อเนื่อง การเชื่อมเมืองต่างๆด้วยรถไฟความเร็วสูงนี้ จะทำให้เสมือนว่าแต่ละเมืองก็รวมเป็นเมืองใหญ่เมืองเดียวกันในทันที
จีนเริ่มยุทธศาสตร์นี้ในปี 2016 เป้าหมายจะมีเส้นทางรถไฟ 8 เส้น ในปี 2020 และจะมี 24 เส้นทางในปี 2050
ยุทธศาสตร์นี้ มีเพื่อจะได้กระจายความเจริญจากปักกิ่ง และเมืองท่า เทียนจิน ไปยังมนฑลเหอเป่ย ที่ยากจนกว่า และเป็นพื้นที่ที่ยังทำอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษสูง
โดยหวังว่าจะช่วยกระจายแรงงานทักษะสูงในเมืองใหญ่ มาช่วยอัพเกรตอุตสาหกรรมต่างๆในเหอเป่ย ลดความแออัดของปักกิ่ง
เดิม การกระจุกตัวกันของประชากรในเมือง เอื้อให้เกิดหน่วยผลิตที่ใหญ่ขึ้น ทำให้มีผลผลิตต่อแรงงานสูงกว่าหน่วยผลิตขนาดเล็ก จากผลของ Economy of scale นอกจากนั้น ยังช่วยประหยัดด้านอื่นๆ เช่น สามารถหาแรงานทักษะขั้นสูง วัตถุดิบต่างๆได้ง่าย เพราะเกิดการประหยัดจากการรวมตัวกัน (economy of agglomeration) เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ดังนั้น เมื่อเชื่อมเมืองกันเป็นคนกระจุกแบบ 130 ล้านคน ก็น่าจะสร้างกิจกรรมและโอกาสทางเศรษฐกิจแบบทวีคูณ
แต่ Jin jin Ji นั้นเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สร้าง cluster เมืองของจีน ที่ทั้งหมดมี 11 cluster โดยแบ่งเป็น 3 super cluster คือ
- Jing-Jin-Ji : เมืองหลวง คือ ปักกิ่ง
- Yangtze River Delta : เมืองหลวง คือ เซี่ยงไฮ้
- Pearl River delta : เมืองหลวง คือ กวางเจา
ดังนั้น อนาคตของจีนจะไม่ขึ้นกับเมืองใดเมืองหนึ่ง แต่อยู่กับ Cluster เมืองต่างๆนั่นเอง
5.2 ยุทธศาสตร์ One Belt One Road (OBOR) : ภาพมหาอำนาจใหม่
เมื่อ Jin-Jin-Ji มาเปลี่ยนจีน
OBOR จะมาเปลี่ยนโลก
ยุทธศาสตร์ One Belt One Road คือการที่รัฐบาลจีนจะสนับสนุนและร่วมมือกับประเทศต่างๆในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาคเอเชียและยุโรป เหมือนแนวเส้นทางสายใหมในอดีต
เป็นการเชื่อม จีน เข้ากับโลก ผ่านเส้นทางสองสาย คือ
- เส้นทางสายใหมบก (Silk Road Economic Belt) หรือชื่อย่อคือ One Belt เชื่อมจีนเข้ากับเอเชียกลาง รัสเซีย ยุโรปตันออก ยุโรปกลาง และยุโรปตะวันตก
- เส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road) หรือก็คือ One Road ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือที่เชื่อมไปถึงแอฟริกา
ยุทธศาสตร์ OBOR นี้คลอบคลุมประเทศใกล้เคียงตามแนวเส้นทางทั้งหมด 65 ประเทศ โดยมีไทยรวมอยู่ด้วย แม้จะไม่ผ่านโดยตรง แต่ผ่านทาง ระเบียงเศรษฐกิจจีน-คาบสมุทรอินโดจีน (China-Indochina Peninsula Economic Corridor – CICPEC)
สิ่งที่น่าสนใจของยุทธศาสตร์นี้คือ
- มันสะท้อนบทบาทใหม่ของจีน ที่จะก้าวเป็นผู้นำในเวทีนานาชาติมากขึ้น โดยต้องการสร้างการเชื่อมโยงทางการค้าและธุรกิจภายในภูมิภาคเอเชีย ยุโรป แอฟริกา เพื่อคานพลังกับยุโรป-สหรัฐ ที่นับวันมีแนวโน้มจะชาตินิยมมาก เช่น การมาของ Trump, Brexit
- ยุทธศาสตร์นี้มีกรอบความคิดที่ยืดหยุ่น ไม่ใช่ว่าจีนจะแจกเงินประเทศยากจนให้ไปลงทุนทำโครงการต่างๆ แต่ต้องเป็นโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ที่จีนเห็นว่ามันจะมีประโยชน์กับจีนด้วย โดยจีนยืนยันจะไม่แทรกแซงการปกครองในแต่ละประเทศ และไม่สนว่าประเทศนั้นจะปกครองโดยเสรี หรือเผด็จการ
- วิธีนี้ก็ช่วยแก้ปัญหาในประเทศจีน เพราะในระยะยาวน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าไปซื้อพันธบัตรสหรัฐ และช่วยเรื่องการผลิตเกินตัวของจีน
Part 3 : เทคโนโลยี – แผนการใหญ่ AI และเทรนใหม่
1. แผน AI 2030 : เมื่อหุ่นยนต์กุมอนาคตจีน
ทำไมจีนต้องการก้าวเป็นผู้นำโลกในด้าน AI ให้ได้ ภายในปี 2030
AI จะไปได้ดี ต้องมี สามพลัง คือ พลังประมวลผลของคอมพิวเตอร์(Computational power) พลังข้อมูล (Big data) และ พลังของ Algorithm
จีนนั้นยังล้าหลังสหรัฐ ในเรื่องพลังการประมวลผล (เพราะ microship ที่ดีสุดเป็นของสหรัฐ) และ Algorithm (นักวิทยาศาสตร์เก่งๆอยู่ที่สหรัฐมากกว่า)
แต่ที่จีนชนะใสๆ คือ Big data
เพราะปัจจุบัน จีนเป็นประเทศออนไลน์เต็มตัว มีข้อมูลในรูปแบบ digital มหาศาล ด้วยประชากรที่มากที่สุดในโลก
ที่สำคัญ เป็นประเทศที่ไม่มีกฏเกณฑ์เรื่อง privacy ที่รัดกุมเข้มงวดเหมือนประเทศที่เจริญแล้ว
จีนจึงมี Big data ที่ทำให้ AI สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว
แล้วจีนต้องการอะไรจาก AI?
จีนมองว่า AI เป็นกุญแจที่จะตัดสินอนาคตในทุกๆเรื่องของจีน
ในด้านเศรษฐกิจ – AI จะลดต้นทุนธุรกรรม สร้างสรร Model ใหม่ๆ เพิ่มคุณค่าทางเศรษฐกิจให้จีนอย่างมหาศาล
เรื่องความมั่นคง – AI ก็มีที่ใช้มากมาย เช่น ใช้ในการคำนวณ social credit score , ใช้ในการ censor ความเห็นต้านรัฐบาลใน Social media ระบบตรวจสอบใบหน้า
นอกจากนี้ AI ยังสามารถใช้โน้วน้าวพฤติกรรมคนได้
ดังเช่นในกรณีของ Facebook , Google ที่มันรู้หมดว่าเราชอบอะไร สนอะไร มันก็จะเสนอแต่สิ่งที่เราสนใจ และสิ่งที่เราชอบ
แต่บริษัทพวกนี้เป็นเอกชน ที่เอาข้อมูลไว้หากำไร อันตรายกับเราก็อาจจะแค่สูญทรัพย์
ในกรณีของจีน ข้อมูลมหาศาลอยู่ในมือรัฐบาล และบริษัทเอกชนที่พร้อมให้ความร่วมมือกับรัฐบาล
ซึ่งคงน่ากลัวหากข้อมูล และระบบ AI จะถูกนำไปใช้ในการโน้วน้าวพฤติกรรม ความคิดประชาชน และสามารถกำจัดคนเห็นต่างทางการเมือง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สุดท้ายแล้ว AI จึงอาจนำไปสู่จุดจบของโลกเสรีธิปไตย
2. Model ธุรกิจที่น่าสนใจของจีน
2.1 กลยุทธ์ AI ของ Baidu
Baidu คือบริษัท Search engine อันดับหนึ่งของจีน ที่พ่ายแพ้สงคราม mobile internet ให้แก่ Alibaba และ Tencent
Robin Li เจ้าของไป่ตู้ รู้ว่าตัวเขาพลาดแล้ว จึงเดิมพันกับอนาคตครั้งใหม่ ที่จะมาต่อจาก mobile internet — เขาเชื่อว่าสิ่งนั้นคือ AI
ทำให้บริษัทไป่ตู้ทุ่มสุดตัว ในการ วิจัยและ พัฒนา AI โดยกลยุทธ์ต่างๆ คือ
- คิดใหญ่ไม่กลัวยาก
เช่นโครงการ Apollo ที่ตั้งเพื่อพัฒนารถไร้คนขับแข่งกับ Google Car
โครงการ Baidu Brain ที่จะวิจัยพัฒนาความสามารถการฟัง พูด มอง เขียน ของ AI โดยมี input จำนวนมหาศาลจากพลเมืองเน็ตหลายร้อยล้านคนของจีน
- บุกทุกวงการ
Baidu ตั้งเป้าให้ AI มีการปรับใช้ไปในทุกวงการ โดยการพัฒนา Baidu DuerOS ที่เป็นคล้ายๆกับ Amazon Alexa ซึ่งสารเอาไปใช้กับอุปกรณ์ Internet of thing ได้
ซึ่งจุดได้เปรียบต่อเจ้าอื่นๆในตะวันตก ก็คือการที่สามารถเก็บข้อมูลผู้ริโภคได้รวดเร็วมหาศาลนั่นเอง ด้วยประชากรจีนและการไร้พรมแดนด้านPrivacy นั่นเอง
- ประสานสิบทิศ
ร่วมกับบริษัทกว่า 30,000 แห่ง ในทุกวงการ เพื่อเอา AI ของ Baidu ไปใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ ไม่เว้นแม้แต่การร่วมมือกับรัฐบาลท้องถื่น เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาต่างๆ เช่น จราจร ซึ่งลักษณะเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในบริษัทของอเมริกา (Google ก็ง่วนอยู่กับผลิตภันฑ์ของเขาเอง ไม่ได้ไป Tag Team กับรัฐบาล หรือบริษัทใหญ่อื่นๆ)
- ดึงดูดบุคคล และพัฒนาบุคลากร
จัดตั้ง AI Lab ที่สหรัฐ เพื่อดึงดูดนักวิจัยชั้นนำมาร่วมมีม และเปิดคอร์สอบรมบุคลากรระยะสั้นในจีน โดยใช้วิทยากรระดับโลก มาพัฒนาทักษะของนักวิทย์จีนรุ่นไหม่ไฟแรง เพื่อเพิ่มจำนวนคนคุณภาพและพัฒนาศักภาพบุคลากรจีนให้มากขึ้น
2.2 Alibaba และ Jack Ma
สำนักตั๊กม้อ ของแจ็กหม่า
ปี 2017 แจ็ก หม่า จัดตั้งสถาบันตั๊กม้อ (DAMO Academy) ซึ่งเป็น R&D หน่วยหนึ่งของ Alibaba
DAMO ย่อมาจาก Discovery, Adventure, Momentum และ Outlook
สถาบันตั๊กม้อนี้ มีเพื่อจุดประสงค์เดียวคือ การพัฒนา AI โดยใช้กลยุทธ์ดึงพลังจากทั้งในและนอก ด้วยการเปิดสถาบันนี้ทั้งในจีนและตปท เพื่อดึงดูดนักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรชั้นนำทั่วโลก
อนาคตของ Alibaba นั้น อยู่ที่ว่าจะใช้ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้บริโภคหลายร้อยล้านคนได้อย่างไร Input ข้อมูลของAlibaba นั้นมีมหาศาล
ไม่ว่าจะ offline คือข้อมูลที่ทำผ่าน Alipay ซึ่งถือว่าได้เปรียบ Amazon มาก
ส่วนโลก online นั้น Alibaba ก็เป็นเจ้าของทั้งแอป Taobao , Tmall, Hema, Appจองทัวด้วย Feizu, ดู Clip ใน Youku, เล่นเกมใน Alibaba Game ,โซเชียลใน sina weibo จนถึงขอกู้เงินผ่าน Ant Financial
ข้อมูลมหาศาลนี้ จะทำให้ Alibaba เอามันไปพัฒนาธุรกิจ ได้อย่างตรงจุด และพัฒนารูปแบบธุรกิจได้หลากหลาย
New Retail วิสัยทัศน์ของ Jack Ma
New retail คือโมเดลการเชื่อมห้างร้านในโลกออฟไล เข้ากับ E-commerce (Online to offline)
โมเดลธุรกิจนี้ เชื่อมโยง สินค้าในโลกออนไลน์ ออฟไลน์ ระบบ Logistics และ big data เข้าด้วยกัน
Alibaba จึงออกมาลงทุนเปิดร้านเอง แต่ไม่ใช่แบบเดิมๆ เช่น
ร้านโชห่วยทันสมัย : นอกจากขายของตามปกติแล้ว ลูกค้าสามารถสั่งของจาก tmall.com แล้วมารับที่ร้านได้ หรือปล่อยกู้ได้
Hema ซูเปอมาเก็ตทันสมัย : นอกจากลูกค้าสามารถชำระเงินผ่าน scan QR code สามารถสั่งของออนไลน์ที่ส่งฟรีใน30นาที ภายในรัศมี 3 กิโลเมตร สามารถสั่งซีฟู้ดได้ ตัว supermarket นี้ ยังเป็นศูนย์กระจายสินค้า e-commerc ของ Alibaba อีกด้วย
Tao Café’ ร้านนำร่องที่คล้าย amazon go โดยเป็นร้านสะดวกซื้อที่ไม่ใช่พนักงาน เดินหยิบของแล้วสแกนหน้าคนซื้อออกมาได้เลย จะหักเงินอัตโนมัติเองในบัญชี
2.3 เศรษฐกิจ QR Code
คนจีนไม่ต้องใช้กระเป๋าตัง แค่มีสมาตโฟน ก็ซื้อของทุกอย่างได้ ผ่าน QR code โดยในปี2016 นั้นพบว่าคนจีนใช้จ่ายเงินด้วย smart phone เป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของ GDP และมีมูลค่ามากกว่า mobile payment of usa กว่า 50 เท่า
สิ่งนี้ทำให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ เช่น
แสกน QR code เพื่อให้ทิป
เจ้าสาวแขวนป้าย QR code แทนการรับซอง
ขอทานต้องแขวนป้าย QR code เพราะไม่มีใครพกตัง
การใช้จ่ายเงินแบบนี้ทำให้คนจีนสมัยใหม่ มีperception ต่อค่าของเงินต่างไปหรือไม่ อาจต้องรอคำตอบในภายหน้า
แต่วิธีนี้มันทำให้พวกร้านค้า ธุรกิจ องกรใหญ่ๆ มี Big data ไว้ประมวลผลข้อมูลผู้บริโภคมหาศาล
2.4 เศรษฐกิจการแชร์ (Sharing Economy)
Sharing economy เป็นสิ่งที่ฮอตฮิตในจีน นอกจากแชร์รถ (DiDi) แชร์ห้องพักแล้ว สิ่งอื่นก็มีการแชร์ เช่น
Ofo แชร์จักรยาน
Zhulegeqiu แชร์ลูกบาส
Molisan แชร์ร่ม
โดยงานวิจัยของรัฐบาลจีน พบว่าตลาดsharing economy นี้จะเติบโต เป็นสัดส่วน 10% ของ GDP ในปี 2020
เหตุที่รูปแบบธุรกิจนี้มาแรงในจีน ก็เชื่อว่าเพราะ คนหนุ่มสาวจีนให้ความสำคัญกับประสบการณ์ มากกว่าสะสมสิ่งของ การแชร์ จึงทำให้ลดการต้องทุ่มเงิน มีเงินเหลือใช้มากขึ้น และด้วยการที่ QR code นั้นเป็นที่ยอดนิยม คนก็ปรับตัวกับมันง่ายขึ้น
3. วงการ start up จีน
ฮีโร่ของหนุ่มสาวชาวจีน คือ Jack Ma
ประเทศจีนมีวงการstart up ที่รุ่งเรือง ไม่แพ้ของอเมริกา ในบรรดา start up unicorn ทั่วโลก 276 รายการ มีกิจการ 96 กิจการอยู่ในเมืองจีน
ที่วงการนี่รุ่งเรือง เพราะจำนวนประชากรจีนอันมหาศาล และกองทุนในจีนที่มีเงินพร้อมอัดฉีดให้ช่วงเริ่มแรกของstart up สูงกว่าในสหรัฐ2-3 เท่า
โดยยุคเริ่มแรก start up จีนจะเน้นเลียนแบบไอเดียจากต่างชาติ เช่น tencent เลียนแบบ icq , Baidu เลียนแบบ google
แต่ภายหลัง ก็เน้นสรรสร้างสิ่งใหม่ๆ ซึ่งทำได้ไม่แพ้ตะวันตก
Start up จีนกับสหรัฐมีความเหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ มันเจริญได้เพราะ คนหนุ่มสาวกล้าเสี่ยง เพราะรู้ว่าจะล้มบนฟูก แม้จะล้มเหลว ก็มีลู่ทางทำมาหากินต่อได้ เช่น อาจกลับไปทำงานประจำ ซึ่งบริษัทพวกนี้จะชอบหนุ่มสาวที่เคยมีประสบการณ์การทำธุรกิจของตัวเองมาก่อนอีกด้วย
ต่างกับหลายๆประเทศ เพราะคนที่กล้าทำสตาทอัพมักเป็นพวกลูกคนรวย เพราะกลัวล้มแล้วหมดตัว หรือหมดวัยหางานประจำทำ
Epilogue: จีน vs สหรัฐ ใครครองอนาคต?
โลกศตวรรษที่ 19 เคยหมุนรอบอังกฤษ
โลกศตวรรษที่ 20 หมุนรอบ สหรัฐ
แล้วโลกยุคใหม่ในอนาคต จะหมุนรอบจีนหรือไม่?
ในบทนี้อาจารย์อาร์มได้ยกความเห็นของศาสตราจารย์ และนักวิเคราะห์ชื่อดัง มาให้ผู้อ่านลองพิจารณากัน
คร่าวๆคือ ไม่มีใครรู้จริง
อยู่ที่แต่ละคนจะเชื่อว่าระบบประชาธิปไตยจะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของแทคโนโลยี และความเหลื่อมล้ำที่จะเกิดขึ้นจากเทคโนโลยี ได้ดีกว่าระบบเผด็จการหรือไม่
รวมถึงจะเชื่อว่า ประเทศทุนนิยมเสรี จะคิดเทคโนโลยีได้ดีกว่า ประเทศเผด็จการที่ร่วมมือกับบริษัทชั้นนำ หรือไม่
แต่ที่ปฏิเสธไม่ได้คือ ประวัติศาสตร์แสดงให้เราเห็นมานับครั้งไม่ถ้วยน ว่ามหาอำนาจของโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดมา ดังที่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 น้อยคนจะคิดว่าสหรัฐ จะผงาดเป็นผู้นำโลก
อ.อาร์มเสนอว่า ไทยต้องไม่หลงยกยอจีน หรืออเมริกาเกินจริง
และต้องรู้ว่าประเทศมีไพ่อะไรไว้ในมือบ้าง และจะเดินเกมอย่าไรดี ในโลกใหม่เช่นนี้