สรุปหนังสือ: Fooled by Randomness – Part III

Fooled By Randomness รีวิว สรุป
ผู้เขียน : Nassim Nicholas Taleb
สำนักพิมพ์ : Random House Trade Paperbacks
จำนวนหน้า : 368 หน้า
Genre : Philosophy
ISBN : 9780812975215
พิมพ์ครั้งแรก : August 2005 (2nd edition)

7

เนื้อหา

7.0/10

การนำเสนอ

7.0/10

Part III : Wax In My Ears – Living with randomitis

I am not so intelligent

  • Taleb บอกว่าการมีอาชีพที่ต้องยุ่งอยู่กับ randomness นั้นทำให้เขาตระหนักรู้ได้ว่า เขาไม่ได้ฉลาดพอ แข็งแกร่งพอ หรือ สามารถเอาชนะอารมณ์ของเขาได้ กลับกัน เขาเชื่อว่าต้องใช้อารมณ์ความรู้สึกในการ formulate idea เสียด้วยซ้ำ – แต่เขาก็ฉลาดพอจะรู้ว่าตัวเองมีแนวโน้มจะโดนความ randomnesss หลอก รู้ว่าตัวเองเจ้าอารมณ์
  • ความแตกต่างจากเหล่าคนที่เขาชอบประจานในหนังสือเล่มนี้ คือเขาพยายามจะตระหนักถึงความมีอยู่ของมัน แต่ไม่ว่าจะศึกษาและพยายามเข้าใจเรื่อง probability มากแค่ไหน อารมณ์เขาก็จะตอบสนองต่างจากสิ่งที่สมองบอกเขาอยู่ดี
  • สมอง(ของเขา)สามารถแยกได้ว่าอะไรคือ noise หรือ signal แต่ หัวใจมันแยกมันไม่ได้ 
  • เช่น เขารู้ดีว่าการโกรธคนที่บีบแตรรถใส่นั้นไม่ดีต่อสุขภาพ ความรู้สึกหัวเสียจากการอ่านความเห็นของพวก”ผู้เชี่ยวชาญ”การเงินหรือเศรษฐศาสตร์ที่มีแต่ความเข้าใจผิดๆนั้น ก็ไม่ดีต่อสุขภาพ ดังนั้นสิ่งที่ดีสุดคือไม่ต้องอ่านมัน เช่นเดียวกัน กับที่เขาไม่สนใจการอ่าน comment ที่ไม่ได้ร้องขอจากเหล่านักวิจารณ์ที่มีต่อหนังสือเล่มนี้ 

Wittgenstein’s ruler

  • ทำไมจึงไม่ควรสนใจคำวิจารณ์ทั่วๆไป ถ้าจะสนก็เฉพาะคนที่เขาเคารพในปัญญา และขอให้เขียนรีวิวให้เท่านั้น?
  • คำอธิบายในแง่ความน่าจะเป็นคือ mechanism ที่มีชื่อว่า conditional information – ถ้า source ของข้อมูลไม่ได้มีคุณภาพมากจริงๆ สิ่งที่ออกมาจาก source นั้นจะบอกเกี่ยวกับ source มากกว่า information ที่แหล่งผลิตต้องการสื่อ เช่น book review ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี อาจเอาไว้บอกถึงคนรีวิว มากกว่าตัวเนื้อหาในหนังสือ  
  • Taleb เรียกสิ่งนี้เรียกว่า Wittgenstein’s ruler – ถ้าคุณไม่ได้มั่นใจในความเที่ยงตรงของไม้บรรทัด และใช้มันมาวัดความยาวโต๊ะ มันอาจเป็นว่าคุณใช้โต๊ะมาวัดไม้บรรทัดเสียมากกว่า ยิ่งไม้บรรทัดไม่มีความน่าเชื่อถือ ข้อมูลที่ได้จากการใช้มันนั้น จะบ่งบอกถึงตัวมันมากกว่า
  • ปัญหาคือแม้เขาจะรู้ถึงมันดี แต่ก็อดรู้สึกไม่ได้เวลาอ่านรีวิวหนังสือที่เขาเขียน ไม่ว่าจะเป็นคำชมหรือคำวิจารณ์ ก็ยังรู้สึกดีเสมอ เวลาที่มีใครไม่รู้จัก มาเขียนชมหนังสือของเขา

The Odyssean Mute Command

  • Taleb พยายามออกห่างการเสพสื่อสิ่งพิมและรายการข่าว เขารู้สึกว่าทำมันได้ดีน่าเชื่อถือมากจนตอนนี้เขาจะต้องใช้พลังงานไปมากกับการดูทีวี (เพราะต้องคิดตลอดเวลา พยายามไม่คล้อยตามทุกเรื่อง) มากกว่าทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น เขียนหนังสือ
  • แต่มันก็ต้องมีทริกเล็กๆน้อยๆในช่วงแรก เพราะมันก็มีความต้องการที่จะเสพข้อมูล
  • วิธีที่เขาใช้นั้นคือเขาจะเปิดทีวีตลอดเวลา แต่muteเสียงไว้ มันจะทำให้สีหน้านักข่าวหรือผู้บริหารในรายการที่ดูตึงเครียด ตลกสุดๆ
  • Part III จะเป็นบทสรุปของหนังสือ จะ present human aspect ในการ deal กับ uncertainty – ตัวเขาไม่สามารถสร้างฉนวนครอบจักรวาลที่กันเขาออกจาก randomness ได้ แต่ก็ค้นพบวิธีช่วยบางอย่าง

Chapter 12 : Gamblers’ ticks and pigeons in a box

Taxi-cap English and Causality

  • ในช่วงชีวิตทำงานต้นๆนั้น มีวันหนึ่งที่เขาโชคร้าย เจอคนขับแท็กซี่ที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ คนขับพาเขาหลงไปไกลทำให้เขาเข้าทำงานผิดทาง แต่วันนั้นเป็นวันที่เขาทำผลงานได้ดีที่สุดตั้งแต่เริ่มอาชีพมา เขารู้สึกขอบคุณแท็กซี่คันนั้น – ซึ่ง Taleb บอกว่ามันคงมีบางอย่างในตัวเขาที่พยายามหา casual link ระหว่างสิ่งต่างๆให้เสมอ
  • แม้เขาจะฝึกมาให้มีเหตุผล ฝึกมาให้คิดแบบความน่าจะเป็น แต่ก็อดรู้สึกเชื่อในโชคลางเล็กๆน้อยๆไม่ได้เหมือนกัน เขามีเพื่อนร่วมอาขีพหลายๆคนที่เป็นแบบนี้ บางคนเป็นผู้ที่ฉลาดหลักแหลมมากๆ แต่กลับเชื่อในโชคลางสุดๆ เช่น ถามหมอดูก่อนจะเล่น trade ด้วยเงินเยอะๆ

The Skinner Pigeon experiment

  • ตอนอายุ 25 ปี เขายังไม่รู้จัก Behavioral sciences และคิดมานานว่าการศึกษาและวัฒนธรรมที่เขาโตมานั้นทำให้เขามีความเชื่อในโชคลาง และมันถูกทำให้เบาบางลงได้ผ่านการฝึกใช้เหตุผล
  • แต่ การเชื่อในโชครางนั้น มันเป็นส่วนหนึ่งที่สมองเราพัฒนามาตั้งแต่โบราณ
  • ตัวอย่างคือ BF Skinner ได้ทดลองศึกษาการมี formation of causal association ในสัตว์ที่วิวัฒน้อยกว่าคน การทดลองคือ เขาจะใส่นกไว้ในกล่อง แล้วให้มีเครื่องส่งอาหารแบบ random time – สิ่งที่พบคือ นกแต่ละตัวนั้นจะมีการพัฒนาพฤติกรรมที่แปลกประหลาด เช่น บางตัวจะเต้นไปรอบๆ บางตัวจะส่ายหัวไปมาเป็นจังหวะเฉพาะ บางตัวหมุนหัวทวนเข็มนาฬิกา ราวกับว่านกแต่ละตัวสร้าง specific ritual ที่มันเชื่อว่าทำแบบนี้แล้วจะเกี่ยวข้องกับการได้กินอาหาร 
  • สิ่งมีชีวิตจึงอาจไม่ได้ถูกพัฒนามาให้เห็นความเป็นอิสระกันระหว่างของสองสิ่ง เมื่อเห็นเหตุ A และ B มันยากที่เราจะไม่ assume ว่า A ทำให้เกิด B หรือ B ทำให้เกิด A -> เรามี Bias ที่พร้อมจะแต่งตั้ง Casual link ให้มันในทันที

Philostratus Redux

  • ในฐานะ Rational Trader เขาเขื่อว่ามันมีความแตกต่างระหว่าง noise และ signal, เราต้องไม่สนใจ noise
  • เขาใช้วิธีคำนวณเอาว่าความผันผวนในtrading performance มาดูว่าอันไหนเป็น noise อันไหนเป็น signal เช่น กำไร 100,000 โดยใช้กลยุทธ์หนึ่ง เขาจะบอกว่ามันมีความน่าจะเป็น 2% ที่กลยุทธ์นี้เป็นของจริง 98% ที่กลยุทธ์นี้เป็นแค่ noise ในขณะที่หากอีกกลยุทธ์ได้กำไร 1ล้าน เขาจะคิดว่ามันเป็นของจริง 99% – ผู้ที่มีเหตุผลก็จะเลือกใช้วิธีตามที่มันควรจำเป็น โดยเอาอารมณ์ออกห่างจากผลที่ได้
  • อย่างไรก็ตามเขาก็รู้สึกดีใจทุกครั้งที่มันได้กำไร แม้รู้ว่าสิ่งที่ทำไปนั้นเป็นผลจาก noise และหงุดหงิดที่เสียเงินแม้จะรู้ว่ามันไม่ได้มี statistical significant ใดๆ มันช่วยไม่ได้ เพราะเขามีอารมณ์มาเป็นตัว drive และให้พลัง
  • ดังนั้นเมื่อไม่สามารถทำให้ความรู้สึกหยุดไปได้ เขาเลยต้องมี serious action ในการหลีกเลี่ยง irrational trading decision วิธีนั้นคือการยับยั้งตัวเองไม่ให้ access performance report จนกว่าจะถึงเวลา เปรียบเทียบเวลาเรารู้สึกอยากกินขนม แต่ยังไม่ถึงเวลาที่จะกิน เราก็จะไม่ตั้งขนมไว้ใกล้ๆโต๊ะทำงาน
  • หนึ่งในสิ่งที่น่ารำคาญที่สุดเวลาคุยกับผู้คนคือ การถูกสอนว่าเราต้องทำตัวแบบไหน เพราะเราหลายๆคนรู้อยู่แล้วว่าเราต้องทำตัวแบบไหนจึงจะดี แต่การ execution นี้แหละจะทำได้หรือเปล่ามันก็อีกเรื่อง เราไม่ได้ไม่มีความรู้ – เราอาจต้องยอมรับว่าเราต้องการ Trick ในการทำสิ่งต่างๆ เพราะลำพังการฟัง lecture การอ่านหนังสือ Self-help อย่างเดียว คงพาเราไปไหนไม่ได้
  • “Most of us know pretty much how we should behave. It is the execution that is the problem, not the absence of knowledge”

Chapter 13 : Carnages comes to Rome –  On Probability and Skepticism

Carnages comes to rome

  • Probabilistic thinking ในประวัติศาสตร์นั้นที่มีปรากฏในที่แรก คือ 600 BC ในเมือง Silicy ซึ่งมีนักปราชญ์ชื่อ Korax สอนให้ประชาชนคิดแบบความน่าจะเป็น – สอนการคิดใน the most probable notion เช่น การถกกันว่าใครเป็นเจ้าของที่ดิน โดยไม่มีข้อมูลที่แน่นอน ที่ดินมันก็ควรเป็นของคนที่มีคนรู้จักมากที่สุด เป็นต้น
  • ในช่วงกรีกโบราณนั้น แนวคิดเรื่อง Skepticism เป็นแนวคิดที่แพร่หลายมาก – คอนเซ็บหลักคือ ไม่มีอะไรที่เรายอมรับได้แน่นอน บทสรุปนั้น based on various degree of probability และมันเป็นแนวทางปฏิบัติที่ยาวนานจนถึงยุค Theology
  • จนมาช่วงศาสนาที่ความเชื่อว่าความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว แนวคิด skepticism ก็เจือจางไป แล้วค่อยกลับมาอีกครั้งในยุค renaissance

Monsieur De Norpois’ opinions

  • Modern time นั้นบอกเราว่า Self-contradiction (การเปลี่ยนใจจากสิ่งที่เคยเชื่อ) มันน่าอาย ในนิยายของ Marcel Proust ชื่อ In search of time lost มีนักฑูตใกล้เกษียนชื่อ Marquis de Norpois – ที่แสดงในเรื่องว่าได้เปลี่ยนจุดยืนไปมา ผู้เขียนนิยายเชื่อว่านักการฑูตนั้นควรจะเชื่อมันในความเห็นของเขา มิฉะนั้นก็เป็นพวกทรยศ ทีนี้ลองสมมติว่านักการฑูตคนนี้เป็น Trader 
  • Trader ที่เก่งที่สุดคนหนึ่งที่ Taleb เคยเจอคือ Nigel Babbage ซึ่งสามารถปล่อยใจให้อิสระจากทุกความเชื่อที่ผ่านมา เขาไม่อายที่จะซื้อขายสิ่งที่เมื่อชั่วโมงก่อนพึ่งให้ความเห็นว่ามันไม่ work อะไรทำให้เขาเปลี่ยนใจง่ายๆ เขาคิดว่ามันไม่จำเป็นต้องอธิบายให้ใครรับรู้
  • บุคคลสาธารณะที่แสดงลักษณะ self-contradiction โดดเด่นที่สุดคือ George soros – ความแข็งแกร่งคือเขาเปลี่ยนความเห็นได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ได้รู้สึกอับอายอะไร ตัวอย่างเหตุการณ์นั้นมีในหนังสือ autobiography ของtrader ชื่อ Jean-manuel rozan – ตัวเอกของเล่ม (Rozan) เคยเล่นเทนนิสกับ George Solos โดยตอนนั้นยังไม่รู้ว่าเขามีอิทธิพลแค่ไหน มีสัปดาหนึ่ง Soros บอกว่าเขาคิดว่าหุ้นจะลง โดยยกเหตุผลต่างๆนานาที่ผู้เขียนฟังไม่รู้เรื่อง
  • ทฏษฎีเทพๆต่างๆจาก Soros นั้นบอกว่าตลาดกำลังจะลงแน่ๆ และเขาได้ short market รอไว้แล้ว ….แต่ไม่กี่วันต่อมา ตลาดหุ้นกลับพุ่งกระฉูดและทำ new high! Rozan เลยคิดว่า Soros โดนดีเข้าแล้ว และสงสัยว่า Soros เจ็บตัวแค่ไหน ปรากฏ Soros ว่าไหวตัวทันและทำกำไรได้งดงาม!
  • นิสัยนี้เองของ soros ที่ไม่กี่ปีต่อมาทำให้ Rozan เจ็บหนักเกือบจบอาชีพ , Soros ให้เงิน Rozan มา 20 m USD ซึ่งมากพอจะก่อตั้งบริษัทลงทุนได้ ไม่กี่วันต่อมา Soros ไปเยือนปารีส พวกเขาถกกันเรื่องตลาด แล้วหลังจากนั้นไม่นาน Soros ก็เอาเงินกลับมาหมดโดยไม่อธิบายอะไรเลย! สิ่งที่แยกเหล่านักเก็งกำไรทั่วไปออกจากตัวจริงอย่าง soros ก็คือ soros ไม่สนเรื่อง path dependence , ไม่สน past action , ทุกๆวันคือการเริ่มต้นใหม่!
  • Path dependence of beliefs มีชื่อทางเศรษศาสตร์ว่า Endowment effect – สมมติคุณซื้อรูปวาดมาในราคา 20,000$ แล้ววันดีคืนดี ราคามันขึ้นมา 40,000$ คำถามคือถ้าคุณไม่ได้มีรูปนี้อยู่ คุณจะซื้อมันที่ราคาแพงขึ้น1เท่านี้หรือไม่? ถ้าตอบว่าไม่ แล้วคุณยังไม่ขาย มันแสดงว่าคุณ Marry to your position – มันไม่มีเหตุผลที่คุณจะเก็บรูปวาดนี้ไว้ รูปภาพที่คุณไม่คิดจะซื้อในราคาตลาดปัจจุบัน สิ่งที่ทำอยู่นี้คือ emotional investment – หลายๆคน marry their idea จนตาย
  • มีเหตุผลมากมายในทางวิวัฒนาการที่เราอาจจะถูก programmed มาให้มีความจงรักภักดีต่อ idea ที่เราทุ่มเทกับมันมาเนิ่นนาน – ลองคิดถึงผลที่จะเกิดขึ้น หากเอานิสัย trader ที่ดีมาใช้กับชีวิตประจำวัน ว่าจะฉิบหายแค่ไหน เช่น ตื่นมาคิดทุกวันว่าควรจะอยู่หรือไปกับคู่ชีวิตปัจจุบันนี้ เพื่อไปหา emotional investment ที่ดีกว่า หรือ นักการเมืองที่มีเหตุผลสุดๆและพร้อมจะเปลี่ยนแนวคิด เปลี่ยนพรรคการเมือง ตลอดเวลาตราบใดที่มีหลักฐานใหม่ๆมาสนับสนุน 
  • มันจึงเป็นไปได้ว่า trader ที่หักห้ามอารมณ์และมีเหตุผลสุดๆนั้นเป็นของแปลก อาจเพราะเขามี rare mutation บางอย่าง นักวิจัยพบว่าคนที่มีเหตุผลสุดๆนั้นสามารถเกิดได้จาก defect of amygdala ซึ่งทำให้คนๆนั้นปราศจาก emotion of attachment -> ซึ่งบางครั้งเราเรียกคนที่ไม่มีความรู้สึกผิดชอบชัวดีว่า psychopath นั่นเอง! เป็นไปได้มั้ยที่ Soros มีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ทำให้เขาเป็นคนโคตรมีเหตุผล ?
  • นิสัยที่จะปราศจาก marry to idea นั้นเป็นสิ่งหายากในเหล่าผู้คน – นักวิชาการผู้โด่งดังคงไม่หาเรื่องป่าวกระกาศสิ่งที่ทำให้ idea ของเขามันด้อยค่า หรือทำลายล้างสิ่งที่เขาได้ลงทุนมาเนิ่นนาน ตั้งแต่เนิ่นนานแล้ว ที่ภาพลักษณ์ของผู้คนที่ย้ายพรรค คือผู้ทรยศ เป็นปีศาจ เป็นพวกนอกรีต

Computing Instead of Thinking

  • Probability เกิดขึ้นมาในคณิตศาตร์จาก Gambling Theory และเป็นที่แพร่หลายด้วยอุตสาหกรรม Risk Measure – ที่เชี่ยวชาญในการใช้หลักความน่าจะเป็นในการมาประเมินความเสี่ยงต่างๆ ซึ่งมันต่างกันระหว่างที่ใช้ในคอมพิวเตอร์กับโลกความเป็นจริง
  • ธรรมชาติไม่ได้ให้กฏเกณตายตัว แต่ผู้คนก็ยังยืนยันจะพยายาม “measure risk” อยู่ดี
  • ตัวอย่างก็คือ Harry Markowitz นักเศรษศาสตร์ผู้โด่งดังที่ได้คิดวิธีหรูหราในการประมวลผล future risk (ราวกับว่าโลกนี้มีกฏที่ตายตัว) ผลที่ตามมาคือทฤษฎีของเขานั้นเกือบทำระบบการเงินล่มสลายลงไปในปี 1998 จากการล่มสลายของกองทุน Long term capital management – กองทุนที่มีเพื่อนร่วมงานของ dr Markowitz ซึ่งได้รางวัลโนเบลเช่นกัน คือ dr Robert Merton และ Myron Scholes – พวกเขาคิดว่าสามารถ measure risk ได้ และมั่นใจสุดๆว่า วิธีลงทุนใน LTCM นั้นไม่ผิดแน่นอน (หลังเหตุกาณ์ล่มสลาย Taleb ก็โด่งดังมากขึ้น)
  • แม้กระนั้น ผู้เชี่ยวชาญดีกรีรางวัลโนเบลยังแก้เขินบอกว่า ความหายนะนี้คือ Ten sigma event (โอกาสเกิด 1/พันล้าน x พันล้าน) ก็คือจะอ้างว่าทฤษฎีที่ได้รางวัลนั้นถูกแล้ว แต่พวกเขาโชคไม่ดีนั้นเอง – Taleb บอกว่า เวลาที่ได้ยินคนที่พูดคำนี้ เราต้องคิดถึง Wittgenstein ruler problem ทันที เพราะมันคำพูดเขาขัดแย้งกันอย่างมาก นั่นคือ
    • 1.คำว่า ten sigma ที่เขาเปล่งออกมานั้น มันก็แสดงว่าเขารู้นี่ ว่ามีโอกาสที่ทฏษฎีมันไม่ถูก เพราะถ้าถูกมันต้อง 100% มันต้องไม่มี Ten sigma และเมื่อรู้ว่าโอกาสที่จะล่มสลายนั้นมีอยู่ ทำไมไม่อุดรอยรั่วเสีย? หรือ
    • 2. คนที่พูดนั้นไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับความน่าจะเป็นเลย และความจริงมันเป็นเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดได้มากมายกว่านั้น
  • เราอาจคาดหวังว่า เมื่อนักวิทย์พลาดขึ้นมา พวกเขาจะสร้างวิธีใหม่ที่ผนวกรวมกับสิ่งที่เขาได้เรียนรู้มา ดังนั้น เมื่อนักวิชาการเจ๊งไม่เป็นท่าจากทฤษฎีที่เขาคิดว่าเพอเฟ็ค เขาก็น่าจะเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้จากโลกความเป็นจริงมาผนวกกับสิ่งที่เขามีอยู่ และกล้าที่จะบอกว่าสิ่งที่คิดมานั้น มันผิด!
  • แต่โลกความจริงก็อย่างที่เราๆรู้ มันไม่เป็นแบบนั้น ในกรณีของ Long Term Capital investment – ผลคือ ไม่มีใครบอกว่าสิ่งที่ตัวเองคิดมามันผิด มีแต่บ่นว่าถูกศัตรูคู่แข่งโจมตี และทำให้พวกเขาเจ๊งไม่เป็นท่า การยอมรับในสิ่งที่เกิด มันเป็นความกล้าหาญ แต่มันจะทำให้สิ่งที่เขาใช้เวลาทั้งชีวิตคิดมาเปล่าประโยชน์ – เหล่าผู้เชี่ยวชาญต่างให้คำอธิบายภายหลังต่างๆนานาว่ามันเป็นผลจาก rare event (ซึ่งก็เป็น problem of induction ว่าพวกเขารู้ได้ไงว่ามันเป็น rare event?) พวกเขาทุ่มไปกับการหาเหตุผลมาปกป้องตัวเอง มากกว่ายอมรับว่าได้เรียนรู้อะไรมาบ้าง เช่นกัน เปรียบเทียบกับ Soros ที่ป่าวประกาศชัดแจ้งว่าตัวเขาผิดได้ทุกเมื่อ
  • บทเรียนจาก Soros คือ ก่อนจะเริ่มประชุมอะไรให้บอกทุกคนเสมอว่า พวกเราเป็นกลุ่มคนโง่ที่ไม่ได้รู้ห่าอะไร และพร้อมจะทำพลาดทุกเมื่อ แต่นั่นก็โชคดีที่เราตระหนักถึงมันได้
  • พฤติกรรมของเหล่านักวิทย์ที่เกิดขึ้นเวลามีคนมาปฏิเสธหรือแย้งไอเดียพวกเขานั้น มีการศึกษาและจัดอยู่ในชื่อ Attribution Biasเวลาประสบความสำเร็จ คุณบอกว่านั่นเพราะคุณเก่ง คุณมีทักษะ แต่พอล้มเหลวขึ้นมา ก็ชอบบอกว่าเกิดจาก randomness (ดวงไม่ดี)  – สิ่งนี้อธิบายว่านักวิทชอบบอกว่าความล้มเหลวนั้นเกิดจาก ten sigma rare event เป็นการบอกว่า พวกเขาถูกนะ แต่โชคไม่เข้าข้าง มันเป็น Heuristic ของมนุษย์ที่จะหาทางออกให้เราไม่โดน self esteem แผดเผาไปหมดและพร้อมจะเดินหน้าต่อ
  • Attribution bias ยังมีeffect อีกอย่างคือทำให้คนนั้นหลงคิดว่าตัวเองเก่งกว่าคนอื่น การศึกษาพบว่าคน 80-90% คิดว่าตัวเองเหนือกว่าค่าเฉลี่ย (ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้)

From Funeral to funeral

  • ผู้คนสับสนระหว่าง Science และ Scientist – Science คือสิ่งที่ดี แต่ Scientist นั้น หลายๆครั้งอันตราย เพราะเขาเป็นมนุษย์ และมี Bias เฉกเช่นมนุษย์ทั่วไป อาจจะเยอะกว่าปกติด้วยซ้ำ ไม่งั้นพวกเขาจะไม่มีแรงใจพอที่จะทำงานอันน่าเบื่อและยาวนานได้(เช่น ใช้เวลา 18ชม. ต่อวันเขียน thesis งานวิจัย!)
  • ก่อนจบปริญญาเอก นักวิทย์ก็ต้องมีการ Defend Thesis ลองคิดดูว่ามันคงแปลกมากที่อยู่ๆจะมีนักเรียนเปลี่ยนใจกระทันหันเมื่อได้ฟังสิ่งที่ดูเข้าท่าในระหว่างdefend งานตัวเอง แล้วบอกว่าสิ่งที่ทำมาหลายปีนั้นเปล่าประโยชน์ทันที! – ในกาลนี้เหล่านักวิทย์จึงอาจเป็นเหมือน Defense lawyer มากกว่า Truth seeker
  • แต่วิทยศาสตร์ดีกว่านั้น มีคำกล่าวว่า วิทยาศาสตร์วิวัฒนาการจากความตาย สู่ความตาย เมื่อ LTCM ล่มสลาย ก็มีนักเศรษศาสตร์คนใหม่เกิดขึ้น และเอาความผิดพลากนั้นมาผนวกกับความรู้ใหม่ๆ แม้พวกเขาอาจถูกผู้เชี่ยวชาญรุ่นเก่าต่อต้าน แต่ก็จะห่างไกลงานศพมากกว่าเช่นกัน

Chapter 14 : Bacchus abandons Anthony

  • บทนี้จะพูดถึง guideline ต่างๆในยุคสมัยโบราณ ก่อนที่จะมีการเคารพในพระเจ้าองค์เดียว คนในยุคนั้นไม่ได้เชื่อมั่นว่าการสวดมนต์จะมีอิทธิพลมากพอที่จะเปลี่ยนแปลงโชคชะตา พวกเขาค้นพบวิธีมากมายในการ deal กับ randomness

Notes on Jackie O funeral

  • งานเขียนของ P. Cavafy หัวข้อ The God Abondons Antony เป็นงานที่ถูกกล่าวไว้เป็นคำอาลัยในงานศพของ Jackie Kenneny – ภรรยาของ John F Kenney – เป็นบทประพันธ์ที่สะท้อนเรื่องของ Stoicism (แนวคิดลัทธิสโตอิก) ได้อย่างลึกซึ้งกินใจ
  • บทประพันธ์นี้กล่าวถึง Marc Antony ในช่วงที่พึ่งแพ้สงครามกับ Octavius และถูกทอดทิ้งจาก Bacchus – เทพเจ้าที่คอยปกป้องเขามาตลอด –  บ่งบอกถึงบุคคลผู้มากความสามารถที่ถึงคราวล่มจม เพราะถูกโชคชะตาเล่นงานจนพ่ายแพ้
  • บทประพันธ์กล่าวถึง Marc Anthony ว่า แม้เขาจะถูกโชคชะตาเล่นงาน ก็ไม่ร้องไห้ ไม่ร้องหาแต่ความยุติธรรม ไม่ด่าโลก ไม่คร่ำครวญ  แม้ร่างกายจะสั่นเทาด้วยอารมณ์ความรู้สึกมากมาย  มันแสดงว่าคนเรามีอารมณ์ได้ แต่จงอย่าหันเหจาก dignified Path – นี่คือความหมายของ stoicism , stoic person คือคนที่มีภูมิปัญญา มีความกล้าหาญ มีภูมิคุ้มกันต่อความไม่แน่นอนของชีวิต ต่อโชคชะตา

Randomness and Personal Elegance

  • ผู้อ่านรู้ดีว่า Taleb เกลียดการได้รับคำแนะนำ(ที่ไม่ได้ร้องขอ) มากแค่ไหน โดยเฉพาะคำแนะนำในการใช้ชีวิต แต่แน่นอนว่าชีวิตจริงที่มีอารมณ์มาเป็นตัวกำกับนั้น มันไม่ได้ง่ายขนาดนั้น หนังสือ self-help หรือคำแนะนำจากคนดีๆ นั้นอยู่ในหัวเราได้ไม่นาน
  • ครั้งต่อไปที่คุณโชคไม่ดี ให้ลองใช้ชีวิตด้วยความสง่างาม เช่น อย่าเล่นบทเป็นเหยื่อ ยามที่ถูกวินิจฉัยเป็นมะเร็ง อย่าโยนความผิดให้ผู้ช่วยคุณยามที่คุณสูญเสียเงิน อย่าโทษคนอื่นเมื่อโชคชะตาไม่เข้าข้าง(แม้คนพวกนั้นควรจะถูก blame จริงๆ) อย่าแสดงอะไรให้รู้สึกสังเวชตัวเอง แม้คนรอบช้างจะทำให้คุณรู้สึกเช่นนั้น
  • สิ่งเดียวที่โชคชะตาบงการคุณไม่ได้ คือท่าทีที่คุณแสดงออกมา – “The only article Lady Fortuna has no control over is your behavior. Good luck.
  •  

Epilogue : Solon Told you so

  • ไม่กี่ปีถัดไป Nero เอาชนะโรคมะเร็งได้ และหายสนิท และร่ำรวยขึ้นมากกว่าเดิมหลายเท่า ส่วนเหล่าคนรวยใน Wallstreet ชุดเดิมก็ตกอับลง
  • วันศุกร์เย็นในลอนดอนนั้นเป็นที่รู้กันว่ารถติดมากๆ Nero ใช้เวลาในรถหลายชั่วโมงกว่าจะกลับถึงบ้านที่ชานเมือง ความหงุดหงิดนี้ทำให้ Nero ไปเรียนหลักสูตรขับ Helicopter เขารู้ดีว่านั่งรถไฟน่าจะง่ายกว่า แต่คงไม่ผิดอะไรที่อยากมีชีวิตหรูหรา
  • ความตระหนักใน Probability ที่ผ่านมาตลอดชีวิตการทำงานของ Nero อยู่ดีๆ ก็ไม่ทำงานในความเสี่ยงเรื่องชีวิตตัวเอง เพราะสุดท้าย Helicopter ของนีโรก็ตกลงในวันที่ลมแรง สุดท้าย Black Swan ก็พรากชีวิตเขาไป

Postscript : Three Afterthoughts in the shower

First Thought : The inverse skills problem

  • ยิ่งไต่เต้าขึ้นระดับในองกรณ์มากเท่าไหร่ ก็ควรจะจ่ายเงินให้คนนั้นมากขึ้น เพราะเขาทำอะไรให้บริษัทเยอะกว่า แต่โดยทั่วไปแล้วมันตรงกันข้าม ยิ่งตำแหน่งสูง ยิ่ง contribution น้อยลง เขาเรียกมันว่า inverse rule
  • เหล่าลูกจ้างระดับล่างๆนั้นจะทำงานที่จับต้องได้ ไม่ว่ามันจะดูเล็กน้อยแค่ไหน และมันเป็นงานที่ไม่ได้มีความผันผวนอะไร เช่น งานทำอาหาร มันเป็นไปได้น้อยมากที่คนๆหนึ่งจะบังเอิญทำอาหารที่กินได้ปกติได้ติดต่อกันหลายร้อยหลายพันครั้ง จากดวงล้วนๆ
  • Repetitiveness คือกุญแจในการเผยว่าผลสำเร็จนั้นมาจากฝีมือจริงๆ ไม่ใช่โชค (จากหลักของ Ergodicity)
  • Low ranking worker ในบริษัทนั้นจะถูกประเมินทั้งในแง่ process และ results แต่เนื่องจาก process นั้นมันซ้ำไปซ้ำมา สุดท้ายมันจะตกไปที่การประเมิน result ไปเลย แต่เหล่าผู้จัดการชั้นสูงนั้น จะถูกประเมินแค่ result โดยไม่สน process – ตราบใดที่ผลลัพธ์มันโอเค จะด้วยวิธีใดมันก็ไม่มีใครสนใจ
  • เหล่า CEO นั้นนานๆทีจะได้ตัดสินใจ แต่การตัดสินใจแต่ละครั้งมีแต่เรื่องใหญ่ๆ เหมือนคนเอาเงินล้านไปพนันรอบเดียว ดังนั้นแล้ว link ระหว่างความสามารถของ CEO กับผลงานนั้นมันอาจจะวัดได้ยาก – ใครจะไปรู้ว่า CEO คนนั้นอาจไม่มีทักษะอะไรเลยก็ได้ แต่แค่พูดเก่ง น่าเชื่อถือ ดูเป็นผู้บริหารที่ดีเฉยๆ
  • และด้วยสิ่งแวดล้อม winner take all ที่มีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผลลัพธ์มันจึงต่างมากๆขึ้นๆ ในสมัยก่อน CEO ได้ค่าตอบแทนมากกว่าภารโรง 10-20 เท่า สมัยนี้ค่าตอบแทนห่างกันหลายพันเท่า
  • แต่ Taleb ไม่ได้บอกว่า CEO กับ Entrepreneur เหมือนกัน ตามนิยามของเขานั้น Entrepreneur คือคนที่พร้อมจะเล่นจริงเจ็บจริง แต่ CEO นั้นเป็นคนที่ไม่ต้องได้เสียอะไรมากกับบริษัท เผลอๆเขาจะเป็นพวกที่มีทักษะในการทำให้ตัวเอง getting promoted ขึ้นมามากกว่ามี skill ในการตัดสินใจด้วยซ้ำ เขาเรียกว่ามันคือ corporate political skill – เช่นทักษะการpresent PowerPoint อันเป็นเลิศ
  • CEO พวกนี้ไม่ต้อง Take risk มาก นี่จึงเป็น asymmetry – สมมติมีคู่แฝดหนึ่งที่ดูมีเสน่เหมือนกัน แต่งตัวดีเหมือนกัน จบ MBA เหมือนกัน แต่ทำงานต่างบริษัท แฝดคู่นี้โยนหัวก้อยกัน คนหนึ่งได้ action ที่ทำให้บริษัทล่มจ่ม อีกคนได้ action ที่ทำให้บริษัทประสบความสำเร็จ ผลสุดท้าย เราจะมี CEO คนหนึ่งที่พึ่งถูกไล่ออก แต่ยังร่ำรวยเล็กน้อย ร่วมกับ CEO อีกคนที่ยังอยู่ในตำแหน่ง และรวยมาก -> คนที่รับความเสี่ยงไป คือ Stakeholder (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) ที่เหลือ!
  • ปัญหานี้ฝังรากลึกมานาน เราเทิดทูนผู้ชนะ รังเกียจผู้แพ้ โดยไม่สนสาเหตุ ผู้ชนะที่โชคดีจากการตัดสินใจบ้าๆนั้น ก็อาจถูกมองเป็นฮีโร่ได้
  • ปัญหานี้พบในสายงานราชการเช่นกัน ที่ซึ่งเต็มไปด้วยผู้ทรงเกรียรติ ผู้มีอำนาจ และคนตำแหน่งสูงๆ เราประเมินcontribution ของคนพวกนี้ได้ยากกว่าพวก CEO เสียอีก กลไกการตรวจสอบก็น้อยกว่า เช่น ผู้ว่าธนาคารกลางประกาศลดดอกเบี้ย เพื่อจะให้เศรษฐกิจฟื้น จริงๆเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่า action นี้มันทำให้เศรษฐกิจฟื้นจริงๆ หรือ ยิ่งทำให้ฟื้นช้าลง ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าที่ทำไปจะทำให้เกิด inflation มากขึ้นในอนาคตหรือไม่ ได้แต่รอผลที่เกิดจริงๆ แล้วค่อยหาคำอธิบายย้อนหลัง ซึ่งมักจะมีคำอธิบายที่ฟังดูดีเสมอ

Second Thought: ON some additional Benefits of Randomness

Uncertainty and Happiness

  • ชาวเมืองนิวยอร์คหลายๆคนนั้น ใช้ชีวิตแบบมีตารางเดินรถฝังในหัว เช่น รถด่วนขบวนสุดท้ายของวัน จะมาตอน 08 pm ซึ่งมันดูน่าอึดอัดมาก หลายๆคนต้องใช้ชีวิตแบบตรงเวลาเป๊ะๆ เช่น ต้องจบทุกกิจกรรมภายใน 6.58 pm เพื่อให้เดินไปขึ้นรถทัน
  • สมมติว่าเราไม่รู้เวลาที่รถมาแน่ๆ รู้แค่ว่ามันจะมาทุกๆ 35 นาที (และสมมติให้รถมาทุกๆ 35 นาที +/- 3 นาที) มันอาจจะทำให้เรามีความสุขขึ้นไหม? ประเด็นของข้อคิดนี้คือ บางครั้ง randomness ก็ไม่ได้แย่ การมี some degree of unpredictability หรือการไม่ต้องรู้ไปสะทุกเรื่องนั้น ก็อาจมีประโยชน์กับมนุษย์ มันทำให้เราไม่เครียดเกินไป ไม่ต้องอยู่กับ time pressure มากจนเกินไป – เราเป็น Satisficer มากขึ้นกว่าการเป็น Optimizer
  • คนในกลุ่ม Satisficer นั้น มีแนวโน้มจะมีความสุขมากกว่า เป้าหมายและความต้องการต่างๆในชีวิตนั้น จะไม่เพิ่มขึ้นไปตามประสบการณ์ พวกเขาจะไม่ค่อยมี internal treadmill effect ที่จะแสวงหาสิ่งดีๆต่อไปเรื่อยๆอย่างไม่ลดละ มีความพอดี ในขณะที่ Optimizer นั้นคือคนที่ต้องทำทุกอย่างให้เป๊ะๆ เงินทอนต้องครบทุกสตาง กาแฟต้องอุ่นพอดี อาหารต้องเพอเฟ็ค เฟอนิเจอต้องตั้งให้พอดีกับหน้าต่าง แน่นอนในกลุ่มหลังจะเจอความกดดันกว่ามาก
  • อย่างไรก็ตาม Causality ก็ยังไม่ชัด คำถามคือ Optimizer นั้นไม่มีความสุขเพราะเขาแสวงหาสิ่งที่ดีกว่าเรื่อยๆ หรือเขากลายมาเป็น Optimizer เพราะเขารู้สึกชีวิตแย่อยู่ตลอดเวลา
  • Taleb คิดว่ามนุษย์เราไม่ได้ถูกสร้างมาให้ใช้ชีวิตแบบ Clear-cut ใช้ชีวิตแบบมีตารางเวลาเป๊ะๆ เราเกิดมาเป็นแบบมนุษย์ถ้ำ – อย่างไรก็ตามหลายๆคนก็มีชีวิตแบบ optimizer แบบไม่ตั้งใจ เช่นเหล่าเด็กในเมืองที่ตารางเรียนพิเศาแน่นเอี๊ยด เวลาทุกวินาทีมีคุณค่าสุดๆ
  • Taleb รู้สึกสงบขึ้นเมื่อไม่ต้องใช้นาฬิกาปลุก ใช้ชีวิตแบบอยากทำอะไรก็ทำ ไม่ต้องมีตารางเวลาเป๊ะๆ แน่นอนว่าบางกิจกรรมมันต้องใช้ตารางเวลาที่แน่นอน แต่ตัวเขาเองก็เลือกชีวิตได้ ก็เลือกเอาเอง ว่าคุณอาจจนจนๆหน่อย แน่มีเวลาว่างมากขึ้น หรือเป็นคนรวยที่ไม่มีเวลาเลย
  • อีกสิ่งที่ทำให้เขาเข้าใจว่าเราไม่ได้เกิดมาสำหรับตารางเวลา คือรความแตกต่างเวลาที่ต้องมานั่งเขียนหนังสือ vs เขียนงานวิจัย ที่อย่างหลังมันทรมาณมาก เพราะมันมี deadline และเขาไม่มีความสุขเลย เทียบกับหนังสือที่จะเสร็จเมื่อไหร่ก็ได้ เขาชอบมากเวลาเขียนหนังสือแล้วไม่รู้ว่ามันจะจบเมื่อไหร่ และจะทำได้ดีกว่าที่มีตอนจบแบบแน่ๆในหัวแล้ว
  • สรุปแล้ว คนเราไม่ได้เกิดมาเพื่อเจอกับตารางเวลา เจอกับ deadline – ชีวิตเราคงไม่มีความสุข ถ้าเรารู้ความยาวที่หนังฉาย หรือมีรู้วันตายที่แน่นอน

The Scrambling of messages

  • นอกจาก Randomness ช่วยให้ชีวิตมีความสุขขึ้นได้ในบางแง่มุมแล้ว , Randomness มันยังทำให้เราไม่ถือข้อมูลบางอย่างเป็นจริงจังมากเกินไป
  • สมมติว่า มีสกุลเงินหนึ่งที่รัฐบาลจัดให้มันเป็น Fixed rate , วันดีคืนดีถ้าค่าเงินมันอ่อนตัวลงเล็กน้อย คนอาจจะคิดว่ามันหมายถึงรัฐบาลกลางไม่สามารถแทรกแซงค่าเงินได้ต่อ และค่าเงินกำลังจะด้อยค่าไป คนก็จะแค่กันมาขายสกุลเงินนั้น จนมันอ่อนค่าลงไปมากขึ้นเรื่อยๆ
  • แต่ถ้าแบงค์ชาติยอมให้ค่าเงินมันแกว่งตัวไปมาได้เล็กน้อยตามกรอบ คนก็อาจจะ Panic กันน้อยลง ค่าเงินนั้นก็จะปลอดภัยมากขึ้น
  • ในทำนองเดียวกันกับ Evolutionary biology หรือ game theory – การที่คุณมี Mild degree of unpredictability นั้น จะช่วยให้คุณถูกเอาเปรียบลดลงได้ เช่น สมมิตถ้าคุณมีขีดจำกัดต่อคำตด่า 17 ครั้งเป๊ะๆ โดนด่าครั้งที่ 18 เมื่อใหร่คุณจะสาวหมัดทันที การมีความเป๊แบบนี้ จะทให้คนที่รู้จุดอ่อนนี้มาเอาเปรียบคุณได้ แต่ถ้า trigger point ของคุณมันไม่แน่ไม่นอน บางทีโดนแซวนิดหน่อยก็โมโหแล้ว คนก็จะไม่กล้าลองดีกับคุณมาก

Third Thought: Standing on One Leg

  • หลายๆคนชอบท้าให้ Taleb เล่าเรื่อง randomness ต่างๆนี้ให้ได้ในไม่กี่ประโยค ให้เป็น MBA style – มันทำให้เขานึกถึงเรื่องของ Rabbi Hillel ที่วันหนึ่งมีเด็กหนุ่มที่สนใจจะศึกษาพระคัมภีร์ Torah แต่ดันขี้เกียจ ก็เลยขอให้ท่านช่วยสอนเนื้อหาในคัมภีร์ให้จบภายในเวลากับที่ตัวเขายืนขาเดียวได้
  • ความฉลาดของ Rabbi Hillel คือ ท่านไม่ได้ สรุปเนื้อหาให้ ตามที่เด็กหนุ่มร้องขอ แต่ท่านให้แก่นความคิดไปกระตุ้นให้ผู้เรียนหาคำตอบเอาเอง (Core Generator) -> อะไรก็ตามที่เจ้าไม่ชอบ ไม่อยากให้ใครมาทำใส่ เจ้าก็อย่าไปทำกับเขา – ส่วนคำอธิบายและตัวอย่างต่างๆนั้น จงไปหาศึกษาในคัมภีร์เสีย!
  • Taleb จึงขอเสนอ Core Generator ของเรื่องราว Randomness ที่เขานำเสนอบ้าง ->
    • We favor the visible, the embedded, the personal, the narrated, and the tangible; we scorn the abstract. Everything good (aesthetics, ethics) and wrong (Fooled by Randomness) with us seems to flow from it.
    • คนเรานั้นชอบอะไรที่มันมองเห็นได้ จับต้องได้ ไม่ผันผวน เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ตัวเอง และเกลียดอะไรที่เข้าใจยาก เป็นนามธรรม – สิ่งดี สิ่งเลว ที่เราตัดสินกันในแต่ละวันนั้น ก็เหมือนจะสร้างมาจากความคิดดังกล่าวอีกที

Share

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter

รีวิวหนังสือล่าสุด

China Next Normal รีวิว หนังสือ
Social Science

รีวิวหนังสือ: China Next Normal – วิกฤตและโอกาสของจีนในโลกหลังโควิด

จีนจะเป็นอย่างไรในยุคPost Corona เมื่อ COVID มาเร่งเวลาเข้าสู่ China Next Normal – วิกฤตินี้สร้างโอกาสให้จีนได้อย่างไร หาคำตอบได้ในเล่มครับ

post corona book review รีวิว
Social Science

รีวิวหนังสือ: Post Corona – From Crisis to Opportunity

โลก(อเมริกา) จะเป็นอย่างไรในยุค Post Corona – หนังสือที่ว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงที่จะรวดเร็วและรุนแรง ผ่านมุมมองของศาสตราจารย์นักธุรกิจชั้นเซียน

บทความอื่นๆ

Solon's Warning คำเตือนของ โซลอน
Perspective

คำเตือนของโซลอน – Solon’s Warning

เมื่อพระเจ้าครีซัสผู้มั่งคั่งและทรงอำนาจที่สุดแห่งยุคตรัสถาม โซลอน ว่าเคยพบใครที่มีความสุขมากกว่าพระองค์หรือไม่ เขากลับตอบชื่อสามัญชนที่เสียชีวิตแล้วกลับมา!