Social Media คืออะไร

โซเชียล มีเดีย Social Media

เมื่อพูดถึง Social Media เชื่อได้ว่าหลายๆคนจะนึกถึง Facebook, Twitter และ Instagram แต่เมื่อถามว่า Social Media คืออะไรกันแน่ อาจจะไม่มีคำตอบที่ชัดเจนนัก

ดังนั้น ก่อนหน้าที่เราจะทำความเข้าใจกับมัน ต้องเริ่มจากว่า Media

Media คืออะไร? 

คำว่า Media แปลเป็นภาษาไทยว่า สื่อ 
สื่อในที่นี้  คือองค์ประกอบหนึ่งในการสื่อสาร 

ในการสื่อสาร (Communication) จะมีองค์ประกอบสี่อย่างคือ 
1.ผู้ส่งสาร หรือผู้เข้ารหัส (sender / encoder)  
2.ผู้รับสาร หรือ ผู้ถอดรหัส (receiver / decoder)  
3.สาร (message)  
4.ช่องทางการสื่อสาร (channel) หรือ สื่อ (Media) 

สื่อหมายถึง ที่ที่ “สาร” จากผู้ส่งสาร ถูกจัดเก็บ และถูกเผยแพร่ (Store & Transmit) ไปยังผู้รับสาร 
ดังนั้นสื่อจึงเป็นคำที่กว้าง หมายถึงอะไรก็ตามที่ทำหน้าที่ดังกล่าว เช่น เสียงพูด ตัวหนังสือ รูปภาพ โทรศัพท์ จดหมาย อีเมล อินเตอร์เน็ต เป็นต้น 

ซึ่งถ้าเราแบ่งประเภทของสื่อ ตามความสามารถในการนำสารสู้ผู้รับสารนั้น ก็จะมีสื่อชนิดหนึ่ง ที่นำสารไปให้ผู้รับได้ในจำนวนมาก ในเวลาต่างๆกัน  สื่อดังกล่าวนั้น  ก็คือ Mass Media 

Mass Media : ผู้มาก่อน Social Media 

Mass Media (ภาษาไทยใช้คำแปลว่า สื่อมวลชน) ก็คือ Media (สื่อหรือช่องทาง) ที่สามารถนำข้อมูลไปให้ผู้รับเป็นจำนวนมากได้ (มวลชน)

การเกิดขึ้นมาของ Mass Media นั้นมาจากเทคโนโลยีทางการสื่อสารที่เจริญก้าวหน้า
โดย Mass Media เริ่มมีตั้งแต่ปลายศตรวรรษที่ 15th ซึ่งเป็นช่วงกำเนิดของการพิมพ์  ดังนั้น Mass Media ยุคแรกก็คือสิ่งพิมพ์ (Printing) ต่างๆ เช่น หนังสือ ใบปลิว หนังสือพิมพ์ จนเมื่อพัฒนาการเทคโนโลยีสูงขึ้น ก็ก่อกำเนิด การบันทึกเสียง การบันทึกภาพ วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือ  

ดังนั้นหากใช้นิยามของ Mass Media ว่าเป็นสื่อที่สามารถเผยแพร่ไปสู่ผู้คนจำนวนมากๆได้ Social Media จึงเป็น Mass Media ชนิดหนึ่งนั่นเอง (= Social Media เป็น Subset ของ Mass Media // Mass Media บางชนิด เป็น Social Media) 

ที่มาของคำว่า Social Media  

อ้างอิงจาก บทความในนิตยสารForbe คำว่า Social Media น่าจะมีแหล่งกำเนิดจาก Silicon Valley ในช่วงปี 1990 โดยมี หลายๆคนที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทชื่อดังในยุคนั้นคือ AOL ต่างก็Claim ว่าตนเป็นค้นคิดคำนี้ขึ้นมา แต่ก็ไม่มีสามารถมีหลักฐานมายืนยันได้ชัดเจน  

อย่างไรก็ตาม ลักษณะการใช้งานแบบ Social Media นั้น เริ่มตั้งแต่มีการก่อตั้งเว็บไซต์ Usenet ตั้งแต่ปี 1979 ซึ่ง เป็น platform แรกๆที่มีระบบที่ให้ผู้คนทั่วโลกสามารถมา post message ได้ (คล้ายๆกับ WebBoard) 

ความหมายของ Social Media 

Social = เกี่ยวกับสังคม 
Media = สื่อ 
หากแปลคำว่า Social Media ตรงตัวว่าเป็น สื่อที่เกี่ยวข้องกับสังคม ก็ดูจะเป็นอะไรที่ไม่ Make sense เพราะการสื่อสารนั้นล้วนเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ดังนั้นการสื่อสารก็ต้องเกี่ยวข้องกับสังคมอยู่แล้ว ถ้าตีความตามเนื้อผ้า เสียงพูด ข้อเขียน แผ่นโฆษณา จดหมาย อีเมล์ ก็ต้องเป็น Social Media ทั้งสิ้น เพราะมันก็เกี่ยวข้องกับสังคมทั้งนั้นนั่นเอง 

คำนิยามของ Social Media 

เนื่องจากคำว่า Social Media ไม่ได้มีแหล่งกำเนิดชัดเจน จึงมีความพยายามให้คำนิยามกับคำนี้ขึ้น โดยจากงานวิจัยหนึ่งเสนอว่า Social Media นั้นมีองค์ประกอบหลักสองอย่างคือ 

1. Social Media ดำเนินการภายใต้โครงสร้างของ Web 2.0
2.Social Media ขับเคลื่อนได้ User-Generated Content (UGC)

Web 2.0 เป็นคำที่เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2004 หมายถึงจากเดิมที่การใช้ World Wide Web จะมีการสร้างข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญ และมีคนธรรมดาๆเป็นผู้รับข้อมูล (Web 1.0) การมาของ Web 2.0 หมายถึงการมาของวิธีใหม่ๆ ความก้าวหน้าทางซอฟแวใหม่ๆ ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถสร้าง Content ต่างๆได้เอง และปรับปรุงข้อมูลต่างๆได้อย่างต่อเนื่อง เช่น จากที่มีเว็บ Encyclopædia Britannica personal  ซึ่งสร้างcontent โดยผู้เชี่ยวชาญ ก็นำมาสู่ Wikipedia ที่เปิดโอกาสให้ใครก็ได้มาสร้างข้อมูล และแก้ไขข้อมูลได้ตลอดเวลา

Web 2.0 ทำหน้าที่เป็นรากฐานที่สำคัญ
ในขณะที่ User Generated Content นำมาสู่วิถีที่ทำให้เห็นความเป็น Social media เช่นทุกวันนี้ 

Social Media มีหลายประเภท 

มีความพยายามแบ่งประเภทของ Social Media โดยใช้ parameter 2 ประการคือ 
1. Media richness : คือ ความสามารถของ Media นั้นๆว่าจะให้ผู้ใช้งานได้แสดงข้อมูลใดบ้าง การมี Media richness มาก (เช่นสามารถลงวิดีโอได้ พูดคุยกันสดๆได้) ก็จะมีประสิทธิภาพมากกว่า มีความชัดเจนกว่า
2. Self-presentation : แบ่งตามว่า Media นั้นๆให้คุณเปิดเผยตัวตนจริงๆได้มากน้อยแค่ไหน 

 (ที่มา : https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0007681309001232)

Social Network Site : ตกลงแล้ว Facebook เป็น Social Media หรือ Social Network 


อ้างอิงจากงานวิจัยข้างต้น จะเห็นได้ว่า Facebook นั้นเป็นทั้ง Social Media และ Social Network Site (SNS) 

Social Network Site : คือ Subset ของ Social Media ที่มีรูปแบบเฉพาะเจาะจง คือ เป็นพื้นที่ที่ผู้ใช้งานสามารถสร้าง Profile ส่วนตัว และสามารถเชื้อเชิญคนอื่นๆ ให้มาเข้าถึงได้โดยตรง ซึ่งก็เป็นรูปแบบของ Social Media ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ก็คือกลุ่ม Facebook, Twitter หรือ Instagram นั่นเอง 
ลักษณะสำคัญของ Social Network Site (SNS) มี 3 องค์ประกอบหลักคือ  
1. ผู้ใช้งานมีการเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว ซึ่งอาจจะเป็นจากที่สร้างเอง ( Status update, Profile Picture) หรือ มีคนอื่นสร้างให้ (Tag เพื่อนในรูป)  หรือมีระบบสร้างให้ (Tag รูปอัตโนมัต)  
2. มีการแสดงอย่างสาธารณะ ว่าผู้ใช้งานคนนั้นมีรายชื่อ Connections ( Friends, Follower) มากน้อยขนาดไหน  
3. แทนที่จะต้องเข้าไปดูข้อมูลของผู้ใช้งานคนอื่นๆโดยตรง , Social Network site จะมีบริเวณที่มีการแสดงข้อมูลส่วนกลาง 
ซึ่งผลิตจาก connection ต่างๆของผู้ใช้งานคนั้น (Facebook new feed, Twitter new feed)

สุดท้ายแล้ว จะรู้ไปทำไม?

แน่นอนการเข้าใจว่า Social Media เป็นแค่ Facebook , Twitter , Instagram กับ การเข้าใจว่า Social Media เป็นอะไรมากกว่านั้น ก็คงไม่ได้เปลี่ยแปลงองค์ความรู้อะไรเรามากนัก อย่างไรก็ตามผมเชื่อว่าหากเราต้องการจะพยายามเข้าใจอะไรสักอย่างหนึ่ง ก็จะต้องรู้ก่อนว่า มันคืออะไร จึงจะไปต่อได้ ซึ่งผมเชื่อว่าในอนาคต ทุกๆอย่างใน internet ก็จะกลายเป็น Social Media และคำว่า Social Media อาจจะไม่มีประโยชน์อะไรแล้วก็ได้ อย่างไรก็ตาม มันก็เป็นการดีที่เราจะศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆใน Social Media โดยการเข้าใจก่อนว่า Social Media นั้น คืออะไร

References :

  1. Bercovici, Jeff. 2010. Who Coined ‘Social Media’? Web Pioneers Compete for Credit. Forbe . 10 December. https://www.forbes.com/sites/jeffbercovici/2010/12/09/who-coined-social-media-web-pioneers-compete-for-credit (Accessed 2019-11-05)
  2. Andreas M. Kaplan, Michael Haenlein,
    Users of the world, unite! The challenges and opportunities of Social Media,
    Business Horizons,Volume 53, Issue 1,2010,
    https://doi.org/10.1016/j.bushor.2009.09.003.
  3. Jonathan A. Obar, Steve Wildman,
    Social media definition and the governance challenge: An introduction to the special issue,
    Telecommunications Policy, Volume 39, Issue 9, 2015,
    https://doi.org/10.1016/j.telpol.2015.07.014.
  4. Aichner, Thomas & Jacob, Frank. (2015). Measuring the Degree of Corporate Social Media Use. International Journal of Market Research. 57. 257-275. 10.2501/IJMR-2015-018.

Share

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter

บทความล่าสุด

Solon's Warning คำเตือนของ โซลอน
Perspective

คำเตือนของโซลอน – Solon’s Warning

เมื่อพระเจ้าครีซัสผู้มั่งคั่งและทรงอำนาจที่สุดแห่งยุคตรัสถาม โซลอน ว่าเคยพบใครที่มีความสุขมากกว่าพระองค์หรือไม่ เขากลับตอบชื่อสามัญชนที่เสียชีวิตแล้วกลับมา!

บทความอื่นๆ

ความเหงา
Psychology

เพราะมีความเหงา เราจึงอยู่รอด

เดิมมนุษย์นั้นเกิดมาด้วยความอ่อนแอ ไม่สามารถอยู่รอดโดยลำพังได้ ความเหงาจึงจำเป็นในการอยู่รอดของมนุษย์ แต่การมาของโลกสมัย บทบาทของความเหงาจึงเปลี่ยนไป

รีวิว review joker โจ๊กเกอร์
Perspective

บทเรียนจากภาพยนตร์ Joker

Review ภาพยนตร์ Joker (โจ๊กเกอร์ 2019) บอกเล่าเรื่องราวต้นกำเนิดของวายร้ายในตำนาน ในอีกหนึ่งมุมมอง ที่ทำให้ผู้ชมต้องตั้งคำถาม เรื่องความดี และ ความเลว

COVID-19 and Hope
Perspective

อย่าหวาดกลัวโรคระบาด…จนขาดสติ

ในอดีต โรคระบาดเคยพรากชีวิตมนุษย์โลกไปจนเกือบสิ้น แต่ในปัจจุบันนั้น เราไม่ควรหวาดกลัวมันจนเกินไป เพราะมนุษย์ได้ “เอาชนะ” ภัยพิบัตินี้ มานับครั้งไม่ถ้วน