สรุป Learning how to Learn: คอร์สเรียนออนไลน์ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก
ในยุคแห่ง Dataยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร ความรู้หรือวุฒิการศึกษาที่เรามี อาจไม่เพียงพอ และไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
หนึ่งในคุณสมบัติที่ดีเพื่อการปรับตัวอยู่รอดให้ได้ในยุคนี้ คือการเป็นคนที่ต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
การจะเรียนรู้สิ่งต่างๆได้ดี มีประสิทธิภาพ ก็ต้องเริ่มจากการรู้ว่า “วิธีการเรียนที่ดี” นั้นเป็นอย่างไร
นี่คือที่มาของสรุปบทเรียน “Learning how to Learn” คอร์สเรียนออนไลน์ (MOOC) ที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลก (ยอดลงทะเบียน ณ 19/06/19 = 1,714,748 คน) ซึ่งเริ่มเปิดสอนตั้งแต่สิงหา 2014 ที่ Coursera.org อาจารย์ผู้สอนในคอร์สนี้มีสองคนคือ
- Dr. Barbara Oakley : ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมศาสตร์ แห่ง Oakland University ซึ่งเดิมนั้นเธอเป็นคนที่เกลียดวิชาคณิตศาสตร์อย่างมาก เธอเข้าทำงานในกองทัพสหรัฐอเมริกาและเรียนจบมาในด้านภาษา แต่ภายหลังก็อยากท้ทาทายความสามารถของสมองตัวเอง ว่าจากที่เรียนมาแต่ด้านภาษา จะไปรอดในวิชาที่ต้องใช้คณิตศาสตร์เป็นหลักได้หรือไม่ เธอจึงเรียนต่อด้านวิศวกรรมจนจบปริญญาเอก (เธอเริ่มเรียนเลขตอนอายุ 26 ปี!)
- Dr. Terrence Sejnowski : ศาสตราจารย์ด้าน computational neuroscience ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นโคตรอัจฉริยะ เพราะมีความเป็นเลิศทั้งด้านการแพทย์ และ วิศวกรรม ปัจจุบันทำงานอยู่ที่ Salk Institute for Biological studies (เป็นสถาบันที่ผลิตนักวิทยาศาสตร์ระดับรางวัลโนเบลมาแล้วมากมาย)
เนื้อหาในคอร์สนั้นจะเกี่ยวกับว่า เรียนอย่างไรจึงจะมีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยอ้างอิงงานวิจัยจากทางด้าน Neuroscience ต่างๆ มาเป็นหลักฐาน จึงมั่นใจได้ว่าเนื้อหาในบทเรียนไม่ใช่เรื่องเพ้อเจ้อมโนไปเอง
ตัวบทเรียน จะเรียงลำดับจากปูพื้นฐานด้านวิธีการคิด วิธีการเรียนรู้ของสมอง(แบบเบื้องต้น) ความทรงจำของเรามีกี่แบบ และทำงานอย่างไร การผัดวันประกันพรุ่งเกี่ยวข้องกับการเรียนอย่างไร เทคนิคการเรียน เทคนิคจำ เทคนิคการทำข้อสอบ อย่างไรก็ตามระหว่างเรียนนั้นผู้สอนก็จะเปลี่ยนไปมาระหว่างบทบ้าง (คือมี Interleaving-จะอธิบายคำนี้ในภายหลัง) แต่ก็ไม่ทำให้เกิดการสับสนแต่อย่างใด
โดยรวมแล้วผมแนะนำให้ทุกคนเรียนCourse online นี้ครับ (คนที่ไม่เก่งภาษอังกฤษก็ไม่ต้องกลัวมี Subtitle ภาษาไทยอย่างดี) ตัววิดีโอนั้นรวมๆแล้วเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่เนื้อหานั้นจะทำให้เราตระหนักได้เลยว่าที่ราเคยเรียนกันมาตลอดนั้น มีข้อผิดพลาดใหญ่หลวงแค่ไหน
การเรียนรู้ตลอดเวลานั้นจำเป็นมากในยุคนี้ ซึ่งจากข้อมูลปริมาณมากมายมหาศาล คุณจึงต้องรู้วิธีเรียนให้เร็ว และให้มีประสิทธิภาพด้วย
ผมเชื่อว่า เนื้อหาในคอร์สนี้ จะเปลี่ยนชีวิตการเรียนรู้ของหลายๆคนไปตลอดกาลครับ
Couse Outline
ตัวบทเรียนนั้นจะแบ่งเนื้อหาอ่อนเป็น 4 ส่วน คือ
- Week 1: What is Learning?
- Week 2: Chunking
- Week 3: Procrastination and Memory
- Week 4: Renaissance Learning and Unlocking Your Potential
ซึ่งดังที่บอกไปว่าระหว่างเรียนนั้น ผู้สอนก็จะมีการสลับสับเปลี่ยนเนื้อหาแต่ละบทไปบ้าง เพื่อเป็นการให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงระหว่างของใหม่และของเก่าได้
อย่างไรก็ตามผมจะนำมาสรุปใหม่ตามความเข้าใจ และแบ่งออกเป็น Part ดังนี้ครับ
- The Essential Concepts: อธิบายการทำงานของสมองเบื้องต้น วิธีการคิด วิธีการจำ การสร้างกลุ่มของข้อมูล (Chunking) และความสำคัญในการนอนหลับ
- The Learning Techniques : อธิบายถึงเทคนิคต่างๆที่ทำให้เรียนดีขึ้น และอุปสรรคต่างๆที่คอยขัดขวางไม่ให้การเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการแก้ปัญหา
- The Procrastination: การผัดวันประกันพรุ่งคือศัตรูสำคัญที่สุด ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ part นี้จึงแยกออกมา โดยเริ่มการอธิบายว่าแท้จริงแล้วมันเกิดจากอะไร และจะมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง
- The Memory Techniques: เมื่อเรามีเทคนิคการเรียนที่ดีแล้ว การฝึกจำให้ได้ก็สำคัญเช่นกัน
- The Test Taking Tips: รวมเทคนิคเล็กๆน้อย ที่จะทำให้คุณสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Part I : The Essential Concepts
The Brain
- สมองนั้นประกอบด้วยเซลล์ประสาทหลายล้านเซลล์ ข้อมูลต่างๆจะถูกส่งผ่านทาง Synapse
- เมื่อคุณเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือจดจำสิ่งใหม่ๆ และตามด้วยการนอนหลับที่เพียงพอ เซลล์สมองจะมีการสร้าง Synapse เพิ่มมากขึ้น
Thinking Mode : สมองของคุณทำงานอย่างไร เวลากำลังคิดถึงอะไรสักอย่าง?
- สมมติคุณกำลังแก้โจทย์ปัญหาอยู่ 1 ข้อ หากข้อนั้นเป็นเรืองๆง่ายๆที่คุณคุ้นเคย คุณจะแก้มันได้ภายในไม่ถึงนาที
- แต่หากเป็นเรื่องที่ยากขึ้น ซับซ้อนขึ้น คุณอาจต้องโฟกัส นั่งคิดวิเคราะห์อยู่นานหลายนาทีกว่าจะคิดออก
- หรือบางครั้ง คุณนั่งคิดยังไงก็คิดไม่ออก พยายามเต็มที่แล้วยังไงก็ไม่ได้ แต่พอคุณไปเดินพัก แวะกินไปกินข้าว ไปวิ่ง หรือตื่นนอนมาในอีกวัน คุณกลับพบว่าคุณคิดคำตอบออกแล้ว
- การที่คุณ”ไม่ได้คิด” อะไรอยู่ แต่กลับมาพร้อมกับคำตอบได้นั้น จึงแสดงว่าแท้จริงแล้ว ในเบื้องหลัง สมองก็ยังทำงานอยู่นั่นเอง เพียงแต่คุณไม่รู้ตัว เรียกว่าความคิดใน Diffuse mode
- โดยปกติเวลาเรากำลังคิดแก้ปัญหาอะไร เราจะมีรูปแบบความคิดในการแก้ปัญหา 2 โหมด คือ Focus mode และ Diffuse mode
- เพื่อความเข้าใจ จะใช้การเล่นพินบอลมาเปรียบเทียบกับรูปแบบความคิด 2 อย่างนี้ โดยเปรียบลูกบอลเหมือน ความคิด (Though) และ ตัวลานพินบอลนี้ก็คือสมอง ส่วนตัว Bumper ก็คือตัวคอยจำกัดพื้นที่การเคลื่อนไหวของความคิด (ลูกบอล) , ยิ่งมี Bumper หนาแน่น ความคิดก็เคลื่อนที่ได้แคบลง สั้นลง แต่จะ concentrate มากขึ้น
1. Focus Mode :
- หรือ รูปแบบการคิดแบบโฟกัส เปรียบก็คือ ความคิดที่อยู่ในสนามพินบอลที่มีตัว bumper วางตัวกันอย่างหนาแน่นและเป็นระเบียบ ความคิดเราใน Mode นี้จึงมีช่องทางเดินที่จำกัด แต่ก็จะพุ่ง Focus ไปยังเป้าหมายโดยตรง
- เส้นสีส้มในรูป คือ Familia Thought pattern (รูปแบบการคิดที่เราคุ้ยเคย) เช่น การบวกลบเลข การคำนวณสูตรคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การวิจารณ์วรรณกรรม หรือก็คือ Idea อะไรก็ตามที่เราคุ้นเคยกับมัน เมื่อเราอยู่ใน Mode นี้ ความคิดเราสามารถไปสู่มันได้ง่าย (ก็คือถ้าเราคิดอย่างโฟกัส กับสิ่งที่เราคุ้นเคย เราก็จะแก้ปัญหาได้เร็ว)
- แต่ปัญหาคือ หากเราเจอกับปัญหาที่เป็นเรื่องใหม่ๆ ที่ไม่เคยเจอมาก่อน ไม่มีข้อมูลมาก่อน ไม่รู้วิธีแก้ปัญหามาก่อน (ดังเช่นวงสีดำๆในภาพ) กรอบ(Bumper) ก็จะกันไม่ให้ความคิดของเราไปถึงมันได้ จึงทำให้แก้ปัญหาไม่ได้นั่นเอง
- ดังนั้นการคิดแบบโฟกัส จึงใช้ได้ดีในการคิดแก้ปัญหากับสิ่งที่เราคุ้นเคยมาก่อน หรือปัญหาง่ายๆ แต่จะมีปัญหาหากต้องเจออะไรซับซ้อน หรือเจอปัญหาใหม่ๆที่เราไม่เคยเจอ
- เราจะเห็นได้ว่าตัว Bumper นั้นคอยกันไม่ให้เราไปถึงวิธีแก้ปัญหาได้ สมองจึงมีอีกโหมดเพื่อรับมือกับเหตุการณ์นี้ ก็คือ Diffuse Mode
2. Diffuse Mode :
- เมื่อคุณ Relax (ไม่ได้โฟกัสกับปัญหานั้นแล้ว) สมองของคุณจะอยู่ใน Neural Resting Stage สภาพสมองจะเปรียบเหมือนว่าตัว Bumper มันอยู่แยกกันหลวมๆมากขึ้น ความคิดของคุณ (ซึ่งยังแล่นอยู่เบื้องหลัง โดยคุยไม่รู้ตัว) ก็จะแล่นได้อิสระมากขึ้น ไม่โดนบีบแน่นมากนัก มันจะวิ่งไปมาได้อิสระขึ้น ไปได้กว้างขึ้น
- ในโหมดนี้ เปรียบเสมือนว่าคุณปล่อยความคิดให้ล่องลอยอย่างอิสระ ปล่อยให้มันสร้าง Random connection ไปเอง
- ใน Mode นี้คุณจะไม่รู้ตัวว่ากำลังคิดถึงปัญหาที่ต้องการแก้อยู่ แต่ตัวความคิดในการแก้ปัญหาที่คุณได้จาก focus mode นั้น ก็ยังคงทำงาน ฉะนั้น คำตอบที่ได้จากความคิดในโหมดนี้ จะไม่ใช่คำตอบสุดท้ายหรือคำตอบที่ชัดเจนนัก แต่มันจะมาในลักษณะของไอเดียเริ่มต้น(อารมณ์ประมาณว่า “อ๋อ มันน่าจะเป็นแบบนี้นะ”) พอทำให้คุณได้คลำทางว่าจะเริ่มแก้ปัญหาจากจุดใด และเป็นช่วงเวลาที่ทำให้คุณได้เริ่มมีไอเดียสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆได้
- การคิดแก้ปัญหาใน Mode นี้จะเกิดเมื่อคุณอยู่ในภาวะผ่อนคลาย (คิดโดยไม่คิด) เป็นความคิดใน Subconscious level เช่น เกิดขึ้นในขณะเดินเล่น วิ่งเล่น อาบน้ำ หรือนอนหลับ
- เราไม่สามารถใช้ความคิดทั้งสอง Mode นี้ได้ ในเวลาเดียวกัน
- การเรียนสิ่งใหม่ๆ การแก้ปัญหาที่ไม่คุ้นเคย หรือปัญหาที่ซับซ้อน นั้นจะประกอบไปด้วยการสลับกันระหว่างความคิดทั้งสองMode นี้ โดย Focus mode จะทำให้คุณได้ข้อมูล ได้คิดวิเคราะแก้ปัญหาเต็มที่ ได้เค้นสมองเต็มที่ แต่หากคุณคิดคำตอบไม่ออก คุณก็ไปผ่อนคลาย เพื่อให้สมองอยู่ใน Diffuse mode, เพื่อให้ความคิดใต้สำนึกของคุณพยายามหาสิ่งใหม่ๆมาเชื่อมโยง และมองภาพให้กว้างขึ้น เมื่อเวลาาผ่านไปซักพัก คุณก็อาจจะพบว่าคุณเริ่มรู้วิธีแก้ปัญหา เริ่มมีข้อมูลแก้ปัญหามากขึ้น หรือคิดสร้างสรรค์วิธีแก้ปัญหาใหม่ๆได้
Memory
- โดยหลักแล้วเวลาจะคิดอะไรใดๆ เราก็จะมี Material ในการคิด, Material นี้ก็มาจากความจำนั่นเอง
- ความจำแบ่งอีกเป็น 2 ประเภท
1. Working Memory :
- คือความจำที่คุณใช้มันเวลาที่จำเป็นต้องคิดอะไรสักอย่างในใจ ความจำชนิดนี้จะอยู่ในส่วนของสมองที่บริเวณที่เรียกว่า Prefrontal Cortex ตัว working memory มีSlot ให้จดจำข้อมูลต่างๆ เพียงแค่ 4 slots เท่านั้น
2. Long-Term Memory :
- ความจำระยะยาว ซึ่งจะถูกเก็บอยู่ในบริเวณต่างๆของสมอง สมองของเราจะเก็บความจำระยะยาวได้มากมาย แต่มันก็ยากเหมือนกันในการนำความรู้ที่เก็บอยู่ในความทรงจำระยะยาวนี้กลับมาใช้
Spaced Repetation
- เวลาคุณเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มันจะเหมือนกับว่าคุณกำลังนำข้อมูลต่างๆนั้นมาเก็บใน working memory ก่อน ,เปรียบเทียบ working memory เป็นกระดานดำที่แสดงภาพได้ไม่ชัด การจะทำให้คุณเรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้ดีนั้นจึงต้องมีการซ้ำหลายๆครั้ง โดยการทบทวนความจำที่ดีและทำให้จำได้ดีคือ “Space repetition” คือการจำหรือทำซ้ำโดนเว้นห่างหลายๆวัน เช่น ห่างวันเว้นวัน วันเว้นสองวัน วิธีจำซ้ำนี้จะใช้ได้ดีกว่าจำอัดๆกันในวันเดียว
Sleeping
- การนอนหลับจะช่วยเป็นการจัดเก็บข้อมูลที่สำคัญที่คุณได้เรียนรู้ในแต่ละวัน ลงในสมอง จึงสำคัญมากในการรักษา Long Term Memory และยังช่วยลบความทรงจำที่ไม่จำเป็นออกด้วย
- นอกจากนี้พบว่า หากบังเอิญถ้าคุณฝันถึงสิ่งที่คุณเรียน คุณก็จะยิ่งจำมันได้ดีขึ้น
Chunking
- Chunk เป็นศัพท์ทางจิตวิทยา หมายถึงกลุ่มก้อนข้อมูลที่มีความเกี่ยวโยงกัน ผ่านทางความหมายหรือจากการใช้งานบ่อยๆ
- Chunk สามารถเพิ่มขนาดได้เรื่อยๆ เมื่อเราได้รับข้อมูลเพิ่ม , การมีอยู่ของ chunk ทำให้สมองเราสามารถ access กลุ่มของข้อมูลต่างๆได้ง่ายขึ้น เป็นการประหยัดเนื้อที่ของ working memory อีกทางหนึ่ง
- ตัวอย่างเช่น เมื่อนำตัวอักษร P-O-P มาอยู่ด้วยกันจะได้ว่า POP ซึ่งทำให้คุณรู้สึกถึงเสียงดัง “ป็อป” การที่คุณเห็นตัวอักษรสามตัวนี้เรียงกันแล้ว นึกถึงเสียงป็อป ก็คือการทำที่สมองมันจดจำ chunk นี้ได้ และมีเซลล์ประสาทกลุ่มหนึ่งทำงานพร้อมกันนั่นเอง
- Chunking ก็คือกระบวนการอัดข้อมูลต่างๆ ให้กลายเป็น Chunk
- เราจะสร้าง Chunk ที่มีประสิทธิภาพได้อย่างไร?
- สมมติคุณจะฝึกเล่นกีต้าให้ได้สักเพลงหนึ่ง เพลงๆนั้นก็เหมือน Chuck ก้อนมหึมา การจะฝึกเล่นเพลงให้ได้ ก็เริ่มจากที่คุณต้องคอยๆฝึกไปทีละท่อนๆเป็นเวลาหลายๆวัน เป็นการสร้าง Neural mini chunk มาต่อๆกัน จนเป็นอันใหญ่ หรือก็คือเพลงๆหนึ่งนั่นเอง
- Step
- Focus Undivided Attention : เพ่งสมาธิกับในข้อมูลที่คุณต้องการ Form Chunk , ในครั้งแรกที่คุณจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ คุณกำลังสร้าง Neural pattern อันใหม่ และต้องการ connect มันกับสิ่งที่มีมาก่อน ซึ่งก็กระจัดกระจายอยู่ทั่วสมอง คุณจึงต้องมีสมาธิอย่างมาก
- ทำความเข้าใจข้อมูลที่กำลังจะ Chunk , ความเข้าใจจะเป็นตัวเชื่อมที่ดีระหว่างความทรงจำในข้อมูลต่างๆ คุณสามารถ form chunk ได้แม้คุณจะไม่เข้าใจ แต่นั่นจะเป็นเพียงแค่ useless chunk ที่ไม่fit กับข้อมูลอื่นๆได้เลย และคุณจะลืมมันง่ายๆมากๆ
- ** การทำความเข้าใจ ในที่นี้ ไม่ใช่อารมแบบฟังครูอธิบายแล้วเข้าใจ หรือ อ่านเฉลยแล้วเข้าใจ แต่หมายถึงความเข้าใจที่เกิดจากตัวคุณเอง ทีได้จากการที่คุณทบทวนบทเรียน หรือได้ลองทำแบบฝึกหัดและแก้ปัญหาเองแล้ว (เช่นเดียวกันกับการวาดรูป การเล่นกีต้า ที่ต้องเล่นเอง)
- ต้องทำเองเท่านั้นที่จะสร้าง neural pattern ที่มีความหมายได้
3. หา context (Practice): การรู้ Context จะทำให้เรารู้ว่าเราควรใช้ chunk นี้ได้เมื่อไหร่ และไม่ควรใช้มันเมื่อไหร่
- ปกติการเรียนรู้เกิดขึ้นในสองทาง คือ Top-down ซึ่งเป็นการมองภาพรวมให้ออกว่าคุณกำลังเรียนอะไร และ Bottom-up คือ เรียนรายละเอียดในเรื่องใดๆเรื่องหนึ่ง
- Context คือที่ๆ Top-down และ Bottom-up มาเจอกัน
- ตัวอย่างเช่น Big picture คือการที่คุณเปิดหนังสือบทนี้ผ่านๆ เพื่อดู outline และให้รู้ว่าตัวบทนี้เกี่ยวกับอะไร , Bottom up คือการเรียนเจาะลึกไปในแต่ละหัวข้อย่อย Context คือการที่คุณรู้ว่าเมื่อถึงตรงนี้คุณต้องใช้องค์ความรู้ย่อยตัวไหน และไม่ควรใช้ตัวไหน
Library of Chunk
- การที่คนๆนึงจะกลายเป็นผู้เขี่ยวขาญอะไรบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการซ้อมดนตรี ซ้อมกีฬา อ่านหนังสือ ก็คือการค่อยๆ สะสม chunk เล็กๆ ให้มากขึ้นๆเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป และให้มันเชื่อมต่อกันมากขึ้นเรื่อยๆ เหมือนสายริบบอนที่ยาวมากขึ้นๆ
- นอกจากนี้การเก็บสะสม chunk จะทำให้ diffuse mode ค่อยๆเชื่อมโยงconcept ต่างๆมากขึ้น เกิดเป็น pattern ต่างๆที่พร้อมให้เราหยิบใช้ได้มากขึ้นโดยไม่ได้รู้ตัว
- Transfer
- การมี chunk ที่หลากหลายทำให้คุรเข้าใจ concept ใหม่ๆง่ายขึ้น เวลาที่คุณเจอองค์ความรู้ที่มีลักษณะคล้ายๆกัน เช่น ความรู้จากฟิสิก คล้ายกับความรู้เวลาทำธุรกิจ เราเรียกว่ามันสามารถ transfer แก่กันได้
Part II : The Learning Techniques
1. Recall
- งานวิจัยของ Jeffrey Karpicke พบว่า การทวนเนื้อหาโดยการอ่านหนังสือซ้ำๆ เป็นการกระทำที่ไม่ Productive และเสียเวลา ที่ดีกว่าคือการ Recall (คือปิดหนังสือ แล้วพยายามนึกไห้ได้ว่าที่อ่านไปมันเป็นยังไง)
- Recall นั้นได้ผลดีกว่า การ Rereading หรือแม้แต่การวาด MindMap เสียด้วยซ้ำ
- Rereading ที่มีประโยชน์นั้นจะมีต่อเมื่อคุณต้องเว้นช่วงอ่านซ้ำ ซึ่งก็เป็น Space Repetition แบบหนึ่งนั่นเอง
- การเรียนรู้และการ Recall สิ่งใหม่ๆนั้น จะเหมือนกับว่าเราทำให้ Slot memory 4 ช่อง ที่เริ่มด้วยข้อมูลต่างๆที่มี connection อันยุ่งเหยิงนั้น เกิดการปะติดปะต่อเรื่องราว และสร้าง Chunk ออกมาได้ ความยุ่งเหยิงนี้ก็จะลดลง จนอาจจะเหลือเป็น chunk ยาวๆสายใยเดียวกันที่ใช้พื้นที่ slot ไปเพียงแค่อันเดียว จึงทำให้คุณมีช่องว่างเพิ่ม เพื่อใช้ประมวลผลข้อมูลเพิ่มขึ้น
- Recall ที่ดี ต้องทำนอกสถานที่
- เวลาที่คุณเรียนรู้อะไรใหม่ๆ สภาพแวดล้อม ณ ขณะที่คุณกำลังเรียนอยู่นั้น อาจทำตัวเป็นเงื่อนไข (Subliminal cue) ในการทำให้คุณจำได้ (เช่น อยู่ที่บ้านจำได้ พอย้ายมาที่ห้องสอบกลับจำไม่ได้ เพราะไม่คุ้นชินกับสภาพแวดล้อมใหม่)ดังนั้น ถ้ามีเวลา ก็ให้คุณฝึกลองrecall ข้อมูลต่างๆ ในหลากลหายสถานที่ ก็อาจจะทำให้คุณนึกอะไรออกง่ายขึ้นเวลาเข้าห้องสอบ
2. Illusion Of Competence
- คือการหลงผิด คิดว่าตัวเองรู้เรื่องแล้ว ทั้งๆที่ความจริงไม่ได้มีความรู้ใดๆเลย
- เวลาที่คุณฟังคำอธิบายเฉลยโจทย์ หรืออ่านเฉลย แล้วคุณรู้สึกเข้าใจแจ่มแจ้งดี และรู้สึกว่ามันก็ไม่ได้ยากอะไร แต่พอต้องทำแก้โจทย์ด้วยตัวเองจริงๆ กลับทำไม่ได้ (แม้โจทย์นั้นก็เป็นข้อที่คุณอ่านเฉลยมาแล้ว) แสดงว่าคุณกำลังเจอกับ Illusion of competence
- นั่นเป็นเพราะว่าคุณหลงคิดว่าคุณคิดออกมาได้จากสมองของตัวเอง (your own neural pattern) ทั้งที่จริงแล้วที่คุณได้มาคือแค่การรับสารอย่างหนึ่งเท่านั้น
- ดังนั้นการจะให้ความทรงจำอยู่ในหัวคุณได้ คุณจะต้องเป็นคนคิดแก้ปัญหานั่นเอง เพื่อสร้าง neural pattern ให้เกิดในสมองของคุณ
- Illusion of competence ยังพบได้ในการทำ highlight หรือ ทำสรุปย่อ/ Concept Mapping
- การทำ Highlight เวลาอ่านหนังสือ ควรเน้นที่ประโยคสำคัญจริงๆเท่านั้น ย่อหน้านึ่งไม่ควรเกิดหนึ่งประโยค เพราะบางครั้งการ Hand motion จากการขีด Highlight จะหลอกว่าคุณได้เอา concept นี้เข้าไปในหัวแล้ว ซึ่งที่อาจจะไม่จริง
- การทำสรุปย่อ การทำMindMap สวยงาม ก็มีโอกาสเป็น Illusion of competence เช่นกัน คุณอาจหลงคิดไปเองว่าคุณรู้เรื่องแล้ว ทั้งที่จริงคุณกลับจำอะไรไม่ได้เลย เพราะไอ้ที่คุณเขียนไป ยังไม่อยู่ในหัวคุณนั่นเอง
- การแก้ปัญหา illusion of competence นั้นทำได้ง่ายๆ โดยการทำข้อสอบ ทำแบบฝึกหัด หรือทดสอบความเข้าใจตัวคุณเอง หรือ สอนเนื้อหาให้กับคนอื่นๆ
3.Overlearning
-
- การฝึกอะไรซ้ำไปซ้ำมาหลายๆรอบ เช่น ท่องศัพใหม่ๆ concept ใหม่ๆ หรือฝึกวิธีแก้ปัญหาเดิมซ้ำๆ ทำโจทย์เดิมซ้ำๆ แม้จะชำนาญในสิ่งนั้นแล้ว เรียกว่า Overlearning
- Overlearning ทำให้เกิด Automaticity ซึ่งสำคัญในaction บางอย่าง เช่น การเล่นเปียในให้perfect, การฝึกพูดในที่สาธารณะ แต่การฝึกซ้ำๆในเวลาใกล้ๆกัน ก็จะเป็นการเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยขน์นั่นเอง
- การ repeat ที่ดีควรจะทำในโอกาสถัดๆไปที่ไม่ใช้ same study session ซึ่งจะช่วย strengthen และ deepen Neuron pattern ของคุณได้ดีกว่า เรียกการ repeat ที่เว้นระยะห่างไว้เป็นช่วงๆนี้ว่า Spaced Repetition
-
- แต่การเอาแต่ Repeat สิ่งที่ดีที่คล่องแล้ว ก็อาจจะทำให้คุณหลงคิดว่าตัวคุณเองเก่ง (Illusion of competence) ทางที่ดีคือคุณต้องพยายามฝึกสิ่งที่ยากขึ้นเรื่อยๆ
- การ Focus ฝึกฝนในสิ่งที่ยากขึ้นๆเรื่อยๆ เป็น stepๆ นี้ คือกระบวนการที่เรียกว่า Deliberate Practice ซึ่งกระบวนการนี้เอง ที่จะแยกระหว่างนักเรียนที่เก่ง และนักเรียนที่เก่งมาก
4.Einstellung effect
- Einstellug เป็นภาษาเยอรมัน แปลว่า MindSet
- บางครั้งข้อมูลความรู้ที่คุณมี หรือ neural pattern ที่คุณมีและพัฒนามาแล้วนั้น อาจจะ Block ไม่ให้คุณได้ better idea หรือ better solution ออกมาได้ หรือบางครั้งมันอาจจะพาคุณหลงทางไปทำอย่างอื่นเลย
- เช่น คุณอาจจะมีแนวคิดว่า โจทย์แนวนี้ ก็ต้องแก้ปัญหาแนวนี้ แต่แท้จริงแล้วมันอาจจะมีวิธีที่ง่ายกว่า แต่คุณคิดไม่ออก เพราะวิธีแรกที่ผุดมาในหัว มัน Block หนทางอื่นๆไปแล้ว
5.Interleaving
- คือการสลับเรียนรู้สิ่งต่างๆ ไม่ใช่ว่าเริ่มเรียนอะไร ก็จะเรียนแต่เรื่องนั้นต่อเนื่องยาวๆ เช่นเมื่อคุณกำลังเรียนบทหนึ่งในวิทยาศาสตร์ คุณอาจจะเอาแต่ศึกษาแก้โจทย์เรื่องไฟฟ้าจนรู้สึกเข้าใจลึกซึ้ง แต่พอกลับมาทำโจทย์กลศาสตร์ก็อาจลืมไป หรือรู้สึกไม่คล่องเหมือนเดิมแล้ว วิธีแก้ปัญหานี้ จึงเป็นที่มาของการทำ Interleaving
- Interleaving คือการคอยสลับเรียนรู้เนื้อหาไปมาระหว่างบทต่างๆ เพื่อทำให้สมองของคุณต้องคอยสลับวิธีคิด หรือหาวิธีแก้ปัญหาต่างๆ อย่างไม่ซ้ำกัน การทำแบบนี้แม้จะทำให้เรียนได้ยากลำบากขึ้น แต่ก็จะช่วยให้องค์ความรู้มันลึกขึ้น และช่วยสร้าง Flexibility และ Creativity แก่สมองของคุณ
- Interleaving นั้นสำคัญพอๆกับ Repetition มันจะทำให้คุณสร้างสรรสิ่งใหม่ๆได้ง่ายขึ้น
6.ออกกำลังกาย
- ในอดีตเชื่อกันเมื่อเราเกิดมา เราจะมี set จำนวน neuron ที่จำกัดและเราก็จะอยู่กับ neuron เซ็ตนี้ไปตลอด โดยมันจะค่อยๆลดลงเมื่อเราแก่ตัวลงเรื่อยๆ และยิ่งหายไปเร็วมากหากเราไม่ค่อยได้ฝึกใช้สมอง
- แต่งานวิจัยในหนูทดลองปี 2015 พบว่าใน Hippocampus จะมี neuron เกิดขึ้นได้ใหม่เมื่อหนูตัวนั้นกำลังเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพียงแต่นิวรอนตัวใหม่นี้ก็จะตายไปหากมันไม่ได้รับการใช้งานแล้ว
- ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พบว่า การออกกำลังกายสามารถช่วยให้neuron ที่เกิดใหม่นี้อยู่รอดได้นานขึ้น
- การออกกำลังกายมันจึงช่วยในการเรียนรู้ของคุณได้โดยตรง
7.การฝึกฝนสมอง สามารถซ่อมแซมส่วนที่เสียหายไปได้
- สมองส่วนต่างๆจะมีวัยที่พัฒนาเต็มที่(Fully maturation) ที่ต่างกัน เช่น บริเวณที่เกี่ยวกับการมองภาพลึกตื้น (Binocular depth และมองภาพให้เห็นสามมิติ ซึ่งต้องอาศัยการทำงานที่สอดคล้องกันของตาทั้งสองข้าง และสมองส่วนการมองเห็น จะพัฒนาเต็มที่ตอนอายุ 2 ปี หรือบริเวณที่เกี่ยวกับการตัดสินใจ จะโตเต็มที่ช่วงอายุวัยรุ่น หากเลยช่วงอายุเหล่านี้ไป สมองของคุณจะไม่สามารถมองเห็นภาพเป็นสามมิติได้ตลอดกาล
- อย่างไรก็ตามนั่นเป็นแค่ความเชื่อในอดีต เข่นในทางปฏิบัติก็มีคนที่ไม่สามารถมองเห็น แต่สามารถฝึกสมองจนกลับมามองให้เห็นเป็นภาพสามมิติได้
- ดังนั้นข้อคิดก็คือ Practice can repair และ train your brain ได้ เพียงแต่มันต้องใช้เวลานานๆมากๆ (Practice can repair, as well as train the brain. But this takes much longer, past the critical period)
8.ฝึกทำความเข้าใจด้วยการเปรียบเทียบConceptนั้น กับสิ่งต่างๆ
- หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการจะทำให้เข้าใจ concept ได้นั้น นอกจากจะจำให้ได้ ก็คือการใช้วิธีอุปมาอุปไมย หรือ อุปลักษณ์(Metaphor)ยิ่งเทียบให้เห็นเป็นรูปธรรมมากเท่าไหร่ ยิ่งดูSillyเท่าไหร่ ยิ่งดีมากขึ้นเพราะมันจะยิ่งทำให้คุณจำอะไรๆง่ายขึ้นและจำได้นานามากขึ้น
- ยิ่งคุณเรียนสูงและศึกษาคอนเซ็บต่าๆได้ซับซ้อนมากขึ้นเท่าไหร่ คุณก็สามารถคิด metaphor ที่เจ๋งกว่ามาแทนที่อันเก่าได้
- Metaphor ไม่ใช่เรื่องเล่นหรือเรื่องที่ดูเป็นการใช้จินตนาการไร้สาระ อย่าลืมว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์นั้นก็เกิดจาก Metaphor มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการคิดถึงรูปร่างโมเลกุลเป็นทรงกลม การคิดถึงรูปร่างจักรวาล การคิดถึงกระแสไฟฟ้าให้เป็นดั่งสายน้ำ เป็นต้น
9.The Value Of Teamwork
- คนที่เป็น Stroke สมองซีกขวา จะมีภาวะหนึ่งที่เรียกว่า broad-perspective perceptual disorder of the right hemisphere โดยพบว่าคนที่เป็นโรคนี้จะยังคง Function ได้ตามปกติ ยังมีความฉลาดที่ปกติ ยังสามารถคำนวณโจทย์เลขยากๆได้ ถ้าเขาเคยทำได้มาก่อน แต่หากเขามีความผิดพลาดในการคำนวณ แม้จะดูไม่make sense มากๆ เช่น คำนวณได้ว่าร้านขายไส้กรอก มีรายได้พันล้าน ความผิดพลาดนี้จะไม่ทำให้พวกเขาเอะใจหรืออะไรใดๆ
- พวกเขาจะดูเหมือนไม่มี big picture , ไม่มี Common sense
- การศึกษพบว่าสมองซีกขวาช่วยในการมองย้อนถอยกลับมาดูภาพรวมกว้างๆ (step back and gain big picture perspective ) เพื่อให้เราดูว่าตอนนี้เดินมาถูกต้องหรือไม่
- ดังนั้นหากคุณเป็นคนที่ทำแบบทดสอบหรือทำข้อสอบโดยไม่ทวนเลยแสดงว่าคุณกำลังทำตัวเหมือนคนที่พิการสมองซีกขวา
- Right Hemisphere ทำหน้าที่เป็น Devil Advocate, ซึ่งจะคอยถามคำถามต่างๆ และคอยมองหาความไม่สม่ำเสมอ ในขณะที่ Left Hemisphere ทำหน้าที่เป็นตัว Focus, เป็นตัวแปลผลสารต่างๆในโลกที่เข้ามาหาเรา และจะเป็นตัว retain ไม่ให้ความหมายต่างๆนั้นแปรเปลี่ยนไป
- หนึ่งในวิธีที่ดีในการป้องกันจุดบอดนี้ ก็คือการ brainstorm กับคนทำงานอื่นๆที่มีความสนใจอย่างยวดยิ่งในสิ่งเดียวกัน เพราะยังไงก็ตามทุกคนก็มีจุดบอดของตัวเอง กัลยาณมิตรจึงสามารถเข้ามาช่วยคุณได้
Part III : The Procrastination
- การผัดวันประกันพุ่ง คือปฏิกิริยาตอบสนองของสมองต่อสิ่งที่เราไม่ชอบ โดนการหันไปทำอย่างอื่นที่น่าอภิรมย์กว่า ซึ่งจะให้เรามาซึ่งความสุขชั่วครู่
- การติดนิสัย Procrastnation มากๆจะยิ่งทำให้คุณรับมือกับปัญหายากๆได้ลำบากขึ้นเรื่อยๆในชีวิต
Procrastination เป็นนิสัย(Habit) อย่างหนึ่ง
- Habit จะเกิดในสิ่งที่เราทำบ่อยๆ จนเคยชิน การมีอยู่ของมันก็เพราะเป็นการช่วยประหยัดพลังงานสมองให้ไม่ต้องคิดอะไรมาก เพราะมันเป็ฯสิ่งที่ทำประจำอยู่แล้ว
- Habit ประกอบด้วยองค์ประกอบสี่อย่างคือ
- The Cue : คือตัวกระตุ้น(Trigger) ที่ทำให้คุณเข้าสู่โหมดอัตโนมัติ เช่น เห็นโจทย์ปัญหาข้อแรกหรือเห็นข้อความLineเด้งมา
- Cue จะนำไปสู่ Routine ซึ่ง Routineก็มีทั้งที่ดีและไม่ดี
- The Routine :เมื่อได้รับ Cue, คุยก็จะตอบสนองโดยอัตโนมัติ เรียกว่า routine นั่นเอง
- The Reward : นิสัยเกิดขึ้นและคงอยู่ได้ เพราะมันให้รางวัลสักอย่างแก่เรา ซึ่งโดยส่วนใหญ่ก็คือความรู้สึกพอใจ เช่น การอาบน้ำกลางคืนทำให้คุณรู้สึกสะอาด, Procrastination ก็เช่นเดียวกัน เพราะมันทำให้เรารู้สึกพึงพอใจเมื่อได้เมินหน้าหนีสิ่งที่ทำให้เราไม่เป็นสุข
- Reward ของ Procrastination ก็คือการได้หนีปัญหานั่นเอง
- ดังนั้นการหา reward ดีๆ หลังจากเราประสบความสำเร็จ ก็อาจช่วยลด procrastination ได้
- The Belief : Habit มีpower เพราะคุณเชื่อในมัน เช่น คุณเชื่อว่าคุณไม่มีทางทำงานได้จนกว่าไฟจะล้นก้น ดังนั้นต้องเริ่มจากว่า คุณต้องเชื่อว่าคุณจะเปลี่ยนhabitได้
- The Cue : คือตัวกระตุ้น(Trigger) ที่ทำให้คุณเข้าสู่โหมดอัตโนมัติ เช่น เห็นโจทย์ปัญหาข้อแรกหรือเห็นข้อความLineเด้งมา
Product vs Process
- การเริ่มทำอะไรสักอย่างนั่นอาจทำให้คุณเป็นทุกข์ได้ วิธีการhandle อารมณ์ต่างๆนี้จึงสำคัญ คนหลายๆคนสามารถควบคุมความรู้สึกนี้ได้ แต่ถ้าคุณยังมีปัญหา อีกวิธีที่แนะนำคือการ Focus ไปที่ Process
- Process ก็คือกระบวนการที่เกี่ยวข้องไปกับเวลาที่ผ่านไป ในขณะที่ Product คือผลของงานนั้นๆ
- เพื่อหลีกเลี่ยง procrastination คุณไม่ควรโฟกัสไปที่ product เพราะมันมักทำให้คุณทุกข์ แต่ให้ดูที่ process เช่น หากมีการบ้าน5 ข้อ การที่คุณคิดจะทำให้เสร็จสมบูรณ์ก็คือการคิดถึง product ซึ่งทำให้คุณหลีกเลี่ยงที่จะทำมันให้เสร็จ และหลอกตัวเองว่าใกล้deadline ก็ค่อยทำ แทนที่จะเป็นเช่นนี้ ก็ให้คุณลองfocus กับ process เช่น คุณอาจจะกันเวลาสัก 25 นาทีในการเริ่มทำงาน ได้เท่าไหนก็เท่านั้น ซึ่งถ้ามองแบบนี้จะทำให้ความรู้สึกเจ็บปวดน้อยกว่าและเริ่มงานได้เร็วกว่า และทำให้คุณ relax ได้มากขึ้น
วิธีเปลี่ยนนิสัย Procrastination
- ดังที่กล่าวไปแล้วว่า Procrastination คือนิสัยอย่างนึง การเปลี่ยนนิสัยจึงต้องเปลี่ยนไปตามองค์ประกอบทั้งสี่อย่าง คือ
- The Cue : Cue ที่เกียวกับ procrastination มักเกี่ยวกับ Location, Time , อารมณ์ขณะนั้น ดังนั้นคุณจึงต้องจับให้ได้ว่าอะไรเป็น Cue ที่ทำให้คุณเริ่ม Procrastination เช่น อาจเป็นการทำงานในที่ๆที่มีคนพลุกพล่าน ทำงานใกล้มือถือหรือสิ่งยั่วยวนใจต่างๆ หรือแม้แต่อารมณ์ไม่ดี
- The Routine : เมื่อเจอ cue เราก็จะมีroutine คือการหันเหไปทำอย่างอื่นที่pain น้อยกว่า ดังนั้นหากคุณมี plan รองรับว่าจะทำงานนั้นๆอย่างไรบ้าง ก็จะช่วยให้คุณบังคับตัวเองทำงานได้ง่ายขึ้น
- The Reward : อย่าให้รางวัลตัวเอง หากคุณสามารถพยายามทำงานจนเสร็จ เช่น ทำงานเสร็จแล้วจะไปดู seiries การให้รางวัลเป็นส่วนที่สำคัญ เพราะมันทำให้สมองคุณอยากทำสิ่งนี้มากขึ้น (neurological cravings) ทำให้สามารถพัฒนานิสัยใหม่ๆได้
- The belief : เชื่อมั่นในตัวคุณ ว่าคุณสามารถเอาชนะความผัดวันประกันพรุ่งนี้การเรียนได้
Weekly/Daily list : Juggling Life and Learning
- การเรียนรู้ของหลายๆคนจำเป็นต้องมี balanceกับภาระงานอื่นๆในชีวิตด้วย
- วิธีที่แนะนำคือการทำ weekly list ของงานที่จำเป็นต้องทำ และ ทำ Daily to do list ของวันถัดไปในช่วงก่อนนอน เพราะงานวิจัยพบว่า subconscious mind ของคุณก็จะช่วยคิดแก้ปัญหา วิธีทำ to do list นี้ด้วยระหว่างที่คุณกำลังนอน ทำให้คุณตื่นมาพร้อมคำตอบได้
- นอกจากนี้การทำ list ยังเป็นการ free working memory space ของคุณ
- ทำ quitting time ในแต่ละวันด้วย (เช่น หลังห้าโมงเย็นต้องหยุดงานทุกอย่าง แล้วไปออกกำลังกาย) ซึ่งมันสำคัญพอๆกับ การ set working time
- คนที่ทำงานหนัก และมีเวลาพักเพียงพอ มักจะ performance ดีกว่าคนที่เอาแต่ทำงานหนักๆอย่างเดียว
- เอางานที่ซับซ้อนและยากที่สุด และไม่พึงประสงค์ที่สุด มาเป็นงานแรกของวัน
สรุป
- การเรียนรู้ที่ดีนั้น ต้องค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นการ tackle procrastination จึงสำคัญมากๆ
- การรับมือ procrastination สรุปเป็นขั้นตอนดังนี้
- Keep a planner journal
- Commit yourself to certain routine and task each day : complete daily to do list ก่อนนอน , จัดเรียงงานให้เป็น Series สั้นๆ และอย่าลืมให้รางวัลตัวเอง
- Deliberately Delay rewards until you finish the task
- Watch for procrastination cue
- Gain trust in your new system : trust your system enough so that when it comes time to relax, you actually relax without feelings of guilt or worry.
- Have backup plans for when you still procrastinate
Part IV : The Memory Techniques
Visual Memorizer
- เดิมที่นั้นมนุษย์ไม่ได้มีวิวัฒนาการมาเพื่อจดจำชื่อหรือตัวเลขต่างๆ แต่เพื่อจดจำภาพ จดจำว่าแหล่งอาหารอยู่ไหน บริเวณไหนไม่ปลอดภัย มนุษย์จึงมีพัฒนาการ ด้าน Spatial and visual sense อย่างดีเยี่ยม สังเกตเวลาคุณไปเจอสถานที่ใหม่ๆ คุณมักจะจำรายละเอียดเล็กๆน้อยของสถานที่นั้นๆได้ดี
- ดังนั้นเวลาจำ พยายามเอาsense ทุกๆอย่างมาใช้ในการช่วยจำ เช่น การดู ฟัง สัมผัส ดมกลิ่น ได้ยิน
- มนุษย์พัฒนาความจำประเภท “where things are” และ “how they look” memory system ได้ดีกว่า
- ดังนั้นสิ่งที่ช่วยในการสร้างความทรงจำระยะยาวที่ดีอันหนึ่งคือจำเป็นรูป
Spaced Repetition
- ดังที่เคยกล่าวไปว่า การทำ Space repetition (แบ่งจำข้อมูลโดยทิ้งช่วงเวลา เช่น day 0,3,7,14..) จะช่วยให้คุณสามารถจดจำสิ่งต่างๆได้ดีเยี่ยม วิธีทำ Spaced repetition นั้นก็มีหลายแบบ เช่น
- Reread หนังสือหรือเนื้อนั้นๆที่คุณอ่าน โดยทิ้งช่วงระยะห่าง
- พยายาม Recall ข้อมูลนั้นๆ โดยทิ้งช่วงระยะห่าง
- Flashcard ก็ช่วยได้ดี อาจใช้ Software ช่วย เช่น Anki Flashcard
Long Term Memory
- มีรายงานเคสผู่วยที่ถูกผ่าตัดส่วน Hippocampus ออกไปเพื่อรักษาโรคลมชัก
- หลังจากการผ่าตัดสำเร็จไปด้วยดี เขากับกลายเป็นคนที่ไม่สามารถจำอะไรใหม่ๆได้เลย
- ที่เป็นเช่นนี้เพราะ Hippocampus เป็นส่วนที่นำข้อมูลใหม่ๆลงไปใน cortex ซึ่งมันกินระยะเวลาหลายๆปี (Memory consolidation) กว่าข้อมูลนั้นจะฝังติดแน่น ดังนั้นเขาจะจำเรื่องราวสมัยเด็กๆได้ แต่จะไม่สามารถจำเรื่องที่เกิดประมาณ 2-3 ปีก่อนเขาผ่าตัด หรือหลังผ่าตัดได้เลย
- ความจำนั้นเป็นสิ่งที่แปรเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ
- เมื่อคุณมีความจำบางอย่าง มันจะถูกเก็บใน long term memory ในตอนแรกด้วย process ชื่อ consolidation แต่เมื่อคุณนึกถึงมันซ้ำ ความจำในระยะยาวนี้ก็จะถูกนำกลับมาอีกครั้ง(Reactivation)
- ความจำที่เอามาดูใหม่นี้ ก็สามารถกลับไปยัง long term memory ได้ ด้วย context อันใหม่ และมันสามารถไปSave ทับ old memory ได้ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า Reconsolidation
- ทั้ง consolidation และ reconsolidation นี้เกิดในระหว่างการนอนหลับ
- ดังนั้นการแบ่งเนื้อหาเรียนออกเป็นระยะเวลายาวๆ ค่อยๆเรียน จะมีประโยชน์กว่า เมื่อเทียบกับการอัดเนื้อหาในเวลาสั้นๆ (cramming)
- หากคุณจะเรียนอะไรหนึ่งชม มันจะจำได้ดีกว่าถ้าคุณแบ่งซอยย่อนมันครั้งละ 10 นาที ต่อหนึ่งเดือน ดีกว่า 1 ชม จบได้ในวันเดียว
- เช่นเดียวกัน ถ้าคุณรอ cram ทุกอย่างก่อนวันสอบหนึ่งวัน คุณก็จะลืมมันอย่างรวดเร็ว
Meaningful Groups and Memory palace
- Meaningful groups
- เวลาจำตัวเลข อาจเอามันมาเชื่อมโยงกับเหตุการณ์สำคัญในชีวิตคุณ
- เวลาจำ Item ในกลุ่มเดียวกัน อาจใช้Mnemonics โดยการเอาสิ่งต่างๆที่ต้องจำในกลุ่มเดียวกัน มาเชื่อมโยงกับเหตุการ สิ่งของบางอย่าง เพื่อให้จำได้ง่ายขึ้น เช่น เอาตัวอักษรตัวแรกของรายการต่างๆ มาเรียงกัน
- Memory Palace
- คือการจินตนาการถึงสถานที่ที่คุณคุ้นเคย เช่น แผนผังห้องนั่งเล่นที่บ้านแล้วก็ให้ทำ visual notepad คือใส่รูปต่างๆที่ต้องการจำลงไปที่มุมต่างๆของบ้าน
- วิธีนี้ใช้ได้ดีในการจำสิ่งที่ไม่เกี่ยวกัน เช่น list รายการของที่ต้องไปซื้อ เช่น ถ้าคุฯจะซื้อนม น้ำตาล ขนมปัง ก็ให้จินตนาการว่ามีขวดนมขนาดใหญ่ตั้งบนโซฟา ขนมปังอยู่เหนือประตู และไข่ไก่แตกอยู่ที่พื้น
- ในช่วงแรกๆที่คุณใช้วิธีนี้ คุณจะจำได้ช้าและอาจดูเหมือนไม่มีประสิทธิภาพ แต่ถ้าคุณฝึกใช้มันบ่อยๆ ในบางคนสามารถใช้ technique นี้ในการจดจำสิ่งของได้ถึง 40-50 อย่าง ในระยะเวลารวดเร็ว
- Meaningful groups
Part V : The Test Taking Tip
Test Checklist
- Checklist อันนี้พัฒนาโดยนักการศึกษาในตำนาน Dr Richard Felder แม้ว่ามันจะออกแบบมาสำหรับการสอบวิศวกรรม แต่ก็สามารถประยุกต์ใช้ได้กับวิชาต่างๆ
- หากคุณมีคำถามว่า “ฉันควรจะเตรียมตัวสำหรับการสอบอย่างไร ” ให้เช็คว่าคุณได้ทำสิ่งต่างๆ เพื่อให้แต่ละข้อนั้น “ใช่” หรือไม่
- คุณได้ใช้ความพยายามอย่างจริงจังเพื่อเข้าใจเนื้อหาหรือไม่? แค่การมองหาตัวอย่างแบบฝึกหัดที่มีเฉลยไม่ถือว่าได้พยายามแล้ว
- คุณได้ร่วมทำการบ้านกับเพื่อนร่วมชั้นหรืออย่างน้อยก็ได้ตรวจคำตอบที่ได้กับคนอื่นหรือไม่?
- คุณได้พยายามดูเค้าโครง/สรุปคำตอบของการบ้านก่อนจะอ่านหนังสือกับเพื่อนร่วมชั้นหรือไม่?
- คุณได้มีส่วนร่วมในการทำการบ้านด้วยการเสนอไอเดียและถามคำถามหรือไม่?
- คุณได้ปรึกษาอาจารย์หรือผู้ช่วยอาจารย์เมื่อมีปัญหาสงสัยหรือไม่?
- คุณเข้าใจคำตอบของการบ้านทุกข้อเมื่อคุณส่งการบ้านนั้นหรือไม่?
- ระหว่างอยู่ในชั้นเรียน คุณได้ถามคำอธิบายคำตอบของการบ้านข้อที่คุณไม่เข้าใจหรือไม่?
- หากคุณมีคู่มือการเรียนการสอน คุณได้ตั้งใจอ่านคู่มือนั้นก่อนการสอบ และมั่นใจว่า สามารถทำได้จุดประสงคของการเรียนครบทุกข้อแล้วหรือไม่?
- คุณได้พยายามสรุปและหาแนวการแก้ปัญหาแบบคร่าวๆอย่างรวดเร็ว โดยไม่เสียเวลา ไปกับการคิดคำนวณรายละเอียดย่อยๆหรือไม่?
- คุณได้ทบทวนคู่มือการเรียนการสอนและคำถามกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน และทดสอบกันและกันหรือไม่?
- หากมีการจัดติวก่อนการสอบคุณได้เข้าร่วมและถามคำถาม เกี่ยวกับสิ่งที่คุณไม่มั่นใจหรือไม่?
- ข้อสุดท้าย คุณได้นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ ในคืนวันก่อนสอบหรือไม่หากคำตอบสำหรับข้อสุดท้ายนี้คือ ไม่ คำตอบสำหรับคำถามข้ออื่นๆอาจไม่สำคัญเลย
Hard Start – Jump to Easy Technique
- Classic way ที่เราถูกสอนมาคือเวลาทำข้อสอบ ให้ทำข้อง่ายๆก่อน เพราะจะใช้เวลาน้อยกว่า ทำให้เรามีเวลาเหลือไปสู้กับข้อยากๆได้ต่อ
- แต่อย่างที่รู้กันว่าการทำข้อสอบนั้นก็คือการใช้ focus mode , ซึ่งในปัญหายากๆก็อาจจำเป็นต้องใช้ความคิดสร้างสรรมาก ต้องการการเชื่อมโยงต่างๆมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นหน้าที่ของ diffuse mode
- ดังนั้นวิธีที่แนะนำคือ เมื่อได้ข้อสอบมาแล้ว ให้ scan ดูคร่าวๆ ว่าข้อสอบเกี่ยวกับอะไร แล้วให้tackle ข้อยากๆก่อน แต่เมื่อคุณลองอ่านโจทย์ข้อยากๆแล้ว ก็ให้ใช้วเวลาคิดเต็มที่ หากคิดไม่ออกภายใน 1-2 นาที ก็รีบดึงตัวเองออกมา แล้วไปทำข้อง่ายๆก่อน แล้วค่อยกลับมาทำข้อยากๆนี้ใหม่ ถ้ายังไม่ได้ ก็กลับไปทำข้อง่ายก่อน ทำแบบนี้สลับไปสลับมา
- วิธีนี้จะทำให้ระหว่างที่เรากำลังคิดข้อง่ายๆ ตัว diffuse mode จะทำหน้าที่ in background ในการหาความเชื่อมโยง หาวิธีแก้ปัญหาใหม่ๆให้กับโจทย์ข้อยากนั้นไปด้วย
- วิธีนี้ยังช่วยป้องกัน Einstellung หรือก็คือการติดกับโจทย์ข้อนั้น เพราะดันไปคิดวิธีผิดตั้งแต่ต้นนั่นเอง
- ที่เน้นย้ำคือ วิธีนี้ คุณต้องมีวินัยพอ ที่จะดึงตัวเองออกมาให้ได้ หากติดกับโจทย์ข้อยากๆนาน 1-2 นาทีขึ้นไป
Stress
- เมื่อคุณมีความเครียดร่างกายจะหลั่งสาร cortisol ทำให้คุณมีเหงื่อออกมาก ใจสั่น รู้สึกหวิว
- ความเครียดจากการสอบหรือเห็นข้อสอบเป็นเรื่องปกติ แต่แทนทีคุณจะกลัว ให้คุณเปลี่ยนความคิดว่าข้อสอบนี้น่าตื่นเต้น และฉันจะทำมันให้ได้
- อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยได้ คือการหายใจเข้าออกลึกๆ เพ่งสมาธิไปที่ลมหายใจของคุณ
- หนึ่งในความเครียดจากการสอบ คือการกลัวจะสอบไม่ได้เกรดที่ดีพอไปเรียนต่ออาชีพที่ต้องการ ก็ให้คุณมี plan B มีคำตอบในใจว่าหากไม่ได้อาชีพนี้ จะทำอะไรเป็นอาชีพสำรอง ซึ่งจะทำให้คุณช่วยผ่อนคลายความเครียดไปได้ ทำให้การสอบนั้นดีขึ้น
Other Tips
- 1 วันก่อนสอบ ให้มากสุดคือแค่อ่าน material เร็วๆ เพื่อฟื้นฟูความจำ คุณไม่ควร cramming ใดๆในวันก่อนสอบ ส่วนหนึ่งเพื่อให้ mental muscle พักผ่อนเต็มที่ ลิย่าลืม good night sleep มิฉะนั้นทุกอย่างที่เตรียมตัวมาก็จะสูญเปล่า
- Check คำตอบจากหน้าหลังมาข้างหน้า อาจทำให้คุณได้มุมมองการทำข้อสอบใหม่ๆได้
- เวลาตอบคำถาม MCQ ให้ลองปิดช้อยคำตอบ แล้ว Recall คำตอบของคุณให้ได้ก่อน