คาเฟอีน คืออะไร? ทำงานอย่างไร?

คาเฟอีน คืออะไร

คาเฟอีน (Caffeine) คืออะไร?

 

คาเฟอีน เป็นชื่อเรียกสามัญของสารเคมีที่มีชื่อเต็มว่า 1,3,7-trimethylxanthine

คาเฟอีนตามธรรมชาติจะพบได้ในเมล็ด ผล หรือใบของพืชหลายๆชนิดที่มีถิ่นกำเนิดในแถบแอฟริกา อเมริกาใต้ เอเชียตะวันออก โดยตัวมันจะทำหน้าที่เป็นยาฆ่าแมลงส่วนตัวของพืชนั้นๆ และช่วยในการป้องกันการงอกของเมล็ดพืชอื่นที่มาอยู่ใกล้ๆ

ปัจจุเราพบคาเฟอีนได้กาแฟ ชา ช็อกโกแลต เครื่องดื่มชูกำลัง และอาจเจอได้ในอาหารอื่นๆที่มีการผสมสารคาเฟอีนสังเคราะ หรือแม้กระทั่งในสบู่ ยาสระผม ยาสีฟัน ก็พบได้

แต่คาเฟอีนไม่ใช่เป็นเพียงแค่อาหารเสริม ตรงกันข้าม มันคือยา มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท และมีฤทธิ์เสพติด

ถ้าดูจากวัฒนธรรมการบริโภคชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง และช็อกโกแลต  คาเฟอีนจึงจัดเป็นยากระตุ้นประสาทที่มีการใช้และเสพมากที่สุดในโลก และเป็นสารที่ถูกกฏหมาย ขาดการควบคุม มากที่สุดในโลกเช่นกัน

เราทุกคนต่างก็เคยบริโภคคาเฟอีน และเริ่มได้รับสารนี้ตั้งแต่ๆเด็กๆ ในรูปของช็อกโกแลต น้ำอัดลม หรือแม้แต่นมช็อกโกแลต

คาเฟอีนทำให้เราตาสว่างได้อย่างไร

เมื่อคุณได้รับคาเฟอีน มันจะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก และเข้าสู่กระแสเลือด โดยระดับคาเฟอีนจะขึ้นสูงสุดในกระแสเลือดภายใน 30 นาที

จากข้อมูลที่ว่า การง่วงนอนเกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ 1. Circadian Rhythm และ 2. Sleep pressure

ในคนที่มีการทำงานของ Circadian rhythm ปกติ , Sleep pressure ที่เกิดจากสะสมของ Adenosine ในสมอง ก็จะค่อยสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ เกิดเป็นความง่วงนอนสะสมเรื่อยๆ

คาเฟอีน สามารถขัดขวางการทำงานของ Adenosine นี้ได้ โดยตัวมันจะเข้าไปแย่งจับกับตัวรับ (Receptor)ของ Adenosine ในสมอง  จึงเสมือนว่าตัวรับนั้นไม่ได้มี Adenosine จับอยู่ สมองจึงไม่รับรู้ถึง Sleep pressure ,

คาเฟอีนจึงทำงานเสมือนหลอกสมองของเราให้เข้าใจว่ามันยังตื่นและกระปรี้กระเปร่าอยู่ แม้ขณะนั้นจะมี Adenosine ในสมองสูงขนาดไหนก็ตาม

นอกจากผลที่ทำให้เราสมองเราตื่นตัว คาเฟอีนยังทำให้ร่างกายอยู่ในโหมดตื่นตัว ชีพจนเต้นเร็ว ความดันเลือดสูงขึ้น อัตราการหายใจเร็วขึ้นอีกด้วย

Caffeine and Adenosine
ที่มา : https://scienceofparkinsons.com/2018/02/06/caffeine/

กาแฟ 1 แก้ว จะส่งผลแตกต่างกันไปในแต่ละคน

การดูดซึมคาเฟอีนเกิดได้เร็วเท่าๆกันในแต่ละคน แต่ปัญหาคือการกำจัดคาเฟอีนออกไปจากกระแสเลือด

ในทางเภสัชวิทยา จะมีคำว่า Half-Life , ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่ร่างกายใช้ ในการลดระดับความเข้มข้นของยานั้นๆออกไปจากร่างกาย จนเหลือเป็น 50% จากความเข้มข้นเดิม

โดยเฉลี่ยในคนสุขภาพดีทั่วไปจะมี Half-life ของ Caffeine ระหว่าง 5-7 ชม. นั่นแสดงงว่า ถ้าเราดื่มกาแฟตอน1 ทุ่ม , ตอน ตี 1 เรายังมี caffeine ในร่างกายอยู่ถึง 50%

กลไกหลักในการสลาย Caffeine คือผ่านการทำลายโดยเอนไซท์ในตับ มันจะสลาย Caffeine นี้ให้เป็นสารตัวอื่น(By product) เพื่อให้มันขับออกทางปัสสาวะต่อไป

แต่ความสามารถในการสลายของเอนไซ์นี้ ก็แตกต่างกันไปแต่ละคน โดยมีปัจจัยหลักคือ พันธุกรรมแต่ละคน และอายุ

นั่นหมายความว่าแต่ละคนจะมีความไว (Sensitivity) ต่อคาเฟอีนไม่เท่ากัน ผลของคาเฟอีนจึงต่างกันไปในแต่ละคนนั่นเอง

บางคนสามารถกินกาแฟตอนเย็น เข้านอนตอนเทียงคืนได้ปกติ เพราะร่างกายสามารถสลายคาเฟอีนได้อย่างรวดเร็ว

บางคนกินกาแฟแก้วเดียวก็ใจสั่น บางคนกินสามสี่แก้วก็ยังไม่รู้สึกอะไร

ทำไมจึงเป็นปัญหา?

นั่นเพราะว่า กาแฟแก้วเดียวตอนกลางวันอาจทำให้ตาค้างจนถึงดึกได้ เป็นสาเหตุที่ทำให้คุณนอนไม่หลับที่คุณอาจคิดไม่ถึง ด้วย เพราะอาจจะคิดว่าแค่ 2-3 ชม. กาแฟก็น่าจะหมดฤทธิ์แล้ว

และ แม้คุณจะบอกว่าคุณไม่ดื่มกาแฟ แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าคาเฟอีนนั้นก็เจอในชา ชานมไข่มุก เครื่องดื่มชูกำลัง ช็อกโกแลต ซึ่งอาจ เป็นสาเหตุให้คุณนอนไม่หลับได้เช่นกัน

ปริมาณคาเฟอีน
ที่มา : http://www.thaiheartfound.org/category/details/food/166

Caffeine เท่าไหร่ ถึงจะไม่มากไป

ต้องพิจารณาทั้งปริมาณ และคุณภาพ(อาการ) หลังได้คาเฟอีน

1. บริโภคคาเฟอีน ไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน

องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) แนะนำว่า สำหรับผู้ใหญ่สุขภาพดีนั้น ปริมาณที่ปลอดภัยของ Caffeine คือ  ไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน (ไม่แนะนำให้มีการใช้คาเฟอีนในเด็กและวัยรุ่น )
สำหรับในคนท้อง แนะนำไม่เกินให้หลีกเลี่ยง หรือไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อวัน

เพื่อให้เห็นภาพ Caffeine 400 mg/day เทียบเท่าได้กับ กาแฟขนาด 8 ออนซ์ 3-4 แก้ว
และต้องไม่ลืมว่าคาเฟอีนนั้นอยู่ในอาหารและเครื่องดื่มที่หลากหลาย จึงไม่ต้องไม่ลืมรวมปริมาณคาเฟอีนจากที่อื่นๆด้วย มิใช่เพียงจากกาแฟอย่างเดียว

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแต่ละคนมีความไวต่อ Caffeine ต่างกัน จึงต้องสังเกตอาการด้วย

2. สังเกตอาการของ Caffeine Intoxicity

หากคุณเริ่มมีอาการ เช่น กระสับกระส่าย เหงื่อแตก ใจสั่น ร้อนวูบวาบ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก ความดันโลหิตสูง นอนไม่หลับ เหล่านี้อาจเป็นสัญญาณว่าขณะนั้นได้รับคาเฟอีนมากเกินไป และคุณควรหยุดรับปริมาณ Caffeine อีกต่อไป ซึ่งหากไม่ดีขึ้นก็ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

อันตรายของคาเฟอีน

ดังที่กล่าวไปว่าแต่ละคนนั้นตอบสนองไม่เหมือนกัน แต่ทั่วๆไม่ว่าใครก็จะมีอาการของ Caffeine intoxicity หากได้รับมากกว่า 1 กรัม
อันตรายที่รุนแรงจนถึงแก่ชีวิตจากการใช้คาเฟอีนนั้นยังมีรายงานไม่มาก (เช่น พบการเสียชีวิตจากคาเฟอีน 22 รายในญี่ปุ่น ในช่วงปี 2008-2013) โดยมักจะพบในรายมีการใช้สาร Caffeine โดยตรง (เม็ดยา, ผงcaffeineสกัด) และมักพบในคนที่มาด้วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) ซึ่งพบได้ทั้งในคนสุขภาพดี และในคนที่มีโรคหัวใจต่างๆอยู่เดิม โดยมีรายที่ได้รับคาเฟอีนตั้งแต่ 5 กรัมขึ้นไป ( = กาแฟดำ 50 แก้ว)

ปริมาณคาเฟอีนแค่ไหนที่ทำให้คุนตายได้แน่ๆ ?
มีการประมาณ LD50 (ขนาดยาที่สามารถฆ่าประชากรได้ครึ่งนึง) ว่ามีค่าเท่ากับ 10 กรัม หากได้รับทางปาก , และ หากมากกว่า 150 mg/kg ก็น่าจะฆ่าได้ทุกคน (= 12 gm ในคนน้ำหนัก 80 kg = กาแฟดำ 120 แก้ว)

ผลของการได้รับสารเคฟีอีนในระยะยาว

นอกจากกระตุ้นประสาท และผลเสียต่างๆของคาเฟอีน ที่พบได้ในระยะสั้นแล้ว คาเฟอีนยังมีผลระยะยาวต่อสุขภาพมากมาย ดังที่กล่าวไว้แต่ต้นว่า คาเฟอีนคือยาเสพติดนั่นเอง

คาเฟอีนนั้นทำให้เกิดการเสพติด เกิด เกิดการดื้อยา (Tolerance) และมีอาการลงแดงได้ (Withdrawal)

ตัวอย่างที่หลายๆคนอาจเคยเจอ ก็คือการ ปวดหัวในวันที่ไม่ได้กินกาแฟนั่นเอง

References :

  1. Temple, J. L., Bernard, C., Lipshultz, S. E., Czachor, J. D., Westphal, J. A., & Mestre, M. A. (2017). The Safety of Ingested Caffeine: A Comprehensive Review. Frontiers in psychiatry, 8, 80. doi:10.3389/fpsyt.2017.00080
    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5445139/#B101
  2. Willson C. The clinical toxicology of caffeine: A review and case study. Toxicol Rep. 2018;5:1140–1152. Published 2018 Nov 3. doi:10.1016/j.toxrep.2018.11.002
    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6247400/
  3. Jones, Alan. (2017). Review of Caffeine-Related Fatalities along with Postmortem Blood Concentrations in 51 Poisoning Deaths. Journal of analytical toxicology. 41. 1-6. 10.1093/jat/bkx011.
  4. Michael J Breus. 2017. Is Caffeine Causing Your Sleeplessness?. Psychologytoday . 17 Nov. https://www.psychologytoday.com/us/blog/sleep-newzzz/201711/is-caffeine-causing-your-sleeplessness(Accessed 2019-19-05).
  5. US Food and Drug Administration. 2018. Spilling the Beans: How Much Caffeine is Too Much?. 12 Dec. https://www.fda.gov/consumers/consumer-updates/spilling-beans-how-much-caffeine-too-much (Accessed 2019-19-05).
  6. CoffeeFAQ. 2006. What happens if you overdose?. Coffee and Caffeine FAQ. 16 Jan. https://coffeefaq.com/what-happens-if-you-overdose/(Accessed 2019-19-05).

Share

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter

บทความล่าสุด

Solon's Warning คำเตือนของ โซลอน
Perspective

คำเตือนของโซลอน – Solon’s Warning

เมื่อพระเจ้าครีซัสผู้มั่งคั่งและทรงอำนาจที่สุดแห่งยุคตรัสถาม โซลอน ว่าเคยพบใครที่มีความสุขมากกว่าพระองค์หรือไม่ เขากลับตอบชื่อสามัญชนที่เสียชีวิตแล้วกลับมา!

บทความอื่นๆ

โซเชียล มีเดีย Social Media
Social Media

Social Media คืออะไร

Social Media คืออะไร มีที่มาอย่างไร? Facebook Twitter Instagram เป็น Social Media หรือ Social Network? แล้ว Social Media กับ Social Network ต่างกันอย่างไร?

Learning How To learn สรุป
Productivity

สรุปบทเรียน Learning How to Learn

สรุปบทเรียน “Learning how to Learn”​ คอร์สเรียนออนไลน์ (MOOC) ที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลก ที่จะเปลี่ยนชีวิตการเรียนรู้ของคุณไปตลอดกาล