Key Messages
- วิกฤติ COVID-19 นี้ไม่ได้มาสร้างสิ่งใหม่ แต่มันมาทำให้การเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่เดิมแล้ว แต่เป็นไปอย่างช้าๆ ถูกเร่งเวลาเร็วขึ้นหลายสิบปี (Accelerant)
- ผู้ชนะในโลกธุรกิจ (บริษัท Big Tech) จะแข็งแกร่งมากขึ้นในทุกๆด้าน ในโลก Post Corona ส่วนบริษัทที่อ่อนแอก็จะค่อยๆล้มหายตายจากไป
- Sector ที่ไม่ได้ถูกครอบงำโดยเหล่า Big Tech ก็จะมีผู้เล่นใหม่ๆ ที่เน้นTechnology มาแย่งส่วนแบ่ง และจะเริ่มมีผู้ชนะที่ชัดเจนขึ้น
- อุตสาหกรรมที่สุกงอมพร้อมถูก Disrupt ได้มากที่สุดในอเมริกา คือ Sector ที่ ราคา เพิ่มสูงขึ้นมากๆ โดยที่ตัว Product ไม่ค่อยมี Value add เพิ่มเลย – นั่นคืออุตสาหกรรม Higher Education (อุดมศึกษา)
- ซึ่งวิกฤตินี้เป็นการบังคับให้ Higher Education ถึงเวลาเปลี่ยนแปลงตัวเองครั้งใหญ่ จะมีโอกาสใหม่ๆทางธุรกิจเกิดขึ้นอย่างมาก
- นอกเหนือจาก Covid มาเร่งการเปลี่ยนแปลงทางโลกธุรกิจแล้ว มันยังเร่งความเหลื่อมล้ำทางสังคม เศรษฐานะ ความแตกแยกของชาวอเมริกัน ให้เด่นชัดขึ้น โดยต้นเหตุนั้น ผู้เขียนเสนอว่ามาจากทุนนิยมที่บิดเบี้ยว นโยบายรัฐบาลที่เอื้อผลประโยชน์คนรวยมากเกินไป และการที่ประชาชนไม่เชื่อใจในประสิทธิภาพของรัฐบาล
- Post Corona World จะเป็นโลกที่บริษัทยักษ์ใหญ่จะกอบโกยได้มากขึ้นเรื่อยๆ ความเหลื่อมล้ำจะเพิ่มสูงขึ้น ผู้คนจะแตกแยกกันมากขึ้น – ผู้เขียนจึงหวังให้ชาวอเมริกา Take Government Seriously, และเป็นชาติที่กลับมาสามัคคีกัน เสียสละเพื่อส่วนรวม
The Post-Corona of America
Post Corona คือ งานเขียนของ Scott Galloway ศาสตราจารย์ด้านการตลาด แห่ง New York University Stern School of Business และ เป็นนักธุรกิจผู้ประสบความสำเร็จมามากมาย
หนังสือ Post Corona นี้จะบอกเล่าเรื่องราวว่าวิกฤติ COVID-19 ในครั้งนี้ กำลังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง และเมื่อจัดการควบคุมโรคระบาดได้แล้วนั้น โลกโฉมใหม่จะเป็นอย่างไร
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผู้แต่งเป็นอาจารย์ด้านธุรกิจ และมองความเปลี่ยนแปลงผ่าน Business lens เป็นส่วนมาก ดังนั้นเนื้อหาในเล่มจึงเน้นหนักไปที่ “โลกธุรกิจของอเมริกา” เท่านั้น
แต่แม้จะพูดถึงสิ่งที่น่าจะเกิด และความเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ ผู้อ่านก็น่าจะสามารถได้ Idea ดีๆไปประยุกต์ใช้ และอาจนำไปต่อยอดแนวคิด Trend ที่จะเกิดในประเทศ และทั่วโลก ได้เป็นอย่างดีครับ
Central theme ของหนังสือเล่มนี้คือ วิกฤตินี้ทำให้การเปลี่ยนแปลงที่เดิมเริ่มเป็นไปอย่างช้าๆ ถูกเร่งเวลาเร็วขึ้นหลายสิบปี และ ยิ่งสิ่งที่มันมาเร่งให้เปลี่ยนแปลงนั้นถูก Disrupt มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเป็นโอกาสมากเท่านั้น
โดยเนื้อหาในเล่มจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ
- วิกฤติโรคระบาดนี้ จะยิ่งทำให้ผู้เล่นที่ปรับตัวช้าอยู่เดิมลำบากมากขึ้นอย่างไร และควรจะรับมือกับวิกฤตินี้ยังไงบ้าง, ส่วนเหล่า Big tech [Apple, Amazon, Facebook, Google] ที่ครองอำนาจอยู่เดิมนั้น ก็จะแข็งแกร่งขึ้นด้วยปัจจัยอะไรบ้าง และด้วยอำนาจที่เขามีนั้น มันเดินไปทางไหนต่อ
- มีธุรกิจในภาคส่วนใดบ้าง ที่สุกงอมพร้อมจะถูก Disrupt เต็มที่ แต่ก่อนหน้านี้ยังยืดยาด จนโรคระบาดมาบังคับให้มันเปลี่ยนแปลง มีการพูดถึง Start-up ชื่อดังอื่นๆ นอกเหนือจากในข้อแรก และมี 1 บทใหญ่ที่เป็นเรื่องราวอุตสาหกรรม Higher Education ที่ผู้เขียนมีประสบการณ์จริง และคิดว่าเป็นภาคธุรกิจที่เหมาะกับการถูก disrupt มากที่สุดด้วยปัจจัยต่างๆ
- พูดถึงปัญหาที่เรื้อรังสะสมมานานของชาวอเมริกา โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำ และระบบชนชั้น ซึ่งเกิดจากทุนนิยมอันบิดเบี้ยว เป็นระเบิดเวลา และได้ระเบิดออกมาอย่างน่าอับอาย จากภาพที่อเมริกากลายเป็นประเทศที่มียอดผู้ติดเชื้อสูงสุด (ส่วนนี้ผู้เขียนน่าจะต้องการสื่อข้อความก่อนการเลือกตั้งสหรัฐด้วย)
ซึ่งเนื้อหาบางส่วนจะเกี่ยวเนื่องกับหนังสือภาคก่อน คือ “The FOUR เปิดโปงด้านสีเทาของ 4 พ่อมดไอที” จากผู้เขียนเดียวกัน หากเคยอ่านมาก่อน ก็น่าจะตามเนื้อหาในเล่มนี้ได้ง่ายขึ้น และมีอรรธรสมากขึ้น แต่ส่วนตัวผมก็ไม่เคยอ่านเล่มก่อนมา ก็คิดว่ายังอ่านเล่มนี้ได้อย่างสนุกดีครับ
Opinion
แม้ปกหนังสือและคำโปรยนั้นจะพูดรวมๆถึงโลก Post Corona แต่เนื้อหาหลักๆจะเป็นเรื่องของโลกธุรกิจในอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ เนื้อหาในเล่มจึงค่อนข้างแคบ และอาจไม่ตอบโจทย์ถ้าต้องการจะรู้ความเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆ และของประเทศอื่นๆครับ และคิดว่าถ้าไม่ได้เป็นผู้ที่สนใจเรื่องธุรกิจมาก หนังสือเล่มนี้อาจจะน่าเบื่อไปเลย
แต่ถ้าท่านผู้อ่านสนใจด้านโอกาสการลงทุนใหม่ๆ เรื่อง, Business model ใหม่ๆ, หา Idea ว่าจะปรับธุรกิจเดิมๆอย่างไร หนังสือเล่มนี้ก็จะตอบโจทย์มากๆ
และถึงแม้ประเทศไทยจะไม่ได้เหมือนอเมริกามากนัก ในหลายๆประเด็น (เช่น เราไม่มีบริษัท Tech ใหญ่ๆเลย, วงการศึกษาและการแพทย์ก็ไม่ได้มีค่าใช้จ่ายขึ้นสูงลิบเหมือนเขา) แต่หลายๆประเด็นก็นำมาประยกต์คิดกับประเทศเราได้ โดยเฉพาะเรื่องความเหลื่อมล้ำทางสังคมครับ
สรุปหนังสือ: Post Corona - From Crisis to Opportunity
Introduction
- หนังสือเล่มนี้เขียนโดน business school professor ดังนั้นเนื้อหาหลักจะเป็นการมองผ่าน lens ของคนทำธุรกิจ – มุ่งศึกษาว่าโรคระบาดครั้งนี้จะ reshape business environment อย่างไร โดยเนื้อหาหลักๆจะเกี่ยวข้องกับ The Four และ disruption opportunities อื่นๆ ใน sector ที่ไม่ได้ถูกครอบงำโดยพวก the four นี้
- ส่วนสอง part หลังจะเป็น เรื่องเกี่ยวกับสังคม คือเรื่อง higher education (อุดมศึกษา) ที่ผู้เขียนมีประสบการณ์ตรงและคิดว่ามันมาถึงจุดที่ต้องมีการยกเครื่องครั้งใหญ่ (transformation) แล้ว และสุดท้ายจะเป็นการเขียนถึงการเมืองและวัฒนธรรมของอเมริกา ที่มีปัญหาจากความผิดเพี้ยนของระบบทุนนิยม ที่ฝังรากมายาวนาน
- Central thesis ของหนังสือเล่มนี้ คือสองข้อเสนอว่า
- 1. วิกฤติโรคระบาดครั้งนี้ จะทำตัวเป็น”สารเร่ง” (accelerant) ให้กับ dynamic ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่มันเริ่มก่อตัวมาสักพักหนึ่งแล้ว
- 2. The greater and more disruptive the crisis, the greater the opportunities
The Great Acceleration
- “Nothing can happen for decades, and then decades can happen in weeks.”
- Decades in weeks คือสิ่งที่เกิดขึ้นในวิกฤตินี้ เช่น Ecommerce นั้นเริ่มตั้งรกรากมาในปี 2000 โดยที่ market share ของ retail e-commerce นั้น โตปีละ 1% เท่านั้น
- ตอนต้นปี 2020 , market share ของ retail e-commerce ยังมีแค่ประมาณ 16% แต่เมื่อโรคระบาดมา เพียงแค่ 8 สัปดาห์ มันก็กระโดดขึ้นเป็น 27% และไม่มีทีท่าจะหักหัวลง… มันคือ growth ที่เดิมใช้เวลาเป็นสิบปี ที่เกิดขึ้นใน 8 สัปดาห์
- ไม่ว่าจะ social, business, personal trend ต่างก็เหมือนถูกกดเร่งเวลาไปอยู่สิบปีข้างหน้าแล้ว เช่น ก่อนหน้านั้น หลายๆบริษัท ลงทุนไปมากมายกับการวางระบบ virtual meeting , มหาลัยหลายที่ก็ลงทุนไปกับ distance learning , Telemedicine ก็มีมาหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ไม่ค่อย work ไม่ค่อยมีใครใช้เท่าไหร่ – จนแค่โรคระบาดมาไม่กี่สัปดาห์ โลกก็เข้าสู่วิถี online อย่างรวดเร็ว
- เหล่านักลงทุนเองก็มองมูลค่าของ Disruptive company ไปล่วงหน้าเช่นกัน หลายๆคนอิง Valuation ว่าปี 2030 มันจะอยู่ใน position ใด ไม่ใช่แค่คิดถึงในช่วงกี่เดือน หรือไม่กี่ปีต่อจากนี้ – บริษัท Apple ใช้เวลk 42 ปี เพื่อโตมามีมูลค่า 1 trillionUSD แต่ใช้เวลา 20weeks เพื่อกลายเป็น 2 trillion
- สิ่งที่ถูกเร่งเวลา ก็ยังรวมเรื่องแย่ๆ เช่นกัน ที่เด่นชัดคือ Economic inequality และ Economic mobility ที่ลดลงไปเรื่อยๆ และดูเป็นปัญหามากขึ้นๆ
In Crisis There is opportunity
- มีโอกาสอะไรรออยู่ ในโลกหลัง corona?
- ผู้เขียนเชื่อว่า อุตสาหกรรม healthcare, education และ grocery จะเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง (In state of unprecedented disruption)
- วิกฤตนี้ทำให้ผู้คนรู้จักกับพลังของ Telemedicine, ทำให้มันเกิด innovation ใหม่ๆ ในการดูแลรักษาผู้ป่วย ทำให้ปัญหาเรื่องค่ารักษาที่แพงเกินเหตุนั้นถูกตั้งคำถาม ว่ายังเหมาะสมหรือไม่
- ส่วน Distance learning แม้จะยังกระท่อนกระแท่น แต่ก็จะช่วยให้สถานศึกษาถูกตั้งคำถามว่าราคาค่าเทอมสุดแพง และการต้องไปใช้ชีวิตใน campus ตลอดเวลานั้น ยังจำเป็นหรือไม่?
- แต่ก็ใช่ว่ามันจะนำมาแต่โอกาสดีๆ วิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจงวดนี้ ทำให้เห็นว่าประเทศอเมริกาและผู้นำนั้น คิดว่าถ้าตลาดทุนตกต่ำ จะน่าเศร้ากว่าคนตายหลายล้าน วิธีการแก้ปัญหาเลยยิ่งทำให้เกิด Disproportionate suffering : คนที่รายได้น้อยเสี่ยงติดเชื้อมากกว่าเดิม เทียบกับคน่ร่ำรวยที่มีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น ดูหนังที่บ้าน เก็บเงิน ดูพอร์ตหุ้นเขียวขึ้นๆทุกวัน โดยมีต้นทุนอื่นๆก็ลดลงด้วย
- อเมริกาเดินหน้าสู่สังคม Hunger game หรือจะมีสังคมที่สว่างไสวมากกว่านี้ ขึ้นกับว่าเราจะเลือกหนทางใด post corona
Chapter 1: Covid & the Culling
The Culling of the Herd: The Strong Get (Much) Stronger
- สิ่งที่surprise หลายๆคนใน covid crisis นั้นคือการฟื้นพลิกกลับมาของตลาดหุ้น ในสภาวะโลกที่ยังมีคนตายเรือนแสน และไม่มีทีท่าว่าการระบาดจะลดลง
- แต่ถ้ามองลงลึกไปแล้ว ที่ดัชนีมันฟื้นขึ้นมานั้น เป็นผลจากหุ้นแค่บางตัวเท่านั้น นั่นคือพวก big tech company และรายใหญ่อื่นๆ ดันดัชนีขึ้นมา – ระหว่างที่ผู้คนกำลังตื่นเต้นกับหุ้น tech , เหล่าหุ้นที่อ่อนแอนั้นก็โดนชำแหละไม่เหลือชิ้นดี หลายบริษัทต้องล้มละลายไป เช่น JCpenny, Hertz, GNC, Dean&Deluca, Muji
- เรื่องราวที่ทำให้เหล่าหุ้นเทคกลับมาเขียวนั้น นอกจากความมั่นใจที่มันจะรอดวิกฤตินี้ไปได้สบายๆแล้ว ยังมีเรื่องที่ว่าเมื่อบริษัทหลายๆแห่งล้มตายไป ก็เป็นโอกาสดีที่บริษัทที่มีเงินสด มีความสามารถออกตราสารหนี้ หรือระดมทุนได้ราคาหุ้นสูงๆ สามารถไประดมซื้อของถูกได้ แถมยังลดคู่แข่งไปได้อีก
- วิกฤติโควิดยังทำให้ story หุ้น innovation เป็นที่คาดหวังของนักลงทุนมาก หลายๆคนสนแค่ว่าอีกสิบปี หุ้นนั้นจะอยู่จุดไหน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หุ้น Tesla มูลค่าพุ่งกระฉูด เหนือว่าทุกๆ traditional auto company รวมกัน แม้นักลงทุนก็รู้แล้วว่า ปี 2020 เทสล่าผลิตรถได้ไม่เกิน 5 แสนคัน เทียบกับรถ 26 ล้านคัน จาก Toyota, Honda, Daimler, Volkswagen รวมกัน
- “Today’s winners are judged tomorrow’s bigger winners, and today’s losers appear doomed”
- สิ่งหนึ่งในตลาดทุนก็คือ มันมีความ Self-fulfilling – ถ้าตลาดเชื่อว่าบริษัทนั้นอนาคตสดใส คือผู้ชนะ บริษัทนั้นก็จะเข้าหาแหล่งทุนได้ง่ายขึ้น มี cost of capital ลดลง และมีอำนาจในการไป acquire บริษัทต่างๆง่ายขึ้น
- เมื่อรัฐบาลพึ่งอัดเงินกว่า 2 trillion$ ไปในระบบ เงินจำนวนหนึ่งก็จะไปในตลาดหุ้น และมันก็จะไหลไปหาบริษัทที่อนาคตสดใสดังกล่าว กลายเป็นว่าพวกเขาก็ได้เปรียบมากขึ้น ทั้งๆที่เกิด crisis, มีเงินทุนหนุนรายได้ที่หดไป มีคู่แข่งลดลง มีโอกาสขยายแทนที่คู่แข่งที่ตายไป
- ส่วนบริษัทที่อ่อนแออยู่ก่อน ก็ยิ่งเผชิญหายนะ และถูกจัดการจากระบบทุน
Surviving the Culling: Cash is King
- ทศวรรษที่ผ่านมา มูลค่าของบริษัทนั้น ถูกตัดสินด้วย vision และ growth มากกว่าผลกำไรที่ทำได้จริง และด้วยกลยุทธ์ Blitzscale ต้นทุนใดๆนั้นมันก็แค่การลงทุนเพื่ออนาคต กำไรและDominance เหนือตลาด เป็นสิ่งที่จะตามมา – Cash flow จึงถูกลดความสำคัญลง เพราะเหล่าบริษัทที่น่าตื่นเต้น ล้วนมีนักลงทุนนั้นเรียงรายอยากลงทุนร่วมด้วยอยู่แล้ว
- แต่เมื่อโรคระบาดมา Cash is king ก็กลับมาสำคัฐ และ งบดุลที่แข็งแกร่ง คือหนทางที่บริษัทจะรอด บริษัทที่มีเงินสดมาก มีหนี้น้อย มีasset มูลค่าสูง มี fixed cost ต่ำๆ จะรอดได้ง่ายดาย
- ที่หนักหนาสุดคือบริษัทขนาดใหญ่และกลางที่มีงบดุลร่อแร่ และมีลูกจ้างมากมาย ซึ่งมันแปลว่าจะส่งผลเสียหายต่อเศรษฐกิจมาก รวมธุรกิจที่ fixed cost สูง Margin ต่ำๆ (เช่นร้านอาหาร) ก็จะลำบากมากๆเช่นกัน
Crisis Management 101
- บริษัทต้องเข้าใจว่าอยู่ใน spectrum ไหน ใน pandemic นี้ เพื่อวางกลยุทธ์ขั้นต่อไป เช่น
- เราอยู่ใน Sector ไหน: กลุ่มที่มีแต่ความสดใส (เทคโนโลยี) กลุ่มที่ยังพอไปวัดไปวาได้ (กลุ่มขนส่ง และ healthcare) หรือกลุ่มที่โดนกระทบเต็มๆ (ร้านอาหาร โรงแรม)
- และ ภายใน sector ที่เราอยู่นั้น เรามีความแข็งแกร่งยังไงบ้าง เช่น Brand, การจัดการ, งบดุล เป็นยังไง
- ด้วยกลยุทธ์ที่ดี แม้จะอยู่ใน sector ที่รอวันล่มจม ก็สามารถพลิกฟื้นได้ เพียงแค่อย่ามัวแต่ย่ำอยู่กับที่ เช่น ผู้เขียนเป็นนักลงทุนใน Yellow pages company ที่ใหญ่สุดในอเมริกา แน่นอนว่าบริษัทต้องเปลี่ยน model เพื่ออยู่รอด บริษัทนี้จึงได้กลายเป็น Customer relationship management (CRM) company ซึ่งก็เข้าท่า เพราะเขามี asset ที่แข็งแกร่งอยู่เดิม คือความสัมพันธ์อันดีงามกับ SME เล็กๆ หลายแสนราย จึงสามารถเข้าหา และ ชักชวนเขามาใช้ SaaS ของบริษัทได้ง่าย ซึ่งมันก็ work จริงๆ
- หรือหาก strongest asset คือ Brand แต่ดันเป็น Brand ในsector ธุรกิจที่กำลังตกดิน คุณอาจพิจารณา ขูดรีดผลประโยชน์จาก Brand นั้นให้เรียบที่สุด จนมันตายไป (milking the brand until it dies) จะคุ้มกว่า การพยายามจะ botox brand ให้กลับมาเยาว์วัยอีกนั้น อาจไม่ไหวแล้ว – คุณอาจต้องมองหาหนทางใหม่ๆ โดยใช้กำไรหยดสุดท้าย บุคลากรเยี่ยมยอดที่คุณมี ฐานลูกค้าดีๆ เปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจใหม่
Overcorrect
- คำสำคัญที่คุณควรยึดถือไว้ ในการรับมือกับวิกฤติใดๆ ก็คือ : Overcorrect
- ตัวอย่างก็คือ เมื่อครั้งบริษัท Johnson & Johnson เจอกับ Tylenol scandal ในปี 1982 , ตอนนั้น Tylenol ขายดีมาก แต่จู่ๆก็มีคนไม่หวังดีในโรงงานผลิต (รู้ภายหลัง) แอบเปลี่ยนขวดยา Tylenol เป็นขวดยาพิษ สิ่งแรกเมื่อเกิดเหตุ บริษัทไม่ได้รอให้ตำรวจมาจัดการ หรือ ออกมาชี้แจงกับสื่อว่าบริษัทไม่ได้ทำ แต่บริษัทประกาศเรียกคืนขวดยา Tylenol ทั้งหมดกว่า 31 ล้านขวดบนชั้นวางทั่วประเทศ ประกาศให้คนมาแลกขวดใหม่ได้ และจัดตั้ง hotline ให้รางวัลแก่คนที่รู้เบาะแสทันที – สิ่งที่ทำนี้คือ Overreaction แต่มันทำให้Brand แข็งแกร่งกว่าเดิม
- วิกฤติครั้งนี้เป็นเรื่องใหม่ ที่ไม่มีใครรู้จริงๆว่าสิ่งที่ควรทำแน่ๆคืออะไร ดังนั้นอะไรที่ทำได้ต้องรีบทำ อย่ามัวแต่รอข้อมูล อย่ากลัวจะสร้างความผิดพลาด
- “If you need to be right before you move, you will never win. Perfection is the enemy of the good when it comes to emergency management. Speed trumps perfection. And the problem we have in society is that everyone is afraid of making a mistake.”
- บริษัทที่ไม่ได้มีเงินทุนหนามาก จะอยู่รอดได้ก็ต้องใช้ Radical cost cutting เพราะแม้วัคซีนจะมาแล้ว ก็ไม่มีใครรู้ว่าจะกลับมา normal อีกครั้ง นานแค่ไหน ที่แน่ๆคือเกือบทุกๆคนจะเจอรายได้ที่หดไป ค่าใช้จ่ายอะไรที่ลดได้ ก็ต้องลด และต้องรีบทำ เช่น โทรหาlandlord ว่าขอเลื่อนค่าเช่าไปก่อน หั่นเงินเดือนตัวเองเสีย และค่อยไปตัดเงินพวกตำแหน่งสูงๆต่อไป หาโบนัสอื่นๆมาทดแทนเงินสด หรือเลื่อนมันออกไปก่อน
- ถ้าต้องลด ไล่คนงานลงก็ต้องทำ แต่ทำแบบมีความเห็นอกเห็นใจ (You can’t protect jobs, but you can protect people)
- และอย่าลืม Clean up the deadwood: นี่เป็นเวลาดีที่จะจัดการกับสิ่งฟุ่มเฟือยต่างๆ นโยบายอะไรที่ฟุ่มเฟือยก็ตัดไป ตำแหน่งงานอะไรไม่จำเป็นก็ทิ้งไป Unit ไหนของบริษัทที่ไม่ทำงานมานานแล้ว ก็ยุบไปซะ
Going on offense
- ถึงจะพยายามตัดลดต้นทุนแค่ไหน มันก็มี asset ที่เราตัดไปไม่ได้จริงๆ แล้วจะทำยังไงต่อ?
- ตัวอย่างเช่น มหาลัยที่ผู้เขียนสอนอยู่นั้น มีต้นทุนค่าจ้าง ค่า maintenance ต่างๆสูงมาก ซึ่งการจะไปไล่อาจารย์เก่งๆดังๆออกหมด ก็คงไม่ได้ ทางแก้ก็คือการเปิดเรียน online ขยายชั้นเรียนมากขึ้น เพิ่มรายได้ โดยต้นทุนเพิ่มตามแค่ไม่มาก
- โลกหลังcorona นั้น contactless transaction จะเป็นที่นิยมมากขึ้น พวก Business travel, Business dinner อาจถูกแทนที่ด้วย video communication มากขึ้น หลายๆคนอาจชอบ working from home มากขึ้น
- คุณอาจต้องคิด Business model ใหม่ เพื่อให้อยู่รอด เช่น ถ้าเดิมคุณเปิดร้านอาหารหรู คุณอาจต้องคิดเมนูใหม่ๆ ที่เหมาะกับการสั่งกลับบ้าน แต่ยังคมความหรูไว้ ถ้าคุณเป็นร้านขายของยุคโบราณ ยังไม่มีเว็บของตัวเอง ก็ต้องหาทาง go digital มากขึ้น , ถ้าคุณทำธุรกิจหลักบนเว็บอยู่แล้ว คุณก็ต้องทำให้เว็บของคุณรวดเร็วที่สุด มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อเพิ่ม NPS (Net Promoter Score) ให้สูงสุด
- นี่อาจเป็นเวลาดีที่คุณต้องลืมสิ่งต่างๆที่เรียนรู้มา และต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองสู่โลก post corona – แล้วเราจะวาง position ตัวเองต่อไปที่ไหน? โอกาสดีๆนั้นอยู่ใน sector ที่โรคระบาด accelerating change
The Covid Gangster Move: Variable Cost Structures
- Real gangster move ในยุคหลัง Covid คือการ go capital light – นั่นคือ มี variable cost structure ตัวอย่างที่ชัดสุดคือ Uber ซึ่งใช้ asset ของคนอื่นมาทำเงิน- แม้โรคระบาดทำให้รถหยุดเดิน แต่ต้นทุนบริษัทก็หายไปเช่นกัน ต่างกับบริษัท Hertz ที่รายได้รถฮวบ แต่ต้นทุนยังเท่าเดิม และล้มละลายไปในที่สุด หรืออีกตัวอย่างก็คือ AirBnB
The Great Dispersion
- โควิด เร่งการ Dispersion ในหลายๆ economic sector เช่น Amazon นำร้านค้ามาวางไว้ที่หน้าบ้านเรา Netflix นำโรงหนังมาวางไว้ในห้องนั่งเล่น อีกอุตสาหกรรมที่น่าจับตาคือ healthcare
- หลายๆคนนั้นยังไมเคยไปหาหมอ ช่วง covid ทำให้ผู้ป่วยหลายๆคนพบหมอออนไลน์และได้ยาส่งมาที่บ้าน (Telemedicine and remote prescribing) การเปลี่ยนแปลงนี้ก็คงไม่กลับไปสู่จุดเดิม และตอนนี้มีกระแส innovation และเงินทุนมากมายหลั่งไหลเข้าหาโอกาสใหม่นี้แล้ว
Working from home
- งานก็มี Dispersion แล้ว แต่แน่นอนว่าคนที่ประโยชน์เห็นแต่จะแค่คนที่ร่ำรวยระดับหนึ่ง
- ปัญหาสำคัญคือวัฒนธรรมการทำงานที่ผ่านมานั้น มันต้องมาพบปะหน้ากัน ต้องมีการสร้าง relationship กัน งานจึงจะออกมา smooth หรือได้ idea อะไรมากขึ้น , โจทย์ที่รอตีแตกจึงเป็นว่า tech สามารถ disperse workforce โดยไม่กระทบ culture of innovation and productivity ได้หรือไม่
- ตอนนี้มันอาจกระท่อนกระแท่น เราอาจมี zoom fatigue แต่อนาคตก็น่าเชื่อว่าจะมีสิ่งใหม่ๆมาทำให้การทำงานมี interaction กันได้ง่ายขึ้น
- แน่นอนว่ามันมีข้อเสียให้ขบคิดต่อ เช่น จะมีความแตกต่างไหม ในการประเมินPerformance คนที่เห็นหน้าทุกวัน ได้พูดคุยกันทุกวัน เทียบกับคนที่ work from home ?
- หรือยิ่งไปกว่านั้น remote work จะเพิ่ม income inequality แน่ๆ เพราะ 60% ของงานที่มีรายได้มากกว่า $100,000 ต่อปีนั้น สามารถทำที่บ้านแต่ แต่มีแค่ 10% ของงาน ที่รายได้ต่ำกว่า 40,000$ เท่านั้น ที่สามารถทำที่บ้านได้
- การ WFH จึงเป็น privilege ของคนที่มีตำแหน่งสูงอยู่แล้ว
The Brand age gives way to the product age
- ก่อนหน้านั้น เราอยู่กันในความเชื่อที่ว่า บริษัทจะสร้างกำไรเหนือตลาดได้ ต้องมี brand identity ที่แข็งแกร่ง กลยุทธ์ที่นิยมใช้กัน จึงเป็นการเชื่อมโยง action ต่างๆ ในนามของ Brand ซึ่งมันเฟื่องฟูมากๆ ในยุคของ broadcast advertising (ทีวี วิทยุ)
- ตั้งแต่ยุคหลัง WWII จนมาถึงการกำเนิดของ Google เลยเป็นยุคทองของวงการโฆษณา
- วิธีปั้นธุรกิจก็ไม่มีอะไรมาก คุณสร้าง product อะไรสักอย่าง ไม่ต้องดีมาก แล้วค่อยมาชุบมันด้วย intangible association ต่างๆ ผ่านสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์หรือ วิทยุ – ซึ่งยุค Brand Age นี้เอง ที่สร้าง Marketing Guru, CMO ต่างๆมากมาย และบริษัทที่เนื้อหอมที่สุดคือเจ้าของสื่อต่างๆ
- ยิ่งคุณสูบฉีด Emotion ต่างๆ ไปในผลิตภันฑ์ (เช่น รถยนตร์ เบีย junk food) ได้ดีเท่าไหร่ คนพร้อมจะจ่ายเงินให้คุณ ไม่ว่า margin จะเว่อวังแค่ไหน เพราะไม่ว่าผลิตภัณฑ์คุนจะธรรมดาแค่ไหน เอามันมาให้ ad industry จัดให้ มันก็พร้อมจะกลายเป็น product ขั้นทพทันที
- จนเมื่อ Internet มา Brand age ก็มุ่งหน้าสู่หุบเหว
- Google , Facebook หรืออื่นๆ ทำให้อิทธิพลของโฆษณาตามสื่อหลักนั้นจบลงไป และเริ่มเข้าสู่ยุค Product Age
- ตัวอย่างเช่น เมื่อใดก็ตามที่มีเหตุโศกนาฏกรรมที่มี impact สูงๆ เหล่าบริษัทใหญ่ๆก็จะให้agency สร้าง crafted message อะไรสักอย่าง แสดงความเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างรูปลักษณ์แบรนด์ให้ดูอยู่กับลูกค้า แต่ปัจจุบันนี้ ถ้าบริษัทของคุณ”ปลอม” ก็จะถูกชาวเน็ตขุดค้นข้อมูลมาจัดการแบบไม่มีชิ้นดี เช่น เหตุการณ์สังหาร George Floyd ในปี 2020 ที่ผ่านมานั้น บริษัทLÓreal โพสข้อความ support คนผิวสี ซึ่งภายหลังก็ถูกคุ้ยว่า3 ปีก่อน บริษัทนั้นเองที่เคยไล่ model ผิวสีคนหนึ่งออกไปเพราะ racism เป็นต้น
- Social media ทำให้บริษัทสร้างภาพปลอมๆยากขึ้น
Welcome to the Product Age
- ยังมีอีกมากมายนอกเหนือจาก เรื่องแบรนด์พร้อมจะถูกขุดคุ้ยภาพลักษ์แย่ๆ , digital tool เองก็สามารถทำร้าย core business ได้เช่นกัน ถ้าคุนเปิดแบรนด์โรงแรมหรู แต่ลูกค้ารีวิวว่าบริการห่วยมาก Brand ก็คงไม่ช่วยอะไร
- ผู้แพ้ในการเปลี่ยนผ่านนี้ ที่ชัดสุดก็คือ Media company ยุคเก่า และบริษัทโฆษณษยุคเก่า ซึ่งถูกเร่งความหายนะด้วยโรคระบาด ที่เม็ดเงินก็ยิ่งไหลไปกับ social media platform มากขึ้น และคงไม่มีทีท่าจะกลับสู่ที่เดิม แม้ corona จะจบไป (ยิ่งบริษัทค้นพบว่าแม้โฆษรษจะหายไปจากทีวี ยอดจายก็ไม่ได้กระทบมาก) อย่างไรก็ตาม digital market firm ที่ไม่ใช่หาใหญ่ เช่น Buzzfeed, yelp ก็โดนกระทบหนักเข่นกัน
Red and Blue
- Business model คิดแบบรากฐานที่สุด มีอยู่แค่สองแบบ
- 1. สร้างอะไรมาสักอย่างมาเป็นเป็นสินค้า ขายมันให้แพงกว่าต้นทุน
- 2. สร้างอะไรมาสักอย่าง แล้วแจกฟรีๆ หรือขายขาดทุน เอามันไปสร้างสินค้าอีกทอด เพื่อขายทำกำไรอีกที
- เช่น บริษัททีวีสร้างรายการชั้นเลิศ ให้คุณดูฟรีๆ โดยที่ทุกๆ 10 นาที จะมีโฆษนาของบริษัทอื่นมาแทรก -> บริษัททีวีสร้างละคร มีลูกค้าเป็นคนมาซื้อเวลาโฆษณา และใช่แล้ว สินค้าก็คือคุณ (The product is you)
- บางธุรกิจก็ผสมมันด้วยกัน เช่นฟุตบอล มีทั้งขายตั๋วที่ และขายฐานคนดูให้กับบริษัทต่างๆเพื่อลงโฆษณา
- Tech-Based Economy มาด้วยความนิยมของ business model แบบสองมากขึ้น และดูหมิ่นเหม่ทางศีลธรรมมากขึ้น
- ในอดีต เราเอาเวลาไปแลก เพื่อให้ได้ดูละคร + โฆษณา แต่ในปัจจุบัน เราต้องแลกข้อมูลต่างๆของเรา เช่น อ่านอะไร คุยกับใคร กินอะไร อยู่ที่ไหน เพื่อที่แลกกับการได้ใช้ facebook (ซึ่งเอา data เราไปทำเงินต่อ)
- We used to trade time for value. Now we trade our privacy for value.
- ซึ่งปัญหาเรื่อง privacy นี้เอง ที่อาจมีการแบ่งชัดมากขึ้น ตัวอย่างก็คือ
- Android vs iOS
- Android phone นั้นมีราคาถูกกว่า แต่แลกมาด้วยข้อมูลกับ data ที่แลกไปมากกว่า ส่วน iOS phone นั้นแพงกว่า แต่ก็เก็บข้อมูลเราน้อยกว่ามาก (Android access 1200 data point, iOS มี 200 และ Tim cook ออกมายืนยันว่าจะไม่ monetize customer data)
- Youtube vs Netflix
- Youtube ให้เราดูฟรี และออกแบบ algorithm ให้เราเจอ content ที่น่าดูขึ้นเรื่อยๆ และเก็บข้อมูลเราเพื่อขายให้บริษัทมาลงโฆษณา
- Netflix ทำแบบ iOS model คือคุณจ่ายตัง คุณได้ content ระดับเทพ
Red and Blue Social media
- ตอนนี้ social media ทุก platform เป็น red pill , พวกเขาเก็บข้อมูลส่วนตัวแบบบ้าคลั่ง เช่น TikTok เก็บข้อมูลทุกครั้งที่เรากด copy อะไรสักอย่างในมือถือ
- ดังนั้นมันอาจมีโอกาส ถ้าจะมีผู้เล่นคนหนึ่งทำตัวเป็น iOS of social media – ซึ่งผู้เขียนเชียร์ว่าน่าจะเป็น Twitter เพราะก่อนหน้านั้น Twitter พยายามทำตัวเลียนแบบ social media เข้าอื่น ซึ่งมันไม่ work เพราะ twitter ไม่ได้มีข้อมูลมากพอจะสู่ใน ad model อาจถึงเวลาต้องเปลี่ยนตัว ทำโมเดลใหม่ๆ เช่น subscription model
Red and Blue search and beyond
- ตลาด search engine ก็มีแต่ red model ซึ่งในอนาคตนั้น blue search engine ก็น่าจะเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น
- Shopify เป็นอีกหนึ่งผู้เล่นที่ทะยานขึ้นมาจาก Blue model – Amazon นั้นคอยสอดส่องdata ตางๆจาก third-party retailer และมุ่งแต่จะเอาเปรียบให้ได้ แต่ shopify บอกว่าเราเป็น partner กัน
- Red and blue model นี้จะชัดขึ้นเรื่อยๆ เช่นวันหนึ่ง low cost airline , fast food อาจขายข้อมูลลูกค้าแบบจริงจังมากขึ้น ส่วน premium player อาจจะชูจุดขายเรื่องไม่ขายข้อมูลลูกค้ามากขึ้น
Chapter 2: The Four
- วิกฤติที่ผ่านมานั้น เหล่าหุ้นในกลุ่ม Big Tech ทำผลงานได้อย่างดีเยี่ยม เมื่อรวม The four และ Microsoft แล้วนั้น มูลว่าจะคิดเป็น 21% ของมูลค่าหุ้นสหรัฐทั้งหมด
- ราคาหุ้นอันร้อนแรงนี้ คือฟองสบู่ที่รอวันแตกหรือไม่? ไม่เสมอไป เพราะในมุมหนึ่ง วิกฤตินี้คือการ accelerate อิทธิพลของเหล่า big tech ที่จะมีต่อชีวิตเราและเศรษฐกิจให้มาถึงเร็วกว่าเดิมหลายสิบปี
The power of Bigness/ The monopoly algorithm/ Featurization
- เหล่า big tech ณ ขนาดนี้ คือ Unregulated Monopolies มันไม่ควรจะมีอยู่ได้ แต่ก็เป็นไปแล้ว เพราะ antitrust law ของอเมริกาที่เขียนมาตั้งแต่สมัยเครื่องจักรไอน้ำ และไม่เคยบังคับใช้ได้จริง เป็นแค่เสือกระดาษ
- พวก Big tech มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? คำตอบคือ Innovate, Obfuscate และ Exploit
Innovation
- เหล่า big tech นี้เริ่มมาจากการเป็น Innovation เช่น Amazon เริ่มจากนวัตกรรมขายของราคาถูกและที่มีการDeliveryอย่างรวดเร็ว Apple เริ่มจากการทำมือถือที่ทุกคนอยากใช้ เป็นพวกที่เห็นโอกาสก่อนใครและทำได้จริง
Obfuscate
- เมื่อพวกพวกเริ่มเติบโต และมีคนเห็นโอกาสงามๆนี้ด้วย ก็ป้องกันการแข่งขันโดย lobbyist จำนวนมหาศาล
Exploit
- เมื่อสามารถปกป้องตำแหน่งของพวกเขา และสามารถโตโดยไม่มี limit ได้แล้ว พวกเขาก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้โดยการใช้ Privilege position
- ธุรกิจของพวกเขานั้นเป็นเหมือน Flywheel ที่สามารถทำให้พวกเขาได้รายได้โดยไม่ต้องเพิ่มต้นทุน เช่น amazon prime
- เมื่อ Flywheel ของพวกเขาทำงาน ร่วมกันกับ Network effect, ต้นทุนการเงินถูกๆ ลัทธิบูชาinnovator และพวกเสือกระดาษทั้งหลาย ก็กลายเป็น big tech ที่เห็นกันอยู่
It’s all Tech now
- Technology ทำให้โลกของธุรกิจเปลี่ยนไป คำว่า Tech เคยเป็นแค่คำจำกัดความสั้นๆ หมายถึงบริษัทที่ทำ computure hardware หรือ software ที่มักจะเป็นแค่ sector เล็กๆของบริษัท และพวกบริษัท dot com ทั้งหลายในยุคแรกๆนั้น มันก็คือ บริษัทธรรมดาที่มี .com ต่อท้าย เช่น Pet.com ก็คือร้านขายสัตว์เลี้ยง ที่มีเว็บไซต์ แค่นั้น
- แต่ตอนนี้ Tech company เช่น AirBnb, Uber ไม่ใช่โรงแรมที่มีเว็บไซต์ หรือ บริการเรียกรถ ที่มีคำว่า online ต่อท้าย แต่พวกเขาคือ tech company จริงๆ พวกคำเรียกเปรียบเทียบต่างๆนั้นก็เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจเฉยๆ
- ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำขึ้น algorithm และ data (Online and data driven) มันจะทำให้คุณสามารถมีบริษัทที่มีทุนที่ถูกลง มี margin ที่ดีขึ้น แนวโน้มธุรกิจตอนนี้จึงมุ่งไปสู่การเริ่มจากเป็น Tech อย่างเต็มตัว
The Four Expand Everywhere
- ธุรกิจใหญ่ๆ หลายๆแห่งนั้น จะกลายเป็นแค่ Feature อันหนึ่ง ของ Big tech (Industry to Feature)
- ตัวอย่างเช่น วันดีคืนดี Amazon ก็บอกว่าจะลงมาทำธุรกิจขนส่งเสียเอง ซึ่งมันเป็นการทำให้อุตสาหกรรมใหญ่อันหนึ่ง กลายมาเป็นแค่ Feature หนึ่งของ Amazon (Amazon Prime) และ Amazon ก็สามารถทำได้ดีกว่า FedEx เสียด้วย
- อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ Wearables ซึ่งเป็นตลาดที่ Apple เป็นผู้นำ ใช้เวลาเพียง 5 ปี กับตลาดที่อยู่มานานกว่าร้อยปี ในปี 2019 รายได้เพียงจาก Apple Wearable (watch, airpod, beats) ก็เอาชนะ McDonald ได้แล้ว ซึ่งที่ทำอย่างนี้ได้ ก็ไม่ใช่เพราะความสามารถของ CEO หรือ Designer แต่อย่างใด แต่มันเป็นเพราะ Flywheel , rolex ทำนาฬิกาที่สวยหรู แต่มันไม่มี Rolex phone
- Streaming media ก็เป็นอีกอย่างที่จะกลายเป็นแค่ Feature หนึ่งของ Big tech เพราะ หนังหรือซีรี่มันช่วยสร้างทัศนคติที่ดีกับ brand ได้ยอดเยี่ยม (NPS score) – ถ้าคุณชอบ TV show ของ Amazon มาก คุณก็น่าจะอยากสั่งของจาก Amazon มากกว่า online retailer เจ้าอื่น
Bigger Tech, Bigger Problem
- เมื่อบริษัทเข้ามาอยู่ในชีวิตคนมากเกินไป มันก็จะอยู่ในสถานะ “too big to fail” และพวกเขาก็จะไม่กลัวการล้มละลาย เพราะเดี๋ยวรัฐก็ต้องเข้ามาช่วย เช่น Facebook ที่ไม่ได้ยี่หระจากการโจมตีที่ว่าสร้างความแตกแยกให้สังคม
Standing Up against the four
- ความยากคือการต่อสู่กับบริษัทระดับมหึมาเหล่านี้ พวกเขาเองก็มีแรงสนับสนุนจากเหล่าลูกค้า และ lobbyist ต่างๆ
- กฎหมายที่เขียนขึ้นมานานนมแล้ว มันไม่ work ต่อไปในยุค digitized monopoly นี้ เพราะ Traditional antitrust principle พุ่งเป้าไปที่ประโยชน์ของผู้บริโภคว่า ราคาถูกๆคือดี ราคาสูงๆคือแย่ ซึ่งมันไม่ได้ผลกับบริษัทที่ไม่ได้คิดเงินอะไรผู้ใช้งาน เช่น google หรือ facebook หรือบริการราคาโคตรถูกเหลือเชื่อจาก apple TV หรือ Amazon ที่ทำให้เหล่าคู่แข่งนั้นไม่มีทางเทียบติด
The Curse of Big Numbers
- Big tech firm ต้องมี story มารองรับเหล่านักลงทุนว่ายังมีโอกาสที่มูลค่าบริษัทจะเติบโตได้หลายเท่า แล้วพวกเขาจะหาแหล่งรายได้มหึมานี้ได้ยังไง?
Amazon
- Bezos และทีมงานนั้นมี Vision และ Storytelling ที่เป็นเลิศ พวกเขาสามารถสะกดจิตเหล่านักลงทุนให้อดเปรี้ยวไว้กินหวาน ให้รอวันที่บริษัททำกำไรได้ เชื่อในการลงทุน ผลคือมันทำให้บริษัทพบการเข้าถึงแหล่งทุนราคาถูกด้วยการลงทุนแบบมหาศาลชนิดที่ไม่มีใครทำตาม จนเกิดเป็น moat และมันก็ยิ่งทำให้พวกเขามีต้นทุนที่ถูกขึ้นเรื่อยๆ
- การlockdown นี้ก็ส่งผลดีกับบริษัทอย่างมหาศาล ยิ่งมีเงินจากstimulus check จากรัฐบาลนั้น ก็ไม่ต้องสงสัยว่าเม็ดเงินมันจะไปจบที่ไหน
- ความเทพของ Amazon คือการเปลี่ยนบรรทัดรายจ่าย ให้กลายมาเป็นรายรับ เช่น อเมซอนเริ่มจากเป็นร้าน online ที่โตวันโตคืน มันจึงต้องการ data center ที่ยอดเยี่ยม บริษัททั่วๆไปจะทำตามตำราธุรกิจว่าให้ focus core competency และให้ outsource อย่างอื่นให้หมด แต่ Amazon ไม่ทำเช่นนั้น พวกเขาลงทุน data center เสียเอง และขยายมันไปทำบริการ AWS ซึ่งกลายมาเป็น Cloud served ที่ใหญ่ที่สุด
- ธุรกิจ warehouse และ distribution เองก็เป็นแบบเดียวกัน, Amazon ลงทุนลงแรงเอง และให้บริการนี้แก่ retailer อื่นๆ เกิดเป็น Amazon marketplace
- Amazon อาจจะบุกตลาด healthcare พวกเขามีข้อมูลมากมายของเหล่าลูกค้า มี chain ขนส่งที่รวดเร็วแม่นยำอันดึบหนึ่ง ที่สามารถขนส่งสิ่งส่งตรวจต่างๆ และส่งยาได้อยากรวดเร็ว ราคาถูก
Apple
- Apple ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ด้วยการขายของต้นทุนต่ำ ในราคาพรีเมี่ยม, iphone คือผลิตภันฑ์ที่สร้างกำไรได้มากที่สุดที่เคยมีมาในโลก
- แม้มันจะเป็นบริษัทเดียวในกลุ่มที่รายได้หลักมาจากสิ่งของที่จับต้องได้ บริษัทก็ไม่หยุดนิ่ง ด้วยการลงทุนพัฒนา icloud, apple music, apple TV หรือ acquire ธุรกิจที่น่าสนใจเข้าได้กับ Apple เช่น Peloton
- โอกาสโตของ Apple ในอนาคตอาจมาจาก “Rundle [recurring revenue bundle]” เช่น อาจจะ launch media ของ apple เอง มัดรวม item ต่างๆ เช่นรายการทีวี เกม app แล้วขายมันในราคา 50$ ต่อเดือนในมือถือ 100$ ในมือถือ + watch , 150$ + iPeloton ก็คงมีคนไม่น้อยยอมจ่ายมัน
Mad Men 2.0: Google and Facebook
- สองบริษัทนี้มีธุรกิจโฆษณาเป็นหลัก ซึ่งโดยทั่วไปเมื่อเศรษฐกิจย่ำแย ธุรกิจโฆษณาดั้งเดิมก็จะเจอปัญหา แต่วิกฤติทำให้สองบริษัทนี้โดดเด่นยิ่งขึ้น เพราะบริษัทใหญ่ๆก็จะลดค่าใช้จ่ายกับเหล่าบริษัทโฆษณาดั้งเดิมลง มาหาสองเจ้าใหญ่นี้ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า แถมเมื่องบการโฆษณาที่ลงกับช่องทางดั้งเดิมลดลง แล้วไม่กระทบยอดขายอะไรมาก ก็ยิ่งทำให้ระดับการลงทุนใน traditional chanel ลดลงไปอีก
- และแม้เจ้าใหญ่สองรายนี้จะถูกดราม่าแค่ไหน หรือถูกบริษัทอื่นๆไป ก็ไม่เป็นผล แถมยังอาจทำให้อันตรายมากขึ้น เพราะพอโฆษณาจากเจ้าของสินค้าไม่ลงนั้น มันก็ถูกแทนที่ด้วยผู้ขายสินค้าปลอม
- โดยสรุปแล้ว The Four นั้นได้รับประโยชน์จากโรคระบาดครั้งนี้อย่างมหาศาล และหลังโรคครั้งนี้จบลง พวกเขาก็จะยิ่งมีอิทธิพลมากยิ่งขึ้น
Chapter 3: Other Disruptors
The Disruptability Inrdex
- ยิ่งอุตสาหกรรมนั้นมีโอกาสถูก disrupted มากเท่าไหร่ มันก็จะมี disruptability index มากขึ้น วิธีการดูก็มีหลายอย่าง
- สัญญาณที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการที่อุตสาหกรรมนั้นมีราคาขึ้นมามาก โดยไม่ได้มี value หรือ innovation อะไรมากขึ้นตาม (Increase in price with no increase in value or innovation) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “Unearned Margin”
- ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ Higher Education – 40 ปีผ่านมา รูปแบบการเรียนการสอนก็ไม่ได้เปลี่ยนไปมากนัก แต่ที่ขึ้นมากระฉูดคือ college tuition ที่เพิ่ม 1400% ใน 40 ปี
- อีกตัวอย่างคือ Healthcare – แน่นอนว่าในบางภาคส่วน เช่น หัตถการ หรือยา อุปกรณ์ต่างๆ ล้ำหน้าขึ้นมากๆ แต่เมื่อมองผลลัพทธ์หลายๆเรื่อง เช่น life expectancy , ความพึงพอใจในการได้รับบริการ มันก็ไม่ได้ดีขึ้น แต่สิ่งที่ขึ้นมาชัดเจนก็คือราคาค่ารักษา ที่% ขึ้นมามากกว่า inflation
- อีกสัญญาณหนึ่งคือการพึ่งพา Brand มากเกินไป ทั้งๆที่สินค้าก็ไม่ได้มีอะไรแตกต่างมากนัก แต่ราคาแพงเพราะการสร้างแบรนที่ทำมานาน ซึ่งอาจถูก Disrupt ได้จาก innovation ใหม่ๆ
- การที่อุตสาหกรรมนั้นตั้งอยู่มานานด้วยความสัมพันแบบเป็นศัตรูกับลูกค้า เช่น ธุรกิจประกันภัย ก็สุ่มเสี่ยงจะถูกเล่นงาน
The Burning of the Unicorn Barn
- ทุกวันนี้ tech start-up เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายดาย และสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่เดือน ต่างจากปกติที่กว่าจะโตก็ต้องใช้เวลาเป็นปีๆ ถึงหลายสิบปี และวัฒนธรรม founder worship ก็สูงมากขึ้นเรื่อยๆ
- ในยุค 1990 นั้น founder ของพวก tech start-up ยังมีรูปลักษณ์ที่เป็น Evil – คนหนุ่มเพี้ยนๆ ที่มีไอเดียแปลกๆ ที่สุดท้ายก็จะถูกแทนที่ด้วยผู้บริหารที่ดูน่าเชื่อถือกว่า เมื่อบริษัทขยายเติบโตมากขึ้น ซึ่งชุดความคิดนี้เปลี่ยนไปตั้งแต่ยุค 2000 ที่เหล่า founder นั้นถูกมองเป็น secret sauce ของบริษัท โดยอิทธิพลหลักมาจาก Bill gates และ Steve job ที่ได้พิสูจแล้วว่าคนๆเดียวก็สามารถทำบริษัทให้มีมูลค่าได้หลายร้อยล้าน ไม่ต้องพึ่งผู้บริหารมืออาชีพอะไร
- Founder จึงมีตัวตนที่หนักแน่นขึ้น ประกอบกับ Tech boom ที่ทำให้ตลาดต้องการหา founder อัจฉริยมากขึ้น ส่งผลให้มีเงินทุนหลั่งไหลจาก VC เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จน genius จริงๆเกิดไม่ทัน มี fake genius เสียมากกว่า
- แหล่งเงินทุนที่มากมายนี้ แปลว่าบริษัทสามารถขาดทุนได้เรื่อยๆ ตราบใดที่มันยังเติบโตได้ดี มูลค่ามันก็จะสูงขึ้น และแปลว่ามันจะระดมทุนได้เพิ่มมากขึ้น เป็นวงจรเช่นนี้ไปเรื่อยๆได้หลายปี จนกว่ามันจะ IPO
Enter the Unicorn
- Unicorn เป็นคำที่พึ่งได้รับความนิยมประมาณปี 2013 มันหมายถึง start up ที่มูลว่ามากกว่า 1 billion dollar ซึ่ง ณ ปีนั้นมีบริษัทที่เข้าข่ายนี้อยู่เพียง 39 แห่งเท่านั้น คาดว่ามีอัตราการเกิดใหม่อยู่แค่ 4% ต่อปี ซึ่งไม่จริง เพราะเพียงแค่ปี 2019 ก็มี unicorn ถึงประมาณ 400 ตัวด้วยกัน ด้วย cheap capital ทั้งหลาย
- แต่การมีแหล่งทุนดีๆมากมายนั้น ไม่ได้แปลผันตามกับการมีโอกาสดีๆมากมาย Start up ที่จะมา disrupt และเติบโตหลายพันล้านนั้นมีอยู่น้อยมากๆ แต่เงินทุนมันต้องไหลตลอดเวลา มิฉะนั้นมันจะตาย โอกาสที่เงินจะไหลไปเจอ unicorn ตัวปลอมนั้น จึงมีมากขึ้นเรื่อยๆ
Yogababble
- เมื่อเงินทุนล้น และคนเก่งๆจริงๆขาดแคลน จึงทำให้มี charismatic founder เกิดขึ้นมามากมาย พวกเขานั้นเก่งในการดึงดูดทุน ดึงดูดผู้ร่วมงานเก่งๆ ขายของเก่ง ในสภาพแวดล้อมที่เงินล้นเช่นนี้ ก็ไม่ค่อยมีใครสนใจ financial statement หรือพิสูจน์ว่า idea ของบริษัทมันทำได้จริงหรือไม่ การลงทุนในผู้ก่อตั้งบริษัทที่ดูคิดใหญ่ ดูมี vision นั้นน่าสนใจกว่ามาก
- Yogababble เป็นคำที่ผู้เขียนตั้งขึ้นมาเอง หมายถึงการใช้ภาษาให้ดูนามธรรมและดูสูงส่งยิ่งบริษัทนั้นอยู่ในสถานะที่ไม่แน่นอน เช่น ยังหา business model ที่ work จริงๆไม่ได้ พวกเขาก็มักใช้คำพูดสวยๆหรูๆ มากลบตัวเลขทางธุรกิจ
Thoroughbred VS. Unicorn
- หลายๆบริษทที่อ้างว่ามีInnovation ก็ได้อานิสงค์จากความร้อนแรงของตลาดทุน จนมูลค่าสูงอย่างไม่น่าจะเป็นไปได้
- เช่น Casper บริษัทขายเครื่องนอนOnline ที่ไม่เรียกตัวเองว่า “บริษัทขายเครื่องนอน online” แต่เรียกตัวเองว่า “first company that understands and serves the Sleep Economy in a holistic way.” เป็นตัวอย่างหนึ่งของ Yogababble ที่น่าทึ่ง – บริษัทซึ่งขาดทุนจากการขายฟูกนอน แต่สามารถระดมได้ถึง 1 billion dollar
When the Smoke Clears
- เงินทุนที่ล้นเหลือนั้น ทำให้หลายๆบริษัทไม่ต้องรีบ IPO เพื่อระดมทุน ยุคนี้เราจึงเห็นหลายๆ unicorn ยังเป็น private อยู่ ซึ่งมีข้อดีเพราะจะกฎเกณข้อบังคับที่น้อยกว่า ทำอะไรได้สะดวกขึ้น และกลายเป็นว่าเวลา IPO คือช่วงเวลาที่เหล่า Venture capital firm ได้ Cash out เสียเอง
- อีกวิธีหนึ่งคือการปั้นบริษัทจนไปเตะตาเหล่า mega big tech และถูกซื้อไป อย่างเช่นที่ Facebook ซื้อ Instagram
- ยุคที่ต้นทุนการเงินถูกนี้ จึงเป็นยุคทองของเหล่า Start up ที่ตลาดให้ valuation คืออนาคตอันสดใสอีกสิบปีหน้า ส่วนผู้เล่นเก่านั้นก็ต้องลำบากไป เพราะเหมือนถูกบังคับให้เล่น defensive play คือปกป้องกำไรไม่ให้ถดถอย เพราะไม่งั้นนักลงทุนก็พร้อมจะทิ้งไป กลายเป็น Self-fulfilling prophecy
- อะไรบ้างคือสูตรสำเร็จของ Disruption?
- 1. อยู่อุตสาหกรรมมีมูลค่าแพงมากขึ้น โดยไม่มี innovation มากขึ้นตาม
- 2. มี T Algorithm – โดย T ย่อมาจาก Trillion และหมายถึง Trait ที่สามารถให้บริษัทนั้นมีโอกาสมูลค่าถึง Trillion ได้บ้าง? – ได้แก่
- Appealing to human instinct
- Accelerant
- Balancing growth and margins
- Rundle
- Vertical integration
- Benjamin Button products
- Visionary storytelling
- Likability
- Appealing to human instinct
- แบ่ง instinct ออกเป็นสี่กลุ่มย่อย
- Brain instinct: เราต้องการคำอธิบายสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา สิ่งที่เราพบเจอในประจำวัน (Google)
- Heart : เราต้องการ connect กับผู้คนรอบตัว
- The Gut: เราต้องการมีสิ่งของต่างๆ ยิ่งง่าย ยิ่งคุ้ม ยิ่งดี (Amazon)
- The Genitals: เราต้องการสืบทอดพันธุกรรม เราต้องการเป็ฯที่ดึงดูดทางเพศ (ของBrand name ต่างๆจึงตั้งราคาได้สูงมากๆ)
- Career Accelerant
- บริษัทนั้นเป็นที่ดึงดูดให้คนเก่งๆอยากมาร่วมด้วย เพราะมันทำให้คนที่ทำงานนั้นดูดี ดูเก่ง และหางานตำแหน่งสูงๆได้ดีขึ้น (Springboard for a person’s career)
- Balancing Growth and Margins
- โดยทั่วไป Margin กับ Growth จะไม่ไปด้วยเช่น เช่น Walmart ขายของโดยยอม margin น้อยมากๆ เลยโตได้เร็ว
- แต่บริษัท The Four ต่างเป็นบริษัทที่โตเร็ว และยังมี margin สูงมากๆได้อยู่
- Rundle
- มีกลุ่มของสินค้าหรือบริการ ที่เหมาะสมพอจะทำให้เกิด recurring revenues – กลยุทธ์นี้เล่นกับจุดอ่อนของมนุษย์ ที่ไม่ได้เก่งเรื่อง Time value of money – เมื่อเวลาผ่านไป เราจ่ายน้อยๆ แต่จ่ายนานๆกับผลิตภันฑ์หนึ่ง มันจะสะสมมูลค่าไปมากกว่าเราจ่ายก้อนใหญ่ๆก้อนเดียว
- ตอนนี้ Apple ขายแค่ music and streaming video subscription , ลองคิดดูถ้า Apple ผูก Bundle ใหญ่กว่านั้น เช่น apple news, annual iphone upgrade มันจะเพิ่มมูลค่าได้ขนาดไหน
- Vertical Integration
- บริษัทที่ควบคุม Value chain ได้มาก จะควบคุม Customer experience ได้มาก เช่น Apple ที่เป็นเจ้าของ App store
- Benjamin Button Products
- ผลิตภันฑ์หรือการบริการที่ยิ่งเวลาผ่านไป ยิ่งมีมูลค่ามากขึ้น จากผลของ Network effect เช่น ยิ่ง spotify มีคนใช้งานมากขึ้น ก็จะดึงดูดศิลปินเก่งๆมากขึ้น มีproductมากขึ้น
- Visionary Storytelling
- การที่บริษัทสามารถแสดง vision ที่น่าตื่นตาตื่นใจสามารถดึงดูดนักลงทุนได้มาก มันแปลว่าเข้าถึงแหล่งทุนราคาถูกได้มากขึ้น ดึงดูดคนเก่งๆได้มากขึ้น แน่นอนว่าไม่ใช่ดีแต่พูด ต้องทำได้จริงๆ
- Likability
- ผู้นำบริษัทที่มีเสน่ น่าเชื่อถือ จะช่วยปกป้องบริษัทจากรัฐบาล และการย่ำยีจากสื่อต่างๆ ดึงดูดคนเก่งๆ และสร้าง attitude ที่ดีกับลูกค้า
1. AirBnb 2. Brooklinen 3. Carnival 4. Lemonade 5. Netflix 6. One Medical
7. Peloton 8. Robinhood 9. Shopify 10. Spotify 11. Twitter 12. Uber 13. Warby Parker 14. WeWork (concept ผ่าน แต่ founder ต้องเปลี่ยน) 15. TikTok
Chapter 4: Higher Education
- อุดมศึกษา (Higher Education) คือธุรกิจขนาด 7แสนล้านดอลล่า และมันสุกงอมพร้อมจะถูก Disruption มากที่สุด
Ripe for Disruption
- 40 ปีที่ผ่านมา ค่าเรียนมหาลัยเพิ่มขึ้นมา 1400% เทียบกับค่าครองชีพ (CPI) ที่ขึ้นมา 294% เอาชนะค่าใช้จ่ายพยาบาลซึ่งขึ้นมามากถึง 600% ไปแบบไม่เห็นฝุ่น
- ค่าเทอมขึ้นมหาศาลเช่นนี้ มีสิ่งอะไรที่เพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมการศึกษาหรือไม่? น้อยมากๆ ยิ่งเมื่อคิดเทียบกับ Healthcare ที่แม้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพุ่งสูงมาก แต่การแพทย์ก็พัฒนาขึ้นไปมากเช่นเดียวกัน
- ผู้เขียนซึ่งเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่ NYU นั้น พบว่า Gross margin ค่าเทอมที่นั่นสูงถึง 90% ซึ่งแทบไม่มีสินค้าในธุรกิจ ที่ขายของแพงและสามารถGross margin เช่นนี้ได้ แม้แต่ Hermes, Apple ก็ไม่ถึงขนาดนี้
Scarcity
- ราคาขึ้นมาขนาดนี้ โดยที่ Product ยังหน้าตาเดิมๆได้อย่างไร? คำตอบคือ “ความขาดแคลน” เพราะมหาลัยดังๆนั้น ทำตัวเสมือน Luxury Brand ไปแล้ว, คณบดีของ Ivy League นั้นภาคภูมิใจมาก ที่แต่ละปีสามารถปฏิเสธใบสมัครไป 90% ทั้งๆที่คนที่จบมหาลัยดังๆหรือไม่ดังนั้น ก็ไม่ได้แตกต่างกันมาก และที่สำคัญมหาลัยดังๆนั้นก็สามารถเพิ่มห้องเรียน รับคนได้อีกมากมาย แต่ก็ไม่ทำ
- ในขณะเดียวกัน Public Institution ที่รองรับนักศึกษากว่า 2/3 นั้น ก็ต้องขึ้นค่าเทอมเนื่องจากว่ารัฐบาลให้ทุนสนับสนุนน้อยลง และต้องดิ้นรนหาเงินรับนักศึกษาต่างชาติมากขึ้น ซึ่งมันผิดกับ role ของมหาวิยาลยัที่ควรจะเป็น
Abundance
- ราคาค่าเทอมที่พุ่งกระฉูดนี้ ส่วนหนึ่งมาจาก Student Loan ซึ่งก็พุ่งสูงเป็นมูลค่า 6 trillion usd มากกว่าหนี้บัตรเครดิต, Student loan เริ่มจากเจตนาดีที่ต้องการให้คนเข้าถึงการศึกษา แต่สุดท้ายมันกลายเป็นหายนะ จากเหล่ามหาลัยทั้งหลายที่หวังฟันกำไร
Ivy-Covered Caste System
- การศึกษากลายเป็นหนึ่งในกลไกของระบบชนชั้น ไม่ได้เป็นพื้นที่เปิดกว้างให้กับทุกๆคนอย่างเท่าเทียมกัน ปัจจบันเหล่าลูกคนรวยนั้น มีโอกาสมากกว่าสองเท่าที่จะได้เรียนจบมหาลัย เทียบกับลูกคนจน และ 5 เท่าที่จะได้เข้าดรียนใน elite school – ไปๆมาๆ มหาวิทยาลัยชื่อดังนั้นก็เต็มไปด้วยเหล่าลูกคนรวย ซึ่งเมื่อจบออกไป ก็ได้งานดีๆ สร้างเครือข่าย connection และกลับมาจ้างแต่เหล่าเด็กที่จบจาก U ชั้นนำ เป็นวงจรไปเรื่อยๆ
Disruptive Forces
- แม้ความเจริญก้าวหน้าของ Distance Learning นั้นจะเจริญก้าวหน้ามากขึ้น แต่ภาพของการเรียนในมหาลัยดังๆนั้นก็ยังเปลี่ยนยาก มันเป็นพลังของ Brand ที่แข็งแกร่งมาก เมื่อวกฤติมางวดนี้ การที่เหล่านักศึกษาต้องเรียนผ่าน zoom กันแบบไม่ทันปรับตัว ก็มีงานวิจัยเก็บข้อมูลว่ากว่า 75% ไม่มีความสุขกับ e-learning และยังคงแสวงหา Campus life
The Crisis is upon us
- เพื่อให้เข้าใจว่าโรคระบาดครั้งนี้มีผลกับhigher education อย่างไรบ้าง ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่ามหาลัยสร้างคุณค่าได้อย่างไร ผ่านสมการนี้
- [C+E+EX] / Tuition
- C = Credential – Brand power ของสถาบันที่คุณจบมา
- E = Education – คุณภาพการเรียนการสอน
- Ex = Experience – ประสบการณ์การใช้ชีวิตในมหาลัย (campus life)
Fiscal Shock
- เมื่อปีที่จะถึงนี้ ยังมีแนวโน้มที่มหาลัยจะยังไม่เปิดการเรียนการสอนในสถานที่จริง การมานั่งเรียนonline โดยยังต้องจ่ายเงินแพงๆนั้น ก็เลยดูไม่คุ้มเอามาก หลายๆคนจึงเลือกจะใช้ gap yearไปก่อน ดังนั้นมหาลัยก็จะมีรายได้ลดลงแน่นอน เพราะคนสมัครลดลง – ซึ่งสถาบันที่ได้รับผลน้อยที่สุด คือพวก Top U ที่มี wait list ยาวเหยียด แต่ที่กระทบหนักแน่ๆ ก็คือ U รองๆลงมา ที่เดิมก็คนเรียนน้อยอยู่แล้ว
- ดังนั้นแล้ว สถาบันที่ C มากๆ ก็กระทบน้อย สถาบันที่ E ดีมากๆ ก็กระทบน้อย แต่สถาบันที่พึ่งพา Ex เป็นส่วนใหญ่ จะกระทบหนัก (เช่น สถาบันที่ลงทุนกับตึกหรูไปเยอะ กับคำสัญญาว่าผู้เรียนจะมีกิจกรรมดีๆหรูๆเยอะๆ ค่าเรียนแพงๆ แต่ brand ก็ไม่แข็งมาก จะซวยแน่นอน)
Delusional
- หลายๆสถาบันแก้เกมด้วยการพยายามDesign พื้นที่ในมหาลัยให้สามารถทำ social distancing ได้ ไม่ยอมปิด campus , และอ้างว่าคนหนุ่มสาวนั้นได้รับอันตรายจากไวรัสน้อยมากๆ ปัญหาคือ ไวรัสก่อโรคร้ายแรงในคนหนุ่มสาวได้ไม่ต่างกัน และที่หนักกว่า คือเหล่าคนหนุ่มสาวเป็น Asymptomatic carrier ชั้นดี เมืองมหาลัย (College town) ที่ผู้บริหารบ้าจี้ไมยอมปิด campus นั้น ก็เลยมีตัวเลขคนป่วยพุ่งสูงกว่าทั่วไป
Desperate
- อะไนเป็นเหตุให้ผู้บริหารเลือกทางที่อันตรายแบบนี้? ทำไมไม่ไปลงทุนกับการเรียนการสอนออนไลน์ให้มันดีขึ้น? Ugly truth ก็คือ มันไม่มีทางเลือกอื่น มหาลัยนั้นมี Fixed Cost สูง และยืดหยุ่นได้น้อยมาก เช่นเงินเดือนแพงๆของเหล่า Professor ที่แต่ละคนก็มีเหล่าผู้ติดสอยห้อยตามนับสิบ
- อีกเหตุหนึ่งก็ตัวนักเรียนเอง ที่พอได้ลองเรียนออนไลน์ ก็กลับมามองว่า campus life นั้นก็ไม่ได้คุ้มค่ามาก เทียบกับเม็ดเงินที่ต้องจ่ายไป
- และสาเหตุอีกข้อก็คือ นักเรียนต่างชาติ ซึ่งเป็นแหล่งเงินทุนชั้นดี ก็หายไปด้วย ซึ่ง Tuition fee จากนักเรียนนอกนั้นมูลค่าเยอะมาก มีนักเรียนต่างชาติในมหาลัยแค่ 12% แต่ว่าค่าเรียนนั้น คิดเป็น 28% ของค่าเรียนทั้งหมด
Doomed
- ผลสุดท้ายที่จะเกิดนั้น ก็คือมหาลัยมากมายที่ต้องปิดตัวไป ดังเช่นร้านค้าปลีกทั้งหลาย ซึ่งคาดว่าอาจล้มหายตายจากไป 10-30% ทีเดียว
The Road Ahead
- หัวใจสำคัญของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ก็คือ Technology สิ่งที่เห็นชัดมากก็คือการต้อง adopt distance learning ที่เหล่ามหาลัยร้องยี้กันมานาน มันบังคับให้เหล่าอาจารย์ต้องปรับตัว
- ช่วงแรกๆของการเปลี่ยนผ่านนั้นดูไม่จืดนัก การเรียนหนังสือผ่าน Zoom ไม่ได้เป็นสิ่งที่น่าอภิรม ซึ่งภายหลังภาพลักษ์นี้จะเปลี่ยนไป เมื่อโรงเรียนปรับตัว เพิ่มเครื่องมือในการสอนออนไลน์มากขึ้น ตัวผู้เขียนเองก็พบว่าการสอนออนไลน์นั้นต้อง Animated มากกว่าปกติ ต้องพยายามคุมให้นักเรียนสนใจ และรู้สึกมีสว่นร่วมเสมอ
Scale
- สถาบันและครูที่ปรับตัวกับวิถีการเรียนการสอนใหม่นี้ได้ดี จะได้เปรียบมาก เหตุสำคัญหนึ่งก็เพราะมัน Scale ได้ – อาจารย์คนหนึ่งสามารถสอนใครก็ได้ในโลกนี้ ไม่มีข้อจำกัดเรื่องระยะทาง มันอาจช่วยลดความเหลื่อมล้ำที่ว่าเราเรียนรู้จากอ.เก่งๆได้ก็ต่อเมื้ออยู่ใน U ดังๆเท่านั้น หรือ อาจใช้ Recurring Revenue model เช่น สถาบันอาจเปิดสอนนักเรียนในทุกช่วงอายุ เป็น Lifetime learning ไม่ต้องจำกัดฐานลูกแค่แค่เด็กวัยรุ่นอีกต่อไป
Bait
- ความสามารถในการ Scale ยังเป็นเหยื่อล่อชั้นดีให้ Big tech เข้ามาร่วมขบวนนี้ด้วย พวกบริษัท big tech ต้องหาแหล่งรายได้มาเติมเต็มมากขึ้นทุกๆปี การไปเป็น partner กับสถานบันการศึกษาก็คือการขยายฐารนรายได้ที่ชัดเจนมาก
Twenty-First-Century Higher Ed
- เมื่อถึงคราวที่ไวรัสสงบจริงๆแล้ว ประสบการณ์ช่วงสั้นๆ ของกลุ่มคนที่ไม่เคยมาเหยียบผืนดินในมหาลัยเลย อาจทำให้เกิดคำถามว่า “มันคุ้มจริงๆหรือ ที่ต้องไปเข้าเรียนในมหาลัย ”
บทที่ 5: The Commonwealth
- วิกฤติครั้งนี้ทำให้ปัญหาที่ว่า คนรวย ก็ยังรวยเอาๆ อยู่ฝ่ายเดียว หนักข้อขึ้นเรื่อยๆ
- 40 ปีที่ผ่านมา อเมริกาเทิดทูน private enterprise และความมั่งคั่ง ไม่ให้ความเคารพรัฐบาลแบบที่ควรจะเป็น
- เรายังเป็นชาติที่รับมือกับไวรัสได้ห่วยแตกที่สุด ด้วย Indiviualism ที่มากเกินไป จนมีความเข้าใจเสรีภาพแบบผิดๆ ละทิ้งหน้าที่ต่อเพื่อนร่วมสังคม เราอยู่ในจุดที่เห็นแก่ตัวกันอย่างสุดๆ
Capitalism, Our Comorbidities, and the Coronavirus
- ไม่มีคำว่าเท่ากันในทุนนิยม เรามีกำไรเป็นที่ตั้ง มันกระตุ้นให้เราทะเยอทะยาน เพราะใครๆก็สามารถร่ำรวยได้ และเมื่อทุกคนร่ำรวยขึ้น คนใกล้เคียงก็จะได้รับอนิสงค์ไปด้วย แม้จะเริ่มด้วยความเห็นแก่ตัว แต่อานิสงค์โดยรวมนั้นคือความร่ำรวยและโลกที่ดีขึ้น
- แต่ความเป็นจริงไม่ได้สวยงาม เพราะทุนนิยมนั้นไม่ได้มี Moral Compass มันทำให้มลพิษเยอะขึ้น ทำให้ความเหลื่อมล้ำกว้างขึ้น
The Role of Government
- หน้าที่หนึ่งของรัฐบาล จึงเป็นการป้องกันไม่ให้ทุนนิยมนั้นดำเนินไปในทางที่จะสร้างอันตรายให้กับสังคมมากขึ้นๆ เช่น รัฐบาลก็ต้องมีหน้าที่กำหนดนโยบายบริษัทเห็นแก่ตัวที่สร้างมลพิษมากๆ รัฐบาลต้องคุมไม่ให้มีบริษัทไหนผูกขาด จนหยุดการแข่งขัน และทำให้ระบบพัง รัฐบาลจึงต้องเก็บภาษีคนรวยๆ มาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาบ้านเมืองให้ปลอดภัย
- เหล่า Libertarian อาจไม่เห็นด้วยในแง่นี้ พวกเขาเชื่อว่ารัฐบาลไม่ควรมายุ่ง เชื่อว่าระบบตลาดมันจะจัดการตัวเองได้ (regulate itself) เช่น ถ้าคนหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น เดี๋ยวบริษัทเห็นแก่ตัวที่สร้างมลภาะเยอะๆ ก็จะเจ๊งไปเอง เพราะคนไม่เอาด้วย แต่จากประวัติศาสตร์ก็สอนเราว่าความคิดแบบนี้ไม่work – ยังไงคนเราก็เห็นแก่ตัว – ผู้คนรับไม่ได้เมื่อเห็นภาพเยาวชนทำงานเย็บผ้าให้ H&M ด้วยค่าแรงที่น้อยกว่าเศษเงิน แต่พอเสื้อตัวนั้นลดราคา90% ก็แย่งกันจนขายดิบขายดี
- และเอาจริงๆ เราก็คงไม่ได้ใช้ชีวิตทุกวันแบบมองภาพรวม มองภาพยาวๆ ไม่ได้มานั่งคิดว่าการทำแบบนี้จะส่งผลเสียระยะยาว จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลมาดูแลเรื่องนี้ [Keeping these forces in balance—the productive energy of capitalism and the communal concerns of government—is key to long-term prosperity.]
Comorbidities
- ประเทศเรามีคนเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมากมาย ซึ่งก็เป็นแหล่งเป้ามหายชั้นดีของไวรัส เราจ่ายเงินไปกว่า 3 Trillion USD เพื่อรักษาโรคประจำตัว แต่มีเงินเพียงแค่ 7 billion ไว้ให้ CDC เพื่อป้องกันสถานการณ์เช่นนี้
Abandoned
- ในยามโรคระบาดนี้ ผู้ที่มีชีวิตดีที่สุดกลับเป็นพวกผู้ร่ำรวย Top10% ที่รวยขึ้นๆ จากตลาดที่มุ่งสู่ all time high
- ในยามโรคระบาดนี้ เราเห็นแก่ตัวกันมาก ละเลยความสามัคคี เห็นได้ชัดสุดในเรื่องการใส่หน้ากากอนามัย ที่หลายๆคนไม่ยอมใส่ เพราะบอกว่ามันเป็นการขัดขืนเสรีภาพ
- เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร สังคมที่เหมาะสมที่สุดกับการแพร่กระจายของโรคระบาด?
Capitalism on the Way Up, Socialism on the Way Down = Cronyism
- ไม่มีระบบที่ Perfect, Socialism ก็เป็น concept ที่มุ่งเน้นสร้างสังคมที่เป็นปึกแผ่น และโตไปด้วยกัน แต่มันเป็นconcept ที่แลกมาด้วย growth ที่ช้าลง
- ปัญหาคือ สิ่งที่อเมริกาเป็นอยู่นี้ คือการเอาข้อเสียของ Socialism และ Capitalism มารวมกัน – ถ้าคุณประสบความสำเร็จ และสร้าง Value ได้มาก คุณจะขึ้นไปสู่ชั้นสูงอย่างไม่มี limit แต่ถ้าคุณบังเอิญไม่ได้เกิดมาสูงส่ง คุณก็จะถูกกดจมดิน
- ซ้ำร้ายไปกว่านั้น พอบริษัทที่ร้ำรวยทำท่าจะล้ม ตามหลักทุนนิยมนั้นบอกว่าคุณต้องปล่อยไป รัฐบาลก็ดันไปช่วยอีก (bail-out) สร้างภาระหนี้สินให้ generation ถัดไป
- ไม่ว่าจะผ่านไปกี่วิกฤติ สิ่งที่ยังเหมือนเดิมคือ เราปกป้อง shareholder class ปกป้อง executive class แต่ประวัติศาสตร์ก็บอกเรามาตลอดว่า เกือบทุกๆ bailout นำมาซึ่ง moral hazard และต้นทุนที่ต้องจ่ายแพงขึ้นเรื่อยๆ
- หลายๆบริษัทที่ร่ำรวยเรื่อยๆมาหลายๆสิบปีก่อนนั้น แทนที่จะเก็บสภาพคล่องไว้ เก็บเงินไว้บางส่วนเผื่อเกิดวิกฤติ เอากำไรไปลงทุนเพื่อ add value ให้ระบบ ก็กลับเอาไปจ่ายปันผลเต็มที่ เอาไปซื้อหุ้นคืน เอาไปเพิ่ม executive compensation -> ปล่อยให้บริษัทมีสภาพที่ล่อแหลมสุ่มเสี่ยง ทำตัวเองกันทั้งนั้น แล้วพาวิกฤติมา ก็มาขอให้”รัฐบาล” ช่วยเหลือ พวกผู้บริหารก็แค่ล้มบนฟูก
The virtues of failure
- Failure เป็นสิ่งสำคัญในระบบทุนนิยมนี้ มันเป็นเหมือนไฟป่าที่เมื่อสงบแล้วจะนำมาซึ่งความรุ่งเรื่องจอง species ใหม่ๆ การปล่อยให้บริษัทใหญ่ที่เน่าเฟะล้มหายตายจากไป เปิดทางให้บริษัทดีใหม่ๆ ได้ผงาดขึ้นมา
Cronyism and Inequality
- 2 trillion usd covid relief package และการลดภาษีเงินได้นั้นคือสัญลักษณ์ของระบบอุปถัมขั้นสุดของอเมริกา หลายๆปีที่ผ่านมาเหล่าผู้ร่ำรวยนั้นก็รวยวันรวยคืน จน top 0.1% มี wealth มากกว่า bottom 80% รวมกัน คนรวยรวยมากขึ้น คนชนชั้นกลางและคนจน ก็จนลงๆ
- Tax rate ของคนรวยนั้น ก็ลดลงมาจาก 70% ในยุค 50s เป็น 47% ในยุค 80s และ 23% ในปัจจุบัน น้อยกว่า tax rate ของชนชั้นกลางเสียอีก ส่วนหนึ่งเพราะหลายๆนโยบาย ที่มุ่งเน้นให้มีการลงทุนมากขึ้น แต่เหล่าคนรวยก็เห็นช่องทางที่ไม่ตั้งใจนี้ ไปใช้เพื่อเลี่ยงภาษีกันหมด
Economic anxiety
- อาจมีคนบอกว่า ก็แล้วไง คนรวยรวยขึ้นมากๆก็จริง แต่สุดท้ายทุกคนก็จะรวยขึ้นอยู่ดี แม้เป็นสัดส่วนน้อยหน่อย และมาตรฐานชีวิตมันก็ดีขึ้นๆมากๆ เทียบกับสิบปี ร้อยปีก่อน ซึ่งผู้ขียนบอกว่าคำกล่าวนี้แสดงถึงความไม่เข้าใจใน economic security นั่นคือคนจนจะรู้สึกชีวิตไม่ปลอดภัย ไม่มั่นคง เนื่องจากมี buffer น้อย เงินกว่าหนึ่งในสามนั้นใช้ไปกับค่าเช่า หนึ่งในสามไม่มีประกันสุขภาพ และมีคนมากมายที่หนี้ล้นพ้นตัว
The new caste system
- แน่นอนว่าเลือกได้คนทั่วไปก็อยากร่ำรวย สิ่งที่ผลักดันให้ระบบทุนนิยมรุ่งเรืองนั้น ส่วนสำคัญก็มาจากความต้องการหลุดพ้นจากความจน ระบบมันบอกว่าถ้าเราขยัน หรือมีพรสวรรค์มากๆ เราสามารถทะยานขึ้นมาร่ำรวยได้
- แต่การศึกษามากมายบอกว่า อเมริกาทุกวันนี้ ไม่ได้เป็นแบบทุนนิยมดังกล่าว ปัจจัยสู่ความสำเร็จร่ำรวย ไม่ใช่ความขยัน พรสวรรค์ หรือโชค แต่มาจากว่าพ่อแม่เราร่ำรวยแค่ไหน เด็กที่เกิดมาในครอบครัวที่มีรายได้ระดับ 90 percentile นั้นจะมี expected family income มากกว่าเด็กที่โตมาในครอบครัว percentile 10 ถึง สามเท่า – Economic mobility ในอเมริกานั้นแย่กว่าหลายๆประเทศในยุโรปเสียอีก
- ผลคือ เราได้สังคมที่มั่งคั่งสุดๆ แต่ย่ำอยู่กับที่
Private Disneyland
- ความเหลื่อมล้ำนี้ฝั่งแน่นใน tax code, ระบบการศึกษา และ social service ที่เลวร้าย แถมยังมาอยู่ใน culture ของเรา
- ตอนเด็กๆนั้น ไม่ว่าจะยากดีมีจนแค่ไหน เวลาไปเที่ยว Disneyland ทุกๆคนจ่ายตั๋วราคาเดียวกัน รอนานเหมือนกัน แต่ตอนนี้ ถ้ารวยหน่อย คุณก็ซื้อ FastPass ได้ และถ้ารวยจริงๆ ก็จ่ายมากกว่าคนอื่น10 เท่า เพื่อจ้าง VIP tour ได้ โดยไม่ต้องรอเคร่องเล่นอะไรเลย แถมได้ประสบการณ์สุดพิเศษที่ตั๋วธรรมดาหาไม่ได้ด้วย
On Education, Again
- แน่นอน Disneyland ไม่ใช่สังคมคอมมิวนิสจำลอง ธุรกิจก็ต้องหาทางทำเงินมากที่สุด ผิดตรงไหน? ผู้เขียนมองว่าถ้าเด็กทุกคนต้องรอคิวานเหมือนกัน มันก็ช่วยสอนเรื่องความเห็นอกเห็นใจ ความอดทนได้ หรือถ้าคุณมองว่าระบบชนชั้นในDisneyland นี้ไม่ได้ใหญ่โตอะไร ลองแทนคำว่า มหาลัย ลงใน Disneyland – มันเหมือนกันเลย
- ตอนที่ผู้เขียนจบ high school มานั้น acceptance rate ของ UCLA สูงถึง 60% และโชคดีที่เขาเข้าเรียนได้หลักจากยื่นเรื่องรอบสอง ซึ่งมันทำให้เขาได้เจอโอกาสการงานดีๆ เจอเพื่อนดีๆ เจออ.เก่งๆ เนใบเบิกทาง ให้เขาประสบความสำเร็จ ยกระดับจากครอบครัวที่หาเช้ากินค่ำ
- ปี 2019 , UCLA acceptance rate เหลือเพียง 12% มองอีกมุมคือการจะมี upward mobility นั้นยากเย็นกว่าเดิมถึง 5 เท่า คนที่อยู่ข้างหลังนั้นถูกกดทับไปหนักข้อขึ้น
Cartoon
- จริงแล้วๆคนรวยๆส่วนใหญ่นั้น ก็ไม่ใช่พวกเห็นแก่ตัวจัดๆแบบที่กาตูนชอบล้อเลียนกัน ส่วนใหญ่แล้วพวกเขาประสบความสำเร็จมาได้เพราะหลายๆอย่างรวมกัน ไม่ว่าจะเป็นความพยายาม ความโชคดี พรสวรร ความกล้าได้กล้าเสีย แน่นอน ส่วนใหญ่ก็เป็นลูกหลานคนมีอันจะกินมาก่อน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าพวกเขาก็ทำงานหนักมากๆ ซึ่งพวกเขาก็จะใช้ resource และทักษะต่างๆที่มี ทำให้บริษัทและลูกลหานเขานั้นได้เปรียบอยู่เสมอ จนหลายๆครั้งก็หลับตาข้างเดียว ให้สิ่งที่ไม่ถูกต้อง (มลพิษ การผูกขาด การหลบภาษี เป็นตเน) – เราห่วงสังคม แต่เรื่องของเราและพวกพ้องมักจะมาก่อน
- บางครั้งโชคก็มีส่วนอย่างมาก ผู้เขียนก็ยอมรับว่าโชคเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เขามาถึงจุดนี้ เช่นที่เขาโตมาในยุคที่ U ดังๆยังไม่ได้แข่งขันบ้าระห่ำ โตมาในยุคที่เศรษฐกิจบูมสุดขีด และเกิดมาเป็นผู้ชายผิวขาว
- นี่เองจึงเป็นจุดบอดของ Meritocracy – ที่เราเชื่อว่าเศรษฐีทั้งหลายนั้นเหมาะสมแล้วเพราะพวกเขาเก่ง และเราควรเชิดชูเขา มันทำให้เราลืมมองเรื่อง structural advantage และ โชค ที่ก็มีส่วนสำคัญ
- หรือเอาจริงๆเราก็รู้ ว่าระบบมันเอื้อคนรวย แต่เราเองก็อยากจะไปอยู่ในจุดที่ได้เปรียบนั้นบ้าง
- ยิ่งเหลื่อมล้ำมากขึ้นเท่าไหร่ ความเห็นอกเห็นใจกันก็ลดลงเรื่อยๆ
Corporations are (rich) people too
- เหมือนกับเหล่าคนรวยที่พยายามล้อบบี้กฎหมายภาษีให้เอื้อกับพวกเขา บริษัทใหญ่ๆก็ร่วมมือกับรัฐบาล แทนที่รัฐบาลจะจำกัดอำนาจพวกเขา ตัวเลข start-up เกิดใหม่ลดลงไปมาก เพราะกฎที่ไม่เอื้อให้พวกเขาสามารถส้กับThe four ได้ ทำให้พวกบริษัทใหญ่ๆก็ไม่สนใจจะพัฒนาอะไรใหม่ๆ และหันมา exploitation
The Exploitation Economy
- บริษัทใหญ่ๆเอาเปรียบขูดรีดกับทุกๆสิ่งที่พวกเขาสัมผัส เช่น คนงานใน fulfilment centre ของอเมซอนออกมาประท้วง ร้องเรียนสภาพการทำงานที่แออัดในช่วงโควิด ผลคือ Amazon ไล่พวกเขาออกหมด
- Uber พยายามลดต้นทุนเต็มที่ โดยบอกว่าคนที่มาขับรถให้ Uber นั้นไม่ใช่ลูกจ้าง เพื่อจะหลีกเลี่ยงการจ่ายประกันสุขภาพ และประกันค่าแรงขั้นต่ำ
- อาจจะมองว่ามันเป็นธุรกิจแฟรนไช แต่โดยทั่วไปคนซื้อแฟรนไชน์จ่ายเงิน 4-8% ให้กับเจ้าของ แต่คนขับ uber นั้นต้องจ่ายเงินถึง 20%
- แน่นอน ผู้บริโภคก็ถูกเหล่า big tech ขูดรีด – There’s no such thing as a free social network app.
Superabundance
- ความเชื่อว่ายิ่งเยอะยิ่งดี ก็เป็นปัญหาใหญ่ในตอนนี้ เช่น ปัญหาเบาหวาน fake news ความเหลื่อมล้ำ
- ธรรมชาตินั้นมีทรัพยากรจำกัด และสมองเราเติบโตมาในธรรมชาติเช่นนั้น แต่ platform เช่น facebook, Instagram, Netflix ไม่มีจำกัด (No stopping cue) เมื่อเราใช้มัน เราจะหา off switch ไม่เจอ – มันกลายเป็นแหล่งของ dopamine ที่ไม่มีวันสิ้นสุด
- “Gamification” ก็เป็นการ add artificial incentives ที่เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะใน online trading platform (OTP) เช่นโปรแกรม Robinhood – ที่มี feature ต่างๆทำให้ผู้ใช้ Trade ง่ายขึ้น สนุกขึ้น กระตุ้นให้เล่นมากขึ้นเหมือนเล่นเกม
- Fast-Paced Dopamine addiction นี้ เป็นปัญหาใหญ่ในหมู่เด็กๆยุคDigital เราจึงเห็นพวกเขาเล่นมือถือ หรือ device ต่างๆ ตลอดเวลา ในฐานะพ่อแม่ เราต้องมีมาตรการจำกัดเครื่องมือเหล่านี้ พาพวกเขาออกไปใช้ชีวิตมากขึ้น อยู่กับปัจจุบัน กับ analog มากขึ้น ลด episode of dopamine hit ลงไป
Take Government Seriously
- ที่ผ่านมาเรามองรัฐบาลว่าเป็นหน่วยงานที่ไม่ได้เรื่อง มองเป็นสิ่งบันเทิง จนสุดท้ายก็ได้ Reality show celebrity มาเป็นประธานาธิบดีจริงๆ
- Palantir บริษัทที่วางระบบข้อมูลหลายๆอย่างให้หน่วยงานรัฐบาล และมีสานสัมพันธ์อันดี ถึงกับเคยเขียนในหนังสือชี้ชวนว่า พวกเขาเชื่อว่าความไร้ประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานต่างๆนั้น จะเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง และเป็นประโยชน์แก่บริษัท
You get what you pay for
- การไม่เคารพในหน่วยงานรัฐบาลนั้น กลายมาเป็น self-fulfilling prophecy – เราไม่เชื่อถือ โรงเรียนรัฐ หน่วยงานวิทยาศาสตร์ของรัฐ และจ่ายเงินอุดหนุนหน่วยงานรัฐน้อยลด คนเก่งๆก็ไปทำงานใน big tech กันหมด – Amazon มีนัก lobbyist เยอะกว่าสภาสหรัฐมีเสียอีก
On the kindness of billionaires
- การที่เราเทิดทูนคนรวยนั้น ทำให้เราเชื่อว่าพวกนักธุรกิจนั้นจะเป็นผู้นำที่ดี แต่ที่ผ่านมันพิสูจน์แล้วว่า นักการเมืองแต่กำเนิดนั้น ทำผลงานได้ดีกว่า
- คำอธิบายอาจเป็นเพราะว่า ธุรกิจสอนให้เราหากำไร หาข้อได้เปรียบเสมอ ไม่เคยสอนว่าบางครั้งก็ต้องให้ มากกว่าจะได้รับกลับ ซึ่งนั้นก็คือหน้าที่ของรัฐบาล ที่ต้องจัดหาสิ่งต่างๆให้สังคม โดยไม่คาดหวังผลกำไรจากสังคม
- เราไม่ต้องการให้เหล่าคนรวยมาช่วย เราต้องการระดับที่ดีขึ้น
- Philanthropy ต่างๆนั้นก็ไม่น่าไว้ใจและไม่น่าเชื่อถือ – จริงอยู่ที่ก่อนหน้านี้ Bill Gates บอกว่าเราควรจะทำอะไรบ้าง Tim Cooks ช่วยหาหน้ากากอนามัย Elon musk ช่วยทำเครื่องช่วยหายใจ Bezos ช่วยส่ง Vaccine ซึ่งมันเป็นสถานการพิเศษเพราะ CDC มีปัญหา – แต่เราต้องการสังคมที่รอ billionaire มาเป็น Hero งั้นหรือ – มันจะต่างอะไรกับขอให้ Pablo Escobar ส่งเงินอุดหนุนตำรวจ
- วิธีที่ง่ายที่สุดคือการออกไปเลือกตั้งให้มาก ระบบที่เป็นอยู่นี้ ส่วนหนึ่งก็เพราะพวกคนแก่ๆชอบ ในขณะที่คนอายุน้อยๆที่กำลังสร้างตัว ออกมา vote น้อยมาก
Tragedy of the Commons
- ตอนนี้เรากำลังอยู่ในหายนะเศรษฐกิจครั้งใหญ่ มาตรการ stimulus check ที่ออกมานั้น ก็ดันไปให้ประโยชน์แต่กับพวกบริษัทใหญ่ๆ
- สิ่งที่ต้องทำคือปกป้องประชาชน ไม่ใช่บริษัท เขาเสนอว่า model ของเยอรมันที่ว่า ให้นายจ้างพักงานลูกจ้างไปก่อนได้ แล้วรัฐบาลจะจ่ายเงินเดือนให้ 2/3 โดยยังคงมีสถานะคนงานอยู่ มันทำให้คนไม่ต้องพะวงหน้าพะวงหลัง ว่าจะไม่มีกิน ว่าจะตกงานเมื่อไหร่
- อาจมองว่านโยบายนี้แพงมาก แต่อย่าลืมว่าเมือคุณให้เงินไปกับคนจน คนชนชั้นกลาง เงินนั้นจะไปสร้าง multiplier effect ในเศรษฐกิจทันที เพราะพวกเขาจะจ่ายมัน เอาไปซื้ออาหาร จ่ายค่าเช่า ซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า และมันจะช่วยให้บริษัทต่ายๆไม่ล้มลง
- เริ่มจากคนช่วยเหลือผู้คนจากฐานราก แล้วค่อยไปช่วยคนชั้นบนๆ ไม่ต้องไปสนใจพวกผู้ถือหุ้น เพราะยามนี้มันเป็นช่วงที่พวกเขาต้องเสียเงิน หากทุนนิยมยังทำงานปกติ
- Priority : Protect people, not jobs. Protect jobs, not corporations. Protect corporations, not shareholders.
Malefactors of great wealth
- Antitrust นั้นไม่ได้แย่เสมอไป เรามักมองมันว่าเป็นการลงโทษ แต่ที่จริงแล้วมันเป็นการเติม Oxygen ให้กับระบบทุนนิยม
- เช่น ถ้าเราแยกบริษัท google และ youtube ออกมาด้วยกัน มันก็จะเกิดการแข่งขันใหม่ๆ
- Capitalism นั้นเชื่อในการแข่งขัน เชื่อใน innovation และการ break up company จะช่วยให้ระบบเดินหน้าได้ดีขึ้น