กาลครั้งหนึ่งใน "จีนยุคใหม่" : Once Upon A Time in New China
Pros
- นำเสนอวิถีชีวิตในชาวเมืองจีนยุคใหม่ได้อย่างน่าสนใจและเห็นภาพ
- มี QR Code ไว้ให้ Scan ดูวิดีโอการใช้งานเทคโนโลยีล้ำๆต่างๆให้เห็นกับตาจริงๆ
- ข้อมูลด้านการลงทุนและโอกาสการลงทุนต่างๆที่กระชับ ตรงประเด็น
Cons
- ยังตอบโจทย์ให้ข้อมูลด้านความเป็น "ยุคใหม่" ของจีนได้ไม่ดีเท่าไหร่ หลายๆ Part เน้นหนักไปทางเรื่องการลงทุนเสียมากกว่า
- สำนวนการเขียนที่อ่านแล้วยังรู้สึกห้วนๆไปหน่อย ในหลายๆบท
Key Messages
- จีนยุคใหม่ คือยุคของข้อมูล ที่มีการประสานกันระหว่าง Online และ Offline Data ผ่านเทคโนโลยีต่างๆ
- ข้อมูลในโลก Online ที่เกิดจากการใช้มือถือทำธุรกรรมต่างๆ เช่น จ่ายเงิน สั่งของ สั่งอาหาร จะทำให้ AI ได้วัตถุดิบในการประมวลผลข้อมูลมากขึ้น ข้อมูลนี้มีอำนาจหลายอย่าง เช่น ทำให้เจ้าของสินค้าและบริการรู้ว่าสินค้าไหนเป็นที่นิยมมากขึ้น ทำให้รู้ว่าผู้บริโภคคนนั้นๆ ชอบสิ่งใด ไม่ชอบสิ่งใด มีประโยชน์ในการนำเสนอโฆษณาผลิตภันฑ์ต่างๆ
- ข้อมูลในโลก Offline ก็จะถูกเก็บได้ง่ายขึ้น เช่น ในกรณีการใช้ Sharing Bike ที่จะมีการเก็บข้อมูลว่าผู้ใช้นั้นใช้งานบ่อยแค่ไหน มีความซื่อสัตย์มั้ย ซึ่งส่งผลต่อ Social Credit Scoring ที่ยิ่งมีมากยิ่งดีและสะดวกกับผู้ใช้งาน หรือในกรณีการซื้อขายของที่ร้าน ถ้าทำผ่าน Cashless ก็จะได้รู้ทั้งว่าผู้ซื้อเป็นกลุ่มไหน และของที่ขายดีคืออะไร ได้อย่างรวดเร็ว
- ข้อมูล Online และ Offline จึงทำงานเกื้อกูลกัน ผู้ที่ชนะในเทคโนโลยี (และธุรกิจ) จึงเป็นผู้ที่สามารถทำให้ทั้งสองอย่างนี้ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
Chinese Way of Life in ‘the Age of Implementation’
โลกกำลังเข้าสู่ยุคของ Artificial Intelligence
พัฒนาก้าวกระโดดของ Machine learning ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ ที่ใกล้ตัวเข้ามามากขึ้นเรื่อยๆ เสมือนยุคที่เพิ่งค้นพบเครื่องจักรไอน้ำ หรือไฟฟ้า ที่ทำให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ต่างๆมาเปลี่ยนชีวิตผู้คน และเปลี่ยนขั้วอำาจทางเศรษฐกิจในโลกนี้
ในอดีต ฝ่ายที่ได้เปรียบนั้น ก็คือฝ่ายที่ครอบครองทรัพยากรต่างๆ ไว้ได้มากที่สุด
ในยุค AI นี้ก็เช่นกัน ที่ยิ่งเทคโนโลยีที่ใช้นั้น มีทรัพยากร มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นฝ่ายได้เปรียบ
ทรัพยากรที่ว่านั้นก็คือ ‘ข้อมูล (Data)’
มีคำกล่าวว่า ผู้ที่สามารถครอบครองข้อมูลได้มากที่สุด ก็จะเป็นผู้นำ เป็นผู้ชนะ ในศึกแห่งยุค AI นี้ จึงมีคำกล่าวเปรียบเทียบกันไว้ว่า ‘Data is the new oil’
และประเทศที่เอาจริงเอาจรังกับเรื่องการเก็บรวบรวมข้อมูลนี้ที่สุด และมี Setting ที่เอื้อต่อ Data Flow มากที่สุดก็คือ ประเทศจีนยุคใหม่ นี่แหละครับ
เราอาจเคยได้ยินมาว่า ประเทศจีนเป็นประเทศอันดับต้นๆในโลกในด้าน Cashless Society โดยเฉพาะวิถีชีวิตชาวเมืองที่แทบไม่พกเงินสดแล้ว ผู้คนจ่ายเงินผ่าน Alipay หรือ WeChat กันหมด สั่งซื่อของ Online กันมากมาย
Cashless กันจนกระทั่งว่าขอทานก็ต้องพกมือถือ ไม่งั้นจะไม่ได้เงิน!
แต่เคยสงสัยกันมั้ยครับ ว่าการที่ธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ความนิยมในการใช้ Application เพื่อความสะดวกสะบายต่างๆ โมเดลธุรกิจต่างๆ ที่เป็นแบบ Sharing Economy กันมากขึ้น ทำให้ชีวิตคนจีนจริงๆเปลี่ยนไปแค่ไหน?
ทุกอย่างย้ายไปอยู่ในมือถือ (Online) และธุรกิจห้างร้านต่างๆ (Offline) จะไหวมั้ย?
และ ถ้า Online มันช่วย Generate Data ได้มากมาย มันเอาไปประยุกต์ใช้ได้ยังไง? หรือแค่เก็บข้อมูลไว้เก๋ๆ เอาไปอวดคนอื่นเฉยๆว่าเรามี Big data?
หนังสือเล่มนี้ จะทำให้เราเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ในประเด็นเหล่านี้ครับ!
หนังสือ กาลครั้งหนึ่งใน “จีนยุคใหม่” เป็นผลงานของคุณทีน่า-สุภัททกิต เจตทวีกิจ เจ้าของเพจ Made In Tena และ คุณโบ้-มีชัย เตชาภิประณัย ซึ่งทั้งสองคนเป็นผู้เชี่ยวชาญการเงินการลงทุนระดับสากล (Chartered Financial Analyst : CFA) ที่ได้มีโอกาสไปศึกษามหาวิทยาลัยฟูตั้น เมืองเซี่ยงไฮ้ และได้เขียนถ่ายทอดประสบการณ์การใช้ชีวิตในจีนยุคใหม่ และความล้ำหน้าของเทคโนโลยีต่างๆ ที่ผสานทั้งการ online และ offline อย่างแปลกใหม่ มาให้เราได้ศึกษา พร้อมกับในเล่มจะมี QR Code ให้เรา scan เพื่อเปิด Clip Video ให้เห็นรีวิวการใช้งานบริการล้ำๆต่างๆ ให้เห็นภาพจริงๆ ซึ่งมีประโยชน์มากๆ โดยเฉพาะถ้าเราอ่านตัวบทความแล้วยังไม่ Get ความล้ำๆของสิ่งนั้นๆเสียทีเดียว
นอกจากหนังสือจะให้ผู้อ่านเห็นภาพว่าจีนยุคใหม่เขาไปกันถึงไหนแล้วนั้น เนื้อหาสำคัญในเล่มที่อ่านสนุกไม่แพ้กัน ก็คือประเด็นของ “การลงทุน” ครับ เช่น ในเล่มจะมีบอกว่า Business model ต่างๆนั้นมีเอกลักษณ์ยังไง ตลาดของธุรกิจนี้ใหญ่แค่ไหน มีโอกาสเติบโตมากน้อยเพียงใด และหลายๆอันก็มี “ราคาหุ้น” ณ ขณะนั้น มาให้เราพิจารณาเลยครับ ซึ่งคาดว่าจะถูกใจนักลงทุนที่กำลังหาโอกาสใหม่ๆ ในโลกของ Disruptive Technology นี้อยู่แน่ๆ
Opinion
หนังสือ กาลครั้งหนึ่งใน “จีนยุคใหม่” เป็นหนังสือที่ทำได้ดีเลยครับ ในการทำเสนอภาพของชีวิตชาวเมืองจีน ว่าเทคโนโลยีต่างๆได้เปลี่ยนชีวิต พวกเขาไปอย่างไร และมือถือเพียงเครื่องเดียวนั้น สามารถอำนวยความสะดวกชีวิตทั้งในโลก online และ offline ได้อย่างไร
การที่มี QR code ให้ Scan ไปดูClip Video โดยตรง ก็ช่วยอำนวยความสะดวกและทำให้เราเห็นภาพความล้ำชัดขึ้นครับ อ่านอย่างเดียวอาจจะจินตนาการไม่ออก
ส่วนในเนื้อหาด้านการลงทุน อันนี้โดยส่วนตัวก็ชอบนะครับ แต่ก็รู้สึกว่าหลายๆส่วนก็เป็นการนำเสนอข้อมูลแบบเรียบๆน่าเบื่อ หลุด Theme ของเล่มไปหน่อย
โดยรวมๆแล้วเป็นหนังสือที่แนะนำสำหรับคนที่พอมีความรู้ ความสนใจว่าจีนยุคใหม่ ผ่านประสบการณ์คนที่เคยได้ใช้ชีวิตจริงๆนั้นเป็นอย่างไร ยิ่งเป็นนักลงทุนด้วย ยิ่งแนะนำครับ
ปล. แนะนำให้อ่านหนังสือ China 5.0 และ จีน-เมริกา มาก่อนอ่านเล่มนี้นะครับ จะช่วยปะติดปะต่อภาพได้อย่างดี
สรุปหนังสือ: กาลครั้งหนึ่งใน “จีนยุคใหม่”
1. ค้าปลีก
1.1 Convenience Stores
จีนมีร้านสะดวกซื้อ 100,000 ร้าน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1 ล้านล้านบาท สำหรับประเทศที่มีประชากร 1,400 ล้านคน
เทียบกับไต้หวันที่มีประชากร 24 ล้านคน (น้อยกว่า 58 เท่า) ตลาดร้านสะดวกซื้อกลับมีมูลค่าถึง 170,000 ล้านบาท
ไทยซึ่งมีประชากรน้อยกว่าจีน 20 เท่า มีมูลค่าร้านสะดวกซื้อประมาณ 3 แสนล้านบาท
ดังนั้นแล้ว ตลาดร้านสะดวกซื้อในจีน น่าจะยังเติบโตได้อีกมากมาย
สัดส่วนร้านสะดวกซื้อ มีสองเจ้าใหญ่คือ Easy joy ของ Sinopec และ uSmile ของ Petrochina ทั้งสองมีจำนวนสาขาคิดเป็น 46% ของจำนวนร้านสะดวกซื้อทั้งหมดในจีน แต่คิดเป็น market share เพียง 29% เนื่องจากจำนวนสาขาส่วนใหญ่อยู่ในปั้มน้ำมัน ซึ่งมีความถี่ในการซื้อไม่สูง ปัจจัยหนึ่งมาจากที่จีนมีรถไฟความเร็วสูงมากมายหลายสาย
ส่วนร้านที่อยู่ในตัวเมืองจะเป็นร้าน Meiyijia , FamilyMart, Hongqi, Lawson, 7-eleven มี market share รวมกัน 26% (ต่างกับในไทย ที่7-eleven ครองตลาดอันดับหนึ่ง คือ 80% )
ตลาดร้านสะดวกซื้อในจีนจึงยังน่าจะมีช่องทางให้เติบโตได้เยอะ
นอกจากเจ้าใหญ่ๆจะสู้กันเองแล้ว Alibaba JD Tencent ก็ลงมาเล่นตลาดนี้ด้วย ผ่านทางร้านโชว์ห่วย (local shop)
เช่น ในกรณีของ alibaba จะมีโครงการ Ling Shou Tong เป็นโครงการที่alibaba จะช่วยพัฒนาร้านโชห่วยดั้งเดิมกว่า 6ล้านร้านค้าในประเทศจีนให้ทันสมัยมากขึ้น ทั้งช่วยเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ภายนอก และช่วยปรับปรุงระบบหลังบ้านให้ดีขึ้น
เช่น Alibaba จะให้ข้อมูลร้านค้า ว่าชุมชนที่อยู่รอบๆ ณ ขณะนั้นมีสั่งของออนไลน์อะไรบ้าง ชอบยี่ห้ออะไร เพื่อให้ร้าน local สั่งstock สินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการลูกค้า
ความ win-win ก็คือ
- ร้านเล็กๆเหล่านี้ จะขายของดีขึ้น และถ้ามีของค้าง ก็สามารถถ่ายโอนของนั้นไปยังร้านอื่นที่ขาดสินค้าได้ การสั่งสินค้าก็ซื้อจาก alibaba โดยตรง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ร้านlocalได้ของราคาถูกกว่า และรับของได้เร็วจากระบบจัดการของ alibaba เอง
- alibaba ได้ประโยชน์ คือ จะมีร้านค้าซึ่งนัยหนึ่งก็ทำตัวเป็นโกดังสินค้าเล็กๆของ Alibaba ที่กระจายทั่วทั้งประเทศ ลูกค้าได้รับของเร็วขึ้น และการขายของoffline ก็เข้าถึงกลุ่มคนที่ไม่ใช้e-commerce ทำให้ได้ข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อไปได้อีก
นอกจากนี้ Alibaba ยังมีโมเดลร้านสะดวกซื้อไร้พนักงานขาย
ปลายปี 2017 มีร้านระบบนี้เพียง 200 สาขา มีการทำนายว่าระบบนี้จะเติบโตอย่างรวดเร็วจนยอดขายขึ้นเป็น 15,000 ล้านบาทในปี 2020
ถามว่า ระบบสะดวกสบายก็จริง แต่มีแค่กล้องวงจรปิดดูอยู่ ถ้าแอบขโมย หรือแอบเปิดน้ำกินแล้ววางไว้ที่เดิมได้มั้ย
ก็ต้องบอกว่าทำได้ แต่ไม่คุ้มมากๆ เพราะมีระบบ credit scoring (ในกรณีของ Alibaba คือ Sesame credit)
Credit scoring จะถูกประเมินจากประวัติการจับจ่าย การทำธุกรรมในโลกออนไลน์ ถ้ามีประวัติที่ดี จ่ายเงินสม่ำเสมอ ก็จะมีคะแนนสูง
คะแนนที่สูงๆ ทำให้ใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น เช่น สามารถใช้บริการ sharing ต่างๆ โดยไม่ต้องวางมัดจำ เพิ่มความสะดวกสะบายในชีวิตอย่างมาก
1.2 Supermarket
ชีวิตในจีนนั้น หากเช้าวันหนึ่งอยากกินซีเรียล แต่ไม่มีนม คนจีนหลายคนจะไม่เดินไปซื้อนมในซูเปอร์มาร์เก็ต แม้ร้านนั้นจะอยู่ใต้ตึก แต่จะกดสั่งของใน app และมันจะมาส่งในครึ่งชม. (ระหว่างนั้นก็อาบน้ำแปลงฟันรอไปพลางๆ ของจะมาส่งพอดี)
คำกล่าวที่ว่า ทำเลคือทุกสิ่ง จึงอาจไม่เหมือนเดิมเสมอไป เพราะขนาดร้านใต้ตึกอาจสู้ร้าน supermarket ที่ห่างออกไปแต่โปรโมชั่นดีกว่า ไม่ได้
Supermarket แต่ละที่ก็จะมี app ของตัวเอง หรืออยู่ในapp platformอีกที ถ้าเราอยากซื้ออะไรก็กดเลือกชนิดและยี่ห้อได้ทันที อันไหนที่ซื้อบ่อยๆ app ก็จะจัดเก็บข้อมูลไว้ พอมีโปรโมชั่นเฉพาะมาก็จะมี notification แจ้งทันทีให้เรารีบกดซื้อกดจ่ายเงินผ่าน e wallet ได้ในคลิกเดียว
เนื่องจาก supermarket มีหลาย app ก็เลยมีการแข่งขันดุเดือน โปรโมชั่นดุเดือด ไปๆมาๆ สั่งของกินของใช้ Online ก็ถูกกว่าไปจ่ายเงินซื้อเองถึงที่
อย่างไรก็ตามพวกของกินของใช้นั้นมีอัตราส่วนกำไรไม่มาก แล้วการลงมาเล่นตลาดนี้ มันจะคุ้มแค่ไหน?
ในปี 2018 มีการประเมินว่า ตลาดมูลค่าซื้อขายของ online ในจีนคิดเป็น 24% ของค้าปลีกทั้งหมด
ยอดค้าปลีกสินค้าอิเลกทรอนิค มาจาก online 30%
รองเท้าเครื่องนุ่งห่ม มาจาก online 39%
ของกินของใช้ มาจาก online 4%
ซึ่งในยุคการซื้อขายของออนไลน์ช่วงแรกนั้น มักเป็นของราคาสูงต่อรอบบิล เพราะจะคุ้มค่าส่งกว่า
แต่ความเจริญของตลาดซื้อของออนไลน์ ทำให้มีการลงทุน logistic และทีมขนส่งไปมาก ความถี่การสั่งของก็เพิ่มมากขึ้น เกิด economies of scale ทำให้ส่งของราคาต่ำๆ ก็ยังมีกำไร
ตลาด grocery store ซึ่งยังมีส่วนออนไลน์น้อย จึงเป็นช่องทางโอกาส ทำให้มีบริษัทเทคโนโลยีหลายๆแห่ง จับมือกับ modern trade ลงมาลุยเอง
อีกปัจจัยหนึ่งก็คือ ตลาด modern trade ส่วน supermarket นั้น, 5 บริษัทใหญ่ที่สุด ยังมีส่วนแบ่งทางตลาดเพียง 4%
JD ลงมาเล่นในตลาดนี้ โดยสร้างห้องเย็นกว่า300แห่ง เพื่อกระจายสินค้าอาหารสด และเปิด supermarket ของตัวเอง ชื่อ 7 fresh
ส่วน Alibaba สร้างแบรนด์ supermarket ของตัวเอง ชื่อ Hema (อ่านว่า เหอ-หม่า) ก่อตั้งในปี 2016 ขยายเป็น 150 สาขาในปี 2018
Hema คือร้าน Supermarket ของ Alibaba ที่มีการผสานเทคโนโลยี และความ online to offline ได้อย่างไร้รอยต่อ
Supermarket แบบดั้งเดิมนั้น คือการที่เราเดินเข้าไป หยิบของที่ต้องการใส่รถเข็น ต่อคิวจ่ายเงิน แล้วหิ้วของออกมา
แต่ Hema มาเหนือกว่านั้น เวลาจะซื้อของ เราเอาเฉพาะของที่เราจะใช้ทันทีใส่รถเข็น ของอื่นๆที่เราจะเอาไปใช้ไปกินที่บ้าน ก็แสกนบาร์โค้ดป้ายสินค้าไว้โดยใช้ App
พอได้ของครบ เราก็เดินออกมาที่ช่องจ่ายเงิน โดยเลือกวิธีตั้งแต่ใช้ App scan หรืออาจจะแสกนใบหน้า แล้วเดินออกไปเลย พนักงานจะมาหยิบของที่เราแสกนซื้อไว้ แล้วส่งไปถึงบ้าน ภายใน30นาที
ระบบพนักงานหยิบของก็ไม่ใช่1คนเดินไปหยิบทั่วห้าง แต่เป็นระบบสายพาน คือ จะมีถุงสินค้าของลูกค้าคนนั้นๆ แปะ QR code รายการของไว้ ถุงก็จะเคลื่อนไปตามรางเลื่อน พนักงานรับออเดอร์ ซึ่งมีโซนของตัวเอง ก็ Scan code แล้วใส่สินค้าลงไปตาม
แน่นอนว่าพนักงานไม่ได้มีหน้าที่รับ order จากคนเดินมาshoppine แต่ก็รับ order online ด้วย
Hema จึงเป็นทั้ง supermarket และศูนย์กระจายสินค้าสำหรับออเดอออนไลน์
การซื้อของออนไลน์ที่สะดวกเช่นนี้ ก็ตรงกับการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่หลายคน ที่คิดว่าการต้องไปเดินตลาดซื้อของสดหลังเลิกงานมันเป็นอะไรที่น่าเหนื่อยหน่าย
ซื้อออนไลดีกว่า ได้ของเร็วกว่าเยอะ ไม่ต้องแบกของ ส่วนของสดไม่สดนั้นไม่ใช่ปัญหา เพราะดูไม่เป็นอยู่แล้ว
เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว มันจะขัดกันเองรึกล่าว ถ้าคนซื้อออนไลน์กันหมด แล้วจะเปิด Hema ทำไม?
คำตอบคือ การเดิน supermarket ของคนจีนสมัยนี้ มักมาเพื่อซื้อประสบการณ์ มากกว่าซื้อของ
เช่น จะมีโซนกิจกรรมให้คนที่มาซื้อของได้ลองสินค้าอะไรใหม่ๆ มีโซนอาหารทะเล ที่ลูกค้าจะเห็นกุ้งปูปลาที่ยังมีชีวิตสดๆ
และใน Hema จะมีร้านอาหาร ซึ่งใช้หุ่นยนต์เสริฟอาหารทั้งหมด
ดังนั้นแล้ว Hema จึงมีการผสม 3 ฟังก์ชันไว้ คือ เป็น Supermarket เป็น ศูนย์กระจายสินค้า และ เป็น ร้านอาหาร
ร้านอาหารใน Hema ที่ใช้หุ่นยนต์มาช่วยนี้ ชื่อร้าน ROBOT.HE (โรบอท.เหอ)
ระบบจะเริ่มก่อนเข้าร้าน คือเราสามารถไปเดินเลือกวัตถุดิบใน Hema ได้เลย ว่าจะเอาอะไรบ้าง เช่น จะเอากุ้ง ปู ตัวไหน จะเอาไปทำอะไร ก็สั่งที่Counter วัตถุดิบเลย หรือถ้าไม่อยากเลือกจะค่อยไปดูเมนูที่ร้านก็ได้
มาที่ร้าน ระบบจะบอกว่าเราต้องไปนั่งที่โต๊ะไหน เราได้สั่งอาหารอะไรไปบ้าง อาหารที่สั่งไปนั้นกำลังอยุ่ในขั้นไหนของการปรุง โดยในห้องครัวจะมีหุ่นยนช่วยเตรียมและทำอาหารร่วมกับกุ๊ก
เสร็จแล้ว อาหารก็จะมาเสริฟที่โต๊ะโดยหุ่นยนที่วิ่งมาตามทาง
ซึ่งข้อดีการใช้หุ่นยนต์ คือการลดปัญหาการจัดการพนักงาน ทั้งค่าเงินเดือน การลาป่วย คุมต้นทุนค่าแรงได้ดีขึ้น ทำให้ขายอาหารมาตรฐานดีในราคาที่ไม่แพงได้
โดยร้านนี้ มีการใช้หุ่นยนแทนคนไปแล้วกว่า 70%
การใช้หุ่นยนนี้จะมีผลดีอีก เนื่องจากในอนาคตตั้งแต่ปี 2020 มีการประมาณว่า ทุกๆ15ปี ตลาดแรงานในจีนจะหดตัวลง 100 ล้านคน หุ่นยนจึงมาช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานในอนาคตนี้ด้วย
1.3 Department Store
QinChengLi เป็นห้างสรรพสินค้าที่ Alibaba ลงทุนสร้างเอง
คำถามคือ Alibaba ก็เป็นเจ้าตลาดซื้อขายของออนไลน์อยู่แล้ว และยอดขายออนไลน์ก็เติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ จะลงมาลุยตลาด offline ที่ตัวเอง Disrupt ซะหมดท่า ทำไม?
เพราะการจะผลักดันยอดขายทาง online ให้โตมากขึ้น จำเป็นต้องมีการผสมผสานที่ดีระหว่าง online และ offline เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นไปตามผลสำรวจที่พบว่ากระบวนการตัดสินใจซื้อของของผู้บริโภค ยังต้องอาศัยทั้งสองปัจจัย
เช่น ก่อนจะติดสินใจซื้อของ อาจเปิดดูราคา online เพื่อเช็คราคาก่อน และอ่านรีวิวก่อน หลังจากนั้น ผู้บริโภคหลายๆคน ก็ยังต้องการทดลอง สัมผัสสินค้าจริงๆก่อนจะซื้อ พอเมื่อได้ลองสินค้า ได้สัมผัสของจริงแล้ว ก็ค่อยกดซื้อ( อาจจะซื้อที่ร้านเลย หรือกดทาง online ถ้ามราคาถูกกว่า) แล้วสุดท้ายก็จะรีวิวสินค้า กลับสู่โลกออนไลน์อีกครั้ง
ดังนั้นการซื้อขายของ online อย่างเดียวก็ยังไม่ตอบโจทย์ครบทั้งหมด
ห้าง QinChengLi นี้ ก็จะเน้นการเชื่อมต่อการเลือกซื้อของแบบ offline และ online แบบไร้รอยต่อ เช่น ในร้านเสื้อผ้า นอกจากจะมีเสื้อผ้าตามปกติตั้งโชว์แล้ว ก็ยังมีตู้กระจกที่ให้เราลองเสื้อผ้าแบบ virtual reality เมื่อเจออันที่ชอบเราก็ขอดูอันจริงได้ เพื่อให้เราแน่ใจากขึ้น
ถ้าเสื้อผ้าที่ชอบ แต่ทางร้านของหมด ไม่มีไซด์ ก็ไม่มีปัญหา เพราะสามารถกดสั่งซื้อonline ได้ทันที ทำให้ปิดการขายได้เลย ลดโอกาสลูกค้าเปลี่ยนใจ และไม่กลับมาซื้อ
ในห้างนี้ การแสดงตัวตน การเก็บpoint ต่างๆ ยังไม่ต้องพกบัตรต่างๆให้ยุ่งยาก เพี่ยงใช้การแสกนใบหน้าลูกค้าอย่างเดียวก็เพียงพอ
กลายเป็นว่า จากที่คิดว่า online จะทำให้ offline ตายสนิทก็ไม่จริงเสมอไป เหล่ายักษ์ใหญ่โลก online กลับเห็นความสำคัญในการออกมาเชื่อมต่อโลก offline มากขึ้น
2.Sharing Economy
2.1 Sharing bike
เป็นธุรกิจในจีนที่ boom อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะช่วงปี 2017
ธุรกิจนี้เกิดในปี 2014 โดย Dai Wei ขณะกำลังศึกษาปริญญาโท ได้ก่อตั้ง ofo บริษัท bike sharing ซึ่งเป็นที่สนใจของนักลงทุนและนักข่าวอย่างมากในช่วงแรก จนได้รับการขนานนามว่า next Uber หรือ Next DiDi มีคนมาร่วมลงทุนมหาศาลเพราะกลัวจะตกรถ
ธุรกิจเช่าจักยานไม่ใช่สิ่งใหม่ในจีน แต่สิ่งที่ ofo ทำคือการทำให้เราสามารถขับจักรยานไปที่ไหนก็ได้ จอดที่ไหนก็ได้ แล้วล็อกตรงนั้นได้เลย โดยไม่ต้องไปออกและหาที่จอดตาม station การเดินทางด้วยรถจักรยานจึงยืดหยุ่นขึ้นมากๆ
เมื่อธุรกิจดูไปได้สวย คู่แข่งก็มา ที่แกร่งสุดคือ mobike
แต่กลยุทย์ช่วงแรกนั้นต่างกัน ofo เน้นที่จำนวนจักรยาน ส่วน mobike เน้นเรื่องคุณภาพ
ช่วงแรกofo ไปได้สวยกว่า เพราะด้วยเงินทุนที่มากกว่า ก็สามารถปล่อยจักรยานเข้าสู่ตลาดได้มาก ทำโปรโมชั่นได้รุนแรงกว่า จึงได้ส่วนแบ่งผู้ใช้ไปมาก แต่ภายหลัง จักรยานของofoก็เสียหายเยอะยากมาก จากที่คาดว่าอายุการใช้งานจักรยานคันละสองปี พอใช้จริงอายุน้อยกว่านั้นมากๆ กลายเป็นว่าจักรยาน ofo เก่าเร็ว น่าขับน้อยกว่า Mobike
Ofo และ mobike แข่งกันอย่างดุเดือด ไปๆมาๆ ofo จากเดิมที่ร่วมมือกับ didi ก็ตีตัวออกห่าง didi ก็มาทำ sharing bike ของตัวเอง ส่วน mobike ขายกิจการให้ meituan
Ofo จากเดิมที่เป็นผู้นำ ก็พลาดท่าด้วยปัจจัยอีกหลายๆอย่าง หลักๆคือรีบขยายจำนวนจักรยานมากไปเพราะมีเงินลงทุนมาก (ช่วง peak คือมีจำนวนจักรยาน 10 ล้านกว่าคัน ใน 20ประเทศ!) จนแพ้ภัยตัวเอง
Mobike จึงขยับขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่ง
ส่วนอีกบริการที่มาแรงคือ Hellobike ซึ่งสนับสนุนโดย Alibaba
hellobike ซึ่งมาทีหลัง สามารถแทรกตัวมาเป็นอันดับ สาม ในสมรภูมิอันดุเดือด ด้วยกลยุทธ์ขยายตัวในเมืองรอง ร่วมกับมีความช่วยเหลือจาก ant financial ซึ่งให้แชร์ฐานข้อมูล sesame credit ทำให้ลดปัญหาจากการคดโกงของผู้ใช้
และขณะนี้ hellobike ก็ขยับมาในตลาด Sharing จักรยานไฟฟ้า (Electric scooter) ทีมีผู้ใช้งานมากกว่าจักรยาน
2.2 Sharing Power Bank
สังคมCashless society ของจีนพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว กลายเป็นว่าลืมกระเป๋าเงิน ไม่เครียดเท่าลืมมือถืออกจากบ้าน เพราะมือถือเครื่องเดียวก็ทำได้ทุกอย่างแล้ว (บัตรประชาชนก็ไม่ต้องพก เพราะใช้ WeChat ยืนยันตัวตนแทนได้!)
ปัญหาที่ตามมาคือ เมื่อต้องใช้มือถือกันตลอดเวลา แบตก็หมดง่ายขึ้น Powerbank ก็เลยมีบทบาทสำคัญ ปัญหาคือ วันที่ต้องใช้ PowerBank ก็มักเป็นวันที่เราไม่ได้พกมันมา (เหมือนร่ม) และ การพกพาวเวอร์แบงหนักๆเดินไปเดินมา ก็ไม่ได้สะดวกนัก
จึงมีธุรกิจเช่า Power Bank เริ่มขึ้นมา ในปี 2015 และบูมสุดๆช่วงปี 2017 ที่มี Start up มาระดมทุนในธุรกิจนี้มากมาย มีการประเมินว่ามูลค่าตลาดนี้จะสูงถึง 1700 ล้านบาท ในปี 2020
รูปแบบการให้เช่า power bank มีหลากหลาย เช่น เป็นแผ่นป้ายโฆษณาบนโต๊ะอาหาร ระหว่างที่เรากินอาหารเราก็ใช้ app scan QR code จ่ายเงินแล้วเสียสายชาร์จไปพลางๆ หรือเป็นตู้เครื่องขายของขนาดเล็ก Scan QR code จ่ายเงินประกัน แล้วได้ power bank ถือไปใช้ แล้วค่อยคืนที่ตู้อันอื่น ค่าใช้จ่ายก็อยู่ที ชั่วโมงละ 5 บาท หรือวันละ 25 บาทเท่านั้น
2.3 Sharing Music Room
ที่สวนสาธารณะในเมืองเซี่ยงไฮ้ มีบริการ Sharing Music Room (ตู้อัตโนมัติสำหรับเช่าซ้อมดนตรี) ซึ่งข้างในเป็นห้องซ้อมดนตรีขนาดย่อม มีเครื่องดนตรีจริงๆ และ มีคาราโอเกะ (คนจีนเรียกว่า KTV) ซึ่งตอบโจทย์lifestyle คนจีนที่ชอบพักผ่อนด้วยการร้องเพลง และตอบโจทย์ชาวเมืองเซี่ยงไฮ้ ที่ส่วนใหญ่อาศัยบนตึกสูงแออัด
3. สุราแห่งชาติของจีน
เหล้าขาว คือวัฒนธรรมการดื่มของคนจีน
เหมาไถ (SHA: 600519) คือเหล้าขาวชั้นยอด ที่มีฉายาเป็นสุราแห่งชาติของจีน
วัตถุดิบสำคัญในการกลั่นเหล้าขาวเหมาไถตือน้ำจากแม่น้ำชื่อสุ่ย ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองเหมาไถ มณฑลกุ้ยโจว
การผลิตเหมาไถมีขั้นตอนซับซ้อน ใช้เวลายาวนาน 1 รอบการลิตใช้เวลาประมาณ 5-6 ปี
เป็นเหล้าที่ใช้การต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองคนสำคัญ เช่น ประธานธิบดีสหรัฐ เป็นสัญลักษณ์ของฝากจากผู้นำจีนสู่ประเทศต่างๆ เป็นใบเบิกทางชั้นเลิศในการติดต่อราชการ
เหมาไถจึงเป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่ง ไม่ได้มีช่วงที่ยอดขายลดลงเลย การเติบโตชนชั้นกลางชาวจีน ยิ่งทำให้มีกำลังซื้อเหล้าขาว premium นี้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันบริษัทกุ้ยโจม เหมาไถ ก็กลายเป็นผู้ผลิตเหล้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แซงหน้า Jonnie Walker
และยังมีโอกาสเติบโตอีก เพราะตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอลจีนยังกระจายตัวอย่างมาก ผู้เล่นรายใหญ่สุด 5 รายแรก ครอง market share แค่ 22% เทียบกับประเทศอื่น เช่น เกาหลีใต้ ที่ 5 รายใหญ่สุดครอง market share อยู่ถึง 95%
4. ร้านอาหาร
อาหารประเภท หม้อไฟ กินส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดในจีน
แบรนด์อันดับหนึ่งของจีนตอนนี้ คือ Haidilao (HKG: 6862)
Haidilao ที่จีนก็ต้องรอคิวนานมาก แต่ลูกค้ารอได้ เพราะมีบริการมากมายและฟรี เช่น มีของว่างบริการ มีboard game มีipadให้เล่น มีเก้านี้นวด ไปจนถึงบริการทำเล็บ
เคล็บลัดสำคัญของ Haidilao คือการทำให้ลูกค้าประทับใจ และกลับมาใช้บริการซ้ำ
ทำให้ทางร้านให้ความสำคัญกับพนักงานมากๆ เพราะถือว่าให้ความประทับใจลูกค้าได้มากสุด มีทั้งระบบสวัสดิการ มีที่พัก มีคนซักผ้าให้ มีการจัดสรรค่าแรงให้พนักงานมีส่วนกับกำไรของสาขาที่ตัวเองทำงาน ให้อำนาจกับผู้จัดการสาขาอย่างเต็มที่ในการปรับปรุงและแก้สถานการณ์เฉพาะหน้า
ความใส่ใจทำให้ลูกค้าบอกต่อและกลับมาใช้บริการซ้ำ โดย Haidilao มี market share 3.3% ของ hot pot และ 0.3% ของตลาดทั้งหมด
นอกจากนั้น Haidilao ยังมีบริการ delivery ซึ่งยอดโตระเบิด เพราะ ไม่ใช่deliver แค่น้ำซุปหรือวัตถุดิบอาหาร แต่ deliver หม้อสุกี้ และพนักงานบริการมาถึงที่บ้านด้วย
Haidilao ยังมีบริษัทชื่อ yihai international (HKG: 1579) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องปรุงซุปหม้อไฟและน้ำจิ้มให้ร้าน ราคาหุ้นก็พุ่งกระฉูดตาม Haidilao เช่นกัน
5. ชานมไข่มุก
ชานมไข่มุกก็มีการแข่งขันอย่างดุเดือดในประเทศจีน แม้แต่ alibaba ก็มาร่วมแข่งขันด้วยผ่านชานุมไข่มุกBrand happy lemon ซึ่งเป็นร้านชาชื่อดังของไต้หวันที่มีสาขามากกว่า 1000สาขาทั่วโลก
ตลาดชานมในประเทศจีนมีขนาดกว่า 2 แสนล้านบาท รวมกับมูลค่าตลาดชาสมัยใหม่ จะมีมูลค่า 4.5 แสนล้านบาท โดยมีร้านชาสมัยใหม่กระจายทั่วประเทศกว่า 450,000 ร้าน
ชาวจีน 10% ดื่มชานมมากกว่า 10 แก้วต่อเดือน และมากกว่า 75% ดื่มชานม 1-5แก้วต่อเดือน
ผลสำรวจบอกว่าชาวจีนประมาณ70% มองว่าชานมไข่มุกแก้วละ 75บาทขึ้นไป ถือเป็นเรื่องปกติ
จึงเป็นตลาดที่หมายตาของใครหลายๆคน รวมทั้ง alibaba
Alibaba x Happy Lemon ร่วมมือกันสร้างหุ่นยนต์มาผลิตเครื่องดื่ม ชงเสร็จภายใน 90วินาที มีมาตรฐานการชงที่คงที่ ไม่ต้องมานั่งเทรนคน ไม่ต้องมีปัญหาค่าแรง เมื่อมีสินค้าใหม่ๆ ก็จะง่ายและประหยัดเวลาขึ้น เพราะหุ่นยนต์เชื่อมออนไลน์กันหมด สามารถเรียนรู้วิธีทำชาสูตรใหม่ๆได้เลย ไม่ต้องมานั่งเทรนทีละคน
วิธีสั่งชา ก็ไม่ต้องมีพนักงงานรับOrder ลูกค้าแค่โหลดแอปมาแล้วscan QR code ที่หน้าร้าน
หรือจะสั่งชาบน App ก็ได้ พอได้แล้วก็จะมีข้อความขึ้นเตือน ว่าเครื่องดื่มที่ชงเสร็จแล้วอยู่ล้อกเกอร์เบอไหน เมื่อเราไปถึงก็Scan QR code และแตะปุ่มรับเครื่องดื่มได้เลย
Big data จาก alibaba ก็ช่วยเรื่องการเปิดสินค้าของ Happy Lemon tea ได้มาก โดยได้ข้อมูลจาก platform สั่งdelivery อาหาร ทำให้บริษัทเห็นได้ทันทีว่าบริเวณไหนที่มีลูกค้าเยอะ แต่ไม่มีสาขาของตัวเองอยู่ ก็สามารถไปเปิดได้เลย ลดความเสี่ยงว่าเปิดใหม่แล้วจะหาลูกค้าไม่ได้
อีก Brand ที่ดังก็คือ HEYTEA เน้นขายชาชีส ซึ่งมีบริษัท Tencent ร่วมลงทุน
จากก่อนหน้าที่ไม่ได้ขายออนไลน์ ลูกค้าต้องรอคิวนาน บางครั้งก็เกือบ 5 ชม. HEYTEA ได้ขึ้นมาอยู่บน Mini Program ของ WeChat ทำให้เก็บข้อมูลลูกค้าได้มากขึ้น ทำให้ลูกค้าสั่ง order online ได้ ลดการต่อคิวหน้าร้าน นอกจากนี้ยังมีรูปแบบที่เวลาสั่งเครื่องดื่มเสร็จ ชานมจะไปวางไว้ในlocker ให้เราไปหยิบได้เลย
ร้านชานมในจีนพัฒนากันเร็วมากๆ เพราะการแข่งขันสูงมากๆ ถ้าแบรนด์ไม่แข็งพอหรือไม่พัฒนาต่อเนื่อง ก็จะอยู่ได้ไม่นาน
6. ร้านกาแฟ
Luckin Coffee (NASDAQ: LK) คือร้านกาแฟแบรนด์จีน ที่มีฉายา Starbucks Killer ซึ่งสามารถเข้าระดมทุนใน NASDAQ ทั้งๆที่ก่อตั้งได้ไม่ถึง 2 ปี
ตลาดกาแฟในประเทศจีน ณ สิ้นปี 2014 มีมูลค่า 87,000 ล้านบาท ผ่านไป 4 ปี เติบโตกลายมาเป็น 190,000 ล้านบาท
แต่ในขณะนั้น ผู้เล่นใหญ่ของตลาดจีนคือ Brand ต่างชาติ เช่น Starbuck , Costa coffee
Luckin coffee ก่อตั้งมาเพื่อเป็นร้านกาแฟตนจีน ที่สนองความต้องการผู้บริโภคที่ต้องการกาแฟคุณภาพ ในราคาที่น้อยกว่า Starbuck 25-30 %
Luckin Coffee ได้ร่วมมือกับ Tencent ทำให้มีระบบสั่งสินค้าและชำระเงินที่มีประสิทธิภาพ
การจ่ายเงินใน Luckin coffee จะไม่สามารถใช้เงินสดได้ ต้องสั่งผ่าน App และจ่ายเงินใน App มาแล้วเท่านั้น จึงช่วยตัดปัญหาลูกค้าที่มายืนเลือกเมนูหน้าร้าน
นอกจากนั้น ร้านยังมีบริการส่งกาแฟ อาหาร ของหวานภายใน 30 นาทีด้วย
เปิดไม่ถึง 2 ปี luckin coffee มีสาขาในจีน 3680 สาขา (Q3 2019) ในขณะที่ Starbuck ซึ่งเข้ามาเปิดในจีนแล้ว 20 ปี มีสาขา 4,125 แห่ง อย่างไรก็ตาม มากกว่า 95% ของ luckin coffee นั้นเป็นสาขาที่มีไว้เพื่อรับหรือส่งกาแฟ ในร้านนั้นมีที่นั่งน้อยมาก หรือไม่มีที่นั่งเลย
Luckin coffee จึงเริ่มต้นจากมาเจาะตลาด Delivery กาแฟ ซึ่งเป็นจุดอ่อนของ Starbuck ในเวลานั้น จน Starbuck ต้องรีบแก้เกม โดยหันไปร่วมมือกับ Alibaba ผ่าน platform Ele.me
ยอดขายของ Luckin coffee ยังน้อยกว่า Starbuck แต่ก็เติบโตสูง ซึ่งก็ต้องจับตาดูว่าโมเดลนี้จะยั่งยืนหรือไม่ เพราะบริษัทยังขาดทุน และยังใช้ส่วนลดในการสร้างยอดขายซะเยอะ
การที่บริษัทเน้น Delivery ในตอนแรกนั้น ทำให้ได้ข้อมูลมาช่วยชี้ว่าบริเวณพื้นที่ไหนที่มีความต้องการสินค้าเยอะ และทำให้บริษัทสามารถเปิดสาขาได้รวดเร็วและตรงจุด สะท้อนกลับมาในสัดส่วนรายได้ เช่น ในไตรมาสแรกปี 2018 ยอดขายจาก Delivery คิดเป็นสัดส่วน 61.7% แต่Q3 2019 ยอดจากการซื้อแบบ pick up เพิ่มขึ้นจนเหลือ delivery เพียง 12.8% ทำให้บริษัทลดค่าใช้จ่ายจากการส่งสินค้าได้มาก
การที่สาขาของ Luckin coffee มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และตรงจุด ทำให้การจัดส่งมีประสิทธิภาพสูงมาก เช่นประสบการณ์ของผู้เขียนเอง ก็บอกว่าตอนที่อยู่เซี่ยงไฮ้นั้น ไม่ว่าจะอยู่ในมุมไหนของเมืองก็จะได้กาแฟในเวลาไม่เกิน 20-30 นาทีเสมอ
การที่บริษัทไปอยู่ใน Ecosystem ของ Wechat ก็ทำให้บริษัทรู้พฤติกรรมผู้บริโภค เช่น คนที่ดื่มกาแฟบ่อยผ่านการใช้ wallet ของ wechat แต่ยังไม่เคยลองกิน Luckin coffee ก็จะโดนยิง Ads ยิง Promotion ให้เห็นLucking coffee บ่อยขึ้น ทีเด็ดคือแต่ละคนก็ไม่ได้เหมือนๆกันหมด ตัว app มันรู้ว่าผู้บริโภคชอบกาแฟแบบไหน และปรับ Ads , Promotion ให้เข้ากับความต้องการผู้บริโภคนั้นๆ
ตลาดกาแฟในจีนเติบโตสูง และมีแนวโน้มจะเติบโตได้สูงขึ้นอีกมากๆ
ปี 2013 จีนมีการบริโภคกาแฟ 4400 ล้านแก้ว ปี 2018 , 8700 ล้านแก้ว และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 15,500 ล้านแก้ว ในปี 2023 คิดเป็นมูลค่า 900,000 ล้านบาท
ซึ่งเมื่อคิดเป็นจำนวนแก้วต่อคนนั้นก็ยังน้อยมาก คือ 6.2 แก้ว ต่อคนต่อปี เทียบกับอเมริกาคือ 388 ญี่ปุ่น 279 ฮ่องกง 249
เชื่อว่าถ้าเศรษฐกิจโตมากขึ้น คนรวยขึ้น มีการเจริญเติบโตของเมืองมาก ก็น่าจะมีการบริโภคกาแฟกันมากขึ้น
7. Vending Machine
ตู้ขายของอัตโนมัติเป็นธุรกิจที่มีการเติบโตดีมากๆ ในประเทศจีน โดยเฉพาะพวกตู้ขายสินค้า ที่มีทั้งใช้โทรศัพท์แสกน QR code หรือไม่ต้องใช้มือถือแสกนก็ยังได้ เอาฝ่ามือแสกน หรือใบหน้าแสกนซื้อของไปเลย
ในปี 2013 มีตู้ขายของอัตโนมัติในจีนประมาณ 58,000 ตู้ เติบโตเป็น 275,000 ตู้ ในปี 2017 คิดเป็นอัตราส่วน 1/5000 ของประชากร ซึ่งยังถือว่าน้อยมาก เทียบกับญี่ปุ่นที่มีสูงถึง 1 ตู้ ต่อ ประชากร 23 คน
คิดเป็นมูลค่าการตลาด คือ 1900 ล้านหยวนในปี 2013 โตขึ้นมาเป็น 12,000 ล้านหยวน ในปี 2017 และคาดการณ์ว่าจะโตเป็น 65,000 ล้านหยวน ในปี 2020
รายได้ส่วนใหญ่ของตู้ก็มาจากขาย คือ 61%
อีก 23% คือรายได้โฆษณาซึ่งเติบโตเร็วมาก ใน 3 ปีที่ผ่านมา คือโตมากขึ้นถึง 29 เท่า
โดยโฆษณาที่จะขึ้นในแต่ละตู้ก็ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับทำเลของตู้ เช่น ถ้าอยู่แถวโรงเรียน ก็จะเป็นโฆษณาโรงเรียนสอนพิเศษ
ตลาดโฆษณาบน Vending machine มีมูลค่า 1200 ล้านหยวน ทำให้เกิดการแข่งขันในตลาดตู้ขายของอัตโนมัติเข้มข้นขึ้น Alibaba กับ Tencent (อีกแล้ว)ก็ยังให้ความสนใจ
8. โรงแรม
เครือโรงแรมที่ใหญ่สุดในประเทศจีนคือเครือ Jin Jiang ซึ่งใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก
และยังมีอีก 3 เครือยักษ์ใหญ่คือ Huazhu Group, BTG hotels Group, GreenTree Hospitality Group
อุตสาหกรรมโรงแรมในจีนโตขึ้นรวดเร็ว ด้วยการที่ประชากรมีอำนาจการจับจ่ายมากขึ้น
แต่กลุ่มที่เติบโตที่สุดคือกลุ่ม Sharing Economy เช่น AirBnB และ Tujia ทำให้ธุรกิจโรงแรมดั้งเดิม ต้องปรับตัวโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อเพิมประสบการใหม่ๆให้ลูกค้าและเพิ่มประสิทธิการบริหาร
Intercontinental Hotel Group ร่วมมือกับ Baidu เปิดตัวห้องพักอัจฉริยะในเขต Chaoyang ของปักกิ่ง โดยสามารถใช้ ลำโพงอัจฉริยะของ Baidu เพื่อคุมอุปกรณ์ต่างๆในห้อง
Shangri-La ร่วมมือกับ Tencent นำเทคโนโลยีด้าน Cloud computing, AI , Social Media, Payment Gateway มาช่วยพัฒนาการบริการและดำเนินงาน
Alibaba เปิดตัวโรงแรมแห่งอนาคต ชื่อ FlyZoo Hotel ซึ่งมีความล้ำ เริ่มตั้งแต่จองโรงแรม ที่สามารถเลือกได้เลยว่าจะเอาห้องไหน เบออะไร โดยจะมีแปลนแบบ VR มาให้เราเห็นเลยว่าห้องมันอยู่ใกล้อะไรบ้าง พอไปถึงโรงแรมก็แสกนบัตรประชาชนและใบหน้า ระบบก็จะรู้ว่าเราอยู่ห้องไหนเพราะเราเลือกมาแล้ว เวลาอยากได้อะไร ก็สั่งผ่านลำโพงอัจฉริยะแล้วจะมีหุ่นยนมาส่งของให้ที่ห้อง
ลำโพงอัจฉริยะ และหน้าจออัจฉริยะต่างๆที่อยู่ในห้องยังสร้างรายได้ให้กับโรงแรมอีกทาง ผ่านการโฆษณาร้านอาหารแนะนำ ร้านนวด หรือแม้แต่การเรียกแท็กซี่
วัน Check out ก็กลับไปที่ Lobby แสกนหน้าก็เสร็จ
ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดนั้น เราแทบไม่เจอพนักงานเลย
9. รับซื้ออุปกรณ์อิเล็กโทรนิคมือสอง
วงจรการพัฒนาสินค้าอิเล็กโทรนิคในจีนนั้นรวดเร็วและรุนแรงมาก ตลาดการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าอิเล็กโทรนิคมือสองของจีนจึงใหญ่มาก แต่ส่วนใหญ่เป็น platform แบบ market place คือเป็น C2C ให้ลูกค้าประกาศซื้อขายกันเอง
ร้าน Aihuishou เป็น platform B2C ซึ่งเป็นบริษัทรับซื้ออุปกรณ์อิเล็กโทรนิครายใหญ่ในจีน ในปี 2018 มียอด transaction ประมาณ 30,000 ล้านบาท และตั้งเป้าเป็น 90,000 ล้านบาทในปี 2019
ผู้บริโภคสามารถนำอุปกรณ์มาขายที่หน้าร้านหรือขาย online ก็ได้ ซึ่งยอด Transaction ของบริษัทคิดเป็น online 40% และ offline 60%
วิธีการขายของมือสอง online ถ้าเราอยากขายอะไร ไม่ว่าจะมือถือ กล้อง อุปกรณ์ IOT ต่างๆ ก็เปิดแอปของ Aihuishou แล้วตอบคำถามประเมิน 11 ข้อ แอปจะประเมินราคารับซื้อให้เรา ถ้าเราตกลง ก็กดขายทันที เงินจะเข้า Alipay ตอนนั้นเลย (เฉพาะรายที่มี Saseme Credit ที่ดี) แล้วบริษัทจะส่งพนักงานมารับของในตอนหลัง
ซึ่งถ้าเราโกง การจะดึงเครดิตกลับมาจะยาก ทำให้การใช้ sharing platform อื่นๆ ที่ต้องใช้ credit ยากขึ้นเพราะต้องวางประกัน และใช้บริการนี้ยากขึ้นด้วย
Aihuishou ก่อตั้งในปี 2011 โดยเริ่มจากเน้นซื้อขายโทรศัพท์มือสอง
เดิมการขายมือถือแต่ละเครื่องนั้นทำได้ยาก เพราะเราก็ไม่ชัวว่าจะโดนร้านกดราคาเยอะไหม ต้องตระเวณไปถามราคารับซื้อแต่ละร้าน แล้วยังต้องกลัวว่าจะโดนล้วงข้อมูลในมือถือด้วยหรือไม่ และด้วยความที่ราคามันก็ไม่ได้สูงมาก ถ้าขายได้ราคาไม่ดี หลายๆคนจึงเลือกเก็บมือถือเครื่องเก่าไว้เป็นเครื่องสำรอง หรือเอาไว้ทับกระดาษ
Aihuishou เห็นปัญหานี้ โดยใช้ระบบดึงข้อมูลรับซื้อจากหลายๆร้าน ทำให้เกิดราคารับซื้อกลางของมือถือแต่ละรุ่น ลูกค้ามั่นใจว่าได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น
แต่ยอด Transaction ก็ยังน้อย จึงเพิ่มอุปกรณ์อื่นๆด้วย และจับมือกับร้านค้าทั้ง online และ offline ที่ให้ลูกค้าเลือกเทินเครื่องเก่าได้ทันทีที่ซื้อเครื่องใหม่ ทำให้คนตัดสินใจขายเครื่องเก่าง่ายขึ้น
ปัจจุบัน Aihuishou (มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ JD) ได้ควบกิจการกับ Paipai (บริษัทขายของมือสอง online เน้นหนังสือ เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอมือสอง) ทำให้มูลค่าเพิ่มสูงขึ้น กลายเป็นผู้เล่นเจ้าใหญ่ในตลาด คู่แข่งสำคัญคือ Xianyu ของ Alibaba และ ZhuanZhuan ของ 58.com
นอกจากการนำมือถือไปขายต่อ ยังมีตลาดรีไซเคิลมือถือที่เอาซากเครื่องไปสกัดโลหะมีค่าต่างๆ ซึ่งก็น่าสนใจ
ปัจจุบันการรีไซเคิลมือถือมีเพียงแค่ 1%
การมาของเทคโนโลยี 5 G จะทำให้มีโทรศัพท์ตกรุ่นถึง 500 ล้านเครื่องภายในปี 2020
ตลาดรีไซเคิลมือถือจึงมีศักยภาพในการเติบโตอีกมา