รีวิวหนังสือ: The Happiness ความสุขปัจจุบันสุทธิ

The Happiness ความสุขปัจจุบันสุทธิ
ผู้เขียน : ศ.ดร. นภดล ร่มโพธิ์
สำนักพิมพ์ : NP Intelligence
จำนวนหน้า : 216 หน้า
Genre : Productivity
ISBN : 9786169303848
พิมพ์ครั้งแรก : Dec 2019

The Happiness ความสุขปัจจุบันสุทธิ

7.5

เนื้อหา

7.0/10

การนำเสนอ

8.0/10

Pros

  • สำนวนภาษาอ่านง่าย ลื่นไหล อ่านสนุก
  • เป็นการรวบรวมแนวคิดที่มีประโยชน์ต่างๆ เน้นไปด้านหลักการบริหารจัดการพัฒนาตัวเอง จากทั้งหนังสือดังๆ และประสบการณ์แนวคิดของผู้เขียนเอง

Cons

  • หลายๆประเด็นในเล่มมีแก่นเนื้อหาที่ซ้ำๆกัน ต่างกันที่วิธีเล่าเรื่อง
  • หนังสือไม่ได้พูดถึงเรื่องความสุขเป็นประเด็นหลัก ชื่อปกอาจทำให้เข้าใจผิด

Key Messages

  • Mindset : อดทนในสิ่งที่ต้องอดทน, ฝึกตนให้มี Growth Mindset, อย่ากลัวความล้มเหลว
  • Productivity: เปลี่ยนสิ่งยากๆ ให้เป็นนิสัย , การทำอะไรดีขึ้นเล็กน้อยแต่สม่ำเสมอ จะนำสู่ผลที่ยิ่งใหญ่, 2/3 ของโชค คือสิ่งที่ต้องสร้าง
  • Family : ควรระวังคำชมลูกที่เน้นไปที่ผลลัพธ์, เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก อย่าเป็นประเภท “จงทำตามที่พ่อแม่สอน แต่อย่าทำตามที่พ่อแม่ทำ”, คำว่ารัก สะกดว่า เ-ว-ล-า
  • Life Lesson: เวลามันย้อนกลับไม่ได้, สิ่งเล็กๆ ที่ทำทุกวันจะส่งผลสำคัญในอนาคต, อย่าลังเลที่จะทำอะไรใหม่ๆที่ไม่เคยทำ หากมันตอบโจทย์ชีวิต

The Introductory Guide on How to Boost your Productivity 101

หนังสือ The Happiness ความสุขปัจจุบันสุทธิ เป็นหนังสือที่รวมรวบบทความต่างๆ ของ ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์ อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจ้าของ Page Nopadol’s Story  และมีผลงานต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Podcast ติดอันดับ ผลงานหนังสือติดอันดับ Best seller มากมาย

ผลงานมากมายเช่นนี้ แสดงว่าอ.นภดลคือบุคคล Productive ตัวอย่างจริงๆครับ เราจึงมั่นใจในเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ได้ เพราะถ่ายทอดมาจากบุคคลต้นแบบที่ Productive ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีผลงานที่จับต้องได้จริงๆ

ซึ่งในเล่มนี้อาจารย์ก็จะมีเคล็ดลับด้านการบริหารจัดการเวลา การวางแผนชีวิตต่างๆ มาแนะนำด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้ปกหนังสือเล่มนี้จะชื่อว่า The Happiness แต่เนื้อหาในเล่มนั้นส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการปรับเปลี่ยน Mindset หรือเทคนิคด้าน Productivity เสียมากกว่า เนื้อหาในแต่ละบทจะไม่ค่อยต่อเนื่องกัน เป็นบทความโดดๆไป แต่จะพบว่า “แก่น” วิธีคิดนั้น แทบจะไม่แตกต่างกันมาก

มีหลายๆบทที่เป็นการเอาหนังสือดังๆ ที่อ.นภดลอ่านแล้วมาถ่ายทอดอีกที อันนี้ชอบมาก เพราะเหมือนได้เรียนรู้แก่นสำคัญของหนังสือ ได้รู้จักนักเขียนดีๆหลายท่าน ได้ List หนังสือน่าอ่านมากมายครับ

แม้บทความจะไม่ได้ต่อเนื่องกันนัก แต่ก็เป็นหนังสือที่อ่านได้ลื่นไหล อ่านได้เพลินเรื่อยๆ อันนี้ต้องบอกว่าเป็นความสุดยอดของอ.นภดล ที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวได้อย่างดีเยี่ยมจริงๆ 

อย่างไรก็ตาม Concept ที่ผมคิดว่าเข้าใจยากที่สุดในเล่ม ก็คือเรื่อง ความสุขปัจจุบันสุทธิ (Net Present Happiness) นี่แหละครับ 

ความสุขปัจจุบันสุทธิ (Net Present Happiness) คืออะไร ?

ความสุขปัจจุบันสุทธิ (Net Present Happiness) เป็นคำที่อาจารย์นภดล ปรับมาจากคำที่เรียกว่า “มูลค่าปัจจุบันสุทธิ ” (net present value) ซึ่งเป็นคำในวิชาการเงิน

Net Present Value เป็น Concept ที่ใช้หาว่าการลงทุนนั้นๆ จะสร้างกำไรหรือทำให้เราขาดทุน โดยใช้หลักว่าเราต้องเสียเงินลงทุนเท่าไหร่(กระแสเงินสดไหลออก) และจะได้กระแสเงินสดเข้ามาเท่าใด (NPV = difference between the present value of cash inflows and the present value of cash outflows over a period of time)

ซึ่งจะเอากระแสเงินสดต่างๆมาบวกลบโดยตรงไม่ได้ ต้องมีการ “คิดลด (Discount Rate)” กระแสเงินสดในอนาคต เพราะเงินมี  Time Value of Money หรือ มูลค่าของเงินตามเวลา 

เงิน 1000 บาทใน 5 ปีข้างหน้า ไม่เท่ากับ เงิน 100o บาทในวันนี้ เช่น ถ้าเราเอาเงิน 1000 ไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทนปีละ 5%  เงินเราจะกลายเป็น 1280 บาท ใน 5 ปีข้างหน้า กลับกัน เงิน 1000 บาทใน 5 ปีข้างหน้า ก็จะมีค่าเพียง 780 บาท ในปัจจุบัน

ในทำนองเดียวกัน อ.นภดลกล่าวว่า ความสุขในอนาคต ก็มีอัตราคิดลด เช่นกัน

ปัญหาคือ อัตราคิดลดนั้น ไม่ได้เป็น % น้อยๆ เช่นอัตราเงินเฟ้อ หรือ ดอกเบี้ยเงินฝาก

แต่เป็นอัตราคิดลด “ตามใจอยาก” เป็นอัตราคิดลดจำนวนมาก ที่เราแต่งเติมขึ้นมาเอง

เช่น สมมติให้ความสุขจากการมีหุ่นดีใน 3 ปีข้างหน้า จากการออกกำลังกายสม่ำเสมอ เป็นความสุข 150 แต้ม เมื่อคิดลดมาเป็นความสุขในปัจจุบัน มันก็จะน้อยกว่า 150 แต้ม สมมติให้เป็น 70 แต้ม 

ทีนี้ การออกกำลังกายในปัจจุบัน ทำให้เราเหนื่อยและเบื่อ เป็นความสุขติดลบ 100 แต้ม

คิดเป็น “ความสุขปัจจุบันสุทธิ”  ก็เท่ากับ -100 + 70 (150 แต้มที่คิดลดมาปัจจุบัน) = -30

ผลรวมความสุขในปัจจุบันจึงเป็นลบ แปลว่าการมีหุ่นดีในอนาคต ไม่สามารถเอาชนะความทุกข์จากการออกกำลังกายได้ 

ผลคือ เราก็เลยไม่อยากออกกำลังกาย เพราะเราคิดคำนวณแล้ว เราไม่มีความสุข (ในปัจจุบัน) แม้อนาคตจะมีข้อดี ก็เอาชนะความทุกข์ ณ ตอนนี้ ไม่ได้

วิธีแก้ จึงเป็นการเปลี่ยนที่ 3 ตัวแปร เพื่อให้ได้ ความสุขปัจจุบันสุทธิที่เป็นบวก เช่น 

  1. ลดความทุกในปัจจุบันลง ทำความสุขติดลบที่จะเกิดขึ้นในปัจจุบันมันติดลบน้อยที่สุด เช่น กว่าจะไปวิ่งได้มันยุ่งยากมากๆ เราก็หาวิธีทำให้มันยุ่งยากน้อยที่สุด
  2. เพิ่มแต้มความสุขในอนาคต เช่น ให้คิดว่าการออกกำลังมันไม่ได้มีแค่หุ่นดี แต่เราจะได้สุขภาพดี มีเวลาอยู่กับคนที่เรารักมากขึ้น
  3. คิดถึงความสุขในอนาคตที่มีระยะสั้น เช่น ถ้าเรามองความสุขจะเกิดขึ้นเมื่อเราสำเร็จในอีก 10 ปีข้างหน้า มันอาจจะนานไป และทำให้เรามองภาพไม่ออก ลองแบ่งเป้าหมายออกมาเป็นเป้าหมายที่สั้น ๆ เมื่อเราสำเร็จก็จะมีความสุขมากขึ้น

Opinion

ดังที่ได้กล่าวไปครับ ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือรวบรวมบทความต่างๆของอ.นภดล ซึ่งเอาจริงๆแล้วผมคิดว่าปกหนังสือ “ความสุขปัจจุบันสุทธิ”แอบ Mislead ไปหน่อย เพราะชวนให้คิดถึงว่าหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการหาความสุขในชีวิต ซึ่งไม่ใช่ เพราะโดยส่วนตัวผมคิดว่าเนื้อหาในเล่มจะเน้นหนักไปทางบทความด้านการเปลี่ยน Mindset เพื่อเพิ่ม Productivity เพิ่ม Work-Life Balance มากกว่า

และการมีชีวิตที่มี Productivity ที่ดี น่าจะเป็นคนละเรื่องกันกับความสุข

ซึ่งมันคงไม่ได้เกี่ยวข้องกับการ “ฝึกจิตตนให้มีความสุข” มากเสียทีเดียว 

และผมก็รู้สึกว่าหลายๆบทความในเล่มนั้น มีแก่นที่คล้ายๆกันครับ (สรุปไว้ใน Key messages ) ดังนั้นแล้วมันก็เหมือนมีบทความซ้ำๆกันเยอะในเล่ม แต่ด้วยฝีมือการเล่าเรื่องระดับเทพของอาจารย์ จึงทำให้การอ่านไหลลื่นดี ไม่ได้รู้สึกว่ากำลังอ่านเรื่องซ้ำๆกันแต่อย่างใดครับ

โดยรวมๆแล้วเป็นหนังสือที่แนะนำครับ อ่านเล่มนี้แล้วเหมือนมีอ.เทพๆท่านหนึ่งมารีวิวหนังสือดีๆอ่านยากๆให้ฟัง มาถ่ายทอด Wisdom ต่างๆที่ท่านได้ตกผลึกมาให้อ่าน ทำให้ได้เกร็ดความรู้ดีๆต่างๆมาประดับสมองมากเลยครับ

สรุปหนังสือ

Note: ผมลองจัดกรุ๊ปบทความต่างๆ ได้ออกมาเป็นหัวข้อใหญ่ๆ 4 เรื่องนะครับ

Mindset

  1. อดทนในสิ่งที่อดทน : ความอดทนเป็นสิ่งที่ดี แต่มันเป็นทรัพยากรจำกัด เราจึงต้องเลือกใช้ให้ถูกวิธี อย่าใช้พร่ำเพรื่อ
    • จะอดทนมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับว่าสิ่งนั้นตอบเป้าหมายชีวิตเราหรือไม่ เช่น ในเรื่องการงาน ถ้างานนั้นเป็นงานที่เราอยากไปให้ถึง อยากทำให้ได้ เป็นงานที่ตอบเป้าหมายชีวิตเรา เราก็ต้องอดทนกับมันมากๆ ในทางกลับกัน ถ้างานนั้นไม่ได้ตอบเป้าหมายอะไรเราเลย ก็ไม่ต้องไปทนกับมัน แต่ไม่ใช่หุนหันพลันแล่น ต้องมีการวางแผน
  2. สิ่งที่ควรรู้ก่อนจะออกจาก Comfort Zone : มีคนมากมายที่ได้ออกนอกComfort zone แต่ไม่สำเร็จ อ.นภดลให้ข้อคิดว่าจะออกจากมันมั้ย ให้ตอบคำถามตัวเองก่อนคือ
    • จะออกไปทำไม? : สิ่งใหม่ๆที่เราจะออกไปทำ มันเป็นสิ่งที่เราต้องการจริงหรือไม่ ตอบโจทย์เราหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ ก็ไม่มีอะไรจำเป็นที่จะออกมา
    • เราพร้อมแต่ไหน : ไม่ใช่ในฐานะเป็นข้ออ้างในการไม่กล้าทำสิ่งใหม่ๆ แต่ก็ต้องดูสภาพจริงประกอบด้วย ถ้ายังชักหน้าไม่ถึงหลัง หรือไม่รู้อะไรเลย ก็ต้องมีการวางแผนค่อยๆเป็นค่อยๆไป ไม่ใช่หุนหันพลันแล่นออกมาเลย
    • ออกมาแล้วจะเสียอะไรบ้าง : เช่น ถ้าทำงานประจำ ออกมาทำธุรกิจเอง ก็เสียเพื่อนร่วมงาน เสียสวัดิการ เสียรายได้มั่นคง เสียโอกาสก้าวหน้าหากออกมาทำธุรกิจแล้วไม่ work
  3. ยิ่งแย่ยิ่งดี (AntiFragile)
    • Fragile ในแง่นี้ หมายถึงความเสี่ยงที่เราจะเจอได้ และอาจนำไปสู่ความล้มเหลว เช่น เปิดร้านกาแฟ จุดเปราะบางจะเกิดขึ้นเมื่อเราชงไม่อร่อย ลูกค้าไม่เข้า ร้านเจ๊ง
    • คนส่วนใหญ่ก็จะทำสิ่งที่ตรงกันข้ามกับ Fragile คือ Robust (ทนทาน) คือ ทำอะไรก๋ได้ที่ทำให้ข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นนั้น ส่งผลเสียกับเราน้อยที่สุด เช่น ถ้ากาแฟไม่อร่อย เราก็ต้องฝึกชงเยอะๆ
    • แต่หนังสือ Antifragile ของ Nassim Nicholas Taleb เสนอว่า คำตรงข้ามกับ Fragile คือ Antifragile ยิ่งพลาด ยิ่งดี
    • เช่น การที่ดารามักมีช่าวซุบซิบเสียๆหายๆ ซึ่งไม่น่าจะดี แต่ดาราพวกนั้นกลับได้พื้นที่สื่อมาก ได้ความสนใจมาก และหลายๆครั้งก็ได้งานมาก เพียงแต่อย่าให้มากจนถึงผิดกฏหมาย หรือผิดศีลธรรมรุนแรงจนงานหายหมด
    • ข้อคิดคือ ความล้มเหลวนั่นนอกจากจะช่วยสอนเราแล้ว บางครั้งมันดีกับเราเสียด้วย เป็นความล้มเลหวที่เข้าช่าย anti-fragile นั้นเอว
  4. ยิ่งคิดว่ารู้มาก ยิ่งอาจจะรู้น้อย
    • สิ่งที่เราไม่รู้ ย่อมมีมากกว่าสิ่งที่เรารู้อยู่แล้ว เพราะองค์ความรู้มันกว้างใหญ่ไพศาล
    • แต่ผลคือ คนไม่เก่งกลับมั่นใจว่าตัวเองเก่งมาก ขณะที่คนเก่งมากกลับคิดว่าตัวเองไม่เก่ง ตาม Dunning-Kruger effect
    • ดังนั้น เมื่อไหร่ที่เราคิดว่าเรารู้มากเก่งมาก จะต้องระวัง ไม่ว่าเราจะเป็นคนเก่งหรือไม่ เพราะหมายความว่าเรากำลังจะหยุดเรียนรู้ และหยุดพัฒนาตัวเอง
  5. Ego = 1/knowledge
    • คนที่ Ego สูงๆ มักหยุดพัฒนาตัวเอง ตาม Dunning Kruger effect
    • Ego มาจาก ตำแหน่งหน้าที่การงาน ฐานะความมั่งคั่ง ลักษณะอาชีพ เราอาจพัฒนา Ego โดยไม่รู้ตัว ต้องเตือนตัวเองเรื่อยๆ
  6. “ได้ ถ้า” กับ “ไม่ได้ เพราะ”
    • Growth Mindset : กรอบความคิดที่เราเปลี่ยนแปลงได้ เราดีขึ้น ไม่ได้มีการกำหนดมาแต่ต้น
    • Fixed mindset : กรอบความคิดที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไม่ได้ และจะเป็นเช่นนั้นไปตลอด เป็นกรอบความคิดที่ถ่วงการพัฒนา
    • เช่น ถ้าสอบได้คะแนนไม่ดี คนที่มี Growth Mindset จะคิดว่า เราจะทำได้ดีขึ้น ถ้า…. แต่คนที่ Fixed Mindset จะคิดว่า เราทำให้ดีขึ้นไม่ได้ เพราะ…..
    • ดังนั้น ถ้าเราเริ่มคิกว่าทำไม่ได้ เพราะ…. บ่อยๆเมื่อไหร่ ให้รีบเปลี่ยนเป็น จะทำได้ ถ้า…. เพื่อให้พัมฯตัวเองได้ดีขึ้น
  7. ไม่มีเวลา แปลว่า ไม่สำคัญ
    • เราไม่เคยยุ่งจนไม่มีเวลากินข้าว ดังนั้นคำว่า ไม่มีเวลา ที่ชอบๆใช้กันนั้น มันหมายความว่า ไม่สำคัญ มากกว่า เช่น ไม่มีเวลาออกกำลังกาย แต่ dinner ได้หลายชั่วโมง
    • วิธีแก้จึงต้องมีการจัดลำดับความสำคัญงานต่างๆ หรืออาจจะกำหนด deadline
    • หรือ ทุกครั้งที่เราใช้คำว่า ไม่มีเวลา ให้เปลี่ยนเป็น สิ่งนั้นมันไม่สำคัญ เช่น ไม่มีเวลาออกกำลังกาย = ออกกำลังกายไม่สำคัญ จะช่วยเตื่อนสติเราได้ดี
  8. ยิ่งล้มเหลว ยิ่งสำเร็จ
    • คนที่เกิดมามีพรสวรรค์ เหมือนเขามีจุดstart ที่เหนือกว่าคนอื่น ถ้าเราไม่มีพรสวรรเท่าเขา เราก็แค่ start จุดต่ำกว่าเขา แต่เราสามารถสร้างพรแวง จากการฝึกฝนเรื่อยๆ ทำให้มากกว่าคนอื่น
    • หาอัตราความสำเร็จของเราให้ได้ เช่น เขียนบทความ 10 บท มีคนอ่านมากๆ 1 บท ถ้าเราอยยากได้บทความที่มีคนอ่านมากๆ10 บท เราก็แค่เขียน 100 บทความ ยิ่งทำซำๆ เราจะเก่งขึ้น อัตราความสำเร็ก็จะไม่ใช่อยู่ที่ 10:1 ต่อไป คิดแบบนี้ บทความที่ไม่ค่อยมีคนอ่าน แม้จะล้มเหลว แต่มันก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งฝนความสำเร็จของเรา
    • อยากสำเร็จมากๆ ต้องล้มเหลวเยอะๆ ตามความน่าจะเป็น (แต่ล้มเหลวแล้วต้องเรียนรู้)
  9. เวลากับเงิน อะไรสำคัญกว่ากัน
    • สำคัญทั่งคู่ ต้องพยายาม Balance แต่เรามักบอกว่าเงิน หรือ เวลา สำคัญกว่า ขึ้นกับว่าคนๆนั้นขาดอะไร ก็จะบอกว่ามันสำคัญกว่า
    • สิ่งที่ดีที่สุด จึงเป็นการได้ทั้งเวลาและเงินไปพร้อมๆกัน
  10. คิดให้มากกว่า ทำไม
    • การเรียนมีหลายระดับ เริ่มจาก What เป็นระดับแรก ระดับสองคือ How ส่วนระดับที่สามคือ Why คือเราต้องรู่ว่าเรียนสิ่งนั้นไปทำไม เอาไปใช้ได้อย่างไร ถ้าขาดข้อ Why นี้ การเรียนรู้เราจะเป็นแค่การท่องจำ ขาดทักษะการ application
    • ยิ่งสมัยนี้ What กับ how หาง่ายมากๆ ตาม google youtube เราจึงต้องพัฒนา why ให้มาก
    • แต่เหนือกว่า why ยังมีขั้นสี่ คือ why not มันเป็นที่มาของ idea เปลี่ยนโลก เช่น Uber , AirBnB (ทำไมไม่เอาบ้านส่วนตัวมาทำเป็นโรงแรม)
  11. ไม่มีอะไร ที่เราทำไม่ได้
    • สำหรับคนที่ประสบความสำเร็จแล้ว ไม่มีคำว่าล้มเหลวในพจนานุกรม มีแต่ ถ้าทำไม่ได้ นั่นเรียกว่า การเรียนรู้
    • ดังนั้น ถ้าเรารู้สึกว่าทำไม่ได้ ทำไม่สำเร็จ ให้ถามตัวเองเสมอ ว่าเราได้เรียนรู้อะไรจากสิ่งที่เกิดขึ้นนี้
    • สำคัญสุดคือ อย่าหยุดเรียนรู้
  12. Slowlife ใครว่าดี
    • Active Life หรือ Slow life ไม่สำคัญ สำคัญที่ว่างานที่เราทำนั้น เรามี passion กับมันหรือไม่ ถ้าเรารักมันจริงๆ ถึงจะ active life สุดๆ เราก็มีความสุขกับมันอยู่ดี ไม่เห็นจะต้องไป slow life อะไร
  1.  

 

Productivity Tip

  1. 1% ที่ดีขึ้น : การเริ่มทำสิ่งใหม่ๆก็ว่ายากแล้ว แต่การทำสิ่งนั้นต่อเนื่อง ยากกว่า เพราะหลายๆอย่างมันใช้เวลากว่าจะเห็นผล พอเห็นผลช้า ก็มักจะล้มเลิกไปง่ายๆ
    • แต่การที่เห็นผลช้าๆ ถ้าเราทำต่อเนื่องไปนานๆ ก็จะได้ผลมหาศาล เช่น ถ้าเรามีความสามารถ/เงิน/อื่นๆ 100 แต้ม แต่ถ้าเราดีวันละแค่ 1% เมื่อจบปี เราจะมีคะแนนเพิ่มเป็น 100 x (0.01^365)  = 3778.3 -> ดีขึ้น 38 เท่าในปีเดียว
    • เราอาจไม่สามารถทำอะไรให้ดีขึ้น 1% ทุกๆวัน แต่ก็ต้องทำไปเรื่อยๆ อย่าหยุดทำ ในระยะยาวผลลัพจะเกิดขึ้นเอง
  2. 6 วิธีสร้างโชคดีให้ตัวเอง
    • จากหนังสือ How Luck Happens บอกว่าโชค ไม่ใช่เหตุบังเอิญ purely แต่มัน เกิดจาก 3 องค์ประกอบหลักคือ
      1. ความสามารถ
      2. การทำงานหนัก และ
      3. เหตุบังเอิญ
    • ดังนั้นมี 2/3 ที่เราคุมได้ โชค จึงเป็นสิ่งที่เราจัดการได้ ควบคุมได้ ด้วยวิธีคือ
    • เอาตัวไปอยู่ในที่ที่โชคอยู่ เช่น คนที่อยากเป็นดาราในอเมิรกามักย้ายไปตั้งถื่นฐานใน Hollywood เพราะมีโอกาสได้เจอผู้กำกับ เจอแมวมอง
    • รัจักคนให้เยอะขึ้น คนส่วนใหญ่ได้งานทำผ่านคนรู้จักห่างๆของเพื่อนสนิทอีกที พยายามรู้จักคนให้มากขึ้น หลากหลายวงการ
    • กล้าที่จะทำอะไรที่แตกต่างจากคนอื่น เพราะคนส่วนใหญ่ไม่มีโชค
    • มีใจรักในสิ่งที่ทำและไม่ล้มเลิก เช่น นักเขียนบทความอาจได้ออกหนังสือ เนื่องจากมีสำนักพิมพ์มาเห็นบทความของเขาและชอบมากๆ แต่บทความนั้นอาจเป็น 1 ใน พันบทความที่เขาเขียนมาแล้ว มันจึงไม่ได้รียกว่าเหตุบังเอิญเพียวๆ
    • ทำอะไรหลายๆอย่าง
    • เตรียมตัวหลายสำหรับโชค เช่น สมมติถ้าเราอยากเป็นดารา แต่เราไม่มีความพร้อมอะไรเลย ถ้ามีคนรู้จักมาติดต่อให้เรารับบทใหญ่ๆเลย เราจะพร้อมไหม? หรือกรณีของสามล้อถูกหวย
  1. มาสร้างเป้าหมายระยะยาวในชีวิตกัน
    • เวลากำหนดเป้าหมายระยายาวชีวิต ถ้าตั้งเป้าแบบกว้างๆ เช่น รวย สุขภาพดี อาจทำได้ยาก ให้ลองตั้งเป้าระยะยาวแบบมีเป้าระยะสั้นสมสมไปเรื่อยๆ (Quest) จะทำให้เราม่เป้าที่ชัดเจนมากขึ้น เช่น ตั้งเป้าเขียนหนังสือ 100 เล่ม ก็มีป้าหมายย่อยๆเป็นปีละ 10 เล่ม แบบนี้จะได้ผลชัดยิ่งขึ้น
  2. วิธีทำสิ่งยากๆให้สำเร็จ
    • จากหนังสือ mini habits อะไรที่เรารู้สึกว่ายาก แสดงว่ามันยังไม่ใช่นิสัยเรา ถ้ามันเป็นนิสัย มันจะไม่ยาก เพราะเราจะทำแบบอัตโนมัต
    • เทคนิคคือให้ตั้งเป้าหมายให้เล็กที่สุด เช่ย เป้าหมยวิ่ง 1 ชม ให้เราเริ่มงานวิ่ง 1 นาที จะทำให้ลดแรงเสียดทานเวลาเราคิดจะทำอะไรใหม่ๆ เมื่อเราได้ทำแล้วก็ค่อยๆเพิ่มเป้ามากขึ้น มันจะทให้เรารู้สึกว่าเราทำได้ สร้างแรงจูงใจ และกลายเป็นนิสัยไปแล้ว
  3. ทำอย่างไร ไม่ให้เราล้มเลิก
    • ให้เปลี่ยนสิ่งนั้นๆให้เป็นนิสัย เราจะมีแรงเสียดทานลดลง และทำมันง่ายขึ้น เช่น การลดน้ำหนัก แทนที่จะตั้งเป้าแล้วโหมทำเยอะๆแต่แรก ให้เราฝึกมันให้เป็นนิสัย ค่อยๆวิ่งน้อยๆ ลดอาหารลงทีละน้อยๆ
    • พอมันเป็นนิสัย เราก็จะทำมันอย่างอัตโนมัติ ไม่เหนื่อย ไม่รู้สึกว่ามันยาก และจะสำเร็จ
  4. มาผัดวันประกันพรุ่งกันเถอะ
    • การผัดวันประกันพรุ่ง ก็มีประโยชน์ เช่น เวลาจะซื้อของ เจอของที่อยากได้มาก อยากซื้อขึ้นมาทันที ให้ลองผัดวันไปก่อน ให้คิดว่าเอาไว้ก่อนละกัน เด๋วค่อยมาซื้อ ซึ่งผลคือ ส่วนใหญ่แล้ว เราจะไม่กลับมาซื้อ นั่นเพราะมันไม่จำเป็นกับเราจริงๆ
  5. ปรากฏการณ์ Domino
    • ในหนังสือ The One Thing ได้อธิบายปรากฏการ Domino ไว้ว่า การเล่น Domino นั้นเปรียบเหมือนเมื่อเราทำความสำเร็จเล็กๆได้ มันจะก่อให้เกิดความสำเร็จที่ใหญ่ขึ้นมา ต่อยอด ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
    • ดังนั้น เวลาเราจะเลือกทำอะไร เราต้อง Focus กับความสำเร็จเล็กๆก่อน ถ้าเราไปเริ่มที่ความสำเร็จใหญ่มากๆ ใช้เวลานานๆ เรามักจะล้มเลิกไปก่อน
    • อย่างไรก็ตาม ต้องมันใจว่า ความสำเร็จเล็กที่ว่านั้น เราต้องมั่นใจว่ามันเป็น Domino ที่ถูกอัน ต้องรู้ว่ามันจะทำให้เกิดความสำเร็จที่เราต้องการตามมาหรือไม่
    • เช่น อ.นภดลชอบเขียนบทความ ก็ไปลงคอร์สเรียนการเขียน เรียนจบแล้วก็มาทำ page เขียนไปเรื่อยๆ จนเขียนหนังสือ best seller ออกมา มีชื่อเสียงมากขึ้น connection กว้างขวางขึ้น
  1.  
  1.  
 

Family Life

  1. เก่งมากลูก คำชมที่ควรระวัง
    • คำชมแนวๆที่ว่า เก่งมากลูกที่ได้คะแนนดีๆ เป็นคำชมที่แผงอันตราย เพราะเป็นคำชมที่ผลลลัพ ไม่ใช้ความพยายาม ถ้าครั้งหน้าเขาสอบไม่ได้คะแนนดี ก็แสดงว่าเขาไม่เก่ง ผลลัพคือ เด็กจะกลัวความล้มเหลว ถ้าเป็นหนัก จะพยายามหลีกเลี่ยงงานยากๆ เพราะกลัวว่าจะทำไม่ได้ และตัวเองจะหยุดพัฒนาความสามารถของตัวเอง
    • กรอบความคิดเช่นนี้ เรียกว่า Fixed Mindset
    • ในขณะที่ Growth Mindset นั้นจะ focus ไปที่ความพยายาม ไม่ใช่ผลลัพ และเขาเหล่านั้นมักจะมีการพัฒนาตัวเองตลอด ไม่กลัวความล้มเหลว เปรียบเหมือนนักกัฬาอาชีพที่ได้แชมมมามากมาย ก็ยังกล้าลงแข่งโปรแกรมใหญ่ๆเรื่อยๆ ไม่กลัวแพ้ ทำให้เขาได้ลทเรียนมาพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง
    • ล้มเหลวไม่เป็นไร ขอให้ได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเอง
  2. 10 เทคนิคการเลี้ยงลูกให้ประสบความสำเร็จ
    • เวลาคุยกับลูก อย่าใช้อารมณ์เป็นหลัก
    • ฟังให้เยอะ ไม่ต้องสอนทันที บางครั้งเขาแค่อยากระบายความในใจเฉยๆ ไม่ได้ขอคำแนะนำอะไร
    • ลดการซื้อของ แต่ไปเพิ่มการซื้อประสบการณ์กับลูกดีกว่า เช่น เอาเงินซื้อของเล่น ไปเป็นค่าเที่ยว ของเล่นทำให้ลูกดีใจไม่นาน ประสบการณ์การเที่ยวแม้จับต้องไม่ได้แต่จะอยู่ในใจได้นานกว่า
    • เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก อย่าเป็นประเภท “จงทำตามที่พ่อแม่สอน แต่อย่าทำตามที่พ่อแม่ทำ”
    • คำว่ารัก สะกดว่า เ-ว-ล-า
    • เปิดโอกาสให้ลูก ทำให้สิ่งที่ตัวเองรักให้มากที่สุด
    • อย่าคิดว่าลูกไม่รู้เรื่อง หรือ คิดว่าเขาผิดเสมอ
    • ควรมีความสม่ำเสมอในทุกๆเรื่องๆ
    • สร้างวินัยและความรับผิดชอบให้ลูก
    • กอดและบอกรักลูกทุกวัน
  3. อยากเป็นคนถูก หรือ อยากมีความสุข
    • หลายๆครั้งที่ทะเลาะกัน มักเกิดจากเรื่องไม่เป็นเรื่อง เหตุผลเพราะเราอยากพิสูจน์ว่าเราเป็นคนถูก
    • คำถามคือ แม้จะเถียงชนะจริง มีหลักฐานชัดเจนว่าเราถูกจริงๆ แล้วจะได้อะไรขึ้นมา ได้ความสะใจ แต่เสียมิตรภาพ มันคุ้มไหม
    • ก่อนจะเถียง ให้ลองคิดว่า อยากเป็นถูก หรือ อยากมีความสุข ถ้าเราเลือกความสุข ก็ไม่ต้องเถียง ยอมๆหรือปล่อยๆไป ไม่ต้องพิสูจให้ได้ว่าใครผิดหรือถูก แต่ไม่ได้แปลว่าต้องยอมทุกเรื่อง ขึ้นกับเราพิจารณาว่าการพิสูจความถูกต้องเรื่องนั้นๆมันคุ้มไหม ที่จะเอาความสงบสุขไปแลกมา ซึ่งการทะเลาะเบาะแว้งหลายๆครั้ง มักเป็นเรื่องไม่เป็นเรื่อง ถ้ามันเป็นเรื่องใหญ่ สำคัญ คุ้มที่จะแลก ก็ทำ
  1.  

Quest for happiness and Life lesson

  1. ตามหา Ikigai ในเย็นวันศุกร์
    • Ikigai คือพื่นที่ทับซ้อนของ 4 เรื่อง คือ สิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเก่ง สิ่งที่โลกต้องการ สิ่งที่สร้างเงินให้เราได้ ถ้าเราเจอสิ่งนี้ เราเจอ Ikigai ของเราแล้ว
    • ถ้าเย็นวันศุกร์เราร่าเริงสุดๆ แต่เย็นวันอาทิตย์กลับเหงาหงอยเศร้าสร้อย ก็แสดงว่าเราอาจยังไม่เจอมัน
    • ถ้ามันยังไม่ได้เป็นสิ่งที่ทับซ้อนทั้งสี่วง ก็ต้องพัฒนาไปตามนั้น
  2. 7 ข้อคิดสำหรับคนที่อายุขึ้นต้นด้วยเลข 3
    • สนใจสุขภาพตัวเอง เพราะเป็นช่วงที่ภาระการงาน ครอบครัวมากขึ้น มักลดการออกกำลังกาย มักกินเต็มที่ และละเลยสุขภาพกัน
    • ให้เวลากับพ่อแม่มากขึ้นกว่านี้ เช่น ถ้าอยากพาพ่อแม่ไปต่างประเทศ ก็รีบๆพาไป อย่ามัวแต่เก็บเงิน เพราะถึงตอนนั้นสุขภาพท่านอาจไม่เอื้ออำนวยแล้ว
    • ให้เวลากับลูกๆและครอบครัวมากขึ้น ลูกๆโตขึ้นเรื่อยๆ จะกลับมาอุ้มมาเล่นเหมือนตอนเด็กๆ ก็ย้อนไม่ได้แล้ว
    • ทำงานให้น้อยลง ช่วงวัยนี้ต้องขยันเต็มที่เพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว แต่การทำงานหามรุ่งหามค่ำแบบสุดโต่งไปจนไม่มีเวลาให้คนอื่น
    • หาตัวเองให้เจอ อย่าให้การศึกษาในอดีตที่ผ่านมาเป็นอุปสรรคในการเปลี่ยนแปลงตัวเอง เปลี่ยนแปลงสายอาชีพที่เราชอบจริงๆ
    • เลิกกังวลกับเรื่องต่างๆ
    • ใช้ชีวิตปัจจุบันอย่างมีความสุข
  3. ถ้าตัวเราในอีก 5 ปีข้างหน้ามาคุยกับเราในตอนนี้
    • ลองถามตัวเองว่า ถ้าตัวเราในอีก 5 ปีข้างหน้า มาคุยกับตัวเราตอนนี้ คิดว่าเขาจะบอกอะไรเรา
    • คำตอบที่ได้ สื่อถึงสิ่งที่เรามองตัวเองในอนาคตนั่นเอง เช่น ถ้าตัวเราในอนาคตมาบอกว่าเรา ให้ขยันๆกว่านี้ จะได้สบาย มันไม่ได้แปลว่าเขามาเตือนสติเราให้ขยันๆเท่านั้น แต่ลึกๆแล้วมันแปลว่า เราในปัจจุบันเชื่อว่าถ้ายังทำตัวแบบนี้ จะไม่ประสบความสำเร็จ
    • คำถามนี้จึงเป็นการเตือนตัวเอง ให้ทำตั้งแต่ตอนนี้
  4. จะสำเร็จมากๆ มันต้องลำบากมาก่อนจริงหรือ
    • คนสำเร็จมากๆที่ปรากฏตามสื่อ มักมาจาก 2 กลุ่ม คือ
      • ยากจนมากๆ ชีวิตติดลบจริงๆ
      • ทายาทเศรษฐี มีธุรกิจเดิมให้ต่อยอด หรือ ออกมาทำธุรกิจใหม่ แล้วสำเร็จมากยิ่งขึ้นอีก
    • คำถามคือ คนธรรมดา คนชนชั้นกลางอยู่ที่ไหน
    • อ.เสนอว่า คนชั้นกลางที่ประสบความสำเร็จเยอะๆ ก็มีมาก มากกว่าคนเริ่มจากศูนย์ แต่เรื่องราวอาจขายไม่ได้ ไม่น่าสนใจ
    • อีกเหตุผลหนึ่ง อาจเป็นเพราะคนที่จนมากๆนั้นกล้าเสี่ยงมากกว่า เพราะถ้าอยู่ที่เดิม มีแต่จะอดตาย ล้มเหลวมา อย่างมากก็ลำบากเท่าดิม ทำนองเดียวกัน คนที่รวยมากๆ เจ๊งยังไงก็ยังมีเหลือ
  5. วิธีจัดการกับ Midlife Crisis
    • จากหนังสือ When ของ Daniel Pink ได้กล่าวไว้ว่า ความสุขของเรามักจะตกต่ำในช่วงอายุวัยกลางคน เป็นเหมือนกัน ทั้งชายและหญิง และประเทศใดๆ
    • มีทฤษฎีอธิบายคือ ช่วงวัยกลางคน (40-50 ปี) เป็นช่วงที่เราตระหนักแล้ว ว่าเราจะบรรลุฝันต่างๆของเราได้หรือไม่ เช่น เราฝันว่าจะเป็นใหญ่เป็นโตในบิรษัท เมื่ออายุน้อยๆ แต่พอถึงจุดหนึ่งเราก็รู้แล้วว่าเป็นไปไม่ได้แน่ๆ จัดการกับมันยังไง มีเทคนิคคือ
      1. จัดลำดับความสำคัญของเป้าหมาย
      2. ให้มีระบบพี่เลี้ยงสำหรับวัยกลางคน
      3. คิดถึงเรื่องดีๆที่ผ่านมา ว่าโชคดีแค่ไหนที่เรามาถึงจุดนี้
      4. เขียนจดหมายปลอบใจตวเอง
      5. สุดท้ายคือรอเวลา เดี๋ยวมันก็ผ่านไป
  6. เวลามันย้อนกลับไม่ได้
    • บางคนทุ่มเทกับงานอย่างหนัก ไม่ได้เจอหน้าพ่อแม่ ไม่เจอหน้าลูก สุขภาพทรุดโทรม ซึ่งต้องลองถามตัวเองดีว่า ทำงานหนักมากๆไปทำไมกัน เช่น ถ้าอยากรวย เพื่อจะได้มีสบายๆภายหลัง มีเวลาเหลือเฟืออยู่กับลูก ก็ต้องคิดด้วยว่า เวลามันย้อนกลับไม่ได้ ช่วงเวลาที่เราทำงานหนัก ลูกอาจจะยังเล็กๆ และเป็ช่วงที่เราสอน ยังอุ้มลูกได้ ถ้าเรารอให้รวยก่อน เจอลูกอีกทีก็ต่อไม่ติดแล้ว
  7. ความคิดสร้างสรรค์ มันมาแล้วก็ไป
    • หนังสือ Big Magic ของ Elizabeth Gilbert ให้ประเด็นว่า หลายๆครั้งเรามี idea ใหม่ที่น่าตื่นเต้นวิ่งเข้ามาในหัว idea ที่ทำให้เรารู้สึกว่ามันต้อง Work แน่ๆ เรากำลังเจอสิ่งที่เรียกว่า ชั่วขณะมหัศจรรย์ ประเด็นคือ มันอุตส่ามาหาเราแล้ว ถ้าเราปล่อยมันทิ้งไว้ สักวันมันจะไปหาคนใหม่ แล้วเราจะมานึกเสียดายที่หลัง
    • จึงควรรีบ seize the moment นั้นซะ
  8. หลักการชีวิต คิดอย่างไร
    • ความน่าสนใจของหนังสือ Principles ของ Ray Dalio คือการที่เขาเอาสิ่งที่พบเจอในชีวิตมาเล่าเป็นหลักการ ว่าทำอย่างนี้แล้วประสบความสำเร็จ ซึ่งเหนือกว่า autobiographyของคนเก่งๆหลายๆคนที่มักจะเล่าเหตุการณ์ต่างๆ แล้วให้ผู้อ่านไปวิเคราะห์หลักการเอาเอง
    • จุดที่ต้องระวังคือ ความสำเร็จ ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ต้องคิดว่าเราอยากเหมือนเขา 100% เลยเหรอปล่า
    • คนที่จะทำตามหลักการของ ray dalio ได้ถามตัวเองหรือยังว่าอยากเป็นแบบเขาหรือไม่ และการทำตามเขาก็ไม่ได้ประกันความสำเร็จ เพราะบริบทสิ่งแวดล้อมเรากับเขามันต่างกัน
    • สิ่งทีมีประโยชน์แน่ๆ คือการทำบทเรียนออกมาแบบ Ray Dalio คือถอดบทเรียนจาก ประสบการตัวเราเอง ออกมาให้ได้แบบเขา เช่น อะไรที่เราทำเสร็จ ก็จดไว้ เขียนออกมาเป็นหลักการ อะไรที่เราทำแล้วไม่สำเร็จ ก็เขียนไว้ ว่าอย่าทำ แล้วเราจะได้บทเรียนชีวิตในเวอชั่นของเอราอง ที่เราปรับใช้ แก้ไข ปรับปรุงได้ตลอด
  9. 8 บทเรียนของชีวิตที่ผ่านมา
    1. สิ่งเล็กๆ ที่ทำทุกวันจะส่งผลสำคัญในอนาคต เช่น การที่อ.นภดลได้ตำแหน่งศาสตรจารย์ตั้งแต่อายุงานน้อยๆนั้น เพราะทยอยทำงานวิจัยสะสมมาตั้งแต่ 15 ปี ไม่ได้หามรุ่งหามค่ำทำ
    2. อย่าลังเลที่จะทำอะไรใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำ หากมันตอบโจทย์ชีวิต
    3. ไม่อยากหลงทาง ให้ตั้งเป้าหมายชีวิต : อ.นภดลใช้เครื่องมือตั้งเป้าหมายที่เรียกว่า OKR
    4. เมื่อบรรลุเป้าหมาย ให้ไปต่อทันที อย่าหยุดพัฒนา
    5. อะไรที่ไม่ใช่ ให้เลิก หรือลด
    6. ใช้ชีวิตให้เรียยบง่าย : Easy simple no condition
    7. อยากทำอะไร ให้เริ่มทำทันที
    8. เราไม่เคยยุ่งเกินไปในสิ่งที่เรารัก

Share

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter

รีวิวหนังสือล่าสุด

China Next Normal รีวิว หนังสือ
Social Science

รีวิวหนังสือ: China Next Normal – วิกฤตและโอกาสของจีนในโลกหลังโควิด

จีนจะเป็นอย่างไรในยุคPost Corona เมื่อ COVID มาเร่งเวลาเข้าสู่ China Next Normal – วิกฤตินี้สร้างโอกาสให้จีนได้อย่างไร หาคำตอบได้ในเล่มครับ

post corona book review รีวิว
Social Science

รีวิวหนังสือ: Post Corona – From Crisis to Opportunity

โลก(อเมริกา) จะเป็นอย่างไรในยุค Post Corona – หนังสือที่ว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงที่จะรวดเร็วและรุนแรง ผ่านมุมมองของศาสตราจารย์นักธุรกิจชั้นเซียน

บทความอื่นๆ

Solon's Warning คำเตือนของ โซลอน
Perspective

คำเตือนของโซลอน – Solon’s Warning

เมื่อพระเจ้าครีซัสผู้มั่งคั่งและทรงอำนาจที่สุดแห่งยุคตรัสถาม โซลอน ว่าเคยพบใครที่มีความสุขมากกว่าพระองค์หรือไม่ เขากลับตอบชื่อสามัญชนที่เสียชีวิตแล้วกลับมา!