Lost Connections: Uncovering the Real Causes of Depression - and the Unexpected Solutions.
Pros
- เปิดมุมมองใหม่ๆเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า
- ข้อมูลที่นำเสนอมีความน่าเชื่อถือ แหล่งอ้างอิงครบถ้วน
- สามารถนำเสนอมุมมองเรื่องปัจจัยกระตุ้นภาวะซึมเศร้าได้อย่างน่าสนใจ
Cons
- มีบางบทที่อัดข้อมูลมากเกินไป วนไปวนมา ยืดเยื้อเกินไป
- ข้อมูลในส่วนวิธีการรักษาโรคซึมเศร้าค่อนข้างกว้างและดูไกลตัว อาจนำไปปฏิบัติตามยาก
Key Messages
- มีปัจจัยมากมายที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า การมองโรคซึมเศร้าเป็นเพียงแค่ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง รักษาเพียงแค่การใช้ยาเป็นสิ่งที่ผิดและมักง่าย การรักษาโรคซึมเศร้าต้องรักษาที่ต้นเหตุ
- ยาต้านเศร้าที่มีใช้ปัจจุบันนั้น มีงานวิจัยรับรองซึ่งทำโดยได้ทุนสนับสนุนจากบริษัทยา ผลการรักษาของมันยังไม่ได้ชัดเจนอะไรมาก และอาจไม่ต่างจากยาหลอก แต่มันก็ทำเงินมหาศาลให้กับบริษัทยาไปแล้ว
- อย่างไรก็ตามคนที่เป็นโรคซึมเศร้าและกำลังรักษากินยาอยู่นั้น ก็ขอให้รักษาด้วยวิธีเดิมต่อไปหากมันก็ได้ผลดีกับคุณ หรือหากคุณอยากหยุดยา ก็ต้องปรึกษาแพทย์ก่อน
- ผู้แต่งเสนอว่าสาเหตุของโรคซึมเศร้าเกิดจาก “Disconnection” คือการที่เราถูกตัดขาดจากบางสิ่งบางอย่างที่เราต้องการมันมาแต่เกิด แต่เราก็ทำมันหล่นหายไประหว่างทาง ทางรักษาจึงเป็นการ “Recconection” กับสิ่งต่างๆเหล่านั้น
**Update : มีฉบับแปลไทยชื่อ “โลกซึมเศร้า” วางขายแล้วนะครับ
หนังสือเล่มนี้ Lost Connections เขียนโดย Johann Hari นักข่าวชาวอังกฤษ และเป็นคอลัมนิสอิสระที่เขียนบทความให้กับสื่อชื่อดังระดับโลกหลายๆแห่ง เช่น The Independent, The Huffington Post, และ the New York Times เป็นต้น
ผู้เขียนเล่าถึงประสบการณ์ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคซึมเศร้า ตั้งแต่อายุ 18 ปี โดยชนวนเหตุเริ่มต้นจากการอกหักครั้งแรก ในตอนนั้นเขารู้สึกสับสน และซึมเศร้ามาก แต่ก็รู้สึกโล่งใจที่มีคำอธิบายภาวะของเขาตอนนั้น ว่าเขาเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นโรคทางการแพทย์ เป็นความผิดปกติของสารเคมีในสมอง และมีทางแก้ปัญหาคือเพียงกินยาต้านเศร้า
ในช่วงแรก เขารู้สึกดีขึ้น แต่ความเศร้าก็กลับมาเยือนอีกหลายครั้งครั้ง แพทย์ผู้ดูแลจึงพยายามทั้งเพิ่ม dose ยา และเปลี่ยนยาตัวใหม่ให้เขา กระบวนการนี้เกิดซ้ำไปซ้ำมาในช่วงให้หลัง 13 ปี ซึ่งเขาก็โอเคกับมัน เขายังเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่ามันอยู่นอกเหนือการควบคุมของเขา มันเป็นเรื่องความผิดปกติของสมอง และยาก็ได้ผลดี
อย่างไรก็ตามมีสิ่งที่ทำให้เขาฉุกคิดขึ้นมา สามประเด็น คือ
1. นักจิตวิทยาประจำตัวเขายังทักว่า เขายังคงดูเครียด ซึมเศร้า และวิตกกังวล และดูไม่ต่างอะไรระหว่างก่อน-หลังที่เขาเริ่มกินยาต้านเศร้า เขาจึงสงสัยว่าเขาจะดูซึมเศร้าได้ไง เมื่อเขายังกินยาอยู่
2. เมื่อเวลาผ่านไป เขาก็พบว่ามีสถิติการใช้ยาเกี่ยวกับโรคทางจิตเวชเพิ่มสูงๆขึ้น โดยในอเมริกาพบว่ามีผู้ใหญ่ 1 ใน 5 คนจะกินยาเกี่ยวกับโรคทางจิตเวชอย่างน้อยหนึ่งตัว และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
3. จึงนำไปสู่คำถามว่า หรือจะมีปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือจากสารเคมีในสมอง ที่ผิดปกติ ที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าในตัวเขา
เขาใช้เวลาสามปี ในการรวบรวมหลักฐานงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และตระเวณสัมภาษ เก็บข้อมูล จากผู้เชี่ยวชาญ นักวิทยาศาสตร์ และบุคคลที่ประสบกับภาวะนี้ เป็นจำนวนมากกว่า 200 คน และตีพิมผลงานชิ้นนี้ออกมา
หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็นสามส่วน คือ 1. เปิดโปง ความเชื่อที่ว่าโรคซึมเศร้าเกิดจากสมองที่มีสารเคมีผิดปกติเพียงอย่างเดียว เป็นเรื่องไม่จริง 2. มีอย่างน้อย 9 สาเหตุที่ทำให้เราเกิดการซึมเศร้า และ 3. มีวิธีรักษาภาวะนี้มากมาย นอกเหนือจากการใช้ยา
Part 1 : The Crack in the Old Story
- ในทางการแพทย์มีสิ่งที่เรียกว่า “ยาหลอก” (placebo) ซึ่งทำมาจากแป้ง หรือสารอะไรก็ได้ โดยที่โดยตัวมันเองนั้นไม่ใช่ยาและไม่มีผลทางการรักษาใดๆ แต่ทางงานวิจัยจะใช้มันเพื่อมาเปรียบเทียบกับประสิทธิภาพการรักษาระหว่างการใช้ยาจริงๆ กับ การใช้ยาหลอก
- ทำไมจึงต้องใช้ยาหลอก? เพราะว่า เวลาสั่งยาใดๆ สิ่งที่ผู้ป่วยจะได้คือ 1.ตัวยา 2.ได้รับเรื่องราว และเกิดความเชื่อ ว่ายาตัวนี้มันจะรักษาเขาได้จริงๆ ดังนั้นการใช้ยาหลอกจึงตัดผลของข้อ 1 ออกไป เหลือเพียงผลด้านความเชื่อของผู้ป่วย ซึ่งหลายๆครั้งมันก็ให้ผลอย่างน่าประหลาดใจ หรือที่เรียกว่าเกิด ปรากฏการณ์ยาหลอก (placebo effect) นั่นเอง
- เช่นเดียวกันกับยาต้านเศร้า เวลาที่แพยน์สั่งยาต้านเศร้านั้น แท้จริงแล้วเขากำลัง 1.สั่งยาที่จะไปยุ่งเกี่ยวกับสารเคมีในร่างกายของคนไข้ และ2.ให้เรื่องราวความเชื่อ ว่ายาตัวนี้จะส่งผลอย่างไรกับผู้ป่วย
- มีแพทย์ชื่อ Irving Kirsch ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญคนแรกๆที่ออกมาโจมตีผลของยาต้านเศร้า โดยเริ่มแรกนั้นเขาเองก็เชื่อว่ายานี้มันได้ผล จากงานวิจัยต่างๆ และจากประสบการณ์การสั่งยานี้ให้กับผู้ป่วยของเขาเอง แต่ภายหลังก็ต้องเปลี่ยนใจ หลังจากที่ได้เห็นผลวิจัยเกี่ยวกับผลของยาต้านเศร้าที่จัดทำโดยลูกศิษย์ของเขา
- การทดลองนี้แบ่งผู้ร่วมทดลองที่เป็นโรคซึมเศร้า เป็นสามกลุ่มคือ 1 ให้ยาหลอก 2. ให้ยาต้านเศ้รา 3. เป็นกลุ่มทดลอง ไม่ได้ยาใดๆ และนำพวกเขามาศึกษาผลของยาต้านเศร้าว่าได้ผลมากน้อยอย่างไร
- ผลกลายเป็นว่า 25% สามารถหายได้เอง โดยไม่ได้มียาใดๆ 50% หายได้จากยาหลอก และ มีเพียง25% หายได้จากการกินยาต้านเศร้าจริงๆ
- ผลงานวิจัยทำให้ Irving ประหลาดใจมาก ภายหลังเขาจึงได้ข้อมูลว่าแท้จริงแล้วพวกงานวิจัยในยาต้านเศร้านั้น เกือบทั้งหมดมีบริษัทยายักษ์ใหญ่ให้ทุนสนับสนุนอยู่ พวกเขาพยายามเก็บวันเป็นความลับ และตีพิมพ์เฉพาะงานวิจัยที่แสดงว่ายาของพวกเขาได้ผล สิ่งนี้เรียกว่า Publication Bias, Irving จึงได้ติดต่อขณะกรรมการอาหารและยาของอเมริกา เพื่อที่จะได้เข้าถึงงานวิจัยทั้งหมดที่บริษัทยานั้นทำ ซึ่งก็เป็นไปตามที่เขาคาดการณ์ว่าบริษัทยาได้เลือกตีพิมพ์เฉพาะงานวิจัยที่แสดงว่ายามันได้ผล ตัวอย่างเช่น งานวิจัยหนึ่งของยาตัวหนึ่งทดลองใน 245 คน แต่บริษัทเลือกรายงานผลแค่ 27 คนที่ยามันได้ผล
- Irving จึงนำงานวิจัยต่างๆที่มีทั้งหมดมารวบรวมและหาข้อมูลว่าแท้จริงแล้วยาต้านเศร้านั้นช่วยได้เท่าไหร่ จากผลการรวบรวมข้อมูลนี้ เขาจึงบอกว่ายานั้นแทบไม่ได้มีผลอะไรเลย แต่สิ่งที่มีผลจริงๆ ก็คือ Side effects ต่างๆของยา เช่น ยาทำให้น้ำหนักขึ้น เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เหงื่อออกมาก
- การทดลองนี้แบ่งผู้ร่วมทดลองที่เป็นโรคซึมเศร้า เป็นสามกลุ่มคือ 1 ให้ยาหลอก 2. ให้ยาต้านเศ้รา 3. เป็นกลุ่มทดลอง ไม่ได้ยาใดๆ และนำพวกเขามาศึกษาผลของยาต้านเศร้าว่าได้ผลมากน้อยอย่างไร
- ทฤษฎีที่เชื่อว่าโรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของ Serotonin ในสมอง มาจากวอร์ดผู้ป่วยวัณโรคในนิวยอร์ค 1952 แพทย์ได้ใช้ยาชื่อ Marsilid ในการพยายามรักษาการติดเชื้อนี้ แต่ยามันก็ไม่ได้ผลอะไรมากนัก เพียงแต่แพทย์เริ่มสังเกตว่าผู้ป่วยที่ได้ยาตัวนี้ แสดงอาการ Euphoria, มีความสุข บางคนเต้นไปมาอย่างหยุดไม่ได้ จึงได้มีการนำยาตัวนี้ไปใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้า ซึ่งในระยะสั้นๆ เขาพบว่ามันได้ผล
- คำถามคือยาเหล่านี้ใช้กลไกอะไรในการช่วยผู้ป่วย? ซึ่งก็เป็นปริศนามาเนิ่นนานจนในปี 1965 มีแพทย์ชื่อ Alec coppen ตั้งข้อสังเกตุว่า ยาตัวนี้และกลุ่มเดียวกัน เพิ่มระดับ Serotonin ในสมอง และภาวะซึมเศร้านั้นก็เกิดจากการที่มีสาร Serotonin ต่ำลงในสมองนั้นเอง แต่งานวิจัยหลายๆชิ้นต่อจากนั้น ก็พบว่าระดับ Serotonin ในสมองไม่ได้สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนยสำคัญนัก
- แต่ความเชื่อที่ว่า Serotonin สัมพันกับระดับความเศร้า ก็ดูจะเป็นความเชื่อผิดๆที่เชื่อต่อๆกันมาเรื่อยๆ ซึ่งผู้ที่ได้ประโยชน์จากความเชื่อนี้ก็เห็นแต่จะมีเพียงบริษัทยาที่สามารถขายของได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
- อย่างไรก็ตาม มันไม่ได้หมายความว่ายาต้านเศร้านั้นไม่ได้ช่วยอะไรได้เลย นักวิทยาศาสตร์หลายๆคนก็เชื่อว่ายามันยังได้ผลสำหรับคนกลุ่มน้อยบางกลุ่มที่อาการเป็นจากสารเคมีที่ผิดปกติเพียงอย่างเดียวจริงๆ ซึ่งหากคุณกำลังกินยาอยู่แล้วรู้สึกว่าข้อดีมันมากกว่า Side effect, คุณก็ควรจะกินมันต่อไป
- แต่มันเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ หากจะกล่าวว่า คนที่เป็นซึมเศร้าทั้งหมด เกิดจากวันดีคืนดีมีความผิดปกติของสารเคมีในสมอง
Part 2 : Disconnection : Nine Causes of Depression and Anxiety
ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ จากงานวิจัยและการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องทั่วโลกเพื่อหาว่ามีใครได้ทำการศึกษาสาเหตุของโรคซึมเศร้านี้อีกหรือไม่ ซึ่งเขาพบว่าสาเหตุในด้านสังคมและจิตใจ ของโรคซึมเศร้านั้น มีสิ่งที่้เหมือนกัน คือ สาเหตุแต่ละอย่างนั้นเป็นรูปแบบหนึ่งของ “Disconnection” มันคือการที่เราถูกตัดขาดจากบางสิ่งบางอย่างที่เราต้องการมันมาแต่เกิด แต่เราก็ทำมันหล่นหายไประหว่างทาง
- จากข้อมูลที่เขารวบรวมนั้น เขาพบว่ามีสาเหตุของโรคซึมเศร้านั้นมีอย่างน้อย 9 อย่าง คือ
สาเหตุที่ 1 : ตัดขาดจากงานที่มีความหมาย (Cause One – Disconnection From Meaningful Work)
- มีงานวิจัยหนึ่งในช่วงปี 1970 เก็บข้อมูลจากคนที่ทำงานในหน่วยงานราชการหนึ่งของประเทศอังกฤษ โดยตั้งคำถามว่า ชีวิตการทำงานส่งผลต่อสุขภาพของคุณอย่างไร
- ในช่วงนั้นหลายๆคนต่างก็คิดว่าคนที่จะมีความเครียดมากกว่า มีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากกว่า มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่า ก็น่าจะเป็นพวกที่ทำงานตำแหน่งสูงๆ และหัวหน้างานซึ่งแบกภาระความรับผิดชอบมากกว่า ในขณะที่พวกคนทำงานชั้นล่างๆ ที่ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรมากน่าจะมีความเสี่ยงน้อยกว่า
- ผลการศึกษากลับพบว่า คนที่อยู่ในยอดของตำแหน่งงานต่างๆ มีโอกาสน้อยกว่าถึง4เท่าที่จะเกิดโรคหัวใจ เทียบกับคนที่ทำงานตำแหน่งต่ำกว่า และพบว่ายิ่งตำแหน่งคุณสูงเท่าไหร่ โอกาสที่คุณจะเกิดโรคซึมเศร้าก็ลดลงมากเท่านั้น
- สิ่งที่แย่ที่สุดจึงไม่ได้เป็นจากการทำงานที่ต้องแบกรับภาระหนักอึ้ง แต่เป็นการที่ต้องทนทำงานที่น่าเบื่อ ไม่มีใครสนใจหรือให้ความสำคัญ และลดทอนพลังชีวิตไปวันๆ
- มีงานวิจัยหนึ่งในช่วงปี 1970 เก็บข้อมูลจากคนที่ทำงานในหน่วยงานราชการหนึ่งของประเทศอังกฤษ โดยตั้งคำถามว่า ชีวิตการทำงานส่งผลต่อสุขภาพของคุณอย่างไร
สาเหตุที่ 2 : ตัดขาดจากความสันพันธ์กับคนอื่นๆ (Cause Two – Disconnection From Other People)
- ในยุคที่ผู้คนแยกตัวห่างจากกันมากขึ้น อยู่กันเป็นปัจเจกมากขึ้น ความเหงาก็ยิ่งมีเพิ่มขึ้น
- นักประสาทวิทยาชื่อ John Cacioppo จึงศึกษาเรื่องความเหงา เพื่อหาสาเหตุว่าอารมณ์ที่เปลี่ยนไปนี้ทำให้สมองและร่างกายเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง เขาพบว่าในคนที่ซึมเศร้าจะมีอารมณ์เหงานำมาก่อนเสมอ
- ทำไมความเหงาจึงทำให้เกิดความซึมเศร้า
- เขาเชื่อว่า มนุษย์มีต้นกำเนิดพัฒนาการจาก Savanna จากทวีปแอฟฟริกา แรกเริ่มนั้นเราอยู่อาศัยกันเป็น ชนเผ่า Hunter-Gatherers เล็กๆ การอยู่รอดของมนุษย์นั้นต้องอาศัยความร่วมมือการสื่อสารกันอย่างมาก ดังนั้นโดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์เกิดมาก็มี connection กับคนอื่น เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว
- ความรู้สึกเหงาจึงเป็นประโยชน์ที่ว่า มันทำให้ผู้คนต้องพยายามกลับไปเข้ากลุ่มให้ได้ และผู้คนก็จะทำดีต่อกัน เพื่อที่จะไม่ได้โดนไล่ออกจากลุ่ม ความเหงาจึงเป็นสถานะที่ต้องการให้เรากลับไป Reconnect
สาเหตุที่ 3 : ตัดขาดจากการได้ใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย (Cause Three – Disconnection From Meaningful Values)
- เราได้ยินคำสอนมามากมายว่าหากคุณให้ความสำคัญกับการได้ครอบครองวัตถุหรือเงินทองมากเกินไป หรือ มัวแต่ให้ความสำคัญกับว่าคนอื่นจะมองคุณยังไง คุณจะไม่มีทางมีความสุขสงบที่แท้จริงได้ ซึ่งก็มีงานวิจัยต่างๆมากมายที่ยืนยันเรื่องนี้ ว่าคนที่เป็นวัตถุนิยมมากกว่า จะมีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้า และไม่มีความสุขในชีวิตมากกว่าเช่นกัน
- ทั้งๆที่หลายๆคนก็น่าจะรู้อยู่แล้วว่าการไล่ตามหาคุณค่าจากวัตถุ จะทำให้เรามีความสุขน้อยลง แต่ทำไมมนุษย์ก็ยังทำสิ่งที่ดูไม่มีเหตุผลนี้?
- เขาเชื่อว่าลึกๆแล้วปัจจัยจากสังคมต่างๆ โดยเฉพาะจากโฆษณาทางสื่อต่างๆ ซึ่งมันมีอิทธิพลกับเรา ทำให้เราต้องการวัตถุที่ดูจะมีค่า และมันก็ทำให้เรารู้สึกแย่ลงหากเราไม่สามารถมีชีวิตได้ตามมาตรฐานของสังคม
สาเหตุที่ 4 : ตัดขาดจากสิ่งต่างๆ เพราะเคยประสบความรุนแรง หรือบาดแผลทางจิตใจตั้งแต่วัยเด็ก (Cause Four – Disconnection from Childhood Trauma)
- ไม่ว่าคุณจะได้รับความเลวร้ายในรูปแบบใดมาในสมัยยังเด็ก คุณจะมีโอกาสเกิดโรคซึมเศร้าได้มากขึ้นเมื่อผู้ใหญ่ ยิ่งมีหลายรูปแบบ ก็ยิ่งมีโอกาสเกิดอาการซึมเศร้า และมีแนวโน้มในการฆ่าตัวตายมากยิ่งขึ้น
- ผู้เขียนเชื่อว่าในตอนที่คุณเป็นเด็ก คุณจะมีอำนาจน้อยมากๆ ที่จะเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมของคุณ คุณไม่มีอำนาจพอที่จะหลีกหนีจากเหตุการณ์ร้ายๆนี้ และไม่สามารถทำให้คนๆนั้นหยุดมาทำร้ายคุณได้ ทางเลือกในการคิดจึงมีสองทาง 1 คือโทษตัวเอง ซึ่งก็จะทำให้คุณรู้สึกว่าคุณสามารถทำอะไรบางอย่าเพื่อเปลี่ยนแปลงได้ และรู้สึกมีอำนาจมากขึ้น หรือ 2 ยอมรับว่าคุณไม่มีอำนาจใดๆ และคงทำอะไรกับมันไม่ได้ ซึ่งการคิดแบบอย่างแรกนั้นก็มีอันตราย เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งคุณจะรู้สึกว่า คุณสมควรที่จะได้รับสิ่งแย่ๆนั้นแล้ว และนั่นอาจนำมาซึ่งการกระทำต่างๆ รวมถึงการฆ่าตัวตายได้
สาเหตุที่ 5 : ตัดขาดจากการได้รับความนับถือ (Cause Five – Disconnection from status and respect)
- หลายๆครั้งคนที่มีอาการซึมเศร้า จะรู้สึกว่าตัวเองรู้สึก “Down” ซึ่งมันก็จะรู้สึก down จริงๆ เหมือนมีใครมากดเราไว้ เราอยากก้มต่ำๆ ไหล่ตก เก็บไม้เก็บมือ ทำตัวให้ลีบๆเข้าไว้
- นักวิทยาศาสตร์ชื่อ Robert Sapolsky ซึ่งศึกษาพฤติในกรรมในฝูงลิงบาบูนกลุ่มหนึ่งเป็นเวลาหลายสิบปี เขาพบว่าในฝูงลิงบาบูนนั้นจะอาศัยกันในลำดับขั้นที่ชัดเจน โดยจะมี alpha male ซึ่งเป็นจ่าฝูง ที่สามารถทำอะไรก็ได้ที่มันอยากจะทำ ซึ่งจ่าฝูงตัวนี้ก็ได้ตำแหน่งนี้มา เนื่องจากมันเป็นตัวที่แข็งแกร่งที่สุดในฝูง ไม่มีใครกล้าสู้กับมันนั่นเอง
- ในฝูงลิงนี้ก็มีลิงตัวที่อยู่ใต้สุดของปิระมิด เขาสังเกตว่าลิงนี้จะสั่นอยู่ตลอดเวลา ขนของมันหลุดลุ่ย เพราะลิงตัวไหนในฝูงจะมาถอนขนมันก็ได้ มันถูกทำร้ายร่างกายหลายๆครั้ง อาหารของมันก็จะมักถูกแย่งไปโดยลิงตัวอื่น
- เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มันโดยรุมทำร้าย ฝูงลิงที่อยู่ขั้นต่ำสุดจะต้องพยายามแสดงว่ามันรู้ตัวแล้ว ว่ามันเป็นผู้แพ้ มันยอมแล้ว โดยแสดงออกผ่านทาง Subordiance gestures มันจะงุ้มหัว คลานเข่า เพื่อเป็นการบอกคนอื่นว่า หยุดโจมตีมันเสียที ฉันยอมแล้ว ฉันไม่ได้มีอันตรายกับใคร
- เขาสังเกตว่าเมื่อลิงอยู่ในสถานะนี้ มันจะมีลักษณะไม่ต่างกับคนที่มีอาการซึมเศร้าเลย
- และค้นพบว่าในคนที่มีความซึมเศร้า ก็จะมีระดับ Stress hormone ในระดับสูงเช่นเดียวกันกับที่พบได้ใน low ranking baboon
- ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงตั้งข้อสมมติฐานว่า แท้จริงแล้วภาวะซึมเศร้าอาจเป็นกลไกอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในความเป็นสัตว์ของเรา , นักจิตวิทยา Paul Gilbert ตั้งชื่อว่าเป็น Submission Response คือเมื่อเราโดนคุกคามอย่างหนักหน่วง เราจะรู้สึกยอมแล้ว พอแล้ว ไม่สู้แล้ว นำไปสู่การทำร้ายตัวเอง
สาเหตุที่ 6 : ตัดขาดจากการได้สัมผัสธรรมชาติ (Cause Six – Disconnection from The Natural World)
- มีลิง bonobo ที่อนู่ในสวนสัตว์ ซึ่งพบว่ามีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง ไม่ต่างจากลิงตัวที่โดนรุมแกล้งบ่อยๆ ที่พบได้ในธรรมชาติ
- พฤติกรรมทำร้ายตัวเองจองสัตว์ในสวนสัตว์นั้น ยังพบได้ในสัตว์หลายๆชนิดที่โดนจับขังเป็นเวลานาน และมักไม่พบพฤติกรรมเช่นนี้เลยในที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ
- ซึ่งที่เป็นอย่างนี้ ก็เพราะมนุษย์นั้นก็ยังเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ซึ่งพัฒนาการมากับพื้นที่ธรรมชาติ มนุษย์จะมีสิ่งที่เรียกว่า Biophilia หรือก็คือความรักในธรรชาติ ที่มีมาแต่กำเนิด
- สัตว์เกือบทุกชนิดจะมีความเครียดเพิ่มมากขึ้น หากไม่ได้อาศัยอยู่ใน landscape ที่พวกมันวิวัฒนาการมาด้วยกัน ทำไมมนุษย์จึงจะมีข้อยกเว้น?
สาเหตุที่ 7 : ตัดขาดจากการมีอนาคตที่มั่นคง (Cause Seven – Disconnection from Hopeful or Secure Future)
- เนื่องจากแนวโน้มปัจจุบันนั้น เรามีงานแบบ Freelance มากขึ้น หรืองานที่มีแค่สัญญาจ้างชั่วคราว ทำให้หลายๆคนนั้นไม่สามารถจินตนาการภาพในอนาคตได้ เพราะเขาไม่สามารถคาดการรายได้ที่แน่นอน หรือคาดการว่าจะถูกยกเลิกสัญญาจ้างเมื่อใด จึงทำให้ต้องเผชิญกับความรู้สึกของ insecure future ตลอดเวลา
สาเหตุที่ 8 และ 9 : บทบาทของสารพันธุกรรมและสารเคมีในสมอง (Cause Eight & Nine – The Real Role of Genes and Brain Changes)
- สาเหตุจากทางชีววิทยาที่ทำให้คนเป็นซึมเศร้านั้นมีอยู่จริงเช่นกัน
- นักวิทยาศาสตร์พบว่า เมื่อทำ brain scan ในคนที่เป็นโรคซึมเศร้า จะพบว่าบริเวณในสมองที่เกี่ยวข้องกับความกลัว ความทุกข์ จะส่องสว่างและ active มากกว่า เทียบกับคนที่ไม่เป็นโรค
- สมองสามารถปรับตัวได้ตามประสบการณ์ของเรา (Neuroplasticity) ด้วยกระบวนการหลักสองอย่างคือ 1. ลบล้าง synapse ในบริเวณที่ไม่ค่อยได้ใช้ 2. เพิ่ม synapse ในบริเวณที่ได้ใช้บ่อยๆ
- ดังนั้นหากคุณมีความซึมเศร้าวิตกกังวลนานเท่าไหร่ สมองก็จะยิ่งเปลี่ยนไปมากขึ้น และเช่นเดียวกัน หากคุณสามารถขจัดความรู้สึกพวกนี้ได้ สมองก็จะเปลี่ยนกลับมาได้
- Depression จึงเกิดจาก distress จากโลกภายนอก และทำให้ในสมองมีการเปลี่ยนแปลงไป
- การปรับตัวของสมองนี้ นำปัญหามาได้ หากคุณต้องประสบความเจ็บปวดอย่างยาวนาน สมองของคุณก็จะคิดว่าคุณต้องอยู่ในสภาวะนี้และเอาตัวรอดไปให้ได้ มันจะละทิ้ง synapse ที่เกี่ยวข้องกับความสุข ความสบายใจ และเพิ่ม synapse ที่เกียวข้องกับ ความทุกและสิ้นหวัง เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คุณรู้สึกจมทุกข์กับความเศร้าได้นาน แม้ว่าต้นเหตุที่ทำให้คุณทุกข์นั้นก็อาจจะหายไปแล้ว
- อีกหนึ่งสาเหตุที่เกี่ยวกับโรคซึมเศ้รา ก็คือ พันธุกรรม นักวิทยาศาสจร์ยังไม่สามารถระบุได้ว่า Gene ตำแหน่งใดที่ทำให้เกิดโรคซึมเศ้รา แต่งานวิจัยในคู่แฝดพบว่า ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กัน 37% (ในขณะที่ส่วนสูง สัมพันกัน 90%) ดังนั้นปัจจัยการสืบทอดทางพันธุกรรมก็มีผล แต่ไม่ได้เป็นสาเหตุหลักของภาวะวึมเศร้า
- อย่างไรก็ตามก็มีนักวิทยาศาสตร์พบว่า Gene ที่ชื่อ 5-HTT มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคซึมเศร้า แต่จะเกิดได้ในสิ่งแวดล้อมที่เฉพาะเจาะจงเท่านั้น โดยงานวิจัยพบว่าถ้าคุณมี Gene ตัวนี้อยู่ คุณจะมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าได้มากกว่า โดยคุณจะต้องประสบกับเหตุการที่ทำให้คุณมีความเครียดสูงมาก หรือ severe childhood trauma ซึ่งหากสิ่งเลวร้ายต่างๆนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับคุณ คุณก็จะไม่มีอาการ แม้ตจะมี Gene ตัวนี้อยู่ก็ตาม
- ดังนั้นโดยสรุปแล้ว ปัจจัยทางพันธุกรรมก็มีส่วนกับการเกิดโรคซึมเศ้รานี้ แต่มันเป็นเพียงแค่ส่วนน้อย และต้องมีเงื่อนไขที่จะทำให้เกิด
Part 3 : Reconnection, Or A Different Kind of Antidepressant
- ผู้เขียนนำเสนอ 7 วิธีที่จะ reconnect สิ่งต่างๆที่เป็นปัญหา อย่างไรก็ตามเนื่องจากปัญหาต้นเหตุนั้นเป็นเรื่องที่ใหญ่และฝังรากลึกมานาน idea ของเขาจึงเป็นแค่เพียง early stage และเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น
Reconnection One – To Other people
- เมื่อพูดถึงตัวบุคคล ระบบการคิดของคนในชาติตะวันตก และชาติเอเชียจะต่างกัน โดยในชาติตะวันตกจะเน้นด้านปัจเจกบุคคลเป็นหลัก ในขณะที่เอเชียจะเน้นคิดถึงคนเป็นกลุ่ม นักวิจัยเชื่อว่าที่ผลวิจัยเป็นเช่นนี้ เพราะหากคุณเป็นคนอเมริกาที่จะหาความสุข นั่นหมายถึงคุณกำลังหาความสุข หาทรัพสิน หาความสำเร็จให้ตัวเองเป็นหลัก(หรือมากสุดคือในครอบครัวเล็กๆ) ในขณะที่ชาติในเอเชีย คุณจะคิดถึงความสุขของคนในกลุ่ม หรือคนข้างๆคุณเป็นหลัก
Reconnection Two – Social Prescribing
- Sam Everington เป็นแพทย์ที่ทำงานในศูนย์ที่ดูแลเกี่ยวกับผู้ป่วยซึมเศร้าแห่งหนึ่งในเมืองลอนดอน เขาเล่าว่าในช่วงที่เขาเรียนแพทย์นั้น เขาก็ได้รับการเน้นย้ำความสำคัญในเรื่องของบทบาทของ neurotransmitter และยาต้านเศร้า แต่เมื่อออกมาปฏิบัติงานจริงกลับไม่เป็นอย่างนั้น เขาพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มาด้วยอาการซึมเศร้านั้นมีเหตุชัดเจน คือชีวิตพวกเขาโดนพรากสิ่งที่สำคัญไป เขาจึงได้ตั้งทีมเพื่อดูแลเรื่องนี้ โดยการพยายามหาวิธีต่างๆให้ผู้ป่วยของเขาได้มี reconnection กับสิ่งที่สำคัญที่พวกเขาขาดหายไป (นอกจากให้ยา) เขาได้หางานกลุ่มจิตอาสาให้ผู้ป่วยโรงซึมเศ้ราหลายๆคนลองทำ และพบว่ามันได้ผล เมื่อผู้ป่วยได้อยู่ในกลุ่มที่มีสภาพจิตใจคล้ายๆกัน มีความทุกข์คล้ายๆกัน พวกเขาก็จะเปิดใจกันมากขึ้น แบ่งปันเรื่องราวความทุกข์กันมากขึ้น เข้าใจปัญหากันและกันมากขึ้น และช่วยแก้ปัญหาชีวิตของแต่ละคนกันมากขึ้น คิดถึงเรื่องตัวเองน้อยลง เกิด Deep connection กับบุคคลอื่นๆมากขึ้น คนไข้หลายๆคนสุดท้ายก็สามารถหยุดยาต้านเศร้าได้
- Sam เชื่อว่าทางแก้ปัญหาเรื่องซึมเศร้า ต้องแก้ปัญหาลึกๆในใจของผู้ป่วยที่เป็นต้นตอของอาการด้วย ไม่ใช่เพียงแค่การจ่ายยาและบอกว่ามันเป็นปัญหาของสมอง ซึ่งจะทำให้คนไข้รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมชีวิตพวกเขาได้เลย
- Sam เรียกวิธีการรับฟังปัญหาที่แท้จริงของผู้ป่วย และหาวิธีเพื่อreconnectให้กับผู้ป่วยนี้ว่า Social prescribing
Reconnection Three : To Meaningful Work
- การทำงานเป็นสิ่งจำเป็น และผู้คนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีทางเลือกมากนัก และจำเป็นต้องทำงานที่พวกเขาไม่ได้ชอบ แน่นอนถ้าจะให้ดีที่สุด เราก็ควรหางานที่เราชอบและมันเลี้ยงชีวิตเราได้ แต่จะมีสักกี่คนที่ทำแบบนั้นได้? เราสามารถหาวิธีอื่นได้ไหม ที่จะทำให้งานประจำที่เราทำอยู่มีความหมายมากขึ้น และทำให้มันดูหดหู่ลดลง?
- เขาพบว่าคนทำงานจะมีความสุขกว่ามาก เมื่อพวกเขามีความรู้สึกว่าความสมารถที่จะออกแบบงานที่เขาทำได้ เป็นเจ้าของงาน ออกความเห็นได้ และให้ความหมายกับงานชิ้นเดิมนั้นได้ และหากมีส่วนไหนของงานที่พวกเขาไม่ชอบและทำให้เขาซึมเศร้า เขาก็มีอำนาจที่ขอกำจัดมันทิ้งได้ หรือเปลี่ยนได้ เขารู้สึกว่ามีคนคอยฟังปัญหาของพวกเขา
Reconnection Four : To Meaningful Values
- เนื่องจากสือโฆษณาต่างๆมักทำให้เราคิดว่าเราควรไขว่ขว้าทุกวิถีทาง เพื่อจะได้สิ่งของหรูหรา ได้ชีวิตหรุหรา จึงทำให้เราไม่รู้สึกพึงพอใจ ไม่รู้สึกพอดี เขาเสนอว่าให้มองการโฆษณานั้นเหมือน Mental pollution ,ซึ่งการแก้ปัญหามลพิษจึงเป็นการห้ามหรือจำกัดการเข้าถึง
- เขาเสนอว่าเราอาจจะมีคณะกรรมการที่คอยขัดกรองไม่ให้มีการผลิตโฆษณาที่ทำให้เรารู้สึกแย่กับตัวเอง ซึ่งจะช่วยclear mental pollution ออกไปได้มาก
- เนื่องจากสือโฆษณาต่างๆมักทำให้เราคิดว่าเราควรไขว่ขว้าทุกวิถีทาง เพื่อจะได้สิ่งของหรูหรา ได้ชีวิตหรุหรา จึงทำให้เราไม่รู้สึกพึงพอใจ ไม่รู้สึกพอดี เขาเสนอว่าให้มองการโฆษณานั้นเหมือน Mental pollution ,ซึ่งการแก้ปัญหามลพิษจึงเป็นการห้ามหรือจำกัดการเข้าถึง
Reconnection Five – Sympathetic Joy, and Overcoming Addiction to the Self
- ผู้เขียนเล่าถึงเพื่อนของเขาคนหนึ่งที่เคยเป็นคนขี้โมโหและขี้อิจฉาตลอดเวลา เมื่อใดเธอเปิดเฟซบุ๊ค เธอจะรู้สึกทนไม่ไหว รู้สึกว่าทุกคนนั้นต่างประสบความสำเร็จ และทำให้เธอแย่ลง
- เธอเริ่มรู้สึกว่ามีอะไรผิดปกติกับตัวเธอ แต่เมื่อเธอหาข้อมูลมากขึ้น เธอพบว่ามันเป็นความผิดปกติของวัฒนธรรมสังคม ที่คนต่างแยกกันอยู่มากขึ้น เติบโตมาท่ามกลางการแก่งแย่งแข่งขัน เรามักถูกสอนว่าชีวิต คือ Zero Sum Game , ถ้ามีคนสำเร็จ ก็จะมีความล้มเหลวรอคุณอยู่มากขึ้น หรือถ้าคุณได้อะไรมาบางอย่าง แต่คนอื่นๆก็ได้ด้วย สิ่งนั้นก็จะด้อยค่าไป
- สุดท้ายเราตกในวังวนแห่งความอิจฉา และตกอยู่ในความพยายามทำให้คนอื่นมาอิจฉาเรา โดยไม่ทันรู้ตัว เราเรียนรู้ที่จะ Marketing ตัวเราเองผ่านช่องทางสื่อต่างๆ พยายามทำให้ผู้คนรู้สึกว่าเราเจ๋ง มีค่า น่าอิจฉา
- เธอจึงได้ลองหาวิธีที่จะลดความรู้สึกนี้ และนั่นคือ Technique ที่เรียกว่า “Sympathetic join” (มุทิตาจิต) meditation
- การทำ Sympathetic joy meditation เช่นนี้ ทำให้เธอรู้สึกอิจฉาลดลง เห็นความสุขของผู้อื่นเป็นแหล่งความสุขของเธอด้วย เมื่อเธอเห็นคนอื่นมีความสุข จากที่เธอจะเริ่มเปรียบเทียบและอิจฉา กลายเป็นเธอจะเริ่มมีความสุขกับเขาไปด้วย และนั่นทำให้เธอมีความสุขมากขึ้น ซึ่งมันก็ทำให้เธอแปลกใจอย่างมากที่การกระทำเล็กๆเช่นนี้ สามารถเปลี่ยนความคิดเธอได้อย่างมหาศาล
Reconnection Six – Acknowledging and Overcoming Childhood Trauma
- ความละอายทำให้คนป่วยมากขึ้น เช่น มีงานวิจัยศึกษาคนเป็นเกย์ในช่วง AIDS Crisis พบว่าคนที่ปกปิดสถานะ มีอัตราเสียชีวิตเร็วกว่าคนที่เปิดเผยสถานะถึง 2-3 ปี
- การเก็บซ่อน childhood trauma จะทำให้ความรู้สึกละอายที่เกิดจากมัน ก่อตัวมากขึ้นๆ และความรู้สึกนี้ก็ทำให้เกิดอาการซึมเศ้ราได้มากมาย การที่ได้เล่าออกมาให้คนภายนอกที่ยอมรับฟัง และเห็นใจพวกเขา ไม่ทำให้พวกเขารู้สึกต่ำต้อยนั้น เป็นเหมือนวิธีที่ทำให้พวกเขาได้รู้สึกปลดปล่อยความละอายในใจออกมา ทำให้พร้อมกับ reconnect กับผู้อื่นมากขึ้น ซึ่งกระบวนการนี้ก็พบได้ในการสารภาพบาบในศาสนาคริสต์ ซึ่งมีมาหลายพันปี
Reconnection Seven : Restoring The Future
- มีการศึกษาเรื่อง Universal Basic income ซึ่งเคยมีการทดลองใช้ระบบนี้ในช่วงปี 1970 ที่เมืองเล็กๆชื่อ Dauphin ในประเทศแคนาดา แต่โครงการก็ล้มพับหลังจากสามปีผ่านไป เพราะเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ แต่เมื่อศึกษาย้อนไปกลับพบข้อดีต่างๆมากมาย เด็กๆได้เรียนสูงขึ้น และผลการเรียนโดยเฉลี่ยดีขึ้น จำนวนทารกเกิดใหม่ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ลดลง ผู้ปกครองมีเวลาอยู่กับลูกมากขึ้น ชั่วโมงการทำงานต่อวันลดลง มีคนป่วยโรคทางจิตเวชลดลง
- นอกจากนั้นหลายๆคนยังมีโอกาสปฏิเสธงานที่พวกเขาคิดว่าไม่เป็นธรรม และน่าละอายได้ นั่นหมายถึงนายจ้างจึงต้องขึ้นค่าแรง และปรับสภาพงาน สิ่งแวดล้อมที่ทำงาน ให้เหมาะสมมากขึ้น มีมนุษย์ธรรมมากขึ้น
- ระดับความเหลือมล้ำในสังคมก็ลดลง หลายๆคนรู้สึกมั่นคงมากขึ้น กังวลกับอนาคตน้อยลง วางแผนในอนาคตมากขึ้น
- ผู้เขียนให้ความเห็นว่า แนวคิดเรื่อง Universal Basic income แม้จะดูเป็นเรื่องไกลตัว และเป็นไปไม่ได้ แต่ในไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา เราก็พบแล้วว่าสิ่งที่ดูเป็นไปไม่ได้นั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย เช่น การเหยียดเชื้อชาติ การกีดกันสิทธิสตรี ความเท่าเทียมความเพศ
- มีการศึกษาเรื่อง Universal Basic income ซึ่งเคยมีการทดลองใช้ระบบนี้ในช่วงปี 1970 ที่เมืองเล็กๆชื่อ Dauphin ในประเทศแคนาดา แต่โครงการก็ล้มพับหลังจากสามปีผ่านไป เพราะเปลี่ยนรัฐบาลใหม่ แต่เมื่อศึกษาย้อนไปกลับพบข้อดีต่างๆมากมาย เด็กๆได้เรียนสูงขึ้น และผลการเรียนโดยเฉลี่ยดีขึ้น จำนวนทารกเกิดใหม่ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ลดลง ผู้ปกครองมีเวลาอยู่กับลูกมากขึ้น ชั่วโมงการทำงานต่อวันลดลง มีคนป่วยโรคทางจิตเวชลดลง
Opinion
หนังสือเล่มนี้มีลักษณะคล้ายๆกับบันทึกชีวิตและประสบการณ์ของผู้เขียน มากกว่าหนังสือแนววิทยาศาสตร์ เนื่องจากเป็นการเล่าสิ่งต่างๆผ่านมุมมองของผู้เขียน และอ้างอิงเรื่องต่างๆ ผ่านทางผลงานวิจัยที่ผู้เขียนรวบรวมมา และผ่านทางบทสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญ มันทำให้ข้อมูลแต่ละอย่างในหนังสือเล่มนี้มีความน่าเชื่อถือ และมีน้ำหนักมากขึ้น แต่ข้อมูลที่นำมาเสนอก็อาจจะมีความลำเอียงจากผู้เขียนร่วมด้วยเช่นกัน
เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ค่อนข้างเยอะ และมีส่วนที่ซ้ำไปซ้ำมาบ้าง โดยรวมแล้วอ่านได้สนุกและน่าติดตาม แต่ในบางบทก็ค่อนข้างเยิ่นเย้อและน่าเบื่อ
ผมคิดว่าผู้เขียนทำได้ดีใน Part ที่ 1 และ 2 แต่สำหรับใน Part ที่ 3 ซึ่งเป็นการนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาโรคซึมเศร้านั้น ผู้เขียนยังเสนอประเด็นได้ไม่ค่อยหนักแน่นเท่าใด และวิธีแก้ปัญหาแต่ละอย่างก็ค่อนข้างดูกว้างๆเกินไป
และที่สำคัญคือการที่ผู้เขียน เขียนว่า โรคซึมเศร้า ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติจากสารเคมีในสมอง ก็ดูเป็นอะไรที่ชี้นำให้เกิดความสับสน ผมคิดว่าที่ถูกคือ โรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติจากสมองจริง (ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังหาไม่เจอว่ากลไกที่แท้จริงเป็นอย่างไร) แต่ก็มีสาเหตุหลักจากปัจจัยทางทั้งทางชีวภาพ จิตใจ และสังคม ดังนั้นจึงต้องมีการสืบหาต้นตอที่ทำให้ผู้ป่วยคนนั้นเกิดความซึมเศ้รา ไม่ใช่หยุดแค่ว่า โรคซึมเศร้าจากสารเคมีในสมอง แล้วก็กินยาต้านเศร้า แล้วก็จบ
ในโลกที่ผู้คนต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในโลกตะวันตก เราชาวเอเชียที่ได้รับวัฒนธรรมแบบตะวันออกมากขึ้นเรื่อยๆ จึงมีแนวโน้มที่จะเกิด Scenario แบบผู้เขียนหนังสือเล่มนี้มากขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน การเข้าใจโรคซึมเศร้าในแง่มุมนี้จึงเป็นเรื่องจำเป็น และต้องเตรียมตัวไว้ รับมือกับโรคซึมเศ้รา ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในทุกๆวัน