รีวิวหนังสือ: โคโนะ เก็นโตะ ราชาสมองเพชร

รีวิว โคโนะ เก็นโตะ ราชาสมองเพชร
ผู้เขียน : โคโนะ เก็นโตะ
สำนักพิมพ์ : AMARIN HOW-TO
จำนวนหน้า : 213 หน้า
Genre : Self-Help
ISBN : 9786161828998
พิมพ์ครั้งแรก : 28/3/2019

โคโนะ เก็นโตะ ราชาสมองเพชร

6

เนื้อหา

6.0/10

การนำเสนอ

6.0/10

Pros

  • เหมาะสำหรับทุกๆคนที่วางแผนในการเรียน และเตรียมสอบ
  • ได้แง่คิดว่าหัวดีอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีการวางแผนการเรียน และวินัยดีเยี่ยมในการเรียนด้วย

Cons

  • หลายๆส่วนในหนังสือ มีสำนวนการแปลที่เข้าใจยาก
  • เนื้อหาบางส่วนไม่ค่อยเป็นขั้นเป็นตอน จับประเด็นสำคัญยาก
  • เป็นลักษณะเนื้อหา"แบ่งปันประสบการณ์" ซึ่งวิธีการนี้ก็อาจใช้ไม่ได้ผลกับคนอื่นๆมากนัก

Key Messages

  • การเรียนเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ก็ต้องเรียน คำถามจึงไม่ใช่”ทำไมต้องเรียน” แต่คือ คุณต้องเข้าใจว่ามันสำคัญยังไง และหาแรงบันดาลใจในการเรียนให้ได้ เพื่อให้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
  • เทคนิคการเรียนที่ผู้เขียนใช้อยู่ และแนะนำ คือการ เรียนด้วยวิธีคำนวณกลับหลัง คือหาเป้าหมายก่อน แล้วประเมินว่าเราต้องทำอะไรบ้าง ในเวลาเท่าใด ก่อนที่จะลงมือทำ 
  • การลงมือทำต้องมีการทบทวนเสมอ เรียกว่าผ่านวงจร PDCA
  • เทคนิคที่จะใช้ให้เรียนได้ดีนั้น มีอีกสี่อย่าง คือ ต้องเรียนให้เร็วขึ้น เรียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตั้งเป้ามหายให้ชัดทำได้ ไม่สูญเปล่า และ ต้องมีเทคนิคการจำที่ต้องมีทั้ง Input และ output ที่ดี

หนังสือเล่มนี้เขียนโดย โคโนะ เก็นโตะ ซึ่งขณะนี้(2019)เป็นนักเรียนแพทย์ปี5 ของมหาวิทยาลัยโตเกียว เขาสามารถสอบผ่านเนติบัณฑิตของญี่ปุ่นได้ตั้งแต่ครั้งแรก ในขณะที่ผลการเรียนแพทย์ก็ยังดีเลิศ ซึ่งความอัจฉริยะของเขาเป็นที่โด่งดังมากขึ้น หลังจากที่เป็นผู้ชนะการแข่งขันในรายการ King of Brains 2 สมัยซ้อน 

รายการ The King of Brains เป็นรายการแข่งกันตอบปัญหาที่เกี่ยวกับความรู้ด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือความรู้ทั่วไปอื่นๆ โดยจะนำเอาอัจฉริยะ8คนมาร่วมแข่งขันกัน  ซึ่งจะต้องชิงไหวชิงพริบกันสุดๆ ต้องมีความจำเป็นเลิศ และความสามารถในการคำนวณอันเยี่ยมยอด ผู้ที่จะชนะได้จึงต้องมีมันสมองอัจฉริยะมากๆ (สามารถดูความน่าทึ่งของ โคโนะ เก็นโตะ ได้ที่นี่ครับ 

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเล่มแรกของเขา โดยเขาอ้างว่าตัวเขานั้นไม่ได้เกิดมาด้วยมันสมองอัจฉริยะแต่อย่างใด เพียงแต่เขามีความกระหายเรียนรู้ตลอดเวลา มีความสุขกับการเรียนมาก และมีระบบการเรียนที่เป็นแบบแผน (โคโนะ เก็นโตะ เรียกตัวเองว่า “โอตาคุการเรียน”)  จึงต้องการเขียนบันทึกเรื่องราวต่างๆ และวิธีเรียน หวังเพื่อให้ผู้อ่านมีความสุขมากขึ้นกับการเรียนรู้เช่นกัน

หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาหลัก 3 ส่วน 

  1. อธิบายว่าการเรียนสำคัญอย่างไร ทำไมต้องเรียน ทำอย่างไรจึงจะมีแรงบันดาลใจในการเรียนรู้เพื่อให้ประสิทธิภาพของการเรียนสูงที่สุด 
  2. เทคนิควิธีการเรียน : วิธีเรียนคำนวณกลับหลัง ,เทคนิคสี่ข้อในการเรียนให้ประสบความสำเร็จ 
  3. วิธีสอบเข้าโรงเรียนม.ปลายมหาวิทยาลัย วิธีเรียนวิชาต่างๆ และแบ่งปันประประสบการณ์เตรียมสอบเนติบัณฑิต

     

แต่ส่วนที่น่าสนใจนั้นคือ Part 1 & 2 (ส่วนตัวคิดว่า Part 3 ค่อนข้างนามธรรม และเป็นการเอาสิ่งใน part 1/2 มาเล่าซ้ำ จึงไม่ได้สรุปไว้ครับ)

Part 1 : ความสำคัญของการเรียน และ แรงบันดาลใจในการเรียน 
ทำไมต้องเรียน
  • การเรียนเพิ่มทางเลือกในอนาคต เช่น เลือกสาขาอาชีพที่จะเป็นได้มากกว่า 
  • ได้อยู่ท่ามกลางคนที่มีความสามารถ อยู่กับคนเก่งๆ ตัวเองก็จะเก่งตาม 
  • ได้รู้ว่าตัวเองชอบ/ไม่ชอบ ถนัด/ไม่ถนัดอย่างไรในการเรียน  
  • ได้ทักษะฝึกการแก้ปัญหาต่างๆ เอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 
  • เพิ่ม Self-Esteem ในตัวเอง 
ำอย่างไรจึงจะมีแรงบันดาลใจในการเรียน 
  • ระลึกเสมอว่าการเรียนนั้นเต็มไปด้วยข้อดี 
  • ฝึกนิสัยให้ตั้งเป้าหมายของตัวเองโดยเสมอ เช่น เที่ยวอย่างมีเป้าหมาย (ไม่เที่ยวตอนนี้ จะไม่มีเวลาแล้วเรียนอย่างมีเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นอะไรก็ได้ เพื่อประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม หรือเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัว (มีคนชื่นชม , ไต่เต้าชนชั้นทางสัคมรายได้หาแฟนง่ายขึ้นแต่เขาเชื่อว่าเป้าหมายที่ดีคือเพื่อสังคม ซึ่งนั่นก็เป็นการทำเพื่อตัวเองด้วย เพราะตัวเองจะมีความสุขเมื่อได้ทำเพื่อคนอื่นนั่นเอง 
  • ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนและยิ่งใหญ่ไว้ก่อน เช่น เรียนเพื่อไปช่วยคนอื่น และอย่าตั้งเป้าหมายเพียงเพื่อจะเอาชนะความพ่ายแพ้ (เช่นสอบตก โดนบอกเลิก) 
  • ทำการเรียนให้เป็นเรื่องสนุก โดยการใช้ 2 เทคนิคหลักๆ 
    • 1. วงจรฉันทำได้ ยิ่งทำได้สำเร็จ ยิ่งณู้สึกสนุก จะทำให้ยิ่งมีแรงบันดาลใจทำต่อไป ในการเรียน สิ่งที่จะช่วงให้หมุนวงจรฉันทำได้ คือ  
      • 1. เรียนหนังสือด้วยวิธีที่เหมาะสมกับเป้าหมาย 
      • 2. เรียนหนังสือในระดับที่เหมาะกับตัวเอง : เริ่มจากเรียนเรื่องง่ายๆ ค่อยไปเรียนเรื่องยากๆ  
      • 3. เรียนหนังสือให้เหมือนเล่นเกม : มีเทคนิคย่อยอีก 3 ข้อคือ 
        • Time Attack : คิดว่าตัวเองจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จในเวลาอันสั้นได้หรือไม่ เช่น เดิมใช้เวลา 10นาที ในการทำแบบทดสอบ เมื่อถึงคราวหน้าก็ให้ท้าทายตัวเองว่าจะทำได้เร็วกว่าเดิมสัก 1-2 นาทีไหม ถ้าทำได้เราจะรู้สึกดีัและสนุกมากขึ้น 
        • Score : คิดว่าเราจะทำคะแนนได้ดีแค่ไหน การทำแบบทดสอบครั้งต่อๆไปให้ตั้งเป้าหมายให้สูงขึ้น เชช่นทำถูกจาก 50% -> 70% ถ้ามันเพิ่มเราก็จะรู้สึกดีขึ้น  
        • Checklist : วางแผนในแต่ละวันเป็น To do list ว่าจะทำอะไรบ้าง เช่น วันนี้จะอ่านหนังสือเล่มไหนบ้าง จะท่องศัพท์กีคำ ถ้าทำได้ก็ให้ขีดฆ่ารายการนั้น โดยการทำ Checklist นั้นให้ทำแบ่งรายการย่อยไว้ด้วย จะได้มีรายการให้ขีดฆ่าได้เยอะๆ ทำให้เราเห็นว่าเรามีพัฒนาการดีขึ้นๆ 
    • 2. เพิ่มความอยากรู้อยากเห็นไปเรื่อยๆ 
      • สิ่งต่างๆนั้นมีความน่าสนใจเสมอ อยู่ที่มุมมองความคิดของเราว่าจะแปลผลมันยังไง  แม้จะเป็นอะไรที่ดูน่าเบื่อมากๆ หรือเราไม่ชอบจริงๆ ถ้าเราเปลี่ยนความคิดเราเอง มันก็น่าสนใจได้ 
      • ถ้าเราชอบอะไรก็ทำมันให้สุด ท้ายที่สุดแล้วสิ่งเหล่านั้นจะนำไปสู่การเรียนรู้เองช่น ชอบเล่มเกม ก็อาจอยากทำเกมเอง ซึ่งก็จะนำไปสู่การเรียนเขียนโปรแกรม 
Part 2 : วิธีการเรียนและเตรียมสอบ 
เรียนด้วยการคำนวณกลับหลัง 
  • เขาบอกว่ามีหลายๆคนที่ตั้งใจเรียน แต่ผลการเรียนก็ไม่ไปไหน อาจเป็นเพราะเขาเรียนโดยไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนนั่นเอง ทำให้เสียเวลาไปกับสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายใช้เวลาทุ่มเทมากๆ  ทั้งๆที่เรามีเวลาจำกัด  
  • วิธีการเรียนด้วยการคำนวณกลับหลังนี้จึงเป็นวิธีที่ช่วยให้สร้างผลสำเร็จได้มากสุด และเหนื่อยน้อยที่สุด 
  • เพราะ ผลลัพการเรียนนั้นขึ้นกับ ทิศทางในการพยายาม และ ระยะเวลาในการพยายาม เช่น ถ้าจะสอบภาษาอังกฤษสำหรับเข้ามหาวิทยาลัย แต่ดันใช้เวลามากมายไปกับการท่องdictionary ทั้งเล่ม มันก็คือการเสียเวลาไปกับทิศทางที่ผิด สู้เอาเวลามาอ่านเก็งคำศัพที่น่าจะออกหรือออกบ่อยๆดีกว่า
  • การเรียนกลับหลัง ทำให้เรากำหนดทั้งทิศทางได้ และ ทำให้เรารู้ว่าเรามีระยะเวลาเท่าใดนั่นเอง
วิธีการเรียนกลับหลัง มี 5 ขั้นตอนคือ 
  • 1. รู้เป้าหมาย และตั้งมันอย่างเป็นรูปธรรม 
    • ถ้าเป้าหมายคือการสอบ ก็ต้องรู้ว่าจะสอบวิชาอะไร และต้องทำได้กี่คะแนนจึงจะบรรลุเป้าหมาย (เช่น สอบผ่านเอาทไหร่ เราจะพยายามทำให้ได้กี่%) แล้วก็ดูว่าเรามีเวลาที่เหลือในการเตรียมตัวเท่าไหร่ 
    • จากนั้นคัดกรองเนื้อหาที่ออกสอบคร่าวๆ โดยดูขอบเขตเนื้อหาและข้อสอบเก่า ดูว่ามันจะออกข้อสอบตรงไหนบ้าง   
    • เมื่อรู้ขอบเขตเนื้อหาที่ออกสอบแล้ว ดูว่าจะต้องทำให้ได้แค่ไหน โดยดูข้อสอบเก่าๆแบบผ่านๆ แล้วดูว่าเรามีความรู้สึกเช่นไร เช่น ถ้าเสริมตรงนี้นิดหน่อยก็ทำได้ หรือ อ่านเฉลยแล้วยังไม่เข้า การทำแบบนี้ทำให้เรารูว่าตัวเองอยู่ห่างเป้าหมายแค่ไหน 
    • ทั้งนี้ เน้นว่าข้อสอบเก่านั้นใช้เพื่อหาแนวทางมาดูว่า เนื้อหาตรงที่จะได้คะแนนเยอะ และ ข้อสอบเน้นความเข้าใจด้านไหน เราจะได้มีแนวทางว่าควรเริ่มอ่านหนังสือตรงไหน และเน้นตรงไหนเป็นพิเศษ 
  • 2. กำหนดสิ่งที่ต้องทำ จนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย 
    • 1. ก่อนอื่น ให้ถามคนอื่น 
      • ถามคนเก่งๆ หรือ คนที่สอบมาก่อน หรือ อาจารย์ ว่าควรอ่านหนังสือเล่มไหนบ้าง เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมาย โดยพยายามถามจากหลายๆแหล่งมาพิจารณารวมกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากสุด  วิธีนี้จะมีคุณภาพมากกว่ามานั่งคิดเองคนเดียว 
    • 2. นำข้อมูลที่ได้มาสรุปเป็นสิ่งที่ต้องลงมือทำจริงๆ 
      • การเอาหนังสือที่ทุกคนแนะนำมาอ่าน เป็นเรื่องที่ไม่เข้าท่า เพราะต้องใช้เวลานานมาก และอ่านแบบกว้างเกินไป ใช้ทำข้อสอบจริงไม่ได้ จึงต้องมีการ จัดลำดับความสำคัญของหนังสือติวสอบ 
      • ทำได้อย่างไร มีเกณฑ์สองข้อในการเลือก  
        • 1. มีเนื้อหาครอบคลุมที่สุด เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาหลายๆเล่ม แล้เสริมส่วนที่เรายังไม่ค่อยเข้าใจด้วยหนังสทือรวมแบบฝึกหัดที่เน้นเนื้อหาหลัก 
        • 2. ถ้าเลือกไม่ถูก ก็เลือกเล่มที่คนส่วนใหญ่ใช้กัน ก็จะทำให้เราไม่น่าพลาด หรือ ไม่น่าทิ้งห่างจากคนอื่นมากนัก
      • การเลือกที่เรียนพิเศษ ก็ใช้เกณฑ์นี้เช่นกัน  
      • อย่างกกับการลงทุนเพื่อตัวเอง อย่าตัดตัวเลือกหนังสือ หรือสถานที่ที่กวดวิชาออก เพราะว่ามันแพง 
  • 3. จัดตารางสิ่งที่ต้องทำ (To do List) 
      • แรกๆให้ตั้งเป้าหมายคร่าวๆ ก่อน เช่น จะอ่านหนังสือเล่มนี้จบภายใน สัปดาห์ แล้วพอได้อ่านหนังสือจริงๆ เราก็จะรู้ว่าเราอ่านได้เร็ว/ช้า แค่ไหน และแต่ละวันเรามีเวลามากน้อยแค่ไหน ก็ให้จัดตารางเวลาให้ละเอียดเป็นรายวันและรายสัปดาห์ และใช้ To do list ที่ละเอียดๆ (เรียนให้เหมือนเล่นเกม) และใช้ PDCA 
      • การวางแผนสิ่งที่ต้องทำนั้นก็อาจจะมีหลายๆครั้งที่ไม่เป็นไปตามเป้า สิ่งสำคัญคือไม่ยกเลิกกลางคัน 
  • 4. ลงมือทำ : แบ่งออกเป็นส่วนของ “การมองภาพรวม” และ สร้าง Output
    • 4.1 การมองภาพรวม
      • แน่นอนว่าเราต้องรู้ว่าสิ่งที่เราเรียนอยู่คืออะไร แต่ก็ต้องคำนึงถึงภาพรวมด้วยว่า ไอ้ที่เราเรียนอยู่นั้นมันอยู่ส่วนไหนของภาพรวมวิชานั้น และมันกำหนดความสำคัญต่อภาพรวมนั้นอย่างไร เช่น หากเรียนวิชาประวัติศาสจร์ญี่ปุ่น แทนที่จะท่องจำทุกอย่าง ก็ให้มาดภาพรวมทั้งหมดของเนื้อหาก่อน แล้วค่อยๆ เก็บรายละเอียดของแต่ละบท 
      • การคิดถึงภาพรวม หมายถึงการคิดถึงกิ่งไม้ 
      • กิ่งไม้คือ ใจความสำคัญ ก้านและใบคือรายละเอียดปลีกย่อยที่ไม่น่าจะออกสอบ 
      • การคำนึงภาพรวมคือการมองหากิ่งไม้ให้ออก และหาว่ามันเชื่อมโยงกันอย่างไร เมื่อมีกิ่งไม้ที่ชัดเจน เราจะมีฐานสำหรับสร้างก้านใบที่ชัดเจนเช่นกัน เวลาเรียนส่วนของก้านและใบ เราก็จะเข้าใจว่าแท้จริงแล้วมันอยู่ที่ส่วนของก้านไหน  
      • การตั้งใจเรียนโดยเน้นรายละเอียดปลีกย่อย มักจะทำให้เราพลาดส่วนสำคัญ และทำคะแนนสอบได้ไม่ดี 
      • วิธีสร้างกิ่งไม้ 
        • ถามคนอื่น  เช่นคนที่สอบผ่านแล้ว หรืออาจารย์ และรวมถึงจากแหล่งต่างๆ เช่น บทสัมภาษ อินเตอร์เน็ต  ก็จะทำให้รู้ว่าตรงไหนเป็นใจความสำคัญ ที่ข้อสอบเน้น หรือออกสอบบ่อยๆ และต้องแยกให้ออกระหว่างบทที่ชอบ กับบทที่ออกสอบ เขายกตัวอย่างว่าในการสอบเนติบัณฑิต ข้อสอบที่เป็นกฏหมายรัฐธรรรมนูญนั้นแทบไม่ออก แต่มันก็สำคัญมากสำหรับการเป็นทนาย ดังนั้นถ้าโจทย์คือการสอบให้ผ่าน การเน้นอ่านกฏหมายรัฐธรรมนูญจึงไม่ถูกต้องเท่าไหร่นัก 
        • ไว้พอสอบผ่านแล้ว ค่อยกลับมาอ่านอย่างละเอียดอีกทีก็ได้  
      • จัดลำดับความสำคัญด้วยตัวเอง  
        • มองประเด็นสำคัญของเนื้อหาต่างๆให้ออกได้ด้วยตัวเอง โดยหนึ่งในวิธีที่แนะนำคือการทำข้อสอบเก่า คำถามที่ออกบ่อยๆ ก็น่าจะเป็นส่วนสำคัญ เราต้องมองให้ได้ว่าคำถามที่ชอบนำมออกบ่อยๆนั้นมีจุดร่วมคืออะไร เพราะบ่อยครั้งโจทย์ก็เอาแกนหลักเดิมๆมาออก แต่เปลี่ยนด้านรายละเอียดไปเท่านั้นเอง และ เราต้องวิเคราะห์โจทย์ที่เคยทำผิดอย่างละเอียด ว่าเราทำผิดตรงไหน ก็จะช่วยให้เห็นภาพรวมได้ดีขึ้น 
    • 4.2 สร้าง output 
      • วิธีการเรียนโดยพึ่งแต่ input (ได้ดู ได้ฟัง ได้อ่าน) เพียงอย่างเดียว โดยไม่คิดตามเลย  เพราะถือว่า ได้เรียนแล้ว ซึ่งก็คือการเรียนที่มีแต่ Input ไม่มี Output เลยเป็นสิ่งที่อันตรายมากๆ 
      • การมีแต่ Input จะทำให้จำได้แค่ 20-30%, แต่ Output นั้นจะได้ถึง 70-80% เลยทีเดียว ,
      • Output ที่ดีที่สุดคือการสอนคนอื่น เพราะก่อนที่เราจะอธิบายให้ใครฟังได้ เราต้องจับประเด็นสำคัญให้ได้ก่อน และสรุปเป็นคำพูดของตัวเราเองได้ ฉะนั้นการสอนคนอื่นคือการสร้าง output ที่มีประสิทธืภาพอย่างมาก  
      • แนะนำว่าถ้าเป็นการสอนหนังสือกับเพื่อน ให้แบ่งกันติวเนื้อหา ผลัดกันสอน เช่น ให้แต่ละคนไปสรุป 100 หน้าแล้วมาผลัดกันสอน วิธีช่วยลดเวลาอ่านหนังสือ และทำให้การอ่านหนังสือที่ต้องคิดตลอดเวลาว่าตรงนี้สำคัญ/ไม่สำคัญ จะออกสอบมั้ย ทำให้มีประสิทธิภาพในการเรียนมากขึ้น 
  • 5. ตรวจสอบการดำเนินงานอย่างเป็นระยะ 
    • แผนที่วางไว้แต่แรกนั้นไม่ใช่แผนที่ดีที่สุดเสมอไป หากวางแผนไว้แล้วไม่ปรับเลี่ยนให้ดีขึ้น ก็จะไม่เกิดการพัฒนา  
เทคนิคสี่ข้อในการเรียนให้ประสบความสำเร็จ 

เมื่อรู้วิธีเรียนแบบถอยหลังแล้ว เทคนิคสี่ข้อนี้ก็จะเสริมความสำเร็จมากขึ้น 

  • 1. พิ่มประสิทธิภาพให้เรียนได้รวดเร็วขึ้น 
    • ลดความเครียด เพื่อให้เรียนได้อย่างมีความสุข ต้องสนุกกับการเรียน อย่ากดดันตัวเอง เครียดแล้วให้รีบนอน การทนอ่านหนังสือต่อไปก็ไม่มีประโยชน์ สู้ไปงีบสั้นๆ หรือนอนไปเลยยังจะดีกว่า 
    • แนะนำให้ทำ Coffee nap ในการงีบ อาจทำให้ร่างกายสดชื่นมากขึ้น 
    •  เปลี่ยนสถานที่หรือสร้างสภาพแวดล้อม ให้ตัวเองมีสมาธิ เลือกสถานที่ที่เหมาะกับตัวเรา
    • กำหนดระยะเวลาเรียนที่เหมาะสมกับตัวเอง  อ่านเมื่ออยากอ่าน ง่วงเมื่อไหร่ก็นอน อ่านหนังสือตามที่สภาพร่างกายตัวเองจะอำนวย ตัวเขาไม่เคยกำหนดเลยว่าในวันนี้ จะอ่านหนังสือให้ได้กี่ชั่วโมง 
  • 2. ใช้เวลาให้มีประสิทธิภาพกว่าคนอื่น 
    • เพิ่มเวลาอ่านหนังสือ โดยไม่ทิ้งเวลาพัก เลือกมิธีพักที่มีจุดสิ้นสุด เช่น พักโดยฟังเพลงสามเพลง 
    • อ่านวิชาที่ถนัดแทนการพักผ่อน 
    • ทำการอ่านหนังสือให้เป็นกิจวัต 
    • ใช้เวลาว่างระหว่างกิจกรรมต่างๆให้เป็นประโยชน์ เช่นระหว่างเดินทาง แปรงฟัน อาบน้ำ แม้มือไม่ว่าง สมองเราก้ยังว่างให้คิดทบทวนบทเรียนได้ 
    • หาเวลาว่างๆยาวๆ ให้วิชาที่ต้องอาศัยความเข้าใจอย่างเป็นระบบ 
    • หาเวลาให้น้อยที่สุด กับวิชาที่จำเป็นน้อยสุด เช่น ถ้าเรามีงานให้ทำเยอะมาก และมีวิชาที่เราเน้นกว่า วิชาที่เราไม่เน้นเราก็แค่กำหนดเวลาน้อยๆ ตั้งเป้าหมายให้พอผ่าน อาจจะเป็นค่อยอาจตอน วันก่อนสอบ เป็นต้น 
  • 3. ตั้งเป้าหมาย ที่จะไม่สูญเปล่า  
    • แผนที่วางไว้ต้องเป็นแผนระยะยาวที่เราทำได้ต่อเนื่อง และไม่ฝืนตัวเองมากไป 
    • อย่าให้เครื่องมือกลายเป็นเป้าหมาย เช่น การฝึกทำข้อสอบเก่านั้นเพื่อเป็นการทดสอบความรู้ตัวเอง ข้อสอบเก่าเป็นแค่เครื่องมือ อย่าตั้งเป้าหมายว่าทำข้อสอบเก่าได้ = สำเร็จแล้ว 
    • อีกอย่างที่เจอบ่อยคือ สมุดโน้ต บางคนจริงจังกับการทำสมุดโน้ตมากเกินไป ค่อยคัดลอกข้อมูลจากชีทเรียน ค่อยๆ highlight วาดรูปประกอบ ซึ่งหากจริงจังกับมันมาก อาจทำให้คุณหลงทางจากเป้ามหายที่แท้จริง (สอบได้ สอบผ่าน) ไปเป็นการตั้งมั่นทำสมุดโน้ตให้เสร็จแทน 
    • สมุดโน้ตมีข้อเสียใหญ่ๆ คือ
      • 1. การเขียนต้องใช้เวลา เขาแนะนำว่าคุณควรจะดูและจำให้ได้ก่อน ถ้ายังไงก็จำไม่ได้สักที อาจไปลองเขียนโน้ต
      • 2. บางคนพอได้สรุปเนื้อหาในสมุด ก็จะร้สึกดีใจว่ามีความรู้ในสมุดแล้ว ทำให้สมองขี้เกียจจำ 
    • ข้อดีของสมุดโน้ต ถ้าจะใช้ คือการช่วยสรุปเนื้อหากว่างๆ ให้ได้ใจความสำคัญ คือไม่ใช่ลอกหนังสือมา แต่เอาเนื้อหาที่ซับซ้อนในหัวมาสรุป โดยเน้นประเด็นสำคัญว่า “มีคำอธิบายยืดยาวเลย แต่สุดท้ายก็คือ OO” และทำให้ตัวเองเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น 
    • เช่นกันในตอนเรียน หากเราฟังอาจารย์ก็ไม่ต้องพยายามจดโน้ตทุกคำพูด ให้ฟังและสรุป จดโน้ตสั้นๆไว้ หรือถ้ามีหนังสือแล้ว ก็พยยามอ่านตามแล้วลากเส้นโยงส่วนที่เกี่ยวข้องกัน หรือเขียนคำอธิบายเพิ่มเติมแทรกในเนื้อหาส่วนต่่างๆ เพื่อให้การกลับมาทวน มีประสิทธิภาพมากขึ้น 
  • 4. เทคนิคการท่องจำที่ใครๆก็ทำได้ 
    • ทบทวนซ้ำๆหลายๆครั้ง การเปลี่ยนความจำระยะสั้น เป็นระยะยาว ต้องอาศัยการท่องจำบ่อยๆ 
    • พูดถึงเส้นโค้ง แห่งการลืม (Forgetting Curve) พบว่า หลังผ่านไป 20 นาที ระดับความสามารถในการเก็บข้อมูลจะอยู่ที่ 58% 1 วันจะเหลือ 34 และ 6 วัน เหลือ 25 ซึ่งสมองผู้เขียนก็เป็นแบบนั้นเช่นกัน 
      • วิธีที่แนะนำ คือ ทบทวนท่องจำหลังได้ข้อมูลนั้นมาแล้วเป็นเวลา 30 นาที 1 ชั่วโมง 1 สัปดาห์ และ 1 เดือน 
    • สร้าง Output เวลาท่องจำ พยายามดึงข้อมูลต่างๆในหัวมาทวนซ้ำ จะทำให้จำระยะยาวได้ดีขึ้น 
    • ใช้การเล่นคำ (Mnemonic) ให้เป็นประโยชน์ ในการจำคำนวนมากๆ หรือ คำศัพท์ยาวๆ

Opinion

แม้ว่าเนื้อหาหลักของหนังสือจะอยู่กับการเรียน และการเตรียมสอบเก็บคะแนนและสอบเข้า แต่หนังสือเล่มนี้ก็เหมาะกับทุก โดยคนที่ยังต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือสนใจศึกษาสิ่งใหม่อยู่สม่ำเสมอ ยอมรับว่าในตอนแรกผมเองก็มีอคติกับหนังสือเล่มนี้ เพราะผมคิดว่าคนที่เก่งขนาดนี้ส่วนใหญ่แล้วก็เกิดมาด้วยมันสมองอัจฉริยะ มีต้นทุนมากกว่าคนอื่น ไม่ต้องทำอะไรมากก็เก่งได้ แต่เมื่อได้อ่านเกี่ยวกับวิธีการเรียนและเตรียมสอบ ที่ต้องอาศัยการทบทวนความผิดพลาด (ในหนังสือตั้งชื่อว่า หมุนวงจร PDCA) การวิธีการวางแผนอย่างละเอียด และประสบการ์การวางแผนเตรียมสอบต่างๆ ก็ทำให้เข้าใจว่านอกจากผู้เขียนหนังสือจะเป็นอัจฉริยะแล้ว ยังเป็นคนที่มีวินัยเป็นเลิศ ซึ่งนั่นก็ช่วยยืนยันว่าคนที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น จะขาดความพยายาม ความขยัน และวินัยไปไม่ได้เลย 

อย่างไรก็ตามหนังสือเล่มนี้มีหลายๆจุดที่อ่านแล้วเข้าใจยาก (หลายๆส่วนน่าจะจากสำนวนการแปล) และค่อนข้างเป็นนามธรรมเกินไป รวมถึงลำดับขั้นของเนื้อหาที่มีการวนซ้ำบ้างในบางจุด และไม่ได้เป็นลำดับขั้นตอนนัก (ให้อารมณ์ว่านึกได้แล้วจึงมาเขียนที่หลัง) รวมถึงวิธีการเรียนนั้นก็เป็นจากประสบการณ์ของผู้เขียนคนเดียว ซึ่งก็อาจใช้ไม่ได้กับทุกคน  

Share

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter

รีวิวหนังสือล่าสุด

China Next Normal รีวิว หนังสือ
Social Science

รีวิวหนังสือ: China Next Normal – วิกฤตและโอกาสของจีนในโลกหลังโควิด

จีนจะเป็นอย่างไรในยุคPost Corona เมื่อ COVID มาเร่งเวลาเข้าสู่ China Next Normal – วิกฤตินี้สร้างโอกาสให้จีนได้อย่างไร หาคำตอบได้ในเล่มครับ

post corona book review รีวิว
Social Science

รีวิวหนังสือ: Post Corona – From Crisis to Opportunity

โลก(อเมริกา) จะเป็นอย่างไรในยุค Post Corona – หนังสือที่ว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงที่จะรวดเร็วและรุนแรง ผ่านมุมมองของศาสตราจารย์นักธุรกิจชั้นเซียน

บทความอื่นๆ

Solon's Warning คำเตือนของ โซลอน
Perspective

คำเตือนของโซลอน – Solon’s Warning

เมื่อพระเจ้าครีซัสผู้มั่งคั่งและทรงอำนาจที่สุดแห่งยุคตรัสถาม โซลอน ว่าเคยพบใครที่มีความสุขมากกว่าพระองค์หรือไม่ เขากลับตอบชื่อสามัญชนที่เสียชีวิตแล้วกลับมา!