จีน-เมริกา: จากสงครามการค้า สู่สงครามเทคโนโลยี ถึงสงครามเย็น 2.0
Pros
- อธิบายเรื่องความขัดแย้งของจีน และสหรัฐ ในหลายๆมิติได้อย่างกระจ่างชัด
- เนื้อหาค่อนข้างกระชับ มีแหล่งอ้างอิงชัดเจน
- ใช้ภาษาง่าย อ่านสนุก โดยเฉพาะ Part แรก
Cons
- ต้องมีพื้นฐานเรื่องจีนมาก่อน จึงจะเข้าใจประเด็นต่างๆได้ดีขึ้น (แนะนำอ่าน China 5.0 มาก่อน)
- Part เทคโนโลยี และเรื่องอิทธิพลจีน ให้ความรู้สึกบทความกระจัดกระจายไปหน่อย
Key Messages
- ปัจจัย 3 ประการ ที่เป็นตัวเปลี่ยนชะตากรรมของประเทศมาทุกยุคทุกสมัย คือ การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร, การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และ การเปลี่ยนแปลงของภูมิรัฐศาสตร์โลก (Geopolitics)
- หากมีปัจจัยข้อใดข้อหนึ่ง เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล เมื่อนั้นเราจะเข้าสู่ยุคพลิกผัน ที่เกมและกฏกติกาต่างๆกำลังค่อยๆก่อร่างใหม่ จะมาคิดแบบเดิมๆ ทำแบบเดิมๆ ไม่ได้ เราต้องปรับตัว
- สงครามการค้า (Trade War) ระหว่างจีน และอเมริกา มีมากกว่าแค่เรื่องสหรัฐขาดดุลการค้ากับจีน มีอีก 2 มิติ ที่ลึกกว่าเรื่องนี้ อ.อาร์ม เรียกมันว่า “ทฤษฎีหมูสามชั้น”
- ชั้นแรก คือชั้นผิวๆ ก็คือ เรื่องการค้า ชั้นสอง คือ ความขัดแย้งเรื่อง เทคโนโลยี คือ สหรัฐกำลังกังวลว่าจีนกำลังกระโดดอย่างรวดเร็วเกินไป และ ชั้นที่สาม ซึ่งสำคัญที่สุด คือเรื่องของความมั่นคง ซึ่งผูกกับเทคโนโลยีใหม่ๆอีกที
- แต่เดิมนั้น เศรษฐกิจของสหรัฐ และ จีน แทบจะกลายเป็นห่วงโซ่เดียวกัน แบ่งแยกไม่ได้ โดยสหรัฐคือผู้นำทาง R&D ส่วนจีนเป็นผู้นำทางการผลิต ในอดีต เศรษฐกิจโลกจึงเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน
- การแตกหักของทั้งสองประเทศ จึงไม่สามารถเป็นไปได้ในชั่วข้ามคืน แต่มันจะทำเกิดเป็นยุคที่ห่วงโซ่อุปทาน แบ่งออกเป็นสองส่วน แยกออกจากกัน จาก “จีนเมริกา” กลายมาเป็น “จีน-เมริกา”
- การแบ่งแยกนี้อาจไม่จำกัดแค่ห่วงโซ่อุปทาน แต่อาจแบ่งแยกโลกนี้ ให้กลายเป็นโลกที่มีสองอินเตอร์เน็ต
- จีนวันนี้ เป็นเผด็จการไฮเทค ที่สามารถควบคุมจัดการสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ หักล้างกับความเชื่อว่าเผด็จการจะไม่ยั่งยืน เช่นกรณีศึกษาในอดีต และจีนเป็นชาติเดียวที่จะมาแข่งขันกับสหรัฐในเรื่อง Platform อินเตอเน็ตแบบเต็มตัว
- สงครามระหว่างสองมหาอำนาจ ที่มีเรื่องการค้าเป็นแค่ผิวนอกนี้ จะเป็นสงครามยืดเยื้อ สหรัฐ ต้องการรีบเผด็จศึกจีน ส่วนจีนก็ต้องการประวิงเวลา รอให้สหรัฐสะดุดขาตัวเอง หรือ รอจนตัวเองพัฒนาเทคโนโลยีได้อย่างทิ้งห่างมากขึ้น
- สุดท้าย สงครามการค้านี้จะนำไปสู่สงครามเย็น 2.0 เกิดจุดสมดุลระหว่างสองยักษ์ ที่ต่างฝ่ายไม่มีวันล้มอีกฝ่ายได้ ต่างจากที่สหรัฐเคยล้มโซเวียตได้ โลกมาถึงจุดจบการนำเดี่ยวของสหรัฐ และถึงจุดที่จีนขึ้นมาผงาดเต็มตัว
- โลกในอนาคตจะแตกเป็นสองแกน สองห่วงโซ่อุปทาน และสองอินเตอร์เน็ต
- ประเทศและคนที่รอด ไม่ใช่คนที่เลือกข้างแบบเชียมวย แต่คือคนเล่นเกมและเล่นตัวไปกับสองมหาอำนาจ อย่างรู้เท่าทัน
The Dragon Strikes Back
จากหนังสือเล่มที่แล้ว (China 5.0) ที่ผู้เขียนได้กล่าวไว้อย่างท้าทายความคิดว่า
“เพราะโลกยุคใหม่ไม่ใช่โลกของอังกฤษ สหรัฐ หรือเยอรมันนี แต่เป็น “โลกของจีน” โลกที่ ‘จีน’ เป็นวิชาบังคับ ไม่ใช่วิชาเลือกอีกต่อไป”
หนังสือ จีน-เมริกา ของอาจารย์ อาร์ม ตั้งนิรันดร จะนำผู้อ่านออกสำรวจแง่มุมของ “จีน” อย่างเจาะลึก อีกครั้ง
โดยคราวนี้ อ.อาร์มจะเน้นไปที่เรื่องของเทคโนโลยีจีน อิทธิพลจีนต่อประเทศต่างๆในโลก และ ประเด็นเรื่องสงครามการค้าระหว่าง จีน และสหรัฐ
ถ้าเราคิดยังคิดว่า จีน และ อเมริกา เป็นศัตรูกันมาตลอด มีความสัมพันธ์เป็นแค่คู่แข่งทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และไม่ได้มีความยึดโยงอะไรกันทั้งสิ้น
หนังสือเล่มนี้จะบอกเราว่า เราคิดผิดยังไงครับ!
ทำไมต้อง จีน-เมริกา?
ขีดตรงกลาง ที่แยกจีนออกจากอเมริกา นั้นมีความหมายสื่อว่า เดิมที จีน และ อเมริกา เคยเชื่อมโยงกันในทางเศรษฐกิจและเป็นมิตรกันในทางการเมือง มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกัน เป็น “จีนเมริกา (Chimerica)”
บัดนี้ ก็กลายมาเป็นยุคแข่งขันชิงความเป็นมหาอำนาจในโลกไฮเทค เข้าสู่ยุค “จีน-เมริกา”
จีน-เมริกาคือเครื่องหมาย ที่นำไปสู่จุดจบของยุคโลกาภิวัตน์ ไปสู่โลกยุคสองแกน ชิงขัยผ่านสงครามการค้า สงครามเทคโนโลยี จนอาจเป็นสงครามเย็น 2.0
ซึ่งสงครามเย็น จีน-เมริกา ครั้งนี้ จะไม่เหมือนเดิม
เนื้อหาในหนังสือ จีน-เมริกา จะมี format คล้ายเล่มเดิม คือเป็นการรวบรวมบทความต่างๆ ที่อ.อาร์ม เคยเขียนไว้ตามสื่อต่างๆ มาปรับปรุง เรียบเรียง จัดกลุ่ม ให้สอดคล้องกัน และทันสมัยมากขึ้น
เนื้อหาเล่มนี้จะแบ่งออกเป็น 3 Part หลัก คือ
1. สงครามการค้าระหว่างจีน และสหรัฐ
แก่นหลักของบทนี้ จะพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ และจีน ที่เดิมนั้นมีเศรษฐกิจเชื่ิอมโญงเป็นหนึ่งเดียวกัน พึ่งพาอาศัยกัน แต่เมื่อเกิดสงครามการค้า โลกก็เลยวุ่นวาย อ.อาร์มพยายามชี้ว่าสงครามการค้านี้ มีความลึกล้ำกว่าแค่เรื่อง “ดุลการค้า” ที่สหรัฐใช้เป็นข้ออ้างบังหน้า ในเบื้องลึก สงครามครั้งนี้มันคือความขัดแย้งกันเรื่องเทคโนโลยี ซึ่งจีนจัดหนักจัดเต็มเรื่องนี้ และมาแรงมากๆ ในอนาคตหากใครเป็นผู้นำได้ ก็จะกลายเป็นผู้กุมความได้เปรียบเชิงความมั่นคงโดยปริยาย
และเมื่อโลกจากเดิมที่เคยมีความเกี่ยวโยงเป็นเศรษฐกิจเดียวกัน เมื่อยักษ์ใหญ่มาแตกหักกันเอง จะเป็นอย่างไรต่อไป?
2. เปรียบเทียบเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ระหว่าง จีน VS สหรัฐ
Part นี้จะเป็นคล้ายๆบทเสริมจากหนังสือ China 5.0 ในเรื่องเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีจีน แต่จะเน้นไปที่เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างของแนวคิดระหว่างสองขั้วอำนาจนี้มากขึ้น อาจารย์จะชี้ให้เห็นว่าบริษัทจีน มีดี กว่าที่หลายๆคนอาจจะคิดว่าที่เจริญอยู่ได้เพราะ ถนัดลอก หรือมีรัฐบาลช่วย มีปัจจัยมากมายและการวางแผนอย่างดี ที่ทำให้จีนมาถึงจุดนี้
3. อิทธิพลจีนต่อประเทศต่างๆ นอกเหนือสหรัฐ
บอกเล่าถึงความสัมพันธ์ของจีน และอิทธิพลที่มีต่อชาติอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ฮ่องกง เกาหลีเหนือ ออสเตรเลีย EU อังกฤษ(และ Brexit) และประเทศต่างๆตามแผน BRI (Belt and Road initiatives – ชื่อใหม่ของ One Belt One Road ) รวมถึงกลุ่ม ASEAN ว่ามีความเกี่ยวโยงกันยังไง
Opinion
แม้หนังสือเล่มนี้จะชื่อว่า จีน-เมริกา แต่ด้วยตัวเนื้อหาผมคิดว่านี่เป็นหนังสือ China 5.0 ภาค 2 (+ สงครามการค้า) ครับ
ก่อนจะอ่านหนังสือเล่มนี้ ผมคิดว่าผู้อ่านต้องพอรู้เรื่องจีนมาก่อนบ้าง
เช่น รู้ว่าจีนมาถึงจุดนี้ได้ยังไง จีนมีอิทธิพลต่อโลกขนาดไหน ทำไมจีนถึงต้องเน้นพัฒนาเทคโนโลยี AIและ Big Data จะเป็นไพ่เด็ดของจีนได้ยังไง
ไม่งั้นถ้ามาอ่านเล่มนี้โดยไม่มีค่อยรู้อะไรมาก่อนเลย เกรงว่าจะอ่านแล้วเข้าใจยากครับ
ซึ่งแน่นอนว่า ง่ายสุด คือซื้อหนังสือ China 5.0 มาอ่านเพื่อ “ปูพื้นฐาน วิชาจีน” ก่อนนั่นเอง
แล้วพอมาอ่านหนังสือเล่มนี้ แก่นสาระเรื่องแนวโน้มการพัฒนาของจีน จะทำให้เรา Get Idea ของอ.อาร์ม และข้อมูลต่างๆที่อาจารย์ได้เรียบเรียงนำเสนอ ได้อย่างสนุกและเห็นความลึกซึ้งมากขึ้นครับ
เช่นเดียวกับหนังสือ China 5.0 ที่ผมคิดว่าเนื้อหาในเรื่องการเมือง และเศรษฐกิจนั้น ผู้เขียนสามารถอธิบายได้แจ่มแจ้งและลึกซึ้งมากๆ
โดยเฉพาะ Part สงครามการค้า ที่ผมชอบมาก อ่านจบแล้วพอมาอ่านข่าวที่เกิดขึ้น มันทำให้เรามอง “ทรัมป์” มอง “สีจินผิง” ต่างไปสิ้นเชิง
จากก่อนหน้าที่ผมเองก็คิดว่า ทรัมป์ มันบ้าๆบอๆ ปรากฏว่าทุกอย่าง “มีคำอธิบาย” และ “ลึกซึ้ง” กว่าที่สื่อ นำเสนอให้เราเห็น ซึ่งสุดยอดมากๆ
อ่านจบแล้ว จะช่วยเปิดโลกการเมืองให้เราได้เห็นมุมมองต่างๆกว้างขึ้น
เช่น แม้แต่ความดู “ไม่มีเหตุผล” และความมีลูกบ้า ของทรัมป์ มันก็ดูมีเหตุผลในตัวของมัน และไม่ได้ “ดูบ้า” สักทีเดียว
เมื่ออ่านเล่มนี้จบแล้ว เวลาเห็นความผันผวนทางการเมืองโลก มันทำให้เราเข้าใจมันมากขึ้นครับ
อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกันกับหนังสือเล่มก่อน ที่พอมาเรื่อง เทคโนโลยี ในเล่มนี้ก็ยังให้ความรู้สึกจับเอาบทความแต่ละอัน มายำๆ กระจัดกระจายไปหน่อย เหมือนเดิม
แต่ก็เช่นกันว่า ทั้งนี้ทั้งนั้น มันก็ไม่ได้ทำให้หนังสือเล่มนี้เสียคุณค่าแต่อย่างใดครับ
ถ้าคุณชอบหนังสือ China 5.0 และอยากศึกษาเรื่องจีนเพิ่มเติม อยากรู้ว่าสงครามการค้านี่มันอะไรกันนักหนา จะสร้างความวุ่นวายกันทำไม จะจบเมื่อไหร่
หนังสือ “จีน-เมริกา” เล่มนี้จะชี้ทางสว่าง และเป็นหนังสือที่แนะนำให้อ่านอย่างยิ่งครับ
สรุปหนังสือ จีน-เมริกา
บทนำ : จักรพรรดิที่ไม่เข้าใจภูมิรัฐศาสตร์โลก
ปัจจัย 3 ประการ ที่เป็นตัวเปลี่ยนชะตากรรมของประเทศมาทุกยุคทุกสมัย คือ
- การเปลี่ยนแปลง ของโครงสร้างประชากร
- การเปลี่ยนแปลง ของเทคโนโลยี
- การเปลี่ยนแปลง ของภูมิรัฐศาสตร์โลก (Geopolitics)
ในภาวะที่ปัจจัยทั้งสามหยุดนิ่ง เราจะไม่ต้องปรับตัวอะไรมาก ทำตัวตามปกติตามกฏเกณฑ์ของโลกก็พอ ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย
แต่หากมีปัจจัยข้อใดข้อหนึ่ง เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล เมื่อนั้นเราจะเข้าสู่ยุคพลิกผัน ที่เกมและกฏกติกาต่างๆกำลังค่อยๆก่อร่างใหม่ จะมาขยันแบบเดิมๆ ก็คงไปไม่ถึงไหน
ต้องเป็นคนที่มองเกมใหม่ พร้อมจะปรับตัว จึงจะไปได้ไกล ในโลกใบใหม่
ปัจจุบัน ประเทศไทย และประชาชนไทย ก็ได้เข้าสู่ยุคพลิกผัน
ประเทศกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ เทคโนโลยีก็กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว โลกที่เคยเป็นยุคของผู้นำเดี่ยวของสหรัฐ ก็เป็นโลกที่มีจีนเป็นผู้ท้าชิงใหม่ ในฐานะมหาอำนาจใหม่ของโลก
ถ้าคนไทยมัวแต่ทำมาหากินแบบสบายๆ ตามกฏเกณฑ์ของโลกเก่า ก็รอวันล้มเหลวได้
เพื่อให้เข้าใจความสำคัญ ปัจจัยทั้ง3 อ.อาร์มได้ยกตัวอย่างของยุคทองราชสำนักจีน
ยุคทองของจีน คือยุคของจักรพรรดิเฉียนหลง ในเวลานั้นจีนมี GDP เป็นอันดับ 1 ของโลก คือคิดเป็น 33% ของทั้งโลก มากกว่าอังกฤษ และเยอรมันนี 8 เท่า
ส่วนสหรัฐ…ยังไม่ตั้งประเทศ
ในยุคนั้น ราชสำนักจีนทะนงตนว่ามีพร้อมทุกอย่าง ทำให้มองไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงที่กำลังใกล้เข้ามา ได้แก่
- โครงสร้างประชากร : จีนในยุคนั้นมีประชากรเพิ่ม 3 เท่าตัว จาก 100 ล้านไป 300 ล้าน โดยที่ผลผลิตเกษตรเท่าเดิม และไม่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมหรือภาคการบริการ เพื่อรองรับแรงงานจำนวนมาก
- เทคโนโลยี : ในตอนนั้นมีการปฏิวัตอุตสาหกรรมที่อังกฤษ การปฏิวัติฝรั่งเศส แต่จีนก็ไม่ได้รับรู้การเปลี่ยนแปลงโลกภายนอกแต่อย่างใด
- ภูมิรัฐศาสตร์ : ในยุคสมัยนั้น อังกฤษกำลังก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำโลก เกิดการจัดระเบียบกฏหมายและเศรษฐกิจระหว่างประเทศต่างๆ ตามแนวทางของอังกฤษเอง ซึ่งจีนก็ไม่รู้ร้อนรู้หนาวอะไร ยังคิดว่าอังกฤษเป็นประเทศป่าเถื่อนอยู่ด้วยซ้ำ
การเปลี่ยนแปลงต่างๆนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่ผลลัพธ์ต่างๆ นั้นมาปรากฏ ภายหลังยุคของจักรพรรดิเฉียนหลง นั่คือ ยุคของจักรพรรดิเจียชิ่ง
จักรพรรดิเจียชิ่ง ได้ชื่อว่าทรงงานหนักที่สุดองค์หนึ่งของจีน แต่เพราะพระองค์ยึดติดกับวิธีเก่าๆ นโยบายเก่าๆ ที่แก้ได้แต่ปัญหาเก่าๆ
จึงไม่สามารถทำอะไรได้มาก เพราะโลกตอนนั้นได้เข้าสู่ยุคใหม่ ที่ต้องมีวิธีใหม่ๆ มาแก้ไข
ไม่นานนัก จีนก็แพ้อังกฤษในสงครามฝิ่นอย่างราบคาบ แพ้ให้กับประเทศที่เมื่อยุคสมัยก่อน ยังเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน ในมุมมองของคนจีน
ขณะนี้ เรากำลังอยู่ในยุคที่ภูมิรัฐศาสตร์โลก กำลังจะเกิดจุดเปลี่ยน อีกครั้ง
นั่นคือ
การผงาดของจีน ที่กำลังมาท้าทายอำนาจเดิมของโลก
เกิดเป็นเกมการต่อสู่ครั้งใหญ่ เพื่อกำหนดอนาคตของโลก ที่ไม่ว่าคุณอยู่ที่ไหนของโลก คุณก็หนีไม่พ้น
เราจะพลาดพลั้ง ตามโลกไม่ทัน หรือจะศึกษา หาความเข้าใจ พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง?
Part I: สงครามการค้า ที่เป็นมากกว่า เรื่องการค้า
1. สงครามการค้ากับทฤษฎีหมูสามชั้น
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดสงครามการค้า (Trade War) ระหว่างจีน และอเมริกา?
อ.อาร์ม เสนอว่า มันมีมากกว่าแค่เรื่องการค้า และตั้งชื่อชนวนสาเหตุความขัดแย้งนี้ ว่า “ทฤษฎีหมูสามชั้น”
- ชั้นแรก คือชั้นผิวๆ ก็คือ เรื่องการค้า ซึ่งที่เป็นประเด็นหลักคือ สหรัฐขาดดุลการค้ากับจีนมาติดต่อกันตลอด แต่อ.อาร์มมองว่าเรื่องการค้านี้คือ ข้ออ้างผิวๆเท่านั้น
- ชั้นสอง คือ ความขัดแย้งเรื่อง เทคโนโลยี คือ สหรัฐกำลังกังวลว่าจีนกำลังกระโดดอย่างรวดเร็วเกินไป ทั้ง 5G ทั้ง AI เลยใช้สงครามการค้านี้ เป็นแค่หน้าฉาก
- ชั้นที่สาม ซึ่งสำคัญที่สุด คือเรื่องของความมั่นคง เพราะเทคโนโลยีใหม่ๆนี้มีประเด็นของความปลอดภัยของข้อมูลทั้งสิ้น และเทคโนโลยีต่างๆก็เกี่ยวเนื่องกับเรื่องการทหารโดยตรง
เช่น หากจีนเป็นผู้นำด้าน IOT ขึ้นมา แล้วข้าวของเครื่องใช้ในสหรัฐก็มาจากจีน หรือชิ้นส่วนอุปกรณ์ มาจากจีนทั้งหมด เมื่อนั้นความเสี่ยงด้านความมั่นคงสหรัฐก็จะมหาศาลทันที
แก่นแท้ของ Trade War ครั้งนี้ จึงมากกว่าเรื่องการค้า แต่คือการแข่งขันกันระหว่างเรื่องเทคโนโลยี และความมั่นคง ที่สหรัฐ จะยอมให้จีนชนะ และขึ้นมาเป็นผู้นำ ไม่ได้เด็ดขาด
2. ทรัมป์ กับเกมคนขี้ขลาด
อ.อาร์มนำเสนอว่า เกมคนขี้ขลาด ซึ่งเป็นส่วนถึงของ ทฤษฎีเกมนั้น สามารถใช้อธิบายกลยุทธ์ของจีนและ Donald Trump ในขณะนี้ได้
สิ่งที่ Trump กำลังทำอยู่นั้น คือการแกล้งโง่ และแกล้งบ้า และทำตัวให้เอาแน่เอานอนไม่ได้
เช่น วันดีคืนดีทรัมป์ไปยุ่งกับประเด็นเรื่องไต้หวัน ไปยุ่งกับเกาหลีเหนือ วันหนึ่งดี วันหนึ่งร้าย
การที่ Trump ทำตัวแบบนี้ มันทำให้เขาดูเหมือนพวกอันธพาล ที่มีแต่ลูกบ้าลูกชน ไม่ใช่คนมีเหตุผลตามปกติเช่นวิญญูชนทั่วไป
แล้วมันเกี่ยวอะไรกับ เกมคนขี้ขลาด? (Game of Chicken)
Game of chicken นี้มีหลายรูปแบบ เช่น สมมติว่ามีรถ2คันกำลังพุ่งเข้าหากัน กำหนดให้ในนาทีสุดท้ายก่อนจะชน ให้ผู้เล่นในเกมตัดสินว่า จะชน หรือ หลบ
แย่ที่สุด คือ ชน+ชน เพราะจะตายกันทั้งคู่
ดีที่สุดคือ เรา ชน แต่เขาหลบ อีกฝ่ายยอมแพ้ไป
ดีรองลงมาคือ เรายอมหลบ เพราะอย่างน้อยเราก็ยังรอด
ผู้เล่นในแต่ละฝ่ายจึงต้อง เดาใจ ว่าแต่ละฝั่งจะคิดอย่างไร ซึ่งหากเราไม่แน่ใจ เราก็ควรหลบ จะปลอดภัยต่อตัวเราที่สุด
ถ้าทั้งสองฝ่ายเป็นคนมีเหตุผล มันก็คงไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบเท่าไหร่ เพราะ รู้เขา รู้เรา
การที่เราจะเป็นฝ่ายได้เปรียบในเกมนี้ จึงต้องเป็นฝ่ายประกาศ ให้อีกฝ่ายรู้ ว่า เราจะถอดพวงมาลัยและถอดเบรกออก เพื่อให้อีกฝ่ายรู้ว่า เราจะชน เท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่ามันอันตราย และนี่คือสิ่งที่ทรัมป์กำลังทำอยู่
ทรัมป์ กำลังทำตัวเป็นคนไม่มีเหตุผล เพื่อไม่ให้ใครมาคาดเดาเขาได้!
เมื่อประธานาธิบดีของประเทศที่มีอิทธิพลที่สุดในโลก มาเล่นบทเอาแน่เอานอนไม่ได้แบบนี้
พวกเราก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะตกในยุคว่าความผันผวนและไม่แน่นนอน คือ New Normal
3. รายงาน 301 : สหรัฐ กล่าวหาว่าจีนขโมยเทคโนโลยี
เสี้ยมหนามที่กำลังทิ่มแทงใจสหรัฐอันสำคัญอันหนึ่ง คือ แผน Made In China 2025
แผนดังกล่าวประกาศใช้เมื่อปี 2015 เพื่อพลิกโฉมจีนจาก Made in China ที่แปลว่าแหล่งผลิตของถูก ไปสู่แหล่งอุตสาหกรรมทันสมัย ชั้นนำของโลก
เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของแผนนี้ คือการขับเคลื่อนจีนให้ครองตลาดโลกในกลุ่มสินค้าไฮเทค
คำถามคือ จีนจะทำยังไง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ ?
1 ในวิธีการที่จีนเคยทำ และโดนสหรัฐออกมาร้องทุกกล่าวโทษ ก็คือการที่จีนขโมยเทคโนโลยีของสหรัฐ
ในเดือนมีนาคม 2018 สำนักงานผู้แทนการค้าของสหรัฐได้ออกรายงานพฤติกรรมการละเมิดทรัพสินทางปัญญาของจีน (USTR section 301 Report)
รายงานนี้แจกแจงวิธีที่จีนใช้ในการขโมย คือ
- บังคับให้สหรัฐ ต้องร่วมทุนกับบริษัทจีน และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ มิฉะนั้นก็อย่างหวังจะเข้าถึงตลาดผู้บริโภค 1.4 พันล้านคนของจีน
- กฏหมายในเรื่องการจัดการสิทธิการจัดการเทคโนโลยีของจีน ที่เอื้อการได้เทคโนโลยีไปใช้ต่อ
- บริษัทจีนกว้านซื้อบริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐ ด้วยการสนับสนุนทางอ้อมของรัฐบาลจีน เช่น ธนาคารรัฐปล่อยเงินกู้ราคาถูก
- สงครามไซเบอร์ เช่น Hack ข้อมูลความลับทางการค้าและเทคโนโลยี ของสหรัฐ
Trump จึงตอบโต้โดยการรีบพิจารณาหามาตรการการควบคุมการลงทุนจากจีน เพื่อยับยั้งทุนจีนมาเข้าซื้อ และขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนรอบแรก โดยเน้นไปที่สินค้าตามแผน Made in China 2025
สิ่งที่สหรัฐกำลังทำตอนนี้ จึงอาจมองได้อีกมุม ว่าเป็น วัวหายล้อมคอก
กว่าจะรู้ตัว จีนก็พัฒนาเทคโนโลยีไปมาก และก้าวกระโดด จนแซงสหรัฐในบางเรื่องแล้ว!
สงครามการค้าจีนนั้นจึงอาจจบไปนานแล้ว เพราะจีน ชนะไปแล้ว
เพราะช่วงหลายสิบปีที่ผ่าน เป็นบริษัทสหรัฐนั่นแหละ ที่ยอมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้จีน เพื่อแลกกับผลกำไร … ซึ่งเมื่อมาถึงจุดนี้ ไม่รู้ว่าสายไปหรือยัง
4. White Paper : เปิดคำชี้แจงจีน
หลังจากรายงาน 301 จีนก็ออก white paper มาในเดือนกันยายน 2018 เพื่อมาแถลงข้อเท็จจริงจากฝั่งจีน เพื่อแสดงจุดยืนของจีนท่ามกลางสงครามการค้าที่ร้อนระอุ
จีนเน้นย้ำว่า ที่ผ่านการค้าของทั้งสองประเทศนั้นให้ผล win-win ของทั้งสองประเทศ
การกล่าวหาว่าจีนกว้านซื้อบริษัทเทคโนโลยีขั้นสูงของสหรัฐนั้นก็ไม่จริง จีนซื้อไปแค่ 17 บริษัทเท่านั้น
จีนสรุปว่าสงครามการค้าจะทำให้แพ้ทั้งคู่ ทำการผลิตของโลกปั่นป่วน เป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจโลก
และพร้อมจะเจรจาเพื่อปรับปรุงกฏเกณของ WTO ซึ่งจะปลอดภัยกว่าการเล่นสงครามการค้าแบบลูกทุ่งของ Trump
ไปๆมาๆ เราจึงอยู่ในยุคที่จีน เป็นผู้ปกป้องระเบียบการค้าของโลก ปกป้องกาค้าเสรี และ WTO
5. อดีต : เศรษฐกิจเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียว
อุตสาหกรรมในปัจจุบัน มีลักษณะเด่นคือ ห่วงโซ่การทำธุรกิจ
ยิ่งเป็นธุรกิจเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ก็จะมีการแบ่งงานหลายทีม แต่ละทีมมีความเชี่ยวชาญต่างกัน กว่าจะได้ product มาสักอันหนึ่ง
ลักษณะเด่นนี้เอง ทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐ และ จีน แทบจะกลายเป็นห่วงโซ่เดียวกัน แบ่งแยกไม่ได้
ปัจจัยชี้ขาดความสำเร็จของอุตสาหกรรมในปัจจุบันมีอยู่สองอย่าง
- R&D ซึ่งในโลกนี้ สหรัฐคือผู้นำ
- การผลิต ซึ่งจีนเป็นผู้นำ
R&D นั้นแม้จะได้โมเดลที่ดีเลิศแค่ไหน แต่ถ้าไม่สามารถหาวิธีผลิตออกมาจำนวนมากเพื่อรองรับกับตลาดผู้บริโภคได้ มันก็ไม่สร้างกำไร
จึงต้องมีแหล่งผลิตที่มีกำลังพอ ซึ่งตอนนี้ เบอร์หนึ่งของโลก คือ จีน
ทำไมจีนจึงเป็นเบอร์หนึ่ง?
ไม่ใช่เพราะค่าแรงถูก เพราะคนจีนรวยขึ้นแล้ว แต่เพราะจีนมีห่วงโซ่อุตสาหกรรมที่
- เป็นระบบ มีวงจรการผลิตชิ้นส่วนและประกอบครบถ้วน อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน
- เปิดกว้าง คือมีการรับจ้างผลิตให้บริษัทภายนอกได้ ต่างกับเยอรมันหรือญี่ปุ่น ที่ผลิตสินค้าได้ดี แต่ไม่ยอมให้บริษัทภายนอกมาจ้างง่ายๆ
ตัวอย่างเช่น Foxconn ที่เสินเจิ้น ซึ่งรับผลิตสินค้าต่างๆให้ APPLE นั้น ก็มีวิศกรถึง 5000 คน ซึ่งมีหน้าที่ออกแบบโมเดลผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้านำเสนอมา ให้ผลิตออกมาได้จริง
ดังนั้น การย้ายฐานการผลิตจากจีน ให้กลับไปสหรัฐ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ
เพราะสหรัฐไม่มีวิศกร หรือช่างเทคนิคมหาศาลดังเช่นในจีน ไม่มีห่วงโซ่การผลิต การประกอบชิ้นส่วน ที่ดีอย่างจีน และไม่สามารถผลิตออกมาเป็นจำนวนมากและต้นทุนถูกเพื่อรับรองผู้บริโภคทั้งโลกได้
การแตกหักของทั้งสองประเทศ จึงไม่สามารถเป็นไปได้ในชั่วข้ามคืน ต้องค่อยๆปรับตัวในระยะยาวกันไป
6. อนาคต: โลกที่แตกเป็นสองห่วงโซ่
จากเรื่องหัวข้อในอดีต จะเห็นได้ว่า ที่ผ่านมา การค้าของโลกเชื่อมโยงกัน เป็น ห่วงโซ่อุปทานโลก (Global Supply Chain) แต่ละประเทศผลิตสินค้าตาม Comparative Advantage ของตน และเกิดการค้าขายเชื่อมโยงกันทั้งโลก
การค้าขายแบบนี้เป็นมากว่า 20 ปี มีผู้แพ้ ผู้ชนะ มีคนได้มาก ได้น้อย แต่ทุกๆคนก็รู้ว่าตนจะผลิตอะไร ขายใคร อยู่ตรงไหนในห่วงโซ่อุปทานของสินค้านั้นๆ
แต่สิ่งที่เกิดขึ้น ก็คือ สงครามการค้าทำให้ห่วงโซ่ของโลกนี้ และการค้าของโลก ไม่มีวันกลับไปเป็นเหมือนเดิมอีก
เนื่องจาก
- ในมุมมองของบริษัทในจีน : การขึ้นกำแพงภาษีจีน ทำให้ธุรกิจต่างๆต้องมาวางแผนกันใหม่ว่าจะผลิต จะขายของยังไง เพื่อหนีกำแพงภาษี ทำให้ธุรกิจในจีนเริ่มย้ายออกไปหาแหล่งผลิตอื่น หรือ ถ้าจะอยู่จีนต่อ ก็ต้องหาตลาดอื่นที่ไม่ใช่สหรัฐ
สิ่งที่จะเกิดก็คือ เส้นทางการค้าที่กำลังตาย และกำลังก่อร่างใหม่ - ในมุมมองสหรัฐ : ภัยคุกคามจากจีน ทำให้สหรัฐต้องการแยกห่วงโซ่การผลิตสินค้าของตนออกมาจากจีน
การเชื่อมโยงมากไปที่ผ่านมา ทำให้สหรัฐเสียอำนาจต่อรอง ดังนั้นจึงต้องบีบให้บริษัทสหรัฐที่ตั้งในจีน ต้องย้ายฐานการผลิตออกไปและหาตลาดใหม่ที่ไม่ใช่จีน (ตลาด ABC – Anywhere But China)
โดยรวมแล้ว นี่จึงทำให้โลกกำลังสิ้นยุคโลกาภิวัตน์ เศรษฐกิจโลกที่เคยเป็นหนึ่งเดียวกัน จึงแตกออก กลายเป็นยุคที่ห่วงโซ่อุปทาน แบ่งออกเป็นสองส่วน แยกออกจากกัน (กลายเป็น จีน-เมริกา)
7. วันที่โลกมีสองอินเตอร์เน็ต
อนาคตอีกแบบหนึ่งที่อาจเป็นไปได้ คือ โลกมีสองอินเตอร์เน็ตแยกจากัน
วันหนึ่งเราอาจต้องมีsmartphone 2 เครื่อง เครื่องหนึ่งซื้อซิมไว้เข้าเน็ตฝั่งจีน เอาไว้ซื้อของใน Alibaba หรือฟังเพลงจาก Joox
ส่วนอีกเครื่อง ก็เป็นซิมใช้เข้าเน็ตเมกา เอาไว้ดู Netflix กับเล่นเฟซบุ้ค
หรืออาจถึงขั้นแต่ละประเทศจะต้องเลือกเอาเลย ว่าจะเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตของจีน หรือสหรัฐ และพ่วงกับ Platform ประเทศนั้นๆไปเลย เช่น ถ้าจะอยู่กับ internet จีน ก็บ้ายบาย Google ใช้ได้แค่ Baidu Search
จากข่าวที่ google ถูกสั่งให้เลิกทำธุรกิจกับหัวเว่ยนั้น ยิ่งทำให้เห็นภาพโลกที่มีสองอินเตอร์เน็ตชัดขึ้น
วันหนึ่ง Huawei ก็คงทำ OS ของตัวเองได้ มี app เป็นของตัวเองทั้งหมดได้ โดยไม่ต้องง้อ android
ในขณะที่ฝั่งสหรัฐ ก็ออกมากดดันประเทศต่างๆ ไม่ให้ใช้เทคโนโลยี 5G ของหัวเว่ย โดยอ้างความปลอดภัยของข้อมูล เพราะมีความเป็นไปได้ ว่าจะมีการสอดแนมใส่ malware ไว้ในอุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้ ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต (Internet of thing)
ความกลัวเรื่องเทคโนโลยีสอดแนม จากการมาของ 5G นี้เอง ทำให้ทั้งจีนและเมกาต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยี 5 G ของตัวเอง
มันจึงยิ่งผลักดันให้โลกนี้ กลายเป็นโลกสองอินเตอเน็ตได้มากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีในยุคใหม่จึงไม่ได้อยู่แค่ในเรื่องค้าขาย แต่มีมิติความมั่นคงรวมไว้ด้วย เป็นอีกหนึ่งชนวนของสงครามการค้านี้
8. กลศึก 4 R
สงครามการค้านี้ ต่างฝ่ายต่างเข้าข้างตัวเอง สหรัฐเชื่อว่าแม้จะเจ็บหนักทั่งคู่ แต่จีนจะเจ็บหนักกว่า ส่วนจีนเชื่อว่าถ้าทนได้ สุดท้ายเศรษฐกิจสหรัฐจะเข้าสู่ขาลงและแพ้ภัยตัวเองจนต้องเลิกราไป
รัฐบาลใช้แนวทางรับมือกับสงครามการค้านี้ ด้วยกลยุทธ์ 4R
1.Resist จีนไม่ยอมโอนอ่อนตามข้อเรียกร้องสหรัฐ แต่จะซื้อเวลา เพราะไม่อยากเจ็บหนักโดยการถูกขึ้นกำแพงภาษีไปมากๆขึ้น ระหว่างนี้ก็หันมาปลุกกระแสชาตินิยมภายในประเทศแทน เพราะจะทำให้คนจีนเริ่มทำใจยอมรับ ว่าสงครามการค้ามันจะอยู่ไปอีกยาว และเห็นว่ารัฐบาลจีนไม่ต้องดิ้นรนไปตามแรงกดดันของสหรัฐ เพราะต้องคงไว้ซึ้งศกศรีดิ์ของประเทศ แม้เศรษฐกิจจะขาลง แต่นั่นเป็นเพราะศัตรูต่างชาติกำลังกลั่นแกล้งเรา
2.Retaliate แก้แค้น โดยการขึ้นภาษีตอบโต้ โดยเน้นไปที่เป้าหมายเล็กๆ แต่เอาให้ตรงๆ พอเหมาะพอควร ไม่แรงมาก เพราะจีนก็ไม่อยากยกระดับสงครามการค้า เป้าหมายหลักคือขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐ เลิกซื้อสินค้าเกษตรจากสหรัฐ ทั้งนี้เพื่อให้กระทบกับเกษตรกรในสหรัฐ ซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญของทรัมป์
3. Reform ปฏิรูป เพราะสงครามการค้ายิ่งกดดันให้จีนต้องปฏิรูปปัจจัยบางอย่าง เช่น ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ เปิดภาคเศรษฐกิจบางภาคให้นักลงทุนต่างชาติ หรือเอกชน รวมถึงเกินหน้าลงทุนการวิจัยเพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากสหรัฐ ให้จีนยืนได้ด้วยเทคโนโลยีที่ตนสร้างเอง
4.Reorganize จัดห่วงโซ่เศรษฐกิจใหม่ ซึ่งอ.อาร์มบอกว่าสำคัญที่สุด นั่นคือ จัดห่วงโซ่อุปทานใหม่ (new supply chain) ในด้านตลาดผู้บริโภค เน้นพึ่งพิงตลาดภายในประเทศมากขึ้น ขยายตลาดต่างประเทศที่อยู่ตามเส้นทางสายไหมใหม่ (BRI) และหาฐานการผลิตใหม่ในประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆเพื่อเลี่ยงกำแพงภาษีของสินค้า ที่มาจากจีน
9. สูตรตั้งรับสงครามการค้า
แล้วประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคอาเซียน จะ ตั้งรับ ยังไง กับการสู่กันของยักษ์ใหญ่สองฝ่ายนี้?
- พยายามทำสัญญาหรือข้อตกลงซื้อขายระยะยาวกับคู่ค้า เพื่อลดความผันผวน
- ความผันผวนจากสงครามการค้าจะทำให้บริษัทต่างชาติสนใจต่อยอดและขยายการงทุนในไทยมากขึ้น นี่จึงเป็นโอกาสที่ไทยจะชักชนบริษัทข้ามชาติ ที่มีฐานการผลิตที่ไทยอยู่แล้วมาลงทุนเพิ่มขึ้นอีกแน่นอนว่าก็ต้องแข่งกันกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค ให้บริษัทนั้นๆเลือกมาที่ไทย
- พยายามหาว่าอุตสาหกรรม และภาคบริการ ที่จะเกิดใหม่ในโลกยุคดิจิตัลนั้นคืออะไร และทำยังไงจะเป็นส่วนหนึ่งของ supply chain ในอุตสาหกรรมและภาคบริการที่เกิดใหม่นั้นๆได้ แล้วพยายามดึงดูดการลงทุนให้เกิดตั้งแต่ตอนเริ่มต้น
ผลกระทบของสงครามการค้าต่อไทยมีอะไรบ้าง? คำตอบคือ มันขึ้นกับว่าเราอยู่ตรงไหนใน supply chain ที่ได้รับผลกระทบ
- ธุรกิจไทยที่ส่งออกวัตุดิบไปประกอบที่จีน หรือ ประเทศอื่นๆที่เป็นห่วงโซ่การผลิตของจีน เพื่อส่งออกไปสหรัฐอีกที จะหดตัว
- ธุรกิจไทยที่ส่งออก แข่งกับจีน หรือ ทดแทนสินค้าจีน ในตลาดสหรัฐได้ จะได้ประโยชน์
- การท่องเที่ยวไทยจะลดลง เพราะนักท่องเที่ยวจีนลดลง กำลังซื้อของชาวจีนในตลาดอสังหาไทย ปรับลดลง จากที่เศรษฐกิจชะลอตัวเพราะผลจากtrade war
10. การเลือกตั้งสหรัฐ กับสงครามการค้า
แม้ donald trump จะดูโง่ๆ บ้าๆ แต่ trade war ที่ทรัมป์กำลังเล่นนั้น เขามีแต่ได้กับได้
ทรัมป์เริ่มสงครามนี้ในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐเป็นขาขึ้น ผลลบของสงครามจึงอยู่ในขั้น เอาอยู่ ในขณะที่จีนนั้น เศรษฐกิจอยู่ในช่วงชะลอตัวพอดี ทำให้ตอนต้น จีนเจ็บหนักกว่าเห็นๆ
เมื่อกระทบเศรษฐกิจน้อย การสู้กับจีนเลยเพิ่มความนิยมให้ทรัมป์ ได้ใจฐานเสียงชาตินิยมเต็มๆ
หากสงครามยืดเยื้อ แล้วเศรษฐกิจดูท่าเริ่มกระทบ ทรัมป์ก็แค่ถอยนิดหน่อย ยอมบรรลุข้อตลกงบางอย่างกับจีน บรรยากาศเศรษฐกิจ ก็กลับมาดีขึ้นได้แล้ว
สิ่งที่เขากำลังทำ จึงเหมือนสร้างความวุ่นวาย แล้วเล่นบทพระเอกมาจัดการสะเอง
ส่วนจีนนั้น ก็รอเวลาต่อไป
เพราะการเลือกตั้งครั้งหน้า ไม่ว่าทรัมป์จะชนะหรือแพ้ จีนก็จะได้ประโยชน์
หากทรัมป์ชนะ แล้วยังคงเดินหน้าสงครามการค้าเช่นนี้ ยิ่งนับวันมันจะยิ่งเข้าตัว ซึ่งมองว่าทรัมป์เก่งแค่ยุทธศาสตร์ระยะสั้น
ที่จีนทำอยู่นั้น คือวางแผนระยะยาว
หากทรัมป์แพ้ ความผันผวนจะลดลง ความขัดแข้งจะยังคงมีต่อ แต่มันก็คงไม่หวือหวา ไม่ถึงขั้นเอาแน่เอานอนไม่ได้
สงครามเย็น 2.0 กับการรบยืดเยื้อ
สงครามการค้า น่าจะยืดเยื้อ และยกระดับเป็นสงครามเย็น 2.0
แต่ครั้งนี้จะต่างจากสงครามเย็น ระหว่างสหรัญ และโซเวียด
- จีนไม่เคยมีเป้าหมายขยายลัทธิการเมืองของตัวเองไปนอกประเทศ
- สหรัฐ ไม่สามารถรบเต็มกำลังได้ เพราะเศรษฐกิจสองประเทศนี้เชื่อมโยงกันมากเกินไป รบไปรยะหนึ่ง สหรัฐจะเริ่มเจ็บตัว คนในประเทศกระทบ
แต่ในระยะยาว การเจรจาไม่มีทางทำครวามขัแย้งทั้งหมดให้จบได้ สุกท้ายก็จะเปิดศึกไฟ้กันต่อิ
Part 2: เศรษฐกิจและเทคโนโลยีจีน : เทียบชั้นสหรัฐ?
1. ปัจจัยความสำเร็จของเศรษฐกิจจีน: หลัก สี่เลี่ยงสามเลี่ยน (Four avoids and Three Imitates)
- หลีกเลี่ยงการล่มสลายของพรรคคอมมิวนิสแบบในโซเวียต ซึ่งมีระบบการเก็บข้อมูลและการนำเสนอข่าวเป็นระบบปิด เจ้าหน้าที่รัฐจึงขาดข้อมูลที่ถูกต้อง รับฟังแต่ข้อมูลด้านเดียวของพรรค สุดท้ายไม่สามารถปรับเปลี่ยนนโยบายได้เหมาะสม จนล่มจมไปในที่สุด
- หลีกเลี่ยง ประชาธิปไตยที่ยุ่งเหยิงแบบอินเดีย จนไม่สามารถขับเคลื่อนนโยบายสำคัญได้
- หลีกเลี่ยง การชะลอตัวทางเศรษฐกิจแบบญี่ปุ่น คือ โตเร็วช่วงหนึ่ง แล้วจึงขะลอและหยุดนิ่งกับที่
- หลีกเลี่ยงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจแบบฉับพลัน แบบใน Latin America ซึ่งสุดท้ายจะล้มละลายเกือบหมด เพราะดำเนินการอย่างไร้ประสิทธิภาพมายาวนาน
- เลียนแบบ ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจและพลังนาจทางการทหารแบบสหรัฐ สนับสนุนการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ
- เลียนแบบรัฐสวัดิการของยุโรป
- เลียนแบบเผด็จการคุณภาพอย่างสิงคโปร์
2. ความสำเร็จและความล้มเหลวของโมเดลจีน
โมเดลจีน เป็นคำที่ซับซ้อน ไม่มีนิยามตายตัว อยู่ที่นักวิชาการนั้นจะเป็นฝ่ายอนุรักษนิยม หรือหัวก้าวหน้า ก็จะตีความคำนี้ต่างกันออกไป
ในมุมอนุรักษนิยม โมเดลจีน หมายถึงความสำเร็จในการแทรกแซงเศรษฐกิจของภาครัฐ ภาครัฐที่กำหนดยุทธศาตร์อุตสาหกรรม ขับเคลื่อนการยกระดับเทคโนโลยี การให้รัฐวิสาหกิจมีบทบาทนำในระบบเศรษฐกิจ
ในมุมหัวก้าวหน้า โมเดลจีน นั้นไม่มีจริง จีนสำเร็จได้เพราะ โมเดลสากล นั่นคือ กลไกของตลาดเสรี พลังสร้างสรรของผู้ประกอบการ การนำเทคโนโลยีตะวันตกมาเพิ่มผลผลิต การทำให้รัฐและภาควิสาหกิจเล็กลง
ในมุมมองของอ.อาร์มนั้น ความสำเร็จของจีนมาจากทั้งสองปัจจัย จีนยังคงมีรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมหนักและภาคอุตสาหกรรมทุนเข้มข้น ซึ่งรัฐวิสาหกิจเหล่านี้มีการปรับปรุงจนผลประกอบการดีขึ้น และถูกใช้เป็นนโยบายขับเคลื่อนยุทธศาสจร์อุตสาหกรรม เช่น ให้ธนาคารรัฐปล่อยเงิกกู้ดอกเบี้ยราคาถูก
ในขณะเดียวกัน ภาคเอกชนและกลไกตลาดเสรี ก็เป็นหัวใจของระบบเศรษฐกิจจีน
สรุปคือ ไม่มีสูตรตายตัวนั่นเอง
3. Fortune 500 บอกอะไรจีน
Fortune 500 ในปี 2018 มีบริษัทของจีนติดอันดับรวม 111 แห่ง ซึ่งมากสุดทีเคยจัดอันดับมา และเป็นอันดับสอง รองจากสหรัซ ซึ่งมี 126 แห่ง
10 ปีก่อน มีบริษัทจีนเพียง 37 แห่งเท่านั้น
มีเพียงจีนและสหรัฐเท่านั้น ที่มีธุรกิจยุคออนไลน์ติดอันดับ fortune 500
ข้อมลูจาก fortune 500 ยังสะท้อนโรงสร้างภาคการผลิตของจีน กับสหรัฐ คือ บริษัทจีนที่ติดอันดับ มักเป็นธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม ในขณะที่สหรัฐนั้นแทบบไม่มี ตรงกันข้ามกับธุรกิจภารบริการ ที่จีนก็แทบไม่มีเช่นกัน
สรุปได้ว่า ธุรกิจสหรัฐ มีลักษณะเป็นประเทศหลังยุคอุตสาหรรม ขณะที่จีนยังเป็นประเทศอุตสาหกรรมอยู่
ภายใน10 ปี ธุรกิจที่ติดอันดับของจีน เพิ่มมา สาม เท่าตัว ฝนอนาคต เศรษฐกิจจีน จึงอาจมีขนาดแซงหน้าสหรัฐ และมีจำนวนบริษัทแซงหน้า ได้เช่นกัน
4. จุดชี้เป็นชี้ตายธุรกิจจีน
สิ่งที่นักธุรกิจจีนควรกังวลจริงๆ อาจไม่ใช่เรื่องสงครามการค้า
4.1 ภาพใหญ่ทางเศรษฐกิจของจีนในระยะยาวคือ จีนกำลังหมดยุคอุตสาหกรรม และกำลังเข้าสู่ยุคแห่งการบริโภค
รัฐไม่สามารถอัดฉีดเข้าระบบด้วยการลงทุนอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐานได้เหมือนเมื่อก่อน เพราะมีเต็มบ้านเต็มเมือง และก่อให้เกิดปัญหาการผลิตเกินตัว (Overcapacity) ยิ่งรุนแรงขึ้น
ธุรกิจจีนต้องปรับตัว จากที่ขอแค่มีความสามารถในการรวบรวมทรัพยากรก็พอให้มีเงินทุนมาทำสินค้าได้ ในวันที่สินค้ามากมายในตลาดเช่นนี้ สิ่งสำคัญจึงเป็นนวัตกรรมใหม่ สินค้าที่แตกต่าง เพื่อสร้างดีมานเฉพาะสำหรับสินค้าของตน
4.2 ภาพใหญ่ในระยะสั้น จีนกำลังเผชิญความท้าทาย สอง เรื่อง คือ
- ปัญหา overcapacity และหนี้ของธุรกิจ
- สงครามการค้า
ทั้งสองเรื่องนี้มีความไม่แน่นอนสูง แทนที่ธุรกิจจะโฟกัสเรื่องนี้ ควรมองไปที่โอกาสที่ยังมีอยู่ในภาพเล็กในระดับธุรกิจ จะเป็นประโยชกว่า ซึ่งเป็นจุดชี้เป็นชี้ตายที่แท้จริง
4.3 โอกาสในภาพเล็กมีสามเรื่อง
- รวมธุรกิจเพื่อความแข็งแกร่ง เนื่องจากธุรกิจในแต่ละภาคการผลิตของจีนกระจัดกระจายเกินไป
- ยกระดับการบริโภค คนจีนมีแนวโมซื้อสินค้าที่ราคาสูงขึ้น มีคุณภาพมากขึ้น เทรนด์ในวงการธุรกิจของจีนที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่คือ ธุรกิจการรักษาสุขภาพ รักษาพยาบาล การชะลอวัย และธุรกิจบันเทิง
- ยกระดับเทคโนโลยี
ธุรกิจใดที่คว้าโอกาสเหล่านี้ไว้ได้ จะอยู่รอดแม้มีความผันผวนในภาพใหญ่ จึงไม่ควรกังวลกับเศรษฐกิจภาพใหญ่มากเกินไป
5. ทำไมบริษัทเทคโนโลยีสหรัฐ จึงล้มเหลวในจีน
อ.อาร์มอ้างความแตกต่างของบริษัทจีนและเมกา จากหนังสือของ หลี่ไค่ฟู สรุปเป็นข้อดังนี้
- เทคโนโลยีจีนเน้นเลียนแบบต่อยอด แต่สหรัฐเน้นสร้างเองแต่ต้น ที่เป็นแบบนี้ต้องเข้าใจบริบทของจีน อย่าพึ่งมองแค่ว่าจีนเป็นพวกขี้ลอก เช่น ตอนที่ jobs ก่อตั้ง apple ในปี 1976 นั้น จีนเพื่องเปิดประเทศ จีนเริ่มต้นเส้นทางเทคโนโลยีช้ากว่ามาก จึงไม่แปลกที่จะเริ่มด้วยการเลียนแบบ แต่หลังจากนั้น บริษัทจีนให้ความสำคัญอย่างมากกับ feedback ผู้ใช้งาน นำความเป็นมาปรับเป็นผลิตภัณใหม่ๆ เป็นโมเดลธุรกิจใหม่ๆ กลายเป็นสิ่งที่ตอบโจทตฃาดจนโดยเฉพาะ
- บริษัทจีนให้ความสำคัญสูงสุดกับการชนะ และอยู่รอดในตลาด (Market driven) แต่สหรัฐให้ความสำคัฐสูงสุดกับอุดมการณ์ของบริษัท (Mission driven) การแข่งขันในจีนนั้นดุเดือดกว่า และลูกทุ่งกว่า การอยู่รอดให้ได้จึงเน้นไปที่ลูกค้าและตลาดเป็นหลัก พร้อมเปลี่ยนรูปแบบ โมเดลธุรกิจให้เช้ากันได้ ไม่ยึดติดอุดมการณ์
- บริษัทจีนเน้นแบบ ตัวหนัก คือ ทำครบวงจร แต่สหรัฐเน้นตัวเบา หรือ Lean ผลลัพคือ บรั๋ทสหรัฐเก็บสะสมเพียงข้อมูลผู้บริโภคในโลกออนไลน์ แต่จีนมีทั้งข้อมูลออนไลและออฟไลน์มหาศาล เช่น Alibaba ก็ไม่ได้มีแค่ข้อมู,ในเว็บขายของ แต่มีช้อมูลออฟไลในคนที่ใช้ Alipay
- บริษัทสหรัฐใช้ผลิตภันฑ์แบบเดียวกัน ทั่วโลก แต่จีนเน้นปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมและตลาดแต่ละประเทศ
หลายคนอาจคิดว่าที่บริษัทสหรัฐไม่ประสบความสำเร็จในจีน เพราะถูกรัฐบาลจีนแทรกแซง แต่หลี่ไคฟเห็นว่าเป็นเพราะบริษัทสหรัฐไม่ทุ่มเทรัพยากร ไม่อดทน ไม่ไว้ใจคนท้องที่ ทำให้คนจนีในบริษัทหรัฐ ไม่มีโอกาสพัฒนา ฉีกแนว ผลิตภัน ให้สอดคล้องกันิสัยคนจีน คิดว่าของตัวเองดีที่สุดแล้ว และน่าจะขายให้คนจีนได้ สุดท้ายเลยล้มเหลว เพราะบริษัทจีนคู่ดข่ง ปรับตัวได้เร็วกว่า
อีกอย่างที่สำคัญคือ คนเก่งในจีน ก็ยิ่งไม่อยากอยู่กับบริษัทสหรัฐ เพราะจะได้ฐานะแค่เบ๊ฝรั่ง สู้ทำงานกับบริษัทจีน หรือทำstart up เองไปเลยดีกว่า
6. เมื่อจีนครองนวัตกรรมโลก
หัวใจของการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตยั่งยืน คือการยกระดับนวัตกรรมในประเทศ
จีนใช้เวลาแค่ 40 ปี อัพเกรตตัวเองจากประเทศเกษตรกรรม เป็นโรงงานโลก และมีนวัตกรรมไม่แพ้ ญี่ปุ่น เยอรมันนนี และสหรัฐ ได้อย่างไร
นวัตกรรมในที่นี้หมายถึง การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือ การสร้างกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ
วิธีที่ใช้คือ
- นำเข้าและเลียนแบบเทคโนโลยี ทำให้จีนไม่จำเป็นตองลงทุน R&D เพราะ R&D นั้นก็เป็นอะไรที่พูดง่ายทำยาก ต้องลองผิดลอถูกมาก ที่เห็ฯว่าประเทศเจริญแล้วมี R&D สูง เพราะเขามีนวัตกรรมที่ก้าวหน้าสุดแล้ว เลยไม่รู้จะไปนำเข้าเทคโนโลยี หรือ เลียนแบบจากใคร
- เมื่อบริษัทจีนมีกำไรและทุนสะสมพอควร ก็ขยับมาเป็ฯวิธี กว้านซื้อบริษัทเจ้าของเทคโนโลยี ทำให้ได้ทั้งเทคโนโลยี ได้ R&D ไว้ปรับปรุงต่อยอด ตอนนี้นักลงทุนจากจีนก็กลายเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ทุ่ดใน silicon valley
7. วัดจุดแข็งจุดอ่อนจีน-สหรัฐ ด้าน AI
จุดแข็งของจีนคือ ปริมาณข้อมูลมหาศาล มีผู้ใช้อินเตอเน็ต 800 ล้านคน มีคนใช้จ่ายผ่านมือถือมากกว่าในสหรัฐ 50 เท่า มีกฏเกณคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลน้อยกว่า และมีนโยบายส่งเสริม AI ของรัฐบาลจีน
แต่จุดแข็งสหรัฐก็คือความคิดสร้างสรรค์และระดับของเทคโนโลยีที่ยังคงเป็น1
มีแนวโน้มที่จะเกิดโมเดลใหม่ๆมากกว่า ด้วยสภาพสังคมที่เปิดกว้าง สภาพแวดล้อมที่เอื้อให้คนฉีกออกจากกรอบเดิมๆ ฉะนั้นแนวโน้มที่จะมีโมเดลเรื่อง AI ใหม่ๆ จึงน่าจะเกิดที่สหรัฐมากกว่า
แต่ระหว่างนี้ กว่าจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ มาพลิกโฉม AI (เช่น จาก deep learning ที่อาศัย input data ก็เป็นการที่คอมคิดได้เองไปเลย) ก็คงต้องอาศัยเวลาอีกหลายสิบปี
ซึ่งช่วงนี้ ฝ่ายที่มีข้อมูลมากกว่า จะยังคงได้เปรียบกว่า
จึงเป็นไปได้ว่า กว่าจะมีการค้นพบใหม่ จีนอาจจะแซงสหรัฐเรื่อง AI ไปเสียก่อน!
Part 3 อิทธิพลจีน : โลกใต้เงามังกร
1. สามก๊ก 2020
อาขยานที่เด็กจีนท่อง คือกลยุทธ์ที่ขงเบ้งแนะนำเล่าปี่ จนมีผลให้แผ่นดินจีนในสมัยนั้น แตกเป็นสามก๊ก
กลยุทธ์นั้นเรียกกันว่า “บทสนทนาที่หลงจง” ซึ่งอ.อารม์เสนอว่า ถ้าเปรียบกับสิ่งที่เกิดในโลกปัจจุบัน มีหลายอย่างที่สะท้อนการคิดของชาติจีนวันนี้ได้เป็นอย่างดี
อุบายของขงเบ้ง มีเนื้อหาสำคัญ สี่ ประการ
- โลกกำลังหมดยุคนำเดี่ยวของราชวงศ์ฮั่น และกำลังเข้าสู่ยุคที่สามมหาอำนาจถ่วงดุลกัน
โลกในวันนี้ก็มีสามฝ่ายถ่วงดุลกัน คือ สหรัฐ EU และจีน
- ขงเบ้งกางแผนที่แคว้นเสฉวนให้เล่าปี่ดู เป็นการเปิดโลกทัศใหม่ให้เล่าปี่ แทนที่จะแย่งกันแต่แดนเหนือของจีน ซึ่งแคว้นเสฉวนนั้นเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง แต่ยังไม่ค่อยมีใครมองเห็น
ยุทธศาสตร์ BRI ของจีนนั้น ก็กำลังมองหาโอกาสในพื้นที่ซึ่งไม่ค่อยมีคนมอง นั่นคือ เอเชียกลาง และ ASEAN จนถึงแอฟริกา
- ขงเบ้งย้ำกับเล่าปี่ ว่ามีพิ้นที่ที่สัยไปไม่ได้นั่นคือ เกงจิ๋ว เพราะเป็นชัยภูมิสำคัญที่เชื่อมต่อถึงหลายบริเวณในภาคเหนือ ซึ่งก็เป็นจริง เพราะภายหลังที่เล่าปี่เสียเกงจิ๋วไป
พื้นที่ที่จีนจะเสียไปไม่ได้คือ ไต้หวัน และ ฮ่องกง เพราะเป็นทางออกทะเลฝั่งเดียว ในขณะที่พื้นที่อื่นนั้นก็ถูกผิดล้อมและจีนมีปัญหาชายแดนกับทุกๆประเทศ
- การจะบุกภาคเหนือไปปราบโจโฉ ต้องรอให้ภายในก๊กเกิดความวุ่นวายขึ้นเองก่อน เพราะก๊กโจโฉนั้นแข็งแกร่งมาก
จีนในปัจจุบัน มองว่าต้องรักษาตัวให้ดี และรอจังหวะ เพราะตอนนี้ EU ก็มีปัญหารอบด้าน ส่วนสหรัฐก็แม้จะดูเศรษฐกิจขาขึ้น แต่ก็ขาดแผนระยะยาว เช่น ขาดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมาอย่างยาวนาน ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาที่สูงสุดๆ การศึกษาขั้นพื้นฐานก็อ่อนแอมากๆ
สงครามการค้านี้ จีนต้องทนให้ได้ ไม่เกิดความวุ่นวายภายในเสียเองก่อน หากผ่านไปได้ จีนอาจสามารถขึ้นมาถ่วงดุลกับสหรัฐได้ในระยะยาว
2. BRI ชื่อนั้นสำคัญไฉน
จีนเปลี่ยนชื่อยุทธศาสตร์ One Belt One Road (OBOR) เป็น Belt and Road Initiaive (BRI)
เนื้อในยังเหมือนเดิม แต่ทำไม่ถึงเปลี่ยนชื่อ เพื่อแก้เคล็ดงั้นหรือ?
ทางการจีนคิดว่า ชื่อเดิม ทำให้เกิดความเข้าใจผิด 3 ข้อ
- มองว่า ยุทธศาสตร์จีนอันนี้เป็นเส้นตายตัว เช่น อาจเข้าใจว่าไทยไม่อยู่ในนี้ เพราะไม่ปรากฏตามเส้นที่ลากไว้ในแผนที่ แต่ความจริงไทยก็เกี่ยว รวมถึงเปิดกว้างกับทุกๆประเทศตามแนวทั้งหมด
- ชื่อเดิมทำให้นึกถึงว่าจีนจะมาสร้างถนน สร้างสะพาน หรือเส้นทางคมนาคมอื่นๆ แต่จริงๆแล้วยุทธศาสตร์นี้เน้นที่ความเชื่อมโยงที่มากกว่าคมนาคม ยังรวมเรื่องวัฒนธรรม การเงิน และด้าน digital
- คำว่า One ทำให้มีความเข้าใจผิดว่า ยุทธสาสตร์จะตายตัว แต่จริงๆแล้วมันเป็นกรอบกว้างๆ เนื้อหารายละเอียดจะแตกต่างไปตามแต่ละประเทศ ว่าเจรจากันลงเอยแบบไหน จึงใช้ชื่อใหมคือ initiatives คือ จีนเป็นคนเริ่ม
3. Brexit เป็นวิกฤติหรือโอกาสของจีน
ก่อนตอบคำถามนี้ ต้องรู้ก่อนว่า จีนมองยุโรปอย่างไร และจีนมองอังกฤษอย่างไร
จีนมองยุโรปว่าเป็นแหล่งทุนสำคัญ จีนลงทุนในยุโรปมากมาย โดยเฉพาะช่วงวิกฤติการเงินยุโรป ที่มีของดีราคาถูกจำนวนมากให้บริษัทจีนเข้าไปซื้อ และได้แบรนด์กับเทคโนโลยีมาเสร็จสับ
โดยการบุกยุโรปของจีนนั้น จีนมองว่าอังกฤษคือมหามิตรที่ดีที่สุดกับจีน เช่น เป็นไม่กี่ประเทศในอียู ที่สนับสนุนการเจรจาตกลงการค้าเสรีอียู – จีน
จีนมักใช้อังกฤษเป็นฐานที่มั่นสำคัญก่อนที่จะขยายไปบุกตลาดของอียู เป็นประเทศที่จีนเข้าไปลงทุนมากสุดในกลุ่มอียู ลอนดอนกลายเป็นศูนย์กลางการค้าเงินหยวนที่ใหญ่เป็นอันดับสอง รองจากฮ่องกง
Brexit ทำให้บริษัทจีนหลานๆแห่งต้องทบทวนแผนการลงทุนในอังกฤษ เพราะเมื่ออังกฤษออกจากอียู การลงทุนในยุโรปก็ไม่ได้สิทธิพิเศษอีกต่อไป ตลาดจาก 450 ล้านคน เหลือเพียง 65 ล้านคนทันที นอกจากนั้นยังทำให้จีนขาดอังกฤษ เป็นกระบอกเสียงในอียูอีกด้วย
ในระยะสั้น Brexit จึงน่าจะเป็นโทษกับจีนมากกว่า
แต่ระยะยาวมันอาจเป็นโอกาสทองของจีน
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จีนใช้วิธีเอาเงินลงทุนมาเป็นตัวล่อ ให้ประเทศต่างๆในยุโรป มาญาติดีกับจีน สมาชิกในอียูเลยแข่งขันแย่งชิงทุนจีนมาพยุงเศรษฐกิจตัวเองที่อ่อนแอ
เมื่ออังกฤษออกจากกลุ่มไป ก็เหลือแต่ฝรั่งเศษ และเยอรมัน ที่คอยช่วยเหลือร้องๆประเทศอื่นๆได้ ระยะยาว อียูจึงน่าจะอ่อนแอลง อำนาจต่อรองกับจีนลดลง ที่แน่ๆคืออังกฤษที่คงญาติดีกับประเทศในกลุ่มอียูลำบากแน่ๆ ก็ต้องพึ่งจีน มากขึ้น
ทำให้เงินปอน เงินยูโร ลดความสำคัญลง และอาจเป็นโอกาสทองเงินหยวน ที่จะมีความเป็นนานานชาติมากขึ้น
4.ฮ่องกง กับวิกฤติชนชั้นนำ
ภายหลังที่อังกฤษส่งมองเกาะฮ่องกงกลับคืนสู่จีน ในปี 1997 ผ่านไปเพียงยี่สิบกว่าปี ความขัดแย้งในฮ่องกงมีแต่จะมากขึ้น
การเมืองฮ่องกงแบ่งแยกเป็นสองฝ่าย คือ สนับสนุนรัฐบาลจีน คือ กลุ่มชนชั้นนำในฮ่องกง ซึ่งเป็นกลุ่มที่กุมบังเหียนเศรษฐกิจ สังคม การเมือง กับอีกกลุ่มคือ ฝ่ายสนับสนุนประชาธิปไตย ได้แก่ คนรากหญ่า และนักศึกษาหัวก้าวหน้า
ฝ่ายสนับสนุสนจีน มองว่าฮ่องกงเป็นประชาธิปไตยมากไป จนไม่สามารถขับเคลื่อนนโยบายใหญ่ๆอะไรได้เลย
ฝ่ายประชาธิปไตยมองว่ารัฐบาลไม่ยอมให้มีการเลือกตั้งผู้บริหารสูงสุดโดยตรง จึงไม่ได้ผู้บริหารที่มาจากประชาชนอย่างแท้จริง ที่ได้มาจึงเป็นกลุ่มตัวแทนผลประโยชน์ที่เอาแต่รักษาผลประโยชน์ของชนชนั้นำ คนรากหญ้าไม่ได้รับการใส่ใจ
ปัญหาที่หนักสุดอันหนึ่ง คือเรื่องราคาอสังหาริมทรำ ที่พุ่งไม่หยุด จนคนยาจน แรงงาน มีความเป็ฯอยู่ลำบากมากๆ
และช่องว่างรายได้ระหว่างคนรวยคนจน ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และมีปัญหารุมเร้าด้านต่างๆมากมาย
สรุปแล้ว หัวใจปัญหาฮ่องกง คือาการขาดความรับผิดชอบของผู้นำ ที่ไม่กล้าผลักดันอะไรเพื่อช่วยกระจายประโยชขน์ทางเศรษฐกิจ มีแต่จะเพิ่มความขัดแย้งทางสังคมสูงมากขึ้นเรื่อยๆ
สุดท้าย เมื่อชนชั้นนำที่สนับสนุนจีน และฝ่ายประชาธิปไตย ประนีประนอมกันไม่ได้ ก็แพ้ทั้งคู่
5.เกาหลีเหนือในมุมจีน
ไพ่เกาหลีเหนือ คือคำเรียกไพ่ใบหนึ่งที่จีนใช้เจรจากับสหรัฐ เพื่อต่อรองแลกเปลี่ยนเรื่องต่างๆ เพราะจีนถือว่าจีนสายตรงไปผู้นำเกาหลีเหนือได้
อย่างไรก็ตาม หลังคิมจองอึนได้กำจัดลุงเขา ซึ่งเป็นคนที่เคยต่อสายตรงกับจีน ทิ้งไป จีนก็เลยยอมเข้าร่วมสหรัฐ กดดันเกาหลีเหนือด้วยการคว่ำบาดทางเศรษฐกิจ เป็นเหตุให้เกาหลีเหนือยอมโอนอ่อนมาเจรจากับทรัมป์ที่สิงคโปเมื่อเดือนมิถุนายน 2018
แต่ก่อนที่คิมจองอึนจะพบกับทรัมป์ เขาก็ได้พบกับสีจินผิงก่อนถึงสองครั้ง ซึ่งเชื่อว่ามีการแลกเปลี่ยนและต่อรองหลายเรื่อง โดยเกาหลีเหนือจะเล่นบทดื้อกับสเหรัฐบ้าง เพื่อเปิดช่องให้จีนใช้ ไพ่เกาหลีเหนือมาแลกเปลี่ยนเรื่องสงครามการค้ากับจีน
ในมุมมองจีน จีนไม่ต้องการให้สหรัฐเข้ามายุ่มย่ามในภูมิตภาค แต่ก็ไม่ต้องการให้เกาลหีเหนือพัฒนานิวเคลีย เพาะมีแต่จะเพิ่มความึงเครียด และไม่รู้จะปลอดภัยหรือไม่ เพราะมันต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ สู้สันติในภูมิภาคแล้วเดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจต่อไป จะดีกว่า และกังวลว่าถ้าวันใดเกาหลีเหนือล่ม จะมีคนจำนวนมากทะลักเข้าจีนทางชายแดน ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อความมั่นคงภายในของจีน
สุดท้ายแล้ว ก็ไม่ร้ว่าคิมจองอึนเล่นเกมหลอกทรัป และสีจินผิง เพื่อซื้อเวลาหรือไม่ เพราะ ก็ยังมีภาพถ่ายดาวเทียมที่ชี้ว่า เกาหลีเหนือยังยกระดับประสิทธิภาพนิวเคลียอยู่ หรือ จะมีแนวโน้วที่คิมจองอึนต้องการเปิดประเทศเหมอนที่จีนเคยทำเมื่อ 40 ปีก่อน หรือไม่ ถ้ายังล้าหลัง ก็จะเป็นภัยต่อเสถียรภาพภายในนั่นเอง
6. เมื่อจีนซื้อการเมืองออสเตรเลีย
ในปี2017 มีรายงานว่านักธุรกิจชาวออสเตรรเลียเชื่อสายจีน มีการบริจาคเงินให้นักการเมืองออสเตรเลียทั้งสองฝั่ง จำนวนมหาศาล
นักธุรกิจทั้งสองนั้นมีสายสัมพันธ์ใกล้ชิคกับคอมมิวนอิส และยังมีบทบาทล็อบบี้นักการเมืองเพื่อรักษาผลประโยชน์ของจีนในออสเตรเลีย
จนเมื่อมิถุนายน 2018 รัฐสภาออสเตรเลียได้ผ่านกฏหมายความมั่นคงฉบับใหม่ มีเป้าหมายเพื่อป้องกันรัฐต่างประเทษแทรกแซงกิจการภายในของออสเตรเลีย
แน่นอนว่าจีนออกมายืนยันว่าไม่เคยแทรกแซงการเมืองภายในประเทศใด แต่ความซับซ้อนคือพรรคคอมมิวนิสมีการทำงานที่ยืดหยุ่น และมีเครือข่ายนักธุรกิจจีนที่สามารถสร้างอิทธิพลแบบไม่เป็นทางการในประเทศต่างๆได้ จีนจึงมีทั้งการฑูตผ่านกลไกปกติ และเครื่องข่ายแบบไม่เป็ฯทางการ
กรณีของออสเตรียเลียนั้น ทำให้ต้องคิดถึงไทย ว่ามีทุนจีนหรือเครื่อข่ายที่สนัสนุนโดยฑรรคคอมมิวนิสจีน เกี่ยวข้องกับการเมืองไทยมากน้อยเพียงใด
7. อาเซียนวางตัวอย่างไรภายใต้ศึกจีน – สหรัฐ
การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ไทย เมื่อมิถุนายน 2019 มีการแถลงการ ร่วมกันของประเทศสมาชิก เกี่ยวกับ ทัศนะอาเซียนว่าด้วย อินโด-แปซิฟิก (ASEAN outlook on the indo-pacific [AOIP])
หลักใหญ่ของ AOIP คือการที่ ASEAN จะไม่เลือกข้าง (ASEAN centrality) เปิดให้มหาอำนาจต่างๆ เข้ามาคานและถ่วงดุลอำนาจ เพื่อประโยชน์ของอาเซียนเอง
AOIP จึงเป็นจุดเริ่มต้นของกเกมการเล่นตัวในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ของอาเซียน ท่ามกลางการแข่งขันระหว่างจีน และสหรัฐ
บทสรุป ลักษณะเด่นของสงครามเย็น 2.0
กลุ่มชนชั้นนำในสหรัฐ มองว่าจีนในวันนี้ ร้ายกว่า สหภาพโซเวียดในอดีต เนื่องจาก
- จีนมาจากอารยธรรมและเชื้อชาติที่แตกต่างจากตะวันตก การปะทะกันครั้งงนี้ จึงเข้าขั้น clash of civilization ครั้งใหญ่
- จีนได้เชื่อมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจสหรัฐ และเศรษฐกิจโลก ในขณะที่โซเวียตนั้นเป็นคอมมิวนิสเต็มตัว และแยกจากสหรัฐไป
หลังยุคสงครามเย็น สหรัฐก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำเดี่ยวของโลก
ในปี 2001 สหรัฐยอมรับให้จีนเข้ามาเป็นสมาชิกของ WTO ท่ามกลางเสียงคัดค้าน เพราะจีนถูกมองเป็นเผด็จการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ในตอนนั้นสหรัฐคิดว่า เมื่อจีนพัฒนาเศรษฐกิจ ก็จะเกิดชนชั้นกลางที่เรียกร้องเสรีนิยมประชาธิปไตย หรือ ถ้าจีนไม่ยอมปฏิรูปปการเมือง สุดท้ายเศรฐกิจจีน จะไปไม่รอด
สหรัฐมองว่า ยังไงจีนก็ไม่สามารถเป็นภัยกับตัวได้ แน่นอนว่าคาดการผิด เพราะจีนรวยเอาๆ และเศรษฐกิจ ก็ไม่พังแม้จะยังเป็นเผด็จการ
ยิ่งช่วงหลังๆ ทุกคนต้องเกรงใจจีน และชาติจีน ยอมผ่อนผันเรื่องสิทธิมนุษย์ชน เพราะกลัวจะกระทบกับเศรษฐกิจที่พวกเขาค้าขายกับจีน
ในอดีต ถ้าสหรัฐจัดการโซเวียตจนพัง สหรัฐก็ไม่เจ็บตัว แต่วันนี้ ถ้าสหรัฐจัดการจีน สหรัฐจะเจ็บตัวมาก และอาจจะพังกันทั้งโลก
- จีนวันนี้ เป็นเผด็จการไฮเทค ที่สามารถควบคุมจัดการสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เผด็จการไฮเทคนั้นท้าทายทฤษฎีทางรัฐศาสตร์
เผด็จการมักอยู่ไม่ได้นาน เพราะขาด feedback จากคนข้างล่าง แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้พรรคคอมมิวนิสได้เครื่องมือในการควบคุมจัดการสังคมได้อย่างมั่นคง แข็งแกร่ง
จีนยังเป็นชาติเดียวที่มาแข่งขันกับสหรัฐในแพลตฟอมอินเตอเน็ตแบบเต็มตัว ไม่ว่าจะ 5G , Baidu , Tencent, Alibaba รวมทั้งฮาร์ดแวต่างๆ ทำให้จีนนั้นก็สามารถพึ่งตนเองได้เต็มที่ ยืนหยัดด้วยตัวเองได้
สุดท้าย สงครามนี้จะนำไปสู่จุดสมดุลระหว่างสองยักษ์ ที่ต่างฝ่ายไม่มีวันล้มอีกฝ่ายได้ ต่างจากที่สหรัฐ ล้มโซเวียตได้
โลกวันนี้ถึงจุดจบนำเดี่ยวของสหรัฐ แต่ใม่ใช่จุดจบของสหรัฐ ถึงจุดที่จีนผงาด แต่ไม่ได้นำเดี่ยวเช่นกัน
สงครามเย็น 2.0 จะแตกโลกเป็นสองแกน และสองห่วงโซ่
ประเทศและคนที่รอดจึงไม่ใช่คนเลือกข้างแบบเชียมวย แต่คือคนเล่นเกมและเล่นตัวไปกับสองมหาอำนาจ อย่างรู้เท่าทัน